Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 05:06:08 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,517
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 65
  • Online ever: 70
  • (มีนาคม 10, 2024, 03:17:35 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 55
Total: 55

อัลกาฟี กับตำแหน่งอิมามะฮ์ คนที่ 1

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 13, 2009, 04:29:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ชีอะฮ์เชื่อว่า

ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) ได้แต่งตั้งท่านอะลี บุตรของอบูตอลิบ(อ)เป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากท่าน


และชีอะฮ์เชื่อว่า   ผู้นำหลังจากนบีมุฮัมมัด(ศ)  มี 12    คน   คือ

 
1.   อิม่ามอะลี     บิน อบีตอลิบ

2.   อิม่ามฮาซัน   บิน อะลี

3.   อิม่ามฮุเซน   บิน อะลี

4.   อิม่ามอะลี     บิน ฮุเซน

5.   อิม่ามมุฮัมมัด บิน อะลี

6.   อิม่ามญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด

7.   อิม่ามมูซา   บิน ญะอ์ฟัร

8.   อิม่ามอะลี   บิน มูซา

9.   อิม่ามมุฮัมมัด   บิน อะลี

10.   อิม่ามอะลี   บิน มุฮัมมัด

11.   อิม่ามฮาซัน   บิน อะลี

12.   อิม่ามมุฮัมมัดมะฮ์ดี   บิน ฮาซัน อัสการี
[/b]




อัลกาฟี  กับตำแหน่งอิมามะฮ์  คนที่ 1



หะดีษรายงานเรื่องสิบสองอิม่าม


رَوَي أَبُوْ جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ بَابَوَيْهِ الْقُمِّيّ 305-381هـ. هو الشَّيْخُ الصَّدُوْق  :
حَدَّثَنَا ْ أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي‏ قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر عَنْ غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ: سُئِلَ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ إِنِّىْ مُخَلِّفٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ مَنِ الْعِتْرَةُ ؟ فَقَالَ : أَنَا وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَالْأَئِمَّةُ التِّسْعَةُ مِنْ وُلْدِ الْحُسَيْنِ تَاسِعُهُمْ مَهْدِيُّهُمْ وَقَائِمُهُمْ لاَ يُفَارِقُوْنَ كِتَابَ اللهِ وَلاَ يُفَارِقُهُمْ حَتَّى يَرِدوا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ حَوْضَـهُ.


เชคศอดูกรายงาน :
 
อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานี(รฎ.)เล่าให้เราฟัง จากอะลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอบีอุมัยรฺ จากฆิยาษ บินอิบรอฮีม(เล่าว่า ) :  จากอัศ-ศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอะลี จากบิดาเขาคืออะลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอะลีเล่าว่า :  

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อิม่ามอะลี) ถูกถาม

ถึงความหมายวจนะของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ที่กล่าวว่า :  

แท้จริงข้าพเจ้าได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของข้าพเจ้า,

(ว่า) ใครคืออิตเราะฮ์ ?

ท่านอิม่ามอะลีตอบว่า :

คือ ฉัน, ฮาซัน, ฮูเซน  และบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คน

ที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน

คนที่ 9 คือมะฮ์ดีและคือกออิมของพวกเขา  

พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮฺจะไม่แยกจากพวกเขา

จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน.


สถานะหะดีษ  :   เศาะหิ๊หฺ  

ดูหนังสืออุยูนุล อัคบาร อัลริฎอ   โดยเชคศอดูก   เล่ม 1 : 57  หะดีษที่  25


แม้ว่า   หะดีษบทนี้ถือว่าเพียงพอแล้วที่ท่านอิม่ามอะลี(อ)ได้บอกให้ชีอะฮ์ของท่านรู้ว่า  อิม่ามสิบสองซึ่งคนแรกคือตัวท่านและคนสุดท้ายคืออัลกออิมุลมะฮ์ดี(อ)    แต่อาจมีบางท่านถามหาหลักฐานเรื่องอิมามะฮ์เพิ่มเติม ดังนั้นเราจึงได้นำมาแสดงเพื่อท่าน  





เชคกุลัยนี  บันทึกหะดีษตำแหน่งอิม่ามคนที่หนึ่งไว้ในบทชื่อ  


بَابُ الْإِشَارَةِ وَ النَّصِّ عَلَى أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ع

الكافي ج : 1  ص :  292 - 297

 
เล่ม  1 หน้า 292 - 297  

มีหะดีษทั้งหมด    9  บท หะดีษที่   1,3,4,9   มีสถาะนะ  :  ดออีฟ


หะดีษที่   2   สถาะนะ  :  เศาะหิ๊หฺ

عَنْ أَبِي حَمْزَةَ الثُّمَالِيِّ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ سَمِعْتُهُ يَقُولُ لَمَّا أَنْ قَضَى مُحَمَّدٌ نُبُوَّتَهُ وَ اسْتَكْمَلَ أَيَّامَهُ أَوْحَى اللَّهُ تَعَالَى إِلَيْهِ أَنْ يَا مُحَمَّدُ قَدْ قَضَيْتَ نُبُوَّتَكَ وَ اسْتَكْمَلْتَ أَيَّامَكَ فَاجْعَلِ الْعِلْمَ الَّذِي عِنْدَكَ وَ الْإِيْمَانَ وَ الِاسْمَ الْأَكْبَرَ وَ مِيرَاثَ الْعِلْمِ وَ آثَارَ عِلْمِ النُّبُوَّةِ فِي أَهْلِ بَيْتِكَ عِنْدَ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَإِنِّي لَنْ أَقْطَعَ الْعِلْمَ وَ الْإِيمَانَ وَ الِاسْمَ الْأَكْبَرَ وَ مِيرَاثَ الْعِلْمِ وَ آثَارَ عِلْمِ النُّبُوَّةِ مِنَ الْعَقِبِ مِنْ ذُرِّيَّتِكَ كَمَا لَمْ أَقْطَعْهَا مِنْ ذُرِّيَّاتِ الْأَنْبِيَاءِ

อบีฮัมซะฮ์ อัษ-ษุมาลีรายงาน  :

ท่านอบีญะอ์ฟัร(อิม่ามบาเก็ร)กล่าวว่า :

ผู้รายงานเล่าว่า  ฉันได้ยินท่านอิม่ามกล่าวว่า   : เมื่อท่านนบีมุฮัมมัดได้ทำหน้าที่ตำแหน่งนุบูวะฮ์ของท่านผ่านไป และท่านได้ทำให้วาระเวลาของมันครบสมบูรณ์แล้ว

อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้มีวะฮีมายังท่านว่า     โอ้มุฮัมมัด  แน่นอนเจ้าได้ทำหน้าที่นุบูวะฮ์ของเจ้าแล้วและเจ้าได้ทำวาระเวลาของมันครบสมบูรณ์แล้ว    

ดังนั้นเจ้าจงทำ(มอบ)อิลมูความรู้(เรื่องอะห์กาม)ที่อยู่กับเจ้า  และอีหม่าน(อุศูลุดดีน ,อัรกาน เตาฮีด) , อิสมุลอักบัร,  มีรอษ อิลมิ , อาษ้าร อิลมุลนุบูวะฮ์ ไว้กับอะฮ์ลุลบัยต์ของเจ้า ที่อะลี บินอบีตอลิบ

เพราะแท้จริงข้าจะไม่ตัดอิลมูความรู้, อีหม่าน, อิสมุลอักบัร, มีรอษ อิลม์และอาษ้าร อิลมุลนุบูวะฮ์ออกไปจากลูกหลานของเจ้า  เหมือนที่ข้าไม่เคยตัดมันออกจากลูกหลานของบรรดานบี.



หะดีษที่   5   สถาะนะ  :  มุวัษษัก


عَنْ أَبِي بَصِيرٍ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ كُنْتُ عِنْدَهُ جَالِساً فَقَالَ لَهُ رَجُلٌ حَدِّثْنِي عَنْ وَلَايَةِ عَلِيٍّ أَ مِنَ اللَّهِ أَوْ مِنْ رَسُولِهِ فَغَضِبَ ثُمَّ قَالَ وَيْحَكَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص أَخْوَفَ لِلَّهِ مِنْ أَنْ يَقُولَ مَا لَمْ يَأْمُرْهُ بِهِ اللَّهُ بَلِ افْتَرَضَهُ كَمَا افْتَرَضَ اللَّهُ الصَّلَاةَ وَ الزَّكَاةَ وَ الصَّوْمَ وَ الْحَجَّ


อบูบะศีรรายงาน  :  

จากท่านอบีญะอ์ฟัร (อิม่ามบาเก็ร)

รอวีเล่าว่า  :      ฉันนั่งอยู่กับท่านอิม่าม (มุฮัมมัดบาเก็ร)  มีชายคนหนึ่งกล่าวกับท่านว่า    จงบอกฉันฟังสิ  เกี่ยวกับการเป็นผู้ปกครองของท่านอะลีว่า  มันมาจากอัลเลาะฮ์  หรือมาจากรอซูลของพระองค์  ?

(จากคำพูดของชายคนนั้นทำให้)ท่านอิม่ามบาเก็รโกรธ ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า  วิบัติจงมีแด่ท่าน  ท่านรอซูลุลเลาะฮ์เป็นผู้เกรงกลัวต่ออัลเลาะฮ์มากที่สุด เกินกว่าที่ท่านจะกล่าวสิ่งที่อัลเลาะฮ์ไม่เคยสั่งท่านต่อสิ่งนั้น    แต่ทว่าท่าน(รอซูล)ได้กำหนดมันไว้ ดังที่อัลเลาะฮ์ได้กำหนดเรื่องการนมาซ  การจ่ายซะกาต   การถือศีลอด และการประกอบพิธีหัจญ์.




หะดีษที่   6   สถาะนะ  :  มุวัษษัก

عَنْ أَبِي الْجَارُودِ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ سَمِعْتُ أَبَا جَعْفَرٍ ع يَقُولُ فَرَضَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ عَلَى الْعِبَادِ خَمْساً أَخَذُوا أَرْبَعاً وَ تَرَكُوا وَاحِداً قُلْتُ أَ تُسَمِّيهِنَّ لِي جُعِلْتُ فِدَاكَ فَقَالَ الصَّلَاةُ وَ كَانَ النَّاسُ لَا يَدْرُونَ كَيْفَ يُصَلُّونَ فَنَزَلَ جَبْرَئِيلُ ع فَقَالَ يَا مُحَمَّدُ أَخْبِرْهُمْ بِمَوَاقِيتِ صَلَاتِهِمْ ثُمَّ نَزَلَتِ الزَّكَاةُ فَقَالَ يَا مُحَمَّدُ أَخْبِرْهُمْ مِنْ زَكَاتِهِمْ مَا أَخْبَرْتَهُمْ مِنْ صَلَاتِهِمْ ثُمَّ نَزَلَ الصَّوْمُ فَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص إِذَا كَانَ يَوْمُ عَاشُورَاءَ بَعَثَ إِلَى مَا حَوْلَهُ مِنَ الْقُرَى فَصَامُوا ذَلِكَ الْيَوْمَ فَنَزَلَ شَهْرُ رَمَضَانَ بَيْنَ شَعْبَانَ وَ شَوَّالٍ ثُمَّ نَزَلَ الْحَجُّ فَنَزَلَ جَبْرَئِيلُ ع فَقَالَ أَخْبِرْهُمْ مِنْ حَجِّهِمْ مَا أَخْبَرْتَهُمْ مِنْ صَلَاتِهِمْ وَ زَكَاتِهِمْ وَ صَوْمِهِمْ ثُمَّ نَزَلَتِ الْوَلَايَةُ وَ إِنَّمَا أَتَاهُ ذَلِكَ فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ بِعَرَفَةَ أَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي (المائدة -: 3 -) وَ كَانَ كَمَالُ الدِّينِ بِوَلَايَةِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ ع فَقَالَ عِنْدَ ذَلِكَ رَسُولُ اللَّهِ ص أُمَّتِي حَدِيثُو عَهْدٍ بِالْجَاهِلِيَّةِ وَ مَتَى أَخْبَرْتُهُمْ بِهَذَا فِي ابْنِ عَمِّي يَقُولُ قَائِلٌ وَ يَقُولُ قَائِلٌ فَقُلْتُ فِي نَفْسِي مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْطِقَ بِهِ لِسَانِي فَأَتَتْنِي عَزِيمَةٌ مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ بَتْلَةً أَوْعَدَنِي إِنْ لَمْ أُبَلِّغْ أَنْ يُعَذِّبَنِي فَنَزَلَتْ يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكافِرِينَ (المائدة -: 67 -) فَأَخَذَ رَسُولُ اللَّهِ ص بِيَدِ عَلِيٍّ ع فَقَالَ أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّهُ لَمْ يَكُنْ نَبِيٌّ مِنَ الْأَنْبِيَاءِ مِمَّنْ كَانَ قَبْلِي إِلَّا وَ قَدْ عَمَّرَهُ اللَّهُ ثُمَّ دَعَاهُ فَأَجَابَهُ فَأَوْشَكَ أَنْ أُدْعَى فَأُجِيبَ وَ أَنَا مَسْئُولٌ وَ أَنْتُمْ مَسْئُولُونَ                          
 فَمَا ذَا أَنْتُمْ قَائِلُونَ فَقَالُوا نَشْهَدُ أَنَّكَ قَدْ بَلَّغْتَ وَ نَصَحْتَ وَ أَدَّيْتَ مَا عَلَيْكَ فَجَزَاكَ اللَّهُ أَفْضَلَ جَزَاءِ الْمُرْسَلِينَ فَقَالَ اللَّهُمَّ اشْهَدْ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ ثُمَّ قَالَ يَا مَعْشَرَ الْمُسْلِمِينَ هَذَا وَلِيُّكُمْ مِنْ بَعْدِي فَلْيُبَلِّغِ الشَّاهِدُ مِنْكُمُ الْغَائِبَ

อบิลญารู๊ดรายงาน  จากอบีญะอ์ฟัร(อิม่ามบาเก็ร)  :

รอวีเล่าว่า  ฉันได้ยินท่านอบาญะอ์ฟัร(อ)กล่าวว่า  :

อัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัลทรงกำหนดฟัรฎูต่อปวงบ่าวไว้  5  ประการ   พวกเขารับเอาไปสี่ประการ และพวกเขาทิ้งไปหนึ่งประการ
ฉัน(รอวี)กล่าวว่า :  ขอให้ท่านบอกประการเหล่านั้นให้ฉันฟังที ขอเอาตัวฉันเสียสละเพื่อท่าน


ท่านอิม่ามกล่าวว่า :

คือ การนมาซ   และประชาชนไม่รู้ว่า พวกเขาจะนมาซกันอย่างไร  แล้วญิบรออีล(อ)ได้ลงมา ท่านได้กล่าวว่า  โอ้มุฮัมมัด  จงแจ้งพวกเขาต่อกำหนดเวลาการนมาซของพวกเขา


ต่อจากนั้น  การจ่ายซะกาตได้ถูกประทานลงมา  ท่าน(ญิบรออีล) ได้กล่าวว่า  โอ้มุฮัมมัด จงแจ้งพวกเขาถึงการจ่ายซะกาตของพวกเขา  เหมือนสิ่งที่ท่านได้แจ้งพวกเขาจากเรื่องการนมาซของพวกเขา

ต่อจากนั้น   การถือศีลอดได้ถูกประทานลงมา แล้วปรากฏว่าท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ) เมื่อเป็นวันอาชูรอท่านได้ส่ง(ข่าว)ไปยังที่อยู่รอบๆท่านจากบรรดาหัวเมืองต่างๆ  แล้วพวกเขาได้ถือศีลอดในวันนั้น

แล้ว(การถือศีลอด)เดือนรอมฎอนได้ประทานลงมา เป็นเดือนที่อยู่ระหว่างชะอ์บานกับเชาวาล

ต่อจากนั้นจากประกอบพิธีหัจญ์ได้ประทานลงมา  แล้วท่านญิบรออีล(อ)ได้ลงมา ท่านได้กล่าวว่า  (โอ้มุฮัมมัด) ท่านจงแจ้งพวกเขาเกี่ยวกับการทำหัจญ์ของพวกเขา สิ่งที่ท่านได้บอกพวกเขาถึงการนมาซ ,การจ่ายซะกาตและการถือศีลอดของพวกเขา


ต่อจากนั้น  อัลวิลายะฮ์(อำนาจการปกครองของท่านอะลี)ได้ถูกประทานลงมา  และแท้จริง(เรื่องนี้)นั้นได้มาถึงในวันศุกร์ที่อะเราะฟะฮ์
อัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัลทรงประทาน(โองการ)ลงมาว่า
   

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي

วันนี้ ข้าได้ทำดีน(ศาสนา)ของสูเจ้าให้สมบูรณ์แล้ว

และข้าได้ทำให้นิ๊อฺมะฮ์(ความเมตตา)ของข้าครบถ้วนแล้ว   สำหรับพวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  : 3

และปรากฏว่า  ศาสนามีความสมบูรณ์ด้วยเรื่องวิลายะฮ์ของท่านอะลี บินอบีตอลิบ (อ)

ณ.บัดนั้นเองท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)จึงกล่าวว่า  อุมมะฮ์ของข้าพเจ้า พึ่งผ่านยุคญาฮิลียะฮ์มาหมาดๆ  และเมื่อใดที่ข้าพเจ้าบอกพวกเขาด้วยสิ่งนี้เกี่ยวกับบุตรของลุงข้าพเจ้า

ก็จะมีคนพูด  และจะมีคนพูด  ฉันจึงกล่าวกับตัวเองโดยลิ้นของฉันมิได้เอ่ยมันออกไป

แต่แล้วความตั้งใจอย่างแน่วแน่จากอัลเลาะฮ์ อัซซะวะญัลได้มายังฉัน อย่างเด็ดขาดทรงสำทับฉันว่า  หากฉันไม่ประกาศ พระองค์จะลงโทษฉัน

แล้วโองการนี้ได้ประทานลงมา  


يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكافِرِينَ


โอ้รอซูลเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า

และหากเจ้าไม่ทำ  ดังนั้นเท่ากับเจ้าไม่ได้ประกาศสาส์นของพระองค์(มาก่อน)เลย

และอัลเลาะฮ์จะปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์(ที่คิดร้าย)  

แท้จริงอัลเลาะฮ์จะไม่นาทางหมู่ชน กาฟิรีน

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  : 67


ท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)จึงได้จับมือท่านอะลีชูขึ้น  แล้วกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย  แท้จริงไม่เคยมีนบีใดจากบรรดานบี ที่มาก่อนหน้าฉัน  เว้นแต่ อัลเลาะฮ์ได้ทำให้เขามีอายุยืนยาว  ต่อจากนั้นก็ทรงเรียกเขา(กลับคืนสู่พระองค์) แล้วเขาก็ตอบรับพระองค์
ดังนั้นฉันเองก็ใกล้ที่จะถูกเรียกแล้ว แล้วฉันก็ตอบรับ   และฉันนั้นจะต้องถูกถาม และพวกท่านก้จะต้องถูกถาม   ดังนั้นพวกท่านจะกล่าวอะไร

พวกเขากล่าวว่า  เราขอปฏิญาณว่าแท้จริงท่านได้ประกาศแล้ว  ได้ตักเตือนแล้ว  ได้ทำหน้าที่ในสิ่งที่อยู่บนท่านแล้ว ขออัลเลาะฮ์ประทานแก่ท่านซึ่งการตอบแทนที่ดีที่สุดแห่งการตอบแทนของบรรดามุรสะลีน
ท่านกล่าวว่า  โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดเป็นพยานด้วย สามครั้ง จากนั้นท่านกล่าวว่า  ดอ้บรรดามุสลิมทั้งหลาย  ชายคนนี้( อะลี) คือวะลี(ผู้ปกครอง)ของพวกท่านหลังจากฉัน  ดังนั้นขอให้คนที่อยู่(ณ.ที่นี้)จากพวกท่าน จงไปประกาศแก่ผู้ที่ไม่ได้อยู่(ณ.ที่นี้ด้วย)...


หะดีษที่   7   สถาะนะ  :  เศาะหิ๊หฺ


عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ قُلْتُ لِأَبِي جَعْفَرٍ ع إِنَّ رَجُلًا مِنَ الْمُخْتَارِيَّةِ لَقِيَنِي فَزَعَمَ أَنَّ مُحَمَّدَ بْنَ الْحَنَفِيَّةِ إِمَامٌ فَغَضِبَ أَبُو جَعْفَرٍ ع ثُمَّ قَالَ أَ فَلَا قُلْتَ                          
لَهُ قَالَ قُلْتُ لَا وَ اللَّهِ مَا دَرَيْتُ مَا أَقُولُ قَالَ أَ فَلَا قُلْتَ لَهُ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ ص أَوْصَى إِلَى عَلِيٍّ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ فَلَمَّا مَضَى عَلِيٌّ ع أَوْصَى إِلَى الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ وَ لَوْ ذَهَبَ يَزْوِيهَا عَنْهُمَا لَقَالا لَهُ نَحْنُ وَصِيَّانِ مِثْلُكَ وَ لَمْ يَكُنْ لِيَفْعَلَ ذَلِكَ وَ أَوْصَى الْحَسَنُ إِلَى الْحُسَيْنِ وَ لَوْ ذَهَبَ يَزْوِيهَا عَنْهُ لَقَالَ أَنَا وَصِيٌّ مِثْلُكَ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ ص وَ مِنْ أَبِي وَ لَمْ يَكُنْ لِيَفْعَلَ ذَلِكَ قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ أُولُوا الْأَرْحامِ بَعْضُهُمْ أَوْلى‏ بِبَعْضٍ (الأنفال -: 75 -) هِيَ فِينَا وَ فِي أَبْنَائِنَا


อบูบะศีรรายงาน :

เขาเล่าว่า  ฉันได้กล่าวกับท่านอบูญะอ์ฟัร (อิม่ามบาเก็ร) ว่า  :

แท้จริงมีชายคนหนึ่งมาจากพวกมุคตารียะฮ์  เขาได้พบกับฉัน แล้วเขาอ้างว่า แท้จริงมุฮัมมัด บินฮะนะฟียะฮ์คืออิหม่ามผู้นำ

ท่านอบูญะอ์ฟัร(อ)จึงโกรธ จากนั้นท่านกล่าวว่า  : ก็แล้วทำไมท่านไม่พูดกับเขาหรือ ?  

ฉันตอบว่า  : ปล่าวครับ  ขอสาบานต่ออัลเลาะฮ์ว่าฉันไม่รู้ว่าจะกล่าวอะไร

ท่านกล่าวว่า  : ท่านไม่ได้กล่าวกับเขาดอกหรือว่า  แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้สั่งเสียแต่งตั้งท่านอะลี  ฮาซันและฮูเซนไว้แล้ว...



หะดีษที่   8   สถาะนะ  :  มุวัษษัก

عَنْ أَبَانِ بْنِ تَغْلِبَ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ لَمَّا حَضَرَ رَسُولَ اللَّهِ ص الْمَوْتُ دَخَلَ عَلَيْهِ عَلِيٌّ ع فَأَدْخَلَ رَأْسَهُ ثُمَّ قَالَ يَا عَلِيُّ إِذَا أَنَا مِتُّ فَغَسِّلْنِي وَ كَفِّنِّي ثُمَّ أَقْعِدْنِي وَ سَلْنِي وَ اكْتُبْ

อะบาน บินตัฆลิบรายงาน  :

ท่านอบีอับดิลละฮ์ ( อิม่ามศอดิก)กล่าวว่า :

เมื่อความตายได้มาถึงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)    ท่านอะลีได้เข้ามาหาท่าน
 
แล้วท่าน(รอซูล)ได้นำศรีษะ(ท่านอะลีเข้ามาในผ้าห่มของท่าน)  จากนั้นท่านกล่าวว่า

โอ้อะลี เมื่อฉันตาย ท่านจงอาบน้ำฆุสุ่ลให้ฉัน  จงห่อกะฝั่นให้ฉัน  จากนั้นจงเอาฉันนั่งและจงถามฉันและจงบันทึก

 

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران  



คำถามสำหรับวาฮาบี


เมื่อชีอะฮ์มีหะดีษรายงานไว้ชัดว่า   ท่านนบีมุฮัมมัด ก่อนวะฟาตได้แต่งตั้งท่านอะลี  เป็น  ผู้สืบทอดอำนาจการปกครองต่อจากท่าน


ทำไมท่าน  จึงกล่าวหาว่า  ชีอะฮ์กุเรื่องนี้ขึ้นเอง   ?    
  •  

L-umar




ขอให้ชีอะฮ์ยก



หะดีษ  "  มันกุนตุ เมาลาฮุ ฟะอะลียุน เมาลาฮฺ "  

จากตำราอะฮ์ลุสสุนนะฮ์  มาแสดงด้วยเงื่อนไขที่ว่า  ต้องเป็นหะดีษเศาะหิ๊หฺ





ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ได้แต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์  (1) ณ.สถานที่ชื่อ " เฆาะดีรคุม " หลังกลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย  มีหะดีษเศาะหิ๊หฺรายงานดังนี้


อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน


عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ(عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ) رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :

لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

مسند أحمد بن حنبل بتعليق شعيب الأرنؤوط ج 5 ص 419 ح : 23609
المستدرك الحاكم بتعليق الذهبي ج 3 ص 118 ح : 4576
المعجم الكبير للطبراني ج 5 ص 166 ح : 4969
سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  
مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح


อบู ตุเฟล ( อามิร บินวาษิละฮ์ ) รายงาน  :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักบริเวณ)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลาน)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และอิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)  

จากนั้นท่าน(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า :  แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  แล้วท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา    โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 ฮะดีษที่ 1750  
ตรวจทานโดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี (2)

หะดีษบทนี้ยังเป็น " หะดีษมุตะวาติร "  อีกด้วยเพราะเศาะหาบะฮ์ได้รายงานไว้มากมายหลายคน ตามที่เชคอัลบานีได้กล่าวไว้ในหนังสือซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 ฮะดีษที่ 1750  


عَنْ رِيَاحِ بْنِ الْحَارِثِ قَالَ :  جَاءَ رَهْطٌ إِلَى عَلِيٍّ بالرَّحْبَةِ فَقَالُوا السَّلَامُ عَلَيْكَ يَا مَوْلَانَا قَالَ كَيْفَ أَكُونُ مَوْلَاكُمْ وَأَنْتُمْ قَوْمٌ عَرَبٌ قَالُوا سَمِعْنَا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ يَقُولُ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ هَذَا مَوْلَاهُ قَالَ رِيَاحٌ فَلَمَّا مَضَوْا تَبِعْتُهُمْ فَسَأَلْتُ مَنْ هَؤُلَاءِ قَالُوا نَفَرٌ مِنْ الْأَنْصَارِ فِيهِمْ أَبُو أَيُّوبَ الْأَنْصَارِيُّ

تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح
الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل الناشر : مؤسسة قرطبة – القاهرة  عدد الأجزاء : 6
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها


ริยาห์ บินอัลฮาริษรายงาน :

มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอะลี เพื่อแสดงความยินดี(ในวันที่ท่านเข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์)  พวกเขากล่าวว่า อัสสะลามุ อะลัยกะ ยาเมาลานา – ขอสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ผู้เป็นนายของพวกเรา
ท่าน(อะลี)กล่าวว่า : ข้าพเจ้าจะเป็นนายของพวกท่านได้อย่างไร ในเมื่อพวกท่านเป็นชนชาติอาหรับ(คือพวกท่านเป็นอิสระชนไม่ได้เป็นทาสของใคร)
พวกเขากล่าวว่า : พวกเราได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)กล่าวในวันเฆาะดีรคุมว่า  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นนายของเขา  ดังนั้นชายคนนี้(คืออะลี)ก็เป็นนายของเขา
ท่านริยาห์เล่าว่า เมื่อคนกลุ่มนั้นกลับไป ฉันได้ติดตามพวกเขาไป แล้วฉันถามว่า บุคคลเหล่านี้เป็นใคร พวกเขาตอบว่า พวกเขาเป็นชาวอันศ็อร ในนั้นมีท่านอบูอัยยูบ อัลอันศอรีอยู่ด้วย

สถานะหะดีษ :  เศาะหิ๊หฺ    

ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด หะดีษที่ 23609    
ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ  (3)


حَدَّثَنَا عَفَّانُ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ أَخْبَرَنَا عَلِيُّ بْنُ زَيْدٍ عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ عَنِ الْبَرَاءِ بْنِ عَازِبٍ قَالَ :   كُنَّا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي سَفَرٍ فَنَزَلْنَا بِغَدِيرِ خُمٍّ فَنُودِيَ فِينَا الصَّلَاةُ جَامِعَةٌ وَكُسِحَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَحْتَ شَجَرَتَيْنِ فَصَلَّى الظُّهْرَ وَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ فَقَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا بَلَى قَالَ أَلَسْتُمْ تَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِكُلِّ مُؤْمِنٍ مِنْ نَفْسِهِ قَالُوا بَلَى قَالَ فَأَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ فَقَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ
قَالَ فَلَقِيَهُ عُمَرُ بَعْدَ ذَلِكَ فَقَالَ هَنِيئًا يَا ابْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ وَأَمْسَيْتَ مَوْلَى كُلِّ مُؤْمِنٍ وَمُؤْمِنَةٍ


อัลบัรรออ์ บินอาซิบรายงานว่า :

พวกเราอยู่กับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ในการเดินทาง แล้วเราได้แวะพักลงที่เฆาะดีรคุม ดังนั้นมีเสียงประกาศในหมู่พวกเราให้นมาซญะมาอะฮ์ ถูกกวาดให้ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ใต้ต้นไม้สองต้น แล้วท่านได้นมาซซุฮ์ริ และท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) ท่านกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงข้าพเจ้ามีสิทธิต่อบรรดาผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง  พวกเขากล่าวว่า หามิได้ ใช่แล้วครับ
ท่านกล่าว(อีกครั้งหนึ่ง)ว่า พวกท่านไม่รู้ดอกหรือว่า แท้จริงข้าพเจ้ามีสิทธิต่อผู้ศรัทธาทุกคนมากยิ่งกว่าตัวของเขาเอง  พวกเขากล่าวว่า หามิได้ ใช่แล้วครับ อัลบัรรออ์เล่าว่า แล้วท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :  บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา    โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา
อัลบัรรออ์เล่าว่า : ท่านอุมัรได้เข้าไปพบท่านอะลี หลังจากนั้น แล้วกล่าวว่า :  ขอแสดงความยินดีด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ ท่านได้กลายเป็นนายของผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงทุกคนแล้วทั้งยามเช้ายามเย็น

สถานะหะดีษ : มุตะวาติร  

ดูมุสนัดอิม่ามอะหมัด หะดีษที่ 17749  

قال الألباني : رجاله ثقات رجال مسلم غير علي بن يزيد و هو ابن جدعان ، و هو ضعيف .
الكتاب : السلسلة الصحيحة  ج 4 ص 249  المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني
مصدر الكتاب : برنامج منظومة التحقيقات الحديثية - المجاني - من إنتاج مركز نور الإسلام لأبحاث القرآن والسنة بالإسكندرية


อัลบานีกล่าวว่า :

บรรดานักรายงานฮะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ เป็นนักรายงานของมุสลิม ยกเว้นอะลี บินยะซีด เขาคืออิบนุ ญัดอาน ซึ่งเขาดออีฟ  

อ้างอิงจากหนังสือซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 249  หะดีษที่ 1750  โดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี  


หากนำหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับหะดีษที่
อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน



عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّه‏ (ع) عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ } (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع فَقُلْتُ لَهُ إِنَّ النَّاسَ يَقُولُونَ فَمَا لَهُ لَمْ يُسَمِّ عَلِيّاً وَ أَهْلَ بَيْتِهِ ع فِي كِتَابِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ قَالَ فَقَالَ قُولُوا لَهُمْ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ ص نَزَلَتْ عَلَيْهِ الصَّلَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ اللَّهُ لَهُمْ ثَلَاثاً وَ لَا أَرْبَعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ عَلَيْهِ الزَّكَاةُ وَ لَمْ يُسَمِّ لَهُمْ مِنْ كُلِّ أَرْبَعِينَ دِرْهَماً دِرْهَمٌ حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَ الْحَجُّ فَلَمْ يَقُلْ لَهُمْ طُوفُوا أُسْبُوعاً حَتَّى كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ص هُوَ الَّذِي فَسَّرَ ذَلِكَ لَهُمْ وَ نَزَلَتْ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ} (النساء -: 59 -) وَ نَزَلَتْ فِي عَلِيٍّ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص فِي عَلِيٍّ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

كتاب : الكافي للشيخ الكليني ج : 1  ص :  287  ح : 1
بَابُ مَا نَصَّ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ وَ رَسُولُهُ عَلَى الْأَئِمَّةِ ع وَاحِداً فَوَاحِدا
تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران


อบูบะศีรเล่าว่า :


ฉันได้ถามท่านอบูอับดุลลอฮ์ อิม่ามญะอ์ฟัร อัศ-ศอดิก(อ)ถึงดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลที่ตรัสว่า


( สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า )


บทที่ 4 : 59  

ท่านอิม่ามกล่าวว่า :  

โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี, ฮาซัน และฮูเซน

ฉันกล่าวกับท่านว่า :

แท้จริงประชาชนกล่าวว่า ทำไมไม่เห็นมีชื่อท่านอะลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขากล่าวในคัมภีร์ของอัลลอฮ์เลย  ?

อบูบะศีรเล่าว่า  ท่านอิม่ามกล่าวว่า :

พวกท่านจงกล่าวกับพวกเขาเถิดว่า  :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) มีโองการเรื่องนมาซประทานลงมายังท่าน  
ก็ไม่เห็นอัลลอฮฺตรัสว่ามีสามหรือสี่(เราะกะอะฮ์)เลย จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา

มีโองการเรื่องการจ่ายทานซะกาตประทานลงมายังท่าน
ก็ไม่เห็นพระองค์ตรัสเลยว่า(ผู้ใดมีเงิน)ทุกสี่สิบดิรฮัม(ต้องจ่ายซะกาต)หนึ่งดิรฮัม จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา    

มีโองการเรื่องการทำฮัจญ์ประทานลงมา
พระองค์ก็ไม่ได้ตรัสกับพวกเขาว่า สูเจ้าจงเดินเฏาะว๊าฟเจ็ดรอบ จนท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)คือผู้ที่อธิบายสิ่งนั้นแก่พวกเขา

และมีโองการ

( สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า )

ประทานลงมา ซึ่งโองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี, ฮาซัน และฮูเซน  

ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)จึงได้กล่าวเกี่ยวกับท่านอะลีว่า

ผู้ใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูอัลกาฟี   โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 287 หะดีษที่ 1

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



ถามคำ :  " เมาลา "  และ  " วะลี "  แปลว่าอะไร ?  

ความหมายคำ  : เมาลา - مَوْلَى

มาจากอาการนามสองคำคือ    วะลายะฮ์ ( وَلاَيَةٌ )  และวิลายะฮ์ ( وِلاَيَةٌ )

1,   أَنْتَ وَلِيُّنَا فَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا وَأَنْتَ خَيْرُ الْغَافِرِينَ

พระองค์ทรงเป็น(วะลี)ผู้ปกครองเรา  ( อัลอะอ์รอฟ : 155 )

2,   ذَلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ مَوْلَى الَّذِينَ آَمَنُوا وَأَنَّ الْكَافِرِينَ لَا مَوْلَى لَهُمْ

ทั้งนี้เนื่องจากว่าอัลลอฮ์ทรงเป็น(เมาลา)ผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา  ( มุฮัมมัด : 11 )

วะลายะฮ์หมายถึง

ความรัก(مَحَبَّةٌ) กล่าวคือมุสลิมจะต้องให้ความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบี  เหมือนที่พวกเขารักท่านรอซูลุลลอฮ์ และความรักในที่นี้จะสมบูรณ์ได้ด้วยการเชื่อฟังปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์


วิลายะฮ์หมายถึง

ผู้นำ ( อิม่าม ) หรือผู้ปกครอง ( ฮากิม ) ซึ่งมันจะสมบูรณ์แบบได้ด้วยการมอบสัตยาบันต่อนายของเขา   กล่าวคือจนกว่าท่านอะลีจะได้เป็นผู้ปกครองอย่างสมบูรณ์แบบหลังจากท่านรอซูลุลลอฮ์วะฟาต

ทั้งคำวะลีและเมาลาไม่ว่าจะแปลว่า " คนรัก " หรือ " ผู้ปกครอง " ก็ตาม  ท่านอะลีก็ยังรอคอยประชาชาติอิสลามหันกลับมายึดถือปฏิบัติแนวทางของท่าน   แล้วความหมายนั้นจึงจะสมบูรณ์

มุสลิมบางส่วนอาจกล่าวว่า  เราก็มีความรักต่อท่านอะลีเช่นกันไม่ใช่เฉพาะชีอะฮ์เท่านั้น  ?  

แน่นอนคำพูดนี้คือสัจธรรม แต่แฝงไว้ด้วยความเท็จ     เพราะพวกเขาบอกว่ารักท่านอะลี แต่ไม่ทำตามแนวทางของอะลี

หากความรักเป็นได้แค่เพียงคำพูด   แล้วจะมีประโยชน์อันใด  

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าท่านรอซูลุลลอฮ์ได้วางหนทางที่เที่ยงตรงไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มุสลิมหลงออกจากทางที่เที่ยงตรง   นั่นคือการปฏิบัติตามคัมภีร์กุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์นบี !!!


เชิงอรรถ –


(1) คอลีฟะฮ์ แปลว่า ผู้สืบตำแหน่งแทน มาจากอักษรอรับสามตัวคือ คออ์,ลาม,ฟาอ์ (خلف) ค่อละฟ่าแปลว่า สืบทอด,สืบตำแหน่ง  อัต-ตัคลีฟ( التخليف  ) หมายถึงการสืบทอดตำแหน่งหรือทำหน้าที่แทนผู้แต่งตั้งที่ได้มอบหมายหน้าที่เอาไว้เช่น ท่านอะลีคือคอลีฟะฮ์ของนบีมุฮัมมัด หมายความว่า ท่านอะลีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งหน้าที่แทนนบีมุฮัมมัด  ฉะนั้นอัลกุรอานกับอะฮ์ลุลบัยต์คือสิ่งที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่ท่านรอซูลุลลอฮ์( مقام رسول الله ) เพราะท่านได้มอบสองสิ่งนี้ไว้กับประชาชาติมุสลิมให้ปฏิบัติตาม


(2) เชค มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานี  บุตรฮัจญี นู๊หฺ อัลอัลบานี  อุละมาอ์วาฮาบี ผู้โด่งดังคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน  นับได้ว่าเขาเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งโดยเฉพาะวิชาอิลมุลญัรฮุ วัต-ตะอ์ดีล(วิชาเกี่ยวกับชีวประวัตินักรายงานฮะดีษ)   เกิดปีฮ.ศ. 1333 ตรงกับค.ศ. 1914 ที่ประเทศอัลบาเนีย จากนั้นเขาและบิดาได้ย้ายมาอยู่ที่ดามัสกัสประเทศซีเรีย บิดาเป็นอุละมาอ์มัซฮับฮานาฟี  เขามรณะวันเสาร์ที่ 22 ญุมาดิลอาคิเราะฮ์ ฮ.ศ. 1420 ตรงกับค.ศ. 1999     ปัจจุบันอะฮ์ลุสซุนนะฮ์โดยส่วนมากจะอ้างอิงฮะดีษที่ผ่านการตรวจสอบจากเชคอัลบานีเป็นหลักฐาน และมีอุละมาอ์ซุนนี่บางส่วนที่ไม่ยอมรับการวินิจฉัยฮะดีษของเขาเช่นกัน
http://www.alalbany.net/albany_serah.php


(3) เชคชุเอบ บินมุฮัรรอม อัลอัรนะอูฏ  อุละมาอ์วาฮาบี  เชื้อสายอัลบาเนีย  ต้นตระกูลได้อพยพไปอยู่ที่ดามัสกัสประเทศซีเรียปีค.ศ. 1926 เขาเกิดที่ดามัสกัสปีค.ศ. 1928 ปัจจุบันอายุ 81 ปี  ปัจจุบันมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ด้านตรวจสอบฮะดีษ เช่น หนังสือมุสนัดอิหม่ามอะหมัด ที่ได้รับการตรวจทานโดยเชคชุเอบว่า เป็นสะนัดซอฮี๊ฮฺหรือดออีฟ  
http://www.alukah.net/Articles/Article.aspx?ArticleID=968
  •  

55 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้