Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 02:46:52 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 71
  • Online ever: 75
  • (มีนาคม 28, 2024, 11:51:59 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 49
Total: 49

ลำดับจุฬาราชมนตรีในประเทศไทย

เริ่มโดย L-umar, พฤษภาคม 17, 2010, 11:23:11 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



สำหรับลำดับจุฬาราชมนตรีในประเทศไทยนั้น


ที่มาจากฝ่ายชีอะฮ์คือ


           1.เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉก อะหมัด) ดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรีในรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2145 - 2170) และต่อมาถึงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2173-2198)


            2. พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 - 2225)


            3. พระยาจุฬาราชมนตรี (สน) เป็นบุตรของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) ในสายสกุลของท่านเฉก อะหมัด ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275-2301)

 
            4. พระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) เป็นบุตรเจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ)

กรุงรัตนโกสินทร์


            5. พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว - มุฮัมมัดมะห์ซูม)  เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


            6. พระยาจุฬาราชมนตรี (อกาหยี่) เป็นน้องชายของจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


            7. พระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน-มุฮัมมัดกาซีม) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


            8. พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย-มุฮัมมัดบาเกรฺ) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (อกาหยี่) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


            9.พระยาจุฬาราชมนตรี(นาม-มุฮัมมัดตะกี)เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี(เถื่อน)ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


           10.พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน-กุลามฮูเซ็น) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี(นาม)ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


           11.พระยาจุฬาราชมนตรี(สันอหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี(สิน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล \\\"อหะหมัดจุฬา\\\" เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2456


           12. พระยาจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


           13. พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



ที่มาจากฝ่ายซุนนี่คือ



           14. จุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ (ซัมมุดดีน มุดตาฟา) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (พ.ศ.2488 - 2490)


           15. จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ (อิสมาแอล ยะห์ยาวี) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ.2490 - 2515)


           16. จุฬาราชมนตรี ประเสริฐ มะหะหมัด (อะหมัด บิน มะหะหมัด) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ.2515 - 2540)


          17. จุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ (อะหมัด มะห์หมูดซันกอรี) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ.2540 - ปัจจุบัน) โดยได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัด ทั่วประเทศ และได้รับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 เป็นคนแรก
  •  

L-umar



นายอาซีส พิทักษ์คุมพล


ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา ได้รับเลือกตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีคนใหม่ เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ของประเทศไทย และถือว่าเป็นมุสลิมสายใต้คนแรกที่ได้รับเลือกตั้ง
  •  

L-umar

รายละเอียดการเลือกตั้ง



ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี คนที่ 18 คือ อาซิส พิทักษ์คุมพล
 



 

                 ผลการคัดเลือกจุฬาราชมนตรี ในวันที่ 16 พฤษภาคม ก็เป็นที่ประจักษ์ ว่าบุคคลที่ได้รับอามานะห์ อันยิ่งใหญ่นั้น คือ นายอาซิส พิทักษ์คุมพล

 

                 ที่ผ่านมาก็มีข่าวเล็ดลอดมาบ่อยครั้งว่าในจำนวนตัวเต็งทั้งหลายในตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ชื่อของนาย อาศิส พิทักษ์คุมพล ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาคือรายชื่อที่เป็นตัวเต็งลำดับต้นๆ ไม่ใช่เพราะได้รับความเห็นชอบให้เสนอชื่อโดยเอกฉันท์จากประธานกรรมการอิสลามหลายจังหวัดโซนภาคใต้ ไม่ใช่เพราะดำรงตำแหน่งผู้นำมุสลิมในจังหวัดสงขลาที่มีพี่น้องมุสลิมจำนวนมากลำดับต้นๆ ของภาคใต้ แต่นายอาศิสได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องมุสลิมจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีความเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นความหวังว่าหากนายอาศิสได้รับเลือก จะกลายเป็นจุฬาราชมนตรีที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องชาวมุสลิมชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมหนาแน่นที่สุดของประเทศมากที่สุดเท่าที่เคยมี และกลายเป็นความหวังว่าจะถึงเวลาที่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำของชาวมุสลิมในประเทศไทยจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาคใต้


                ซึ่งวันนี้ ความฝันของพี่น้องที่รอคอยก็ไม่ผิดหวัง ไม่ว่าใครจะได้รับเลือกขึ้นมาเป็นจุฬาราชมนตรีคนใหม่ หน้าที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าหน้าที่ของจุฬาฯคนใหม่ คือหน้าที่ของพี่น้องมุสลิมทุกท่านที่ต้องเคารพผู้นำเพื่อความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว แสดงพลังความเป็นมุสลิมให้ทั่วโลกได้ประจักษ์

 

ประกาศผลคะแนน


                หมายเลข 3 อาซิส พิทักษ์คุมพล 423 คะแนน
                หมายเลข 1 ทวี นภากรณ์ 148 คะแนน
                หมายเลข 2 สมาน มาลีพันธ์ 122 คะแนน
                งดออกเสียง 1 คะแนน
                บัตรเสีย 8 ใบ

 

ประวัติของนายอาศิส พิทักษ์คุมพล


                เกิดเมื่อปี พ.ศ.2490 ที่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา จบการศึกษาสายศาสนาจากสถาบันปอเนาะใน อ.จะนะ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี แม้ไม่ใช่ชาวไทยเชื้อสายมลายูแต่ที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาคใต้มาหลายกรรมวาระ นอกจากการสนิทแนบแน่นกับพี่น้องมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว พื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลาคือ นาทวี จะนะ เทพา และสะบ้าย้อยก็มีเหตุความไม่สงบเกิดขึ้นซึ่งนายอาศิสต้องเข้าไปรับผิดชอบในฐานะผู้นำศาสนาประจำจังหวัด และการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงคือการดำรงตำแหน่งสำคัญในกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)

 

ความเคลื่อนไหว การคัดสรรจุฬาราชมนตรีคนใหม่

 

                คณะกรรมการอิสลามทั่วประเทศเดิม 38 จังหวัด ปีนี้เพิ่มเพรชบูรณ์เป็น 39 จังหวัด มีคณะกรรมอิสลามมีทั้งหมด 752 คน

8:30 น. คณะกรรมการอิสลาทั่วประเทศทยอยลงทะเบียนคึกคัก
10:00 น. เหล่าคนดังร่วมงานเพียบ รมต.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม อุปฑูตซาอุดี้ติดตามผลอย่างใกล้ชิด
11:00 น. ประกาศรายชื่อ 9 ท่านที่ได้รับเสนอ ได้แก่

                อาซิส พิทักษ์คุมพล
                อรุณ วันแอเลาะ
                อิมรอม มะลูลีม
                ทองคำ มะหะมัด
                สมาน มาลีพันธ์
                อรุณ อีซา
                วินัย สะมะอุน
                ทวี นภากรณ์
                อรุณ บุญชม

11:30 น.คณะกรรมการอิสลามทั้ง 39 จังหวัดกำลังคัดเลือกจาก 9 ท่านเหลือ 3 ท่าน
12:00 น. ประกาศคะแนนทั้ง 9 ท่านที่ได้รับเสนอ ได้แก่

                อาซิส พิทักษ์คุมพล 16 เสียง
                ทวี นภากรณ์ 8 เสียง
                สมาน มาลีพันธ์ 5 เสียง
                วินัย สะมะอุน 4 เสียง
                อรุณ บุญชม 3 เสียง
                อรุณ วันแอเลาะ 1 เสียง
                อิมรอม มะลูลีม 1 เสียง
                อรุณ อีซา 1 เสียง
                ทองคำ มะหะมัด 0 เสียง

                3 อันดับแรก จะเป็นผู้ที่คณะกรรมการอิสลามทั่วประเทศ ทั้ง 752 คน ลงคะแนนเลือก ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด คือ ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนใหม่

12:30 น. 3 ท่านที่ได้รับคัดเลือก ได้หมายเลขดังนี้

                หมายเลข 1 ทวี นภากรณ์
                หมายเลข 2 สมาน มาลีพันธ์
                หมายเลข 3 อาซิส พิทักษ์คุมพล

14:30 น. เริ่มกระบวนการนับคะแนนเสียง
14:55 น. อาซิส พิทักษ์คุมพล หมายเลข 3 คะแนนสูงลิ่ว นำโด่งกว่าเพื่อน
16:00 น. ความคืบหน้า ผลคะแนนเสียง

                หมายเลข 1 ทวี นภากรณ์ 123 คะแนน
                หมายเลข 2 สมาน มาลีพันธ์ 100 คะแนน
                หมายเลข 3 อาซิส พิทักษ์คุมพล 320 คะแนน
                งดออกเสียง 1 คะแนน
                บัตรเสีย 4 ใบ

16:25 น. สรุป ผลคะแนนเสียง อาซิส พิทักษ์คุมพล คือ จุฬาราชมนตรีคนต่อไป

                หมายเลข 3 อาซิส พิทักษ์คุมพล 423 คะแนน
                หมายเลข 1 ทวี นภากรณ์ 148 คะแนน
                หมายเลข 2 สมาน มาลีพันธ์ 122 คะแนน
                งดออกเสียง 1 คะแนน
                บัตรเสีย 8 คะแนน
                บัตรคัดสรรทั้งหมด 702 ใบ
                บัตรดี 694 ใบ
                บัตรงดออกเสียง 1 ใบ
                บัตรเสีย 8 ใบ

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวมุสลิมไทย
  •  

49 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้