Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 03:13:15 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,520
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 104
  • Online ever: 104
  • (วันนี้ เวลา 02:09:38 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 91
Total: 91

การสนทนาเรื่อง อัลกาฟี กับซอฮิ๊ฮ์บุคอรี

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 08, 2010, 01:23:19 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

อ้างอิงจากคุณฟารูก

ประเด็นของเรื่องนี้คือเราคุยกันเรื่องอัลกาฟีย์และซอเฮี๊ยทั้งสองของซุนนะฮฺ ไม่น่าแปลกใจหรอกครับที่ท่านบอกว่าฮะดิษฎออิฟของชาวซุนนะฮฺมีเยอะมากมายซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่ามันต้องมีเยอะกว่าหะดิษที่ใช้เป็นหลักฐานได้ทั้งหมด แต่ที่ได้รับการยอมรับและถือว่าดีที่สุดแล้วคือของบุคคอรีและมุสลิมซึ่งผู้รู้ซุนนะฮฺบางคนก็ได้ออกมาบอกว่ามันไม่ซอเฮี๊ยทั้งหมดอย่างที่ท่านบอก แต่เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นแล้วมันยังน้อยกว่าในอัลกาฟีย์อยู่มากมายหลายช่วงตัวไม่ใช่เหรอคับ อีกอย่างที่ผมถามมาตลอด บรรดาอิหม่ามผู้รู้ของพวกท่านได้กล่าวรับรองมันไว้ ซึ่งมันเกินกว่าที่ท่านจะบอกว่ามันเป็นทัศนะรสนิยมส่วนตัว ผมไม่เข้าใจครับ เพราะมันเหมือนความรู้ของท่านขาดตอน ทำไมหนังสืออัลกาฟีย์ที่โด่งดังถึงได้บรรจุฮะดิษอ่อนแอไว้มากมาย ผู้บันทึกฮะดิษอาจผิดพลาดได้ แต่ระดับผู้รู้ตั้งหลายคนกลับรับรองมันว่าไร้ข้อบกพร่อง ตรงนี้ผมทำความเข้าใจยากมากครับ



วิจารณ์

ผมว่า  คุณฟารูกคงเข้าใจผิดอะไรบางอย่างนะคับ  ที่เราอ้างว่า  เราดำเนินตามอะฮ์ลุลบัยต์   ในที่นี้หมายถึง  อะฮ์ลุลบัยต์คือผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดซุนนะฮ์ของท่านรอซุลุลเลาะฮ์

ตามmujมีหะดีษระบุดังนี้    อิม่ามศอดิก ผู้นำที่ 6 กล่าวว่า  :

حَدِيْثِي حَدِيْثُ أَبِي وَ حَدِيْثُ أَبِي حَدِيْثُ جَدِّي وَ حَدِيْثُ جَدِّي حَدِيْثُ الْحُسَيْنِ وَ حَدِيْثُ الْحُسَيْنِ حَدِيْثُ الْحَسَنِ وَ حَدِيْثُ الْحَسَنِ حَدِيْثُ أَمِيْرِ الْمُؤْمِنِينَ ( ع ) وَ حَدِيْثُ أَمِيْرِ الْمُؤْمِنِينَ حَدِيْثُ رَسُولِ اللَّهِ (صلى الله عليه وآله )

หะดีษของฉันคือ หะดีษของบิดาฉัน(อิม่ามบาเก็ร), หะดีษของบิดาฉันคือหะดีษของปู่ฉัน (อิม่ามอาลีบินฮูเซน) , หะดีษของปู่ฉันคือหะดีษของอิม่ามฮูเซน , หะดีษของอิม่ามฮูเซนคือหะดีษของอิม่ามฮาซัน , หะดีษของอิม่ามฮาซันคือหะดีษของอิม่ามอาลี , หะดีษของอิม่ามอาลีคือ คำพูดของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)

ดูอัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 53 หะดีษที่  14  

ฉะนั้นหากอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์แต่ละคนได้เล่าหะดีษบทหนึ่งให้สานุศิษย์ของพวกเขารับฟัง
จากนั้นมีการถ่ายทอดต่อๆมา  ซึ่งเราเรียกว่า  สะนัด หรือ อิสนาด

หากอิสนาดของหะดีษ ถูกตรวจสอบว่า  เชื่อถือได้  ดังนั้นหะดีษบทนั้นก็เป็นหะดีษของท่านรอซูล(ศ)  แต่หากสะนัดมีความบกพร่องเราก็ต้องยุติที่จะนำหะดีษบทนั้นมาอ้างอิง

ส่วนท่านบอกว่า  ซอฮาบะฮ์รับฟังหะดีษมาจากท่านรอซูล(ศ)  แล้วถ่ายทอดให้ตาบิอีน  จากนั้นตาบิอีนถ่ายทอดให้ตาบิอิต ตาบิอีน  จากนั้นก็ส่งต่อๆกันมาเรื่อยๆ  ฉะนั้นท่านและเราก็จำเป็นต้องตรวจสอบ สะนัด หรืออิสนาด  ด้วยกันทั้งนั้นมิใชหรือ[/b][/size]
  •  

L-umar

คุณฟารูกได้นำเสนอว่า  อุละมาอ์ชีอะฮ์บางส่วนได้เขียนคำนิยมให้กับอัลกาฟีว่า  ดีกว่าตำราเล่มอื่นๆ  ???

ข้อสังเกตคือ

แต่ทั้งๆที่พวกเขากล่าวเช่นนั้น   ทำไมพวกเขาจึงไม่เรียกอัลกาฟีว่า  {{  ซอฮีฮุล กาฟี  }}  เสียเลยล่ะ

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า   นักปราชญ์ชีอะฮ์เหล่านั้นย่อมตระหนักดีว่าในอัลกาฟี ยังมีหะดีษที่ไม่ซอฮิ๊ฮ์ปะปนอยู่

พวกเขาจึงไม่กล้าเรียกมันว่า    {{  ซอฮีฮุล กาฟี  }}  
  •  

L-umar

หากคุณฟารูกถามถึงความแตกต่างระหว่างการดำเนินตาม  ซอฮาบะฮ์  กับ อะฮ์ลุลบัยต์


ซึ่งบุคคลทั้งสองกลุ่ม  ทำหน้าที่ถ่ายทอด  ซุนนะฮ์นะบี  ด้วยกันทั้งสิ้น


คุณฟารูกต้องเจาะลงไปอีกนิด ว่า

ซอฮาบะฮ์    ไม่ใช่  อะฮ์ลุลบัยต์      

แต่อะฮ์ลุลบัยต์บางคนเช่นอิม่ามอาลี อิม่ามฮาซันและอิม่ามฮูเซน เป็นทั้งอะฮ์ลุลบัยต์และซอฮาบะฮ์ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น  หากในหลวง  ทรงสั่งเสียชาวไทยให้ทำตาม  ฟ้าชาย

แต่ประชาชน  ไปทำตามพลเอกเปรม   โดยให้เหตุผลว่า  พลเอกเปรมเป็นทหาร  ฟ้าชายก็เป็นทหารมันไม่แตกต่างกันหรอก

ถามตรงๆว่า   คุณมองไม่เห็นความแตกต่างเลยหรือ  

แน่นอนความแตกต่างมันอยู่ตรงที่ว่า

กษัตริย์สั่งให้ทำตามฟ้าชาย   แม้ว่าทั้งสองจะเป็นทหารแต่สิ่งสำคัญคือการทำตามคำสั่งกษัตริย์

เช่นกันหากท่านนะบี(ศ)สั่งเสียอุมมัตอิสลามให้ทำตาม  กิตาบุลเลาะฮ์  และอิตเราะฮ์ของท่าน

คำถามคือ   ซอฮาบะฮ์ใช่อิตเราะฮ์นะบีหรือป่าว ?

หากคุณฟารูกแย้งว่า  อิตเราะฮ์ไม่ใช่เฉพาะสิบสองอิหม่ามที่ชีอะฮ์เข้าใจ   ตรงนี้ขอให้คุณทำใจกว้างสักนิด เปิดอกอ่าน หลักฐานหะดีษของเราก่อน   จากนั้นค่อยว่ากันคือ


۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞    
۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞  


(رَوَي الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ ) حَدَّثَنَا ْ أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي‏ قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر عَنْ غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ :

سُئِلَ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ إِنِّىْ مُخَلِّفٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ مَنِ الْعِتْرَةُ ؟

فَقَالَ : أَنَا وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَالْأَئِمَّةُ التِّسْعَةُ مِنْ وُلْدِ الْحُسَيْنِ تَاسِعُهُمْ مَهْدِيُّهُمْ وَقَائِمُهُمْ لاَ يُفَارِقُوْنَ كِتَابَ اللهِ وَلاَ يُفَارِقُهُمْ حَتَّى يَرِدَوْا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ حَوْضَـهُ

كتاب : عُيونُ أخبارِ الرضا (ع) للشيخ الصدوق  ج 2  ص 58 حديث : 25
باب النصوص على الرضا(ع) بالإمامة في جملةالأئمة الإثنى عشر(ع)

Θ คำแปล

เชคศอดูกเล่าว่า  อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีเล่าให้เราฟัง จากอาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน จากฆิยาษ บินอิบรอฮีมเล่าว่า :  จากอัศศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาคืออาลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอาลีเล่าว่า : ท่านอมีรุลมุอ์มินีน(อิม่ามอาลี) ถูกถามถึงความหมายของวจนะที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่านสิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของฉัน,(ว่า)  ใครคืออิตเราะฮ์ ? ท่านอิม่ามอาลีตอบว่า :


คือฉัน,ฮาซัน,ฮูเซนและบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีของพวกเขา

และคือกออิมของพวกเขา  พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน

อ้างอิงจาก หนังสืออุยูนุอัคบาริลริฎอ(อ) เล่ม 1 : 57 หะดีษที่ 25  

สถานะหะดีษ   :  บรรดานักรายงาน  เชื่อถือได้ทุกคน


۩  วิเคราะห์สถานะบรรดานักรายงานหะดีษ
تخريج الحديث :

الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ ( 306 ـ 381هـ)
محمد بن علي بن الحسين بن بابويه القمي : جليل القدر حفظة، بصير بالفقه والأخبار والرجال،
رجال الشيخ الطوسي  ج 1 / ص 208  رقم : 6275

محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي
أبو جعفر، نزيل الري، شيخنا وفقيهنا ووجه الطائفة بخراسان،
رجال النجاشي  ج 1 / ص 276  رقم : 1049

محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي يكنى أبا جعفر : كان جليلا حافظا للأحاديث بصيرا بالرجال ناقدا للأخبار لم ير في القميين مثله في حفظه و كثرة علمه
الفهرست للطوسي  ج 1 / ص 120  رقم : 695

محمد بن علي بن الحسين بن بابويه : جليل القدر حفظة بصير بالفقه والاخبار شيخ الطائفة وفقيهها ووجهها بخراسان
رجال ابن داود ج 1 / ص 174  رقم : 1455

محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي، أبو جعفر، نزيل الري، شيخنا وفقيهنا ووجه الطائفة بخراسان. ورد بغداد سنة خمس وخمسين وثلاثمائة، وسمع منه شيوخ الطائفة وهو حدث السن كان جليلا حافظا للاحاديث، بصيرا بالرجال، ناقدا للاخبار، لم ير في القميين مثله في حفظه وكثرة علمه، له نحو من ثلاثمائة مصنف،
خلاصة الاقوال- العلامة الحلي  ج 1 / ص 234  رقم : 45

اِبْنُ باَبَوَيْه : ابوجعفر محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي، شيخ الحفظة ووجه الطائفة المستحفظة رئيس المحدثين والصدوق فيما يرويه عن الائمة الطاهرين (ع) ولد بدعاء مولانا صاحب الامر (ع) ونال بذلك عظيم الفضل والفخر فعمت بركته الانام وبقيت آثاره ومصنفاته مدى الايام، له نحو من ثلثمائة مصنف
قال ابن ادريس في حقه: انه كان ثقة جليل القدر بصيرا بالاخبار ناقدا للآثار عالما بالرجال وهو استاذ المفيد محمد بن محمد بن النعمان
كتاب : الكنى والالقاب  للمحقق الشهير الشيخ عباس القمي  ج 1 ص 222
الباب الثانى فيما صدر بابن

أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي
‏أحمد بن زياد بن جعفر الهمذاني : ثقة
رجال ابن داود  ج 1 / ص 33  رقم : 77
تقى الدين الحسن بن على بن داود الحلى  المولود سنة 647 ه‍ والمتوفى بعد سنة 707 ه‍

أحمد بن زياد بن جعفر الهمذاني : كان رجلا ثقة دينا فاضلا
خلاصة الاقوال  العلامة الحلي  ج 5 / ص 14  رقم : 37

أحمد بن زياد  أبو على الهمداني  : قلت: وهو احمد بن زياد بن جعفر الهمداني الذى روى عنه الصدوق كثيرا في كتبه مترضيا عنه، وقال: كان رجلا، ثقة، دينا. فاضلا، رحمة الله عليه ورضوانه.
تهذيب المقال - السيد محمد على الأبطحى   ج 3 / ص 359  رقم : 1

عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ (اي ابراهيم بن هاشم أبواسحاق القمي )

علي بن إبراهيم بن هاشم أبو الحسن القمي
ثقة في الحديث، ثبت، معتمد، صحيح المذهب،
رجال النجاشي  ج 1 / ص 184  رقم : 680
أحمد بن علي النجاشي (372 – 450 هـ.)

على بن إبراهيم بن هاشم القمي ابوالحسن : ثقة في الحديث ثبت معتمد صحيح المذهب
خلاصة الاقوال العلامة الحلي  ج 22 / ص 9  رقم : 45

علي بن إبراهيم بن هاشم القمي أبو الحسن : ثقة في الحديث ثبت معتمد صحيح المذهب.
رجال ابن داود   ج 1 / ص 130  رقم : 1018

ابراهيم بن هاشم أبواسحاق القمي :
ولم أقف لاحد من أصحابنا على قول في القدح فيه، ولا على تعديله بالتنصيص والروايات عنه كثيرة، والارجح قبول قوله
خلاصة الاقوال  ج 5 / ص 2  رقم : 9

مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر
محمد بن أبي عمير يكنى أبا أحمد، واسم أبي عمير زياد، مولى الأزد : ثقة
رجال الشيخ الطوسي  ج 1 / ص 170  رقم : 5413

محمد بن أبي عمير :  جليل القدر عظيم المنزلة فينا وعند المخالفين
رجال النجاشي   ج 1 / ص 228  رقم : 887

محمد بن أبي عمير : ثقة
رجال ابن داود  ج 1 / ص 154  رقم : 1272

محمد بن أبي عمير : كان جليل القدر عظيم المنزلة عندنا وعند المخالفين
قال الكشي: انه ممن أجمع أصحابنا على تححيح ما يصح عنه وأقروا له بالفقه والعلم
قال الشيخ الطوسي رضي الله عنه: انه كان اوثق الناس عند الخاصة والعامة
خلاصة الاقوال  ج 27 / ص 3  رقم : 17

غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ  (كان حياً قبل 183 هـ)
غياث بن إبراهيم التميمي الأسيدي بصري، سكن الكوفة : ثقة، روى عن أبي عبد الله
رجال النجاشي  ج 1 / ص 215  رقم : 833

غياث بن إبراهيم  : ثقة
خلاصة الاقوال   العلامة الحلي  ج 50 / ص 1  رقم : 1

غياث بن إبراهيم التميمي الأسدي :  ثقة
فائق المقال في الحديث والرجال  ج 5 / ص 41  رقم : 773

غياث بن إبراهيم، ثقة
مشايخ الثقات- غلام رضا عرفانيان  ج 1 / ص 103  رقم : 68

غياث بن ابراهيم : ثقة
طرائف المقال - السيد علي البروجردي  ج 2 / ص 43  رقم : 5274

غياث بن ابراهيم  أبو محمد الكوفي :  من ثقات المحدثين
كتاب : أصحاب الامام الصادق (ع)  لعبد الحسين الشبستري  ج 4 / ص 11  رقم : 2560

الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ :

คำแปล -

1.เชคศอดูก→ 2.อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานี → 3.อาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิม→ 4.จากบิดาเขา→ 5. มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน → 6. ฆิยาษ บินอิบรอฮีม → 7. อิม่ามญะอ์ฟัร(อัศศอดิก) บินมุฮัมมัด → 8. อิม่ามมุฮัมมัด(อัลบาเก็ร) บินอาลี → 9. อิม่ามอาลี(ซัยนุลอาบิดีน) บินฮูเซน → 10. อิม่ามฮูเซน บินอาลี → 11. อิม่ามอาลี บินอะบีตอลิบ

1. เชคศอดูก ( 305 – 381 ฮ.ศ.รวมอายุ 76 ปี)→ อยู่ในยุคนาอิบค็อศคนสุดท้ายของอิม่ามมะฮ์ดี เขารายงานหะดีษจากบิดาของเขาชื่อ อาลี บินฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี บิดาเชคศอดูกเคยเข้าพบอิม่ามฮาซันอัสการี และบิดาเขาอยู่จนถึงยุคฆ็อยบะฮ์ของอิม่ามมะฮ์ดี(อ) เชคศอดูกมีชื่อเต็มว่า อะบูญะอ์ฟัร   มุฮัมมัด บินอาลี บินอัลฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮฺ  อัลกุมมี   เกิดหลังปีฮ.ศ. 305  ที่เมืองกุม ประเทศอิหร่าน  ด้วยบะร่อกัตจากการขอดุอาอ์ของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)และมรณะในปีฮ.ศ. 381 ที่เมืองเรย์ อยู่ทางตอนใต้ของเตฮะรานประเทศอิหร่าน สุสานของเชคศอดูกอยู่ใกล้ๆกับสุสานของสัยยิดอับดุลอะซีม อัลฮาซานี
เชคมุฮัมมัดบินอัลฮาซัน อัตตูซี่ (385-460 ฮ.ศ.)กล่าวว่า :  อะบูญะอ์ฟัร(เชคศอดูก)เป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง  นักท่องจำหะดีษ    ผู้เชี่ยวชาญอิลมุลริญาล  นักวิจารณ์สายรายงานหะดีษ   ไม่เคยเห็นในชาวเมืองกุมคนใดเหมือนเขาในความจำของเขา และในความรู้ที่มากมายของเขา    
ดูอัลฟะฮ์ร็อสต์ โดยเชคตูซี่  อันดับที่  695  

2.อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานี →  เขาคือสาวกของอิม่ามอาลีอัลฮาดี อิม่ามคนที่ 10
อัลลามะฮ์ฮิลลี(648-726 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีเป็นคนที่เชื่อถือได้ในการรายงาน   ดูคุลาเศาะตุลอักวาล  อันดับที่  37
สัยยิดอาลี อัลบุรูญัรดีกล่าวว่า :  อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานี   เชื่อถือได้ในการรายงาน  ท่านอะบูญะอ์ฟัร บินบาบะวัยฮฺ(เชคศอดูก)ได้รายงานหะดีษจากเขา  และได้ยกย่องต่อเขาเอาไว้ในหนังสือกะลมาลุดดีน โดย(เชคศอดูก)ได้กล่าวว่า  เขา(อะหมัดบินซิยาด)เป็นคนที่เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูเฏาะรออิฟุละกอล  อันดับที่  772

3.อาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิม อัลกุมมี→  เขาคือสาวกของอิม่ามมุฮัมมัดตะกีอัลญะวาด อิม่ามคนที่ 9  มีชีวิตอยู่ในช่วงฮ.ศ.307 คืออาจารย์คนหนึ่งของเชคกุลัยนี  เขาได้ฟังหะดีษมามากมายและได้แต่งตำราไว้หลายเล่ม  เขาได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบิดาของเขาและได้รายงานหะดีษจากบิดาของเขาไว้มากมาย
ผู้ที่รายงานหะดีษจากอาลี บินอิบรอฮีม →เชคกุลัยนีและอะหมัด บินซิยาดบินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีและคนอื่นๆ
เชคอะหมัด บินอาลี อันนะญาชี ( 372-450 ฮ.ศ.) กล่าวว่า :  อาลี บินอิบรอฮีมบินฮาชิมอัลกุมมี  เชื่อได้ในการรายงานหะดีษ  มั่นคง ยึดถือได้  อยู่มัซฮับที่ถูกต้อง   ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่ 680
อัลลามะฮ์ฮิลลี(648-726 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : อาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมอัลกุมมี  เชื่อได้ในการรายงานหะดีษ  มั่นคง ยึดถือได้  อยู่มัซฮับที่ถูกต้อง  ดูคุลาเศาะตุลอักวาล  อันดับที่ 45

4. อิบรอฮีม บินฮาชิม อัลกุมมี (คือบิดาของอาลี บินอิบรอฮีม) → เขามีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนฮ.ศ.247 เป็นนักรายงานหะดีษ เจ้าของตัฟสีรที่รู้จักกันด้วยชื่อ ตัฟสีรอัลกุมมี
อิบรอฮีม บินฮาชิมรายงานหะดีษจาก → มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยรินและคนอื่นๆอีกมากมาย  ผู้ที่รายงานหะดีษจากอิบรอฮีม บินฮาชิมคือ → อาลี บินอิบรอฮีมคือบุตรของเขาและคนอื่นๆอีกมากมาย
อิบรอฮีม บินฮาชิมมีชีวิตอยู่จนถึงสมัยอิม่ามริฎอ อิม่ามคนที่ 8 และนับว่าเขาคือสาวกคนหนึ่งของท่าน  
เชคอะหมัด บินอาลี อันนะญาชี ( 372-450 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : อิบรอฮีม บินฮาชิม อัลกุมมี  เดิมเป็นชาวกูฟะฮ์แล้วย้ายมาอยู่ที่เมืองกุม  ท่านกัชชีกล่าวว่า   เขาเป็นลูกศิษย์ของยูนุส บินอับดุลเราะห์มานซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งของอิม่ามริฎอ(อ)    ดูริญาลนะญาชี อันดับที่ 18
อัลลามะฮ์ฮิลลี(648-726 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : อิบรอฮีม บินฮาชิมอัลกุมมี  เดิมเป็นชาวกูฟะฮ์แล้วย้ายมาอยู่ที่เมืองกุม  อัศฮาบของเราได้เล่าว่า   เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้เผยแพร่หะดีษของชาวกูฟะฮ์ในเมืองกุม และยังเล่าว่า  เขาได้พบกับอิม่ามริฎอ(อ)  และเขาเป็นลูกศิษย์ของยูนุส บินอับดุลเราะห์มานซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งของอิม่ามริฎอ(อ)   (อัลลามะฮิลลี)กล่าวว่า ฉันไม่เคยพบอัศฮาบของเราคนใดที่มีคำพูดตำหนิในตัวเขาหรือยกย่องเขาด้วยหลักฐาน  และมีรายงานหะดีษต่างๆที่มาจากเขามากมาย  และที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ  คำพูดของเขา(อิบรอฮีม)นั้นเป็นที่ถูกยอมรับ    ดูคุลาเศาตุลอักวาล  อันดับที่  9

5. มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน มรณะฮ.ศ.217   →  เขาคือสาวกของอิม่ามมูซากาซิมและอิม่ามอาลีริฎอ อิม่ามคนที่ 7 และ 8  (เขามีอีกชื่อหนึ่งคืออะหมัด บินมุฮัมมัด บินซิยาดอัลอะซะดี )  หรือที่เรารู้จักกันในนาม อิบนิอะบีอุเมรฺ  เขาคือฟะกีฮ์  ร็อบบานี มีฉายาว่า อะบูมุฮัมมัด เป็นชาวเมืองแบกแดด(อิรัก)
นักวิชาการมีมติตรงกันว่า อิบนิอะบีอุเมรฺคือหนึ่งในหกจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษและได้รับการรับรองในเรื่องฟิกฮ์ของพวกเขา  ดูเมาซูอะฮ์ อัศฮาบุลฟุเกาะฮาอ์  อันดับที่  1115
เชคมุฮัมมัดบินอัลฮาซัน อัตตูซี่(385-460 ฮ.ศ.)กล่าวว่า : มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน  : เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในทัศนะของชีอะฮ์และซุนนี่  เขาอยู่ทันอิม่ามสามท่านคือ อิม่ามมูซากาซิม อิม่ามอาลีริฎอและอิม่ามมุฮัมมัดญาวาด(อ)   ดูอัลฟะฮ์ร็อสต์ โดยอัตตูซี่  อันดับที่  607 และริญาลเชคตูซี  อันดับที่  5413
เชคอะหมัด บินอาลี อันนะญาชี ( 372-450 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน ได้พบกับอิม่ามอะบุลฮาซันมูซา(อ)และยังได้ฟังหะดีษต่างๆจากท่าน อิม่ามมูซาเรียกชื่อเขาในบางครั้งว่าอะบูอะหมัด(บิดาของอะหมัด) และเขายังได้รายงานหะดีษจากอิม่ามริฎอ(อ)  เขาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูง มีฐานะภาพยิ่งใหญ่ในหมู่พวกเรา   ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  887

6. ฆิยาษ บินอิบรอฮีม →  เขาคือสาวกของอิม่ามญะอ์ฟัรศอดิก อิม่ามคนที่ 6  มีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนฮ.ศ. 183   เวลาโดยส่วนมากของฆิยาษคือติดตามอิม่ามศอดิก(อ)รับความรู้เรื่องหะดีษจากท่าน
ฆิยาษรายงานหะดีษจาก→อิม่ามอิมามศอดิกและอิม่ามมูซากาซิม
ผู้ที่รายงานหะดีษจากฆิยาษคือ→ มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยรินและคนอื่นๆ
เชคนะญาชีกล่าวว่า : ฆิยาษ บินอิบรอฮีม อัตตะมีมี อัลอุซัยดี ชาวเมืองบัศเราะฮ์ อาศัยอยู่ที่เมืองกูฟะฮ์  เชื่อถือได้  ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  833
‏   อัลลามะฮ์ฮิลลี(648-726 ฮ.ศ.) กล่าวว่า : ฆิยาษ บินอิบรอฮีม เชื่อถือได้ เขารายงานหะดีษจากอิม่ามอิมามศอดิก  ดูคุลาตุลอักวาล  หน้า 246  อันดับที่  1 ฟัศล์ที่  7 อักษรเฆน

7. อิม่ามญะอ์ฟัร(อัศศอดิก) บินมุฮัมมัด → อิม่ามคนที่ 6 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์(อ)เกิดที่มะดีนะฮ์ ฮ.ศ.83 – 148
อิบนุฮิบบานกล่าวว่า : ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด รายงานหะดีษจากบิดาของเขา  เป็นผู้มีความรอบรู้และทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจากบรรดาสัยยิดแห่งอะฮ์ลุลบัยต์    ดูอัษษิกอต โดยอิบนิฮิบบาน  อันดับที่ 226
อิบนุหะญัรกล่าวว่า   :  ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  รู้จักกันในนามอัศศอดิก(ผู้มีวาจาสัตย์)  เชื่อถือได้  เป็นผู้รู้  เป็นอิม่าม   ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 950
    ท่านอิสฮ๊าก บินรอฮะวัยฮฺกล่าวว่า   :  ฉันกล่าวกับอิม่ามชาฟิอีว่า ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัดเป็นอย่างไรในทัศนะของท่าน  เขาตอบว่า  เชื่อถือได้   และท่านยะห์ยา บินมะอีนกล่าวว่า  ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด  เชื่อถือได้
ท่านอับดุลเราะห์มานกล่าวว่า  ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า  ท่านญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เชื่อถือได้ไม่ต้องถามถึงว่าจะมีผู้เหมือนเยี่ยงเขา       ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล โดยอิบนิอะบีฮาติม  อันดับที่ 1987

8.อิม่ามมุฮัมมัด(อัลบาเก็ร) บินอาลี →อิม่ามคนที่ 5 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ เกิดที่มะดีนะฮ์ ฮ.ศ.57 – 95
อิบนุอะบีฮาติมกล่าวว่า   :  มุฮัมมัด บินอาลี  อะบูญะอ์ฟัร  รายงานจากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์และบิดาของเขาคืออาลี บินฮูเซน  ผู้ที่รายงานจากเขาคือบุตรของเขาชื่อ ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด
ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล  อันดับที่ 117
      อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :  มุฮัมมัด บินอาลีเป็นตาบิอี  เชื่อถือได้     ดูอัษษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 1630
อิบนุหะญัรกล่าวว่า : มุฮัมมัด บินอาลี อะบูญะอ์ฟัร    เชื่อถือได้   ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 6151    
อัซซะฮะบีกล่าวว่า   : อะบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บินอาลี  บุตรชายท่านซัยนุลอาบิดีน  นักท่องจำหะดีษมีมติว่าให้ยึดหะดีษของท่านอะบีญะอ์ฟัรเป็นหลักฐานได้     ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์  อันดับที่ 158

9.อิม่ามอาลี(ซัยนุลอาบิดีน) บุตรอิม่ามฮูเซน → อิม่ามคนที่ 4 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ เกิดที่มะดีนะฮ์ ฮ.ศ.38 – 114
อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า : อาลี บินฮูเซนเป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ และเป็นคนซอและห์  ดูอัษษิกอต โดยอิจญ์ลี  อันดับที่  1293  
อิบนุหะญัรกล่าวว่า : อาลี บินฮูเซนซัยนุลอาบิดีน เชื่อถือได้  มีความมั่นคง  อาบิ๊ด  ฟะกีฮ์  ฟาดิ้ล มัชฮู้ร  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 4715
อัซซะฮะบีกล่าวว่า  : อาลี บินฮูเซน คือสัยยิด เป็นอิม่ามผู้นำ    ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์  อันดับที่ 157

10.อิม่ามฮูเซน บุตรอิม่ามอาลี → อิม่ามคนที่ 3 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ เกิดที่มะดีนะฮ์ ฮ.ศ.4 – 61
อิบนุหะญัรกล่าวว่า : ท่านฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ หลานชายของท่านรอซูล(ศ)  
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 1334      

قَالَ الرَسُولُ (ص): الحَسَـنُ ‏ ‏وَالْحُسَـيْنُ ‏ ‏سَـيِّدَا شَـبَابِ أهْلِ الْجَـنَّة صحيح الترمذي ح 2965

11.อิม่ามอาลี บุตรอะบีตอลิบ → อิม่ามคนที่ 1 แห่งมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์  เกิดที่กะอ์บะฮ์ มักกะฮ์  ก่อนฮิจเราะฮ์ศักราชประมาณ 23  ปี และมรณะฮ.ศ. 41
อิบนุหะญัรกล่าวว่า : ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ บุตรของลุงของท่านรอซูล(ศ) คือสามีบุตรีของท่านรอซูลฯ  เป็นหนึ่งจากบรรดาซาบิกูนอัลเอาวะลูน(ผู้เข้ารับอิสลามรุ่นแรกสุด)   มีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้น้ำหนักว่า  เขาคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม  ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 475


۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞
۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞    
   





 
  •  

L-umar

การที่ชีอะฮ์เขาเชื่อว่า  


บุคคลดังกล่าวคือ  อิตเราะฮ์ ตามที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ) สั่งเสียให้ตาม   มันผิดตรงไหน  ทั้งๆที่มีหะดีษเชื่อถือได้กำกับไว้


มันมิใช่พูดออกมาลอยๆอย่างไรหลักฐานอ้างอิง      หรือมีหลักฐานแต่ เป็นหลักฐานที่ไม่แข็งแรง



เราต้องขอพอแค่นี้ก่อน  ไว้ค่อยสนทนากันใหม่  


ขอบคุณสำหรับการสนทนาอันมีค่านี้  


วัสสลามุ  อะลัยกุม
  •  

faruq

ผมต้องขอบคุณ คุณ l-umar ,มากในการตอบข้อสงสัยซึ่งก่อนหน้านี้ผมไม่คิดว่าจะได้ นึกว่าจะมีแต่การเสียดสี เยาะเย้ยอย่างการสนทนาในกระดานสนทนาทั่วไป ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

จากที่คุณว่ามา ผมมีข้อสงสัยนิดนึงครับ ซึ่งอาจเกิดจากการผมตีความตัวบททางฝ่ายคุณผิดไป หากไม่รบกวนขอให้คุณชี้แจงผมหน่อย
จากฮะดิษที่คุณยกมา


แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่านสิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของฉัน,(ว่า) ใครคืออิตเราะฮ์ ? ท่านอิม่ามอาลีตอบว่า :

คือฉัน,ฮาซัน,ฮูเซนและบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีของพวกเขา

และคือกออิมของพวกเขา พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน



และตรงนี้ที่ท่านบอกว่า

ชีอะฮ์ในสมัยก่อนๆ หมายถึงชีอะฮ์ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยของอิม่ามแต่ละยุค   พวกเขาสามารถเดินทางไปพบอะฮ์ลุลบัยต์ได้ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ส่งตัวแทนไปพบอิม่ามของพวกเขา  เพื่อสอบถามถึงความถูกต้องของหะดีษที่พวกเขาได้ยินได้ฟังมา     แต่หลังจากฮิจเราะฮ์ศักราชที่  260  ชาวชีอะฮ์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้   ยิ่งสมัยของเรากับอะฮ์ลุลบัยต์ห่างกันออกไปนานๆ จนมาถึงปัจุบัน    คนบอกเล่าหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์ก็มีทุกยุค  ดังนั้นทางออกของเราก็ต้องย้อนกลับไปทำตามคำแนะของอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับยึดถือเรื่องหะดีษ


ตอนแรกผมคืดว่า จากฮะดิษข้างต้น หมายถึงอะลุลบัยต์จะมีอยู่ตลอดไป จนถึงวันกิยามัตแม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีอะลุลบัยต์คอยสาธยายเรื่องราวศาสนาให้พวกท่านอยู่ แต่พอเมื่อท่านบอกว่าสมัยของเราห่างจากอะลุลบัยต์ ก็ทำให้ผมรู้ว่าอะลุลบัยต์ไม่ได้มีอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ จากตรงนี้ขอให้คุณอธิบายความหมายของฮะดิษ ประโยคที่ว่า

\\\"พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน\\\"  ให้ผมเข้าใจได้ถูกต้องหน่อยได้มั้ยครับ
  •  

L-umar

อัสสลามุอะลัยกุม ฯ คุณฟารูก



ก่อนจะชี้แจงคำถามของคุณ   เราขอสอบถามก่อนว่า   หะดีษษะเกาะลัยน์ที่เราแสดงให้คุณอ่านนั้น



คุณมีความเห็นอย่างไร   เช่น  มันใช่เหตุผลที่ถุกต้องหรือไม่สำหรับชีอะฮ์ที่  พวกเขาจะเลือกทำตาม


กิตาบุลเลาะฮ์   และอิตเราะฮ์นะบี   ???

ช่วยวิจารณ์ด้วย

วัลสลาม
  •  

faruq

วะอาลัยกุมมุสลาม คุณ l-umar

จากคำถามของคุณนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมไม่ฮุก่มพวกคุณว่าเป็นกาเฟรเหมือนคนอื่นๆ เพราะผมเชื่อว่าพวกคุณบริสุทธิ์ใจในการทำตามหลักการทางศาสนาซึ่งอาศัยหลักฐานตามฝ่ายของคุณซึ่งแน่นอนว่ามันมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ชีอะฮฺและซุนนะฮฺถกเถียงกันไม่เคยจบและคงจะเป็นเช่นนี้ไปจนวันกิยามัต ซึ่งแน่นอนว่าหากมันเป็นการอ้างอิงลอยๆ ไม่มีที่มาที่ไปอย่างบางมัซฮับการถกกันระหว่างชีอะฮฺและซุนนะฮฺคงไม่ยืดเยื้อมาจนถึงทุกวันนี้ และเช่นเดียวกันหลายสิ่งหลายอย่างจากชีอะฮฺมันไม่ตรงกับความเข้าใจของผม และไม่มีประโยชน์ที่ผมจะไปถามสิ่งเหล่านี้จากผู้ที่ไม่ใช่ชีอะฮฺผมจึงพยายามเสมอในการที่จะคุยกับชีอะฮฺด้วยดีเพื่อหวังจะได้คำตอบจริงๆ จากพวกท่าน
  •  

L-umar

เมื่อคุณฟารูก   มีความเข้าใจเช่นนั้น   ย่อมแสดงว่า คุณเป็นคนเปิดเกว้างที่จะรับฟัง  


หนึ่ง  -  หลักฐานของชีอะฮ์  

สอง -  เหตุผลของชีอะฮ์


เราขอให้อัลลอฮ์ตะอาลา  ประทานความดีงามแก่คนที่ใจกว้างเช่นคุณ  อามีน


งั้นเรามาว่ากันต่อ...............
  •  

L-umar

อ้างอิงจากคำถามของคุณฟารูก


และตรงนี้ที่ท่านบอกว่า

ชีอะฮ์ในสมัยก่อนๆ หมายถึงชีอะฮ์ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยของอิม่ามแต่ละยุค พวกเขาสามารถเดินทางไปพบอะฮ์ลุลบัยต์ได้ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ส่งตัวแทนไปพบอิม่ามของพวกเขา เพื่อสอบถามถึงความถูกต้องของหะดีษที่พวกเขาได้ยินได้ฟังมา แต่หลังจากฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 260 ชาวชีอะฮ์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ยิ่งสมัยของเรากับอะฮ์ลุลบัยต์ห่างกันออกไปนานๆ จนมาถึงปัจุบัน คนบอกเล่าหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์ก็มีทุกยุค ดังนั้นทางออกของเราก็ต้องย้อนกลับไปทำตามคำแนะของอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับยึดถือเรื่องหะดีษ


ตอนแรกผมคืดว่า จากฮะดิษข้างต้น หมายถึงอะลุลบัยต์จะมีอยู่ตลอดไป จนถึงวันกิยามัตแม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีอะลุลบัยต์คอยสาธยายเรื่องราวศาสนาให้พวกท่านอยู่ แต่พอเมื่อท่านบอกว่าสมัยของเราห่างจากอะลุลบัยต์ ก็ทำให้ผมรู้ว่าอะลุลบัยต์ไม่ได้มีอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ จากตรงนี้ขอให้คุณอธิบายความหมายของฮะดิษ ประโยคที่ว่า

\\\"พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน\\\" ให้ผมเข้าใจได้ถูกต้องหน่อยได้มั้ยครับ
  •  

L-umar

เชคศอดูก  (เกิด 305 – มรณะ  381 ฮ.ศ.รวมอายุ 76 ปี)   →   เล่าว่า

อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีเล่าให้เราฟัง จากอาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน จากฆิยาษ บินอิบรอฮีมเล่าว่า : จากอัศศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาคืออาลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอาลีเล่าว่า : ท่านอมีรุลมุอ์มินีน(อิม่ามอาลี) ถูกถามถึงความหมายของวจนะที่

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :


แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่านสิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของฉัน,(ว่า)

ใครคืออิตเราะฮ์ ? ท่านอิม่ามอาลีตอบว่า :

คือ ฉัน(อาลี) ,ฮาซัน,ฮูเซนและบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีของพวกเขา

และคือกออิมของพวกเขา

พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน


อ้างอิงจาก หนังสืออุยูนุอัคบาริลริฎอ(อ) เล่ม 1 : 57 หะดีษที่ 25
  •  

L-umar

ขอให้คุณฟารูก  ทบทวนหะดีษข้างต้นอีกสักครั้ง
  •  

L-umar

คุณฟารูกกล่าวว่า


ตอนแรกผมคืดว่า จากฮะดิษข้างต้น หมายถึงอะลุลบัยต์จะมีอยู่ตลอดไป จนถึงวันกิยามัตแม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีอะลุลบัยต์
  •  

L-umar

ขออนุญาติสอบถามคุณฟารูกว่า


ตามความเข้าใจและความเชื่อของคุณ   คุณคิดว่า  ปัจจุบัน  ไม่มีอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)ตามความหมายหะดีษข้างต้น คงชีวิตอยู่  หรือ ???
  •  

L-umar

เรารอ  คำตอบจากคุณฟารูก อยู่   เพื่อจะชี้แจงต่อไป..
  •  

faruq

ตอนแรกผมคิดว่าน่าจะมีอยู่เพราะตามฮะดิษบอกว่า ทั้งสองจะไม่แยกจากกัน หมายถึงอัลกุรอานและอะลุลบัยต์ ผมเข้าใจว่าเมื่อมีอัลกุรอานอยู่ตอนนี้ อะลุลบัยต์ก็ต้องมีอยู่ด้วย หากคุณจำได้ครั้งแรกที่ผมเข้ามาผมถามชื่ออะลุลบัยต์ที่มีชีวิตในปัจจุบันกับคุณ l-umar แต่อาจเป็นเพราะคุณไม่เข้าใจเจตนาผมเลยไม่ได้ตอบสิ่งที่ผมถาม แต่จากที่คุณอธิบายผมเรื่องอัลกาฟีในกระทู้ก่อนหน้าว่า

ชีอะฮ์ในสมัยก่อนๆ หมายถึงชีอะฮ์ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยของอิม่ามแต่ละยุค พวกเขาสามารถเดินทางไปพบอะฮ์ลุลบัยต์ได้ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ส่งตัวแทนไปพบอิม่ามของพวกเขา เพื่อสอบถามถึงความถูกต้องของหะดีษที่พวกเขาได้ยินได้ฟังมา แต่หลังจากฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 260 ชาวชีอะฮ์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ยิ่งสมัยของเรากับอะฮ์ลุลบัยต์ห่างกันออกไปนานๆ จนมาถึงปัจุบัน คนบอกเล่าหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์ก็มีทุกยุค ดังนั้นทางออกของเราก็ต้องย้อนกลับไปทำตามคำแนะของอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับยึดถือเรื่องหะดีษ

ตรงที่เป็นสีแดงทำให้ผมสับสน จึงได้ถามคุณอีกครั้ง


วันนี้ผมมีงานต้องทำอาจไม่ได้เข้ามาอ่านตลอด ผมจะแวะเข้ามาเป็นช่วงๆครับ
  •  

91 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้