ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - L-umar

#31
ขอให้คุณลองฟังคำวิจารณ์สายรายงานนี้จาก นักวิชาการฝ่ายซุนนะฮ์เองดังนี้


1-อาลี บินอบีตอลิบ เกิดในกะอ์บะฮ์ นครมักกะฮ์  (ก่อนฮ.ศ.23  มรณะฮ.ศ. 41)
อิบนุหะญัรกล่าวว่า   :
عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِب بن عَبْدِ الْمُطَّلِبِ بْنِ هَاشِمٍ الهاشمي ابنُ عَمِّ رسول الله (ص) وَزَوْجُ اِبْنَتِهِ مِنَ الساَّبِقِيْنَ الْأَوَّلِيْنَ وَرَجَّحَ جَمْعٌ أَنَّهُ أَوَّلُ مَنْ أَسْلَمَ
อาลี บินอะบีตอลิบ บุตรของลุงของท่านรอซูล(ศ) สามีบุตรีของท่านรอซูลฯ  หนึ่งจากบรรดาซาบิกีนอัลเอาวะลีน   ปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้น้ำหนักว่า  เขาคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับ 4753

2-ฮูเซน บินอาลี เกิดที่นครมะดีนะฮ์ ฮ.ศ.4 – 61
อิบนุหะญัรกล่าวว่า   :
الْحُسَيْنُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ الهاشمي أبو عبدالله المدني سِبْطُ رَسُوْلِ الله (ص)    
ฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ หลานชายท่านรอซูล(ศ)  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับ 1334      ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า  
الحَسَـنُ ‏ ‏وَالْحُسَـيْنُ ‏ ‏سَـيِّدَا شَـبَابِ أهْلِ الْجَـنَّة
ฮาซันและฮูเซนคือหัวหน้าชายหนุ่มแห่งชาวสวรรค์  ดูซอฮิ๊ฮ์ติรมิซี  หะดีษที่  2965

3-อาลี บินฮูเซน เกิดที่นครมะดีนะฮ์ (ฮ.ศ.38 – 114)
อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า  :
عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ مَدَنِيٌّ تاَبِعِيٌّ ثِقَةٌ وَكاَنَ رَجُلاً صاَلِحاً
อาลี บินฮูเซน เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ และเป็นคนซอและห์
ดูอัษษิกอต โดยอิจญ์ลี  อันดับ 1293  
อิบนุหะญัรกล่าวว่า :  
عَلِىُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ الْهاَشِمِيُّ زَيْنُ الْعاَبِدِيْنَ ثِقَةٌ ثَبَتٌ عاَبِدٌ فَقِيْهٌ فاَضِلٌ مَشْهُوْرٌ
อาลี บินฮูเซน  ซัยนุลอาบิดีน  เชื่อถือได้  มีความมั่นคง  อาบิ๊ด  ฟะกีฮ์  ฟาดิ้ล มัชฮู้ร  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับ 4715
อัซซะฮะบีกล่าวว่า  :
عَلِىُّ بْنُ الْحُسَيْنِ (ع) اِبْنُ الْاِماَمِ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبِ : السَّيِّدُ الْاِماَمُ، زَيْنُ الْعاَبِدِيْنَ، الْهاَشِمِيُّ الْعَلَوِيُّ، الْمَدَنِيُّ    
อาลี บินฮูเซน  คือสัยยิด  เป็นอิม่ามผู้นำ    ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์  อันดับ 157

4-มุฮัมมัด บินอาลี เกิดที่มะดีนะฮ์  ( ฮ.ศ.57 – 95 )
อิบนุอะบีฮาติมกล่าวว่า :  
مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أَبُوْ جَعْفَرٍ رَوَى جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ وَأَبِيْهِ عَلِىُّ بْنُ الْحُسَيْنِ رَوَى عَنْهُ ابْنُهُ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ
มุฮัมมัด บินอาลี  อะบูญะอ์ฟัร  รายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮ์และบิดาของเขาคืออาลี บินฮูเซน  ผู้ที่รายงานจากเขาคือบุตรของเขาชื่อ ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล  อันดับ 117  
อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :
مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ تاَبِعِيٌّ  ثِقَةٌ
มุฮัมมัด บินอาลี  เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้     ดูอัษษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับ 1630
อิบนุหะญัรกล่าวว่า :
مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أَبُو جَعْفَرٍ الْباَقِرُ  ثِقَةٌ
อิบนุหะญัรกล่าวว่า   : มุฮัมมัด บินอาลี  อะบูญะอ์ฟัร อัลบาเก็ร   เชื่อถือได้  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับ 6151  
อัซซะฮะบีกล่าวว่า :    
أَبُو جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ ، الْعَلَوِيُّ الْفاَطِمِيُّ، الْمَدَنِيُّ، وَلَدُ زَيْنِ الْعاَبِدِيْن،  وَ اتَّفَقَ الْحُفَّاظُ عَلَى الِاحْتِجَاج بِأَبِيْ جَعْفَرٍ    
อะบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บินอาลี  บุตรซัยนุลอาบิดีน  นักท่องจำหะดีษมีมติว่าให้ยึดหะดีษของอะบูญะอ์ฟัรเป็นหลักฐานได้  ดูสิยัรอะอ์ลามุนนุบะลาอ์ อันดับ 158

5-ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศ-ศอดิก เกิดที่นครมะดีนะฮ์ (ฮ.ศ.83 – 148 )
อิบนุฮิบบานกล่าวว่า  :  
جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رضي الله عنهم كنيته أبو عبد الله يروى عن أبيه وَكاَنَ مِنْ ساَدَاتِ أَهْلِ الْبَيْتِ فِقْهاً وَعِلْماً وَفَضْلاً    
ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  ฉายาอะบูอับดุลลอฮ์  รายงานหะดีษจากบิดาของเขา  เป็นผู้มีความรอบรู้และทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจากบรรดาสัยยิดแห่งอะฮ์ลุลบัยต์      ดูอัษษิกอต โดยอิบนิฮิบบาน  อันดับ 226
อิบนุหะญัรกล่าวว่า  :  
جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الهاشمي أبو عبد الله الْمَعْرُوْفُ بِالصاَّدِقِ صَدُوْقٌ فَقِيْهٌ إِماَمٌ مِنَ الساَّدِسَة    
ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  รู้จักกันในนามอัศศอดิก(ผู้มีวาจาสัตย์)  เชื่อถือได้  เป็นผู้รู้  เป็นอิม่าม  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับ 950  
อิสฮ๊าก บินรอฮะวัยฮฺกล่าวว่า   :    
قُلْتُ لِلشاَّفِعِىِّ كَيْفَ جَعْفَرُبْنُ مُحَمَّدٍ عِنْدَكَ قاَلَ ثِقَةٌ
يَحْيَى بْنُ مَعِينٍ قاَلَ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ ثِقَةً
عَبْدُ الرَّحْمن قاَلَ سَمِعْتُ أَبِىْ يَقُوْلُ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ ثِقَةً لاَ يُسْأَلُ عَنْ مِثْلِهِ
ฉันกล่าวกับอิม่ามชาฟิอีว่า ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัดเป็นอย่างไรในทัศนะของท่าน  เขาตอบว่า  เชื่อถือได้  
ยะห์ยา บินมะอีนกล่าวว่า  ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  เชื่อถือได้
อับดุลเราะห์มานกล่าวว่า  ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า  ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เชื่อถือได้ไม่ต้องถามถึงว่าจะมีผู้เหมือนเยี่ยงเขา    
ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล โดยอิบนิอะบีฮาติม  อันดับ 1987
#32
คำพูดของอิมามศอดิก คือหะดีษ  เพราะเขาได้รับฟังหะดีษมาจากบิดาของเขาที่สืบไปถึงท่านศาสดามุฮัมมัด( ศ)  ด้วยสายรายงานดังนี้

อิม่ามศอดิก ผู้นำที่ 6 กล่าวว่า  :
 
حَدِيثِي حَدِيثُ أَبِي وَ حَدِيثُ أَبِي حَدِيثُ جَدِّي وَ حَدِيثُ جَدِّي حَدِيثُ الْحُسَيْنِ وَ حَدِيثُ الْحُسَيْنِ حَدِيثُ الْحَسَنِ وَ حَدِيثُ الْحَسَنِ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ( عليه السلام ) وَ حَدِيثُ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ حَدِيثُ رَسُولِ اللَّهِ ( صلى الله عليه وآله )
หะดีษของฉันคือ หะดีษของบิดาฉัน(อิม่ามบาเก็ร), หะดีษของบิดาฉันคือหะดีษของปู่ฉัน(อิม่ามอาลีบินฮูเซน),หะดีษของปู่ฉันคือหะดีษของอิม่ามฮูเซน, หะดีษของอิม่ามฮูเซนคือหะดีษของอิม่ามฮาซัน, หะดีษของอิม่ามฮาซันคือหะดีษของอิม่ามอาลี, หะดีษของอิม่ามอาลีคือ คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)

ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 53 หะดีษที่  14  สายรายงานหะดีษเชื่อได้
#33
หากอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่า

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์ 5 ข้อเป็นบิดอะฮ์ในเรื่องการแบ่ง  หมายถึงเป็นการแบ่งที่ไม่เคยมีในสมัยท่านนะบีและบรรดาอิม่าม(อ)  

เราก็ขอกล่าวว่า  

การแบ่งซิฟัตวายิบ 20 ของอะชาอิเราะฮ์ก็บิดอะฮ์เช่นกัน  เพราะท่านนะบี(ศ) ไม่ได้แบ่งไว้และซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้แบ่งไว้แบบนั้น
 อนึ่งผู้แบ่งซิฟัตออกเป็น 20 นั้นคือนักปราชญ์และการแบ่งซิฟัต 20 นี้ก็ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน หะดีษนะบีและบรรดาซอฮาบะฮ์เช่นกัน  
ต้องขอกล่าวเสริมอีกว่า การแบ่งหะดีษออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ ซอฮิฮ์ , ฮาซัน ,และดออีฟ  ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์  เพราะท่านนะบี(ศ) ไม่เคยแบ่งไว้และซอฮาบะฮ์ก็ไม่เคยแบ่งไว้เช่นกัน  และเราขอกล่าวอีกว่า  การแบ่งรุกุ่นละหมาดออกเป็น 13 ประการ  หรือแบ่งรุกุ่นการอาบน้ำละหมาดออกเป็น 6 ประการนั้น  ก็เป็นบิดอะฮ์เช่นกัน เพราะว่าท่านนะบี(ศ)ไม่ได้แบ่งเอาไว้  

การแบ่งประเภทของหลักศรัทธาหรือหลักการต่าง ๆนั้น  มาจากการอิจญ์ฮาด(วินิจฉัย)
ของบรรดานักปราชญ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอิจญ์ฮาดอันมีที่มาจากอัลกุรอานและหะดีษ    ฉะนั้นการที่ชีอะฮ์แบ่งอะกีดะฮ์ออกเป็น 5 ข้อจึงมิใช่เป็นบิดอะฮ์แต่อย่างใดเนื่องจากมีหลักฐานจากอัลกุรอานมากำกับรับรองมันไว้ชัดเจน
หากถามว่า : การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ที่วาฮาบีเชื่อและการแบ่งซิฟัตวายิบ 20 ที่อะชาอิเราะฮ์เชื่อนี้เป็น " บิดอะฮ์ " ใช่ไหม

แน่นอนพวกเขาทั้งสองกลุ่มจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อัลเลาะฮ์และรอซูลไม่ได้กำหนดไว้เช่นนั้น แต่อุละมาอ์ได้เอามาจากกุรอ่านและหะดีษ  นั่นแสดงว่าพวกเขาได้ให้คำตอบเหมือนชีอะฮ์คือ อะฮ์ลุลบัยต์(อ)ไม่ได้กำหนดอุซูลุดดีนออกเป็น 5 แต่นักปราชญ์ชีอะฮ์ได้ประมวลมาจากกุรอ่านและหะดีษ  
#34
คำถาม :  

เราจะตอบอย่างไร เมื่อมีคนกล่าวว่า อะกีดะฮ์ 5 ข้อที่เชคมุฟีดแบ่งไว้เป็นบิดอะฮ์

คำตอบ :

เราไม่ทราบว่า  อะกีดะฮ์ชีอะฮ์ 5 ข้อที่กลุ่มวะฮาบีบอกว่าเป็นบิดอะฮ์นั้น ในแง่ไหน
 หากพวกเขาอ้างว่าอะกีดะฮ์ 5 ข้อบิดอะฮ์ตามหลักการนั้น  ถือว่าผู้กล่าวอ้างกลายเป็นผู้อุตริกรรมบิดอะฮ์เสียงเอง  เนื่องจากอะกีดะฮ์ 5 ข้อดังกล่าวมีหลักฐานจากอัลกุรอานที่มีข้อบ่งชี้และยืนยันถึงมันทั้งหมดอย่างแน่นอน ดังนั้นหากผู้กล่าวหาชีอะฮ์บอกว่า เขาปฏิเสธเรื่องเตาฮีด( อัลลอฮ์มีเพียงหนึ่งองค์)แน่นอนว่า เขาเป็นกาเฟร  หรือหากผู้กล่าวหาชีอะฮ์กล่าวว่า เขาปฏิเสธเรื่องความอาดิลของอัลลอฮ์ซึ่งเป็นซิฟัตหนึ่งของพระองค์ เขาย่อมเป็นกาเฟร  หรือเขาปฏิเสธเรื่องนุบูวะฮ์ คือการมีศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์  ถือว่าเขาเป็นกาเฟร  หรือเขาปฏิเสธเรื่องวันกิยามะฮ์ ก็ถือว่าเขาเป็นกาเฟร หรือถ้าหากเขาไม่ยอมรับในเรื่องอิมามะฮ์ คืออิม่ามสิบสองที่สืบต่อจากท่านนะบี(ศ) ก็เท่ากับเขาคือผู้ปฏิเสธในนิอ์มัตของอัลลอฮ์

หากวาฮาบีกล่าวว่า

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์ 5 ข้อเป็นบิดอะฮ์ในเรื่องการแบ่ง  หมายถึงเป็นการแบ่งที่ไม่เคยมีในสมัยท่านนะบี(ศ)และอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  
เราก็ขอกล่าวว่า  การแบ่งเตาฮีด 3 ประเภทของวาฮาบี(อุลูฮียะฮ์, รุบูบียะฮ์,อัลอัสมาอุวัซซิฟาต)ก็บิดอะฮ์เช่นกัน  เพราะท่านนะบี(ศ)ไม่ได้แบ่งไว้และซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้แบ่งไว้ตามนั้น ซึ่งการแบ่งนี้ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน หะดีษนะบีและบรรดาซอฮาบะฮ์  ตาบิอีน  และตาบิอิตตาบิอีนก็ไม่ได้กล่าวไว้เลย การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ข้อเช่นนี้ไม่เคยมีในยุคศตวรรษที่ 3  จนถึงศตวรรษที่ 6  เมื่อถึงศตวรรษที่ 7 การแบ่งเตาฮีดเป็นอุลูฮียะฮฺและรุบูบียะฮ์พึ่งเกิดขึ้น
#35
หนังสืออันนุกัต อัลอิอ์ติกอดียะฮ์  

ผู้เรียบเรียงชื่อ เชคมุฟีด (336 – 413 ฮ.ศ. รวมอายุ 77 ปี)

 
ในหนังสือเล่มนี้เชคมุฟีดได้แบ่งการศึกษาอุซูลุดดีนออกเป็น 5 บทด้วยกันคือ

1.   มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)
2.   อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3.   อันนุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)
4.   อัลอิมามะฮ์  ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนะบีมุฮัมมัด)
5.   อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)  

เชคมุฟีดได้แต่งตำราอุซูลุดดีนไว้อีกเล่มหนึ่งชื่อ อะวาอิลุลมะกอล๊าต ซึ่งหนังสือเล่มนี้เขาได้กล่าวเนื้อหาต่างๆอย่างละเอียดเอาไว้ถึง 156 หัวข้อ

หลังจากเชคมุฟีดเสียชีวิต นักปราชญ์ชีอะฮ์ยุคต่อมาได้เรียบเรียงตำราอุซูลุดดีนโดยแบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้ จนการแบ่งหลักศรัทธาออกเป็นห้าข้อนี้ได้กลายเป็นเรื่องมุตะวาติรในหมู่อุละมาอ์ชีอะฮ์และถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ สรุปความได้ว่า บุคคลแรกที่แบ่งอะกีดะฮ์ชีอะฮ์ออกเป็น 5 ข้อคือ เชคมุฟีด  

วัลลอฮุอะอ์ลัม
#36
คำถาม  

ใครกำหนดอะกีดะฮ์ห้าข้อนี้  1.เตาฮีด 2.อดิล 3.นุบูวะฮ์ 4.อิมามะฮ์ 5.มะอาด

คำตอบ  

เชคมุฟีด  (336 – 413 ฮ.ศ. รวมอายุ 77 ปี
#37
คำถาม

อะฮ์ลุลบัยต์กำหนดอะกีดะฮ์ไว้กี่ข้อ


 
คำตอบ  

อะฮ์ลุลบัยต์ไม่ได้กำหนดเอาไว้ตายตัว   บรรดาอิม่ามได้อธิบายเรื่องอุซูลุดดีนไว้ในหะดีษต่างๆอย่างหลากหลาย แต่ที่สำคัญคือต้องเป็นหะดีษที่มุอ์ตะบัร และจากหะดีษเหล่านั้นได้ถูกนำมาสรุปเป็นอุซูลุดดีนทั้งห้าข้อตามที่ถูกกล่าวไว้ ไม่มีเงื่อนใดมากำหนดว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้าข้อนั้นจะต้องถูกรวมเอาไว้ในหะดีษเพียงบทเดียวเหมือนเรื่องหลักศรัทธามากมายที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งก็ไม่ได้ถูกรวมไว้ในหนึ่งโองการ
#38

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับมุสลิมคือ เรื่องหลักศรัทธาและการตรวจสอบความถูกต้องของความเชื่อให้พ้นจากความสงสัย  แน่นอนเรื่องสำคัญเช่นนี้ ย่อมได้รับการบ่งบอกเอาไว้จากอัลลอฮ์  จากศาสดามุฮัมมัดและจากบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์  
ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นได้ว่า สานุศิษย์ของอิม่าม(อ)ในแต่ละยุค ได้เอาใจใส่เป็นอย่างมากต่อเรื่องนี้ เพราะพวกเขาเกรงว่าจะหลงทาง  สานุศิษย์ของอิม่าม(อ)ในแต่ละยุคได้มีการสอบถามและนำเสนอความเชื่อของพวกเขาให้อิม่ามในยุคของเขาได้พิจารณา เพื่อตรวจสอบความเชื่อของพวกเขาให้ถูกต้อง อาทิเช่น สัยยิดอับดุลอะซีมอัลฮาซานีได้นำเสนอหลักศรัทธาของตัวเขาเองให้อิม่ามอาลีอัลฮาดี(อ)ได้ตรวจสอบความถูกต้อง

(رَوَي الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ) حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عِمْرَانَ الدَّقاَّقُ رَحِمَهُ اللهُ وَعَلِيُّ بْنُ عَبْدِ اللهِ الْوَرَّاقُ، قاَلاَ : حَدَّثَناَ مُحَمَّدُ بْنُ هاَرُوْنَ الصُّوْفِيُّ، قاَلَ : حَدَّثَناَ أَبُوْ تُرَابٍ عُبَيْدُ اللهِ ابْنِ مُوْسَى الرُّوْياَنِيُّ، عَنْ عَبْدِالْعَظِيْمِ بْنِ عَبْدِاللهِ الْحَسَنِيّ قَالَ : دَخَلْتُ عَلَى سَيِّدِيْ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُوْسَى بْنِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِيْ طَالِبٍ عَلَيْهُمُ السَّلاَمِ    فَلَمَّا بَصُرَبِيْ قَالَ لِيْ: مَرْحَبًا بِكَ يَاأَبَا الْقَاسِمِ أَنْتَ وَلِيُّنَا حَقًّا، قَالَ: فَقُلْتُ لَهُ: يَاابْنَ رَسُوْلَ اللهِ إِنِّيْ اُرِيْدُ أَن أَعْرِضَ عَلَيْكَ دِيْنِيْ، فَإِنْ كَانَ مَرْضِيًّا أَثْبُتُ عَلَيْهِ حَتَّى أَلْقَى اللهَ عَزَّوَجَلَّ :  فَقَالَ : هَاتِ يَا أَبَا الْقَاسِمِ، فَقُلْتُ :
إِنِّيْ أَقُوْلُ :  إنَّ اللهَ تَباَرَكَ وَتَعاَلَى واَحِدٌ، لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ ، خاَرِجٌ عَنِ الْحَدَّيْنِ حَدُّ الْاِبْطاَلِ وَ حَدُّ التَّشْبِيْهِ، وَإنَّهُ لَيْسَ بِجِسْمٍ وَلاَ صُوْرَةٍ وَلاَ عَرْضٍ وَلاَ جَوْهَرٍ، بَلْ هُوَ مُجَسِّمُ الْاَجْساَمِ، وَمُصَوِّرُ الصُّوَرِ، وَخاَلِقُ الْاَعْراَضِ وَالْجَواَهِرِ، وَرَبُّ كُلِّ شَيْءٍ وَماَلِكُهُ وَجاَعِلِهُ وَمُحْدِثُهُ، وَإِنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ خَاتَمُ النَّبِيِّيْنَ فَلاَ نَبِيَّ بَعْدَهُ إِلَى يَوْمِ الْقِياَمَةِ وَأَقُوْلُ: إِنَّ الْاِماَمَ وَالْخَلِيْفَةَ وَوَلِيَّ الْاَمْرِ مِنْ بَعْدِهِ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ ثُمَّ الْحَسَنُ، ثُمَّ الْحُسَيْنُ، ثُمَّ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ ، ثُمَّ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ ، ثُمَّ جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدٍ ثُمَّ مُوسَى بْنُ جَعْفَرٍ ، ثُمَّ عَلِيُّ بْنُ مُوسَى ، ثُمَّ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيٍّ ثُمَّ أَنْتَ ياَمَوْلاَيَ،
فَقاَلَ عَلَيْهِ السَّلاَمُ : وَمَنْ بَعْدِي الْحَسَنُ ابْنِيْ، فَكَيْفَ لِلناَّسِ بِالْخَلَفِ مِنْ بَعْدِهِ، قاَلَ: فَقُلْتُ: وَكَيْفَ ذاَكَ ياَ مَوْلاَيَ ؟ قاَلَ : لِاَنَّهُ لاَيَرَى شَخْصَهُ وَلاَ يَحِلُّ ذِكْرَهُ بِاسْمِهِ حَتَّى يَخْرُجَ فَيَمْلَأُ الْاَرْضَ قِسْطاً وَعَدْلاً كَماَ مَلَئَتْ جَوْراً وَظُلْماً، قاَلَ : فَقُلْتُ : أَقْرَرْتُ ، وَأَقُوْلُ إِنَّ وَلِيَّهُمْ وَلِيُّ اللهِ، وَعَدُوَّهُمْ عَدُوُّ اللهِ، وَطاَعَتَهُمْ طاَعَةُ اللهِ ، وَمَعْصِيَّتَهُمْ مَعْصِيَةُ اللهِ ، وَأَقُوْلُ : إِنَّ الْمِعْراَجَ حَقٌّ ، وَالْمَسْأَلَةَ فِي الْقَبْرِ حَقٌّ ، وَإنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ ، وَإنَّ الناَّرَ حَقٌّ ، وَالصِّراَطَ حَقٌّ ، وَالْمِيْزاَنَ حَقٌّ ، وَإنَّ الساَّعَةَ آتِيَةٌ لاَرَيْبَ فِيْهاَ، وَإنَّ اللهَ يَبْعَثُ مَنْ فِي الْقُبُوْرِ، وَأَقُوْلُ : إِنَّ الْفَرَائِضَ الْوَاجِبَةَ بَعْدَ الْوِلاَيَةِ الصَّلاَةُ، وَالزَّكاَةُ، وَالصَّوْمُ، وَالْحَجُّ، وَالْجِهَادُ، وَالْأَمْرُ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّهْيُ عَنِ الْمُنْكَرِ، فَقَالَ عَلِيُّ بْنُ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِمَا السَّلاَمِ: يَا أَبَا الْقَاسِمِ هَذَا وَاللهِ دِيْنِ اللهِ الَّذِيْ ارْتَضَاهُ لِعِبَادِهِ، فَاثْبُتْ عَلَيْهِ، ثَبَّتَكَ اللهُ بِالْقَوْلِ الثَّابِتِ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَفِي الْآخِرَةِ.

สัยยิดอับดุลอะซีม อัลฮาซานีเล่าว่า :  

ฉันได้เข้ามาพบนายของฉันคืออิม่ามอาลี บินมุฮัมมัด (อัลฮาดีผู้นำคนที่ 10 อ.)  เมื่อท่านมองเห็นฉัน ท่านได้กล่าวกับฉันว่า : โอ้อบุลกอซิม ยินดีต้อนรับท่านคือผู้ที่มีวิลายัต(ความรัก)ต่อเราอย่างแท้จริง  
ท่านอับดุลอะซีมเล่าว่า : ฉันได้กล่าวกับท่านอิม่ามว่า : โอ้บุตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ แท้จริงฉันต้องการนำเสนอดีน(ความเชื่อ)ที่ฉันนับถือให้ท่าน(ได้พิจารณา)   หากว่ามันเป็นที่พอใจ(คือถูกยอมรับ) ฉันจะได้ยึดถือมันไว้อย่างมั่นคง จนกว่าฉันจะได้กลับไปพบกับอัลลอฮ์อัซซะวะญัล
ท่านอิม่ามกล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิมจงนำเสนอมาซิ  ฉันจึงกล่าวว่า : ฉันเชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮ์(พระเจ้า)ตะอาลาทรงมีเพียงหนึ่ง ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์  ทรงอยู่นอกขอบเขตสองประการคือ  1,ฮัดดุลอิบฏ็อล และ2,ฮัดดุลต๊ะอ์ตีล แท้จริงอัลลอฮ์ไม่มีเรือนร่าง ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ใช่อะร็อฎและเญาฮัร(วัตถุมีมิติและเวลา)  แต่ทว่าพระองค์คือผู้ทรงสร้างเรือนร่างทั้งหลาย ผู้ทรงสร้างรูปลักษณ์ทั้งหลายและทรงเป็นผู้ทรงสร้างอะร็อฎและเญาฮัร(วัตถุ)ทั้งหลาย และอัลลอฮ์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลทุกสรรพสิ่ง  ทรงเป็นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ทุกสิ่ง  ทรงเป็นผู้บันดาลสร้างทุกสิ่งและทรงเป็นผู้ให้กำเนิดทุกสิ่ง  และแท้จริงมุฮัมมัด(ศ) นั้นเป็นบ่าวของพระองค์ เป็นศาสนฑูตของพระองค์และเป็นศาสดาคนสุดท้าย ซึ่งจะไม่มีนะบีเกิดขึ้นหลังจากเขาอีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์  และแท้จริงชะรีอะฮ์(หลักธรรม)ของเขานั้นเป็นศาสนาสุดท้าย ซึ่งจะไม่มีศาสนา(ของอัลลอฮ์มาประกาศ)หลังจากศาสนาอิสลามอีกแล้วตราบจนถึงวันกิยามะฮ์  
และฉันขอกล่าวว่า : แท้จริงอิม่าม(ผู้นำ)และคอลีฟะฮ์(ผู้สืบตำแหน่ง)ต่อจากนะบีมุฮัมมัด(ศ) และเป็นวะลียุลอัมริ(ผู้ปกครอง)คือ 1,ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อาลี บินอะบีตอลิบ ถัดมาคือ 2,อัลฮาซัน 3,อัลฮูเซน 4,อาลี บินฮูเซน 5,มุฮัมมัด บินอาลี อัลบาเก็ร 6,ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศศอดิก 7, มูซา บินญะอ์ฟัร 8,อาลี บินมูซา 9,มุฮัมมัด บินอาลี และคนที่ 10 และถัดมาคือท่าน(หมายถึงอิม่ามอาลีอัลฮาดี) โอ้เมาลาของฉัน
ท่านอิม่ามฮาดี(อ)จึงกล่าวว่า : และคนที่11 หลังจากฉันคือฮาซัน(อัลอัสการี)บุตรชายของฉัน  แล้วจะเป็นอย่างไรเล่าสำหรับประชาชนเกี่ยวกับผู้สืบทอด(ตำแหน่งผู้นำคนที่ 12 ) ต่อจากเขา ?
ท่านอับดุลอะซีมเล่าว่า : ฉันกล่าวว่า : โอ้เมาลาของฉันมันจะเป็นอย่างไรหรือ ?  ท่านอิม่ามฮาดี(อ) ตอบว่า : เพราะเนื่องจากเขา(อิม่ามคนที่ 12) จะไม่มีใครได้เห็นตัวเขา และก็ไม่อนุญาติให้เอ่ยถึงเขาด้วยชื่อจริงของเขา จนกว่าเขาจะปรากฏตัวออกมาทำให้โลกเต็มเปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและความยุติธรรม เหมือนดั่งที่มันเคยเต็มไปด้วยความอธรรมและการกดขี่
ท่านอับดุลอะซีมเล่าว่า : ฉันได้กล่าวว่า : ฉันขอยืนยัน(ต่อสิ่งที่กล่าวมา)    และฉันกล่าวว่า : แท้จริงวะลี(คนรัก)ของพวกเขาคือวะลีของอัลลอฮ์ และศัตรูของพวกเขาคือศัตรูของอัลลอฮ์การเชื่อฟังพวกเขาคือการเชื่อฟังอัลลอฮ์และการขัดคำสั่งพวกเขาคือการขัดคำสั่งของอัลลอฮ์
และฉันเชื่อว่า : แท้จริงการขึ้นมิ๊อ์อ์รอจญ์ของท่านนะบี(ศ)นั้นเป็นเรื่องจริง, การสอบถามในหลุมศพนั้นเป็นจริง, สวรรค์และนรกนั้นมีจริง, สะพานศิร็อฏมีจริง, มีซานตราชั่งความดีความชั่วนั้นมีจริง,  วันอวสานนั้นจะต้องเกิดขึ้นแน่อย่างไม่ต้องสงสัยและแท้จริงอัลลอฮ์จะให้ผู้ที่อยู่ในหลุมศพฟื้นขึ้นมา  
และฉันขอกล่าวว่า :  แท้จริงฟัรฎู(หน้าที่)ที่เป็นวาญิบ(ต้องปฏิบัติ)หลังจากเรื่อง 1,วิลายะฮ์ (ตรงข้ามคือ2,บะรออะฮ์ ) 3, การนมาซวาญิบ 4, การจ่ายทานซะกาต (และ5,จ่ายคุมส์ข้อปลีกย่อยของซะกาต 6,การถือศีลอด 7, การบำเพ็ญฮัจญ์  8,การทำญิฮ๊าด 9,การแนะนำให้ทำดีและ10,การห้ามปรามมิให้ทำชั่ว    
ท่านอิม่ามอาลี บินมุฮัมมัดอัลฮาดี(อ)กล่าวว่า : โอ้อบุลกอซิม ! ขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮ์ว่า หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติแบบนี้แหล่ะคือ ศาสนาของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงพอพระทัยมอบมันให้กับปวงบ่าวของพระองค์ ดังนั้นขอให้เจ้าจงยึดถือมันไว้อย่างมั่นคง ขออัลลอฮ์ทรงทำให้เจ้ามีความมั่นคงต่อคำพูดอันมั่นคงนี้ทั้งชีวิตในโลกนี้และปรโลกด้วยเถิด


ดู

อัตเตาฮีด โดยเชคศอดูก หน้า 81 หะดีษที่ 37

วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม  1 : 2181 หะดีษที่ 20
#39

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากหะดีษ    

อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า
 
إِنَّ أَساَسَ الدِّيْنِ التَّوْحِيْدُ وَالْعَدْلِ

แท้จริงรากฐานของศาสนาคือ  อัตเตาฮีดและอัลอัดลุ(ความยุติธรรม)

ดู

มะอานิลอัคบาร โดยเชคศอดูก  หน้า  1 หะดีษ 2  
#40
อิบนุกุตัยบะฮ์

หนึ่งในนักวิชาการผู้โด่งดังในโลกอิสลามได้กล่าวถึง โศกนากรรมของท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ)ไว้ในหนังสือของเขาชื่อ

" อัลอิมามะฮ์ วัสซิยาซะฮ์ " ในหัวข้อ


كَيْفَ كاَنَتْ بَيْعَةَ عَلِيِّ بْنِ أَبِيْ طاَلِبٍ كَرَّمَ اللهُ وَجْهَهُ

ท่านอาลี บินอบีตอลิบ(ขออัลลอฮ์ทรงให้เกียรติแก่ใบหน้าของเขาด้วย)ได้ให้บัยอัตอย่างไร



เขาเล่าว่า :

وَإنَّ أَباَ بَكْرٍ رضي الله عنه تَفَقَّدَ قَوْماً تَخَلَّفُوْا عَنْ بَيْعَتِهِ عِنْدَ عَلِيٍّ كرم الله وجهه،

ท่านอบูบักรได้ค้นพบคนกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ได้มอบบัยอัตให้กับเขา(หลบ)อยู่ที่บ้านของท่านอาลี

فَبَعَثَ إلَيْهِمْ عُمَرَ، فَجاَءَ فَناَدَاهُمْ وَهُمْ فِي دَارِ عَلِيٍّ، فَأَبَوْا أنْ يَخْرُجُوْا

เขาจึงส่งท่านอุมัรไปหาพวกเขา  ท่านอุมัรได้มาแล้วเรียกพวกเขา ซึ่งอยู่ในบ้านของท่านอาลี แต่พวกเขาปฏิเสธที่จะออกมาข้างนอก

فَدَعاَ بِالْحَطَبِ وَقاَلَ : وَالَّذِيْ نَفْسُ عُمَرَ بِيَدِهِ . لَتَخْرُجَنَّ أَوْ لَاُحْرِقَنَّهاَ عَلَى مَنْ فِيْهاَ،  

ท่านอุมัรได้เรียกให้เอาฟืนมาและกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า  เจ้าจะต้องออกมาหรือมิเช่นนั้นข้าจะจุดไฟเผาคนที่อยู่ข้างในบ้านนี้

قِيْلَ لَهُ ياَ أَباَ حَفْص إنَّ فِيْهاَ فاَطِمَةُ ؟ فَقاَلَ وَإنْ، فَخَرَجُوْا فَباَيَعُوْا

มีคนกล่าวว่า โอ้อบูฮัฟศ์(อุมัร) ในบ้านหลังนี้มีฟาติมะฮ์อยู่นะ เขากล่าวว่าแม้นางจะอยู่ในนั้นก็ตาม ดังนั้นพวกเขาจึงออกมาให้บัยอัต

إِلاَّ عَلِياًّ فَإِنَّهُ زَعَمَ أَنَّهُ قاَلَ : حَلَفْتُ أنْ لاَ أُخْرُجَ وَلاَ أَضَعَ ثَوْبِيْ عَلَى عاَتِقِيْ حَتىَّ أَجْمَعَ الْقُرْآنَ،  

ยกเว้นท่านอาลี เพราะเขาอ้าง(เหตุผล)ว่า ฉันได้สาบานเอาไว้ว่าจะไม่ออกไปไหนและจะไม่เอาผ้าฉันวางบนไหล่จนกว่าฉันจะรวบรวมอัลกุรอ่าน(ให้เสร็จเสียก่อน)

فَوَقَفَتْ فاَطِمَةُ رضي الله عنها عَلَى باَبِهاَ، فَقاَلَتْ : لاَ عَهْدَ لِيْ بِقَوْمٍ حَضَرُوْا أَسْوَأَ مَحْضَرٍ مِنْكُمْ،

ท่านหญิงฟาติมะฮ์ยืนอยู่ตรงประตูบ้าน(ด้านใน)พลางกล่าวว่า สำหรับฉัน ไม่เคยมีสมัยใดจะมีชนกลุ่มหนึ่งที่มายัง(บ้านฉัน)จะเลวมากไปกว่าการมาของพวกท่านอีกแล้ว

تَرَكْتُمْ رَسُوْلَ اللهِ صلى الله عليه وسلم جَناَزَةً بَيْنَ أَيْدِيْناَ، وَقَطَعْتُمْ أَمْرَكُمْ بَيْنَكُمْ، لَمْ تَسْتَأْمِرُوْناَ، وَلَمْ تَرِدُوْا لَناَ حَقاًّ.

พวกท่านทิ้งญะนาซะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ไว้กับพวกเรา และพวกเจ้าได้ตัด(สิน)กิจการของพวกท่านเองในหมู่พวกท่านโดยไม่ได้ขอคำปรึกษาหารือกับพวกเราเลยและไม่เคยมอบสิทธิอันชอบธรรมให้กับพวกเราด้วย

فَأَتَى عُمَرُ أَباَ بَكْرٍ، فَقاَلَ لَهُ : أَلاَ تَأْخُذُ هَذاَ الْمُتَخَلِّفَ عَنْكَ باِلْبَيْعَةِ ؟  فَقاَلَ أَبُوْ بَكْرٍ لِقُنْفُذٍ
وَهُوَ مَوْلَى لَهُ : اِذْهَبْ فَادْعُ لِيْ عَلِياًّ،  

ท่านอุมัรได้กลับมาหาท่านอบูบักรแล้วกล่าวกับเขาว่า  ท่านจะไม่เอา(เรื่องกับ)ผู้ที่ไม่ยอมมอบบัยอัตต่อท่านคนนี้หรือ ? ท่านอบูบักรจึงบอกกับกุนฟุซคนรับใช้ของเขาว่า จงไปเรียกอาลีมาหาฉันที

قاَلَ فَذَهَبَ إِلىَ عَلِيٍّ فَقاَلَ لَهُ : ماَ حاَجَتُكَ ؟  فَقاَلَ يَدْعُوْكَ خَلِيْفَةُ رَسُوْلِ الله ، فَقاَلَ عَلِيٌّ : لَسَرِيْعٌ ماَ كَذِبْتُمْ عَلىَ رَسُوْلِ الله . فَرَجَعَ فَأَبْلَغَ الرِّساَلَةَ،

กุนฟุซจึงไปหาท่านอาลี  ฝ่ายท่านอาลีกล่าวว่า เจ้ามีธุระอะไรหรือ  กุนฟุซตอบว่า  คอลีฟะฮ์ของท่านรอซูลฯขอเชิญท่านไปพบ   ท่านอาลีจึงกล่าวว่า ช่างรวดเร็วเสียเหลือเกินสิ่งที่พวกท่านได้มุสาต่อท่านรอซูลุลลอฮ์ กุนฟุซจึงเอาข่าวกลับไปบอก(ท่านอบูบักร)

قاَلَ : فَبَكَى أَبُوْ بَكْرٍ طَوِيْلاً.  فَقاَلَ عُمَرُ الثاَّنِيَّةَ : لاَ تَمْهِلْ هَذاَ الْمُتَخَلِّفَ عَنْكَ بِالْبَيْعَةِ،

เขาเล่าว่า ท่านอบูบักร(ได้ฟัง)จึงร้องไห้เป็นเวลานาน  ท่านอุมัรได้กล่าวเป็นครั้งที่สองว่า ท่านจงอย่าปล่อยคนที่ไม่ยอมบัยอัตให้กับท่านคนนี้ไว้
 
فَقاَلَ أَبُوْ بَكْرٍ رضي الله عنه لِقُنْفُذٍ : عُدْ إِلَيْهِ، فَقُلْ لَهُ : خَلِيْفَةُ رَسُوْلِ الله يَدْعُوْكَ لِتُباَيِعَ،

ท่านอบูบักรกล่าวกับกุนฟุซว่า จงกลับไปหาเขาแล้วจงบอกเขาว่า  คอลีฟะฮ์ของท่านรอซูลฯเชิญท่านให้มาบัยอัต

فَجاَءَهُ قُنْفُذٍ، فَأَدَّى ماَ أُمِرَ بِهِ، فَرَفَعَ عَلِىٌّ صَوْتَهُ فَقاَلَ سُبْحاَنَ الله ؟ لَقَد ادَّعَى ماَ لَبِسَ لَهُ، فَرَجَعَ قُنْفُذٌ، فَأَبْلَغَ الرِّساَلَةَ،

กุนฟุซมาหาท่านอาลี(อีกครั้ง)แล้วทำตามที่เขาถูกคำสั่งให้ทำ  ท่านอาลีได้ยกเสียงดังลั่นว่า  สุบฮานัลลอฮ์ ? เขาได้แอบอ้างในสิ่งที่คนได้สวมให้เขากระนั้นหรือ  กุนฟุซ กลับมาแล้วแจ้งข่าว(ให้ท่านอบูบักรฟัง)

فَبَكَى أَبُوْ بَكْرٍ طَوِيْلاً، ثُمَّ قاَمَ عُمَرُ، فَمَشَى مَعَهُ جَماَعَةٌ، حَتَّى أَتَوْا باَبَ فاَطِمَةَ،

แล้วท่านอบูบักรได้ร้องไห้เป็นเวลานาน จากนั้นท่านอุมัรได้ลุกขึ้นไปกับคนกลุ่มหนึ่งพร้อมกับเขา จนพวกเขาได้มาถึงที่หน้าประตูบ้านของนางฟาติมะฮ์
 
فَدَقُّوْا الْباَبَ، فَلَماَّ سَمِعَتْ أَصْوَاتَهُمْ ناَدَتْ بِأَعْلَى صَوْتِهاَ : ياَ أَبَتِ ياَ رَسُوْلَ الله، ماَذاَ لَقِيْناَ بَعْدَكَ مِن ابْنِ الْخَطاَّبِ وَابْنِ أَبِيْ قُحاَفَةَ،

พวกเขาเคาะประตู พอนางได้ยินเสียงของพวกเขา นางจึงร้องออกมาด้วยเสียงดังลั่นว่า โอ้พ่อจ๋า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  เราได้เจออะไรหลังจากท่าน จากอิบนุคอฏฏ็อบและอิบนุ กุฮาฟะฮ์(ท่านอุมัรและท่านอบูบักร)

فَلَماَّ سَمِعَ الْقَوْمُ صَوْتَهاَ وَبُكاَءَهاَ، اِنْصَرَفُوْا باَكِيْنَ، وَكاَدَتْ قُلُوْبُهُمْ تَنْصَدِعُ، وَأَكْباَدُهُمْ تَنْفَطِرُ،

พอคนกลุ่มนั้นได้ยินเสียงของนางและการร้องไห้ของนาง พวกเขาจึงได้ผินกลับไปในสภาพร้องไห้  จิตใจของพวกเขาแทบแตกสลาย
 
وَبَقَى عُمَرُ وَمَعَهُ قَوْمٌ، فَأَخْرَجُوْا عَلِياًّ، فَمَضَوْا بِهِ إِلىَ أَبِيْ بَكْرٍ، فَقاَلُوْا لَهُ: باَيِعْ ،

ท่านอุมัรกับชนกลุ่มหนึ่งยังคงอยู่  พวกเขาได้นำตัวท่านอาลีออกมาข้างนอกแล้วพาไปหาท่านอบูบักร พวกเขาบอกกับท่านอาลีว่า จงมอบบัยอัตเถิด

فَقاَلَ : إنْ أَناَ لَمْ أَفْعَلْ فَمَه ؟ قاَلُوْا: إِذاً وَاللهِ الَّذِيْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ نَضْرِبُ عُنُقَكَ ،

ท่านอาลีกล่าวว่า หากฉันจะยอมทำล่ะ จะมีอะไร  พวกเขากล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์  เราก็จะตัดคอท่านเสีย

فَقاَلَ : إِذاً تَقْتُلُوْنَ عَبْدَ اللهِ وَأَخاَ رَسُوْلِهِ، قاَلَ عُمَرُ : أَماَّ عَبْدُ اللهِ فَنَعَمْ، وَأَماَّ أَخُوْ رَسُوْلِهِ فَلاَ،

ท่านอาลีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกเจ้าจะฆ่าบ่าวของอัลลอฮ์และเป็นน้องชายของรอซูลของพระองค์นะสิ   ท่านอุมัรกล่าวว่า  ส่วนการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์นั้นใช่ ส่วนการเป็นน้องชายของรอซูลของพระองค์นั้นไม่ใช่

وَأَبَوْ بَكْرٍ ساَكِتٌ لاَ يَتَكَلَّمُ، فَقاَلَ لَهُ عُمَرُ : أَلاَ تَأْمُرُ فِيْهِ بِأَمْرِكَ ؟ فَقاَلَ : لاَ أُكْرِهُهُ عَلَى شَيْءٍ ماَ كاَنَتْ فاَطِمَةُ إِلىَ جَنْبِهِ،

ท่านอบูบักรนิ่งเฉยไม่พูดสิ่งใด ท่านอุมัรจึงบอกกับเขาว่า  ท่านจะไม่สั่งการอันใดในเรื่องนี้ด้วยคำสั่งของท่านเองเลยหรือ ? ท่านอบูบักรตอบว่า ฉันจะไม่บังคับท่านอาลีบนสิ่งใด ตราบใดที่ยังมีนางฟาติมะฮ์อยู่เคียงข้างเขา

فَلَحِقَ عَلِيٌّ بِقَبْرِ رَسُوْلِ الله صلى الله عليه وسلم يَصِيْحُ وَيَبْكِيْ، وَيُناَدِيْ : ياَ بْنَ أُمِّ إِنَّ الْقَوْمَ اسْتَضْعَفُوْنِيْ وَكاَدُوْا يَقْتُلُوْنَنِيْ .  

ท่านอาลีไปที่หลุมศพท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ร่ำไห้แล้วร้องตะโกนว่า โอ้ลูกของแม่ ! แท้จริงคนกลุ่มนี้ได้ทำให้ฉันเป็นผู้อ่อนแอและพวกเขาเกือบจะฆ่าฉันแล้ว
 
فَقاَلَ عُمَرُ لِأَبِيْ بَكْرٍ رضي الله عنهما، اِنْطَلِقْ بِناَ إِلىَ فاَطِمَةَ، فَإِناَّ قَدْ أَغْضَبْناَهاَ، فَانْطَلَقاَ جَمِيْعاً،

(หลังเหตุการณ์คราวนั้นผ่านไป) ท่านอุมัรได้พูดกับท่านอบูบักรว่า จงไปหานางฟาติมะฮ์กับเราเถิด เพราะเราได้ทำให้นางโกรธ แล้วทั้งสองได้ไปพร้อมกัน

فَاسْتَأْذَناَّ عَلَى فاَطِمَةَ، فَلَمْ تَأْذِنْ لَهُماَ، فَأَتِياَ عَلِياًّ فَكَلَّماَهُ، فَأَدْخَلَهُماَ عَلَيْهاَ، فَلَماَّ قَعَداَ عِنْدَهاَ، حَوَّلَتْ وَجْهَهاَ إِلىَ الْحاَئِطِ، فَسَلَّماَ عَلَيْهاَ، فَلَمْ تَرُدَّ عَلَيْهِماَ السَّلاَمُ،

เรา(ท่านอุมัรกับอบูบักร)ได้ขออนุญาตต่อนางฟาติมะฮ์(เข้าพบ)แต่นางไม่ยินยอมให้ทั้งสอง(พบ) ทั้งสองจึงมาที่ท่านอาลีแล้วได้เจรจากับเขา ฉะนั้นท่านอาลีจึงนำทั้งสองเข้ามาหานาง เมื่อทั้งสองนั่งลงต่อหน้านาง  นางได้ผินหน้าไปที่ฝาผนัง ทั้งสองให้สลามแก่นาง แต่นางไม่ยอมตอบรับสลามต่อทั้งสอง

فَتَكَلَّمَ أَبُوْ بَكْرٍ فَقاَلَ : ياَ حَبِيْبَةَ رَسُوْلِ اللهِ وَاللهِ إِنَّ قَراَبَةَ رَسُوْلِ اللهِ أَحَبُّ إِلَىَّ مِنْ قَرَابَتِيْ، وَإِنَّكِ لَأَحَبُّ إِلَيَّ مِنْ عاَئِشَةَ ابْنَتِيْ، وَلَوَدَدْتُ يَوْمَ ماَتَ أَبُوْكِ أَنِّيْ مُتُّ، وَلاَ أَبْقَى بَعْدَهُ،

ท่านอบูบักรได้พูดว่า  โอ้ผู้เป็นที่รักของท่านรอซูลุลลอฮ์  ฉันขอสาบานว่า  ครอบครัวของท่านรอซูลฯนั้นเป็นที่รักของฉันยิ่งกว่าครอบครัวของฉันเองเสียอีก  และเธอนั้นเป็นที่รักของฉันยิ่งกว่าอาอิชะฮ์ลูกสาวของฉันเสียอีก และในวันที่บิดาเธอจากไปนั้นฉันอยากให้เป็นตัวฉันตาย(แทนด้วยซ้ำ)

أَفَتَرَانِيْ أَعْرِفُكِ وَأَعْرِفُ فَضْلَكِ وَشَرَفَكِ وَأَمْنِعُكِ حَقَّكِ وَمِيْرَاثِك مِنْ رَسُوْلِ اللهِ إِلاَّ أَنِّيْ سَمِعْتُ أَباَكِ رَسُوْلَ اللهِ صلى الله عليه وسلم يَقُوْلُ : لاَ نُوْرِثُ، ماَ تَرَكْناَ فَهُوَ صَدَقَةٌ،
เธอเห็นฉันไหมว่า ฉันรู้จักเธอ รู้จักความสูงส่งและเกียรติตระกูลของเธอ และที่ฉันหักห้ามมิยอมมอบสิทธิของเธอและมรดกของเธอที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮ์นั้นมิใช่สิ่งใดเลย นอกจากฉันได้ยินบิดาของเธอคือท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า

 " เรา(บรรดานบี)ไม่มีมรดก สิ่งที่เราทิ้งไว้มันคือทานซอดะเกาะฮ์ "


فَقاَلَتْ : أَرَأَيْتُكُماَ إِنْ حَدَّثْتُكُماَ حَدِيْثاً عَنْ رَسُوْلِ اللهِ صلى الله عليه وسلم تَعْرِفاَنَهُ وَتَفْعَلاَنَ بِهِ ؟  قاَلاَ : نَعَمْ .

นาง(ฟาติมะฮ์จึง)กล่าวว่า ฉันจะให้ท่านทั้งสองเห็น หากฉันได้เล่าฮะดีษบทหนึ่งที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ซึ่งท่านทั้งสองรู้จักมันดี และท่านทั้งสองจะปฏิบัติตามมันไหม ?  ทั้งสองตอบว่า แน่นอน

فَقاَلَتْ : نَشَدْتُكُماَ اللهَ أَلَمْ تَسْمَعاَ رَسُوْلَ اللهِ يَقُوْلُ: رِضاَ فاَطِمَةَ مِنْ رِضاَيَ، وَسَخْطُ فاَطِمَةَ مِنْ سَخَطِيْ، فَمَنْ أَحَبَّ فاَطِمَةَ ابْنَتِيْ فَقَدْ أَحَبَّنِيْ، وَمَنْ أَرْضَى فاَطِمَةَ فَقَدْ أَرْضاَنِيْ، وَمَنْ أَسْخَطَ فاَطِمَةَ فَقَدْ أَسْخَطَنِيْ ؟

นาง(ฟาติมะฮ์)กล่าวว่า  ฉันขอให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานต่อท่านทั้งสองด้วยเถิด พวกท่านทั้งสองไม่เคยได้ยิน

ท่านรอซูลุลลอฮ์กล่าวว่า  

" ความพึงพอใจของฟาติมะฮ์คือส่วนหนึ่งจากความพึงพอใจของฉัน  และความโกรธของฟาติมะฮ์คือส่วนหนึ่งจากความโกรธของฉัน ดังนั้นผู้ใดรักฟาติมะฮ์บุตรสาวของฉันเท่ากับเขารักฉัน และผู้ใดทำให้ฟาติมะฮ์พึงพอใจเท่ากับเขาได้ทำให้ฉันพึงพอใจ และผู้ใดทำให้ฟาติมะฮ์โกรธเท่ากับเขาได้ทำให้ฉันโกรธ " หรือไม่ ?


قاَلاَ نَعَمْ سَمِعْناَهُ مِنْ رَسُوْلِ اللِه صلى الله عليه وسلم،  قاَلَتْ: فَإِنِّيْ أُشْهِدُ اللهَ وَمَلاَئِكَتَهُ أَنَّكُماَ أَسْخَطْتُماَنِيْ وَماَ أَرْضَيْتُماَنِيْ، وَلَئِنْ لَقِيْتُ النَّبِيَّ لَأَشْكُوَنَّكُماَ إِلَيْهِ،  

ทั้งสองได้กล่าวว่า  ใช่แล้ว เราได้ยินฮะดีษนี้มาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) นางกล่าวว่า ฉันขอให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานและมวลมลาอิกะฮ์ของพระองค์ด้วย  แท้จริงท่านทั้งสองได้ทำให้ฉันโกรธและมิได้ทำให้ฉันพอใจ และหากฉันได้พบกับท่านนะบี(ศ) ฉันจะฟ้องร้องต่อท่านอย่างแน่นอน

فَقاَلَ أَبُوْ بَكْرٍ أَناَ عاَئِذٌ باِللهِ تَعاَلىَ مِنْ سَخَطِهِ وَسَخَطِكِ ياَ فاَطِمَةَ ، ثُمَّ انْتَحَبَ أَبُوْ بَكْرٍ يَبْكِيْ، حَتَّى كاَدَتْ نَفْسُهُ أَن تَزْهَقُ،

ท่านอะบูบักรกล่าวว่า  ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ตะอาลาให้พ้นจากความพิโรธของพระองค์และความโกรธของนาง โอ้ฟาติมะฮ์  จากนั้นท่านอะบูบักรได้ร้องไห้คร่ำครวญจนตัวเขาแทบสลาย

وَهِيَ تَقُوْلُ : وَاللهِ لَأَدْعُوَنَّ اللهَ عَلَيْكَ فِيْ كُلِّ صَلاَةٍ أُصَلِّيْهاَ، ثُمَّ خَرَجَ باَكِياً فَاجْتَمَعَ إِلَيْهِ الناَّسُ،

นาง(ฟาติมะฮ์)จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์  ฉันจะขอให้อัลลอฮ์ทรงสาปแช่งท่านทุกเวลานมาซที่ฉันทำอย่างแน่นอน  จากนั้นเขา(อะบูบักร)ได้เดินออกมาในสภาพร้องไห้  แล้วประชาชนได้มาชุมนุมยังเขา

فَقاَلَ لَهُمْ : يَبِيْتُ كُلُّ رَجُلٍ مِنْكُمْ مُعاَنِقاً حَلِيْلَتِهِ، مَسْرُوْراً بِأَهْلِهِ، وَتَرَكْتُمُوْنِيْ وَماَ أَناَ فِيْهِ، لاَ حاَجَةَ لِيْ فِيْ بَيْعَتِكُمْ، أَقِيْلُوْنِيْ بَيْعَتِيْ.  

เขา(อะบูบักร)ได้กล่าวกับพวกเขาว่า  ชายทุกคนจากในหมู่พวกท่านต่างนอนกอดภรรยาของเขาอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวของเขา และพวกท่านได้ทอดทิ้งฉันไว้และฉันต้องอยู่ในสิ่งนั้น  ไม่มีความจำเป็นเลยสำหรับฉันในการให้บัยอัตของพวกท่าน พวกท่านจงช่วยฉันให้เป็นอิสระจากบัยอัตของฉันเถิด....................

قاَلُوْا: ياَ خَلِيْفَةَ رَسُوْلِ اللهِ، إِنَّ هَذاَ الْاَمْرَ لاَ يَسْتَقِيْمُ، وَأَنْتَ أَعْلَمُناَ بِذَلِكَ، إِنَّهُ إنْ كاَنَ هَذاَ لَمْ يَقُمْ لِلّهِ دِيْنٌ،
فَقاَلَ : وَاللهِ لَوْ لاَ ذَلِكَ وَماَ أَخاَفَهُ مِنْ رَخاَوَةِ هَذِهِ الْعُرْوَةِ ماَ بِتُّ لَيْلَةً وَلِىْ فِيْ عُنُقِ مُسْلِمٍ بَيْعَةً، بَعْدَماَ سَمِعْتُ وَرَأَيْتُ مِنْ فاَطِمَةَ.

قاَلَ : فَلَمْ يُباَيِعْ عَلِيٌّ كرم الله وجهه حَتَّى ماَتَتْ فاَطِمَةُ رضي الله عنهما، وَلَمْ تَمْكُثْ بَعْدَ أَبِيْهاَ إِلاَّ خَمْساً وَسَبْعِيْنَ لَيْلَةً
.
كتاب : الامامة والسياسة  لابن قتيبة الدينوري  ص 19 – 20

เขาเล่าว่า  ท่านอาลีมิยอมให้บัยอัต จนกระทั่งท่านหญิงฟาติมะฮ์(ร.ฎ.)เสียชีวิต นางมีชีวิตอยู่หลังจากบิดานาง(จากไป)ประมาณ 75 คืน


อ้างอิงจากหนังสือ  

อัลอิมามะฮ์ วัสซิยาซะฮ์ โดยอิบนุกุตัยบะฮ์ อัด-ดิยะนะวะรีย์  หน้า 19 - 20
#41

ข้ออ้างที่สอง – ฝ่ายค้านเรื่องความสำคัญของวิชาริญาลอ้างว่า


รายงานฮะดีษของเชคกุลัยนี มีความถูกต้อง (ซอฮิ๊ฮ์) โดยได้อ้างว่า
เนื่องจากมีคนขอร้องให้เชคกุลัยนีรวบรวมตำราฮะดีษขึ้นเล่มหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยวิชาการศาสนาอย่างครบครันทุกเรื่องให้ความเพียงพอแก่ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน หรือแก่ผู้ที่ใฝ่แสวงหาสัจธรรมย้อนกลับไปศึกษามัน เพื่อจะได้นำเอาความรู้เหล่านั้นมาเป็นยึดถือและปฏิบัติ ด้วยรายงานฮะดีษที่ถูกต้องอันมีที่มาจากท่านอิม่ามทั้งสองคือ อิม่ามมูฮัมมัด อัลบาเก็รและอิม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(อ)

   ฝ่ายเชคกุลัยนีได้ขานรับคำขอร้องนี้โดยเขาได้กล่าวว่า :

وَقَدْ يَسَّـرَ اللّهُ (وَ لَهُ الْحَمْدُ ) تَأْلِيْف ماَ سألتُ، وأرجُو أن يَكُونَ بِحَيْثُ تَوَخَّيْتُ

แน่นอนยิ่งอัลเลาะฮ์ได้ทรงทำให้ง่ายดาย ( และสำหรับพระองค์คือการสรรเสริญขอบคุณ ) แก่การเรียบเรียง(ตำราอัลกาฟีขึ้น)ตามที่ฉันได้ถูกร้องขอ(ให้เรียบเรียง) และฉันหวังว่ามันจะเป็นไปตามที่ฉันหวังไว้


อ้างอิงจากหนังสืออัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 11

(ฝ่ายค้านจึงอ้างว่า) การสนทนานี้ได้เปิดเผยให้รู้ว่าในตำราอัลกาฟีนั้นมีความซอแฮะฮ์(ถูกต้อง)ตามทัศนะของเชคกุลัยนีเอง


۞ คำตอบสำหรับเรื่องนี้

ขอให้เรามาพิจารณาเป็นประเด็นกันดังนี้คือ


หนึ่ง -

ฝ่ายผู้ที่ขอร้องให้เชคกุลัยนีทำตำราฮะดีษขึ้นเล่มหนึ่งที่ประกอบไปด้วยรายงานที่ถูกต้องจากท่านอิม่ามทั้งสองคือ อิม่ามมูฮัมมัด อัลบาเก็รและอิม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(อ) แต่ในขณะเดียวกันผู้ขอร้องก็ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขกับเชคกุลัยนีว่า ห้ามเชคกุลัยนีนำฮะดีษที่ไม่ซอแฮะฮ์มาบันทึกรวมเอาไว้ด้วย ฝ่ายเชคกุลัยนีได้ทำตามที่เขาขอร้องมา
กล่าวคือ เขาได้เรียบเรียงตำราฮะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องอันมีที่มาจากท่านอิม่ามทั้งสอง อีกทั้งครบครับไปด้วยความรู้ต่างๆทางศาสนาหลายสาขา ซึ่งรวมทั้งฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่ซอแฮะฮ์อีกด้วย หรือมันอาจจะถูกต้องในทัศนะของนักปราชญ์คนอื่นๆก็เป็นได้ด้วยเช่นกัน


สอง -

สายรายงานฮะดีษต่างๆในหนังสืออัลกาฟีอาจมีความซอแฮะฮ์ถูกต้องตามทัศนะของตัวเชคกุลัยนีเอง แต่มันไม่ใช่หลักฐานที่จะมากำกับว่า สายรายงานเหล่านั้นมันมีความถูกต้องตามทัศนะของนักปราชญ์คนอื่นๆด้วย เพราะเนื่อง ทัศนะของบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิด มีเงื่อนไขในการยอมรับฮะดีษที่แตกต่างกันไป   ซึ่งเราจะกล่าวถึงเรื่องนี้ทีหลังว่า(อยู่ในบทเรียนที่ 30) ฮะดีษซอฮิ๊ฮ์ในทัศนะของกุดะมาอ์(นักปราชญ์รุ่นก่อน) มีความไม่ถูกต้องตามทัศนะของมุตะอัคคิรีน(นักปราชญ์รุ่นหลัง)อย่างไร อินชาอัลลอฮ์  เพราะฉะนั้นจะไปเหมารวมว่าฮะดีษในอัลกาฟีถูกต้องทั้งหมดได้อย่างไร ถ้าหากมันเป็นความถูกต้องตามทัศนะของเชคกุลัยนีเจ้าของตำราเท่านั้น

เพื่อความเข้าใจในเรื่องเราขอยกตัวอย่างอาทิเช่น


เชคกุลัยนีมีทัศนะว่า  นักรายงานฮะดีษชื่อ  สะฮัล บินซิยาด มีความน่าเชื่อถือในสายตาของเขา  ดังนั้นเราจะพบว่าหนังสืออัลกาฟีเล่มที่หนึ่งกับเล่มที่สองมีฮะดีษที่รายงานโดยสะฮัลบินซิยาดถึง 247 บท
แต่นักปราชญ์คนอื่นกับมีทัศนะขัดแย้งกับเชคกุลัยนีอาทิเช่น

เชคนะญาชี (เกิด 372 มรณะ ฮ.ศ.450 )กล่าวว่า

سَهْلُ بْنُ زِياَدٍ أبُو سَعِيْدٍ الْآدَمِيُّ الراَّزِيّ كاَنَ ضَعِيْفاً فِي الْحَدِيْثِ،غَيْرُ مُعْتَمِدٍ فِيْهِ

สะฮัล บินซิยาด อะบูสะอีด อัลอาดะมี อัลรอซี  : เขามีความดออีฟในฮะดีษ (กล่าวคือ) เขาไม่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานฮะดีษ

อ้างอิงจากหนังสือริญาล นะญีชี   อันดับที่ 490


เพราะฉะนั้นตามทัศนะของเชคนะญาชี ในหนังสืออัลกาฟีจึงมีฮะดีษจำนวน 247 บทที่มีสถานะ " ดออีฟ – คือยึดเป็นหลักฐานไม่ได้ "  

ด้วยเหตุนี้จะยอมรับได้อย่างไรว่า ฮะดีษในหนังสืออัลกาฟีมีความถูกต้องทั้งหมด ???
#42
บทเรียนที่  สาม

ข้ออ้างสำหรับผู้ที่ปฏิเสธความสำคัญของวิชาริญาล



หลังจากที่ท่านได้ทราบเหตุผลของฝ่ายที่กล่าวว่า วิชาริญาล มีความสำคัญอย่างยิ่งในการ อิสตินบ๊าฏ อะห์กาม(การวิเคราะห์หรือประมวลศาสนบัญญัติ)ไปแล้ว  
ทีนี้เราจะมาฟังฝ่ายปฏิเสธในเรื่องนี้บ้างว่า ฝ่ายค้านได้อ้างเหตุผลปฏิเสธในเรื่องนี้ไว้อย่างไร


ข้ออ้างที่หนึ่ง –  ฝ่ายปฏิเสธความสำคัญของวิชาริญาลอ้างว่า


ฮะดีษที่บันทึกอยู่ใน " กุตุบอัรบะอะฮ์ " คือหนังสือ อัลกาฟี, อัลฟะกีฮ์, อัตตะฮ์ซีบและอัลอิสติบศ็อรนั้น" เชื่อถือได้แน่นอน " ว่ามาจากบรรดาอิม่าม(อ)
พวกเขาจึงมองว่า  จะไปค้นคว้าตรวจสอบชีวประวัตินักรายงานฮะดีษในตำราทั้งสี่ว่า  นักรายงานคนนี้เชื่อได้ คนนั้นเชื่อไม่ได้เพื่ออะไร เพราะในเมื่อพวกเขาเชื่อว่าฮะดีษเหล่านั้นคือคำพูดที่ได้รับรายงานมาจากบรรดาอิม่าม(อ)

۞ คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ  ข้ออ้างของฝ่ายค้านนี้ ปราศจากเหตุผลและหลักฐาน ถ้าหากคนใดก็ตามได้ศึกษาได้อ่านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องฮะดีษเขาจะไม่กล้ากล่าวเช่นนั้นเด็ดขาด
ทีนี้ขอให้เราลองย้อนไปดูหนังสืออัลกาฟี ที่เชคมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ อัลกุลัยนี มรณะฮ.ศ. 329 ได้ใช้เวลารวบรวมถึงยี่สิบปีเต็ม ซึ่งนับเป็นตำราฮะดีษอันทรงคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่งสำหรับวงการชีอะฮ์ แต่ถึงกระนั้นเจ้าของตำราเองก็ไม่เคยอ้างว่า ฮะดีษที่เขารวบรวมนั้น ซอแฮะฮ์(ถูกต้อง) เชื่อได้ทั้งหมด  ที่ยิ่งกว่านั้นเชคกุลัยนีเองยังได้กล่าวแสดงความไม่แน่ใจไว้ในคำนำหนังสือของเขาว่า ฮะดีษในตำราของเขาหาได้ถูกต้องไปเสียทั้งหมด  

หลักฐาน เชคกุลัยนีได้กล่าวว่า

فاعلم يا أخي أرشدك الله أنه لا يسع أحدا تمييز شئ مما اختلف الرواية فيه عن العلماء عليهم السلام برأيه، إلا على ما أطلقه العالم بقوله عليه السلام: \\\" اعرضوها على كتاب الله فما وافق كتاب الله عزوجل فخذوه، وما خالف كتاب الله فردوه

พึงรู้ไว้เถิด โอ้พี่น้องของฉัน ขออัลลอฮ์ได้โปรดนำทางท่านด้วยว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนใดคนหนึ่งในการที่จะแยกแยะจากรายงานฮะดีษที่มีความแตกต่างกันอันมีรายงานมาจากบรรดาอิม่าม(อ)ด้วยความคิดของเขาเอง  ยกเว้นตามสิ่งที่อิม่ามได้กล่าวมันเอาไว้ โดยอิม่าม(อ)ได้กล่าวว่า พวกท่านจงนำมัน(ฮะดีษ)ไปเทียบกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์  หากมันตรงกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัล พวกท่านจงยึดมันไว้ และหากมันไม่ตรงกับคัมภีร์ของอัลเลาะฮ์พวกท่านจงปฏิเสธมันเสีย  และคำพูดของอิม่าม(อ)ที่กล่าวว่า :

دَعُوْا ماَ وَافَقَ الْقَوْمُ، فَإنَّ الرُّشْدَ فِي خِلاَفِهِمْ

พวกท่านจงทิ้งสิ่งที่พวกสามัญชนเขาเห็นพ้องตรงกัน  เพราะทางนำ(ที่แท้จริง)นั้นย่อมตรงกันข้ามกับพวกเขา

และคำพูดของอิม่าม(อ)ที่กล่าวว่า :

خُذُوْا بِالْمَجْمَعِ عَلَيْهِ، فَإنَّ الْمَجْمَعَ عَلَيْهِ لاَ رَيْبَ فِيْهِ

พวกท่านจงยึดมติของปวงปราชญ์  เพราะมติของปวงปราชญ์ย่อมไม่มีข้อสงสัยในมัน



อ้างอิงจากหนังสืออัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 หน้า 9 -10


เพราะฉะนั้นความจริงก็คือ เราไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านั้นได้ทั้งหมด ยกเว้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และเราไม่พบสิ่งที่จะปลอดภัยมากไปกว่าการนำความรู้เรื่องฮะดีษเหล่านั้นทั้งหมดย้อนกลับไปยังผู้รู้ที่แท้จริง(อาลิมหรืออุละมะอ์) ซึ่งในที่นี้หมายถึงบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)

ท่านจะเห็นได้ชัดว่า  จากคำพูดของตัวเชคกุลัยนีเองก็ไม่เคยยึดมั่นเชื่อมั่นว่า ฮะดีษทั้งหมดในอัลกาฟีนั้นมาจากบรรดาอิม่าม(อ)ร้อยเปอร์เซ็น  แต่เขาได้สอนให้เรายึดบรรทัดฐานที่ว่า จะต้องเอาฮะดีษทุกบทไปวัดกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน โดยเงื่อนไขที่ว่า ฮะดีษนั้นๆจะต้องไม่ขัดกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน
#43
ประโยชน์ของวิชาริญาล


ประการที่หนึ่ง –

ทำให้สามารถแยกแยะนักรายงานที่ษิเกาะฮ์(เชื่อได้)ออกจากนักรายงานที่เชื่อไม่ได้

วิชาอิลมุลอุศูล(ประมวลศาสนบัญญัติ)ได้ยืนยันว่า ห้ามปฏิบัติสิ่งใดโดยปราศจากความรู้ความแน่ใจ หมายถึงด้วยหลักฐานทั้งสี่คือ

1.   กิตาบ (อัลกุรอ่าน)
2.   ซุนนะฮ์ (ฮะดีษท่านนะบีและบรรดาอิม่าม)
3.   อักล์ (สิ่งกินกับสติปัญญา)
4.   อิจญ์มาอ์ (มติของปวงปราชญ์)
แต่คำพูดของนักรายงานฮะดีษ จะเชื่อ

ถือได้แค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเราจะต้องย้อนกลับไปยังวิชาริญาลซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการอธิบายสถานภาพของนักรายงานทั้งหลายว่า เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้

คำพูดของนักรายงานที่ษิเกาะฮ์จะเป็นสิ่งที่ควบคุมฮะดีษไปในตัวว่า มันคือรายงานที่ได้ยินมาจากท่านนะบี(ศ)และบรรดาอิม่าม(อ)อย่างแน่นอน แต่เราจะไม่มีวันรู้จักคุณสมบัตินักรายงานฮะดีษเหล่านั้นได้เลย นอกจากจะกลับไปศึกษาสถานภาพของพวกเขาในตำราริญาลเสียก่อน  

เพราะฉะนั้นการจะเชื่อถือฮะดีษบทหนึ่งหรือจะปฏิบัติตามฮะดีษบทหนึ่ง ก็จำเป็นจะต้องรู้จักสถานะนักรายงานที่เล่าถึงฮะดีษบทนั้นให้ครบขบวนความอย่างสมบูรณ์


ประการที่สอง –


สามารถแก้ไขปัญหาของฮะดีษสองบทที่ขัดแย้งกันได้ โดยให้ย้อนกลับไปพิจารณาคุณสมบัติของนักรายงาน
ในกรณีที่ว่า มีฮะดีษสองบท พูดถึงเรื่องเดียวกันแต่มีเนื้อหาขัดแย้งกันไม่สามารถรวมทั้งสองเข้าด้วยกันได้  สิ่งสำคัญคือให้เราย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของผู้รายงานทั้งสองฮะดีษว่า ในสองคนนั้นใครมี ความน่าเชื่อ ความยุติธรรม ความรู้ ความซื่อสัตย์ความเคร่งครัดศาสนามากกว่ากัน ก็ให้ยึดผู้ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าเป็นหลักในการยึดฮะดีษ

ยกตัวอย่าง

อุมัร บินฮันเซาะละฮ์ได้ถามอิม่ามศอดิก(อ)เกี่ยวกับชายสองคนได้พิพาทกันในเรื่องศาสนาและมรดก ทั้งสองจึงนำความไปให้ผู้พิพากษาศาสนาตัดสิน ซึ่งการตัดสินของผู้พากษาทั้งสองก็มีความขัดแย้งไม่ตรงกันอันมีสาเหตุมาจากฮะดีษสองบท  

ดังนั้นอิม่ามศอดิก(อ)จึงตอบว่า

الْحُكْمُ مَا حَكَمَ بِهِ أَعْدَلُهُمَا وَ أَفْقَهُهُمَا وَ أَصْدَقُهُمَا فِي الْحَدِيثِ وَ أَوْرَعُهُمَا وَ لَا يَلْتَفِتْ إِلَى مَا يَحْكُمُ بِهِ الْآخَرُ

ฮุก่ม(การตัดสินนั้น)คือสิ่งที่หนึ่งในสองคนนั้นที่ยุติธรรมที่สุด  มีความรู้มากที่สุด  มีความซื่อสัตย์ที่สุดในการรายงานฮะดีษเป็นคนตัดสินเรื่องนั้น และมีความวะเราะฮ์ที่สุดในสองคนนั้น และไม่ต้องไม่สนใจยังการตัดสินของอีกคนหนึ่ง(ที่มีคุณสมบัติด้อยกว่า)  


ดูอัลกาฟี เล่ม 1 : 68 ฮะดีษ 10  สถานะซอฮิ๊ฮ์


ถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นได้เล่าถึงคุณสมบัติของผู้พิพากษา(กอฎีหรือฮากิม) แต่กอฎีในสมัยนั้นก็คือบรรดานักรายงานฮะดีษนั่นเอง ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์จึงอธิบายคุณสมบัติของผู้พิพากษาไปยังคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษเช่นกัน
และในกรณีนี้ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งนักรายงานฮะดีษคนนั้นจะเป็นผู้พิพากษาหรือไม่ก็ตามก็ถือว่าให้พิจารณาไปตามนี้


ประการที่สาม -

ปรากฏการกุและหมกเม็ดเกี่ยวกับฮะดีษ

ظاهرة الوضع والتدليس في الحديث

หากท่านใดก็ตามได้อ่านตำราประวัติศาสตร์การบันทึกฮะดีษ ย่อมจะพบเรื่องราวของพวกกุฮะดีษ พวกปลอมฮะดีษ พวกหมกเหม็ดฮะดีษอย่างจงใจทำเพื่อโกหกอ้างอิงต่ออัเลาะฮ์และรอซูลของพระองค์ท่ามกลางหมู่บรรดานักรายงานฮะดีษ ขณะเดียวกันนี้จะถูกต้องได้อย่างไรสำหรับนักปราชญ์ขั้นมุจญ์ตะฮิดที่จะฟัตวาเรื่องราวศาสนาด้วยฮะดีษที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบถึงคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษบทนั้น โดยไม่แยกแยะระหว่างพวกกุพวกปลอมฮะดีษออกจากพวกนักรายงานที่เชื่อถือได้  ซึ่งการที่จะกระทำเช่นนั้นได้มีเพียงศาสตร์เดียวเท่านั้นคือ วิชาริญาล

ฮะดีษบทหนึ่งที่ยืนยันว่า  มีคนบางส่วนได้กุคำพูดของเขาขึ้นเองแล้วแอบอ้างว่ามันคือคำพูดของบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ ดังมีริวายัตเล่าว่า

سعد بن عبدالله قال : حدثني محمد بن خالد الطيالسي ، عن عبدالرحمان بن أبي نجران ، عن ابن سنان ، قال : قال أبوعبدالله (عليه السلام) :
إناَّ أَهْلُ بَيْتٍ صاَدِقُوْنَ لاَ نَخْلُو مِنْ كَذاَّبٍ يَكْذِبُ عَلَيْناَ ، فَيُسْقَطُ صِدْقُناَ بِكِذْبِهِ عَلَيْناَ عِنْدَ الناَّسِ . كاَنَ رَسُولُ الله (صلى الله عليه وآله) أصْدَقُ الْبَرِيَّةِ لَهْجَةً ، وَكاَنَ مُسَيْلَمَةُ يَكْذِبُ عَلَيْهِ  

สะอัด บินอับดุลลอฮ์เล่าว่า มุฮัมมัด บินคอลิด อัตต่อยาลิซีเล่าให้ฉันฟังจาก อับดุลเราะห์มาน บินอบีนัจญ์รอน จากอิบนุสินานเล่าว่า :

อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า

พวกเรา อะฮ์ลุลบัยต์นะบีคือ ผู้สัตย์จริง แต่เราก็หลีกไม่พ้นจากคนโกหกที่มุสาใส่เรา ทำให้คำพูดของเราอันสัตย์จริงต้องตกไปในหมู่มนุษย์เพราะความมุสาของเขาที่พาดพิงมายังพวกเรา  ปรากฏว่าท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือบุคคลที่มีวาจาสัตย์จริงที่สุดแล้วในหมู่มนุษย์ (แต่ก็ยังมีคนอย่าง)มุซัยละมะฮ์โกหกอ้างอิงให้กับท่านอีก...


ดูบิฮารุลอันวาร เล่ม 2 : 217 ฮะดีษ 11

เนื่องจากมีการกุฮะดีษขึ้น และยังมีการเอาคำพูดของตนเองมาปะปนกับคำพูดของบรรดาอิม่าม(อ)   ดังนั้นอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)จึงออกคำสั่งให้บรรดาชีอะฮ์ได้นำเอาฮะดีษ(วจนะ)เหล่านั้นไปเปรียบเทียบกับกิตาบและซุนนะฮ์(หมายถึงคำพูด การกระทำและการรับรองของท่านนะบีฯ)  หากตรวจสอบดูแล้วว่า ฮะดีษบทไหนสอดคล้องตรงกับกิตาบหรือซุนนะฮ์นะบีก็ให้รับมันไว้ แต่หากมันไปขัดแย้งกับทั้งสอง ก็ให้โยนมันทิ้งไปเสีย


ประการที่สี่ –

วิถีการดำเนินชีวิตของบรรดาอุละมาอ์ (سيرة العلماء)

บรรดานักปราชญ์ชีอะฮ์ผู้โด่งดังตั้งแต่ในสมัยบรรดาอิม่ามจนมาถึงปัจจุบันนี้ล้วนใช้วิธีการเดียวกันทั้งสิ้นในการตรวจสอบฮะดีษ กล่าวคือพวกเขาจะย้อนกลับไปศึกษาชีวประวัติของบรรดานักรายงานฮะดีษรวมทั้งพิจารณาถึงคุณสมบัติของพวกเขาเหล่านั้นอย่างละเอียดแยบยล ซึ่งนั่นคือบรรทัดฐานของปวงปราชญ์ในการรับฮะดีษมาใช้มาปฏิบัติ

มีสาวกบรรดาอิม่ามจำนวนหนึ่งได้เรียบเรียงตำราอิลมุลริญาลไว้ในสมัยที่อะฮ์ลุลบัยต์(อ)ยังมีชีวิตอยู่ ยกตัวอย่างเช่น

1.อับดุลเลาะฮ์ บินญะบะละฮ์ อัลกินานี มรณะ ฮ.ศ. 219 เป็นสาวกของอิม่ามศอดิก(อ)

2.อัลฮาซัน บินมะห์บูบ (149 - 224 ฮ.ศ.) เป็นสาวกของอิม่ามอบุลฮาซัน อัลริฎอ(อ)

3.อาลี บินฮาซัน บินฟัฎฎ็อล (203 - 270 ฮ.ศ.)  เป็นสาวกของอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี (อ)


และการเรียบเรียงตำราริญาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยของอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ที่เขียนขึ้นท่ามกลางสาวกของพวกเขา และในหมู่นักปราชญ์ชีอะฮ์ยังคงแต่งตำรานี้มาจนถึงปัจจุบัน
#44
บทเรียนที่  สอง

ความสำคัญของวิชาริญาล(الحاجة إلى علم الرجال)



หลักความเชื่อและหลักการปฏิบัติในอิสลามนั้นต้องอาศัยแหล่งอ้างอิงหลักๆมาจาก

หนึ่ง - คัมภีร์อัลกุรอ่าน  

สอง - ฮะดีษที่
ได้รับรายงานมาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)และบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

กรณีอายัตกุรอ่านที่ชัดเจน(มุห์กะม๊าต)คงไม่เป็นปัญหา แต่อายัตที่เป็นนัยยะ(มุตะบิฮ๊าต)นั้น ต้องอาศัยการตัฟสีรจากท่านนะบี(ศ)และอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งนั่นคือฮะดีษ เช่นกันการนำฮะดีษมาวิเคราะห์เป็นฮุก่มต่างๆก็ต้องพึ่งวิชาริญาล  ฉะนั้นวิชาริญาลคือมุก็อดดิม๊าต(อารัมภบทแรกในการวิเคราะห์ฮะดีษ)  หากปราศจากความรู้เรื่องริญาล(ชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ) ก็ไม่อาจทำความรู้จักสถานนักรายงานฮะดีษได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิดก็ไม่สามารถนำฮุก่มต่างๆออกมาจากฮะดีษได้ เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่า วิชาริญาลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ขอกล่าวเสริมตรงนี้ว่า  กุตุบอัรบะอะฮ์หมายถึง ตำราฮะดีษหลักสี่เล่มของชีอะฮ์คือ อัลกาฟี, อัลฟะกีฮ์, อัตตะฮ์ซีบและอัลอิสติบศ็อรนั้นมีทั้งฮะดีษที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ปะปนกันอยู่มากมาย อีกทั้งเจ้าของตำราทั้งสี่คือเชคกุลัยนี เชคศอดูกและเชคตูซี่นั้นได้กำหนดคำนิยามพิเศษไว้ในตำราของพวกเขาโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจนิยามของพวกเขาอีกด้วย
#45
อุซูลุล ริญาล ทั้งห้า (الأُصُوْلُ الرِّجاَلِيَّةِ الْخَمْسَة  )


ในที่นี้หมายถึง ตำราหลักของชีอะฮ์ที่ว่าด้วยเรื่องชีวประวัตินักรายงานฮะดีษซึ่งมีอยู่ด้วยกันห้าเล่ม

บรรดาสาวก(ซอฮาบะฮ์)ของบรรดาอิม่าม(อ)ได้ริเริ่มเรียบเรียงตำราริญาลเอาไว้ตั้งแต่ในสมัยที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กับบรรดาอิม่าม(อ)แล้ว   เพียงแต่ว่าตำราเหล่านั้นมาไม่ถึงพวกเรา ส่วนตำราหลักๆเกี่ยวกับชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ(อุซูลริญาล) ที่เรียบเรียงขึ้นใกล้ๆกับยุคของบรรดาอิม่าม(อ)ที่เราพบมีดังต่อไปนี้


หนึ่ง -  หนังสือริญาล  กัชชี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคมุฮัมมัด บินอุมัร บินอับดุลอะซีซ รู้จักกันในนาม " อัชกัชชี่ " มรณะฮ.ศ.340  
กัช เป็นตำบลหนึ่งของเมืองสะมัรก็อนด์  อัชกัชชี่เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือคนหนึ่งในการรายงานและเป็นนักปราชญ์คนหนึ่ง เขามีความชำนาญเกี่ยวกับฮะดีษและชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ   เขาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของเชคมุฮัมมัด บินมัสอู๊ด รู้จักกันในนาม " อัลอัยยาชี่ " เจ้าของตัฟสีรอัยยาชี่ มรณะฮ.ศ.320  
เชคตูซี่ได้สรุปหนังสือริญาลกัชชี่ไว้และตั้งชื่อว่า " อิคติยารุ มะอ์ริฟะติล ริญาล "  จุดเด่นของริญาลกัชชี่คือ มีการนำรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวนักรายงานมากล่าวไว้  เรียบเรียงตามลำดับชั้นเริ่มต้นด้วยซอฮาบะฮ์ของท่านรอซูล(ศ)  สาวกของบรรดาอิม่าม จนไปสิ้นสุดที่สาวกของอิม่ามอาลีอัลฮาดีและอิม่ามฮาซัน อัสการี่(อิม่ามที่ 10 และ 11)


สอง -  หนังสือริญาล  นะญาชี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคอะหมัด บินอาลี บินอะหมัด บินอัลอับบาส อัลอะสะดี รู้จักกันในนาม " อบุลอับบาส อันนะญาชี่ "  เกิด 372 มรณะฮ.ศ.450
เขาได้ศึกษาร่ำเรียนกับเชคมูฟีด (เกิด 336 - 413)ถัดมาได้ไปเรียนกับสัยยิดมุรตะฎอ( เกิด 355 - 436) เชคนะญาชี่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่อการวิพากษ์วิจารณ์คุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษ และเขายังเป็นปราชญ์ชีอะฮ์ผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่ง  เขาได้รวบรวมรายชื่อบรรดาชีอะฮ์ที่เป็นนักแต่งตำราพร้อมกับได้นำเสนอสถานถาพของนักรายงานฮะดีษและมัซฮับของเขาเอาไว้ในตำราเล่มนี้โดยส่วนมาก


สาม -  หนังสือริญาล  ตูซี่  

ผู้เรียบเรียงคือ เชคมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัตตูซี่ เกิด 385 มรณะฮ.ศ.460 รู้จักกันในนาม " ชัยคุต – ตออิฟะฮ์  "
เชคตูซี่ได้เรียบเรียงในตำราของเขาเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นหมวด,หมู่ดังนี้คือ รายชื่อซอฮาบะฮ์ของท่านนะบี(ศ) ถัดมารายชื่อสาวกของอิม่ามอาลี ถัดรายชื่อสาวกของบรรดาอิม่าม  สุดท้ายคือรายชื่อนักรายงานที่ไม่เคยรายงานฮะดีษโดยตรงจากบรรดาอิม่าม(อ)

 
สี่ -  หนังสือฟะฮ์ร็อสต์ เชคตูซี่  

เป็นหนังสือริญาลอีกเล่มหนึ่งของเชคตูซี่ ( 385 – 460 ) เชคตูซี่ได้รวบรวมรายชื่อบรรดานักรายงานฮะดีษที่พวกเขามีตำราที่เรียกกันว่า " อัศล์ " หรือ " ตัศนีฟ ฟิลฮะดีษ " ในหนังสือเล่มนี้มีรายชื่อผู้ที่เรียบเรียงตำราฮะดีษชีอะฮ์ถึงประมาณเก้าร้อยคน


ห้า -  หนังสือริญาล  อัลบัรกี    

ผู้เรียบเรียงตำราเล่มนี้ อาจเป็นไปได้ทั้งสามบุคคลคือ  หนึ่ง,เชคอะหมัด บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี  มรณะ ฮ.ศ. 274  สอง,บุตรชายของเขาคือ อับดุลลอฮ์ บินอะหมัด (บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี)   สาม,หลานชายของเขาคือ อะหมัด บินอับดุลลอฮ์ (บินอะหมัด บินมุฮัมมัด บินคอลิด อัลบัรกี)

เชคบัรกีหรือบุตรชายหรือหลานของเขาได้เรียบเรียงตำราริญาลเล่มนี้ไว้เพียงรายชื่อซอฮาบะฮ์นะบี(ศ)และรายชื่อสาวกของบรรดาอิม่ามเท่านั้น แต่เขาไม่ได้วิจารณ์ถึงคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษเหล่านั้นไว้

หนังสือทั้งห้าเล่มนี้ถือได้ว่า เป็นตำราหลักทางด้านริญาลชีอะฮ์  ซึ่งนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญสาขาริญาลรุ่นถัดมาล้วนได้รับประโยชน์จากตำราทั้งห้านี้ทั้งสิ้นอาทิเช่น


สัยยิดอิบนุตอวูซ อัลฮิลลี่  มรณะ ฮ.ศ. 673

ได้รวบรวมตำราริญาลทั้งห้าข้างต้นมาไว้ในเล่มเดียวกันและได้ตั้งชื่อใหม่ว่า " ฮัลลุลอิชกาล ฟีมะอ์ริฟะติลริญาล "  (حَلُّ الْإشْكاَلِ فِيْ مَعْرِفَةِ الرِّجاَلِ)  ถัดมาลูกศิษย์ของสัยยิดอิบนุตอ   วูสอีกสองคนได้แต่งตำราริญาลขึ้นคือ


อัลลามะฮ์ฮิลลี่

ชื่อเต็ม อัลฮาซัน บินยูสุฟ  บินอาลี บินอัลมุเตาะฮัร เกิด (648 - 726 ฮ.ศ.)  เจ้าของหนังสือริญาล อัลลามะฮ์ หรือที่เรียกกันว่า " คุลาเศาะตุล อักวาล "


เชคอิบนุดาวูด

ชื่อเต็ม เชคตะกียุดดีน อัลฮาซัน บินอาลี บินดาวูด อัลฮิลลี่ (647 - 707 ฮ.ศ.)  เจ้าของหนังสือริญาล  อิบนิดาวูด