Q4wahabi.com (Question for Wahabi)

หมวดหมู่ทั่วไป => นบีในทัศนะของวาฮาบี ซุนนี่ และชีอะฮ์ => หัวข้อที่ตั้งโดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 09:17:26 ก่อนเที่ยง

ชื่อ: ชีวประวัติศาสดามูฮัมมัด (ศ) จากกุรอ่านและฮะดีษ
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 09:17:26 ก่อนเที่ยง
بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ



ชีวประวัติศาสดามูฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม

วันที่   27  เดือนเราะญับ   ค.ศ. 611
   
คือวันที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลาได้ทรงแต่งตั้งบุรุษชื่อ มูฮัมมัด ให้เป็นศาสดาคนสุดท้ายมาสอนสั่งหลักธรรมแก่ชาวโลก  

ดังนั้นเราจึงขอนำเสนอชีวประวัติมหาบุรุษเอกของโลกท่านนี้ ในมุมมองจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัลหะดีษเพื่อการศึกษา  

รวมทั้งนำการวิจัยและคำวิจารณ์ของนักปราชญ์อิสลามเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านที่ควรจะเป็นจริง และสิ่งศัตรูอิสลามทั้งจากภายในและภายนอกที่พยายามกุเรื่องขึ้นมาเพื่อสร้างความเสื่อมเสียให้กับบุคลิกภาพของท่าน.
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:09:55 ก่อนเที่ยง
เนื่องจากท่านอายาตุลเลาะฮ์ อาลีอัลคอเมเนอี ผู้นำสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ได้มีดำริให้พี่น้องมุสลิมใฝ่ใจศึกษาค้นคว้าชีวประวัติของศาสดามูฮัมมัด(ศ)กันอย่างจริงจัง  
นับว่าเป็นความเร่งด่วนทางวิทยาการที่ดี  ซึ่งความเป็นจริงถือว่าเป็นการฉกฉวยโอกาสอันสำแดงออกมาในกาละเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้คำนิยามแก่โลกอิสลามและแก่ชาวโลกด้วยการนำเสนอชีวประวัติของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่สุดและเป็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย

   ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การรู้จักบุคลิกภาพของศาสดามูฮัมมัด(ศ) และการเรียนรู้ชีวประวัติของท่านทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของท่านนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงโลกวัตถุและจิตวิญญาณสำหรับมนุษยชาติ และเป็นการเตรียมการพัฒนาความสมูรณ์ให้แก่ชาวโลกบนคุณค่าแห่งอัลอิสลาม
 
ด้วยเหตุนี้ ศัตรูอิสลาม ภายหลังชัยชนะแห่งปฏิวัติอิสลามในอิหร่านและผลกระทบต่างๆของการปฏิวัติอิสลามที่มีต่อชาวโลก  พวกเขาจึงตระหนักถึงอันตรายของพลังอิสลามด้านวิทยาการที่ได้สำแดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง  
ดังนั้นศัตรูอิสลามจึงทุ่มเทความพยายามทั้งหมดเพื่อให้ร้ายแก่บุคลิกภาพของศาสดามูฮัมมัดอันบริสุทธิ์นี้ และห้อมล้อมท่านเอาไว้ด้วยความมืดดำ  อาทิเช่น ตำราอายัตชัยตอนหรือซาตานิคเวอร์เซสที่นายซัลมานรุชดี ชาวอินเดียนักเขียนรับจ้างของพวกตะวันตก  เขาแต่งขึ้นมาเพื่อเจตนามุ่งดูหมิ่นเหยียดหยามศาสดาแห่งอิสลาม อันเป็นแผนการของพวกคาทอลิคยุคหลัง  นี่คือหนึ่งตัวอย่างที่มาจากแผนการโดยตรงของศัตรูอิสลาม

   เนื่องจากการเผชิญหน้ากับแผนการร้ายและสงครามทางวิทยาการที่ได้รับการสอนสั่งมา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคนที่ตระหนักรู้ ด้วยความพร้อมและศักยภาพของพวกเขา จะต้องเผชิญหน้ากับการโจมตีอย่างเปิดเผยนี้  ด้วยการแนะนำแถลงไขถึงความถูกต้องด้วยมิติต่างๆต่อบุคลิกภาพของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)

สุดท้าย  บทความนี้ชื่อเราได้ให้ชื่อว่า

{{  ศาสดามุฮัมมัดจากคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษอะฮ์ลุลบัยต์  }}

และบางครั้งเรานำหะดีษจากฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์มากล่าวเสริมอีกด้วย ตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่องในบางกรณี

โอ้อัลเลาะฮ์โปรดยอมรับการงานจากเรา แท้จริงพระองค์ เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้รอบรู้
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:11:43 ก่อนเที่ยง
ชีวประวัติ  ศาสดามูฮัมหมัด  

(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วาอาลิฮี วะซัลลัม )


สารบัญเรื่องโดยสังเขป


บทที่ 1
ดะลาอิลุลนุบูวะฮฺ (หลักฐานการเป็นศาสดา)

ศึกษาเรื่อง อัลลอฮฺทรงเป็นพยานต่อตำแหน่งศาสดาของมุฮัมมัด
เรื่อง การเข้ารับอิสลามของบาดหลวงคริสต์

บทที่ 2
ปรัชญาแห่งการเป็นศาสดา
อิสระในสถาบันของบรรดาศาสดา

บทที่ 3  
การเป็นศาสดาคนสุดท้าย
วิจัยเกี่ยวกับปรัชญาแห่งการเป็นศาสดาคนสุดท้าย

บทที่ 4  
โลกแห่งการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด

บทที่ 5  
บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด

บทที่ 6
มุฮัมมัดจากคำพูดของนบีมุฮัมมัด
บทที่ 7 มุฮัมมัดจากคำพูดของอิม่ามอาลี
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:17:20 ก่อนเที่ยง
บทนำ



นับเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายหรือเขียนเกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุรุษู้หนึ่ง ที่หะดีษกุดซี (พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ไม่ใช่กุรอ่าน) ทรงตรัสถึงเขาว่า

لَوْلاَكَ لَماَ خَلَقْتُ الْأَفْلاَكَ

(โอ้มุฮัมมัด) หากไม่มีเจ้า แน่นอนข้าจะไม่สร้างจักรวาลทั้งหลาย

และในหะดีษที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้สนทนากับท่านอิม่ามอาลีว่า

يَا عَلِيُّ مَا عَرَفَ اللهَ إِلاَّ أَنَا وَأَنْتَ وَمَاعَرَفَنِيْ إِلاَّ اللهَ وَاَنْتَ

โอ้อาลี ไม่มีใครรู้จักอัลลอฮ์ นอกจากฉันกับเจ้า และไม่มีใครรู้จักฉันนอกจากอัลลอฮ์และเจ้า

ด้วยเหตุนี้จึงต้องไม่สงสัยเลยว่า หลักฐานที่ดีที่สุดและน่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับธำรงไว้ซึ่งบุคลิกภาพของท่านศาสดามุฮัมมัด อภิมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ศ็อลฯ ต้องถูกสำแดงถ่ายทอดออกมาจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของท่านนะบี(ศ)เองและจากวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์นะบีโดยเฉพาะวจนะของท่านอิม่ามอาลี (อ) ที่บรรยายถึงบุคลิกภาพนั้น.

บนพื้นฐานนี้ เราขอนำเสนอแหล่งรวมเนื้อหาสาระเหล่านี้ ถึงหลักฐานการเป็นศาสดา(นะบี)ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ), ปรัชญาการเป็นศาสดาของท่าน, ตำแหน่งศาสดาคนสุดท้ายสิ้นสุดที่ท่าน, โลกแห่งการเป็นศาสดาของท่าน, คุณลักษณะพิเศษต่างๆของท่านจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์นะบี
แต่ตอนนี้จะอธิบายแบบสั้นๆเกี่ยวกับหลักฐานตำแหน่งนะบีของท่านศาสดามุฮัมมัด อภิมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ศ็อลฯ และปรัชญาของตำแหน่งนะบีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอาน   ซึ่งเราควรกล่าวถึงเรื่องนี้ก่อนสิ่งใด
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:41:08 ก่อนเที่ยง
1

หลักฐานอัลกุรอาน  ที่แสดงถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:42:15 ก่อนเที่ยง
1

หลักฐานอัลกุรอาน  ที่แสดงถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)


   สามารถกล่าวแบบสั้นๆได้ว่า คัมภีร์อัลกุรอานได้ยืนยัน(ถึงเรื่องนี้)ไว้หกหลักฐานหลัก   ที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)  คือ


1.1- อัลลอฮฺ ทรงเป็นพยาน

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้หกโองการ(อายะฮ์) เพื่อยืนยันการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

และความสัจจริงของท่านในการประกาศตำแหน่งนุบูวะฮฺ(การเป็นศาสดา) อันเป็นประจักษ์พยานของอัลลอฮฺ ตะอาลา  เป็นการประกาศไว้สองโองการในการแสดงเหตุผลของมันด้วยการเป็นพยานของอัลลอฮฺต่อการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)  

แท้จริงการเป็นพยานของอัลลอฮ์ตะอาลา นั้นถือว่าเพียงพอแล้วเพื่อยืนยันถึงสาส์น(ริซาละฮฺ)ของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

ถ้าเสริมหลักฐานเข้าไปอีกคือ นะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้สั่งไว้อีกสี่โองการ โดยอ้างอิงหลักฐานนี้ที่แสดงถึงตำแหน่งศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

   ตอนต่อไปเราจะกล่าวถึงวิธีการเป็นพยานของอัลลอฮ์ต่อการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)ในหลักฐานของหัวข้อนี้ ด้วยรูปแบบสังเขปคือ อัลลอฮ์ทรงสนับสนุนการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ) ทั้งคำพูดและการกระทำด้วยหนทางต่างๆมากมาย
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:44:02 ก่อนเที่ยง
1.2-   การแจ้งข่าวดีของบรรดาศาสดาก่อนๆ ถึงการมาของนะบีมุฮัมมัด


หลักฐานที่สองจากอัลกุรอานที่บ่งบอกการเป็นศาสดาของนะบีคนสุดท้าย(ศ)คือ

นะบีมูซา(ศาสดาโมเสส)และนะบีอีซา(ศาสดาเยซู)ได้แจ้งข่าวถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ)เอาไว้ในคัมภีร์โตร่าห์และคัมภีร์ไบเบิล

ยิ่งกว่านั้นคัมภีร์ต่างๆที่พระเจ้าได้ประทานลงมาจากฟากฟ้าได้แจ้งข่าวถึงการมาของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ไว้แล้ว

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَإنَّهُ لَفِيْ زُبُرِ الْأَوَّلِيْنَ

และแท้จริงมัน(การมาของมุฮัมมัด) มีอยู่ในคัมภีร์สมัยก่อนๆ

อัช-ชุอะรออฺ : 196

มีรายงานจากอิม่ามอาลี(อ)ที่อธิบายถึงการมาของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) :

...อัลลอฮฺทรงส่งมุฮัมมัดมาเป็นศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เพื่อทำตามสัญญาของพระองค์ และทำให้ตำแหน่งนุบูวะฮ์(ศาสดา)ของพระองค์สมบูรณ์ ตามที่รับเอาข้อสัญญาของพระองค์บนบรรดานะบีคนก่อนๆ ซึ่งชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายดี

หะดีษอีกบทหนึ่งรายงานจากอิม่ามอาลี(อ),ท่านอิบนุอับบาสและท่านเกาะตาดะฮฺ เกี่ยวกับการอธิบายถึงพันะสัญญานี้ว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเอาข้อสัญญาแก่นะบีทั้งหลาย ก่อนนะบีของเราว่า ให้พวกเขา(บรรดานะบี)แจ้งข่าวแก่ประชาชาติของพวกเขาถึงการมาของเขา(มุฮัมมัด)และคุณลักษณะของเขา และให้(บรรดานะบี)บอกข่าวดีแก่พวกเขา(ชนชาติในแต่ละยุค)ถึงเขา และให้(บรรดานะบี)สั่งพวกเขา(ชนชาติในแต่ละยุค)ให้มีความเชื่อและปฏิบัติตามเขา(มุฮัมมัด)

ตามที่มีสัญลักษณ์ใกล้เคียงบ่งบอกไว้มากมายที่แสดงว่า มีศาสดาบางส่วนได้แจ้งข่าวดีถึงการมาของศาสดาคนสุดท้ายนี้ไว้แล้ว

   อย่างไรก็ตามจากทัศนะของคัมภ์อัลกุรอานนั้น แท้จริงบุคลิกต่างๆของนะบีมุฮัมมัด(ศ) ได้กล่าวไว้ด้วยรูปแบบที่ชัดเจนมีอยู่ในคัมภีร์ทั้งหลายจากฟากฟ้า โดยที่ชาวคัมภีร์เคยรู้จักนะบีมุฮัมมัดมาแล้ว เหมือนที่พวกเขารู้จักลูกหลานของพวกเขาดี

อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงตรัสว่า

الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَعْرِفُونَهُ كَمَا يَعْرِفُونَ أَبْنَاءهُمْ وَإِنَّ فَرِيقاً مِّنْهُمْ لَيَكْتُمُونَ الْحَقَّ وَهُمْ يَعْلَمُونَ

บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขานั้น  พวกเขาย่อมรู้จักเขา(มุฮัมมัด)ดีเหมือนกับที่พวกเขารู้จักลูกๆของพวกเขาเอง และแท้จริงกลุ่มหนึ่งจากพวกเขานั้นปิดบังความจริงไว้ทั้งๆที่พวกเขารู้กันอยู่

อัลบะเกาะเราะฮฺ : 146   


สิ่งที่ควรกล่าวชี้แจงคือ  หากเรื่องการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัดยังเป็นข้อสงสัยในคัมภีร์อัลกุรอานที่กล่าวตัดสินไว้ต่อการแจ้งข่าวของคัมภีร์ทั้งหลายและการรู้จักอย่างสมบูรณ์แบบของชาวคัมภีร์(เช่นชาวยิวและชาวคริสต์)ต่อนะบีมุฮัมมัด(ศ)ในยุคสมัยที่คัมภีร์อัลกุรอานประทานลงมา  ศัตรูอิสลามจะต้องตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาต่อต้านศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน  

เมื่อไม่มีการบันทึกเรื่องการต่อต้านนี้ไว้  จึงเป็นที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือสำหรับคำกล่าวอ้างนี้ทั้งๆที่มีการต่อต้านอย่างจริงจังสำหรับเรื่องนี้   นั่นเป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงความถูกต้องของคำกล่าวนี้  

กล่าวเสริมอีกคือทั้งๆที่ในคัมภีร์เตารอตและอินญีล(คัมภีร์ไบเบิล)มีสภาพอยู่ในการถูกแก้ไขผิดไปจากเดิมอย่างมากมาย แต่ก็ยังสามารถนำมันมาเป้นหลักฐานพิสูจน์ถึงการมาของศาสดาคนสุดท้าย(ศ)ได้
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:50:00 ก่อนเที่ยง
1..3 -  ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์เป็นพยาน


หลักฐานที่สามของอัลกุรอานที่แสดงถึงสาส์นของศาสดาคนสุดท้ายในการเป็นพยานของบุคคลผู้นั้นที่นับว่า
การเป็นพยานของเขาก็คือการเป็นพยานของอัลลอฮฺ ตะอาลา ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับยืนยันความสัจจริงของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศาสดามุฮัมมัด)ในการตัดสินทางสติปัญญาและตามสามัญสำนึก

คัมภีร์อัลกุรอานได้นำเสนอบุคลิกลักษณะของบุรุษผู้นี้ไว้สองหัวข้อคือ


หนึ่ง – ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์
 
وَيَقُولُ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَسْتَ مُرْسَلاً قُلْ كَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَمَنْ عِندَهُ عِلْمُ الْكِتَابِ

และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า ท่านมิใช่เป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์ (ก็เป็นพยานด้วย)
ซูเราะฮฺอัลเราะอฺดุ : 43

สอง – ผู้เป็นพยานจากอัลลอฮฺ    
   
أَفَمَن كَانَ عَلَى بَيِّنَةٍ مِّن رَّبِّهِ وَيَتْلُوهُ شَاهِدٌ مِّنْهُ وَمِن قَبْلِهِ كِتَابُ مُوسَى إَمَامًا وَرَحْمَةً

ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากพระองค์จะสาธยายมัน และก่อนนั้นมีคัมภีร์ของมูซา(โมเสส)เป็นทางนำและความเมตตา
ซูเราะฮฺ ฮูด :17

   การอ้างอิงหะดีษต่างๆที่รายงานไว้ในตำราที่เชื่อถือได้ของทั้งสองฝ่าย(คือซุนนี่และชีอะฮ์)  

จุดประสงค์ของคำว่า " ชาฮิด – พยาน"  

และ

" มัน อินดะฮู อิลมุลกิตาบ – ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์ "

หมายถึง ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ(อ)  เพราะฉะนั้นบุคคลที่รู้จักคุณสมบัติพิเศษต่างๆของผู้นำคนนี้ทั้งด้านวิชาการความรู้  ด้านจรรยามารยาท  ด้านพฤติกรรม ย่อมต้องรู้ว่าเขาจะไม่กล่าวสิ่งไร้สาระ และไม่พูดสิ่งใดนอกจากสัจธรรมเท่านั้น  

ฉะนั้นการเป็นพยานของอิม่ามอาลี(อ)ที่ประกอบกับการเป็นพยานของอัลลอฮฺ ตะอาลาคือ

ความน่าเชื่อถืออย่างชัดเจนถึงการเป็นศาสดาของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)  

และเพียงพอแล้วที่จะเชื่อตามบุคคลที่โดดเด่นอย่างเช่น ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ(อ)ต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) เพื่อยืนยันความสัจจริงของท่านและสาส์นของท่าน
   สิ่งที่ควรจะกล่าวก็คือ ท่านอิม่ามอาลีคือ ผู้ที่มีความรู้ต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺมากที่สุดแห่งประชาชาตินี้หลังจากที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จากไป และนับว่าประจักษ์พยานทั้งสองนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้วสำหรับสาส์นนี้

   อนึ่งการอธิบายเนื้อหาของโองการดังกล่าวนั้นไม่ได้ขัดแย้งกันและยังสอดคล้องกับอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)  ยิ่งกว่านั้นทุกคนที่รู้จักคัมภีร์อัลกุรอานอย่างแท้จริง เขาก็จะเป็นพยานต่อความสัจจริงของผู้ที่ได้รับสาส์นอีกด้วย
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 10:59:09 ก่อนเที่ยง
1.4 -  การล่วงรู้ข่าวของนักปราชญ์ของวงศ์วานอิสราเอล



หลักฐานที่สี่ของอัลกุรอานสำหรับยืนยันสาส์นของศาสดามุฮัมมัด(ศ)คือ
การล่วงรู้ข่าวโดยนักปราชญ์ของพวกวงศ์วานอิสราเอล ที่บอกเล่าถึงการประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด(ศ)

وَإِنَّهُ لَفِي زُبُرِ الْأَوَّلِينَ     أَوَلَمْ يَكُن لَّهُمْ آيَةً أَن يَعْلَمَهُ عُلَمَاء بَنِي إِسْرَائِيلَ

และแท้จริงมันมีอยู่ในคัมภีร์สมัยก่อนๆ  และมันมิได้เป็นเครื่องหมายแก่พวกเขาดอกหรือว่า  บรรดาผู้มีความรู้ของวงศ์วานอิสรออีลก็รู้ดีในเรื่องนี้

ซูเราะฮฺ อัช-ชุอะรออฺ : 196-197

   โองการนี้แสดงว่า บรรดานักปราชญ์แห่งวงศ์วานอิสราเอลได้รับรู้ข่าวเรื่อง การเป็นศาสดาของนะบีคนสุดท้าย  ซึ่งพวกเขาเคยพบเห็นมันบันทึกอยู่ในคัมภีร์ของบรรดาศาสดาคนก่อนๆมาแล้ว  

พวกเขายังได้อธิบายมันอย่างชัดเจนแก่พวกมุชริกีน(พวกตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์)ก่อนการมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ) และพวกเขายังขู่สำทับพวกมุชริกีน(พวกกราบไหว้เคาระบูชาเจว็ด)ว่า จะต้องถูกล้างแค้นจากพวกเขา ด้วยการมาของศาสดาผู้นี้

ดังที่อัลกุรอ่านโองการหนึ่งได้กล่าวว่า

وَلَمَّا جَاءهُمْ كِتَابٌ مِّنْ عِندِ اللّهِ مُصَدِّقٌ لِّمَا مَعَهُمْ وَكَانُواْ مِن قَبْلُ يَسْتَفْتِحُونَ عَلَى الَّذِينَ كَفَرُواْ فَلَمَّا جَاءهُم مَّا عَرَفُواْ كَفَرُواْ بِهِ فَلَعْنَةُ اللَّه عَلَى الْكَافِرِينَ

และเมื่อได้มีคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากที่อัลลอฮฺมายังพวกเขา ซึ่งยืนยันในสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา ทั้งๆที่พวกเขาเคยขอให้มีชัยชนะเหนือบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธามาก่อน  ครั้นเมื่อสิ่งที่พวกเขารู้จักดี ได้มายังพวกเขาแล้ว  พวกเขากลับปฏิเสธสิ่งนั้นเสีย  ดังนั้นความห่างไกลจากเราะห์มัตของอัลลอฮฺจึงตกอยู่แก่บรรดาผู้ปฏิเสธเหล่านั้น

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ :89

และ

وَلَمَّا جَاءهُمْ رَسُولٌ مِّنْ عِندِ اللّهِ مُصَدِّقٌ لِّمَا مَعَهُمْ نَبَذَ فَرِيقٌ مِّنَ الَّذِينَ أُوتُواْ الْكِتَابَ كِتَابَ اللّهِ وَرَاء ظُهُورِهِمْ كَأَنَّهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ

และเมื่อได้มีรอซูลคนใด ณ ที่อัลลอฮ์มายังพวกเขา  ซึ่งจะเป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา(คือคัมภีร์เตารอตในส่วนเตาฮีดและชะรีอะฮฺ)  กลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก็เหวี่ยงคัมภีร์ของอัลลอฮฺไว้เบื้องหลังของพวกเขาเสีย(คือส่วนที่บอกลักษณะของท่านนบี) เสมือนหนึ่งว่าพวกเขาไม่รู้

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ :101



สิ่งที่ตระหนักคือ เป็นไปไม่ได้ที่คัมภีร์อัลกุรอานจะกล่าวสิ่งใดออกมาเช่นนี้อย่างเลื่อนลอยไร้หลักฐาน

ในขณะที่พบว่า  มีพวกปุโรหิตแห่งวงศ์วานอิสราเอลอยู่เคียงข้างกับพวกมุชริกีน  

เพราะหาก(มันเป็นเรื่องเท็จ)ก็จะมีเสียงร้องตระโกนดังออกมาจากทุกทิศทุกทางว่า

คำกล่าวอ้างเช่นนี้ ไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริง  และนั่นย่อมแสดงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องชัดเจนในช่วงที่มีโองการกุรอ่านต่างๆถูกประทานลงมาจนถึงขั้นที่ว่า ไม่สามารถปฏิเสธมันได้

   กล่าวเสริมคือ เรื่องที่นักปราชญ์ยิวและบาดหลวงคริสต์ล่วงรู้มาก่อนถึง การมาของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ปรากฏว่า  มีคนกลุ่มใหญ่ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาที่อยู่ในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ศรัทธาและยอมรับว่า ตัวของนะบีมุฮัมมัด(ศ)นั้นคือบุคคลที่คัมภีร์ของพระเจ้าก่อนหน้านี้ได้พยากรณ์ถึงการมาของเขาไว้แล้ว  
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 11:14:18 ก่อนเที่ยง
1.5 –  วิชาการคือพยาน


คัมภีร์กุรอ่านและซุนนะฮ์(หะดีษ)ได้ให้ทัศนะว่า   แท้จริงสำหรับวิชาความรู้นั้นมีความสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับศรัทธาเชื่อความศรัทธาในเรื่องเตาฮีด(พระเจ้าทรงเอกะ)และเรื่องนุบูวะฮฺ(การเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด)
และโลกแห่งความจริง มันคือสิ่งสนับสนุนความสัจจริงของศาสดาคนสุดท้าย(ศ)รวมทั้งสาส์น(คัมภีร์และหลักธรรม)ที่เขาได้นำมาอีกด้วย

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَيَرَى الَّذِينَ أُوتُوا الْعِلْمَ الَّذِي أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ هُوَ الْحَقَّ وَيَهْدِي إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

และบรรดาผู้ได้รับความรู้นั้น ตระหนักดีว่า สิ่งที่ได้ถูกประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นเป้นสัจธรรม และจะชี้นำไปสู่แนวทางแห่งพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ

ซูเราะฮ์ อัส-สะบะอฺ :6

ด้วยหลักขั้นพื้นฐานนี้ มีรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)

ศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า

اَلْعِلْمُ حَيَاةُ الْإِسْلاَمِ وَعِمَادُ الْإِيْمَانِ

ความรู้คือชีวิตของศาสนาอิสลาม และเป็นรากฐานแห่งความศรัทธา


ดูกันซุลอุมมาล  หะดีษที่  28661

แต่ว่า ความรู้ในศาสตร์ใดล่ะ ที่จะถูกนับว่าเป็นแก่นแท้สำหรับชีวิตของอิสลามและเป็นรากฐานแห่งความศรัทธา ?  

เราจะกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยโองการกุรอ่านในตอนต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 11:33:22 ก่อนเที่ยง
1.6 -  การตัดสินของอัลลอฮฺ ตะอาลา



สำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานสำหรับยืนยันการเป็นศาสดาของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)นั้น

(ในขั้นแรก) คือการอ้างอิงเหตุผลและหลักฐาน  

แต่เมื่อฝ่ายตรงข้าม  แสดงความดื้อดึงต่อหลักฐานที่ชัดแจ้ง และไม่ยอมรับต่อสัจธรรมความจริง

ก็จะเชิญไปสู่ขั้นที่สองคือ     การมุบาฮะละฮ์

หมายถึงการที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องวิงวอนให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อพิสูจน์ตามสิ่งที่อ้างไว้

นั่นคือ ทั้งสองฝ่ายจะมารวมอยู่ในสถานที่เดียวกันด้วยเรื่องที่อยู่ในกรณีพิพาทกัน และทั้งสองจะวิงวอนด้วยความอ่อนน้อมต่ออัลลอฮฺ(พระเจ้า) โดยทั้งสองฝ่ายต่างปรารถนาจากพระเจ้าให้ประจานฝ่ายเท็จและลงโทษเขา  

การกระทำนี้กล่าวคือในความเป็นจริง อัลลอฮ์ทรงตั้งกฏเกณฑ์นี้ไว้สำหรับกรณีพิสูจน์ความจริงกับความเท็จของแต่ละฝ่ายตามที่กล่าวอ้างถึงมัน

   อัลลอฮ์ตะอาลาทรงรับสั่งให้ศาสดามุฮัมมัด(ศ)ท้าชาวนะซอรอ(คริสต์)แห่งเมืองนัจญ์รอนไปทำมุบาฮะละฮ์ตามรูปแบบที่กล่าวนี้

เพื่อพิสูจน์ความสัจจริงของเขา  ดั่งที่อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของเขา(อีซาว่าเป็นบุตรของอัลลอฮฺ) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว  (มุฮัมมัด)จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด  เราจะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน แล้วเราจะทำมุบาฮะละฮ์กัน(คือวิงวอนต่ออัลลอฮ์) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้การละอ์นัตของอัลลอฮ์พึงประสบ แก่บรรดาผู้โกหก

ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน : 61


   
   ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การท้าทายให้ทำการสาบานแบบมุบาฮะละฮฺด้วยรูปแบบดังกล่าวตามที่โองการกุรอ่านกล่าวไว้ แสดงให้เห็นว่า

ผู้ประกาศตนเป็นศาสดานั้นต้องมีความสัจจริงตามที่เขาอ้างไว้ เพราะถ้าเขาไม่แน่ใจว่าคำอ้างของเขาถูกต้องจริง เขาย่อมไม่กล้าท้าทายฝ่ายตรงข้ามให้มาวิงวอนจากอัลลอฮฺเพื่อประจานคนโกหกแน่  

แท้จริงพวกเขาจะได้เจอผลลัพท์ในที่ประชุมอยู่ที่เดียวกันนั้นคือการตัดสินของอัลลอฮ์และการลงโทษต่อคนเท็จ

   ย่อมประจักษ์ดีว่า การเข้าสู่สนามต่อสู้นี้โดยปราศจากความมั่นใจต่อผลลัพท์นั้นไม่กินกับปัญญา นั่นเพราะ ผู้ท้าย่อมจะต้องถูกประจานอย่างอับอายแน่ ถ้าหากคำวิงวอนของเขาไม่ถูกตอบรับ

และฝ่ายตรงข้ามจะไม่ถูกลงโทษ ด้วยเหตุนี้หากศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้เสนอการทำมุบาฮะละฮฺแก่ชาวคริสต์ทั้งหลายโดยไม่สนใจผลลัพท์ต่างๆที่จะเกิดกับท่าน ก็ย่อมแสดงให้ประจักษ์อย่างไร้ข้อสงสัยถึงความสัจจริงของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)และสาส์น(คัมภีร์และหลักธรรม)ของท่าน
   หลังจากที่ฝ่ายท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้เสนอให้มาสาบานแบบมุบาฮะละฮ์กัน  ฝ่ายนะซอรอ(คริสต์)ก็ได้ขอผ่อนผันจากท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ที่จะตอบรับคำท้านี้ เพื่อไปประชุมปรึกษาหารือกับผู้อาวุโสของพวกเขากันก่อน  

แน่นอนผลลัพท์ของการปรึกษาในหมู่พวกเขา จะแสดงออกมาในข้อสังเกตอันสำคัญที่จะบ่งบอกจากด้านที่มีค่าว่า การอ้างตัวเป็นศาสดาจริงหรือเท็จของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)  

ด้วยเหตุนี้ชาวคริสต์จึงได้ตกลงกันว่า พวกเขาจะเดินทางมายังสถานที่นัดทำการสาบานแบบมุบาฮะละฮฺ เพื่อดูว่า

ใครคือบุคคลที่จะออกมากับท่านศาสดามูฮัมมัดเพื่อสาบานมุบาฮะละฮ์ และใครจะเป็นบุคคลที่ท่านศาสดามูฮัมมัดเสนอตัวออกมาสำหรับการถูกลงทัญฑ์จากพระเจ้า
 

ชาวคริสต์ได้กล่าวกันเองว่า :

หากมุฮัมมัดสาบานมุบาฮะละฮฺกับเราด้วยสาวกที่มีศรัทธาต่อเขา เราจะสาบานมุบาฮะละฮ์กับเขา
แต่ถ้าเขาทำมุบาอะละฮ์กับเราด้วยอะฮ์ลุลบัยต์(ครอบครัวพิเศษ)ของเขา  เราก็จะไม่ทำมุบาฮะละฮฺกับเขา
เพราะไม่มีใครจะเสี่ยงพาอะฮ์ลุลบัยต์(ครอบครัว)ของตัวเอง(ออกมาสู่ความหายนะ)  เว้นแต่ว่า เขาผู้นั้นจะต้องเป็นผู้สัจจริง

เมื่อชาวคริสต์ได้ลงความเห็นเช่นนั้นแล้ว  พวกเขาก็มุ่งหน้าไปยังสถานที่ๆตกลงกันไว้กับท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)  

ทันใดนั้นพวกเขาได้แลเห็นท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้พาฟาติมะฮ์บุตรีของท่าน, ท่านอาลีบุตรเขยและท่านฮาซันกับฮูเซนหลานชายทั้งสองที่ยังเด็กอยู่ออกมาทำมุบาฮะละฮ์  

และสิ่งที่ชาวคริสต์ได้แลเห็นคือหลักฐานแสดงว่า ศาสดามูฮัมมัด(ศ)มีความสัจจริง  จนความหวาดกลัวคืบคลานเข้าสู่หัวใจของพวกเขา ทำให้พวกเขาต้องยุติการทำมุบาฮะละฮฺเอาไว้ และยอมขอประนีประนอม และให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขของผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 11:35:37 ก่อนเที่ยง
2

ปรัชญาแห่งการส่งท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 01:40:21 หลังเที่ยง
2 - ปรัชญาการส่งท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)



เราถือว่า การทำความรู้จักถึงจุดประสงค์และเหตุผลของการส่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ในฐานะนะบีคนสุดท้าย)มายังชาวโลกคือเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งมันมีความเกี่ยวข้องกับการทำความรู้จักบุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ)

แท้จริงปรัชญาหรือเหตุผลของการส่งศาสดาคนสุดท้ายมานั้น  บนพื้นฐานแล้วไม่ได้มีความแตกต่างอะไรไปจากปรัชญาของการส่งบรรดาศาสดา(ก่อนหน้านี้มายังชาวโลก)  

แต่มันมีความแตกต่างเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ ศาสดามุฮัมมัด(ศ)จะเป็นผู้ทำให้สาส์นต่างๆของศาสดาทั้งหลายบรรลุสู่ความสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งศาสดาของอัลลอฮ์จึงสิ้นสุดลงที่นะบีมุฮัมมัด(ศ)

พร้อมกันนั้นถ้าจะยึดตามข้อพิจารณานี้  สามารถสรุปปรัชญาการส่งศาสดาสั้นๆจากอัลกุรอานได้สองประการ  และสองหัวข้อนี้คือสิ่งที่จะเล่าถึงความจริง :


2.1 - การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ

การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ คือปรัชญาหลักที่ครอบคลุมทุกเหตุผลสำหรับการส่งนะบี(ศาสดา)ทั้งหลายมาทั้งหมด  และการเชิญชวนนี้ในความเป็นจริงแล้วคือสิ่งเดียวกันกับการเชิญชวนให้ทำการขัดเกลาตนเองสู่หนทางของอัลลอฮ์   และปฏิบัติอามัลบนพื้นฐานของศาสนาอัลอิสลาม

กล่าวคือ  มันเป็นโปรแกรมพัฒนาความสมบูรณ์ของมนุษย์ที่รับประกันความปลอดภัยในชีวิตของเขาทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ  

ด้วยเหตุนี้  สำนวนต่างๆเช่น  (ผมขอเชิญชวนคุณสู่อัลลอฮฺ  หรือจงเชิญชวนสู่หนทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า )) และ (( สูเจ้าจงตอบรับต่ออัลลอฮฺและรอซูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนสูเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้สูเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น...))

และโองการอื่นๆที่เกี่ยวกับปรัชญาการส่งศาสดามายังโลก อันเป็นการบ่งชี้ไปยังสารัตถะหนึ่งเดียวจากแง่มุมที่แตกต่างมากมาย.

   กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  แท้จริงปรัชญาของการส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายรวมทั้งศาสดาคนสุดท้ายท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)มาคือ  

ให้พวกเขา(บรรดานะบี)ทำการชี้นำสั่งสอนมนุษยชาติทั้งหลาย  บนหนทางที่จะบรรลุสู่ความสมบูรณ์อันไร้ขีดจำกัด   เพื่อพวกเขาจะได้ไปถึงขั้นที่เรียกว่า ลิกอ อุลเลาะฮฺ –  คือการได้พบกับอัลลอฮ์   ซึ่งนั่นคือเป้าหมายสุดท้ายสำหรับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ในการพัฒนาตนเองสู่ความสมบูรณ์ในระหว่างที่เขากำลังขัดเกลาตนเองบนหนทางดังกล่าวนี้    และในเวลาเดียวกันนั้นที่พวกเขาจะให้ความปลอดภัยในตัวเขา ในความจำเป็นเดือดร้อนต่างๆของพวกเขาทั้งทางวัตถุและวิญญาณ  

และด้วยเหตุนี้ แท้จริงการดะอ์วะฮ์(เชิญชวน)สู่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล  คือ  ฮิกมัต(วิทยปัญญา)ที่สำคัญที่สุดสำหรับการส่ง(บรรดาศาสดาทั้งหลายมา).



2.2 - การพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์

ปรัชญาเรื่องวิวรณ์(วะฮี)และการเป็นศาสดา(นุบูวะฮฺ) ตามโลกทัศน์แห่งพระเจ้าดำรงอยู่บน สามประการหลักคือ :

หนึ่ง- ปรัชญาการสร้างมนุษย์คือการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์
 
สอง- สิ่งที่บ่งบอกให้พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์นี้ไม่มีอยู่ในตัวมนุษย์

สาม- ผู้สร้างโลก คือผู้ที่สามารถจะนำเสนอโปรแกรม(รายการ)พัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้

พระองค์เป็นเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถให้คำแนะรูปแบบการพัฒนาพื้นฐานของมนุษย์และความต้องการของเขา   พระองค์ทรงรอบรู้อย่างห้อมล้อมต่อทุกรายละเอียดทั้งหมดอันเกี่ยวข้องกับโปรแกรมพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์  

อีกประเด็นหนึ่งคือ   พระองค์ไม่ต้องการพึ่งพามนุษย์   ดังนั้นจะต้องมากักมันไว้ไม่ให้แก่มนุษย์ ซึ่งสิ่งที่จะเป็นคุณประโยชน์สำหรับตัวเขา.

   เพราะเหตุนี้มนุษย์จึงสามารถเข้าใจปรัชญาการสร้างมัคลูกของพระองค์ เพราะฮิกมะฮ์(เหตุผล)ของพระเจ้านั้นลึกซึ้งมาก จนทำให้ต้องมีเหตุผลสำหรับเสนอโปรแกรมพัฒนามนุษย์    นั่นเพราะการพัฒนามนุษย์ จะได้เป็นข้อแก้ตัวที่จะได้รับการอภัย ในสภาพอื่นไปจากนี้ นี่หมายความว่า การสร้างนั้นไร้สาระ

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การปฏิเสธวะฮี(วิวรณ์)และการส่งบรรดานะบีมา   เทียบเท่ากับการปฏิเสธเตาฮีด(ความเป็นหนึ่งของอัลลอฮฺ)

เพราะอัลกุรอานกล่าวว่า

وَمَا قَدَرُواْ اللّهَ حَقَّ قَدْرِهِ إِذْ قَالُواْ مَا أَنزَلَ اللّهُ عَلَى بَشَرٍ مِّن شَيْءٍ

และพวกเขา มิได้ให้ความยิ่งใหญ่แก่อัลลอฮฺตามควรแก่ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ (จงรำลึก) ขณะที่พวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงประทานสิ่งใดแก่ปุถุชนคนใด

ซูเราะฮ์อัลอันอาม :91


   บนพื้นฐานนี้อาจกล่าวอย่างสั้นๆว่า : เป้าหมายหนึ่งจากการส่งบรรดานบีมายังมนุษย์คือ การพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ และตอบสนองความเดือดร้อนต่างๆของมนุษย์ทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ
   ส่วนกรณีอื่นๆที่อัลกุรอานได้บ่งบอกไว้เกี่ยวกับการอธิบายฮิกมะฮ์การส่งบรรดานบีมา จะเป็นเช่น ขจัดความขัดแย้งให้หมดไป   ปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจะพันธนาการทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก   นำพามนุษย์ออกจากความมืดมนของอวิชชา  สอนคัมภีร์และวิทยปัญญา  ทำให้โลกสว่างไสวด้วยรัศมีของความรู้   การเจริญเติบโตทางด้านจรรยามารยาทแก่สังคม และสร้างความมั่นคงด้านความยุติธรรมแก่สังคม ซึ่งในความเป็นจริงมันได้แสดงออกมาในรูปข้อปลีกย่อยของการขานตอบเสียงเชิญชวนไปสู่อัลลอฮ์  และการปฏิบัติตามโปรแกรมพัฒนามนุษย์ของบรรดานบีแห่งพระเจ้า

   ส่วนปรัชญาการส่งศาสดานั้นจะเกี่ยวข้องกับบรรดาบุคคลที่ไม่ตอบสนองต่อการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺและบรรดาศาสดาของพระองค์ ดังนั้นก็จะแสดงออกมาในรูปแบบที่ว่า   หลักฐานนั้นได้สมบูรณ์แล้วสำหรับพระองค์และสำหรับพวกเขา
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:10:33 หลังเที่ยง
บทที่ 1

หลักฐานการเป็นศาสดาของนะบีมูฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม

دلائـل النبـوة
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:15:48 หลังเที่ยง

บทที่ 1

หลักฐานการเป็นศาสดาของนะบีมูฮัมมัด

دلائـل النبـوة




1.1- อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน


คัมภีร์อัลกุรอาน  

อัลลอฮ์  ตะอาลาทรงตรัสว่า  :

لَّكِنِ اللّهُ يَشْهَدُ بِمَا أَنزَلَ إِلَيْكَ أَنزَلَهُ بِعِلْمِهِ وَالْمَلآئِكَةُ يَشْهَدُونَ وَكَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا

แต่ทว่า อัลลอฮฺนั้นทรงยืนยันในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่เจ้า  ว่าพระองค์ได้ทรงประทานสิ่งนั้นมาด้วยความรู้ของพระองค์ และมลาอิกะฮฺก็ยืนยันด้วย และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ยืนยัน

ซูเราะฮ์อันนิสาอฺ : 166

هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا

พระองค์คือผู้ทรงส่งรอซูลของพระองค์มาพร้อมด้วยแนวทางที่ถูกต้อง และศาสนาแห่งสัจธรรม เพื่อพระองค์จะทรงให้ศาสนา(ของพระองค์) นั้นประจักษ์แจ้งเหนือศาสนาอื่นทั้งมวล และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮ์ทรงเป็นพยาน

ซูเราะฮ์อัลฟัตฮฺ : 28

قُلْ كَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ إِنَّهُ كَانَ بِعِبَادِهِ خَبِيرًا بَصِيرًا

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน ระหว่างฉันกับพวกท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้  ทรงมองเห็นปวงบ่าวของพระองค์

ซูเราะฮ์อัลอิสรอ : 96

قُلْ كَفَى بِاللَّهِ بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ شَهِيدًا يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَالَّذِينَ آمَنُوا بِالْبَاطِلِ وَكَفَرُوا بِاللَّهِ أُوْلَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป้นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน  และบรรดาผู้เชื่อในความเท็จและปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ขาดทุน

ซูเราะฮ์อัลอังกะบูต : 52


أَمْ يَقُولُونَ افْتَرَاهُ قُلْ إِنِ افْتَرَيْتُهُ فَلَا تَمْلِكُونَ لِي مِنَ اللَّهِ شَيْئًا هُوَ أَعْلَمُ بِمَا تُفِيضُونَ فِيهِ كَفَى بِهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَهُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ

หรือพวกเขากล่าวว่า เขา(มุฮัมมัด) ได้ปั้นแต่งอัลกุรอานนั้น จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ถ้าฉันได้ปั้นแต่งอัลกุรอานขึ้น  พวกท่านก็ไม่มีอำนาจอันใดที่จะช่วยเหลือฉันได้จาก(การลงโทษของ)อัลลอฮฺพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่พวกท่านกำลังง่วนอยู่ในเรื่องนี้  เพียงพอแล้วที่พระองค์ทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และพระองค์เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตายิ่ง

ซูเราะฮ์อัลอะหฺกอฟ  : 8

قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูฏประทานลงมาแก่ฉันเพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)


ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19




อัลหะดีษ

หนึ่ง –

อิม่ามมุฮัมมัดอัลบาเก็ร(ได้อธิบาย) ในพระดำรัสของอัลลอฮฺตะอาลา(ซูเราะฮ์อัลอันอาม:19) ที่ตรัสว่า :


قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูฏประทานลงมาแก่ฉันเพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)

ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19

   แท้จริงพวกมุชริกแห่งมักกะฮฺได้กล่าวว่า  โอ้มุฮัมมัด  อัลลอฮ์ทรง(ค้น)หารอซูล(ศาสนทูตตัวแทนของพระองค์)ไม่เจอแล้วหรือ นอกจากท่าน ? !

เราไม่เห็นมีใครสักคนเชื่อถือ(ศรัทธาต่อ)สิ่งที่ท่านพูดเลย (เหตุการณ์)ตอนนั้นอยู่ในช่วงแรกที่ท่านศาสดามุฮัมมัดเริ่มเชิญชวนพวกเขา(สู่อิสลาม) ซึ่งอยู่ที่เมืองมักกะฮฺ  

พวกมุชริกีนกล่าวว่า : แน่นอน พวกเราได้ถามชาวยะฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับท่าน  พวกเขาอ้างว่า ไม่มีกล่าวถึงท่านเลยใน(คัมภีร์ของ)พวกเขา  ดังนั้นขอให้ท่านนำผู้ที่จะเป็นพยานมา(แสดงที)ว่า  แท้จริงท่านเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ)จริง !

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ตอบ(พวกมุชริก) ว่า

  اللهُ شهيدٌ بَيْنِيْ وَبَيْنَكُمْ

อัลลอฮฺคือ พยาน ระหว่างฉันกับพวกท่าน

ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19


สอง –
หนังสืออัลมะนากิบ ของท่านอิบนิ ชะฮฺรอชูบ รายงานจากอัลกัลบีเล่าว่า :
 
ชาวมักกะฮ์ได้มาหาท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) พวกเขากล่าวว่า :  
อัลลอฮ์ทรง(ค้น)หารอซูล(ตัวแทนของพระองค์)ไม่เจอแล้วหรือ นอกจากท่าน ?

เราไม่เห็นมีใครสักคนจะเชื่อถือสิ่งที่ท่านพูดเลย   เราถามชาวยะฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับท่าน  พวกเขาอ้างว่า ไม่มีกล่าว(สิ่งใด)ถึงท่านเลยใน(คัมภีร์ของ)พวกเขา  ดังนั้นขอให้ท่านให้เราเห็นผู้เป็นพยานซิว่า

แท้จริงท่านคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ)จริงๆตามที่ท่านแอบอ้าง แล้วโองการอัลกุรอ่านนี้ได้ประทานลงมา

قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้นคือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูกประทานลงมาแก่ฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า  ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)
ซูเราะฮือัลอันอาม : 19

   พวกมุชริกีนกล่าวว่า  น่าแปลกยิ่งนัก แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลาคงทรงหาไม่พบรอซูลที่จะส่งเขามายังมนุษย์แล้ว(สินะ) นอกจากลูกกำพร้าของอะบูตอลิบ(หมายถึงนะบีมุฮัมมัด) ! ดังนั้นจึงมีโองการประทานลงมา

الر تِلْكَ آيَاتُ الْكِتَابِ الْحَكِيمِ {يونس/1} أَكَانَ لِلنَّاسِ عَجَبًا أَنْ أَوْحَيْنَا إِلَى رَجُلٍ مِّنْهُمْ أَنْ أَنذِرِ النَّاسَ وَبَشِّرِ الَّذِينَ آمَنُواْ أَنَّ لَهُمْ قَدَمَ صِدْقٍ عِندَ رَبِّهِمْ قَالَ الْكَافِرُونَ إِنَّ هَذَا لَسَاحِرٌ مُّبِينٌ {يونس/2}

อะลิฟ ลาม มีม รอ  เหล่านี้คือบรรดาโองการแห่งคัมภีร์ที่ชัดแจ้ง
เป็นการประหลาดแก่มนุษย์หรือ ที่เราได้ให้วาฮีแก่ชายคนหนึ่งจากพวกเขา ให้ทำการเตือนสำทับมนุษย์  และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาว่าแท้จริงสำหรับพวกเขานั้น  จะได้รับตำแหน่งอันสูง ณ ที่พระเจ้าของพวกเขา  บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า   แท้จริงนี่คือนักมายากลอย่างแน่นอน

ซูเราะฮ์ยูนุส : 1,2
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:30:04 หลังเที่ยง
วิจัยเรื่อง         อัลลอฮ์ตะอาลา ทรงเป็นพยานต่อการเป็นศาสดาของท่านนะบีมุฮัมมัด


เราสามารถอธิบายได้ว่า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงเป็นพยานให้กับตำแหน่งนุบูวะฮ์ของนะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้สองหนทางคือ

หนึ่ง-   พยานทางคำพูด

สอง-   พยานทางการกระทำ(ภาคปฏิบัติ)
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:41:22 หลังเที่ยง
หนึ่ง - พยานทางคำพูดยังแบ่งออกเป็นสองวิธีคือ


1.1- วะฮีและอิลฮาม (วิวรณ์,การดลให้รับรู้ทางจิตใจ)

สำหรับอัลลอฮตะอาลาทรงสามารถประกาศให้มนุษย์รับรู้ถึงการเป็นนะบี(ศาสดา)ให้กับบุคคลหนึ่งได้  การเป็นพยานถึงการเป็นนะบีให้กับบุคคลนั้นโดยอาศัยสื่อกลางด้วยวิธีวะฮีและอิลฮาม(วิวรณ์,การดลให้รับรู้ทางจิตใจ)

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
ปัญหาที่แท้จริงนั้นไม่ใช่เกิดจากด้านมุรซิล(คือตัวรอซูลผู้ถูกส่งมายังชาวโลก) แต่ปัญหาเกิดจากตัวผู้รับข้อมูล  

หากผู้รับข้อมูลข่าวสารในที่นี้คือมนุษย์ เป็นผู้ที่สามารถจะรับการถ่ายทอดกะลามุลเลาะฮฺ(พระดำรัสของอัลลอฮฺ)ได้  
อัลลอฮ์ ตะอาลา ก็ทรงสามารถส่งพระสุรเสียงของพระองค์ให้กับพวกเขาได้ในประเด็นการเป็นศาสดาของนะบีของพระองค์ ด้วยรูปแบบโดยตรง

สิ่งที่ได้รับจากคัมภีร์อัลกุรอานก็คือ อัลลอฮฺตะอาลาได้ทรงใช้วิธีการนี้ คือวีธีแจ้งข่าวการเป็นศาสดาของนะบีบางคนมาแล้ว
ตัวอย่างเช่น
การแจ้งข่าวการเป็นศาสดาของท่านนะบีอีซา(เยซู)แก่บรรดาสาวก(ฮะวารียูนของนะบีอีซา)   ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَإِذْ أَوْحَيْتُ إِلَى الْحَوَارِيِّينَ أَنْ آمِنُواْ بِي وَبِرَسُولِي قَالُوَاْ آمَنَّا وَاشْهَدْ بِأَنَّنَا مُسْلِمُونَ

และจงรำลึกถึง ขณะที่ข้าได้ดลใจแก่อัลฮะวารียีน(สิบสองสาวกของนะบีอีซา)ว่า

จงศรัทธาต่อข้าและต่อรอซูล(ศาสนฑูต)ของข้าเถิด  พวกเขากล่าวว่า พวกข้าพระองค์ศรัทธากันแล้ว และโปรดได้ทรงเป็นพยานด้วยว่า  แท้จริงพวกข้าพระองค์นั้น เป็นผู้สามิภักดิ์ (ต่อพระองค์)

ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ : 111



1.2- วิธีมุอ์ญิซะฮ์(ปาฏิหารย์)ทางคำพูด  

วิธีแรกใช้เฉพาะกับกลุ่มบุคคลที่ห่างไกลจากม่านกำบัง(ฮิญาบมะอ์ริฟะฮฺอัลก็อลบียะฮ์)ทางจิตใจ และทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับแหล่งกำเนิดได้จากจิตใจ อันเป็นการแสวงหาที่จะได้รับการรู้จักที่แท้จริงต่างๆได้(ฮะกีกัตมะอฺริฟัต)

ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีแบบอาม(ทั่วไป) หมายถึง คนธรรมดาสามารถสื่อสารด้วยสื่อกลางตามวิธีนี้ได้ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีขีดขั้นความสามารถในระดับมะอ์ริฟัต อัลก็อลบียะฮ์(การรู้จักด้วยจิตด้านใน)

   วิธีนี้หมายถึง อัลลอฮ์ตะอาลาทรงเป็นพยานต่อการเป็นศาสดาของนะบีของพระองค์ด้วยสื่อกลางแบบคำพูด ที่มันเป็นมุอ์ญิซะฮ์(ปาฏิหาริย์)ด้วยตัวของมันเอง  
กล่าวคือ คนธรรมดาจะเข้าใจชัดเจนว่า ถ้อยคำเช่นนี้ ไม่ใช่คำพูดของคนธรรมดาๆ  เพราะมนุษย์ไม่ว่าจะมีการศึกษา วิชาการ และวรรณคดีอยู่ในระดับสูงแค่ไหนก็ตาม เขาก็ไม่สามารถจะนำมาเยี่ยงถ้อยคำเหล่านี้ได้
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:51:19 หลังเที่ยง
สอง -  ส่วนกรณีพยานทางการกระทำ   สามารถแบ่งได้สองวิธีคือ


2.1- การแสดงมุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์)  

(สิ่งที่ผิดธรรมชาติซึ่งคนธรรมดาไม่สามารถทำได้)คือการกระทำหนึ่งอันแสดงถึงความผูกพันระหว่างผู้ประกาศตัวเองเป็นศาสดา กับ อัลลอฮ์ (ตะอาลา)

คัมภีร์อัลกุรอานได้เรียกการกระทำเช่นนี้ว่า

อัลอายะฮ์(สัญญาณ) และ อัลบัยยินะฮ์(หลักฐานอันชัดแจ้ง)

เช่น  

นะบีมูซา(โมเสส)ได้โยนไม้เท้าให้กลายเป็นงู  หรือ

นะบีอีซา(เยซู)ได้ชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง

   บนพื้นฐานนี้ เมื่อผู้ประกาศตนเองเป็นศาสดาได้รับมุอ์ญิซะฮฺมา มันคือพยานหลักฐานทางการกระทำที่มาจากอัลลอฮฺตะอาลา ที่แสดงถึงความสัจจริงของตัวเขา ที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาที่พระเจ้าส่งมาชี้นำชาวโลก


2.2- อัต-ตักรีร (การยืนยันหรือการรับรอง )

หากเราสมมุติว่า
มีชายคนหนึ่งเสนอตัวเองต่อผู้คน โดยแสดงให้เห็นว่า เขาได้ปฏิบัติตามบุคคลหนึ่ง  และเขาได้แสดงต่อหน้าประชาชนอย่างเปิดเผย ในขณะที่มีบุคคลที่ถูกอ้างถึงนั้นอยู่ในสถานที่นั้นด้วย  

ชายที่ถูกพาดพิงถึงนั้นกลับนิ่งเงียบไม่ออกมาแก้ไขชี้แจงสิ่งใด  ฉะนั้นการนิ่งเงียบของชายที่ถูกอ้างถึงเช่นนี้ คือการรับรองและเป็นพยานยืนยันการกระทำจากบุคคลที่แอบอ้างนั้น ที่พิสูจน์บนความสัจจริงของผู้อ้างว่าเขาคือตัวแทน และการป่าวประกาศของเขานั้นถูกต้อง

   ในประเด็นที่ผ่านมา  ถ้ามีชายคนหนึ่งได้เสนอตัวเองต่อสาธารณชนโดยประกาศว่า เขาคือศาสนทูตของพระเจ้า  และเขาได้นำเสนอวิธีการต่างๆต่อหน้า(อัลลอฮฺในฐานะพระเจ้า)ผู้ทรงสร้างโลก  และคนธรรมดาไม่ยอมรับการเป็นศาสดาของเขา แต่บรรดานักวิชาการเชื่อเขา  
และอัลลอฮ์ก็ไม่เคยทำให้ผู้อ้างตนเป็นศาสดา ต้องเป็นโมฆะต่อหน้าสาธารณชนอย่างชัดเจน  
ดังนั้นการนิ่งเงียบเช่นนี้คือ พยานทางการกระทำ และเป็นการรับรองและสนับสนุนต่อความถูกต้องต่อการอ้างตนเป็นศาสดาของเขาแล้ว
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 02:53:49 หลังเที่ยง
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงใช้วิธีการอย่างไรสำหรับการเป็นพยานต่อตำแหน่งศาสดาของท่านนะบีมุฮัมมัด ?


หลังจากที่ได้รับความกระจ่างถึงความหมายของคำว่า

ชะฮาดะตุลลอฮฺ - อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานให้กับศาสดาแล้ว  

เราจะมาพิจารณาว่า วิธีการอันใดจากวิธีต่างๆดังกล่าว ที่อัลลอฮ์ตะอาลาทรงนำมันมาใช้เพื่อพิสูจน์ความสัจจริงต่อตำแหน่งนุบูวะฮ์ของท่านศาสดาแห่งอัลอิสลาม

   จากการพิจารณาชีวประวัติของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ) ได้แสดงความชัดเจนว่า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงสนับสนุนค้ำจุนความถูกต้องต่อการเป็นศาสดาของท่านนะบี(ศ) ด้วยวิธีการทั้งสี่ที่ผ่านมา  และทรงเป็นพยานยืนยันโดยผ่านสื่อกลางด้วยวีธีเหล่านั้นถึงการเป็นศาสดาของท่าน
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 04:03:35 หลังเที่ยง
1.2- บรรดาศาสดาของอัลลอฮฺเป็นพยาน (ต่อการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด)

อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَإِنَّهُ لَفِيْ زُبُرِ الْأَوَّلِيْنَ

และแท้จริงเขา(มุฮัมมัด)มี(กล่าว)อยู่ในคัมภีร์ต่างๆในสมัยก่อน

ซูเราะฮ์อัช-ชุอะรออฺ  : 196

وَإِذْ قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ يَا بَنِي إِسْرَائِيلَ إِنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُم مُّصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَمُبَشِّرًا بِرَسُولٍ يَأْتِي مِن بَعْدِي اسْمُهُ أَحْمَدُ فَلَمَّا جَاءهُم بِالْبَيِّنَاتِ قَالُوا هَذَا سِحْرٌ مُّبِينٌ

และจงรำลึก เมื่ออีซา บุตรมัรยัมได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานแห่งอิสรออีลเอ๋ย  แท้จริงฉันเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ(ถูกส่ง)มายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอตก่อนหน้าฉัน และเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงรอซูลคนหนึ่ง ผู้ที่จะมาภายหลังฉัน  ชื่อของเขาคือ อะหมัด

ครั้นเมื่อเขา(อะหมัด)ได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งแล้วพวกเขากล่าวว่า  นี่คือมายากลแท้ๆ

ซูเราะฮ์อัศ-ศ็อฟฟุ : 6

وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَى عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ وَهُوَ يُدْعَى إِلَى الْإِسْلَامِ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ

และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ  ด้วยปากของพวกเขา ขณะที่เขาถูกเชิญชวนสู่อิสลาม และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่หมู่ชนผู้อธรรม

ซูเราะฮ์อัศ-ศ็อฟฟุ : 7

الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوبًا عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَآئِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามรอซูล    ศาสดาแห่งผู้อ่านเขียนไม่เป็น  ที่พวกเขา(ยะฮูดีและนะซอรอ) พบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในเตารอตและในอินญีล โดยที่เขา(มุฮัมมัด) จะใช้พวกเขาให้กระทำดีและห้ามพวกเขามิให้กระทำชั่ว และจะอนุมัติให้แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลวทรามทั้งหลาย  และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงที่คอ  ที่ปรากฏอยู่บนเขา  ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขาและให้ความสำคัญแก่เขา  และช่วยเหลือเขาและปฏิบัติตามแสงสว่าง(อัลกุรอาน)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขาแล้วไซร้  พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ประสบความสำเร็จ

ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟ : 157



อัลหะดีษ

3. อิม่ามมุฮัมมัด อัลบาเก็ร (อ)กล่าวว่า
 
ตอนที่คัมภีร์เตารอตได้ประทานลงมาแก่นะบีมูซา เขาได้แจ้งข่าวดีถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด

จนกระทั่งอัลลอฮ์ได้ส่งนะบีอีซา(เยซู)มา แล้วเขาได้แจ้งข่าวดีถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด

นั่นคือพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
(  يَجِدُوْنًهُ- ที่พวกเขาพบมุฮัมมัด) หมายถึงชาวยะฮูดีและนะซอรอ

(مَكْتُوْبًا –ถูกบันทึกไว้) หมายถึง คุณลักษณะของมุฮัมมัด(ศ)

(عِنْدَهُمْ – ณ.ที่พวกเขา) หมายถึง ( ทั้งในคัมภีร์เตารอตและอินญีล โดยที่มุฮัมมัดจะใช้พวกเขาให้กระทำสิ่งดีและห้ามพวกเขามิให้กระทำสิ่งชั่ว )

และนั่นคือพระดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ทำหน้าที่แจ้งข่าวโดยนะบีอีซา (อ)ว่า ( และเป็นผู้แจ้งข่าวถึงรอซูลคนหนึ่ง ซึ่งจะมาภายหลังจากฉัน ชื่อของเขาคือ อะหฺมัด)


4.อิม่ามอาลี บินอะลีตอลิบ(อ)กล่าวว่า

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรับสัญญาข้อนี้บนบรรดานบีก่อนท่านนบีของเรา(ศ) ให้พวกเขาบอกกับประชาชาติของพวกเขาถึงการมาของเขาและลักษณะของเขา และให้บรรดานบีแจ้งข่าวดีกับพวกเขาถึงการมาของเขา และให้บรรดาสั่งพวกเขาให้มีศรัทธาต่อเขา(มุฮัมมัด)


5.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ รายงานจากมุฮัมมัด บิน กะอับว่า

อัลลอฮฺทรงมีวะฮี(วิวรณ์)ไปยังนะบียะอ์กูบ(จาค็อบ)ว่า  
ข้า(อัลลอฮฺ)จะส่งบุคคลที่มาจากลูกหลานของเจ้าเป็นบรรดากษัตริย์และบรรดาศาสดา  จนกระทั่งข้าจะส่งนะบีแห่งอัลฮะรอมของข้า ซึ่งประชาชาติของเขาจะตั้งอยู่บนฐานที่มั่นอันสูงตระหง่านแห่งบัยตุลมักดิส และเขาคือนบีคนสุดท้าย เขามีชื่อว่า อะหฺมัด


6.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า

เมื่อท่านถูกถามเกี่ยวในปฐมกำเนิดกิจการของท่าน- :... คือการขอพรของท่าน นะบีอิบรอฮีม บิดาฉัน, ข่าวดีที่ท่านนะบีอีซาแจ้งไว้, และฉันเห็นมารดาฉัน มีรัศมีออกมาจากตัวท่าน ซึ่งบรรดาปราสาทแห่งเมืองช่ามได้รับแสงสว่างจากมัน


7.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ รายงานจากอัช-ชะอฺบีว่า

ในหนังสือ(ซุฮุฟ)ของนะบีอิบรอฮีม - : แท้จริงเขา(มุฮัมมัด)จะถือกำเนิดมาจากบุตรของเจ้า ที่แตกกิ่งก้านออกไปเป็นเผ่าต่างๆ จนกระทั่งนบียุลอุมมี(ศาสดาผู้ไม่อ่านไม่เขียนหนังสือ)จะมา ซึ่งเขาจะเป็นนบีคนสุดท้าย


8.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ รายงานจากอับดุลฮะมีด บิน ญะอ์ฟัรจากบิดาเขาเล่าว่า

ปรากฏว่าอัซซุเบร บินบาฏอ – เขาเป็นคนที่มีความรู้มากที่สุดแห่งชาวยะฮูดี-กล่าวว่า : ฉันพบสะฟัร(หนังสือคัมภีร์) ที่บิดาฉันได้ประทับตรามันไว้แก่ฉัน ในนั้นกล่าวถึงชื่อ อะหฺมัด เป็นนบีจะออกมาที่แผ่นดินอัลกุรซุ ลักษณะของเป็นเช่นนั้นเช่นนี้  
อัซซุเบรได้เล่าถึงมันภายหลังจากบิดาเขาจากไป ส่วนท่านนบี(ศ)ยังไม่ได้ประกาศศาสนา มันมิใช่ใครอื่นเลยนอกจากว่า ซุเบรได้ยินเรื่องที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ได้ปรากฏตัวที่เมืองมักกะฮฺแล้ว  จนเขาเจตนาไปที่สะฟัรเล่มนั้น แล้วเขาได้ลบมันทิ้งไป และเขาได้ปกปิดเรื่องราวของท่านนบี(ศ)ไว้ และเขากล่าวว่า ไม่ใช่เขาคนนี้


9.อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า

ในตอนที่ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ประกาศอิสลาม- :

อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮู ทรงส่งมุฮัมมัดมาเป็นรอซูลุลลอฮฺ(ศ)... ตามที่ได้รับเอาสัญญาของพระองค์ไว้กับบรรดานบี  ชื่อของเขาเป็นที่ได้ยินกันแพร่หลาย  วันเกิดของเขาเป็นวันที่มีเกียรติ ชาวโลกในตอนนั้นแตกออกเป็นลัทธิต่างๆ  การตามอารมณ์ใฝ่ต่ำแพร่ไปทั่ว  แนวทางมีมากมาย ท่ามกลางการเปรียบอัลลอฮ์เหมือนกับมัคลูกของพระองค์
หรือมีผู้บิดเบือนพระนามของพระองค์  มีผู้ชี้ไปยังพระเจ้าอื่นจากพระองค์  แต่แล้งพระองค์ทรงนำทางพวกเขาด้วยเขา(ศ)ให้พ้นจากการหลงผิด  ทรงช่วยพวกเขาให้พ้นจากความโง่เขลาด้วยสถานภาพของเขา(ศ)  แล้วต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงเลือกให้กับมุฮัมมัด(ศ)ได้กลับมาพบกับพระองค์  ทรงพอพระทัยที่จะให้เขาได้อบู่กับพระองค์ และทรงให้เกียรติแก่เขาแทนโลกดุนยา  ทรงส่งเสริมเขาให้ปรารถนาที่จะได้อยู่กับพระองค์มากกว่าสถานที่แห่งการทดสอบ แล้วพระองค์ก็จะทรงรับเอาดวงวิณญาณของเขาไปยังพระองค์อย่างมีเกียรติ(ศ)



10.หนังสืออัตเตาฮีด –

ในการอภิปรายตอบโต้ของท่านอิม่ามอาลีริฎอ(อ)กับบรรดาผู้นับถือศาสนาต่างๆและนักโต้วาทีทั้งหลาย - :

หัวหน้าชาวยิวถามว่า :
หลักฐานยืนยันการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)อยู่ที่ไหน ?

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า :
ท่านนะบีมูซา บินอิมรอน, นะบีอีซาและนะบีดาวูด (อ) ได้ยืนยันตำแหน่งนุบูวะฮฺของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ไว้แล้ว

เขากล่าวกับอิม่ามริฎอ(อ)ว่า : จงพิสูจน์คำพูดของนะบีมูซามาสิ

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าว :  โอ้เจ้ายิวเอ๋ย เจ้ารู้ไหมว่า  ท่านนะบีมูซาได้สั่งเสียชาวบะนีอิสรออีลไว้ว่า : ในอนาคตจะมีศาสดาคนหนึ่งมายังพวกเจ้า เขามาจากพี่น้องของพวกเจ้า จงศรัทธาและเชื่อฟังคำพูดของเขา
แล้วเจ้าเคยรู้ไหมว่า ชาวบะนีอิสรออีลยังมีพี่น้องคนอื่นๆที่มาจากบุตรของท่านนะบีอิสมาอีลอีก   หากเจ้าเคยรู้จักเครือญาติของชาวอิสรออีลที่มาจากท่านนะบีอิสมาอีล  และเชื้อสายที่อยู่ระหว่างพวกเขาทั้งสองที่สืบมาจากท่านนะบีอิบรอฮีม(อ) ?

หัวหน้าชาวยิวกล่าวว่า : นี่เป็นคำพูดของท่านนะบีมูซา เราไม่ปฏิเสธมัน

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวกับเขาว่า : แล้วมีนะบีอื่นจากนะบีมุฮัมมัด(ศ)ที่มาจากพี่น้องของบะนีอิสรออีล ยังพวกเจ้าแล้วหรือ ?

เขาตอบว่า : ยังเลย

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : หรือไม่ใช่ว่า นี่คือความถูกต้องในทัศนะของพวกเจ้า ?
เขากล่าวว่า : ใช่ แต่ฉันต้องการนำมันไปตรวจสอบกับคัมภีร์เตารอตของฉันก่อน

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวกับเขาว่า : เจ้าจะปฏิเสธหรือว่า คัมภีร์เตารอตบอกกับพวกเจ้าว่า : ได้มีนูรรัศมีมาจากทางภูเขาฏูร ซีนายและได้ให้ความสว่างแก่เราจากทางภูเขาซาอีรและมันได้เผยให้เราได้เห็น(รัศมีนั้น) จากทางภูเขาฟารอน  ?
 
หัวหน้าชาวยิวกล่าวว่า : ฉันรู้ถ้อยคำเหล่านี้ แต่ฉันไม่เข้าใจคำอธิบายของมัน

อิม่ามริฎอ(อ) : ฉันจะบอกความหมายนั้นแก่เจ้าเอง :

" ได้มีนูรรัศมีมาจากทางภูเขาฏูร ซีนาย " นั่นคือวะฮี(วิวรณ์)ของอัลลอฮ์ที่ประทานมันลงมาแก่นะบีมูซา(อ)ที่ภูเขาฏูรซีนาย(ปัจจุบันอยู่ที่ปาเลสไตน์)  

ส่วน " และได้ให้ความสว่างแก่เราจากทางภูเขาซาอีร " (ปัจจุบันอยู่ในอิสราเอล) คือผู้เขาที่อัลลอฮฺทรงมีวะฮี(วิวรณ์)ไปยังท่านนะบีอีซา(อ) ซึ่งตอนนั้นท่านอยู่ที่นั่น

ส่วน "และมันได้เผยให้เราได้เห็นจากทางภูเขาฟารอน " นั้นเป็นภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเมืองมักกะฮ์ (คือภูเขาฮิร๊อหฺ ปัจจุบันอยู่ที่ซาอุดิอารเบีย)   มันอยู่ห่างกันเป็นระยะเวลาหนึ่งวัน

   เขาเล่าว่า : ท่านชะอ์ยา นบี (อ)กล่าวว่า – ในสิ่งที่ท่านและพวกของท่านกล่าวในคัมภีร์เตารอตว่า - : ฉันได้เห็น ผู้ขี่สัตว์พาหนะสองคน แผ่นดินได้ให้ความสว่างแก่เขาทั้งสอง  คนหนึ่งขี่ลา ส่วนอีกคนหนึ่งขี่อูฐ แล้วใครที่ขี่ลา และใครที่ขี่อูฐล่ะ ?

หัวหน้าชาวยิวกล่าวว่า : ฉันไม่รู้จักพวกเขาทั้งสอง โปรดบอกฉันทีว่าทั้งสองคือใคร

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า :  ผู้ขี่ลาคือ ท่านอีซา(อ) ส่วนผู้ขี่อูฐคือ ท่านมุฮัมมัด(ศ)  ท่านจะปฏิเสธสิ่งนี้หรือ มันมาจากคัมภีร์เตารอต ?

เขาตอบว่า : ผมไม่ปฏิเสธมัน

จากนั้นอิม่ามริฎอ(อ)ถามว่า : ท่านรู้จักท่าน(ศาสดา)ฮัยกูก นะบี (อ)ไหม ?

เขาตอบว่า :  แน่นอน ฉันคือคนที่รู้จักเขาดี
อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : เขากล่าวว่า  และคัมภีร์ของพวกท่านจะกล่าวถึงเขา  อัลลอฮฺทรงนำมาด้วยความชัดเจนจากภูเขาฟารอน และบรรดาชั้นฟ้าต่างแซ่ซ้องสรรเสริญอะหฺมัดและประชาชาติของเขา เขานำม้าของเขาลงไปในทะเล ดังที่เขาพามันเดินไปบนบก เขาจะนำมาให้เรา ด้วยคัมภีร์ฉบับใหม่ ภายหลังจากที่บัยตุลมักดิสพังทลายลง (คัมภีร์ที่นำมาใหม่ในที่นี้หมายถึงอัลกุรอาน) ท่านรู้จักชายคนนี้และจะศรัทธาต่อเขาไหม ?

หัวหน้าชาวยิวกล่าวว่า : แน่นอน ท่านศาสดาฮัยกูก(อ)ได้กล่าวสิ่งนั้นไว้ และเราไม่ปฏิเสธคำพูดของท่าน.

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : แน่นอนนะบีดาวูด(อ)ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ซะบูรของท่าน และท่านก็อ่านมัน  :
((โอ้อัลลอฮ์โปรดส่งผู้ดำรงซุนนะฮ์(หลักธรรม)หลังจากช่วงระยะเวลานี้ด้วยเถิด ))
ท่านรู้จักนะบี(ศาสดา)ที่ก่อตั้งหลักธรรมขึ้นหลังจากช่วงเวลานั้น อื่นจากมุฮัมมัด(ศ)บ้างไหม ?

หัวหน้าชาวยิวกล่าวว่า : นี่คือคำพูดของนะบีดาวูด(อ)เรารู้จักมันดีและเราไม่ปฏิเสธมัน แต่นั่นหมายถึงนะบีอีซา(อ) และช่วงระยะเวลาของเขาคือช่วงเวลาดังกล่าว

อิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : ท่านไม่รู้  แท้จริงนะบีอีซาไม่เคยมีความขัดแย้งกับหลักธรรมนั้น ท่านมีความเห็นสอดคล้องกับหลักธรรมของคัมภีร์เตารอต จนถึงวาระที่อัลลอฮฺทรงยกท่านไปยังพระองค์


ในคัมภีร์ไบเบิลบันทึกว่า (พระเยซูกล่าวว่า)  :
แท้จริง อิบนุล บัรเราะฮฺ ซาฮิบและอัลฟาร่อ ก่อลีฏอ( ภาษาเฮบรูแปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) จะมาภายหลังจากท่าน  และเขาคือผู้ปลดเปลี้ยงบาป  เขาจะอธิบายทุกสิ่งแก่พวกท่าน  และเขาจะเป็นพยานแก่ฉันเหมือนที่ฉันเป็นพยานให้แก่เขา  ฉันนำอุทาหรณ์ต่างๆมาให้พวกท่าน  ส่วนเขาจะนำความหมายมายังพวกท่าน  ท่านจะศรัทธาต่อชายผู้นี้ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อินญีล(ไบเบิล)ไหม ?

เขากล่าว : ใช่  ฉันไม่ปฏิเสธมัน



11.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ รายงานจากกะอับว่า
แท้จริงคุณลักษณะของนะบีมุฮัมมัด(ศ)ในคัมภีร์เตารอต(โตร่าห์)คือ : ผู้ได้รับการสรรเสริญ  บ่าวของฉันผู้ที่ได้รับการคัดเลือก  นิสัยไม่ป่าเถื่อน พูดจาไม่หยาบคาย ไม่ตระโกนส่งเสียงในตลาด  ไม่ตอบแทนความชั่วด้วยความชั่ว แต่เขาจะให้อภัยและยกโทษ  ที่เกิดของเขาคือเมืองมักกะฮฺ  ที่อพยพของเขาคือเมื่องมะดีนะฮ์


12.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ รายงานจากอบีนัมละฮฺว่า  

ปรากฏว่าพวกยะฮูดีเผ่ากุร็อยเซาะฮฺกำลังศึกษาเรื่องราวของศาสดามุฮัมมัด(ศ)ในคัมภีร์ของพวกเขา   พวกยะฮูดีได้สอนมันแก่ลูกหลานด้วยซิฟัต(ลักษณะ)และชื่อของเขา และเขาจะอพยพมายังพวกเรา  ต่อมาเมื่อศาสดามุฮัมมัด(ศ)ปรากฏ พวกยะฮูดีได้อิจฉาและอธรรม และพวกเขากล่าวว่า ไม่ใช่คนนี้


13.หนังสืออัตต็อบกอ ตุลกุบรอ

จากมุฮัมมัด บิน ญะอฺฟัร บิน อัซซุเบรและมุฮัมมัด บิน อิมาเราะฮฺ บิน เฆาะซียะฮ์รายงานว่า

คณะผู้แทนแห่งเมืองนัจญ์รอนได้เข้ามาพบ(ท่านนบีที่มะดีนะฮฺ) ในหมู่พวกเขามี อะบุลฮาริษ บินอัลก่อมะฮฺ บินร่อบีอะฮ์เป็นผู้ทรงความรู้ทางศาสนา เป็นหัวหน้า  เป็นพระสังฆราช  เป็นผู้นำและเป็นเจ้าของโรงเรียนต่างๆของพวกคริสต์  เขามีอำนาจ  บังเอิญล่อที่เขาขี่มาพลัดสะดุด เขาเลยตกลงมา  

น้องเขา(ชื่อกัรซฺ บินอัลก่อมะฮฺ)กล่าวว่า  :  ขอให้คนที่ห่างไกลที่สุดเจอโชคร้าย เขาหมายถึงนะบีมุฮัมมัด(ศ)

อะบุลฮาริษกล่าวว่า : แต่ขอให้เจ้านั่นแหล่ะเจอโชคร้าย  เจ้าจะด่าชายที่เป็นหนึ่งจากเหล่าศาสดากระนั้นหรือ ? แท้จริงเขาคือบุคคลที่พระเยซูแจ้งข่าวดีถึงเขาไว้  เขามีชื่อบันทึกอยู่ในคัมภีร์เตารอต  

น้องเขาจึงถามว่า : แล้วอะไรขวางท่านมิให้เข้าศาสนาของเขาล่ะ ?

อบุลฮาริษตอบว่า : หมู่ชน(คริสเตียน)เหล่านี้เทิดทูนเรา  ให้เกียรติเรา และจงรักภักดีต่อเรา  แต่พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมรับ  ยกเว้น(เราจะ)ยืนหยัดตรงข้ามกับเขา(ศาสดามุฮัมมัด)เท่านั้น
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 24, 2010, 05:41:53 หลังเที่ยง
เรื่อง การเข้ารับอิสลามของบาทหลวงคริสต์



เรื่องราวของบาทหลวงคาทอลิกชาวอาร์มีเนียคนหนึ่งได้เข้ารับอิสลาม เพราะการศึกษาค้นคว้าจนพบสัจธรรม  ซึ่งเขามีนามหลังจากเขารับอิสลามว่า


เชค มุฮัมมัด ศอดิก  ฟัครุลอิสลาม  มรณะปี ฮ.ศ. 1330

บาดหลวงผู้นี้คือเจ้าหนังสือชื่อ    أَنِيْسُ الْأَعْلاَمِ فِيْ نُصْرَةِ الْاِسْلاَمِ

อะนีซุลอะอ์ลาม ฟีนุศเราะติลอิสลาม


เขาได้บอกเล่าในบทแรกของหนังสือเล่มนี้ถึงเรื่องราวการเข้ารับอิสลามของเขา ภายใต้หัวข้อชื่อ   " บั้นปลายชีวิตที่สับสน " ดังนี้


              ผู้เขียนเป็นบาทหลวงระดับทรงคุณวุฒิคนหนึ่ง(เล่าว่า) เขาเกิดในย่านโบสถ์เมืองอาร์มีเนีย(อาเซอร์ไบจัน อยู่ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน) ได้รับการศึกษาจากคณะบาดหลวงผู้ทรงคุณวุฒิ  นักวิชาการและคณาจารย์คริสต์ในช่วงที่ยังไม่รู้อะไรเลย หนึ่งจากบุคคลเหล่านี้คือ ท่านนักบวชยอห์นบะเกียร์  ท่านบาดหลวงยอห์น จอน  ท่านนักบวชอ๊าจญ์และอาจารย์ท่านอื่นๆแห่งนิกายโปรแตสแตนท์

ยังมีคณาจารย์จากนิกายคาทอลิคอีกเช่น  ท่านนักบวชทาลู  ท่านบาทหลวงกูร์กัซ และอาจารย์ท่านอื่นๆอีกมากมาย

(ผู้เขียนเล่าว่า) ตอนอายุสิบสองปี ผมได้ศึกษาพระคัมภีร์โตร่าฮ์และไบเบิลจบ ตลอดทั้งวิชาคริสตศาสนาทุกสาขา  จนผมบรรลุขั้นบาดหลวงตามวิชาความรู้
ช่วงเวลาสุดท้ายแห่งการศึกษาของผมหลังอายุสิบสองปี  ผมต้องการศึกษาหลักศรัทธานิกายและลัทธิต่างๆในคริสตศาสนา  หลังจากที่ผมได้วิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ได้ทุ่มเทความพยายามและเดินทางไปยังบ้านเมืองต่างๆ

ผมได้เป็นตัวแทนเดินทางไปพบบาดหลวงผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง(ที่นครรัฐวาติกัน) ยิ่งกว่านั้นท่านยังดำรงตำแหน่งบิชอพแห่งคริตจักร  ท่านมีสมณศักดิ์มากมาย  ความโด่งดังของท่านเป็นที่รู้จักกันทั่วในหมู่ชาวคริสต์ เกี่ยวกับความรู้ ความถือสันโดษ ความสำรวมตนในหมู่ผู้นับถือนิกายของท่าน

คาทอลิคเป็นนิกายของศาสนาคริสต์ ที่มีอำนาจควบคุมทางศาสนจักร ต่อกษัตริย์  เจ้าเมือง ชาวบ้าน คนรวยและผู้อยู่ภายใต้การดูแล  
ผู้นับถือนิกายคอทอลิคจะส่งคำถามและปัญหาศาสนาต่างๆของพวกเขาไปถามนักบวชผู้นี้   พร้อมทั้งส่งค่าตอบแทนต่อคำถามของพวกเขาแก่นักบวชผู้นี้   ด้วยการถวายของขวัญมีค่ามากมายทั้งเงินสดและทองคำ  พวกเขาได้ทำเช่นนี้เป็นการแสดงความต้องการของพวกเขาที่มีต่อนักบวช และความปรารถนาของพวกเขาในการได้รับพรโดยนักบวช และพวกเขาถือเป็นเกียรติที่นักบวชยอมรับของกำนัลจากพวกเขา

ผู้เขียนเล่าว่า ผมได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องหลักศรัทธาและรายละเอียดต่างๆของคริสตศาสนา รวมทั้งนิกายต่างๆและบทบัญญัติปลีกย่อยอีกมากมายจากบาดหลวงผู้นี้

นอกเหนือจากผม บาดหลวงผู้นี้ยังมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ที่จะมายังห้องเรียนของท่านประจำวันโดยประมาณวันละสี่ถึงห้าร้อยคน
ในห้องเรียนของท่าน จึงเนืองแน่นไปด้วยพวกพระและแม่ชี ที่สละกิจทางโลก  บนบานว่าจะถือโสดไม่สมรส พวกเขาจะสวดมนต์อยู่ในโบสถ์เป็นกลุ่มใหญ่  นิยามในหมู่ชาวคริสต์ได้เรียกพวกเขาเหล่านี้ว่าพวก " ร็อบบานะตา"
   
แต่ท่านค่อนข้างให้ความสนิทสนมและความรักกับผมเป็นพิเศษมากกว่านักศึกษาทั้งหลาย  ท่านมอบกุญแจที่พัก โกดังเก็บอาหารและเครื่องดื่มของท่านไว้ให้ผมดูแล ยกเว้นกุญแจไขบ้านเล็กๆหลังหนึ่ง อันเป็นสถานที่เก็บสมบัติโดยเฉพาะ ผมเดาว่ามันคงเป็นคลังเก็บทรัพย์สมบัติของท่านนักบวช
ด้วยเหตุนี้ผมจึงกล่าวกับตัวเองว่า " สละโลกเพื่อโลก " ท่านแสดงความสมถะเพื่อแสวงหาเครื่องประดับทรัพย์สินทางโลก  แต่ผมก็ติดสอยห้อยตามพระท่านนี้มาตลอด
ตามที่กล่าวมาโดยได้ศึกษาเล่าเรียนหลักศรัทธาของนิกายและลัทธิต่างๆจนผมอายุได้สิบเจ็ดสิบแปดปี

   และแล้ววันหนึ่ง ท่านก็เกิดล้มป่วยไปสอนหนังสือไม่ไหว ท่านจึงกล่าวกับผมว่า ลูกรัก จงไปบอกลูกศิษย์ทั้งหลายทีว่า อาการของพ่อไม่เอื้ออำนวยที่จะสอนได้ในวันนี้



ฟาร่อก่อลีฏอ ( فَارَقَلِيْطَا ) – ผู้ได้รับการสรรเสริญ

( Varkulaita )  และ ( Bear Klootoos )


   ผมได้เดินออกไปบอกพวกลูกศิษย์และเห็นพวกเขากำลังทบทวนปัญหาวิชาการ  การทบทวนของพวกเขานำไปสู่ความขัดแย้งในประเด็นความหมายของคำว่า

ฟาร่อก่อลีฏอ - فَارَقَلِيْطَا – ในภาษาเฮบรู

และคำ บีร ก่อลูฏูส - بيرقلوطوس  -ในภาษากรีก  


ที่ท่านนักบุญยอห์น

เจ้าของพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับที่ 4 ที่ได้กล่าวถึงการมาของบุคคลผู้นี้จากพระเยซู ดูยอห์น บท 14,15,16 :

14:16 เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะทรงประทานผู้ปลอบประโลมใจอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อพระองค์จะได้อยู่กับท่านตลอดไป

15:26 แต่เมื่อพระองค์ผู้ปลอบประโลมใจที่เราจะใช้มาจากพระบิดามาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริง ผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์นั้นจะทรงเป็นพยานถึงเรา

16:7 อย่างไรก็ตามเราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย คือการที่เราจากไปนั้นก็เพื่อประโยชน์ของท่าน เพราะถ้าเราไม่ไป พระองค์ผู้ปลอบประโลมใจก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน


ตามที่พระเยซูตรัสว่า

قَالَ يَسُوْعُ : سَوْفَ يَجِيْءُ فَارَقَلِيْطَا بَعْدِيْ

ในอนาคตจะมี"ฟาร่อ ก่อลีฏอ"มาภายหลังจากข้าพเจ้า
   


การสนทนาของพวกเขา(บรรดาสานุศิษย์)เริ่มขยายวงกว้างขึ้นในประเด็นนี้ มีการถกเถียงกันนานและส่งเสียงดังลั่นและหยาบคาย  
แต่ละคนก็มีความเห็นเอกเทศน์เป็นของตัวเองในวรรคนี้ จนการถกเถียงของพวกเขาในปัญหานี้จบลงโดยปราศจากผลลัพท์ แล้วต่างคนได้แยกย้ายกันไป  
ส่วนผมเดินกลับมาหาบาทหลวง ท่านกล่าวกับผมว่า ลูกรักของพ่อ  พวกเขาได้ค้นคว้าและสนทนากันถึงเรื่องอะไรในวันนี้ตอนที่พ่อไม่อยู่ ?  

ผมได้เล่าให้ท่านฟังว่า พวกเขามีความเห็นไม่ตรงกันสักคนในความหมายคำว่า ฟาร่อก่อลีฏอ ผมยังเล่าให้ท่านฟังถึงทัศนะของนักศึกษาแต่ละคนในเรื่องนี้  
 
ท่านถามผมว่า : แล้วเจ้าเลือกทัศนะของใครล่ะในเรื่องนี้ ?

ผมตอบท่านว่า : ผมเลือกตามทัศนะของท่าน...(ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยชื่อไว้) ที่อธิบายไว้ครับ   บาดหลวงกล่าวว่า : ความหมายมันไม่ได้ถูกจำกัดไว้แค่นั้นหรอก  แต่ความจริงที่แท้จริงนั้น มันแตกต่างไปจากคำพูดของพวกเขาทั้งหมด  เพราะไม่มีใครรู้จริงถึงความหมายของชื่อนี้และการอธิบายถึงมันในเวลานี้ นอกจากผู้เชี่ยวชาญในวิชาการจริงๆแต่ก็มีน้อยเหลือเกิน  
ผมจึงหมอบตัวลงแทบเท้าทั้งสองของอาจารย์และกล่าวว่า : โอ้คุณพ่อทางจิตวิญญาณครับ ท่านมีความรู้ดีมากกว่าใครอื่น  นับแต่เริ่มอายุ(การเรียน)จนถึงบัดนี้ ผมเรียนจบหมดทุกเหมือนทุกคนที่จบ  ผมมีความคลั่งใคล้ในความเป็นคริสต์เหมือนคริสตศาสนิกชนคนอื่นๆ และผมเคร่งครัดศาสนาเหมือนผู้เคร่งครัดทั้งหลายอีกด้วย  
ผมไม่เคยหยุดอ่าน หยุดทบทวนบทเรียน นอกจากเวลาสวดมนต์และเทศนาเท่านั้น  อะไรจะทำร้ายท่าน หากท่านจะทำดีต่อผม โดยอธิบายให้ผมเข้าใจถึงความหมายของชื่ออันมีเกียรตินี้กระนั้นหรือ ?

ท่านอาจารย์ได้ร่ำไห้ออกมา พลางกล่าวว่า : โอ้ลูกรักทางจิตวิญญาณของพ่อ    พ่อขอสาบานต่อพระเจ้าว่า เจ้านั้นเป็นที่รักยิ่งของพ่อ  พ่อไม่เคยหวงแหนสิ่งใดต่อเจ้าเลย ทั้งๆที่การเผยสิ่งนั้นเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อการรู้จักความหมายของชื่ออันมีเกียรตินี้    แต่ว่าผู้นับถือคริสตศาสนาจะต้องฆ่าพ่อและเจ้าด้วย  เพียงแค่เผยแพร่ความหมายของชื่อนี้ออกไป  ยกเว้นเจ้าจะให้สัญญากับพ่อว่า  เจ้าจะไม่นำความหมายของชื่อนี้ไปประกาศ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่พ่อมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วก็ตาม หมายความว่า เจ้าจะต้องไม่เอ่ยชื่อพ่อ(ว่าเป็นคนบอกความหมายของคำนั้น)  
เพราะมันจะเป็นเหตุทำให้พวกเขามุ่งมาทำร้ายพ่อแหลกเป็นชิ้นๆตอนพ่อยังมีชีวิต รวมทั้งเครือญาติและผู้ติดตามพ่อ(จะต้องเดือดร้อนไปตามกันด้วย)หลังจากที่พ่อเสียชีวิตแล้ว  และคงหนีไม่พ้นที่พวกเขาจะตรงมาขุดหลุมศพของพ่อแล้วเผาร่างพ่อ หากพวกเขารู้ถึงความหมายที่แท้จริงของชื่อนี้ว่ามันมาจากพ่อ(เป็นคนอธิบาย)

   ผมจึงสาบานต่อพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงมีชัย ผู้ทรงทำลายล้าง ผู้ทรงหยั่งรู้ ผู้ทรงชำระโทษ
ต่อพระคัมภีร์ไบเบิล ต่อพระเยซู ต่อพระแม่มารี  ต่อบรรดาศาสดาและคนดีทั้งหลาย  
ต่อทุกพระคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานมา และต่อพระและแม่ชีทั้งหลายว่า  ผมจะไม่เผยความลับของท่านตลอดกาล ทั้งในยามที่ท่านมีชีวิตหรือหลังจากที่จากไปแล้ว

   หลังจากที่ท่านเชื่อใจผมแล้ว  ท่านกล่าวว่า :
ลูกรักทางจิตวิญญาณของพ่อ แท้จริงชื่อนี้คือนามหนึ่งของศาสดาของพวกมุสลิม  
มันมีความหมายว่า  อะห์มัดและมุฮัมมัด  (แปลว่าผู้ที่สรรเสริญพระเจ้ามากที่สุดและผู้ที่มนุษย์สรรเสริญถึงเขามากที่สุดในหมู่มนุษย์ )

   จากนั้นบาทหลวงได้มอบกุญแจบ้านหลังเล็ก(ที่กล่าวไว้แต่ต้น)ให้ผม แล้วขอร้องให้ผมไปเปิดหีบของชายคนหนึ่ง และนำคัมภีร์ของชายคนนั้นมาให้ท่านที ผมได้ทำตามนั้น  ผมนำคัมภีร์มามอบให้ท่านสองเล่ม  ซึ่งคัมภีร์ทั้งสองเล่มบันทึกเป็นลายมือภาษากรีกและภาษาเฮบรูบนหนังสัตว์ (มีอายุบันทึกไว้)ก่อนที่ศาสดาคนสุดท้ายจะปรากฏ  
ผมเห็นคัมภีร์ทั้งสองเล่มมีคำว่า " ฟาร่อก่อลีฏอ " และทั้งสองเล่มแปลว่า อะหฺมัด และ มุฮัมมัด

จากนั้นท่านกล่าวว่า : เจ้าจงรู้เถิดว่า  นักวิชาการ  นักอธิบายและนักแปลชาวคริสต์ทั้งหลายไม่เคยมีความเห็นขัดแย้งกัน ก่อนที่ศาสดามุฮัมมัด(ศ)จะออกมาประกาศอิสลาม   ว่าคำนี้หมายถึง อะหฺมัดและมุฮัมมัด

แต่หลังจากที่มุฮัมมัดได้ประกาศอิสลาม  บาทหลวงและเจ้าเมืองที่ถือคริสต์ทั้งหลายได้บิดเบือนและทำลายหนังสืออธิบายพระคัมภีร์และตำราภาษารวมทั้งตำราให้ความหมายพระคัมภีร์ทุกเล่มทิ้ง
เพื่อคงไว้ซึ่งตำแหน่งผู้นำ  และการแสวงหาทรัพย์สินของพวกเขา และเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ทางโลก  พวกเขามีฐิฑิดื้อดึง ริษยาอคติ และความป่วยทางจิตใจที่ห้อมล้อมพวกเขาไว้(มิให้ยอมรับมุฮัมมัดในฐานะศาสดาคนสุดท้ายของชาวโลก)    
พวกเขาได้อุตริบัญญัติคำศัพท์หรือความหมายของชื่ออันมีเกียรตินี้ขึ้นมาใหม่ ซึ่งพ่อต้องขอย้ำว่า ศัพท์หรือความหมายที่พวกเขาสร้างขึ้นใหม่นนั้นไม่ตรงต่อเป้าหมายของเจ้าของพระคัมภีร์ไบเบิลเลยสักนิด  ความหมายเดิมนี้มีความชัดเจน ง่ายกว่าทั้งหมดจากสำนวนต่างๆ และลำดับของโองการที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ตอนนี้คือ

ผู้ได้รับมอบหมาย ( วิกาละฮฺ )

ผู้ไถ่บาป ( ชะฟาอะฮฺ )
 
ผู้ปลอบประโลมใจ ( ตะอฺซียะฮ์และตัสลียะฮฺ )

ความหมายเหล่านี้ไม่ใช่จุดประสงค์ของเจ้าของคัมภีร์ไบเบิล  เพราะว่า พระวิญญาณที่เสด็จลงมาที่บ้านวันนั้น  มันก็ไม่ตรงกับความหมายเดิมเช่นกัน  นั่นเป็นเพราะพระเยซูทรงจำกัดการมาของ " ฟาร่อก่อลีฏอ " ด้วยเงื่อนของท่านที่ว่า ท่านจะต้องจากไปเสียก่อน  

ดังที่พระเยซูตรัสว่า :

เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย คือการที่เราจากไปนั้นก็เพื่อประโยชน์ของท่าน เพราะถ้าเราไม่ไป พระองค์ "ผู้ปลอบประโลมใจ "(เดิมคือฟาร่อก่อลีฏอ) ก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน    

ดูบท  ยอห์น  16: 7

เพราะการรวมศาสดาสององค์ไว้ในเวลาเดียวกัน โดยศาสดาแต่องค์ก็เป็นเจ้าของหลักธรรมเป็นของตัวเองสำหรับมวลชนนั้นไม่เป็นที่อนุญาต
ซึ่งขัดกับพระวิญญาณที่เสด็จลงมาในวันบ้าน(แก่ชาวคริสต์) ซึ่งมันหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เคยเสด็จลงมาในยามที่พระเยซูและบรรดาสาวกยังอยู่

บาดหลวงได้กล่าวว่า ลูกดูซิ พวกเขาลืมไปแล้วว่า คัมภีร์ไบเบิล กล่าวเพียงว่า :

เมื่อพระเยซูได้ขึ้นเสด็จขึ้นจากแม่น้ำจอร์แดน หลังจากที่ท่านยอห์น(นะบียะห์ยา)ได้ประกอบพิธีเจิมน้ำมนต์ให้พระเยซูแล้ว ทันใดนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เสด็จลงมาสถิตบนตัวท่านในร่างของนกเขา  

ดูบทมัทธิว 3:16

และพระเยซูเมื่อพระองค์ทรงรับ(ศีล)บัพติศมาแล้ว ในทันใดนั้นก็เสด็จขึ้นจาก(แม่)น้ำ(จอร์แดน) และดูเถิด ท้องฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น"พระวิญญาณของพระเจ้า"เสด็จลงมาดุจนกเขาและสถิตอยู่บนพระองค์

   พระวิญญาณดังกล่าวได้เสด็จลงมาในขณะที่พระเยซูอยู่กับสาวกสิบสองคนตามที่คัมภีร์ไบเบิล บทมัทธิว 10 : 1 กล่าวว่า :

ตอนที่พระเยซูส่งสาวกสิบสองคนไปยังบ้านเมืองของชาวอิสราเอลว่า :

เมื่อพระเยซูทรงเรียกสาวกสิบสองคนของพระองค์มาแล้ว พระองค์ก็ประทาน"อำนาจ – กูวะฮ์ " ให้เขาขับผีโสโครกออกได้ และให้รักษาโรคและความเจ็บไข้ทุกอย่างให้หายได้
   
ความหมายคำ "อำนาจ" ในที่นี้คือ พลังทางจิตวิญญาณ ไม่ใช่พลังทางร่างกายภายนอก เพราะการกระทำเหล่านี้(คือไล่ผีและรักษาโรค) ไม่ได้ออกมาจากพลังทางร่างกาย  และพลังทางจิตวิญญาณในที่นี้คือการสนับสนุนของพระวิญญาณบริสุทธิ์    

ในบทมัทธิว 10: 20 พระเยซูตรัสกับสาวกทั้งสิบสองว่า :

لأَنْ لَسْتُمْ أَنْتُمُ الْمُتَكَلِّمِينَ بَلْ رُوحُ أَبِيكُمُ الَّذِي يَتَكَلَّمُ فِيكُمْ

เพราะว่าผู้ที่พูดมิใช่ตัวท่านเอง แต่เป็น"พระวิญญาณแห่งพระบิดาของพวกท่าน" ผู้ตรัสทางท่าน

ความหมายของคำ" رُوحُ أَبِيكُمْ - พระวิญญาณแห่งพระบิดา" คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตามที่คัมภีร์ไบเบิล บทลูกา  9 : 1 กล่าวว่า :

พระเยซูทรงเรียกสาวกสิบสองคนของพระองค์มาพร้อมกัน แล้วทรงประทานให้เขา " มีอำนาจและสิทธิอำนาจ " เหนือผีทั้งปวงและรักษาโรคต่างๆให้หาย

และเกี่ยวกับสาวกเจ็ดสิบคนที่พระเยซูส่งออกไปทีละสองคนซึ่งพวกเขาได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในบทลูกา 10 : 1 กล่าวว่า  :
 
ภายหลังเหตุการณ์เหล่านี้ องค์พระเยซูทรงตั้งสาวกอื่นอีกเจ็ดสิบคนไว้และใช้เขาออกไปทีละสองคนๆ ให้ล่วงหน้าพระองค์ไปก่อน

ในบทลูกา 10 : 17 ยังกล่าวอีกว่า :
 
ฝ่ายสาวกเจ็ดสิบคนนั้นกลับมาด้วยความปรีดีทูลว่า \\\" พระองค์เจ้าข้า ถึงผีทั้งหลายก็ได้อยู่ใต้บังคับของพวกข้าพระองค์โดยพระนามของพระองค์ \\\"

ตามที่กล่าวมานี้แท้จริงการเสด็จลงมาของพระวิญญาณ ไม่ได้ถูกกำหนดเงื่อนไขว่า พระเยซูต้องเสด็จจากไปก่อน  

ดังนั้นถ้าตีความหมายของคำว่า "ฟาร่อก่อลีฏอ" คือพระวิญญาณบริสุทธิ์  

คำพูดของพระเยซูก็จะกลายเป็นคำพูดที่ผิดและเหลวไหลไร้สาระ  และนั่นไม่ใช่วิสัยของผู้มีวิทยปัญญาที่จะกล่าวถ้อยคำที่ไร้สาระหรือไร้ความหมายออกมาจากปาก  

แล้วนับประสาอะไรกับสถานะภาพของผู้เป็นถึงศาสดา ผู้มีฐานะภาพอันสูงส่งอย่าง พระเยซูเล่า  

ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของคำว่า " ฟาร่อก่อลีฏอ " ย่อมจะแปลเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากจะต้องหมายถึง

อะหฺมัดและมุฮัมมัด

และสองคำนี้มีความหมายเดียวกันกับคำ " ฟาร่อก่อลีฏอ " จะเป็นอื่นมิได้


ผู้เขียนกล่าวกับบาดหลวงว่า : แล้วพวกท่านจะกล่าวอย่างไรในคริสตศาสนา ?

บาดหลวงตอบว่า : ลูกรักทางจิตวิญญาณของพ่อ  แท้จริงศาสนาคริสต์ถูกยกเลิกด้วยสาเหตุปรากฏหลักธรรมใหม่คือศาสนาของมุฮัมมัด(ศ) ท่านกล่าวถ้อยคำนี้ซ้ำถึงสามครั้ง
 
ผมกล่าวว่า : หมายความว่าตอนนี้ หนทางรอดและหนทางที่เที่ยงตรงที่จะนำพาไปสู่พระเจ้าถูกจำกัดไว้ในผู้ตามมุฮัมมัด(ศ)เท่านั้นหรือครับ ?  และผู้ตามเขาคือบรรดาผู้รอดพ้นหรือครับ ?  

ท่านบาทหลวงตอบว่า : ใช่แล้ว ขอสาบานในนามของพระเจ้า  ใช่แล้ว ขอสาบานในนามของพระเจ้าใช่แล้ว ขอสาบานในนามของพระเจ้า



ทำไมท่านจึงไม่เข้ารับอัลอิสลาม ?


   ผมถามคุณพ่อว่า : หากเป็นจริงดังนั้น แล้วอะไรขัดขวางคุณพ่อมิให้เข้ารับอิสลามและดำเนินตามมุฮัมมัดล่ะครับ  ในขณะที่ท่านรู้ซึ้งว่าอิสลามเป็นศาสนาดีที่สุด  และถือว่าการตามศาสดาคนสุดท้ายนี้ คือทางรอดและทางที่เที่ยงตรงไปสู่พระเจ้า ?


ท่านตอบว่า :  ลูกรักของพ่อ  พ่อไม่เคยได้รับรู้ถึงความจริงของศาสนาอิสลามและรู้ว่ามันเป็นศาสนาดีที่สุด เว้นแต่หลังจากพ่อมีอายุชราภาพแล้ว  ในใจพ่อตอนนี้เป็นมุสลิม ส่วนภายนอกนั้นพ่อไม่อาจทิ้งตำแหน่งผู้นำและสมณศักดิ์สูงส่งนี้ได้
ลูกก็เห็นตำแหน่งของพ่อท่ามกลางหมู่ชาวคริสต์นี่  หากพวกเขารู้ว่าพ่อมีจิตใจเอนเอียงไปทางศาสนาอิสลาม พวกเขาจะต้องฆ่าพ่อให้ตายแน่  แม้กระทั่งพ่อจะหนีพ้นพวกเขาแล้วก็ตาม   ก็ไม่วายที่พวกเจ้าเมืองฝ่ายคริสต์ศาสนา จะต้องขอตัวพ่อคืนจากเจ้าเมืองฝ่ายมุสลิม โดยอ้างว่าทรัพย์สมบัติของโบสถ์คริสต์นั้นอยู่ในมือพ่อ และพ่อได้ทำผิดคือโกงสิทธิของพวกเขา  
หรือไม่พวกเขาก็ต้องอ้างว่า พ่อเอาสิ่งของไปจากพวกเขา พ่อได้กินมันและให้มัน  ด้วยเหตุนี้พ่อคิดว่า มันยากและหนักที่เจ้าเมืองฝ่ายมุสลิมทั้งหลายจะปกป้องพ่อเอาไว้ได้  
ถึงกระทั่งว่า พ่อจะมาขอพึ่งพวกมุสลิมด้วยการที่พ่อจะกล่าวกับพวกเขาว่า ผมเป็นมุสลิมแล้วนะ  
พวกเขาจะกล่าวว่า ยินดีกับท่านด้วย ที่ท่านได้พาตัวท่านรอดพ้นจากไฟนรก  แต่ขอร้องว่า อย่าได้ทวงบุญคุณกับพวกเรา  เพราะท่านช่วยตัวเองให้รอดพ้นจากการลงโทษของพระเจ้าแล้ว โดยเข้าสู่ศาสนาแห่งสัจธรรมและแนวทางที่ถูกต้อง

ลูกรักของพ่อ  แล้วจะไม่มีขนมปังและน้ำดื่มสำหรับพ่อ ทั้งๆที่พ่อเป็นอาจารย์และแก่เฒ่าท่ามกลางชาวมุสลิม
ด้วยเหตุนี้พ่อก็จะต้องมีชีวิตอยู่ในความยากจน ขัดสน  สับสน น่าสมเพช อับยศ  มีแต่ความกังวลในสภาพที่พ่อเองก็ไม่เข้าใจภาษาของพวกเขา  แล้วพวกเขาก็จะไม่รู้จักสิทธิของพ่อ  ไม่ดูแลเอาใจใส่ศักดิ์ศรีของพ่อ   พ่อก็จะตายในสภาพหิวโหยท่ามกลางพวกเขา
และพ่อจะต้องอำลาจากโลกนี้ไปท่ามกลางความเสื่อมเสียและสิ่งปรักหักพังต่างๆ    
พ่อเคยเห็นด้วยตาพ่อเองมามากมายแล้ว มีผู้คนเข้ารับอิสลาม และพวกมุสลิมไม่เคยเอาใจใส่ดูแลพวกเขา  พวกเขาเหล่านั้นจึงหันหลังออกจากอิสลามไปสู่ศาสนาเดิมของพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง  
ดังนั้นพวกเขาได้ขาดทุนทั้งโลกนี้และโลกหน้า    และพ่อก็เช่นกัน พ่อกลัวว่า พ่อไม่อาจทนรับสภาพความเดือนร้อนและทุกข์เข็ญต่างๆทางโลกได้  ในขณะที่จะไม่ได้รับสิ่งใดเป็นของพ่อเลยจากโลกนี้และโลกหน้า  
และพ่อขอขอบคุณต่อพระเจ้าที่พ่อเป็นคนหนึ่งที่เลื่อมใสตามศาสดามุฮัมมัด(ศ)ในใจ.

แล้วอาจารย์ผมได้ร้องไห้ออกมา ส่วนผมก็ร้องไห้เช่นกัน หลังจากเราร้องไห้อยู่ด้วยกันนานอยู่พักหนึ่ง

ผมได้กล่าวกับท่านว่า : คุณพ่อที่รักครับ ท่านจะสั่งผมให้เข้ารับอิสลามได้ไหม ?
ท่านกล่าวว่า :  หากลูกต้องการโลกหน้าและการรอดพ้น เจ้าก็ควรจะยอมรับศาสนาแห่งความจริง  เพราะเจ้ายังหนุ่มแน่น พ่อว่าลูกไม่เป็นไรหรอก พระเจ้าจะทรงจัดเตรียมปัจจัยต่างๆทางโลกไว้สำหรับเจ้า  ลูกคงไม่อดตายหรอก และพ่อจะขอพรให้เจ้าเสมอ และพ่อต้องการให้เจ้าช่วยเป็นพยานให้พ่อในวันสิ้นโลกด้วยว่า แท้จริงพ่อเป็นมุสลิมในใจและเป็นผู้ตามมนุษย์ที่ประเสริฐสุดคนหนึ่ง  และพ่ออยากบอกเจ้าว่า  มีนักบวชมากมายที่ในใจพวกเขา ใช้ชีวิตสภาพเดียวเช่นพ่อ พวกเขาเหมือนพ่อ พ่อคือคนบาปที่ไม่อาจสลัดตำแหน่งหน้าที่ผู้นำทางโลกได้

และนอกจากนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า  แท้จริงศาสนาของพระเจ้าบนโลกในวันนี้ คือศาสนาอัลอิสลาม

เมื่อผมได้เห็นพระคัมภีร์เก่าสองเล่มและได้ฟังคำอธิบายเช่นนี้จากอาจารย์แล้ว แสงสว่างแห่งทางนำของศาสดามุฮัมมัด ศาสดาคนสุดท้ายของโลกได้มีอำนาจเหนือตัวผม และความรักที่ผมมีต่อเขาถึงขั้นที่ว่า
โลกใบนี้และสิ่งที่มีอยู่ในมัน ในสายตาของผมมันกลายเป็นซากศพไร้ค่า  ตำแหน่งผู้นำทางโลกที่มีวันมลาย  เครือญาติและบ้านเกิดเมืองนอนมิอาจผูกมัดขัดขวางผมไว้ได้   ผมหันหลังให้กับสิ่งเหล่านั้นทุกอย่าง  ผมได้อำลาอาจารย์ในช่วงเวลานั้น  แล้วท่านได้ขอให้ผมรับเงินจำนวนหนึ่งจากท่านไปเพื่อใช้จ่ายในการเดินทางของผม  ผมรับมันมาจากอาจารย์ แล้วออกเดินทาง(จากนครรัฐวาติกัน) มุ่งหน้าสู่โลกหน้าทันที


การเข้ารับอิสลาม

                  ผมไม่ได้พกพาสิ่งใด(จากนครรัฐวาติกัน)มาเลย นอกจากหนังสือสองสามเล่มเท่านั้น  ผมทิ้งตำราทั้งหมดและทุกสิ่งที่ผมมีไว้  
หลังจากการเดินทางอันเหนื่อยยาก  ผมก็มาถึงเมืองอาร์มีเนียเวลาเที่ยงคืนพอดี และในคืนเดียวกันนั้นผมได้ไปเคาะประตูบ้านท่านมัรฮูมสัยยิดฮาซัน มุจญ์ตะฮิด

ซึ่งท่านได้ปลื้มปิติใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับผมหลังจากท่านรู้ข่าวมาว่า ผมจะมาหาท่านเพื่อเข้ารับอิสลาม    ผมขอให้ท่านสอนคำปฏิญานตนเพื่อเข้ารับอิสลาม(กะลิมะฮ์ชะฮาดะตัยนิ)และหลักการอิสลามที่สำคัญ
ท่านสัยยิดฮาซันมุจญ์ตะฮิดได้ถ่ายทอดทุกสิ่งและสอนความรู้ให้กับผม  ผมได้จดเป็นภาษาเฮบรูเพื่อจะได้ไม่ลืม เช่นกันผมขอให้ท่านอย่าได้เพร่งพรายแก่ใครเรื่องที่ผมมาเข้ารับอิสลาม เพราะผมเกรงว่า ถ้าญาติพี่น้องและชาวคริสต์ได้ยินเรื่องนี้เข้า พวกเขาจะต้องทำร้ายผมหรือรังควานผมแน่  
จากนั้นผมเดินไปที่ห้องน้ำในคืนนั้น แล้วผมได้อาบน้ำฆุซุ่ลเตาบัตตัวจากชีรีกและกุโฟ้ร(การตั้งภาคีต่อพระเจ้าที่เชื่อว่าพระองค์มีสามองค์)
หลังจากออกจากห้องน้ำ ผมกล่าวกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮฺอีกครั้งหนึ่ง และเข้าสู่ศาสนาแห่งสัจธรรมทั้งภายนอกและภายใน.



Θ ท่านสามารถตรวจสอบความจริงของเรื่องนี้ได้ที่เวบไซต์มากมายดังนี้

http://www.albadri.info/adyan/index.php?id_file=mcjara/mcj12.htm


http://www.ebnmaryam.com/vb/t168953.html

http://www.ngoic.com/main.php?ObjShow=ShowPage&Tshow=Article&PS=default2&ida=267

http://anis-al-alaam.blogfa.com/
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 09:16:08 ก่อนเที่ยง
1.3- ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์เป็นพยาน



۞ คัมภีร์อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَيَقُولُ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَسْتَ مُرْسَلاً قُلْ كَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَمَنْ عِندَهُ عِلْمُ الْكِتَابِ

และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า ท่านมิใช่เป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์ (ก็เป็นพยานด้วย)

ซูเราะฮ์อัลเราะอฺดุ : 43

أَفَمَن كَانَ عَلَىٰ بَيِّنَةٍ مِّن رَّبِّهِ وَيَتْلُوهُ شَاهِدٌ مِّنْهُ وَمِن قَبْلِهِ كِتَابُ مُوسَىٰ إِمَاماً وَرَحْمَةً أُوْلَـٰئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ وَمَن يَكْفُرْ بِهِ مِنَ ٱلأَحْزَابِ فَٱلنَّارُ مَوْعِدُهُ فَلاَ تَكُ فِي مِرْيَةٍ مِّنْهُ إِنَّهُ ٱلْحَقُّ مِن رَّبِّكَ وَلَـٰكِنَّ أَكْثَرَ ٱلنَّاسِ لاَ يُؤْمِنُونَ

ดังนั้น (มุฮัมมัดคือ) ผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้ง(คืออัลกุรอาน) จากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน(อัลกุรอาน)  และก่อนนั้นมีคัมภีร์ของมูซาเป็นแนวทางและเป็นความเมตตา  ชนเหล่านั้นศรัทธาต่อมันและผู้ใดจากพรรคต่างๆปฏิเสธศรัทธาต่อมัน ไฟนรกคือสัญญาของเขา ดังนั้นเจ้าอย่าได้อยู่ในการสงสัยมันเลย  แท้จริงมันคือสัจธรรมจากพระผู้อภิบาลของเจ้า  แต่ทว่ามนุษย์ส่วนมากจะไม่ศรัทธา
ซูเราะฮ์ ฮูด : 17



۞ อัลหะดีษ


14. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า  โองการที่อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

(ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา)
คือข้าพเจ้า  (และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน) คืออาลี  

15.อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า  

ในโองการ(ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน) ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) คือผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของท่าน ส่วนฉันคือผู้เป็นพยานให้ท่านและมาจากท่าน

16.อิม่ามริฎอ(อ)รายงานจากบรรดาบิดาของท่าน จากอิม่ามอาลี(อ)เล่าว่า
 
ปรากฏว่า เป็นวันศุกร์ท่าน(อิม่ามอาลี)คุฏบะฮฺอยู่บนมิมบัร ท่านกล่าวว่า ขอสาบานต่อผู้ให้เมล็ดงอกเงย และผู้สร้างมนุษย์ ไม่เคยมีชายคนใดจากชาวกุเรช ที่المَوَاسِيได้ผ่านมาบนเขา เว้นแต่ได้มีโองการหนึ่งจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลประทานลงมาแก่เขา  ฉันรู้จักโองการนั้นเหมือนที่ฉันรู้จักเขา  มีชายคนหนึ่งยืนขึ้นยังท่านแล้วกล่าวว่า  โอ้ท่านอมีรุลมุอฺมินีน  โองการของท่านคืออะไรที่ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่าน ?  ท่านอิม่ามตอบว่า  เมื่อเจ้าถามจงทำความเข้าใจ เจ้าไม่ควรถามถึงโองการนั้นอื่นจากฉัน  เจ้าเคยอ่านซูเราะฮ์ฮู๊ดไหม ?  เขาตอบว่า เคยอ่านครับท่านอมีรุลมุอฺมินีน  

ท่านอิม่ามกล่าวว่า  เจ้าเคยได้ยินอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลตรัสว่า(ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน) ไหม ? เขาตอบว่า เคยครับ  ท่านอิม่ามกล่าวว่า ผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขาคือ ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และผู้ที่เป็นพยานจากเขาที่สาธยายมัน  และเขาคือชาเฮ็ด(พยาน) และบุคคลที่มาจากเขาคือ อาลี บิน อบีตอลิบ (อ), ฉันคือชาเฮ็ด และฉันมาจากท่านรอซูล(ศ)

17.หนังสืออัลอิหฺติญาจญ์ ต็อบร่อซี :

มีชายคนหนึ่งถามอิม่ามอาลี บินอบีตอลิบ(อ)  ท่านอิม่ามกล่าวกับเขาว่า ฉันได้ยิน - :
เขากล่าวว่า โปรดบอกฉันถึงความประเสริญของท่านที่สุดยอดที่สุด ท่านตอบว่า คือสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานไว้ในคัมภีร์ของพระองค์  
เขาถามว่า  อัลลอฮฺทรงประทานอะไรไว้เกี่ยวกับท่านหรือ ? ท่านตอบว่า โองการ (ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน ) ฉันคือผู้เป็นพยาน(ชาเฮ็ด) ที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)

18.หนังสือบะซออิรุด-ดะร่อญ๊าต  ท่านอัซบัฆ บินนุบะตะฮฺเล่าว่า :

ท่านอมีรุลมุอฺมินีน(อ)กล่าวว่า  หากปูเสื่อให้ฉัน แล้วฉันได้นั่งบนมัน แน่นอนฉันจะตัดสินคดีท่ามกลางผู้ตามคัมภีร์เตารอตด้วยคัมภีร์เตารอตของพวกเขา และผู้ตามคัมภีร์อินญีลด้วยคัมภีร์อินญีลของพวกเขา  และผู้ตามคัมภีร์ซะบูรด้วยคัมภีร์ซะบูรของพวกเขา และผู้ตามคัมภีร์ฟุรกอน(คืออัลกุรอ่าน)ด้วยคัมภีร์ฟุรกอนของพวกเขา ด้วยคำพิพากษาที่ขึ้นไปยังอัลลอฮฺอย่างชัดเจน(ไม่มีข้อบกพร่องใดๆ)
   ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ไม่มีโองการใดในคัมภีร์ของอัลลอฮฺประทานลงมา ในตอนกลางคืนหรือกลางวัน เว้นแต่ฉันรู้ว่า มันถูกประทานลงมาเกี่ยวกับใคร   และไม่มีจากบุคคลใดที่المَواسيผ่านมาบนหัวของเขาจากชาวกุเรช นอกจากมีโองการหนึ่งจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺประทานลงมาเกี่ยวกับเขา  จะจูงเขาไปขึ้นสวรรค์หรือลงนรก
   ชายคนนั้นลุกขึ้นมาหาท่านอิม่าม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านอมีรุลมุอฺมินีน  โองการใดประทานลงมาเกี่ยวกับท่านครับ ?  ท่านอิม่ามกล่าวกับเขาว่า  เจ้าไม่เคยได้ยินอัลลอฮฺตรัส (ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน )   หรือ ?  
ท่านอิม่ามกล่าวว่า  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)คือบุคคลที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา และฉันคือผู้เป็นพยานให้ท่านเกี่ยวกับสิ่งนั้น และฉันจะสาธยายมันพร้อมกับเขา

19.หนังสือกัชฟุลยะกีน  อุบบ๊าด บินอับดุลลอฮฺ อัลอะซะดีรายงานว่า ฉันได้ยินท่านอาลี(อ)กล่าว ขณะที่ท่านอยู่บนมิมบัรว่า ไม่ชายใดจากเผ่ากุเรช เว้นแต่มีอายะฮฺหนึ่งหรือสองอายะฮฺได้ประทานลงมาเกี่ยวกับเขา  มีชายคนหนึ่งอยู่ด้านล่างมิมบัร

ท่านถามว่า  อะไรได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่าน ?  ท่านอิม่ามโกรธ จากนั้นท่านกล่าวว่า   หากว่าเจ้าไม่ถามฉันต่อหน้าหัวหน้าของหมู่ชนเหล่านี้ ฉันจะไม่เล่าให้เจ้าฟัง อนิจจาเอ๋ย  เจ้าเคยอ่านซูเราะฮ์ฮู๊ดบ้างไหม  จากนั้นท่านอาลี(อ)ได้อ่านว่า (ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน )  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)คือบุคคลที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้ง  และฉันคือผู้เป็นพยานที่มาจากท่าน(ศ)  

20.อิม่ามมุฮัมมัดอัลบาเก็ร(อ)กล่าวว่า

บุคคลที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขาคือท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  และบุคคลที่ได้สาธยายมันภายหลังจากท่าน(ศ)จากไป คือผู้เป็นพยานจากท่าน(ศ) คือท่านอมีรุลมุอฺมินีน(อ) ต่อจากนั้นคือบรรดาวะซีของเขา ทีละคนๆ


21.หนังสือบิฮารุลอันวาร  อับดุลลอฮฺ บินอะฏ๊ออฺเล่าว่า  

ฉันนั่งอยู่กับท่านอบี ญะอฺฟัร(อ)ในมัสญิด นบี(ศ) ทันใดฉันแลเห็นบุตรชายของท่านอับดุลลอฮฺ บิน สะลามนั่งอยู่ที่มุมหนึ่ง  ฉันจึงกล่าวกับท่านอบีญะอฺฟัร(อ)ว่า  พวกเขากล่าวกันว่า บิดาของชายผู้นี้คือบุคคลที่เขามีความรู้ในคัมภีร์   ท่านอิม่ามกล่าวว่า ไม่ใช่  แท้จริงบุคคลคนนั้นคือ ท่านอมีรุลมุอฺมินีน อาลี บิน อบีตอลิบ (อ)  ได้มีโองการหนึ่งประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า (ดังนั้นผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากเขาจะสาธยายมัน ) เพราะฉะนั้นท่านนบี(ศ)คือผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และท่านอมีรุลมุอฺมินีน อาลี บิน อบีตอลิบ (อ)  คือผู้เป็นพยาน(ชาเฮ็ด)ที่มาจากท่าน(ศ)
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 09:33:21 ก่อนเที่ยง
1.4- การล่วงรู้ข่าวของปวงปราชญ์แห่งวงศ์วานอิสราเอล และการมีศรัทธาส่วนหนึ่งจากพวกปุโรหิตแห่งชาวคัมภีร์(อะฮฺลุลกิตาบ)



۞  อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَإِنَّهُ لَفِي زُبُرِ الْأَوَّلِينَ

แท้จริงเขา(มุฮัมมัด)มี(กล่าว)อยู่ในคัมภีร์ต่างๆในสมัยก่อนๆ

ซูเราะฮ์อัชชุอะรอ : 196,197

وَلَمَّا جَاءهُمْ كِتَابٌ مِّنْ عِندِ اللّهِ مُصَدِّقٌ لِّمَا مَعَهُمْ وَكَانُواْ مِن قَبْلُ يَسْتَفْتِحُونَ عَلَى الَّذِينَ كَفَرُواْ فَلَمَّا جَاءهُم مَّا عَرَفُواْ كَفَرُواْ بِهِ فَلَعْنَةُ اللَّه عَلَى الْكَافِرِينَ

และเมื่อได้มีคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากที่อัลลอฮ์มายังพวกเขา ซึ่งยืนยันในสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเคยขอให้มีชัยชนะเหนือบรรดาผุ้ที่ปฏิเสธศรัทธามาก่อน ครั้นเมื่อสิ่งที่พวกเขารู้จักดี ได้มายังพวกเขาแล้ว พวกเขากลับปฏิเสธสิ่งนั้นเสีย ดังนั้นความห่างไกลจากเราะฮ์มัตของอัลลอฮ์จึงตกอยู่แก่บรรดาผู้ปฏิเสธเหล่านั้น

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ  : 89

وَإِذَا سَمِعُوا مَا أُنْزِلَ إِلَى الرَّسُولِ تَرَى أَعْيُنَهُمْ تَفِيضُ مِنَ الدَّمْعِ مِمَّا عَرَفُوا مِنَ الْحَقِّ يَقُولُونَ رَبَّنَا آَمَنَّا فَاكْتُبْنَا مَعَ الشَّاهِدِينَ

และเมื่อพวกเขาได้ยินสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่ร่อซูลแล้ว เจ้าก็จะเห็นตาของพวกเขาหลั่งออกมาซึ่งน้ำตา เนื่องจากความจริงที่พวกเขารู้  โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดได้ทรงจารึกพวกข้าพระองค์ไว้ร่วมกับบรรดาผู้กล่าวปฏิญาณยืนยันด้วยเถิด
ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ : 83

 وَمَا لَنَا لَا نُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَا جَاءَنَا مِنَ الْحَقِّ وَنَطْمَعُ أَنْ يُدْخِلَنَا رَبُّنَا مَعَ الْقَوْمِ الصَّالِحِينَ

และไม่มีเหตุผลใด ๆ แก่เราที่เราจะไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และความจริงที่มายังเรา และเราปรารถนาอย่างแรงกล้าที่พระเจ้าของเราจะทรงให้เราเข้าร่วมอยู่กับพวกที่ดี ๆ ทั้งหลาย
ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ : 84

قُلْ أَرَأَيْتُمْ إِنْ كَانَ مِنْ عِنْدِ اللَّهِ وَكَفَرْتُمْ بِهِ وَشَهِدَ شَاهِدٌ مِنْ بَنِي إِسْرَائِيلَ عَلَى مِثْلِهِ فَآَمَنَ وَاسْتَكْبَرْتُمْ إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า ถ้าหากอัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺและพวกท่านปฏิเสธอัลกุรอานนั้น ทั้ง ๆ ที่มีพยานคนหนึ่งจากวงศ์วานของอิสรออีลเป็นพยานต่อลักษณะเช่นเดียวกัน (คือคัมภีร์อัตเตารอฮฺ)แล้วเขาก็ศรัทธาแต่พวกท่านยังดื้อรั้นหยิ่งยะโส แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้แนะทางแก่หมู่ชนผู้อธรรม (*1*)

ซูเราะฮ์อัลอะห์กอฟ : 10


۞ อัลหะดีษ

22.ตัฟสีรอัลกุมมี ตรงโองการที่อัลลอฮ์ ตะอาลาตรัสว่า

ٱلَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ ٱلْكِتَابَ يَعْرِفُونَهُ كَمَا يَعْرِفُونَ أَبْنَاءَهُمْ

บรรดาผู้ที่เราได้ประทานคัมภีร์แก่พวกเขา พวกเขา(พวกยิว)รู้จักเขา(มุฮัมมัด)เหมือนที่พวกเขารู้จักลูกของพวกเขา

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์  :  146  

แท้จริงท่านอุมัร บินค็อตตอบกล่าวกับท่านอับดุลลอฮฺ บินสะลามว่า  

พวกท่านรู้จักมุฮัมมัด(ศ)ในคัมภีร์ของพวกท่านหรือไม่ ? เขาตอบว่า ใช่แล้ว ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าเรารู้จักเขาตามที่อัลลอฮ์ทรงพรรณนาไว้กับเรา เมื่อเราเห็นเขาอยู่ในหมู่พวกท่าน เหมือนคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเรารู้จักลูกของเขาดีเมื่อเขาเห็นลูกเขาอยู่กับเด็กๆ และฉันอิบนุ สะลามขอสาบานต่อพระองค์ว่า สำหรับฉันต่อมุฮัมมัดคนนี้ ฉันรู้จักเขาดียิ่งกว่าลูกชายของฉันอีก

23.หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า  

ชาวกุเรชได้ส่งอัน-นัฎรฺ บินอัลฮาริษ บินอัลเกาะมะฮฺกับอุกบะฮ์ บินอบีมุอีฏและคนอื่นจากทั้งสองนี้ไปหาชาวยิวที่เมืองยัษริบ(มะดีนะฮฺ) ชาวกุเรชกล่าวกับตัวแทนว่า พวกท่านจงไปถามชาวยิวเกี่ยวกับมุฮัมมัด พวกเขาเดินทางมาถึงเมืองยัษริบ พวกเขากล่าวว่า เราหาพวกท่านด้วยธุระหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในหมู่พวกเรา  คือว่าในหมู่พวกเรามีเด็กกำพร้า ต่ำต้อยคนหนึ่ง พูดจาด้วยถ้อยคำใหญ่โตมาก เขาอ้างว่าเขาคือ ศาสนทูตแห่งพระเจ้าผู้ทรงเมตตา และเราไม่เคยรู้จักพระผู้ทรงเมตตา นอกจาก ผู้ทรงเมตตาแห่งยะมามะฮฺ(เมืองนัจญ์ดฺ ประเทศซาอุฯ)

   ชาวยิวกล่าวว่า  จงบอกลักษณะของเขาให้เราฟังซิ  ชาวกุเรชได้เล่าให้ชาวยิวฟัง   ชาวยิวถามว่า มีคนใดจากพวกท่านปฏิบัติตามเขาไหม ?  ชาวกุเรชตอบว่า มีพวกชนชั้นต่ำของเราตามเขา  แล้วปุโรหิตยิวคนหนึ่งได้หัวเราะออกมา พลางกล่าวว่า ชาวคนนี้คือศาสดาตามที่เราพบลักษณะของเขา และเราพบว่าหมู่ชนของเขา เป็นมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรูต่อต้านเขาหนักที่สุด
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 09:44:50 ก่อนเที่ยง
1.5 -  ความรู้และผู้รู้คือพยาน


۞ อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَيَرَى الَّذِينَ أُوتُوا الْعِلْمَ الَّذِي أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ هُوَ الْحَقَّ وَيَهْدِي إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

และบรรดาผู้ที่ได้รับความรู้นั้นตระหนักดีว่า   สิ่งที่ได้ถูกประทานแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้านั้นเป็นสัจธรรม และจะชี้นำไปสู่แนวทางแห่งพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ
ซูเราะฮ์ สะบะอฺ : 6

وَلِيَعْلَمَ الَّذِينَ أُوتُوا الْعِلْمَ أَنَّهُ الْحَقُّ مِنْ رَبِّكَ فَيُؤْمِنُوا بِهِ فَتُخْبِتَ لَهُ قُلُوبُهُمْ وَإِنَّ اللَّهَ لَهَادِ الَّذِينَ آَمَنُوا إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ

และเพื่อบรรดาผู้รู้จะตระหนักว่า แท้จริงอัลกุรอาน นั้นคือสัจธรรมจากพระเจ้าของเจ้า เพื่อพวกเขาจะได้ศรัทธาต่อมัน (อัลกุรอาน) แล้วจิตใจของพวกเขาจะได้นอบน้อมต่อมัน (อัลกุรอาน) และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงเเป็นผู้ชี้แนะบรรดาผู้ศรัทธาสู่แนวทางอันเที่ยงตรง

ซูเราะฮ์ อัลฮัจญ์ : 54

وَمَا كُنْتَ تَتْلُو مِنْ قَبْلِهِ مِنْ كِتَابٍ وَلَا تَخُطُّهُ بِيَمِينِكَ إِذًا لَارْتَابَ الْمُبْطِلُونَ

และก่อนหน้านั้นเจ้ามิได้อ่านคัมภีร์ใด ๆ และเจ้ามิได้เขียนมันด้วยมือขวาของเจ้า  มิฉะนั้นแล้วพวกกล่าวความเท็จจะสงสัยอย่างแน่นอน

ซูเราะฮ์ อัลอังกะบูต : 48

وَكَذَلِكَ أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ رُوحًا مِنْ أَمْرِنَا مَا كُنْتَ تَدْرِي مَا الْكِتَابُ وَلَا الْإِيمَانُ وَلَكِنْ جَعَلْنَاهُ نُورًا نَهْدِي بِهِ مَنْ نَشَاءُ مِنْ عِبَادِنَا وَإِنَّكَ لَتَهْدِي إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ

และเช่นนั้นแหละเราได้วะฮียฺอัลกุรอาน แก่เจ้าตามบัญชาของเรา เจ้าไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าอะไรคือคัมภีร์ และอะไรคือการศรัทธาแต่ว่าเราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นแสงสว่างเพื่อชี้แนะทาง โดยนัยนั้นแก่ผู้ที่เราประสงค์จากปวงบ่าวของเรา และแท้จริงเจ้านั้น จะได้รับการชี้แนะสู่ทางอันเที่ยงธรรมอย่างแน่นอน

ซูเราะฮ์  อัชชูรอ : 52



۞  อัลหะดีษ


24. ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ)กล่าวว่า
 
ความรู้นั้นคือชีวิตของอิสลาม และเป็นรากฐานของการศรัทธา


25. อิม่ามอาลี (อ)กล่าวว่า  

การศรัทธาและความรู้เป็นพี่น้องอยู่คู่กัน และเป็นสหายที่แยกกันไม่ได้

26.อิม่ามริฎอ(อ)

จากการสนทนาของท่านกับผู้นับถือศาสนาทั้งหลายในการยืนยันถึงตำแหน่งนุบูวะฮฺของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)  ท่านอิม่ามกล่าวว่า  ส่วนหนึ่งจากสัญญาณของเขา(ศ) แท้จริงท่านเป็นลูกกำพร้า  ยากจน  เป็นคนเลี้ยงแกะ เป็นคนรับจ้าง ไม่เคยเรียนหนังสือและไม่เคยไปมาหาครู  แล้วท่านได้นำคัมภีร์อัลกุรอานมา ซึ่งในนั้นมีชีวประวัติของบรรดาศาสดา(อ)และเรื่องราวของพวกเขาอย่างเป็นตอนๆ และยังมีเรื่องราวของผู้คนในอดีตที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 09:54:24 ก่อนเที่ยง
วิจัยเรื่อง  ความรู้คือพยานยืนยันต่อตำแหน่งนุบูวะฮฺของศาสดามุฮัมมัด




   คัมภีร์อัลกุรอานหลายโองการและหะดีษหลายบทที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ได้บ่งบอกว่า แท้จริงตำแหน่งศาสดาของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)
คือปรากฏการณ์แห่งความรู้ที่สอดคล้องเข้ากับกฏอนุมานทางสติปัญญา ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความศรัทธาคือ รากฐานสัมพันธภาพที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้

   เราควรต้องให้ความสนใจต่อข้อสังเกตต่างๆต่อไปนี้ ในสิ่งที่เกี่ยวข้องต่อความเข้าใจแก่นแท้แห่งการเชื่อมเข้าด้วยกันระหว่างความรู้ กับ ความศรัทธา :

1,ความรู้(อิลมู)จากทัศนะของกิตาบและซุนนะฮฺ
หมายถึง ความรู้แจ้ง ( บะซีเราะฮฺ และ مُسْتَبْصِرٌ -ผู้ค้นพบสัจธรรมความจริง) และความคิดเห็นทางวิชาการ(รุอฺยะฮ์อิลมียะฮฺ)

2,ความรู้แจ้งเห็นจริงทางวิชาการ
คือการรู้สึกสัมผัส  แสงสว่างและความนึกคิดที่ชักนำไปสู่ความรู้และการสัมผัสรับรู้เรื่องราวของมนุษย์ทั้งหมด  กล่าวคือ มันจะวางความรู้และความเข้าใจ(อิลมฺและมะริฟัต)ไปในทางการพัฒนาปัจเจกบุคคลและสังคมมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความรู้แจ้ง(บะซีเราะฮฺ)นั้นมิใช่สิ่งใดนอกจากมันคือ แก่นแห่งความรู้และวิญญาณของมัน  

3,อิสลามให้เกียรติและยกย่องต่อศาสตร์ปลีกย่อยทั้งหมด
ด้วยเงื่อนไขอยู่กับความรู้แจ้งเห็นจริง(บะซีเราะฮฺ) และความรู้แจ้งนี้จะทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุความจริงได้ มันจะสำแดงออกมาในรูปแบบของความเจริญและพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ของตัวเขาเอง  

4,ลำพัง " วิชาความรู้ – อิลมู " เพียงอย่างเดียว
โดยปราศจาก " การรู้แจ้ง – บะซีเราะฮฺ "ย่อมนำพาไปสู่ความเสื่อมโทรมและความตกต่ำของมนุษย์ ไม่ว่าความรู้นั้นจะเป็นวิชาเตาฮีดและวิชามะอฺริฟะตุลเลาะฮฺหรือวิชาอื่นๆ ยิ่งกว่านั้นอาจกล่าวได้ว่า แท้จริงความรู้ที่ปราศจากการรู้แจ้งทางวิชาการนั้นไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง นั่นเป็นเพราะว่า ความเข้าใจในความรู้ที่จะไปสำแดงออกในรูปแบบของความเจริญและพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์จะค่อยๆอันตรธานหายไปในที่สุด

5,เมื่อนำความรู้(อิลมู)มาประกบกับการรู้แจ้ง(บะซีเราะฮฺ)
โดยรูปแบบทั่วไป  มันจะทำให้วิชาเตาฮีดและวิชามะอฺริฟะตุลเลาะฮฺเป็นศาสตร์ที่รู้แจ้งเห็นจริง  
ด้วยเหตุนี้เองคัมภีร์อัลกุรอานจึงมีความเห็นว่า ความรู้(อิลมู)นั้นโดยทั่วไปมันจะต้องมีผลติดตามมาด้วยความกลัวเกรงต่ออัลลอฮฺ ตะอาลาด้วย

ดังที่อัลลอฮืตะอาลาทรงตรัสว่า

إِنَّمَا يَخْشَى اللَّهَ مِنْ عِبَادِهِ الْعُلَمَاءُ

แท้จริงผู้ที่มีความเกรงกลัวอัลลอฮฺ จากปวงบ่าวของพระองค์ คือบรรดาผู้ที่มีความรู้เท่านั้น  

ซูเราะฮ์ฟาฏิร : 28

โองการนี้ได้เสนอความเข้าใจสองประการแก่เราคือ

หนึ่ง-
เป้าหมายจากอิลมูและบะซีเราะฮฺ(ความรู้และการรู้แจ้งในความรู้) ด้วยตัวของความหมายตามที่เราได้อธิบายมันไปแล้วนั้น เพราะทุกความรู้ แม้กระทั่งความรู้วิชาเตาฮีดก็ตาม ถ้าหากไม่ได้ประกอบเข้าด้วยวิญญาณของความรู้และแก่นแท้ของมัน มันก็มิได้นำพาไปสู่ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ แต่อย่างใด
สอง-
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ กับความศรัทธา เป็นความผูกพันที่แนบแน่น หมายความว่า มนุษย์นั้นเขาไม่อาจที่จะเห็นผู้มีความรู้ โดยปราศจากร่องรอยของกุดร่อตุลลอฮฺ(อานุภาพของอัลลอฮฺ)และการบันดาลสร้างของพระองค์ได้
   จากตรงนี้เอง คัมภีร์อัลกุรอานจึงได้วางผู้มีความรู้ไว้ให้อยู่ในแถวเดียวกันกับมวลมลาอิกะฮฺ เพราะถือว่า ผู้มีความรู้ทั้งหลายนั้นคือผู้เป็นพยานต่อความเป็นเอกะของพระผู้บันดาลสร้างโลก

6,แท้จริงอิลมู(ความรู้)ตามความเข้าใจที่ผ่านมา
ไม่ช่อยู่ควบคู่กับอีหม่านความศรัทธาต่อความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ(ซบ.)เท่านั้น แต่ยังต้องอยู่คู่กับความศรัทธาต่อตำแหน่งการเป็นศาสดา(นุบูวะฮฺ)ด้วย  มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะเห็นผู้มีความรู้ โดยที่การกระทำหรือการงานของเขานี้มิได้สิ้นสุดต่อความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัล เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เช่นกันที่คนเราจะเห็นผู้มีความรู้และการประดิษฐ์ของเขาโดยที่เขาไม่รู้จักสถานะของเขาในการมีอยู่ และความมีศรัทธาต่อริซาละฮฺ(สาร)ของพระเจ้าที่นำพามนุษย์ไปสู่ปรัชญาแห่งการสร้างสรรค์ :
แน่นอนเราได้อธิบายผ่านมาแล้วในบทความเรื่องตำแหน่งนุบูวะฮ์แบบอามมะฮ์(สากล,ทั่วไป)ว่า การปฏิเสธสภาวะการเป็นศาสดาของพระเจ้าเท่ากับเขาได้ปฏิเสธเรื่องเตาฮีด(ความเป็นหนึ่งของอัลลอฮฺ)ด้วย.

7,แท้จริงอิลมู(ความรู้) ตามความเข้าใจที่ผ่านมา
ไม่ใช่แค่ควบคู่อยู่กับการมีศรัทธาต่อเรื่องเตาฮีดและตำแหน่งนุบูวะฮ์เท่านั้น แต่ต้องผนวกเรื่องตำแหน่งนุบูวะฮ์แบบค็อศเศาะฮ์(เฉพาะหน่วย)เข้าไปด้วย  หมายความว่า มนุษย์เมื่อเขาได้รับบะซีเราะฮ์(ความรู้แจ้งเห็นจริงในความรู้)แล้ว และเขาจะประจักษ์ต่ออัลลอฮฺในลักษณะรัศมีของความรู้(นูรุลมะอฺริฟัต) และจากทางการสังเกตุร่องรอยของการอุบัติ  เขาก็ย่อมสามารถทำความรู้จักผู้ที่เป็นศาสดาทั้งหลายของอัลลอฮ์ที่แท้จริงได้ไม่ยาก บนพื้นฐานของตัวบะซีเราะฮ์นั้น และในประเด็นของตัวมะริฟัตอันนั้น(ที่เขาได้รับมา) ในช่วงของการสังเกตพิจารณาร่องรอยของตำแหน่งนุบูวะฮฺ   จุดหมายในเรื่องนี้นั้นคือ แท้จริงการเห็น(รุอ์ยะฮ์)แบบนี้ บางครั้งเขาจะบรรลุได้ถึงในระดับหนึ่ง(ดะร่อญัต)จากพลังอันนั้น โดยที่มนุษย์จะสามารถมองเห็นด้วยการมองของเขาทางใจ(ก็อลบี) รัศมีแห่งการเป็นศาสดา(นูรุลนุบูวะฮฺ)ในบุคลิกภาพของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) เหมือนที่ท่านอิม่ามอาลี(อ)ได้มองเห็นสิ่งนั้นมาแล้วในตัวของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)

   เราเรียกการรู้จัก(มะอ์ริฟัต)นี้ว่า มะอ์ริฟะตุล ก็อลบียะฮ์ คือการรู้ทางใจ, การกัชฟ์(เปิดเผย)และการชุฮู๊ด(ประจักษ์)ทางด้านใน(บาตินี).

บนการเห็นเช่นนี้ บางครั้งก็ไปไม่ถึงขั้นที่เรียกว่า มัรตะบะฮ์นี้ ดังนั้นมนุษย์บางทีก็จะสังเกตพิจารณาด้วยการมองทางปัญญา(รุอ์ยะฮ์ อักลียะฮ์) ร่องรอยของตำแหน่งนุบูวะฮ์และสัญญาณต่างๆของมันในตัวผู้เป็นรอซูลของพระเจ้า และเราเรียกมะอฺริฟัตแบบนี้ว่า มะอ์ริฟะตุล อักลียะฮ์(คือการรู้จักทางสติปัญญา)
และทั้งสองชนิดจากการมะอ์ริฟะฮ์นี้นั้น ในทัศนะจากอัลกุรอาน มันคือการรู้จักทางความรู้(มะอ์ริฟัต อิลมียะฮ์) และมะอ์ริฟัตทั้งสองแบบจะมีสื่อสัมพันธ์ไปยังความรู้แบบบะซีเราะฮ์ อิลมียะฮ์ (การรู้แจ้งเห็นจริง)
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 09:56:55 ก่อนเที่ยง
การรู้จักทางใจ(มะอ์ริฟะตุลก็อลบียะฮ์)ต่อตำแหน่งนุบูวะฮฺตามทัศนะของท่านฆ่อซาลี


ท่านฆ่อซาลีได้แสดงทัศนะในหนังสืออัลมุนกิซ มินัดเฏาะล้าล ว่า :

หนทางที่ดีที่สุดและน่าเชื่อมากที่สุดในการทำความรู้จักบรรดาศาสดาของพระเจ้าคือ การกัชฟ์,ชุฮู๊ดทางด้านใน

และนี่คือความจริง นั่นเพราะบุคคลที่เขาสามารถมองเห็นด้วยการู้แจ้งทางใจของเขา และเขาจะสังเกตพิจารณาถึงตำแหน่งนุบูวะฮฺของศาสดามุฮัมมัด(ศ)ด้วยหนทางแห่งฟากฟ้า(ต่อรีเกาะฮ์ สะมาวียะฮ์)

 แล้วเขาจะค่อยๆขึ้นสูงไปยังระดับดะร่อญัตแห่งมะอ์ริฟัตและบะซีเราะฮ์ที่สูงที่สุด ขอเสริมตรงนี้ว่า เขาจะไม่ต้องอาศัยหลักฐานหรือเหตุผลใดๆสำหรับการพิสูจน์เรื่องตำแหน่งนุบูวะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด(ศ)อีกต่อไป
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 25, 2010, 10:11:34 ก่อนเที่ยง
1.6 –  เรื่องการสาบาน  อัลมุบาฮะละฮฺ


۞ อัลกุรอาน


อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةُ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ


ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของเขา(อีซาว่าเป็นบุตรของอัลลอฮฺ) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว  (มุฮัมมัด)จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด  เราจะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน แล้วเราจะทำมุบาฮะละฮ์กัน(คือวิงวอนต่ออัลลอฮ์) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้การละอ์นัตของอัลลอฮ์พึงประสบ แก่บรรดาผู้โกหก

อาลิ อิมรอน  : 61





۞อัลหะดีษ



27.ตัฟสีรอัลกุมมี บันทึกว่า  

หลังจากกล่าวถึงโองการอัลมุบาฮะละฮ์แล้ว  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าว(กับชาวคริสต์แห่งนัจญ์รอน)ว่า พวกท่านจงมาทำมุบาฮะละฮ์กับฉัน  หากฉันเป็นผู้สัตย์จริง ฉันขอให้การละอ์นัตลงมาบนพวกท่าน และหากฉันเป็นคนมุสาขอให้มันลงมาบนฉัน
   พวกคริสต์กล่าวว่า ท่านยุติธรรมดี  แล้วพวกเขาจึงนัดหมายทำมุบะฮะละฮ์ไว้  เมื่อพวกเขากลับไปยังที่พัก  หัวหน้าของพวกเขาชื่อสัยยิด,อากิ๊บและอะฮ์ตัมกล่าวว่า  หากมุฮัมมัดเอาพวกพ้องของเขามามุบาฮะละฮ์กับเรา  เราจะทำมุบาฮะละฮ์กับเขา  แต่ถ้ามุฮัมมัดพาอะฮ์ลุลบัยต์โดยเฉพาะของเขามามุบาฮะละฮ์กับเราละก็ เราจะไม่ทำมุบาฮะละฮ์กับเขา  เพราะคงไม่มีใครเสนอ(ความเดือนร้อน)แก่อะฮ์ลุลบัยต์ของเขาแน่ ยกเว้นว่าเขาคือผู้สัตย์จริง  พอรุ่งเช้าวันใหม่พวกเขามาหาท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)โดยมีท่านอมีรุลมุอ์มินีน ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน(อ)อยู่พร้อมกับท่าน
   ชาวคริสต์กล่าวว่า พวกเขาเป็นใคร ? มีคนกล่าวกับพวกเขาว่า ชายคนนี้คือบุตรของลุงเขา เป็นวะซีและบุตรเขยเขาชื่อ อาลี บิน อบีตอลิบ  สตรีท่านนี้คือบุตรีเขาชื่อฟาติมะฮ์ ส่วนเด็กสองคนนั้นคือหลานชายเขาชื่อฮาซันและฮูเซน  (อ)  เมื่อพวกเขาได้รู้จัก พวกเขาจึงกล่าวกับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ว่า เราขอมอบความพอใจแก่ท่าน  โปรดยกเลิกการทำมุบาฮะละฮ์แก่เราด้วย  แล้วท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ประนีประนอมกับพวกเขาบนการรับญิซยะฮ์แทน แล้วพวกเขาได้กลับไป
 
28.หนังสืออัลอมาลี ของเชคตูซี่เล่าจาก

อับดุลเราะห์มาน บิน กะษีรจากท่านญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัดจากบิดาท่านจากปู่ท่านจากท่านอิม่ามฮาซัน บิน อาลี (อ) : ในการอธิบายพระดำรัสของพระองค์ (نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ... - เราจะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน...) ว่า : ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้พาออกมา(ทำมุบาฮะละฮ์) พร้อมกับท่าน จากตัวแทนของบุรุษทั้งหลายคือ บิดาฉัน จากตัวแทนของบุตรทั้งหลายคือฉันและน้องชายฉัน และจากตัวแทนของสตรีทั้งหลายคือ ฟาติมะฮ์มารดาฉัน

(พวกเขาเหล่านั้น)คือตัวแทนจากบุคคลทั้งหลาย  ดังนั้นพวกเราคือครอบครัวของท่าน  คือเนื้อของท่าน คือเลือดของท่าน คือตัวตนของท่าน  พวกเรามาจากท่านและท่านมาจากเรา
 
29.หนังสือดะลาอิลุน-นุบูวะฮ์  

ท่านญาบิร เล่าว่า : ท่านอากิ๊บและท่านต็อยยิบ(ชาวคริสต์)เข้ามาพบท่านนบี(ศ) ท่านได้เชิญชวนเขาทั้งสองสู่อัลอิสลาม  ทั้งสองกล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด เรารับอิสลามก่อนท่านอีก
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ท่านทั้งสองมุสา หากท่านทั้งสองต้องการ แนจะบอกท่านทั้งสองเอาไหมว่า อะไรได้ขัดขวางท่านจากการรับอิสลาม
พวกเขากล่าวว่า ท่านจงบอกเรามาสิ
ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า คือความรักในไม้กางเขน(ความเป็นคริสต์)  , การดื่มสุราและการรัปทานเนื้อสุกร
ท่านญาบิรเล่าว่า : ท่านได้เชิญเขาทั้งสองไปสู่การมุลาอะนะฮ์(คือทำมุบาฮะละฮ์)  เขาทั้งสองรับปากกับท่านว่า จะทำกับท่านในตอนเช้าตรู่พรุ่งนี้  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ออกมาแต่เช้าตรู่ พร้อมทั้งจูงมือท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน(อ)มา  จากนั้นท่านส่งคนไปหาเขาทั้งสอง แต่ทั้งสองได้ปฏิเสธที่จะตอบรับ(การมุบาฮะละฮ์)กับท่าน และทั้งสองได้ยอมรับต่อท่าน   ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  ขอสาบานต่อผู้ที่ส่งฉันมาพร้อมสัจธรรม  หากเขาทั้งสองได้ทำ(มุบาฮะละฮ์) หุบเขาจะตกลงมาใส่เขาทั้งสองเป็นไฟแน่  
ท่านญาบิรเล่าว่า : เกี่ยวกับพวกเขาโองการได้ประทานลงมาว่า
( ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของเขา(อีซาว่าเป็นบุตรของอัลลอฮฺ) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว  (มุฮัมมัด)จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด  เราจะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเราและตัวของพวกท่าน... บทอาลิ อิมรอน  : 61)

   อัชชะอ์บีกล่าวว่า : ท่านญาบิรเล่าว่า : (ตัวของเราและตัวของพวกท่าน)คือท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กับท่านอาลี อะลัยฮิสสลาม , (ลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน) คือท่านฮาซันและฮูเซน อะลัยฮิมัสลาม (บรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน) คือท่านหญิงฟาติมะฮ์ อะลัยฮา อัสสลาม

30.ตัฟสีรกัชช๊าฟของซะมัคชะรี : ได้เล่าว่า :

ตอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้เชิญชวนพวกเขา(ชาวคริสต์แห่งเมืองนัจญ์รอน)ให้ทำการสาบานมุบาฮะละฮ์  

พวกเขา(ชาวคริสต์แห่งเมืองนัจญ์รอน) กล่าวว่า :
จนกว่าเราจะกลับไปพิจารณากันก่อน  ต่อมาเมื่อพวกเขาเริ่มหวาดกลัว พวกเขากล่าวกับท่านอากิ๊บซึ่งเป็นกุนซือเจ้าความคิดของพวกเขาว่า  โอ้ท่านอับดุลมาซีหฺ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ?

อากิบกล่าวว่า  :
ขอสานต่ออัลลอฮ์ แน่นอนพวกท่านทราบดี  โอ้ชาวคริสต์ทั้งหลาย  แท้จริงมุฮัมมัดนั้นคือ ศาสดา ผู้ถูกส่งมา  และเขายังได้นำมายังพวกท่านพร้อมคำตัดสินชี้ขาดจากคำสั่งแห่งสหายของพวกเจ้า(คือพระเยซู)  ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า  ไม่เคยมีหมู่ชนใดทำมุบาฮะละฮ์กับศาสดามาก่อน แล้วผู้ใหญ่ของพวกเขาจะมีชีวิตรอดหรือเด็กของพวกเขาจะเติบโต  หากพวกท่านทำ พวกท่านจะต้องพินาศแน่  แต่หากพวกท่านได้ปฏิเสธ เว้นแต่เพื่อสมานศาสนาของพวกท่านไว้ และเพื่อดำรงไว้บนสิ่งที่พวกท่านนับถืออยู่  ดังนั้นพวกท่านจงอำลาชายคนนั้นซะแล้วกลับไปยังบ้านเมืองของพวกท่านเถิด

รุ่งเช้าท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้ออกมา โดยท่างได้อุ้มฮูเซน จูงมือฮาซัน(ทั้งสองคือหลาน) มีท่านหญิงฟาติมะฮ์(บุตรสาว)เดินอยู่ด้านหลังของท่าน และมีท่านอาลี(บุตรเขย)เดินข้างหลังนางอีกที  
ท่านศาสดาได้กล่าว(กับอะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของท่าน)ว่า :
เมื่อฉันทำการวิงวอน(มุบาฮะละฮ์)  ขอให้พวกเจ้าจงกล่าว อามีน  
อุสกุฟ(สังฆราช)แห่งเมืองนัจญ์รอนกล่าวว่า :
โอ้ชาวคริสต์ทั้งหลาย ข้าเห็นบรรดาใบหน้า(ของพวกเขา) มาตรว่าอัลลอฮ์ทรงประสงค์จะบันดาลให้ภูเขาลูกนี้มลายไปจากที่ของมัน  แน่นอนมันจะมลายไปเพราะใบหน้าเหล่านั้น  พวกเจ้าจงอย่าได้ทำมุบาฮะละฮ์ เพราะพวกเจ้าจะต้องพินาศ และจะไม่มีคริสต์เตียนคนใดหลงเหลืออยู่บนผืนแผ่นดินนี้ตลบถึงวันสิ้นโลก  

พวกเขาจึงกล่าวว่า : โอ้ท่านอบุลกอซิม(ฉายาของศาสดามุฮัมมัด) !  พวกเราลงความเห็นว่า จะไม่ทำมุบาฮะละฮ์กับท่านแล้ว เราจะรับรองต่อท่านบนศาสนาของท่าน(ว่าสัจจริง) และเราจะอยู่บนศาสนาของพวกเรา

ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่า  :
เมื่อพวกท่านปฏิเสธไม่ทำมุบาฮะละฮ์ ก็จงเข้ารับอิสลามซิ  จะได้เป็นสำหรับพวกท่านสิ่งที่เป็นสำหรับบรรดามุสลิม และบนพวกท่าน(จะได้มีสิทธิ)สิ่งที่บนพวกเขามี  แต่พวกเขาก็ปฏิเสธ  ท่านนบี(ศ)จึงกล่าวว่า : ฉันจะเปิดศึกกับพวกท่าน

พวกเขากล่าวว่า : พวกเราไม่สามารถสู้รบกับชาวอาหรับได้หรอก แต่เราขอการประนีประนอมกับท่าน บนการที่ท่านอย่าได้ทำสงครามกับเราเลย  และอย่าได้ข่มขู่พวกเรา และอย่าบังคับให้เราต้องออกจากศาสนาของเรา โดยเราจะส่ง(ญิซยะฮ์มา)ให้ท่านทุกปี  เป็นเสื้อคลุมอย่างดีสองพันตัว ในเดือนซอฟัรหนึ่งพันตัวและในเดือนเราะญับอีกหนึ่งพันตัว และเสื้อเกราะเหล็กธรรมดาอีกสามสิบตัว

ท่านศาสดาจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมกับพวกเขาตามนั้น  และกล่าวว่า  ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า  

แท้จริงความหายนะได้ยุติลงแก่ชาวเมืองนัจญ์รอนแล้ว  หากพวกเขาได้ทำมุบาฮะละฮ์  พวกเขาจะต้องถูกสาปเป็นวานรและสุกรอย่างแน่นอน และหุบลูกนี้จะตกลงมาบนพวกเขาเป็นไฟ  อัลลอฮ์จะทรงถอนรากถอนโคนเมืองนัจญ์รอนและชาวเมืองจนพวกนกบินอยู่บนยอดต้นไม้  และจะไม่มีสิ่งใดกีดกั้นต่อพวกนะซอรอเลย จนกระทั่งพวกเขาพินาศ...

จากนั้นท่านซะมัคชะรีกล่าวว่า ►  (อัลลอฮ์ ตะอาลา)ได้ทรงเสนอพวกเขานำหน้าไว้ในคัมภีร์กุรอ่านในฐานะตัวแทน เพื่อเรียกร้องให้เห็นถึงสถานะภาพความสูงส่งของพวกเขา  และเพื่อประกาศว่า พวกเขาคือกลุ่มหัวหน้าต่อตัวตนชีวิตทั้งหลาย พวกเขาคือตัวแทนของชีวิตทั้งหลาย และโองการนี่คือหลักฐานที่บ่งบอกว่า
ไม่มีสิ่งใดจะแข็งแกร่งมากกว่านี้อีกแล้วที่แสดงถึงความประเสริฐของอัศฮาบุลกีซา อะลัยฮิมุสสลาม.



หมายเหตุ   อัศฮาบุลกีซา(ผู้ที่อยู่ภายใต้ผ้าคลุม)มีดังนี้

1.   ศาสดามูฮัมมัด  บุตรอับดุลลอฮ์  บุตรอับดุลมุตตอลิบ
2.   อาลี บุตรอะบูตอลิบ บุตรอับดุลมุตตอลิบ
3.   ฟาติมะฮ์  บุตรีมุฮัมมัด
4.   ฮาซัน  บุตรอาลี
5.   ฮูเซน บุตรอาลี
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2010, 08:32:25 ก่อนเที่ยง
บทที่   2

ปรัชญาแห่งการเป็นศาสดา
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 29, 2010, 02:09:52 หลังเที่ยง
บทที่ 2

ปรัชญาแห่งการเป็นศาสดา


2.1- การเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ

۞  อัลกุรอาน

อัลลอฮ์  ตะอาลา ทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ شَاهِدًا وَمُبَشِّرًا وَنَذِيرًا
وَدَاعِيًا إِلَى اللَّهِ بِإِذْنِهِ وَسِرَاجًا مُنِيرًا

โอ้ นะบีเอ๋ย ! แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นพยาน และผู้แจ้งข่าวดี  และผู้ตักเตือน
และเป็นผู้เรียกร้อง(เชิญชวน)ไปสู่อัลลอฮฺ ตามพระบัญชาของพระองค์  และเป็นดวงประทีปอันแจ่มจรัส    

ซูเราะฮ์ อัลอะหฺซาบ  : 45 - 46


قُلْ هَذِهِ سَبِيلِي أَدْعُو إِلَى اللَّهِ عَلَى بَصِيرَةٍ أَنَا وَمَنِ اتَّبَعَنِي وَسُبْحَانَ اللَّهِ وَمَا أَنَا مِنَ الْمُشْرِكِينَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)  นี่คือแนวทางของฉัน   ฉันจะเรียกร้อง(เชิญชวน)ไปสู่อัลลอฮ์อย่างประจักษ์แจ้ง   ทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮ์ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ตั้งภาคี    

ซูเราะฮ์ ยูซุฟ : 108


ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَنْ ضَلَّ عَنْ سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ

จงเรียกร้อง(เชิญชวน)สู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้า  โดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า  แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง

ซูเราะฮ์อันนะหฺลุ : 125


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا اسْتَجِيبُوا لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمْ لِمَا يُحْيِيكُمْ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ يَحُولُ بَيْنَ الْمَرْءِ وَقَلْبِهِ وَأَنَّهُ إِلَيْهِ تُحْشَرُونَ

บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงตอบรับอัลลอฮฺ และร่อซูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา และแท้จริงยังพระองค์นั้นพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปชุมนุม

ซูเราะฮ์อัลอันฟาล : 24



يَا قَوْمَنَا أَجِيبُوا دَاعِيَ اللَّهِ وَآَمِنُوا بِهِ يَغْفِرْ لَكُمْ مِنْ ذُنُوبِكُمْ وَيُجِرْكُمْ مِنْ عَذَابٍ أَلِيمٍ
وَمَنْ لَا يُجِبْ دَاعِيَ اللَّهِ فَلَيْسَ بِمُعْجِزٍ فِي الْأَرْضِ وَلَيْسَ لَهُ مِنْ دُونِهِ أَوْلِيَاءُ أُولَئِكَ فِي ضَلَالٍ مُبِينٍ

โอ้หมู่ชนของเราเอ๋ย !  จงตอบรับต่อผู้เรียกร้องของอัลลอฮฺเถิด และจงศรัทธาต่อเขา พระองค์จะทรงอภัยโทษจากความผิดของพวกท่านให้แก่พวกท่าน และจะทรงให้พวกท่านรอดพ้นจากการลงโทษอันเจ็บปวด
และผู้ใดที่ไม่ตอบรับผู้เรียกร้องของอัลลอฮฺ เขาจะไม่รอดพ้น (จากการลงโทษ) ในแผ่นดินนี้ และสำหรับเขาจะไม่มีผู้คุ้มครองอื่นจากพระองค์ ชนเหล่านี้อยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง

ซูเราะฮ์ อัลอะหฺกอฟ : 31- 32




۞  อัลหะดีษ


31. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) : ในด้านที่ท่านได้ชื่อว่า อัดดาอี- ผู้เรียกร้องเชิญชวน - : และส่วนอัดดาอี

ดังนั้นแท้จริงข้าพเจ้าขอเชิญชวนมนุษยชาติสู่ศาสนาแห่งองค์ผู้อภิบาลของข้าพเจ้า อัซซะวะญัล


32. อิม่ามอาลี(อ) : ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาคนที่สดับฟังวิทยปัญญาต่างๆแล้วจดจำ  และเขาถูกเชิญชวนสู่ทางนำแล้วเข้าเข้าใกล้ และเขาจับชายผ้าของผู้ชี้นำ แล้วเขารอดปลอดภัย

33. อิม่ามอาลี(อ) : ผู้ที่จ้องมองหัวใจมด(หมายถึงลูกตาดำ) ด้วยมัน เขาจะเห็นแจ้งถึงกำหนดเวลาของเขา และรู้จักความลึกของเขาและพบมัน  ผู้เชิญชวนได้เชิญชวน และผู้ดูแลได้ดูแล ดังนั้นพวกท่านจงตอบรับต่อผู้เชิญชวนเถิด และจงปฏิบัติตามผู้ดูแลเถิด

34. อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า :
พระองค์ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงถูกสักการะ ! ด้วยความดีแห่งการทดสอบของพระองค์ณ.การสร้างของพระองค์   รพองค์ได้สร้างที่พำนักหนึ่งไว้ และทรงดลบันดาลให้ในที่แห่งนั้น เป็นสถานที่เลี้ยงฉลอง ที่ดื่ม ที่กิน ที่ครองคู่  มีผู้รับ ปราสาท แม่น้ำลำธาร เรือกสวน พืชผลไม้  จากนั้นพระองค์ทรงส่งผู้เรียกร้องคนหนึ่งไปเชิญชวนสู่สถานที่แห่งนั้น แต่แล้วพวกเขาไม่ตอบรับผู้เรียกร้อง สิ่งที่เจ้าปรารถนา พวกเขาก็ไม่ปรารถนา  และสิ่งที่เจ้าอยากได้พบพระองค์ พวกเขาก็ไม่อยากพบ  พวกเขากลับหันมาสนใจซากสัตว์ แน่นอนพวกเขาประจานตัวเองด้วยการรัปทานมันและพวกเขาตกลงปรงใจที่จะรักชอบมัน
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ มิถุนายน 30, 2010, 03:43:00 หลังเที่ยง
2.2- การพัฒนาสู่ความสมบูรณ์แห่งการเป็นมนุษย์


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَمَا قَدَرُواْ اللّهَ حَقَّ قَدْرِهِ إِذْ قَالُواْ مَا أَنزَلَ اللّهُ عَلَى بَشَرٍ مِّن شَيْءٍ

และพวกเขา มิได้ให้ความยิ่งใหญ่แก่อัลลอฮ์ตามควรแก่ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ เมื่อพวกเขากล่าวว่า   อัลลอฮฺไม่ได้ทรงประทานสิ่งใดแก่มนุษย์เลย

อัลอันอาม : 91



อัลหะดีษ

35. อิม่ามศอดิก(อ)ได้กล่าวกับซินดีก(คนนอกรีต)ที่ถามท่านว่า : ท่านเอาอะไรมาพิสูจน์หลักฐานเรื่องบรรดานะบีและรอซูล ?  

อิม่ามศอดิก(อ)ตอบว่า : แท้จริงเราเมื่อได้พิสูจน์ไปแล้วว่า สำหรับตัวพวกเรานั้น มีผู้สร้าง ผู้ประดิษฐ์ ผู้สูงส่งกว่าเราและ(สูงส่ง)เหนือสรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้างมา  และปรากฏว่าผู้สร้างนั้นเป็นผู้ทรงวิทยปัญญา ผู้ทรงสูงส่ง  ไม่เคยอนุญาตที่มัคลู๊ก(สิ่งถูกสร้าง)ของพระองค์(คือมนุษย์)จะมองเห็นพระองค์(ได้ด้วยตาเปล่า)  และพวกเขาไม่อาจสัมผัสจับต้องพระองค์ได้ แล้วพระองค์จะไปหาพวกเขาโดยตรงหรือเขาจะเข้าเฝ้าพระองค์โดยตรง  และพระองค์จะโต้แย้งกับพวกเขาและพวกเขาจะโต้แย้งกับพระองค์ได้  ได้พิสูจน์แล้วว่า พระองค์นั้นมีตัวแทน(สุฟะรออ์)ไว้ใน(หมู่มนุษย์)มัคลู๊กของพระองค์  พวกเขาจะสาธยายเกี่ยวกับพระองค์แก่มัคลู๊กและปวงบ่าวของพระองค์  พวกเขา(ตัวแทน)จะบอกพวกเขา(มนุษย์)ถึงสิ่งที่เป็นคุณและประโยชน์ต่างๆของพวกเขา และสิ่งที่อยู่กับพระองค์ พวกเขาจะคงอยู่ และในสิ่งที่ทอดทิ้งพระองค์ พวกเขาจะมลายดับสูญ
   ดังนั้นบรรดาผู้สั่ง(ให้ทำดี)และผู้ห้าม(ไม่ให้ทำไม่ดี)ได้พิสูจน์ถึงผู้ทรงวิทยปัญญา ผู้ทรงรอบรู้ในการสร้างของพระองค์ และบรรดาผู้สาธยายถึงพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งและผู้กิตติคุณ  และพวกเขาคือบรรดาศาสดา (อ)และผู้ได้รับการคัดเลือกของพระองค์จากมัคลู๊กของพระองค์  (บรรดานบี)คือผู้มีวิทยญาณ ผู้ได้รับการฝึกฝนอบรมมาด้วยความฉลาดรอบรู้  พวกเขาถูกส่งมาพร้อมสิ่งนั้น  ส่วนนอกเหนือจากนี้ พวกเขามีส่วนร่วมกับมนุษย์ (คือบรรดานะบีมีส่วนร่วมกับมนุษย์ทั่วไปในการสร้างและส่วนประกอบ)     ในสิ่งจากสภาพทั่วไปของมนุษย์ บรรดานะบีได้รับสนับสนุนจากพระผู้ทรงวิทยปัญญา ผู้ทรงรอบรู้ต่อฮิกมะฮ์


36.อิม่ามริฎอ(อ) - กล่าวเรื่องสาเหตุที่จำเป็นต้องทำความรู้จักบรรดาศาสดาและให้การยอมรับต่อพวกเขา  และยอมนอบน้อมต่อพวกเขาด้วยการเชื่อฟังปฏิบัติตาม -:


เมื่อยังไม่เป็นที่เพียงพอในการสร้างพวกเขาและทำให้พวพเขาเข้มแข็ง สิ่งพวกเขาจะมั่นคงต่อพระองค์สำหรับการเข้าหาโดยตรงต่อผู้สร้าง ผู้ทรงสูงส่ง เพื่อจะทรงตรัสกับพวกเขาและสนทนากับพวกเขา และปรากฏว่า ผู้สร้างเป็นผู้ที่สูงส่งเกินกว่าจะมองเห็นได้ และเป็นเพราะความอ่อนแอและไร้ความสามารถของพวกเขาที่จะเข้าถึงพระองค์ได้อย่างเปิดเผย  พระองค์ไม่เคยมีรูปบูชาไว้สำหรับพวกเขาจากศาสดา ระหว่างพระองค์กับพวกเขา มีผู้บริสุทธิ์จะปฏิบัติหน้าที่ต่อพวกเขา ด้วยคำสั่งใช้ คำสั่งห้ามและการอบรมของพระองค์ และจะทำให้พวกเขาตั้งอยู่บนสิ่งที่จะนำคุณประโยชน์ต่างๆมาและขจัดอันตรายต่างๆออกไปด้วยพระองค์  เพราะไม่เคยมีอยู่ในการสร้างพวกเขาสิ่งที่พวกเขารู้จัก สิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องพึ่งพระองค์ ทั้งเรื่องคุณและโทษของพวกเขา
   ดังนั้นถ้าหากการมะอ์ริฟัต(รู้จักพระเจ้า)และการตออัต(เชื่อฟัง)ต่อพระองค์ไม่ได้เป็นวาญิบ(สิ่งจำเป็น)สำหรับพวกเขาแล้วละก้อ  การมาของศาสดาสำหรับพวกเขาคงไม่มีประโยชน์อันใด และไม่ต้องปิดความต้องการ  และแน่นอนการมาของศาสดาจะเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่มีประโยชน์และผลดีใดๆ และนี่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากพระคุณลักษณะของพระผู้ทรงวิทยปัญญาที่ทำให้ทุกสรรพสิ่งมีความมั่นคง
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 05, 2010, 10:03:30 ก่อนเที่ยง
2.3- นำความขัดแย้งออก(ไปจากหมู่มนุษย์)


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

كَانَ النَّاسُ أُمَّةً وَاحِدَةً فَبَعَثَ اللَّهُ النَّبِيِّينَ مُبَشِّرِينَ وَمُنْذِرِينَ وَأَنْزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ لِيَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ فِيمَا اخْتَلَفُوا فِيهِ وَمَا اخْتَلَفَ فِيهِ إِلَّا الَّذِينَ أُوتُوهُ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَتْهُمُ الْبَيِّنَاتُ بَغْيًا بَيْنَهُمْ فَهَدَى اللَّهُ الَّذِينَ آَمَنُوا لِمَا اخْتَلَفُوا فِيهِ مِنَ الْحَقِّ بِإِذْنِهِ وَاللَّهُ يَهْدِي مَنْ يَشَاءُ إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ

เดิมมนุษย์นั้นเคยเป็นประชาชาติเดียวกัน ภายหลังอัลลอฮ์ได้ส่งบรรดานะบีมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดีและผู้ตักเตือน และได้ทรงประทานคัมภีร์อันกอปรไปด้วยความจริงลงมากับพวกเขาด้วยเพื่อว่าคัมภีร์นั้นจะได้ตัดสินระหว่างมนุษย์ในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน และไม่มีใครที่ขัดแย้งในคัมภีร์นั้น นอกจากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นมา หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดเแจ้งได้มายังพวกเขาเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะความอิจฉาริษยาในระหว่างพวกเขา  แล้วอัลลอฮ์ก็ทรงแนะนำแก่บรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งความจริงที่พวกเขาขัดแย้งกันด้วยอนุมัติของพระองค์  และอัลลอฮ์นั้นทรงแนะนำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ไปสู่ทางอันเที่ยงตรง
ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์  : 213


وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنْتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُمْ بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنْتُمْ عَلَى شَفَا حُفْرَةٍ مِنَ النَّارِ فَأَنْقَذَكُمْ مِنْهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آَيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ

และพวกเจ้าจงยึดมั่นต่อสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกัน ด้วยความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหล่ะ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระองค์ เพื่อว่าเพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง
ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน  : 103


وَمَا أَنزَلْنَا عَلَيْكَ الْكِتَابَ إِلاَّ لِتُبَيِّنَ لَهُمُ الَّذِي اخْتَلَفُواْ فِيهِ وَهُدًى وَرَحْمَةً لِّقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ

และเรามิได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้า เพื่ออื่นใด  เว้นแต่เพื่อให้เจ้าชี้แจง  ให้แจ่มแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน  และเพื่อเป็นการชี้แนวทางและเป็นความเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา
ซูเราะฮ์อันนะห์ลุ : 64


อัลหะดีษ

37. อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า :

พวกเจ้าจงมองดูสถานที่ต่างๆแห่งนิอ์มัตของอัลลอฮ์ที่ประทานแก่พวกเขาเถิด  ขณะที่ทรงส่งรอซูลคนหนึ่งมายังพวกเขา แล้วรอซูลนั้นได้ผูกแนวทางของเขาด้วยการเชื่อฟังของพวกเขา  และได้รวบรวมบนการเรียกร้องของเขาให้พวกเขามีความสมานฉันท์กัน  แล้วความเมตตานั้นได้แพร่กระจายไปบนพวกเขาด้วยปีกแห่งความมีเกียรติของมันอย่างไร  และได้รินหลั่งแก่พวกเขาซึ่งลำธารแห่งความเมตตาของมัน  และแนวทางนั้นได้ม้วนกับพวกเขาไว้ในขนบธรรมเนียมแห่งความจำเริญของมัน แล้วพวกเขาก็จมอยู่ในความโปรดปรานต่างๆของมัน
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 05, 2010, 10:12:46 ก่อนเที่ยง
2.4- อิสระ

อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ

และจะปลดเปลื้อยงออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา
ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟ : 157

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ فَمِنْهُمْ مَنْ هَدَى اللَّهُ وَمِنْهُمْ مَنْ حَقَّتْ عَلَيْهِ الضَّلَالَةُ فَسِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانْظُرُوا كَيْفَ كَانَ عَاقِبَةُ الْمُكَذِّبِينَ

และโดยแน่นอน เราได้ส่งร่อซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) " พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด " ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮ์ทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขา ฉะนั้นพวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่า บั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด

ซูเราะฮ์อันนะหฺลุ  : 36

وَالَّذِينَ اجْتَنَبُوا الطَّاغُوتَ أَنْ يَعْبُدُوهَا وَأَنَابُوا إِلَى اللَّهِ لَهُمُ الْبُشْرَى فَبَشِّرْ عِبَادِ

และบรรดาผู้ที่หลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ดเพื่อที่จะไม่สักการะบูชามัน และหันไปจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ สำหรับพวกเขานั้นมีข่าวดี  ดังนั้นเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้า

ซูเราะฮ์อัซซุมัร  : 17


อัลหะดีษ

38. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  :

จากสารของท่าน(ศ)ที่ส่งไปยังชาวเมืองนัจญ์รอน (มีใจความว่า) :

ด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของอับราฮัม,อิสฮากและจาคอบ(ยะอ์กูบ)

จากมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺถึงท่านสังฆราชอุสกุฟแห่งเมืองนัจญ์รอนและชาวเมืองนัจญ์รอน  หากพวกท่านเข้ารับอิสลาม ข้าพเจ้าจะขอสรรเสริญขอบคุณอัลลอฮ์ยังพวกท่าน พระองค์คือพระเจ้าของอับราฮัม,อิสฮากและจาคอบ อัมมาบะอ์ดุ แท้จริงข้าพเจ้าขอเชิญชวนพวกท่านสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ แทนการสักการะมนุษย์ และขอเชิญชวนพวกท่านเข้าสู่อำนาจการปกครองของอัลลอฮฺแทนอำนาจการปกครองของมนุษย์

39.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮฺทรงส่งฉันมาต่อสู้กับกษัตริย์ทั้งหลายแห่งโลกดุนยา และนำอำนาจปกครองนั้นกลับคืนมาสู่พวกท่าน ดังนั้นขอให้พวกท่านจงตอบรับฉันยังสิ่งที่ฉันเชิญชวนพวกท่านไปสู่พระองค์  ด้วยอำนาจนั้นพวกท่านจะปกครองชาวอาหรับ และด้วยอำนาจนั้นพวกอาญั่ม(ไม่ใช่อาหรับ)จะถือศาสนาตามพวกท่าน แล้วพวกท่านจะเป็นราชาในสรวงสวรรค์

40. เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้นำครอบครัวที่ใกล้ชิดของท่านมารวมกัน ในตอนแรกที่เริ่มเรียกร้องเชิญชวน(ผู้คนสู่อัลอิสลามที่เมืองมักกะฮ์) และท่านได้อธิบายสัญญาณการเป็นศาสดาแก่พวกเขา- : ว่า โอ้ลูกหลานของอับดุลมุตต่อลิบเอ๋ย !  แท้จริงอัลลอฮฺทรงส่งฉันมายังมนุษยชาติทั้งมวล และทรงส่งฉันมายังพวกท่านโดยเฉพาะ  
ดังนั้นอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลทรงตรัสว่า

( وَأَنْذِرْ عَشِيْرَتَكَ الْأَقْرَبِيْنَ - และเจ้าจงตักเตือนเครือญาติสนิทของเจ้า)

ซูเราะฮ์อัชชุอะรอ : 214

ฉันขอเชิญชวนพวกท่านไปสู่สองถ้อยคำเบาๆบนลิ้น แต่หนักอึ้งบนตราชั่งมีซาน  ด้วยสองคำนี้พวกท่านจะปกครองชาวอาหรับและอาญั่ม  และด้วยสองคำนี้ประชาชาติทั้งหลายจะยอมศิโรราบต่อพวกท่าน  และพวกท่านจะได้เข้าสวรรค์เพราะสองคำนี้  และพวกท่านจะรอดพ้นจากไฟนรกเพราะสองคำนี้ นั่นคือคำปฏิญาณว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ

41. หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ :

เมื่อชาวกุเรชได้เห็นการประกาศอิสลามปรากฏ ชาวมุสลิมนั่งอยู่รายลอบอัลกะอ์บะฮ์ ในมือของพวกเขาก็ตกลงแล้วพวกเขาได้เดินไปหาท่านอบูตอลิบ...  พวกเขากล่าวว่า ท่านจงส่งคนไปหาเขา(ศ) แล้วเราจะมอบให้เขาครึ่งหนึ่ง  ท่านอบูตอลิบจึงส่งคนไปหาเขา(ศ) แล้วท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้มาหา(ลุง) ท่านอบูตอลิบกล่าวว่า  โอ้บุตรของน้องชายฉัน  พวกเขาเหล่านี้คือลุงของเจ้าและบรรดาคนมีเกียรติแห่งหมู่ชนของเจ้า  และพวกเขาต้องให้ความเป็นธรรมต่อเจ้า  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า พวกท่านจงว่ามา ฉันจะฟัง
พวกเขากล่าวว่า  ท่านจงเลิกยุ่งกับบรรดาพระเจ้าของพวกเรา และเราจะเลิกยุ่งกับพระเจ้าของท่าน...
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า  พวกท่านจะเห็นเช่นไร หากฉันให้ท่านตามนี้  แล้วพวกท่านจะเป็นผู้มอบถ้อยคำหรือไม่  หากพวกท่านกล่าวถ้อยคำนั้น  พวกท่านจะได้ปกครองชาวอาหรับด้วยถ้อยคำนั้น  และพวกอาญั่มก็จะถือศาสนาตามพวกท่านเพราะถ้อยคำนั้น ?

อบูญะฮัลกล่าวว่า  แท้จริงถ้อยคำที่ว่านี้ ช่างเป็นถ้อยคำที่มีกำไรยิ่ง ใช่แล้ว ขอสาบานต่อบิดาเจ้า  พวกเราจะต้องกล่าวมันอย่างแน่นอน และเป็นสิบๆเท่าของมัน
ท่าน(ศ)กล่าวว่า : ขอให้พวกท่านจงกล่าวว่า  " ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น " พวกเขาตัวสั่นและถอยห่างจากมัน พวกเขาโกรธและลุกเดินจากไป
42.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)พำนักอยู่ที่เมืองมักกะฮฺสามปีนับจากเริ่มประกาศการเป็นศาสดาของท่านอย่างเงียบๆ จากนั้นท่านได้ประกาศอย่างเปิดเผยในปีที่สี่  ท่านได้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนเข้าสู่อิสลามสิบปี...  จนกระทั่งท่านได้ข้อร้องจากเผ่าและชุมชนเคหะต่างๆ ทีละเผ่าๆ และท่านกล่าวว่า  โอ้ท่านทั้งหลาย ! จงกล่าวว่า  ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ แล้วพวกท่านจะประสบความสำเร็จ พวกท่านจะปกครองชาวอาหรับด้วยถ้อยคำนี้  และพวกอาญั่มจะนอบน้อมต่อพวกท่าน  และเมื่อพวกท่านได้ศรัทธาแล้ว พวกท่านจะเป็นราชาในสรวงสวรรค์  ขณะนั้นอบูละฮับอยู่ข้างหลังท่าน(ศ) เขากล่าวว่า :  พวกท่านอย่าไปเชื่อเขา เพราะเขาเป็นคนนอกศาสนา คนโกหก
43.อิม่ามอาลี(อ) : อัลลอฮฺทรงส่งมุฮัมมัด(ศ)มาพร้อมสัจธรรม เพื่อนำปวงบ่าวของพระองค์ออกจากการสักการะเจว็ดทั้งหลายไปสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์  และจากการเชื่อฟังซาตานไปสู่การเชื่อฟังพระองค์  ด้วยคัมภีร์อัลกุรอาน แน่นอนท่านได้อธิบายมันและให้ความกระจ่างแก่มัน เพื่อให้ปวงบ่าวรู้จักพระผู้อภิบาลของเขา ในขณะที่พวกเขาไม่เคยรู้จักพระองค์  และเพื่อให้พวกเขายอมรับพระองค์หลังจากที่เคยดื้อดึงต่อพระองค์ และเพื่อให้พวกเขายืนยันพระองค์หลังจากที่พวกเขาเคยปฏิเสธพระองค์  

44.อิม่ามอาลี(อ) กล่าวว่า :

อัลลอฮฺ ตะบาร่อกะ วะตะอาลาทรงส่งมุฮัมมัด(ศ)มาพร้อมสัจธรรม เพื่อนำปวงบ่าวของพระองค์ออกจากการสักการะปวงบ่าวของพระองค์ไปสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์ และจากสัญญาของปวงบ่าวของพระองค์ไปสู่สัญญาของพระองค์  และจากการเชื่อฟังปวงบ่าวของพระองค์ไปสู่การเชื่อฟังพระองค์
และจากการปกครองของปวงบ่าวของพระองค์ไปสู่อำนาจการปกครองของพระองค์  

45.อิม่ามบาเก็ร(อ) –
ในสารของท่านที่ส่งไปยังกษัตริย์แห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์บางคน - :

และจากสิ่งนั้น การทำญิฮ๊าด(การต่อสู้เสียสละในหนทางของอัลลอฮฺ) จึงถูกทำลายลง ซึ่งอัลลอฮ์ทรงยกย่องมันเหนือกว่าการงานทั้งหลาย... ทรงกำหนดบนพวกเขาไว้ในการญิฮ๊าดซึ่งการรักษาขอบเขตที่กำหนด   และสิ่งแรกนั้นคือ การเรียกร้องเชิญชวนไปสู่การเชื่อฟังอัลลอฮฺ อัซซะวะญัล แทนการเชื่อฟังปวงบ่าว  และไปสู่การเคารพภักดีอัลลอฮฺแทนการสักการะปวงบ่าว  และไปสู่อำนาจการปกครองของอัลลอฮฺ แทนการปกครองของปวงบ่าว
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 05, 2010, 10:14:27 ก่อนเที่ยง
ความอิสระในสถาบันของบรรดาศาสดา

นับได้ว่า ความอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์หรือความเดือดร้อนต่างๆ คือ สิ่งที่มนุษย์รู้สึกโหยหามัน ทั้งหมดเท่าที่เขายังอยู่ และนี่คือรากฐาน แม้ว่ามันเคยผูกติดในมิติหนึ่งจากมิติต่างๆของมันควบคู่อยู่กับรากฐานของความยุติธรรม แต่มันก็ถูกนับเป็นอีกมิติหนึ่ง นั่นคือกฎที่อยู่ภายใต้มิติแรกอย่างเป็นเอกเทศน์ ซึ่งไม่อาจจะทำให้เป็นจริงได้หากปราศจากมัน(ความอิสระ) แม้กระทั่งต่อความยุติธรรมในสังคม
และไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม... แท้จริงความต้องการนี้คือรากฐานของมนุษย์ ที่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลในลักษณะที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ในแนวทางของบรรดาศาสดา และมันถูกขานรับ

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวด้วยนัยยะที่ว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้รับสารมาจากพระเจ้า ด้วยเป้าหมายที่ว่า  :

وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ

และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา  

ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟ : 157


โซ่ตรวนล่ามเชลย

   ต่อมามีบ่วงโซ่สองเส้นที่ล่ามความอิสระของมนุษย์ไว้  และเขาจึงถูกทำลายพื้นฐานรองรับของเขาที่มีอยู่และความสามารถที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกใส่ไว้ในตัวเขา  บ่วงโซ่เหล่านี้ มันจะกั้นกลางระหว่างมนุษย์กับการเคลื่อนไหวของเขาไปสู่ความเจริญตามที่คิด ยิ่งกว่านั้นมันยังดึงมนุษย์ให้ตกต่ำ  เสื่อมโทรมและถูกดูหมิ่น

   บ่วงโซ่สองเส้นนี้ อันหนึ่งอยู่ด้านใน อีกอันหนึ่งอยู่ด้านนอก

บ่วงด้านใน → แสดงออกมาด้วยฮาวานัฟซ์ คืออารมณ์ใฝ่ต่ำและการเอนเอียงไปในทางเรื่องที่ดื้อดึงพยศ ซึ่งมันล่ามความต้องการของมนุษย์ไว้ภายในและปิดล้อมความเป็นตัวตนนี้ (ซึ่งเขาในรากเดิมคือวิหกที่มาจากสวนแห่งอาณาจักรมะละกูต) ตกเป็นเชลยของความต้องการแห่งสัตว์เดรัจฉาน จนทำให้เขาเป็นผู้พร้อมจะที่พอใจต่อบ่วงโซ่ภายนอก
 
มันไม่ใช่เรื่องน่าให้อภัยในสิ่งที่พวกฉกฉวยผลประโยชน์จากผู้อื่นที่ก่อมันไว้ เพื่อสร้างความเสียหายแก่ฝูงชนและล่ามพวกเขาไว้  เพราะพวกมันกำลังปฏิบัติภาระกิจแรกคือการล่ามโซ่ด้านในก่อน ดังนั้นพวกมันจะยึดครองมนุษย์ในขั้นแรกคือความเป็นตัวตนและอิสระของเขาทางด้านใน ด้วยวิธีการจัดตั้งสำนักงาน  เล่นตลก และสื่อล่อลวงส่งเสริมต่างๆ ชักนำไปสู่สิ่งนั้นบนขอบข่ายที่กว้างขวาง  เพราะฉะนั้นเมื่อจบสิ้นแล้วสำหรับพวกเขา นั่นก็จะสะดวกแก่พวกเขาที่จะล่ามความเป็นอิสระของมนุษย์ทางด้านนอกไว้อย่างง่ายดาย  ยิ่งกว่านั้น แท้จริงมนุษย์(ในสภาพที่เขาตกอยู่ในหลุมเชลยทั้งด้านในและด้านนอก) บางครั้งเขาก็รู้สึกบ้างว่า เขานั้นกำลังสนุกอยู่กับอิสระที่สมบูรณ์

   แต่ว่าแท้จริงสิ่งที่เกิดขึ้นในแนวทางของบรรดาศาสดาแห่งอัลลอฮฺ  สำหรับการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลและสังคมอันอิสระและขานรับความต้องการสู่เสรีภาพ....

ดังที่ท่านอาลี(อ)กล่าวว่า

لاَ يَسْتَرِقَنَّكَ الطَّمْعُ وَقَدْ جَعَلَكَ حُرّاً

อย่าให้ความโลภล่อลวงขโมยท่านได้เด็ดขาด และแน่นอนพระองค์ทรงให้ท่านมีอิสระ

لَيْسَ مَنِ ابْتَاعَ نَفْسَهُ فَأعتَقَهَا كَمَنْ بَاعَ نَفْسَهُ فَأَوْبَقَهَا

ไม่ใช่ผู้ที่ซื้อตัวเองแล้วจะปล่อยมันเป็นอิสระได้ จะเหมือนผู้ที่ขายตัวเองแล้วทำลายตัวเอง

مَنْ تَرَكَ الشَّهَوَاتِ كَانَ حُرًّا

ผู้ใดละทิ้งตัญหาต่างๆได้ เขาผู้นั่นคือคนมีอิสระ
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 05, 2010, 10:44:47 ก่อนเที่ยง
อิสระทางความคิด

บรรดาศาสดาในนามตัวแทนของพระเจ้าที่ถูกส่งมาเผยหลักธรรมแก่มนุษย์

พวกเขาได้ทำลายโซ่ตรวนเหล่านั้น  พวกเขาปล่อยให้มนุษย์มีเสรีภาพทางความคิด  และพวกเขายังได้นำขุมคลังทางปัญญาในตัวมนุษย์ออกมา หลังจากที่มันเคยถูกฝังไว้ในก้นบึ้งแห่งกิเลสตัญหาราคะทั้งหลาย

ท่านอิม่ามอาลี(อ)ได้กล่าวถึงเป้าหมายของการส่งศาสดาทั้งหลายมายังชาวโลกว่า :

يُثِيْرُوْا لَهُمْ دَفَائِنَ الْعُقُوْلِ

พวกเขา(บรรดาศาสดา) จะกระตุ้นสุสานของปัญญา ให้กับมนุษย์(ฟื้นขึ้นมา)

ตราบใดที่สติปัญญามนุษย์ยังถูกล่ามด้วยกิเลสตัญหา  ความคิดของเขาก็ตกเป็นเชลยต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำ

คบไฟแห่งความคิดที่ลุกโชนก็ถูกนำไปเก็บไว้ภายใต้ม่านแห่งบูชาอัตตา วัตถุและการนับถือตัวตน(ของตัวเอง)...

ฉะนั้นมันจะไม่ก่อเกิดสิ่งใดสำหรับความคิดและความรู้ นอกจากร่องรอยของคนอ่อนแอ คนไม่เข้มแข็งในการปลดปล่อยมนุษย์เป็นอิสระและการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์

ท่านอิม่ามอาลี(อ)ได้กล่าวในประเด็นนี้ว่า :

حَرَامٌ عَلَي كُلِّ عَقْلٍ مَغْلُوْلٍ بِالشَّهْوَةِ أَن يَنْتَفِعَ بِالْحِكْمَةِ

เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับปัญญาทั้งหลายที่ถูกล่ามด้วยบ่วงกิเลส ที่จะได้รับคุณต่อวิทยปัญญา

สิ่งต้องห้ามที่ท่านอิม่ามอาลี(อ)กล่าวถึงมันนั้น คือสิ่งต้องห้ามทางธรรมชาติ เปรียบเสมือนร่างกายของคนป่วย ย่อมไม่รู้สึกเอร็ดอร่อยกับอาหารรสเด็ด  และสำหรับอาหารดีนั้นก็จะไม่ไปกระตุ้นอันใดต่อเขาอีกด้วย

ยกเว้นเขาจะได้รับการรักษาให้ร่างกายหายดีเสียก่อน..  เพราะแท้จริงวิญญาณมนุษย์จะมีอุปสรรคปัญหากับชะฮ์วัต(กิเลส) อันจะได้รับคุณประโยชน์ต่อฮิกมัต (วิทยญาณที่มันเป็นอาหารทางจิตวิญญาณ) ตราบใดที่ยังไม่ได้บำบัดโรคของมันให้หายดีเสียก่อน

เมื่อได้มีการนำไปบำบัดรักษาโรคทางจิตวิญญาณ และทำลายโซ่ตรวนทางความคิดและขจัดม่านที่ปกคลุมความคิดออกไปแล้ว   แสงสว่างแห่งปัญญาก็จะลุกโชนขึ้น แล้วจะมุ่งสู่เส้นทางแห่งความก้าวหน้าของมนุษย์ ไม่ใช่ความลุ่มหลงแบบบูชา

ในเรื่องนี้ท่านอิม่ามอาลี(อ)ได้กล่าวว่า :
 
مَنْ غَلَبَ شَهْوَتَهُ ظَهَرَ عَقْلُهُ

ผู้ใดเอาชนะชะฮ์วัต(กิเลส)ของเขาได้  สติปัญญาของเขาจะปรากฏออกมา


เกี่ยวกับเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอานได้วางศาสตร์แห่งระบอบการปกครองของศาสดาไว้ด้วยรูปแบบดังนี้

اللّهُ وَلِيُّ الَّذِينَ آمَنُواْ يُخْرِجُهُم مِّنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّوُرِ


อัลลอฮฺคือผู้คุ้มครองช่วยเหลือบรรดาผู้มีศรัทธา  โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ : 257


ส่วนในระบอบการปกครองของพวกตอฆูต(พวกทรราชย์ที่ชอบตั้งตนเป็นพระเจ้าให้ผู้คนกราบไว้เคารพบูชา)นั้นเรื่องนี้ปรากฏแบบตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

เพราะโปรแกรมต่างๆนั้นได้ถูกจัดไว้ในระบอบต่างๆเหล่านี้ โดยชักนำไปสู่การครอบงำความต้องการทางอารมณ์ใฝ่ต่ำแบบสัตว์เดรัจฉานต่อมนุษย์  จนกระทั่งความต้องการต่างๆนี้เปลี่ยนสภาพไปสู่ม่านปกคลุมการรู้แจ้งและการใช้ความคิดของมนุษย์  

ดังนั้นสัจธรรมความจริงก็จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกคลุมเอาไว้หลังม่าน(มองไม่เห็น)

นั่นเป็นเพราะระบอบการปกครองต่างๆเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นระบอบคอมมิวนิสต์,ลัทธิเสรีนิยม(liberalism)และสมบูรณาญาสิทธิราช  

อันที่จริงมัน....ด้วยความโง่เขลาของมนุษย์ และเมื่อที่ความทรงจำนี้แพร่กระจายออกไป การมีอยู่ของเขาก็จะค่อยๆเสื่อมโทรมลง  

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า

وَالَّذِينَ كَفَرُواْ أَوْلِيَآؤُهُمُ الطَّاغُوتُ يُخْرِجُونَهُم مِّنَ النُّورِ إِلَى الظُّلُمَاتِ

และบรรดาผู้ไม่ศรัทธา บรรดาผู้คุ้มครองช่วยเหลือพวกเขาคือ อัต-ตอฆูต พวกมันจะนำพวกเขาออกจากแสงสว่างไปสู่ความมืด

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ : 257
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:04:21 ก่อนเที่ยง
2.5- แสงสว่างและทางนำ


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

يَهْدِي بِهِ اللَّهُ مَنِ اتَّبَعَ رِضْوَانَهُ سُبُلَ السَّلَامِ وَيُخْرِجُهُمْ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ بِإِذْنِهِ وَيَهْدِيهِمْ إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ

ด้วยคัมภีร์นั้นแหล่ะ อัลลอฮ์จะทรงแนะนำผู้ที่ปฏิบัติตามความพึงพระทัยของพระองค์ซึ่งบรรดาทางแห่งความปลอดภัย   และจะทรงให้พวกเขาออกจากความมืดไปสู่แสงสว่างด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ และจะทรงแนะนำพวกเขาสู่ทางอันเที่ยงตรง

อัลมาอิดะฮฺ :16

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا مُوسَى بِآَيَاتِنَا أَنْ أَخْرِجْ قَوْمَكَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ اللَّهِ إِنَّ فِي ذَلِكَ لَآَيَاتٍ لِكُلِّ صَبَّارٍ شَكُورٍ
และโดยแน่นอน เราได้ส่งมูซาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเราว่า "จงนำกลุ่มชนของเจ้าออกจากความมืดมนทั้งหลายสู่ความสว่าง และจงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวัน (แห่งความโปรดปราน) ของอัลลอฮฺ" แท้จริงในการนั้นย่อมเป็นสัญญาณแก่ผู้อดทนผู้ขอบคุณทุกคน

อิบรอฮีม :5

الر كِتَابٌ أَنْزَلْنَاهُ إِلَيْكَ لِتُخْرِجَ النَّاسَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ بِإِذْنِ رَبِّهِمْ إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

อะลิฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า เพื่อให้เจ้านำมนุษย์ออกจากความมืดมนทั้งหลาย   สู่ความสว่าง   ด้วยอนุมัติของพระเจ้าของพวกเขา สู่ทางของพระผู้เดชานุภาพ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ

อิบรอฮีม :1


อัลหะดีษ

46. อิม่ามอาลี(อ) – อธิบายลักษณะของท่านนบี(ศ) - :

اختاره من شجرة الأنبياء ، ومشكاة الضياء ، وذؤابة العلياء ، وسرة البطحاء ، ومصابيح الظلمة ، وينابيع الحكمة

(อัลลอฮฺ)ทรงคัดเลือกเขามาจาก  ต้นไม้แห่งบรรดาศาสดา  คือตะเกียงไฟแสงจ้า สูงส่งกว่าบรรดาผู้สูงศักดิ์ทั้งหลาย ความปิตติแห่งชาวบัฏฮาอ์     โคมไฟส่องความมืด  ต้นกำเนิดแห่งฮิกมัต  
   
47.อิม่ามอาลี(อ) – อธิบายลักษณะของอิสลาม - :

فِيهِ مَرَابِيعُ اَلنِّعَمِ وَ مَصَابِيحُ اَلظُّلَمِ لاَ تُفْتَحُ اَلْخَيْرَاتُ إِلاَّ مَفَاتِيحِهِ وَ لاَ تُكْشَفُ اَلظُّلُمَاتُ إِلاَّ بِمَصَابِحِهِ

ในอิสลามคือ ปฐมแห่งนิอฺมัตต่างๆ  โคมไฟส่องความมืด  ความดีงามต่างๆจะเปิดออกไม่ได้ นอกจากด้วยกุญแจต่างๆของมัน ความมืดมนต่างๆจะไม่ถูกขจัดออก นอกจากด้วยโคมไฟต่างๆของมัน    
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:10:13 ก่อนเที่ยง
2.6- การสอนคัมภีร์และวิทยปัญญา


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آَيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَإِنْ كَانُوا مِنْ قَبْلُ لَفِي ضَلَالٍ مُبِينٍ

พระองค์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งร่อซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเองเพื่อสาธยายอายาตต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา และทรงทำให้พวกเขาผุดผ่อง และทรงสอนคัมภีร์และความสุขุมคัมภีร์ภาพแก่พวกเขา และแม้ว่าแต่ก่อนนี้พวกเขาอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้งก็ตาม

อัลญุมุอะฮฺ :  2

رَبَّنَا وَابْعَثْ فِيهِمْ رَسُولًا مِنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آَيَاتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيهِمْ إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดส่งร่อซูลคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเองไปในหมู่พวกเขา ซึ่งเขาจะได้อ่านบรรดาโองการของพระองค์ให้พวกเขาฟัง และจะได้สอนคัมภีร์ และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติให้พวกเขาทราบ และซักฟอกพวกเขาให้สะอาด แท้จริงพระองค์ทรงไว้ซึ่งเดชานุภาพและปรีชาญาณ

อัลบะเกาะเราะฮฺ :129



อัลหะดีษ

48 .อิม่ามอาลี(อ) กล่าวว่า :

อัลลอฮฺทรงส่งบรรดารอซูลของพระองค์มายังญินและมนุษย์  เพื่อเปิดเผยสิ่งปกปิดของมันออกไปจากพวกเขา  เพื่อเตือนพวกเขาให้ระวังจากอันตรายของมัน เพื่อยกอุทาหรณ์ต่างๆแก่พวกเขา เพื่อทำให้พวกเขามองเห็นความบกพร่องของมัน และเพื่อจู่โจมพวกเขาด้วยถือว่ามาจากการใช้สุภาพดีและความโรคภัยของมัน  สิ่งฮะล้าลและสิ่งฮะร่ามของมัน  และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แก่บรรดาผู้เชื่อฟังจากพวกเขาและพวกไม่เชื่อฟัง  จากสวรรค์และไฟนรก  เกียรติและความอัปยศ  

49.อิม่ามกาซิม(อ) กล่าวว่า :

مَا بَعَثَ اللَّهُ أَنْبِيَاءَهُ وَ رُسُلَهُ إِلَى عِبَادِهِ إِلَّا لِيَعْقِلُوا عَنِ اللَّهِ فَأَحْسَنُهُمُ اسْتِجَابَةً أَحْسَنُهُمْ مَعْرِفَةً وَ أَعْلَمُهُمْ بِأَمْرِ اللَّهِ أَحْسَنُهُمْ عَقْلًا وَ أَكْمَلُهُمْ عَقْلًا أَرْفَعُهُمْ دَرَجَةً فِي الدُّنْيَا وَ الْآخِرَةِ

อัลลอฮฺไม่เคยส่งบรรดานบีและรอซูลของพระองค์ไปยังปวงบ่าวของพระองค์เพื่อกิจอื่นใด   นอกจากเพื่อให้พวกเขาใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญถึงอัลลอฮฺ  ดังนั้นผู้ตอบรับดีที่สุดของพวกเขา คือผู้เข้าใจดีที่สุดของพวกเขา  ผู้รู้ถึงพระบัญชาของอัลลอฮฺมากที่สุด คือผู้ที่มีปัญญาดีที่สุดของพวกเขา  และผู้มีปัญญาสมบูรณ์ที่สุดของพวกเขา คือผู้มีฐานันดรสูงที่สุดของพวกเขาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:14:10 ก่อนเที่ยง
2.7- ขัดเกลามารยาท


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ

(อัลลอฮฺ)คือผู้ทรงส่งรอซูลผู้หนึ่งที่มาจากพวกเขา มาในหมู่ผู้ไม่รู้หนังสือ  เขาทำการสาธยายโองการต่างของพระองค์แก่พวกเขา และขัดเกลาพวกเขาให้บริสุทธิ์

อัลญุมุอะฮฺ :2
وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيهِمْ إِنَّكَ أَنتَ العَزِيزُ الحَكِيمُ
และ(รอซูล)สอนคัมภีร์และวิทยปัญญาแก่พวกเขา และขัดเกลาพวกเขาให้บริสุทธิ์ แท้จริงพระองค์ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้วิทยปัญญา
อัลบะเกาะเราะฮ์ :129


อัลหะดีษ

50. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า :

بُعِثْتُ بِمَكَارِمِ الْأَخْلاَقِ وَمَحَاسِنِهَا

ฉันถูกส่งมาพร้อมกับมารยาทอันมีเกียรติและมารยาทที่ดีงาม

51.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า :

إنَّمَا بُعِثْتُ لِأُتَمِّمَ مَكَارِمَ الْأَخْلاَقِ

แท้จริงฉันถูกส่งมาเพื่อทำจริยธรรมอันสูงส่งสมบูรณ์

52.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า :

إِنَّمَا بُعِثْتُ لِأُتَمِّمَ حُسْنَ الْأَخْلاَقِ

แท้จริงฉันถูกส่งมาเพื่อทำให้จริยธรรมอันดีงามสมบูรณ์

53.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า :
بُعِثْتُ لِأُتَمِّمَ صَالِحَ الْأَخْلاَقِ

ฉันถูกส่งมาเพื่อทำให้จริยธรรมที่เหมาะสมสมบูรณ์

54.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า :

إنَّ اللهَ تَعَالَى بَعَثَنِيْ بِتَمَامِ مَكَارِمِ الْأَخْلاَقِ ، وَكَمَالِ مَحَاسِنِ الْأَعْمَالِ

แท้จริงอัลลอฮฺส่งฉันมาพร้อมกับความสมบูณ์ของจริยธรรมอันสูงส่ง และความบริบูรณ์ที่ดีงามแห่งการงานทั้งหลาย
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:17:37 ก่อนเที่ยง
2.8- ทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ด้วยความยุติธรรม

อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

لَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَأَنزَلْنَا مَعَهُمُ الْكِتَابَ وَالْمِيزَانَ لِيَقُومَ النَّاسُ بِالْقِسْطِ

โดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุตธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยง

อัลหะดีด  :  25


وَأَنزَلْنَا الْحَدِيدَ فِيهِ بَأْسٌ شَدِيدٌ وَمَنَافِعُ لِلنَّاسِ وَلِيَعْلَمَ اللَّهُ مَن يَنصُرُهُ وَرُسُلَهُ بِالْغَيْبِ إِنَّ اللَّهَ قَوِيٌّ عَزِيزٌ

และเราได้ให้มีเหล็กขึ้นมา เพราะในนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และมีประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์ และเพื่ออัลลอฮฺจะได้ทรงรู้ถึงผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์(มีความเชื่อมั่น)โดยทางลับ(ต่อพระองค์) แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงอำนาจ

ซูเราะฮ์ อัลหะดีด :  25



อัลหะดีษ

55.อิม่ามอาลี (อ)ในซิฟัตของอัลลอฮฺ :

الذي صدق في ميعاده ، وارتفع عن ظلم عباده ، وقام بالقسط في خلقه ، وعدل عليهم في حكمه

ผู้ทรงสัจจะในสัญญาของพระองค์  และทรงขจัดความอธรรมของปวงบ่าวของพระองค์ออกไป และดำรงไว้ด้วยความเที่ยงธรรมในมัคลูกของพระองค์  และทรงให้ความยุติธรรมต่อพวกเขาในฮุก่มของพระองค์

56.อิม่ามอาลี (อ) ในซิฟัตของผู้ที่รำลึก :

يأمرون بالقسط ويأتمرون به ، وينهون عن المنكر ويتناهون عنه

พวกเขากำชับให้ทำดีด้วยความยุติธรรมและปรึกษาตามนั้น  และพวกเขาสั่งห้ามมิให้ทำชั่ว และพวกเขาก็ยุติสิ่งนั้น
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:25:30 ก่อนเที่ยง
2.9- ฟื้นฟูทุกสิ่งที่มีค่า


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوبًا عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَآئِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามศาสนทูต(มุฮัมมัด) ศาสดาแห่งผู้อ่านเขียนไม่เป็น ที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ณ.ที่พวกเขา  ทั้งใน(คัมภีร์)เตารอตและอินญีล โดยที่เขาจะกำชับพวกเขาให้ทำความดี และห้ามปรามพวกเขามิให้ทำความชั่ว  และจะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดีๆทั้งหลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย  และจะปลดเปลื้องซึ่งภาระหนักของพวกเขาออกจากพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา  ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา(มุฮัมมัด)และให้ความสำคัญแก่เขา และช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่าง(อัลกุรอาน)ที่ถูกประทานลงมาแก่เขา พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ประสบความสำเร็จ

อัลอะอฺรอฟ : 157


อัลหะดีษ

57.อิม่ามรอฏิ(อ)กล่าวว่า  ในคัมภีร์อินญีล(ไบเบิล)บันทึกว่า (พระเยซูกล่าวว่า)   :

إنَّ ابن  البرة ذاهب ، والفار قليطا جآء من بعده ، وهو الذي يخفف الآصار  ، ويفسر لكم كل شئ ، ويشهد لي كما شهدت له ،

แท้จริง อิบนุล บัรเราะฮฺ ซาฮิบและอัลฟาร่อ ก่อลีฏอ( ผู้ได้รับการสรรเสริญ) จะมาภายหลังจากเขา(เยซู)  และเขาคือผู้ปลดเปลี้ยงบาป  เขาจะอธิบายทุกสิ่งแก่พวกท่าน  และเขาจะเป็นพยานแก่ฉันเหมือนที่ฉันเป็นพยานให้แก่เขา  

أنا جئتكم بالامثال وهو يأتيكم بالتأويل

ฉันนำอุทาหรณ์ต่างๆมาให้พวกท่าน  ส่วนเขาจะนำมายังพวกท่านด้วยคำอธิบาย

คำอธิบาย
 
อัลลามะฮฺตะบาตะบาอี กล่าวในตัฟสีรของท่านว่า :

الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ  

บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามศาสนฑูต(มุฮัมมัด)  ศาสดาแห่งผู้อ่านเขียนไม่เป็น )

ท่านรอฆิบกล่าวไว้ในหนังสืออัลมุฟร่อด๊าตว่า อัลอิศรุ่ -  اَلْإِصْرُ  หมายถึง ข้อตกลงหรือสัญญา และกักมันไว้ด้วยกำลังของเขา  เช่นกล่าวว่า : أصَرْتُهُ- คือ ฉันได้ตั้งข้อตกลงไว้กับเขาแล้ว  เขาจึงถูกผูกมัดไว้ : ผู้กักเรือ  

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า : وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ

และจะปลดเปลื้องภาระหนักของพวกเขา ออกจากพวกเขา) หมายถึง มันคือภารกิจต่างๆที่กีดกั้นขัดขวางพวกเขาและล่ามพวกเขาไว้จากความดีงามต่างๆและไม่ให้ได้รับรางวัล

และด้วยเหตุนี้ (  وَلاَ تَحْمِلْ عْلَيْنَا إِصْرًا - โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใดๆแก่พวกเรา) อัลบะเกาะเราะฮฺ : 256 บ้างคนกล่าวว่าหมายถึง  ثِقْلٌ – หนัก  และมันคือความจริงตามที่กล่าวไว้ จบ.  ส่วนคำ  อัฆล้าล - أَغْلاَلٌ – เป็นพหูพจน์คำ  ฆิ้ล - غُلٌّ – ปลอกคอ  มันคือสิ่งเขาถูกล่ามไว้...

ตามนัยยะของโองการนี้ได้กล่าวถึงซิฟัตของท่านนบีไว้สามลักษณะคือ : อัลรอซูล, นะบีและอัลอุมมี โดยเฉพาะลักษณะที่สามคือข้อที่เห็นได้ชัด
โองการนี้ยังได้บ่งชี้ไว้เช่นกันอีกว่า  (يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ -โดยที่เขาจะกำชับพวกเขาให้ทำความดี และห้ามปรามพวกเขามิให้ทำความชั่ว  ) ไปจนถึงตอนท้ายคือเรื่องต่างๆทั้งห้าที่กล่าวถึงท่านนบี(ศ)ไว้ด้วยโองการนั้น จากสัญลักษณ์ต่างๆของท่านนบีตามที่จารึกไว้ในพระคัมภีร์ทั้งสอง(เตารอตและอินญีล)

และสิ่งนั้นคือส่วนหนึ่งจากลักษณะพิเศษของท่านนบี(ศ) และแนวทางของท่านนั้นขาวบริสุทธิ์    แท้จริงประชาชาติต่างๆที่เป็นคนดีนั้น แม้ว่าพวกเขาเคยปฏิบัติต่อหน้าที่แนะนำให้ทำดีและห้ามปรามมิให้ทำชั่ว (ตามที่อัลลอฮฺตรัสถึงพวกอะฮฺลุลกิตาบ)ไว้ในโองการ

لَيْسُوا سَوَاءً مِنْ أَهْلِ الْكِتَابِ أُمَّةٌ قَائِمَةٌ يَتْلُونَ آَيَاتِ اللَّهِ آَنَاءَ اللَّيْلِ وَهُمْ يَسْجُدُونَ

يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآَخِرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَيُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَأُولَئِكَ مِنَ الصَّالِحِينَ

พวกเขาหาใช่เหมือนกันไม่ จากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นมีกลุ่มชนหนึ่งที่เที่ยงธรรม ซึ่งพวกเขาอ่านบรรดาโองการของอัลลอฮ์ในยามค่ำคืน และพร้อมกันนั้น พวกเขาก็สุยูดกัน

พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่ไม่ชอบ และต่างรีบเร่งกันในบรรดาสิ่งดีงาม และชนเหล่านี้และอยู่ในหมู่ที่ประพฤติ
อาลิ อิมรอน : 113,114

และการอนุมัติในสิ่งดีงามต่างๆและห้ามปรามสิ่งเลวทรามต่างๆก็เช่นกัน นับว่าเป็นส่วนหนึ่งจากธรรมชาติที่บรรดาศาสนาของพระเจ้าที่มีมติตรงกัน  

และอัลลอฮฺทรงตรัสว่า

قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللّهِ الَّتِيَ أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالْطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ผู้ใดเล่าที่ต้องห้ามซึ่งเครื่องประดับของอัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงนำออกมาสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดาสิ่งดีๆจากปัจจัยยังชีพ

อัลอะอฺรอฟ : 32

การปลดเปลื้องภาระหนักและห่วงคอก็เช่นกันถึงแม้ว่ามันจะเป้นส่วนหนึ่งจากหลักธรรมของนบีอีซา(อ) ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า

وَمُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَلِأُحِلَّ لَكُم بَعْضَ الَّذِي حُرِّمَ عَلَيْكُمْ

และฉันจะเป็นผู้มายืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของ อันได้แก่ (คัมภีร์)เตารอต และเพื่อที่ฉันจะได้อนุมัติแก่พวกท่าน ซึ่งบางสิ่งที่ถูกห้ามแก่พวกท่าน

อาลิ อิมรอน : 50

และมีโองการที่เป็นคำพูดของนบีอีซาที่สนทนากับพวกวงศ์วานอิสรออีลว่า

قَدْ جِئْتُكُم بِالْحِكْمَةِ وَلِأُبَيِّنَ لَكُم بَعْضَ الَّذِي تَخْتَلِفُونَ فِيهِ

แน่นอนฉันได้มายังพวกท่านพร้อมกับวิทยปัญญา และเพื่อฉันจะได้อธิบายแก่พวกเจ้า ในบางสิ่งที่พวกเจ้ากำลังขัดแย้งอยู่ในมัน

อัซ-ซุครุฟ : 63

   นอกเสียจากว่า ผู้สงสัยจะไม่มีความสงสัยใดๆอีกต่อไปว่าแท้จริงศาสนาที่มุฮัมมัด(ศ)ได้นำมาพร้อมกับคัมภีร์ณ.ที่อัลลอฮ์นั้น มันได้ยืนยันในสิ่งที่อยู่ต่อหน้าเขาจากคัมภีร์แห่งฟากฟ้าทั้งหลาย(มันคือศาสนาอิสลาม) เป็นเพียงศาสนาเดียวที่เป่าทุกสิ่งอันสะดวกแก่เขาจากวิญญาณแห่งชีวิต ลงไปในร่างของคำสั่งให้ทำดีและห้ามมิให้ทำชั่ว  จนมันบรรลุขั้นที่ว่า จากขอบเขตของการเรียกร้องเชิญชวนเปล่าๆ  สู่ขั้นให้ทำญิฮ๊าดในหนทางของอัลลอฮฺด้วยทรัพย์สินและชีวิต  และอิสลามเป็นเพียงศาสนาเดียวที่รวบรวมทั้งหมดทุกสิ่งที่มันมีความเกี่ยวข้องอยู่กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหรือกิจการงานต่างๆ  จากนั้นได้แบ่งเรื่องและงานต่างๆออกเป็นสิ่งดีต่างๆแล้วอนุมัติแก่มัน และเป็นสิ่งเลวทรามต่างๆแล้วสั่งห้ามมัน  ไม่มีหลักธรรมของศาสนาใดและกฎเกณฑืของสังคมใดจะมาเทียบกับมัน(อิสลาม)ได้ในการจำแนกกฏเกณฑ์อันเป็นบทบัญญัติไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน  มันจึงเป็นศาสนาที่มายกเลิกหลักธรรมทั้งหมดที่มีความยุ่งยากลำบากที่ถูกตั้งไว้แก่ชาวคัมภีร์และพวกยิวโดยเฉพาะ  และสิ่งที่บรรดาอุละมาอ์ของพวกเขาได้วางไว้ และสิ่งที่พวกบาดหลวงกับพวกปุโรหิตยิวของพวกเขาได้อุตริสร้างมันขึ้นมาเอง
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:34:25 ก่อนเที่ยง
2.10-  การทำให้หลักฐานของพระเจ้าสมบูรณ์


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

لَكِنِ اللَّهُ يَشْهَدُ بِمَا أَنْزَلَ إِلَيْكَ أَنْزَلَهُ بِعِلْمِهِ وَالْمَلَائِكَةُ يَشْهَدُونَ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا

คือบรรดาร่อซูลในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และในฐานะผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใด ๆ อ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากบรรดาร่อซูลเหล่านั้น และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ

อันนิสาอฺ : 165


وَلَوْلَا أَنْ تُصِيبَهُمْ مُصِيبَةٌ بِمَا قَدَّمَتْ أَيْدِيهِمْ فَيَقُولُوا رَبَّنَا لَوْلَا أَرْسَلْتَ إِلَيْنَا رَسُولًا فَنَتَّبِعَ آَيَاتِكَ وَنَكُونَ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ
และหากมิใช่เคราะห์กรรมหนึ่งประสบแก่พวกเขา เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเขาที่ได้กระทำไว้ก่อน แล้วพวกเขาก็จะพูดขึ้นว่า"ข้าแต่พระเจ้าของเรา เหตุใดพระองค์จึงไม่ส่งร่อซูลคนหนึ่งมายังพวกเรา เพื่อจะได้ปฏิบัติตามโองการทั้งกลายของพระองค์ท่านและเราจะได้อยู่ในหมู่ผู้ศรัทธา"
อัลเกาะศ็อศ :47

وَكَذَلِكَ أَنْزَلْنَاهُ قُرْآَنًا عَرَبِيًّا وَصَرَّفْنَا فِيهِ مِنَ الْوَعِيدِ لَعَلَّهُمْ يَتَّقُونَ أَوْ يُحْدِثُ لَهُمْ ذِكْرًا

และเช่นนั้นแหละ เราได้ให้กุรอานเป็นภาษาอาหรับลงมาแก่เขา และเราได้กล่าวซ้ำในนั้นซึ่งข้อตักเตือน หวังว่าพวกเขาจะมีความยำเกรงหรือเกิดข้อเตือนใจแก่พวกเขา

ฏอฮา : 133


อัลหะดีษ

58. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า :

พระองค์อัลลอฮ์ทรงส่งบรรดารอซูลไปยังพวกเขา เพื่อจะได้เป็นหลักฐานเด็ดขาดสำหรับพระองค์ต่อปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์ที่ไปยังพวกเขาก็จะเป็นพยานบนพวกเขา  และบรรดานบี ผู้แจ้งข่าวดีและผู้เตือนข่าวร้ายที่ส่งไปในพวกเขา  เพื่อจะทำลายผู้ที่หายนะจากหลักฐานอันชัดแจ้ง และให้ชีวิตแก่ผู้มีชีวิตจากหลักฐานอันชัดแจ้งนั้น และเพื่อปวงบ่าวนั้นจะได้ใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองถึงพระผู้อภิบาลของพวกเขา ที่พวกเขาไม่เคยรู้จักพระองค์มาก่อน แล้วพวกเขาจะได้รู้จักพระองค์ด้วยความเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์หลังจากที่พวกเขาเคยปฏิเสธ  และพวกเขาจะให้ความเป็นหนึ่งแก่พระองค์ต่อความเป็นพระเจ้าหลังจากที่พวกเขาเคยตั้งภาคี(ต่อพระองค์)

59.อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า :

และฉันขอปฏิญาณตนว่า แท้จริงมุฮัมมัด(ศ)คือบ่าวของพระองค์และเป็นศาสนทูตของพระองค์  พระองค์ทรงส่งเขามาเพื่อปฏิบัติภารกิจของพระองค์ ทำให้อุปสรรคขอพระองค์หมดไปและนำเสนอการตักเตือนของพระองค์

60.อิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า :

อัลลอฮฺทรงส่งบรรดารอซูลของพระองค์ ด้วยสิ่งที่เจาะจงมันไว้กับพวกเขาจากวะฮีของพระองค์ และทรงแต่งตั้งพวกเขาไว้เป็นหลักฐานสำหรับพระองค์

ปวงบ่าวของพระองค์  เพื่อหลักฐานนั้นจะได้เป็นเหตุเอาความกับพวกเขา ต่อการละทิ้งข้อแก้ตัวที่ไปยังพวกเขา  ดังนั้นพระองค์ได้เชิญชวนพวกเขาด้วยลิ้นแห่งสัจจะสู่หนทางแห่งสัจธรรม

61.อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า :

เมื่อท่านถูกถามถึงปรัชญาการส่งศาสดามายังมนุษย์ - : เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใดๆอ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากบรรดารอซูลเหล่านั้น และเพื่อพวกเขาจะได้ไม่กล่าวว่า : ไม่เคยมีผู้แจ้งข่าวดีและผู้เตือนข่าวร้ายมายังพวกเราเลย  และเพื่อจะเป็นหลักฐานของอัลลอฮฺบนพวกเขา  ท่านเคยได้ยินอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลทรงเล่าถึงผู้คุมนรกที่ยกหลักฐานเอาความกับพวกชาวนรก ด้วยบรรดานบีและรอซูลว่า :

أَلَمْ يَأْتِكُمْ نَذِيرٌ  قَالُوا بَلَى قَدْ جَاءنَا نَذِيرٌ فَكَذَّبْنَا وَقُلْنَا مَا نَزَّلَ اللَّهُ مِن شَيْءٍ  

มิได้มีผู้ตักเตือนมายังพวกเจ้าดอกหรือ ? พวกเขากล่าวว่า มี ได้มีผู้ตักเตือนมายังพวกเรา แต่พวกเราได้ปฏิเสธ และเรายังกล่าวอีกว่า อัลลอฮฺมิได้ประทานสิ่งใดลงมา...
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 09, 2010, 09:35:40 ก่อนเที่ยง
บทที่ 3

การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2010, 08:32:22 ก่อนเที่ยง

บทที่ 3

การเป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลก


อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

مَّا كَانَ مُحَمَّدٌ أَبَا أَحَدٍ مِّن رِّجَالِكُمْ وَلَكِن رَّسُولَ اللَّهِ وَخَاتَمَ النَّبِيِّينَ وَكَانَ اللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمًا

มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า  แต่เขาเป็นรอซูลของอัลลอฮฺและคนสุดท้ายแห่งบรรดานบี  และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ทุกสิ่ง
ซูเราะฮ์อัลอะหฺซาบ :40

อัลหะดีษ

62.  ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า :
ศาสดาคนแรกคือ อาดัม และคนสุดท้ายของพวกเขาคือมุฮัมมัด

63.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : อุปมาเช่นข้าพเจ้าในหมู่ศาสดานั้น เปรียบอุปมัยดั่งเช่น ชายคนหนึ่งได้สร้างบ้านไว้หลังหนึ่ง ดังนั้นเขาสร้างมันอย่างดี อย่างสวยงามและตบแต่งมันอย่างดีที่สุด และเขาทิ้งช่องอิฐหนึ่งของมันไว้  แล้วผู้คนมาเวียน(ชม)ต่ออาคารหลังนั้น และพวกเขาแปลกใจมัน แล้วกล่าวว่า  หากเขาทำให้ช่องหินตรงนั้นสมบูรณ์(ก็จะสวยที่สุด)  และฉันในหมู่บรรดาศาสดาคือช่องอิฐอันนั้น

64. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันถูกส่งมา เป็นผู้เปิด(กิจการ)และเป็นผู้ปิดคนสุดท้าย

65.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : ในอนาคตในประชาชาติของฉันจะมีคนโกหกสามสิบคนทั้งหมดจะอ้างว่า เขาคือศาสดา และฉันคือศาสดาคนสุดท้าย จะไม่มีศาสดาหลังจากฉันอีก

66.  โอ้มนุษย์ทั้งหลาย  แท้จริงจะไม่มีศาสดาหลังจากฉันอีกแล้ว  และจะไม่มีแนวทางอีกแล้วหลังจากแนวทางของฉัน  แล้วผู้ใดอ้างสิ่งนั้น ดังนั้นคำอ้างของเขาและบิดอะฮ์(อุตริกรรม)ของเขาจะอยู่ในไฟนรก

67. ฉันคือผู้ตามมาหลังสุด ซึ่งหลังจากมันแล้วจะไม่ศาสดาอีก

68. ฉันคือศาสดาคนสุดท้ายแห่งบรรดาศาสดา

69. อิม่ามอาลีได้กล่าวในเรื่องมับอัษของท่านนะบี(ศ)ว่า :

อัลลอฮฺ(ซบ.)ทรงส่งมุฮัมมัดมาเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ(ศ) เพื่อทำให้สัญญาของพระองค์เสร็จสิ้นและเพื่อทำให้ตำแน่งนุบูวะฮฺของพระองค์สมบูรณ์แบบ
70.อิม่ามอาลี(อ) : ในเรื่องซิฟัตท่านนบี(ศ) : เขาคือ ผู้ซื่อสัตย์แห่งวาฮีของพระองค์  คนสุดท้ายแห่งรอซูลของพระองค์  ผู้แจ้งข่าวดีแห่งความเมตตาของพระองค์ ผู้เตือนข่าวร้ายแห่งการลงทัญฑ์ของพระองค์

71.อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า :  แท้จริงอัลลอฮฺ อัซซะ ซิกรุฮู  แท้จริงอัลลอฮฺทรงปิดผนึกบรรดาศาสดาด้วยนบีของพวกเจ้า ดังนั้นจะไม่มีนบีหลังจากเขาอีกตลอดกาล และทรงปิดผนึกคัมภีร์ต่างๆด้วยคัมภีร์(กุรอ่าน)ของพวกเจ้า ดังนั้นจะไม่มีคัมภีร์ใดหลังจากเขาอีกตลอดกาล

72.อิมามศอดิก(อ)กล่าวว่า : จนกระทั่งมุฮัมมัด(ศ)ได้มา  แล้วเขาได้มาพร้อมอัลกุรอาน ด้วยหลักธรรมของเขาและแนวทางของเขา  ดังนั้นการอนุมัติของเขา คือการสิ่งอนุมัติตราบถึงวันกิยามะฮฺ และการห้ามของเขา เป็นสิ่งต้องห้ามตราบถึงวันกิยามะฮฺ

73. ซอฮี๊ฮฺมุสลิม จากสะอีด บิน อัลมุสสัยยิบ จากอามิร บิน สะอัด บิน อบีวักก็อศ จากบิดาเขาเล่าว่า :

ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ)กล่าวกับท่านอาลี(อ)ว่า : เจ้ากับฉันมีสถานะดั่งมูซากับฮารูน นอกจากว่าจะไม่มีนบีหลังจากฉันอีกแล้ว



วิจัยเกี่ยวกับปรัชญา(ฮิกมะฮฺ)ในตำแหน่งนะบีคนสุดท้าย

   การสนทนาถึงฮิกมัตของตำแหน่งศาสดาคนสุดท้ายนั้นเป็นเรื่องยาว แต่สามารถถึงมัน ณ ที่นี้ แบบสั้นๆว่า ปรัชญาการส่งบรรดาศาสดาของพระเจ้ามายังมนุษย์คือ นำเสนอโปรแกรมพัฒนาสังคมมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์  ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างความสมบูรณ์ในการประกาศโปรแกรมนี้แก่มนุษยชาติแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละขั้นตอน  เพราะอุปมาสังคมตลอดระยะเวลาที่ผ่านในอดีต อุปมัยดั่งเด็กน้อยที่ต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอยู่ในอ้อมอกการอบรมสั่งสอนของบรรดาศาสดา  และด้วยเหตุนี้เอง แท้จริงโปรแกรมของบรรดาศาสดานั้นจะอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินชีวิตของเด็กน้อยผู้นี้ที่มีภาวะแตกต่างกันไป อันจำเป้นจะต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเขาและพื้นฐานการรับของเขา

   บนพื้นฐานนี้เอง รูปแบบดำเนินการจะต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆสำหรับโปรแกรมของบรรดาศาสดาอยู่ในสี่ขั้นตอน จากสี่ระยะเวลาในอดีตก่อนที่อิสลามจะมาประกาศ และการประกาศเผยแผ่การเปลี่ยนแปลงต่างๆสู่สังคมนี้ได้เสร็จสมบูรณ์ลงด้วยสื่อกลางคือบุรุษสี่ท่านจากบรรดาศาสดาของพระเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ พวกเขาเหล่านั้นคือผู้เป็นเจ้าของคัมภีร์และหลักธรรมคำสอน และเราเรียกชื่อพวกเขาว่า  ศาสดาแห่งหลักธรรม คือ ท่านศาสดานู๊หฺ(โนอาห์)  ศาสดาอิบรอฮีม(อับราฮัม)  ศาสดามูซา(โมเสส)และศาสดาอีซา(เยซู) อัลฮิมุสสลา
   ปรากฏว่าบรรดาศาสดาของพระเจ้าท่านอื่น ล้วนแต่เป็นผู้ประกาศเผยแผ่ตามหลักธรรมของบรรดาศาสดาเหล่านี้ผู้เป็นเจ้าของหลักธรรม  ซึ่งการชี้นำแห่งพระเจ้าได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจากระหว่างพวกเขา จนกระทั่งสังคมได้ย้อนกลับมามีพื้นฐานเพื่อรองรับการประกาศริซาละฮ์(สาร)สุดท้ายของพระผู้เป็นเจ้า  และ ณ บัดนี้ ถือว่าได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แบบแล้วซึ่งการประกาศครั้งสุดท้ายของโปรแกรมพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์และเป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ที่สุดสู่มวลมนุษยชาติ โดยอาศัยสื่อจากศาสดาคนสุดท้ายแห่งศาสดาทั้งหลาย อันเป็นแหล่งทุกสิ่งเรียกมันว่า พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของเหล่าศาสดาทั้งหลายจะได้สิ้นสุดลงด้วยการประกาศสารฉบับนี้

   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้อธิบายไว้ในวจนะหนึ่งว่า

مثلي في النبيين كمثل رجل بنى داراً، فأحسنها وأكملها وأجملها وترك فيها موضع لبنة لم يضعها، فجعل الناس يطوفون بالبنيان، ويعجبون منه ويقولون: لو تم موضع هذه اللبنة، فأنا في النبيين موضع تلك اللبنة

رواه البخارى ومسلم والترمذى عن جابر، وابن حنبل ومسلم والبخارى عن أبى هريرة

อุปมาของฉันในหมู่ศาสดาทั้งหลาย เปรียบอุปมัยเช่น ชายคนหนึ่งได้สร้างบ้านหลังหนึ่ง แล้วเขาสร้างมันอย่างดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด  และตกแต่งมันสวยงามที่สุด และเขาได้เว้นส่วนหนึ่งของมันไว้สถานที่ก้อนอิฐหนึ่ง เขาไม่ได้ใส่มันลงไป  ดังนั้นผู้คนได้เข้ามาเวียนชมการสร้างบ้านหลังนั้น และพวกเขาแปลกใจมัน และพวกเขากล่าวว่า หากเขาเติมก้อนอิฐตรงที่นั้น (ก็จะสมบูรณ์แบบ) และฉันในหมู่บรรดาศาสดาคือสถานที่ของอิฐก้อนนั้นนั่นเอง

   ตามตัวอย่างดังกล่าวนี้ แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลาทรงมีเจตนาในช่วงระหว่างที่ส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายมา ที่จะสร้างอาคารแห่งมะอฺนาวี(ทางจิตวิญญาณ)ไว้ในโลกใบนี้ เพื่ออบรมสั่งสอนมนุษย์ให้เป็นผู้สมบูรณ์

لم يكن العالم يستطيع بدونه ان يربيّ سوي الحيوان

กล่าวคือ แท้จริงอัลลอฮ์ (ซบ.) คือวิศวกรของอาคารหลังนี้ เว้นแต่ว่า อาคารของพระองค์หลังนี้นั้นต้องใช้เวลาหลายศตวรรษ นั่นเป็นเพราะ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดกะเกณฑ์ที่จะจัดเตรียมส่วนประกอบต่างๆของอาคารและพื้นที่อาคารของพระองค์เองตามระยะเวลาเป็นช่วงๆ  และตัวอย่างอิฐก้อนปฐมฤกษ์สำหรับอาคารแห่งจิตวิญญาณหลังนี้คือท่านศาสดาอาดัม อะลัยฮิสสลาม ส่วนก้อนสุดท้ายของมันคือ ท่านศาสดาคนสุดท้าย (ศ) พร้อมกันนั้นการส่งนบีคนสุดท้ายมา ถือว่าสถาบันอบรมสั่งสอนสังคมมนุษยชาติได้จบลงอย่างสมบูรณ์แล้วทั้งหมดทุกด้าน  ซึ่งโปรแกรมของสถาบันนี้ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการพัฒนาลูกหลานมนุษย์ทั้งหมดสู่ความสมบูรณ์ จากทั้งสองด้านคือทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ จนถึงวาระสุดท้ายของโลก และนั่นคือการสิ้นสุดตำแหน่งนุบูวะฮฺ

   แต่ตำแหน่งอิมามะฮฺ(อิม่าม)ผู้นำประชาชาติและผู้ชี้นำทางของพวกเขายังจะต้องดำเนินต่อไป ภายหลังการสิ้นสุดตำแหน่งนุบูวะฮฺโดยสื่อกลางจากท่านศาสดาคนสุดท้าย(ศ)ผ่านมาสู่อะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ตามที่อัลกุรอานได้ประกาศไว้ว่า

إِنَّمَا أَنْتَ مُنْذِرٌ وَلِكُلِّ قَوْمٍ هَادٍ

แท้จริงเจ้า(มุฮัมมัด)เป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น และสำหรับทุกประชาชาติย่อมมีผู้นำ

อัลเราะอฺดุ : 7  


และมีหะดีษของทั้งสองฝ่าย(ซุนี่/ชีอะฮ์)กล่าวไว้ชัดเจนถึงความหมายของคำ

" อัลฮาดี – الهَادِيُّ " ในที่นี้หมายถึง ท่านอิม่ามอาลี (อ) ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือตารีคดามัสกัส :  
เมื่อโองการ (( إِنَّمَا أَنْتَ مُنْذِرٌ وَلِكُلِّ قَوْمٍ هَادٍ   -แท้จริงเจ้า(มุฮัมมัด)เป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น และสำหรับทุกประชาชาติย่อมมีผู้นำ)) ประทานลงมา ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : ข้าพเจ้าเป็นผู้ตักเตือน และอาลีคือผู้นำ

   ต่อจากนั้นตำแหน่งอิมามะฮฺ(ผู้นำ)ภายหลังจากท่านอิม่ามอาลีได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน ตามที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า :

(( ข้าพเจ้าคือ ผู้ตักเตือน และอาลีเป็นผู้นำ และทุกอิม่าม ผู้ชี้นำสำหรับศตวรรษหนึ่งที่เขาอยู่ในสมัยนั้น ))

มีอีกรายงานหนึ่งจากท่านอิม่ามบาเก็ร(อ) กล่าวว่า :

(( ท่านรอซูลุลลอฮฺ คือ ผู้ตักเตือน และท่านอาลีคือ ผู้นำ และขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า มัน(ตำแหน่งผู้นำ)จะไม่สลายไปจากเรา และมันยังคงอยู่ในเราตราบถึงวันสิ้นโลก ))

   และยังมีรายงานย้ำถึงความจริงของเรื่องนี้ไว้ในฮะดีสษะเกาะลัยน์ อันเป็นรายงานที่มุตะวาติร และเชื่อมั่นได้แน่นอนอีกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งอิมามะฮฺ ผู้นำของพระเจ้า สำหรับอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา(ศ)จึงดำเนินต่อมา จนกระทั่งระยะเวลาเกือบสามศตวรรษ  แต่หลังจากท่านอิม่ามฮาซัน อัสการี่(อ) สิ้นชีพลง  ส่งผลให้พระเจ้าต้องใช้วิทยปัญญา  ที่จะต้องเก็บซ่อนตัวอิม่าม(คนที่12 ) ภายหลังจากเขา (เขาคือบิดาแห่งจิตวิญญาณของประชาชาติอิสลาม) มิให้ปรากฏต่อสายตาผู้คน  โดยท่านได้มอบหมายกิจการของสังคมมุสลิม ที่เป็นเสมือนเด็กกำพร้าไว้ในการดูแลของบรรดาฟุเกาะฮาอฺและอุละมาอ์  ตามที่มีรายงานจากท่านอิม่ามฮาซัน อัสการี่(อ)ว่า

حدثني أبي عن آبائه عليهم السلام عن رسول الله صلى الله عليه وآله أنه قال: أشد من يتم اليتيم الذي انقطع من أمه وأبيه ، يتم يتيمٍ انقطع عن إمامه ولا يقدر على الوصول إليه ، ولايدري كيف حكمه فيما يبتلى به من شرائع دينه، ألا فمن كان من شيعتنا عالماً بعلومنا فهذا الجاهل بشريعتنا المنقطع عن مشاهدتنا يتيم في حجره، ألا فمن هداه وأرشده وعلمه شريعتنا ، كان معنا في الرفيق الأعلى

บิดาฉันเล่าให้ฉันฟัง จากบรรดาบิดาของพวกท่าน (อ) จากท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) แท้จริงท่านกล่าวว่า : ความรุนแรงที่สุดจากความกำพร้าของเด็กกำพร้าที่ขาดทั้งมารดาและบิดาของเขา คือความกำพร้าของเด็กกำพร้าที่ขาดอิม่ามผู้นำของเขา และเขาไม่สามารถติดต่อถึงผู้นำของเขาได้ และไม่รู้ว่าฮุก่ม(หลักปฏิบัติตน)ของเขาเป็นอย่างไรในสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่กับมันจากในแง่ของหลักศาสนาของเขา   พึงรู้เถิดว่า ผู้ที่เป็นชีอะฮ์ของเรา ที่เป็นผู้รู้วิชาการต่างๆของเรา  และผู้ไม่รู้เรื่องหลักศาสนาของเขาคนนี้ เขาถูกตัดขาดจากการพบเห็นกับเรา เขาคือเด็กกำพร้าที่อยู่ในอ้อมอกของเขา(ผู้รู้)  จงรู้เถิดว่า ผู้ใดชี้นำเขา ให้คำแนะนำแก่เขาและสอนชะรีอัตของเราแก่เขา  ผู้นั้นจะได้อยู่กับเรา ณ. ที่อัลลอฮ์

   และจากฮิกมัตการฆ็อยบะฮ์ของท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ)นั้นถือว่า เป็นการฝึกฝนทดสอบมนุษย์ด้วยรูปแบบการปกครองต่างๆที่แอบอ้างว่ามีความยุติธรรม ให้อิสระเสรี และให้สิทธิมนุษยชน  โดยมนุษย์จะรับรู้จากช่วงเวลาแห่งการทดสอบนี้ว่า การปกครองชี้นำจากบรรดาผู้นำของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในโลกนี้ได้  และประชาชาติอิสลามก็จะได้รับรู้เช่นเดียวกันว่า แท้จริงการครอบครองโปรแกรมสมบูรณ์ที่สุดไว้เป็นกรรมสิทธิ์นั้นยังไม่เพียงพอที่จะนำสู่สังคมมุสลิมตามที่สัญญาและตามที่ต้องการได้ แต่ทว่าตำแหน่งอิมามะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยติน-นุบูวะฮ์นั้นคือสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำรงอยู่เคียงข้างกับมันด้วยเช่นกัน  แน่นอนได้มีการกล่าวอธิบายถึงปรัชญานี้ไว้ในรายงานจากท่านอิม่ามศอดิก(อ)ว่า :

กิจการนี้(วันสิ้นโลก)จะยังไม่เกิด จนกว่าจะไม่หลงเหลือบุคคลประเภทใดจากมนุษย์ นอกจากพวกเขาขึ้นมาปกครอง สวนหนึ่งจากผู้คน จนกระทั่งไม่มีคนจะกล่าวว่า แท้จริงเราหากเราได้ขึ้นมาปกครอง เราจะให้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน ต่อจากนั้นอัลกออิม(อิม่ามมะฮ์ดี) ก็จะปรากฏตัวออกมาสถาปนาพร้อมกับสัจธรรมและความยุติธรรม


หลังจากที่จัดเตรียมสนามทางการเมืองการปกครองและสังคมสำหรับรัฐอิสลามแห่งโลกได้สมบูรณ์แล้ว  บุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเก็บไว้ผู้เดียวเท่านั้นก็จะปรากฏตัวออกมาเพื่อสถาปนาความยุติธรรม  และพร้อมกับการปรากฏสิ่งนั้น ในไม่ช้าพันธะสัญญาของพระเจ้าก็จะเป็นจริง  ผู้พิพากษาด้วยการเผยแพร่อิสลามไปทั่งทุกมุมโลก นี่คือสัญญาที่ในคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวย้ำไว้สามครั้งคือ :

هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ

(อัลลอฮฺ) คือผู้ที่ได้ส่งรอซูลของพระองค์มาพร้อมกับคำแนะนำ และศาสนาแห่งสัจธรรม เพื่อที่จะทรงให้ศาสนาแห่งสัจธรรมนั้นประจักษ์เหนือศาสนาทุกศาสนา

อัต-เตาบะฮ์ : 33   ,อัลฟัตฮุ : 27 และอัศ-ศ็อฟฟุ : 9  
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2010, 08:42:32 ก่อนเที่ยง
บทที่ 4

โลกแห่งการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2010, 08:43:57 ก่อนเที่ยง
บทที่ 4

โลกแห่งการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด



4.1-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงมนุษยชาติทั้งมวล

อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และอัล-กรุอานนี้ก็ได้ถูกประทานลงมาแก่ฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกรุอาน นี้ตักเตือนพวกท่าน และผู้ที่อัลกรุอานนี้ไปถึงพวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮ์ ?   จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวอกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์

อัลอันอาม : 19

وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا كَافَّةً لِّلنَّاسِ بَشِيرًا وَنَذِيرًا وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لَا يَعْلَمُونَ

และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลาย

สะบะอฺ : 28

قُلْ يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّي رَسُولُ اللّهِ إِلَيْكُمْ جَمِيعًا الَّذِي لَهُ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ لا إِلَهَ إِلاَّ هُوَ يُحْيِي وَيُمِيتُ فَآمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُولِهِ النَّبِيِّ الأُمِّيِّ الَّذِي يُؤْمِنُ بِاللّهِ وَكَلِمَاتِهِ وَاتَّبِعُوهُ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า โอ้มนุษย์ทั้งหลาย! แท้จริงฉันคือร่อซูลของอัลลอฮ์มายังพวกท่านทั้งมวล ซึ่งพระองค์นั้นอำนาจแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นของพระองค์ ไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย ดังนั้นพวกท่านจงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ ผู้เป็นนะบีที่เขียนอ่านไม่เป็น ซึ่งเขาศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และดำรัสทั้งหลายของพระองค์ และพวกเจ้าจงปฏิบัติตามเขาเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับคำแนะนำ

อัลอะอฺรอฟ : 158

وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด  แท้จริงฉันได้รับวะฮีมา ให้ประกาศว่า แท้จริงพระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้นพวกท่านยังมิยอมนอนน้อมอีกหรือ ?

อัลอัมบิยาอฺ : 108

هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَلَوْ كَرِهَ الْمُشْرِكُونَ

(อัลลอฮฺ) คือผู้ที่ได้ส่งรอซูลของพระองค์มาพร้อมกับคำแนะนำ และศาสนาแห่งสัจธรรม เพื่อที่จะทรงให้ศาสนาแห่งสัจธรรมนั้นประจักษ์เหนือศาสนาทุกศาสนา และแม้ว่าพวกมุชริกจะชิงชังก็ตาม
อัตเตาบะฮฺ :33

อัลฮะดีษ

74.ตารีคบัฆด๊าด : ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : ผู้ใดที่อัลกุรอานได้มาถึงเขา ก็เปรียบเสมือนว่าฉันได้สนทนากับเขาด้วยอัลกุรอานแล้ว แล้วท่านอ่านโองการ

وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ  

และอัลกุรอานนี้ได้ถูกประทานลงมาแก่ฉัน เพื่อฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่าน และผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง
อัลอันอาม :19

75.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : ฉันคือรอซูลของผู้ที่ ฉันอยู่ทันตอนมีชีวิต และผู้ที่จะเกิดมาภายหลังจากฉันจากไป

76.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : ฉันถูกส่งไปยังมนุษยชาติทั้งมวล และการเป็นศาสดาคนสุดท้ายนั้นสิ้นสุดลงกับฉัน

77.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : แท้จริงอัลลอฮฺทรงส่งทุกศาสดามาก่อนหน้าฉันยังประชาชาติของเขาพร้อมด้วยภาษาของหมู่ชนนั้นๆ  และพระองค์ทรงส่งฉันมายังทุกคนที่ผิวดำและผิวแดงพร้อมด้วยภาษาอาหรับ

78.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า : ฉันได้รับห้าประการ ซึ่งไม่เคยมีนบีคนใดเคยได้รับมาก่อนหน้าฉัน  : ฉันถูกส่งมายังคนผิวขาว คนผิวดำ และคนผิวแดง...

79.อิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า : แท้จริงอัลลอฮฺ ตะบาร่อกะ วะตะอาลา ทรงประทานแก่ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งหลักธรรมต่างๆของนบีนู๊หฺ  นบีอิบรอฮีม นบีมูซาและนบีอีซา(อ)... และทรงส่งมุฮัมมัดมายังคนผิวขาว ผิวดำ ทั้งญินและมนุษย์


4.2-สาส์นเชิญชวนของศาสดามุฮัมมัดถึงกษัตริย์นะญาชีแห่งอบิสสิเนีย( เนกุส แห่งเอธิโอเปีย)

80. หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) เมื่อท่านกลับมาจากฮุดัยบียะฮฺ เดือนซิลฮิจญะฮ์ ปีฮ.ศ.ที่หก  ท่านได้จัดส่งคณะทูตไปพบบรรดาเจ้าเมืองกษัตริย์ จักรพรรดิ์ต่างๆ เพื่อเชิญชวนพวกเขาเข้าสู่อัลอิสลาม  และท่านได้เขียนสาส์นหลายฉบับส่งไปยังพวกเขา มีคนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ แท้จริงบรรดากษัตริย์นั้นจะไม่อ่านสาส์นใดยกเว้นสาส์นนั้นจะต้องมีตราประทับ  ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ในวันนั้นจึงได้ทำแหวนเงินขึ้นมาวงหนึ่ง ตรงหัวแหวนสลักไว้สามคำว่า " มุฮัมมัด รอซูลุลลอฮฺ " แล้วท่านได้ประทับตราสาส์นต่างๆด้วยแหวนวงนั้น

   มีหกคนในหมู่พวกเขาที่ออกไป(ส่งสาส์น)ในวันนั้น ตอนนั้นอยู่ในเดือนมุฮัรรอม ปีฮ.ศ.ที่เจ็ด    ทูตแต่ละคนจากในหมู่พวกเขาจะ(สามารถ)พูดภาษาของกลุ่มชนนั้นตามที่ท่านนบี(ศ)ได้ส่งเขาไปยังพวกเขา  ปรากฏว่าทูตคนแรกที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ส่งเขาออกไปคือ อัมรู บิน อุมัยยะฮ์ อัฎเฎาะมะรี ไปพบกษัตริย์เนกุส ( อัศหะมะฮ์ บิน อัลอับญัร )  ท่านนบี(ศ)เขียนสาส์นสองฉบับส่งไปหาพระองค์  ฉบับหนึ่งท่านได้เชิญชวนพระองค์เข้าสู่อิสลามและสาธยายอัลกุรอานให้พระองค์ฟัง    แล้วกษัตริย์เนกุสได้รับสารของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) พระองค์ทรงวางสาส์นนั้นที่ดวงตาทั้งสองของพระองค์  และเสด็จลงจากบัลลังค์ของพระองค์ ทรงประทับนั่งลงบนพื้นดินอย่างนอบน้อม จากนั้นทรงเข้ารับอิสลาม และได้ปฏิญาณตนต่อการปฏิญาณแห่งสัจจะ และทรงตรัสว่า หากข้าสามารถไปหาเขาได้ ข้าจะต้องไปหาเขาแน่  และทรงเขียนสารส่งไปหาท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ถึงการตอบรับของท่าน ความเชื่อของท่านและการเข้ารับอิสลามของท่าน(ต่อหน้าท่านญะอ์ฟัร บิน อบีตอลิบ) มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

   สาส์นอีกฉบับหนึ่ง ท่านรอซูล(ศ)ได้ขอร้องพระองค์ให้สมรสกับนางอุมมุฮะบีบะฮ์ บุตรีของอบู สุฟยาน บิน หัรบ์ เดิมนางได้อพยพไปแผ่นดินเอธิโอเปียพร้อมสามีนางชื่ออุบัยดุลลอฮฺ บิน ญะห์ชฺ อัลอะซะดี ต่อมาเขาเปลี่ยนไปเป็นคริสต์แล้วเสียชีวิตที่นั่น และท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้กำชับในสาส์นนั้นว่าให้พระองค์ส่งกลับมายังท่านพร้อมกับผู้ที่อยู่กับพระองค์ก่อนหน้านี้จากบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน และให้นำพวกเขากลับมา กษัตริย์เนกุสได้ดำเนินการ  ทรงจัดสมรสกับอุมมุฮะบีบะฮ์ บินติ อบีสุฟยาน ทรงจ่ายสินสมรส(แก่นางเป็นจำนวน)สี่ร้อยดีนาร และทรงรับสั่งให้จัดเตรียมเสบียงแก่พวกมุสลิมและสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับพวกเขา ทรงให้พวกเขาโดยสารไปทางเรือสองลำพร้อมกับอัมรู บิน อุมัยยะฮ์ อัฎเฎาะมะรี  และทรงสั่งให้นำหีบใบหนึ่งมาทรงใส่สาส์นสองฉบับของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ไว้ในหีบนั้น และกล่าวว่า : ชาวเมืองเอธิโอเปียยังคงอยู่กับความดีตราบใดที่สาส์นสองฉบับนี้ยังอยู่ท่ามกลางพวกเขา
 

4.3-สาส์นของศาสดามุฮัมมัดถึงจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน(ผู้นับถือศาสนาคริสต์)

81. ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) ได้เขียนสาส์นไปยังจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันว่า  
\\\"ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผุ้ทรงเมตตาเสมอ

จากมุฮัมมัด บ่าวของอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ถึงจักรพรรดิฮิรก็อล (เฮราคลิส-Heracies)แห่งจักรวรรดิโรมัน  ความสันติจงมีแด่ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง  ฉันขอเชิญชวนพระองค์ สู่อัลอิสลาม ขอพระองค์ทรงเข้ารับอิสลาม พระองค์จะทรงได้สันติ อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนพระองค์สองเท่า ถ้าหากพระองค์ผินหลังให้ แท้จริงพระองค์ก็จะทรงรับผิด ของชาวนิกาย อะริอุส(ARIANISM)อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

(มุฮัมหมัด)เจ้าจงกล่าวเถิด โอ้ ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย สูเจ้าทั้งหลายจงมายังถ้อยคำที่เท่าเทียมกัน ระหว่างเรากับท่านทั้งหลาย(คือ)การไม่เคารพภักดีผู้อื่นนอกจากอัลเลาะฮ์ และเราจะไม่ตั้งภาคีกับพระองค์  เราบางคนจะไม่ยึดเอาบางคนเป็นพระเจ้าหลายองค์ อื่นจากอัลเลาะฮ์ ดังนั้น ถ้าหากว่าผู้ใดผินหลังให้ ท่านทั้งหลายก็จงกล่าวเถิดว่า  ท่านทั้งหลาย จงเป็นพยานเถิดว่า เราเป็นผู้นอบน้อมแล้ว\\\"     อาลิอิมรอน : 64

82. หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ  : ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้ส่ง ท่านดะฮียะฮ์ บิน ค่อลีฟะฮ์ อัลกัลบี ทูตหนึ่งในหก  ไปยังก็อยศ็อร(ซีซ่าแห่งโรม) เชิญชวนพระองค์สู่อัลอิสลาม  ท่านได้เขียนสาส์นฉบับหนึ่งแนบไปกับเขา และสั่งให้เขามอบมันให้กับท่านบุศรอผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อนำมันไปมอบให้กับจักรพรรดิก็อยศ็อรอีกทีหนึ่ง  แล้วท่านบุศรอผู้ยิ่งใหญ่ได้มอบมันให้กับพระองค์ ในตอนนั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองหิมศ์ (ซีเรีย) ในวันนั้นจักรพรรดิก็อยศ็อรทรงเดินอยู่ในการบนบานที่ทรงบนเอาไว้ว่า หากโรมปรากฏ(มีชัย)เหนือเปอร์เซีย พระองค์จะทรงเดินเท้าเปล่าจากเมืองกุสฏ็อนเฏาะนียะฮ์(คอนสแตนติโนเปิล)ไปยังเมืองเอลียา
   พระองค์ทรงอ่านสาส์นและประกาศต่อหน้าบรรดาบุคคลสำคัญแห่งโรมในตำหนักของพระองค์ที่เมืองหิมศ์  ทรงตรัสว่า โอ้ชาวโรมทั้งหลาย  สำหรับพวกท่านต้องการที่จะอยู่ในความสำเร็จและหนทางที่ถูกต้องไหม และจะทำให้อำนาจของพวกเจ้ามั่นคง สำหรับพวกเจ้า และนั่นคือการที่พวกเจ้าจะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่นบีอีซา(พระเยซู) บุตรของพระนางมัรยัมกล่าวไว้ ?   ชาวโรมคนหนึ่งกล่าวว่า  โอ้ท่านจักรพรรดิ มันคือสิ่งใดหรือ ?  ทรงตรัสว่า  คือพวกเจ้าจะต้องปฏิบัติตามศาสดาชาวอาหรับผู้นี้
ดะฮียะฮ์เล่าว่า : พวกเขาเดือดดาล ร้อนรุ่มเหมือนสัตว์ดุร้าย พวกเขาจับไปที่กระเดือกแล้วชูไม้กางเขนขึ้น เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิสทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จากพวกเขา ก็ทรงหมดหวังจากการเข้ารับอิสลามของพวกเขา  และทรงหวั่นกลัวพวกเขา(จะทำอันตราย)ต่อพระองค์และอำนาจของพระองค์  จากนั้นจึงทรงทำให้พวกเขาอยู่ในความสงบ  แล้วตรัสว่า  ที่จริงที่ข้ากล่าวกับพวกเจ้า ตามที่บอกไปนั้น ก็เพื่อทดลองใจพวกเจ้า เพื่อดูว่า พวกเจ้าจะมีความยึดมั่นในศาสนาของพวกเจ้าอย่างไร  แน่นอนข้าได้เห็นแล้วจากพวกเจ้าซึ่งสิ่งที่ข้าโปรดปราน  แล้วพวกเขาได้ก้มกราบพระองค์
   
83.ซอฮี๊ฮฺมุสลิม  จากอบูสุฟยาน( บิน ฮัรบ์  ตอนนั้นยังไม่ได้เข้ารับอิสลาม) เล่าว่า

 .... ในขณะนั้นเรา(กำลังค้าขาย)อยู่ที่เมืองช่าม(ซีเรีย)   เมื่อสาส์นจากท่านรอซูลุลลอฮฺไปถึงจักรพรรดิเฮราคลิส...  ทรงตรัสว่า ที่นี่มีใครคนหนึ่งจากหมู่ชนของชายที่ประกาศตัวว่า เขาคือศาสดาบ้างไหม ?  พวกเขากล่าวว่า มีครับ  
อบูสุฟยานเล่าว่า : ฉันถูกเชิญตัวไปพบพร้อมกับชาวกุเรชส่วนหนึ่ง  เมื่อเราเข้ามาพบจักรพรรดิเฮราคลิส พระองค์ทรงให้เรานั่งตรงหน้าพระองค์ และฉันได้ให้บรรดาสหายนั่งข้างหลังฉัน...
   แล้วพระองค์ทรงตรัสแก่ล่ามของพระองค์ว่า  จงถามเขาถึงเชื้อสายของเขา(คือท่านนบีมุฮัมมัด)ในหมู่พวกท่านว่าเป็นอย่างไร ?    อบูสุฟยานเล่าว่า ฉันได้ตอบว่า : เขาเป็นผู้มีตระกูล
ทรงถามว่า  มีใครจากบรรพบุรุษของเขาเคยเป็นกษัตริย์ไหม
อบูสุฟยาน เล่าว่า : ฉันตอบว่า  ไม่มี
ทรงถามว่า  พวกเจ้าเคยกล่าวหาเขาว่าพูดโกหก ก่อนหน้าที่เขาจะกล่าวสิ่งนี้บ้างไหม
ฉันตอบว่า  ไม่
ทรงถามว่า  แล้วมีใครปฏิบัติตามเขา คนมีฐานะหรือคนจนอ่อนแอของพวกเขา ?
ฉันตอบว่า  แต่ทว่าเป็นพวกคนอ่อนแอของพวกเขา
ทรงถามว่า  (มีผู้ตามเขา) เพิ่มขึ้นหรือลดน้อยลง
ฉันตอบว่า   ไม่ แต่มันยิ่งเพิ่มขึ้น
ทรงถามว่า  แล้วมีใครในหมู่พวกเขาไหมที่กลับออกมาจากศาสนาของเขา หลังจากที่เขาเข้าไปในศาสนานั้น แล้วมีความโกรธต่อเขา ?
ฉันตอบว่า  ไม่มี
ทรงถามว่า  แล้วพวกเจ้าได้ต่อสู้กับเขาไหม ?
ฉันตอบว่า  ใช่แล้ว
ทรงถามว่า  การต่อสู้ของพวกเจ้ากับเขานั้นเป็นเช่นไรหรือ ?
ฉันตอบว่า  การสู้รบระหว่างพวกเรากับเขาคือขว้างปาใส่กัน เขาเจอจากพวกเรา และเราเจอจากเขา
ทรงถามว่า  เขาผิดสัญญาไหม
ฉันตอบว่า ไม่  พวกเรากับเขาเคยอยู่ร่วมกันระยะเวลาหนึ่ง เราไม่เคยรู้ว่าเขาเคยทำในสิ่งนั้น...
ทรงถามว่า  แล้วมีใครเคยกล่าวเช่นนี้ก่อนหน้าเขาไหม ?
ฉันตอบว่า  ไม่มี....
ทรงตรัสว่า   ถ้าสิ่งที่เจ้ากล่าวเป็นความจริง  เขาก็คือศาสดาที่ถูกส่งมาอย่างแน่นอน
แน่นอนข้าเคยล่วงรู้มาว่า เขาจะออกมา แต่ข้าไม่เคยคาดคิดว่าเขาจะมาจากพวกเจ้า   และหากข้ารู้ ข้าจะร่วมมือกับเขา แน่นอนข้าอยากพบเขา และหากข้าอยู่กับเขา ข้าจะชำระล้างเท้าทั้งสองของเขา และอำนาจของเขาจะแผ่มาถึงสิ่งที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าทั้งสองของข้าแน่.
   อบู สุฟยานเล่าว่า  จากนั้นทรงให้นำสาส์นของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)มา แล้วทูตได้อ่านให้พระองค์ฟัง  ซิ่งในสาส์นมีใจความว่า  
 
   ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผุ้ทรงเมตตาเสมอ  
จากมุฮัมมัด  ผู้เป็นศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ ยังจักรพรรดิฮิรก็อล (เฮราคลิส-Heracies)แห่งจักรวรรดิโรมัน  ความสันติจงมีแด่ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง  ฉันขอเชิญชวนพระองค์ สู่อัลอิสลาม ขอพระองค์ทรงเข้ารับอิสลาม พระองค์จะทรงได้สันติ อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนพระองค์สองเท่า ถ้าหากพระองค์ผินหลังให้ แท้จริงพระองค์ก็จะทรงรับผิด ของชาวนิกาย อะริอุส(ARIANISM)อัลลอฮฺทรงตรัสว่า -(มุฮัมหมัด)เจ้าจงกล่าวเถิด โอ้ ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย สูเจ้าทั้งหลายจงมายังถ้อยคำที่เท่าเทียมกัน ระหว่างเรากับท่านทั้งหลาย(คือ)การไม่เคารพภักดีผู้อื่นนอกจากอัลเลาะฮ์ และเราจะไม่ตั้งภาคีกับพระองค์... \\\"     อาลิอิมรอน : 64

   เมื่อเสร็จจากการอ่านสาส์น  ก็มีเสียงดังขึ้น ต่อหน้าพระองค์ และมีการเอ็ดตะโรโวยวายกันอย่างมากมาย  และพระองค์ทรงมีรับสั่งกับเรา แล้วเราได้ถูกนำออกไป  
อบูสุฟยานเล่าว่า  ฉันได้กล่าวกับเพื่อนๆขณะที่เราออกไปว่า  เรื่องบุตรของ อบี กับชะฮฺ(คือนบีมุฮัมมัด)นั้นต้องดังแน่

4.4-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงกิสรอ(โคสโร)แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย

84.หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้ส่งอับดุลลอฮฺ บิน ฮุซาฟะฮฺ อัส-สะฮฺมี (ทูตหนึ่งในหก) ไปยังกษัตริย์กิสรอ ให้เชิญชวนพระองค์เข้าสู่อัลอิสลาม และท่านได้เขียนสาส์นหนึ่งฉบับไปพร้อมกับเขา
อับดุลลอฮฺเล่าว่า  ฉันได้มอบมันยังพระองค์ สาส์นของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) แล้วมันได้ถูกอ่านให้พระองค์ฟัง จากนั้นพระองค์ทรงหยิบมาแล้วฉีกมันทิ้ง  เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ทราบสิ่งนั้น  ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดฉีกอำนาจของเขาด้วยเถิด
   และกษัตริย์กิสรอทรงเขียนสารไปหาบาซาน(ชนเผ่ายัรบู๊อฺแห่งเยเมน)ข้าหลวงของพระองค์ที่ปกครองเมืองเยเมนว่า  เจ้าจงส่งคนของเจ้าเป็นชายสองคนที่กล้าหาญแข็งแกร่ง ไปหาชายผู้นี้เขาอยู่ที่แคว้นฮิญาซ แล้วจงให้เขาทั้งสองนำข่าวของเขามาบอกข้า
   แล้วบาซานได้ส่งนักรบผู้กล้าของเขากับชายอีกคนหนึ่งไป เขาได้เขียนสาส์นฉบับหนึ่งไปกับคนทั้งสอง  ทั้งสองเข้ามาที่เมืองมะดีนะฮ์ แล้วมอบสาส์นของบาซานยังท่านนบี(ศ)   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ยิ้มให้และเชิญทั้งสองให้เข้ารับอิสลาม จนทั้งสองหวาดกลัวจนตัวสั่น  
ท่านนบีกล่าวว่า วันนี้ให้เจ้าทั้งสองจงกลับออกไปจากฉันก่อน จนถึงวันพรุ่งนี้ท่านทั้งสองค่อยมาพบฉัน  แล้วฉันจะบอกท่านทั้งสองด้วยสิ่งที่ฉันอยากบอก  แล้วทั้งสองได้มาหาท่านในวันรุ่งขึ้น  ท่านกล่าวกับทั้งสองว่า  จงนำข่าวกลับไปยังนายของเจ้าทั้งสองว่า แท้จริงพระเจ้าของฉันทรงสังหารกษัตริย์กิสรอพระเจ้าของเขาตายเสียแล้วในคืนนี้ เมื่อประมาณเจ็ดชั่วโมงที่แล้ว  มันเป็นคืนวันอังคาร ที่ผ่านมาแล้วสิบคืนของเดือนญุมาดิลอูลา ปีที่เจ็ด  และแท้จริงอัลลอฮฺ ตะบาร่อกะ วะตะอาลา ทรงให้ชีร่อวัยฮฺบุตรชายเขาขึ้นมามีอำนาจเหนือเขา และบุตรชายได้สังหารบิดาเสียแล้ว  ดังนั้นทั้งสองจึงเดินทางกลับไปหาบาซานพร้อมด้วยข่าวนั้น (เมื่อบาซานได้ฟัง) บาซานจึงเข้ารับอิสลามพร้อมบรรดาบุตรที่อยู่ที่เมืองเยเมน

85.หนังสือตารีคอัตต็อบรี  จากเซด บิน ฮะบีบ    (ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ.) ได้ส่งอับดุลลอฮฺ บิน ฮุซาฟะฮ์ บิน ก็อยสฺ บิน อะดี บิน สะอ์ดฺ บิน สะฮ์มินไปยังกิสรอ บุตร ฮุรมุซ กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย และได้เขียนสาส์นไปกับเขาว่า
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้เมตตาเสมอ  จากมุฮัมมัด  ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺถึงกิสรอผุ้ยิ่งใหญ่แห่งเปอร์เซีย  ความสันติจงมีแด่ผู้ที่ดำเนินตามทางนำและศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์... และฉันขอเชิญชวนพระองค์ สู่การเรียกร้องของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัล เพราะแท้จริงฉันคือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺที่มายังมนุษยชาติทั้งมวล เพื่อฉันจะตักเตือนผู้ที่มีชีวิต และพระประกาศิตได้เป็นสมจริงแล้วแก่บรรดาผู้ปฏิเสธ ดังนั้นขอให้พระองค์โปรดรับอิสลาม พระองค์จะทรงได้สันติ  แต่หากพระองค์ปฏิเสธ แท้จริงพระองค์ก็จะทรงรับผิดของชาวมะญูซี(พวกบูชาไฟ)

86.หนังสืออัลมะนากิบ ของอิบนุ ชะรอชูบ จากอิบนุ มะฮฺดี อัลมามิฏีรีในหนังสือมะญาลิสของเขา เล่าว่า  : แท้จริงท่านนบี(ศ) ได้เขียนสาส์นไปถึงกษัตริย์กิสรอ   จากมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺถึงกษัตริย์กิสรอ บุตร ฮุรมุซ อัมมาบะอฺดุ  
ขอพระองค์ทรงเข้ารับอิสลาม พระองค์จะทรงได้สันติ หรือมิเช่นนั้นการรบจะเป็นที่อนุมัติจากอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ ขอความสันติจงมีแก่ผู้ปฏิบัติตามทางนำ
   เมื่อสาส์นนั้นมาถึงพระองค์ ก็ทรงฉีกมันทิ้งและดูหมิ่นมัน  และทรงตรัสว่า เขาเป็นใครกันที่กล้าชักชวนข้าเข้านับถือศาสนาของเขา และยังเริ่มด้วยชื่อของเขาก่อนชื่อของข้า ?  พระองค์ได้ส่งดินมาให้ท่านนบี  ท่าน(ศ)กล่าวว่า ขออัลลอฮฺทรงฉีกอำนาจของเขาเหมือนที่เขาได้ฉีกสาส์นของฉันด้วยเถิด   หลังจากนั้นในไม่ช้าแท้จริงพวกท่านจะฉีกอำนาจของพระองค์  และเขาได้ส่งดินมายังฉัน  ส่วนพวกท่านในไม่ช้าจะได้ครองแผ่นดินของพระองค์  
87.หนังสืออัลค่อรออิจญ์ วัลญะรออิ๊หฺ : แท้จริงกษัตริย์กิสรอทรงเขียนสาส์นไปยังฟัยรูซ อัด-ดัยละมี  (เขาคือสหายคนหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่จากสัยฟฺ อิบนิ ซี ยะซัน) ว่า เจ้าจงไปนำตัวเจ้าบ่าวคนนี้มาให้ข้า ผู้ที่เริ่มด้วยชื่อของเขาก่อนชื่อของข้า  แล้วยังบังอาจหาญต่อข้า ชักชวนข้าให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นของข้า  
ฟัยรูซมาพบท่าน(ศ) และกล่าวกับท่านว่า  พระเจ้าของฉัน บัญชาให้ฉันมานำตัวท่านไปหาพระองค์   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า แท้จริงพระเจ้าของฉันทรงแจ้งข่าวว่า แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นถูกสังหารแล้วเมื่อวานนี้  แล้วมีข่าวมาว่า พระโอรสของพระองค์ชื่อ ชีร่อวัยฮฺ  เขาได้ลงมือสังหารพระองค์เสียแล้วในคืนนี้  แล้วฟัยรูซกับผู้ที่มาพร้อมกับเขสจึงเขารับอิสลาม

4.5-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงมุเกากิส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งก็อบฏี(อียิปต์)

88.หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ :
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้ส่งฮาติบ บิน อบี บัลตะอะฮ์ อัลลัคมี (ฑูตหนึ่งในหก)ไปยัง มุเกากิส เจ้าผู้ครองเมืองอเล็กซานเดรีย ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์ ให้เชิญชวนเขาเข้าสู่อิสลาม และเขียนสาส์นไปกับพระองค์  แล้วสาส์นของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ถูกนำมาถึงพระองค์ เขาได้อ่านให้พระองค์ฟัง  มุเกากิสกล่าวกับทูตด้วยดี  พระองค์รับสาส์นนั้นไว้แล้วนำมันไปใส่ในหีบ และปิดผนึกมันแล้วส่งมันไปยังสาวใช้ของพระองค์  และพระองค์ได้เขียนสาส์นตอบไปยังท่านนบี(ศ)ว่า ข้าพเจ้ารู้ว่าท่านคือศาสดาที่แท้จริง ซึ่งคงอยู่  ข้าพเจ้าเคยคาดคิดว่า ศาสดาจะปรากฏตัว ณ .ดินแดนช่าม(ซีเรีย) ข้าพเจ้าให้เกียรติ์ต่อทูตของท่าน และข้าได้ส่งสตรีสองคนไปให้ท่าน นางทั้งสองมีสกุลใหญ่ในอียิปต์ และข้ายังได้มอบผ้าทอหนึ่งผืนกับล่อหนึ่งตัว มามอบให้แก่ท่านเพื่อเป็นพาหนะ  พระองค์ไม่ได้เพิ่มมากไปกว่านี้ และมิได้รับอิสลาม  แล้วท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้รับของกำนัลของพระองค์ไว้  ท่านได้รับหญิงสาวสองคนไว้ นางหนึ่งคือท่านหญิงมารียะฮ์ มารดาของอิบรอฮีม บุตรชายท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และน้องสาวนางชื่อซีรีน  และล่อสีขาวซึ่งตอนนั้นในแผ่นดินอาหรับยังไม่เคยมีสักตัวนอกจากตัวนี้  มันชื่อว่า ดุ่ลดุ่ล  และท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า คนไม่บริสุทธิ์ได้ยึดติดอยู่กับอำนาจของเขา และสำหรับอำนาจของเขาจะไม่คงอยู่
หาฏิบเล่าว่า  พระองค์ทรงให้เกียรติฉันในฐานะแขก และพำนักน้อยกับต้นห้องของพระองค์ ฉันมิได้พำนักกับพระองค์ นอกจากเพียงห้าวันเท่านั้น

4.6-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงฮาริษบินอบีชิมรฺ อัลฆินาอี

89.หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ได้ส่งชุญ๊าอ์ บิน วะฮับ อัลอะซะดี (หนึ่งในหกฑูต) ไปยังอัลฮาริษ บิน อบี ชิมร์ อัลฆ็อสซานี เชิญชวนเขาสู่อัลอิสลาม  ท่านเขียนสาส์นไปกับเขาหนึ่งฉบับ
ชุญ๊าอ์เล่าว่า  พบเดินทางมาหาเขา ซึ่งเขาอยู่ที่ เฆาเตาะฮ์ เมืองดามัสกัส ตอนนั้นเขากำลังยุ่งอยู่กับการจัดเตรียมการต้อนรับสำหรับกษัตริย์ก็อยศ็อร ซึ่งพระองค์ได้เสด็จจากเมืองฮิมศ์(ซีเรีย)มายังเอลียา  (ชุญ๊าอ์เล่าว่า) ผมพักอยู่กับคนเฝ้าประตูของเขาสองสามวัน  ผมกล่าวกับคนเฝ้าของเขาว่า  ข้าพเจ้าเป็นทูตตัวแทนของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)มายังเขา   คนเฝ้าของเขากล่าวว่า  ท่านจะไม่ได้เขาถึงเขา จนกว่าเขาจะออกมาหาในวันนั้นวันนี้    แล้วคนเฝ้าประตู (ชาวโรมันชื่อ มุรอ) ได้เริ่มถามผมถึงท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ผมได้เล่าให้เขาฟังถึงลักษณะของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) และสิ่งที่ท่านได้เรียกร้องสู่อิสลาม แล้วเขาก็เศร้าสลดใจ การร้องไห้ได้ครอบงำเขา พลางกล่าวว่า  แน่นอนฉันเคยอ่านคัมภีร์ไบเบิล ฉันเคยพบลักษณะของศาสดาท่านนี้(ศ) เป็นคนเดียวกันกับเขา  ฉันมีศรัทธาต่อเขาและเชื่อเขา แต่ฉันกลัวว่าท่านฮาริษจะสังหารฉัน เพราะท่านได้ให้เกียรติฉันและต้อนรับฉันอย่างดี
   แล้ววันหนึ่งอัลฮาริษได้ออกมา เขานั่งและสวมมงกุฎบนศรีษะเขา และได้อนุญาตให้ผมได้เข้ามาพบเขา ผมส่งสาส์นของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ให้เขา  เมื่อเขาได้อ่านมัน จากนั้นเขาก็โยนมันทิ้ง และกล่าวว่า เขาเป็นใครกันที่จะมาแย่งชิงอำนาจของข้าไปจากข้า   ข้าจะเป็นผู้ไปหาเขา ถึงแม้ว่าเขาจะอยู่ถึงเมืองเยเมน ข้าก็จะไปหาเขา ทุกท่านจงเตรียมเพื่อข้า
   เขายังคงสั่งการจนลุกยืน และสั่งให้เตรียมม้า สวมเกือกม้า จากนั้นเขากล่าวว่า เจ้าจงไปบอกเล่าให้นายของเจ้าตามที่เจ้าเห็น   แล้วเขาได้ส่งสาส์นไปยังกษัตริย์ก็อยศ็อร เล่าให้พระองค์ทราบถึงเรื่องราวของผม  และสิ่งที่เขาตั้งใจว่าจะทำมัน  กษัตริย์ก็อยศ็อรได้มีสาส์นมายังเขาว่า เจ้าจะต้องไม่เดินทางไปหาท่านนบี(ศ) จงยกเลิกเรื่องนั้นเสีย แล้วมาพบข้าที่เมืองเอลียา   เมื่อคำตอบของก็อยศ็อรมาถึงอัลฮาริษ  เขาจึงเรียกผมมาพบ แล้วกล่าวว่า เจ้าจะออกไปหานายของเจ้าเมื่อไหร่ ?  ผมตอบว่า พรุ่งนี้ครับ   เขาได้สั่งให้นำทองคำหนึ่งร้อยมิษก็อลมาให้ผม แล้วมุรอได้ติดต่อมาหาผม  เขาสั่งนำค่าใช้จ่ายและเสื้อผ้าอาภรณ์มามอบให้ผม และมุรอกล่าวว่า จงนำสลามจากฉันไปยังท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ด้วย
   ผมเดินทางกลับมาหาท่านนบี(ศ)และเล่าเรื่องให้ท่านฟัง  ท่านกล่าวว่า ขอให้อำนาจของอัลฮาริษพินาศ แล้วผมเล่าว่ามุรอ(คนรับใช้ของอัลฮาริษ)ได้ฝากสลามมายังท่าน และผมเล่าให้ท่านฟังต่อสิ่งที่เขากล่าว   ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ได้กล่าวว่า เขา(มุรอ)คือผู้ศรัทธา   อัลฮาริษ บิน อบี ชิมร์สิ้นชีพในปีพิชิตมักกะฮฺ
       
4.7-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงเฮาซะฮฺ บิน อาลี อัลฮานาฟี

90.หนังสืออัตต็อบกอตุลกุบรอ
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ได้ส่งสะลีฏ บิน อัมรฺ อัลอามิรี (หนึ่งในหกฑูต)ไปยังเฮาซะฮฺ บิน อาลี อัลฮานาฟี เชิญชวนเขาสู่อัลอิสลาม ท่านเขียนสาส์นไปกับเขาหนึ่งฉบับ สะลีฏเข้ามาพบเขา เขาให้ที่พักแก่สะลีฏและมอบของกำนัลให้  สะลีฏได้อ่านสาส์นของท่านนบี(ศ)   เฮาซะฮ์มีสาส์นตอบกลับ เขาได้ส่งสาส์นมายังท่านนบี(ศ)ว่า มันเป็นสิ่งดี สิ่งที่ท่านกำลังเชิญชวนไปสู่มัน และท่านได้ดำเนินการมันอย่างสวยงาม  อันตัวฉันนั้นเป็นนักกวีแห่งหมู่ชนของฉัน และเป็นนักปราศรัยของพวกเขา  ชาวอาหรับยำเกรงต่อฐานะของฉัน ดังนั้นขอให้ท่านจงมอบภารกิจบางอย่างห็แนได้ปฏิบัติตามท่านด้วย
   เฮาซะฮฺได้มอบรางวัลแก่สะลีฏและมอบเสื้อผ้าที่ทอแล้วให้เขามากมาย จากนั้นสะลีฏได้อำลาเขาออกเดินทาง  สะลีฏนำสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดมามอบให้ท่านนบี(ศ) และเล่าถึงเรื่องราวของเฮาซะฮืให้ท่านฟังตามที่เขากล่าวมา  ท่านได้อ่านสาส์นของเขา และกล่าวว่า หากเฮาซะฮฺขอฉันให้มอบสวนอินทผลัมอันเขียวชอุ่ม ฉันก็จะไม่ทำให้  เขาจะพินาศและเขาจะพินาศในสิ่งที่อยู่ในมือเขา   ต่อมาเมื่อท่าน(ศ)เดินทางกลับจากอามุลฟัตหฺ(ปีที่เปิดเมืองมักกะฮฺ)  ท่านญิบรออีลได้มาพบท่าน และแจ้งว่า ท่านนบี(ศ)ว่า เฮาซะฮ์สิ้นชีพแล้ว

4.8-สารของศาสดามุฮัมมัดถึงชุมชนที่อาศัยอยู่ที่หุบเขาติฮามะฮฺ

91.ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  - ได้ส่งสาส์นของท่านไปยังชุมชนที่อาศัยอยู่ที่หุบเขาติฮามะฮ์ ชนกลุ่มนี้พวกเขาได้คอยฉกชิงผู้ที่เดินทางผ่านไปมาจากพวกกินานะฮ์  มุซัยนะฮฺ  อัลฮะกัมและอัลกอเราะฮ์  และพวกทาสที่ติตตามพวกเขามา
   ต่อมาเมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ปรากฏ ส่วนหนึ่งของพวกเขาได้ส่งตัวแทนมาพบท่านนบี(ศ)  แล้วท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)  ได้ส่งสาส์นไปยังพวกเขาว่า
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ นี่คือสาส์นจากมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดา เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺต่อปวงบ่าวของอัลลอฮฺ ผู้มีอิสระทั้งหลาย  แท้จริงพวกเขาหากมีศรัทธา(ต่ออัลลอฮฺ)  ดำรงนมาซและจ่ายซะกาต ดังนั้นบ่าวของพวกเขา คือผู้มีอิสระ และผู้คุ้มครองพวกเขาคือมุฮัมมัด และผู้ใดก็ตามจากในหมู่พวกเขา จากเผ่าใดก็ตาม มิได้ปฏิเสธต่อมัน  และสิ่งใดในหมู่พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อที่พวกเขาประสบมัน หรือทรัพย์สินที่พวกเขาเอามันมา ดังนั้นมันก็คือของสำหรับพวกเขา และสิ่งใดสำหรับพวกเขาเกี่ยวกับศาสนาที่ยึดถือในหมู่มนุษย์ จะถูกคืนไปยังพวกเขา และจะไม่มีการอธรรมต่อพวกเขาหรือการเป็นศัตรู และแท้จริงสำหรับพวกเขาต่อสิ่งนั้นจะอยู่ในการดูแลของอัลลอฮฺและการคุ้มครองของมุฮัมมัด   ขอสันติจงมีแด่พวกท่าน  
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2010, 08:51:53 ก่อนเที่ยง
บทที่ 5

บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด




5.1- ลักษณะพิเศษของท่านนะบี(ศ)ทางด้านครอบครัว



ก.   มนุษย์ผู้ประเสริฐสุดแห่งครอบครัว


อัลกุรอาน

إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์  

ซูเราะฮ์อัลอะหฺซาบ :33


อัลฮะดีษ

92. ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า    

ข้าพเจ้าคือมุฮัมมัด บุตร อับดุลลอฮฺ บุตร อับดุลมุฏเฏาะลิบ  แท้จริงอัลลอฮฺทรงสร้างมัคลู๊กมา แล้วทรงดลบันดาลให้ฉันอยู่ในจำพวก(ฟิรเกาะฮ์)ที่ประเสริญสุดของพวกเขา  จากนั้นทรงบันดาลให้พวกเขาแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม แล้วทรงดลบันดาลให้ฉันอยู่ในกลุ่มที่ประเสริญสุดของพวกเขา

จากนั้นทรงบันดาลให้พวกเขาเป็นเผ่า(ก่อบีละฮ์)ต่างๆ แล้วทรงดลบันดาลให้ฉันอยู่ในเผ่าที่ประเสริญสุดของพวกเขา  จากนั้นทรงบันดาลให้พวกเขาเป็นบ้าน(ครอบครัว)ต่างๆ แล้วทรงดลบันดาลให้ฉันอยู่ในบ้าน(ครอบครัว)ที่ประเสริญสุดของพวกเขา ทั้งบ้านและชีวิต

93. ท่านอิม่ามอาลี (อ) กล่าวถึงซิฟัตของอัมบิยาอ์(บรรดานะบี) ว่า :

فَاسْتَوْدَعَهُمْ فِي أَفْضَلِ مُسْتَوْدَع، وَأَقَرَّهُمْ فِي خَيْرِ مُسْتَقَرّ، ...حَتَّى

(อัลลอฮฺ)ทรงวางพวกเขา(บรรดานะบี)ไว้ในครรถ์ที่ดีที่สุด  และทรงให้พวกเขาอยู่ในที่พำนัก ที่ดีที่สุด... จนกระทั่ง

أَفْضَتْ كَرَامَةُ اللهِ سُبْحَانَهُ إِلَى مُحَمَّد(ص)، فَأَخْرَجَهُ مِنْ أَفْضَلِ الْمَعَادِنِ مَنْبِتاً(2)، وَأَعَزِّ الاَْرُومَاتِ(3) مَغْرِساً(4)، مِنَ الشَّجَرَةِ الَّتِي صَدَعَ(5) مِنْهَا أَنْبِيَاءَهُ، وَانْتَجَبَ(6) مِنْهَا أُمَنَاءَهُ.  عِتْرَتُهُ خَيْرُ الْعِتَرِ(7)، وَأُسْرَتُهُ خَيْرُ الاُْسَرِ، وَشَجَرَتُهُ خَيْرُ الشَّجَرِ; نَبَتَتْ فِي حَرَم، وَبَسَقَتْ(1) فِي كَرَم، لَهَا فُرُوعٌ طِوَالٌ، وَثَمَرٌ لاَيُنَالُ.

2. مَنْبت ـ كمجلس ـ: موضع النبات ينبت فيه.
3. الارُومات ـ جمع أرُومَة ـ: الاصل.
4. المَغْرِس: موضع الغَرْس.
5. صَدَعَ فلاناً: قصده لكرمه.
6. انتجب: اختار واصطفى.
7. عتْرَته: أهل بيته، وعترة الرجل: نَسْله ورَهْطُهُ الادْنَوْنَ.
1. بَسَقَتْ: ارتفعت.

94.ท่านอิม่ามอาลี (อ) กล่าวว่า :  ครอบครัวของนะบีเป็นครอบครัวที่ประเสริฐสุด

أُسْرَتُهُ خَيْرُ أُسْرَة، وَشَجَرَتُهُ خَيْرُ شَجَرَة، أَغصَانُهَا مُعْتَدِلَةٌ، وَثِمَارُهَا مُتَهَدِّلَةٌ(2).
مَوْلِدُهُ بِمَكَّةَ، وَهِجْرَتُهُ بِطَيْبَةَ(3)، عَلا بِهَا ذِكْرُهُ، وَامْتَدَّ مِنْهَا صَوْتُهُ.
2. متهدّلة: متدلّية، دانية للاقتطاف.
3. طَيْبة: المدينة المنورة
95.ท่านอิม่ามอาลี (อ) กล่าวว่า :

وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، وَسَيِّدُ عِبَادِهِ، كُلَّمَا نَسَخَ اللهُ الْخَلْقَ(5) فِرْقَتَيْنِ جَعَلَهُ فِي خَيْرِهِمَا،

5. نَسَخَ الخلق: نَقَلَهم بالتناسل عن أصولهم، فجعلهم بعد الوحدة في الاصول فِرَقاً.

ฉันขอปฏิญานว่า  แท้จริงมุฮัมมัดคือบ่าวของพระองค์ คือรอซูลของพระองค์  และเป็นหัวหน้าแห่งปวงบ่าวของพระองค์...


ข. ความเป็นเด็กกำพร้า

อัลกุรอาน

أَلَمْ يَجِدْكَ يَتِيمًا فَآوَى {الضحى/6}

พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นเด็กกำพร้าแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ  

อัฎฎุฮา : 6


อัลฮะดีษ

96.อิม่ามบาเก็รและอิม่ามศอดิก(อ) – อธิบายโองการ

(พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นเด็กกำพร้าแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ) ว่า :

ท่านนะบี(ศ)เป็นเด็กยะตีมที่ไม่มีใครเหมือนท่าน ด้วยเหตุนี้จึงเรียก ไข่มุก(ดุรเราะฮ์) ว่า ยะตีมะฮ์ (ไข่มุกที่หายาก) เพราะไม่มีสิ่งใดเหมือนมัน

97. อิม่ามบาเก็รและอิม่ามศอดิก(อ) อธิบายโองการ(พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นเด็กกำพร้าแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ)  หมายถึง ทำให้มนุษย์มาพึ่งพิงยังเจ้า

98.อิม่ามริฎอ(อ) อธิบายโองการที่อัลลอฮ์ อัซซะวะญัล ทรงตรัสกับท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)ว่า

( พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นเด็กกำพร้าแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ) คือ : พระองค์มิได้พบเจ้าอยู่เพียงลำพังคนเดียวดอกหรือ แล้งทรงทำให้มนุษย์มาพึ่งพิงยังเจ้า


99.ตัฟสีรมัจญ์มะอุลบะยาน :

บิดาของท่านนบี(ศ)สิ้นชีพตอนท่านยังอยู่ในครรถ์มารดา  บางคนกล่าวว่า บิดาท่านเสียหลังจากท่านเกิดแล้ว ไม่นานนัก  และมารดาท่านเสียตอนท่านอายุสองขวบ  และปู่ท่านเสียตอนท่านอายุได้หกปี

100.หนังสืออิลัล อัช-ชะรออิ๊อฺ จากอิบนิอับบาส :
 
เมื่อเขาถูกถามถึงพระดำรัสของอัลลอฮฺ (พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นยะตีมแล้วทรงให้ที่พึ่งดอกหรือ) : อิบนุอับบาสกล่าวว่า : แท้จริงที่ท่านถูกเรียกว่ายะตีม เพราะไม่เคยมีใครเหมือนอย่างท่านเลย บนหน้าแผ่นดินทั้งคนรุ่นก่อนและรุ่นหลัง ดังนั้นอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลจึงตรัสอันเป็นการแสดงถึงความโปรดปรานของพระองค์ที่มีต่อเขาว่า (พระองค์มิได้ทรงพบเจ้าเป็นยะตีม) หมายถึง อยู่เพียงคนเดียว ไม่มีใครเหมือนเจ้าเลย (แล้วทรงให้ที่พึ่ง) คือให้มนุษย์พึ่งเจ้า และทรงแนะนำพวกเขาให้รู้จักความประเสริญของเจ้า จนพวกเขารู้จักเจ้า
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ กรกฎาคม 13, 2010, 08:58:47 ก่อนเที่ยง
ท่านนะบีเป็นคนยากจน

อัลกุรอาน

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

وَوَجَدَكَ عَائِلًا فَأَغْنَى

และทรงพบเจ้าเป็นผู้ขัดสน แล้วให้มั่งคั่ง (แก่) เจ้าดอกหรือ

อัลฎุฮา : 8


ลักษณะพิเศษของท่านนะบี(ศ)ทางด้านชื่อ

อัลกุรอาน
مُّحَمَّدٌ رَّسُولُ اللَّهِ

มุฮัมมัด  เป็นศาสนฑูตแห่งอัลเลาะฮ์

อัลฟัตฮุ : 29


وَإِذْ قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ يَا بَنِي إِسْرَائِيلَ إِنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُم مُّصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَمُبَشِّرًا بِرَسُولٍ يَأْتِي مِن بَعْدِي اسْمُهُ أَحْمَدُ

และจงรำลึก เมื่ออีซา อิบนฺ มัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นร่อซูลของอัลลอฮฺมายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอฮฺก่อนหน้าฉันและเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงร่อซูลคนหนึ่งผู้จะมาภายหลังฉัน ชื่อของเขาคือ อะหมัด ครั้นเมื่อเขา (อะหมัด) ได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้งแล้ว พวกเขากล่าวว่านี่คือมายากลแท้ ๆ

อัศ-ศ็อฟฟุ : 6


อัลฮะดีษ

ลักษณะพิเศษของท่านนะบี(ศ)ทางด้านจรรยามารยาท
- มีมารยาทดี

อัลกุรอาน
وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ

แท้จริงเจ้า(มุฮัมมัด) อยู่บนมารยาทอันยิ่งใหญ่

อัลเกาะลัม : 4

ท่านนะบีเป็นผู้มีความยุติธรรม

อัลกุรอาน

فَلِذَلِكَ فَادْعُ وَاسْتَقِمْ كَمَا أُمِرْتَ وَلَا تَتَّبِعْ أَهْوَاءهُمْ وَقُلْ آمَنتُ بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ مِن كِتَابٍ وَأُمِرْتُ لِأَعْدِلَ بَيْنَكُمُ اللَّهُ رَبُّنَا وَرَبُّكُمْ لَنَا أَعْمَالُنَا وَلَكُمْ أَعْمَالُكُمْ لَا حُجَّةَ بَيْنَنَا وَبَيْنَكُمُ اللَّهُ يَجْمَعُ بَيْنَنَا وَإِلَيْهِ الْمَصِيرُ

ดังนั้น เพื่อการนี้แหละเจ้าจงเรียกร้องเชิญชวนและดำรงมั่นอยู่ในแนวทางที่เที่ยงธรรมดังที่เจ้าได้รับบัญชา และอย่าได้ปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของพวกเขา และจงกล่าวว่า ฉันได้ศรัทธาในสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์ตามที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมา และฉันรับบัญชาให้ตัดสินระหว่างพวกท่านด้วยความเที่ยงธรรม อัลลอฮฺคือ พระเจ้าของฉันและพระเจ้าของพวกท่าน (การตอบแทน) การงานของฉันก็จะได้แก่ฉันและ (การตอบแทน) การงานของพวกท่านก็จะได้แก่พวกท่าน ไม่มีการโต้แย้งใด ๆ ระหว่างพวกเรากับพวกท่าน อัลลอฮฺจะทรงรวบรวมพวกเราทั้งหมด และยังพระองค์คือการกลับไป

อัชชูรอ : 15


ท่นนะบี(ศ)เป็นผู้มีความกล้าหาญ

127.อิม่ามอาลี(อ) กล่าวว่า :  แน่นอนฉันได้เห็นตัวฉันเองในวัน(สงครามที่)บะดัร  และพวกเราอยู่รอบๆตัวท่านนบี(ศ) และท่านอยู่ใกล้กับพวกศัตรูมากกว่าเรา และปรากฏว่าท่านในวันนั้นคือคนที่กล้าหาญมากที่สุด

128.อิม่ามอาลี(อ)เล่าว่า :  ปรากฏว่าพวกเรา เมื่อการสู้รบได้ร้อนแรงขึ้น เราได้เข้าขอการปกป้องต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ดังนั้นไม่มีใครในหมู่พวกเราอยู่ใกล้กับพวกศัตรูมากยิ่งไปกว่าท่าน

129.อิม่ามอาลี(อ)เล่าว่า :  ปรากฏว่าพวกเรา เมื่อการสู้รบได้ทวีความดุเดือด  พวกหมู่ชน(ฝ่ายศัตรู)เข้าประชิด พวกเราได้เข้าไปขอการปกป้องต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) ดังนั้นไม่มีใครในหมู่พวกเราอยู่ใกล้กับหมู่ชนนั้นมากยิ่งไปกว่าท่าน
ชื่อ: Re:มูฮัมหมัด ศาสดาแห่งอิสลาม
โดย: L-umar เมื่อ ตุลาคม 26, 2010, 11:39:46 ก่อนเที่ยง
:)