Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 09:38:01 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 70
  • Online ever: 70
  • (วันนี้ เวลา 08:04:24 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 59
Total: 59

ชีวประวัติศาสดามูฮัมมัด (ศ) จากกุรอ่านและฮะดีษ

เริ่มโดย L-umar, มิถุนายน 24, 2010, 09:17:26 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ



ชีวประวัติศาสดามูฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม

วันที่   27  เดือนเราะญับ   ค.ศ. 611
   
คือวันที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลาได้ทรงแต่งตั้งบุรุษชื่อ มูฮัมมัด ให้เป็นศาสดาคนสุดท้ายมาสอนสั่งหลักธรรมแก่ชาวโลก  

ดังนั้นเราจึงขอนำเสนอชีวประวัติมหาบุรุษเอกของโลกท่านนี้ ในมุมมองจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัลหะดีษเพื่อการศึกษา  

รวมทั้งนำการวิจัยและคำวิจารณ์ของนักปราชญ์อิสลามเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านที่ควรจะเป็นจริง และสิ่งศัตรูอิสลามทั้งจากภายในและภายนอกที่พยายามกุเรื่องขึ้นมาเพื่อสร้างความเสื่อมเสียให้กับบุคลิกภาพของท่าน.
  •  

L-umar

เนื่องจากท่านอายาตุลเลาะฮ์ อาลีอัลคอเมเนอี ผู้นำสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ได้มีดำริให้พี่น้องมุสลิมใฝ่ใจศึกษาค้นคว้าชีวประวัติของศาสดามูฮัมมัด(ศ)กันอย่างจริงจัง  
นับว่าเป็นความเร่งด่วนทางวิทยาการที่ดี  ซึ่งความเป็นจริงถือว่าเป็นการฉกฉวยโอกาสอันสำแดงออกมาในกาละเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้คำนิยามแก่โลกอิสลามและแก่ชาวโลกด้วยการนำเสนอชีวประวัติของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่สุดและเป็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย

   ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การรู้จักบุคลิกภาพของศาสดามูฮัมมัด(ศ) และการเรียนรู้ชีวประวัติของท่านทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของท่านนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงโลกวัตถุและจิตวิญญาณสำหรับมนุษยชาติ และเป็นการเตรียมการพัฒนาความสมูรณ์ให้แก่ชาวโลกบนคุณค่าแห่งอัลอิสลาม
 
ด้วยเหตุนี้ ศัตรูอิสลาม ภายหลังชัยชนะแห่งปฏิวัติอิสลามในอิหร่านและผลกระทบต่างๆของการปฏิวัติอิสลามที่มีต่อชาวโลก  พวกเขาจึงตระหนักถึงอันตรายของพลังอิสลามด้านวิทยาการที่ได้สำแดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง  
ดังนั้นศัตรูอิสลามจึงทุ่มเทความพยายามทั้งหมดเพื่อให้ร้ายแก่บุคลิกภาพของศาสดามูฮัมมัดอันบริสุทธิ์นี้ และห้อมล้อมท่านเอาไว้ด้วยความมืดดำ  อาทิเช่น ตำราอายัตชัยตอนหรือซาตานิคเวอร์เซสที่นายซัลมานรุชดี ชาวอินเดียนักเขียนรับจ้างของพวกตะวันตก  เขาแต่งขึ้นมาเพื่อเจตนามุ่งดูหมิ่นเหยียดหยามศาสดาแห่งอิสลาม อันเป็นแผนการของพวกคาทอลิคยุคหลัง  นี่คือหนึ่งตัวอย่างที่มาจากแผนการโดยตรงของศัตรูอิสลาม

   เนื่องจากการเผชิญหน้ากับแผนการร้ายและสงครามทางวิทยาการที่ได้รับการสอนสั่งมา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคนที่ตระหนักรู้ ด้วยความพร้อมและศักยภาพของพวกเขา จะต้องเผชิญหน้ากับการโจมตีอย่างเปิดเผยนี้  ด้วยการแนะนำแถลงไขถึงความถูกต้องด้วยมิติต่างๆต่อบุคลิกภาพของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)

สุดท้าย  บทความนี้ชื่อเราได้ให้ชื่อว่า

{{  ศาสดามุฮัมมัดจากคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษอะฮ์ลุลบัยต์  }}

และบางครั้งเรานำหะดีษจากฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์มากล่าวเสริมอีกด้วย ตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่องในบางกรณี

โอ้อัลเลาะฮ์โปรดยอมรับการงานจากเรา แท้จริงพระองค์ เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้รอบรู้
  •  

L-umar

ชีวประวัติ  ศาสดามูฮัมหมัด  

(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วาอาลิฮี วะซัลลัม )



สารบัญเรื่องโดยสังเขป



บทที่ 1
ดะลาอิลุลนุบูวะฮฺ (หลักฐานการเป็นศาสดา)

ศึกษาเรื่อง อัลลอฮฺทรงเป็นพยานต่อตำแหน่งศาสดาของมุฮัมมัด
เรื่อง การเข้ารับอิสลามของบาดหลวงคริสต์

บทที่ 2
ปรัชญาแห่งการเป็นศาสดา
อิสระในสถาบันของบรรดาศาสดา

บทที่ 3  
การเป็นศาสดาคนสุดท้าย
วิจัยเกี่ยวกับปรัชญาแห่งการเป็นศาสดาคนสุดท้าย

บทที่ 4  
โลกแห่งการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด

บทที่ 5  
บุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด

บทที่ 6
มุฮัมมัดจากคำพูดของนบีมุฮัมมัด
บทที่ 7 มุฮัมมัดจากคำพูดของอิม่ามอาลี
  •  

L-umar

บทนำ



นับเป็นเรื่องยากที่จะบรรยายหรือเขียนเกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุรุษู้หนึ่ง ที่หะดีษกุดซี (พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ไม่ใช่กุรอ่าน) ทรงตรัสถึงเขาว่า

لَوْلاَكَ لَماَ خَلَقْتُ الْأَفْلاَكَ

(โอ้มุฮัมมัด) หากไม่มีเจ้า แน่นอนข้าจะไม่สร้างจักรวาลทั้งหลาย

และในหะดีษที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้สนทนากับท่านอิม่ามอาลีว่า

يَا عَلِيُّ مَا عَرَفَ اللهَ إِلاَّ أَنَا وَأَنْتَ وَمَاعَرَفَنِيْ إِلاَّ اللهَ وَاَنْتَ

โอ้อาลี ไม่มีใครรู้จักอัลลอฮ์ นอกจากฉันกับเจ้า และไม่มีใครรู้จักฉันนอกจากอัลลอฮ์และเจ้า

ด้วยเหตุนี้จึงต้องไม่สงสัยเลยว่า หลักฐานที่ดีที่สุดและน่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับธำรงไว้ซึ่งบุคลิกภาพของท่านศาสดามุฮัมมัด อภิมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ศ็อลฯ ต้องถูกสำแดงถ่ายทอดออกมาจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของท่านนะบี(ศ)เองและจากวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์นะบีโดยเฉพาะวจนะของท่านอิม่ามอาลี (อ) ที่บรรยายถึงบุคลิกภาพนั้น.

บนพื้นฐานนี้ เราขอนำเสนอแหล่งรวมเนื้อหาสาระเหล่านี้ ถึงหลักฐานการเป็นศาสดา(นะบี)ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ), ปรัชญาการเป็นศาสดาของท่าน, ตำแหน่งศาสดาคนสุดท้ายสิ้นสุดที่ท่าน, โลกแห่งการเป็นศาสดาของท่าน, คุณลักษณะพิเศษต่างๆของท่านจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์นะบี
แต่ตอนนี้จะอธิบายแบบสั้นๆเกี่ยวกับหลักฐานตำแหน่งนะบีของท่านศาสดามุฮัมมัด อภิมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ศ็อลฯ และปรัชญาของตำแหน่งนะบีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอาน   ซึ่งเราควรกล่าวถึงเรื่องนี้ก่อนสิ่งใด
  •  

L-umar

1

หลักฐานอัลกุรอาน  ที่แสดงถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)
  •  

L-umar

1

หลักฐานอัลกุรอาน  ที่แสดงถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)



   สามารถกล่าวแบบสั้นๆได้ว่า คัมภีร์อัลกุรอานได้ยืนยัน(ถึงเรื่องนี้)ไว้หกหลักฐานหลัก   ที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(ศ)  คือ


1.1- อัลลอฮฺ ทรงเป็นพยาน

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้หกโองการ(อายะฮ์) เพื่อยืนยันการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

และความสัจจริงของท่านในการประกาศตำแหน่งนุบูวะฮฺ(การเป็นศาสดา) อันเป็นประจักษ์พยานของอัลลอฮฺ ตะอาลา  เป็นการประกาศไว้สองโองการในการแสดงเหตุผลของมันด้วยการเป็นพยานของอัลลอฮฺต่อการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)  

แท้จริงการเป็นพยานของอัลลอฮ์ตะอาลา นั้นถือว่าเพียงพอแล้วเพื่อยืนยันถึงสาส์น(ริซาละฮฺ)ของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

ถ้าเสริมหลักฐานเข้าไปอีกคือ นะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้สั่งไว้อีกสี่โองการ โดยอ้างอิงหลักฐานนี้ที่แสดงถึงตำแหน่งศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)

   ตอนต่อไปเราจะกล่าวถึงวิธีการเป็นพยานของอัลลอฮ์ต่อการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ)ในหลักฐานของหัวข้อนี้ ด้วยรูปแบบสังเขปคือ อัลลอฮ์ทรงสนับสนุนการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด(ศ) ทั้งคำพูดและการกระทำด้วยหนทางต่างๆมากมาย
  •  

L-umar

1.2-   การแจ้งข่าวดีของบรรดาศาสดาก่อนๆ ถึงการมาของนะบีมุฮัมมัด


หลักฐานที่สองจากอัลกุรอานที่บ่งบอกการเป็นศาสดาของนะบีคนสุดท้าย(ศ)คือ

นะบีมูซา(ศาสดาโมเสส)และนะบีอีซา(ศาสดาเยซู)ได้แจ้งข่าวถึงการมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ)เอาไว้ในคัมภีร์โตร่าห์และคัมภีร์ไบเบิล

ยิ่งกว่านั้นคัมภีร์ต่างๆที่พระเจ้าได้ประทานลงมาจากฟากฟ้าได้แจ้งข่าวถึงการมาของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ไว้แล้ว

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า


وَإنَّهُ لَفِيْ زُبُرِ الْأَوَّلِيْنَ

และแท้จริงมัน(การมาของมุฮัมมัด) มีอยู่ในคัมภีร์สมัยก่อนๆ

อัช-ชุอะรออฺ : 196

มีรายงานจากอิม่ามอาลี(อ)ที่อธิบายถึงการมาของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) :

...อัลลอฮฺทรงส่งมุฮัมมัดมาเป็นศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เพื่อทำตามสัญญาของพระองค์ และทำให้ตำแหน่งนุบูวะฮ์(ศาสดา)ของพระองค์สมบูรณ์ ตามที่รับเอาข้อสัญญาของพระองค์บนบรรดานะบีคนก่อนๆ ซึ่งชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายดี

หะดีษอีกบทหนึ่งรายงานจากอิม่ามอาลี(อ),ท่านอิบนุอับบาสและท่านเกาะตาดะฮฺ เกี่ยวกับการอธิบายถึงพันะสัญญานี้ว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเอาข้อสัญญาแก่นะบีทั้งหลาย ก่อนนะบีของเราว่า ให้พวกเขา(บรรดานะบี)แจ้งข่าวแก่ประชาชาติของพวกเขาถึงการมาของเขา(มุฮัมมัด)และคุณลักษณะของเขา และให้(บรรดานะบี)บอกข่าวดีแก่พวกเขา(ชนชาติในแต่ละยุค)ถึงเขา และให้(บรรดานะบี)สั่งพวกเขา(ชนชาติในแต่ละยุค)ให้มีความเชื่อและปฏิบัติตามเขา(มุฮัมมัด)

ตามที่มีสัญลักษณ์ใกล้เคียงบ่งบอกไว้มากมายที่แสดงว่า มีศาสดาบางส่วนได้แจ้งข่าวดีถึงการมาของศาสดาคนสุดท้ายนี้ไว้แล้ว

   อย่างไรก็ตามจากทัศนะของคัมภ์อัลกุรอานนั้น แท้จริงบุคลิกต่างๆของนะบีมุฮัมมัด(ศ) ได้กล่าวไว้ด้วยรูปแบบที่ชัดเจนมีอยู่ในคัมภีร์ทั้งหลายจากฟากฟ้า โดยที่ชาวคัมภีร์เคยรู้จักนะบีมุฮัมมัดมาแล้ว เหมือนที่พวกเขารู้จักลูกหลานของพวกเขาดี

อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงตรัสว่า

الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَعْرِفُونَهُ كَمَا يَعْرِفُونَ أَبْنَاءهُمْ وَإِنَّ فَرِيقاً مِّنْهُمْ لَيَكْتُمُونَ الْحَقَّ وَهُمْ يَعْلَمُونَ

บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขานั้น  พวกเขาย่อมรู้จักเขา(มุฮัมมัด)ดีเหมือนกับที่พวกเขารู้จักลูกๆของพวกเขาเอง และแท้จริงกลุ่มหนึ่งจากพวกเขานั้นปิดบังความจริงไว้ทั้งๆที่พวกเขารู้กันอยู่

อัลบะเกาะเราะฮฺ : 146   


สิ่งที่ควรกล่าวชี้แจงคือ  หากเรื่องการเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัดยังเป็นข้อสงสัยในคัมภีร์อัลกุรอานที่กล่าวตัดสินไว้ต่อการแจ้งข่าวของคัมภีร์ทั้งหลายและการรู้จักอย่างสมบูรณ์แบบของชาวคัมภีร์(เช่นชาวยิวและชาวคริสต์)ต่อนะบีมุฮัมมัด(ศ)ในยุคสมัยที่คัมภีร์อัลกุรอานประทานลงมา  ศัตรูอิสลามจะต้องตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาต่อต้านศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน  

เมื่อไม่มีการบันทึกเรื่องการต่อต้านนี้ไว้  จึงเป็นที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือสำหรับคำกล่าวอ้างนี้ทั้งๆที่มีการต่อต้านอย่างจริงจังสำหรับเรื่องนี้   นั่นเป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงความถูกต้องของคำกล่าวนี้  

กล่าวเสริมอีกคือทั้งๆที่ในคัมภีร์เตารอตและอินญีล(คัมภีร์ไบเบิล)มีสภาพอยู่ในการถูกแก้ไขผิดไปจากเดิมอย่างมากมาย แต่ก็ยังสามารถนำมันมาเป้นหลักฐานพิสูจน์ถึงการมาของศาสดาคนสุดท้าย(ศ)ได้
  •  

L-umar

1..3 -  ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์เป็นพยาน


หลักฐานที่สามของอัลกุรอานที่แสดงถึงสาส์นของศาสดาคนสุดท้ายในการเป็นพยานของบุคคลผู้นั้นที่นับว่า
การเป็นพยานของเขาก็คือการเป็นพยานของอัลลอฮฺ ตะอาลา ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับยืนยันความสัจจริงของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศาสดามุฮัมมัด)ในการตัดสินทางสติปัญญาและตามสามัญสำนึก

คัมภีร์อัลกุรอานได้นำเสนอบุคลิกลักษณะของบุรุษผู้นี้ไว้สองหัวข้อคือ


หนึ่ง – ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์
 
وَيَقُولُ الَّذِينَ كَفَرُواْ لَسْتَ مُرْسَلاً قُلْ كَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَمَنْ عِندَهُ عِلْمُ الْكِتَابِ

และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า ท่านมิใช่เป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์ (ก็เป็นพยานด้วย)
ซูเราะฮฺอัลเราะอฺดุ : 43

สอง – ผู้เป็นพยานจากอัลลอฮฺ  
   
أَفَمَن كَانَ عَلَى بَيِّنَةٍ مِّن رَّبِّهِ وَيَتْلُوهُ شَاهِدٌ مِّنْهُ وَمِن قَبْلِهِ كِتَابُ مُوسَى إَمَامًا وَرَحْمَةً

ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนหลักฐานอันชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเขา  และผู้เป็นพยานจากพระองค์จะสาธยายมัน และก่อนนั้นมีคัมภีร์ของมูซา(โมเสส)เป็นทางนำและความเมตตา
ซูเราะฮฺ ฮูด :17

   การอ้างอิงหะดีษต่างๆที่รายงานไว้ในตำราที่เชื่อถือได้ของทั้งสองฝ่าย(คือซุนนี่และชีอะฮ์)  

จุดประสงค์ของคำว่า " ชาฮิด – พยาน"  

และ

" มัน อินดะฮู อิลมุลกิตาบ – ผู้ที่เขามีความรู้ในคัมภีร์ "

หมายถึง ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ(อ)
 เพราะฉะนั้นบุคคลที่รู้จักคุณสมบัติพิเศษต่างๆของผู้นำคนนี้ทั้งด้านวิชาการความรู้  ด้านจรรยามารยาท  ด้านพฤติกรรม ย่อมต้องรู้ว่าเขาจะไม่กล่าวสิ่งไร้สาระ และไม่พูดสิ่งใดนอกจากสัจธรรมเท่านั้น  

ฉะนั้นการเป็นพยานของอิม่ามอาลี(อ)ที่ประกอบกับการเป็นพยานของอัลลอฮฺ ตะอาลาคือ

ความน่าเชื่อถืออย่างชัดเจนถึงการเป็นศาสดาของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)  

และเพียงพอแล้วที่จะเชื่อตามบุคคลที่โดดเด่นอย่างเช่น ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ(อ)ต่อท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ) เพื่อยืนยันความสัจจริงของท่านและสาส์นของท่าน
   สิ่งที่ควรจะกล่าวก็คือ ท่านอิม่ามอาลีคือ ผู้ที่มีความรู้ต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺมากที่สุดแห่งประชาชาตินี้หลังจากที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)จากไป และนับว่าประจักษ์พยานทั้งสองนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้วสำหรับสาส์นนี้

   อนึ่งการอธิบายเนื้อหาของโองการดังกล่าวนั้นไม่ได้ขัดแย้งกันและยังสอดคล้องกับอะฮ์ลุลบัยต์นะบี(อ)  ยิ่งกว่านั้นทุกคนที่รู้จักคัมภีร์อัลกุรอานอย่างแท้จริง เขาก็จะเป็นพยานต่อความสัจจริงของผู้ที่ได้รับสาส์นอีกด้วย
  •  

L-umar

1.4 -  การล่วงรู้ข่าวของนักปราชญ์ของวงศ์วานอิสราเอล



หลักฐานที่สี่ของอัลกุรอานสำหรับยืนยันสาส์นของศาสดามุฮัมมัด(ศ)คือ
การล่วงรู้ข่าวโดยนักปราชญ์ของพวกวงศ์วานอิสราเอล ที่บอกเล่าถึงการประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด(ศ)

وَإِنَّهُ لَفِي زُبُرِ الْأَوَّلِينَ     أَوَلَمْ يَكُن لَّهُمْ آيَةً أَن يَعْلَمَهُ عُلَمَاء بَنِي إِسْرَائِيلَ

และแท้จริงมันมีอยู่ในคัมภีร์สมัยก่อนๆ  และมันมิได้เป็นเครื่องหมายแก่พวกเขาดอกหรือว่า  บรรดาผู้มีความรู้ของวงศ์วานอิสรออีลก็รู้ดีในเรื่องนี้


ซูเราะฮฺ อัช-ชุอะรออฺ : 196-197

   โองการนี้แสดงว่า บรรดานักปราชญ์แห่งวงศ์วานอิสราเอลได้รับรู้ข่าวเรื่อง การเป็นศาสดาของนะบีคนสุดท้าย  ซึ่งพวกเขาเคยพบเห็นมันบันทึกอยู่ในคัมภีร์ของบรรดาศาสดาคนก่อนๆมาแล้ว  

พวกเขายังได้อธิบายมันอย่างชัดเจนแก่พวกมุชริกีน(พวกตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์)ก่อนการมาของศาสดามุฮัมมัด(ศ) และพวกเขายังขู่สำทับพวกมุชริกีน(พวกกราบไหว้เคาระบูชาเจว็ด)ว่า จะต้องถูกล้างแค้นจากพวกเขา ด้วยการมาของศาสดาผู้นี้

ดังที่อัลกุรอ่านโองการหนึ่งได้กล่าวว่า

وَلَمَّا جَاءهُمْ كِتَابٌ مِّنْ عِندِ اللّهِ مُصَدِّقٌ لِّمَا مَعَهُمْ وَكَانُواْ مِن قَبْلُ يَسْتَفْتِحُونَ عَلَى الَّذِينَ كَفَرُواْ فَلَمَّا جَاءهُم مَّا عَرَفُواْ كَفَرُواْ بِهِ فَلَعْنَةُ اللَّه عَلَى الْكَافِرِينَ

และเมื่อได้มีคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากที่อัลลอฮฺมายังพวกเขา ซึ่งยืนยันในสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา ทั้งๆที่พวกเขาเคยขอให้มีชัยชนะเหนือบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธามาก่อน  ครั้นเมื่อสิ่งที่พวกเขารู้จักดี ได้มายังพวกเขาแล้ว  พวกเขากลับปฏิเสธสิ่งนั้นเสีย  ดังนั้นความห่างไกลจากเราะห์มัตของอัลลอฮฺจึงตกอยู่แก่บรรดาผู้ปฏิเสธเหล่านั้น

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ :89

และ

وَلَمَّا جَاءهُمْ رَسُولٌ مِّنْ عِندِ اللّهِ مُصَدِّقٌ لِّمَا مَعَهُمْ نَبَذَ فَرِيقٌ مِّنَ الَّذِينَ أُوتُواْ الْكِتَابَ كِتَابَ اللّهِ وَرَاء ظُهُورِهِمْ كَأَنَّهُمْ لاَ يَعْلَمُونَ

และเมื่อได้มีรอซูลคนใด ณ ที่อัลลอฮ์มายังพวกเขา  ซึ่งจะเป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขา(คือคัมภีร์เตารอตในส่วนเตาฮีดและชะรีอะฮฺ)  กลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก็เหวี่ยงคัมภีร์ของอัลลอฮฺไว้เบื้องหลังของพวกเขาเสีย(คือส่วนที่บอกลักษณะของท่านนบี) เสมือนหนึ่งว่าพวกเขาไม่รู้

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮฺ :101



สิ่งที่ตระหนักคือ เป็นไปไม่ได้ที่คัมภีร์อัลกุรอานจะกล่าวสิ่งใดออกมาเช่นนี้อย่างเลื่อนลอยไร้หลักฐาน

ในขณะที่พบว่า  มีพวกปุโรหิตแห่งวงศ์วานอิสราเอลอยู่เคียงข้างกับพวกมุชริกีน  

เพราะหาก(มันเป็นเรื่องเท็จ)ก็จะมีเสียงร้องตระโกนดังออกมาจากทุกทิศทุกทางว่า

คำกล่าวอ้างเช่นนี้ ไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริง  และนั่นย่อมแสดงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องชัดเจนในช่วงที่มีโองการกุรอ่านต่างๆถูกประทานลงมาจนถึงขั้นที่ว่า ไม่สามารถปฏิเสธมันได้

   กล่าวเสริมคือ เรื่องที่นักปราชญ์ยิวและบาดหลวงคริสต์ล่วงรู้มาก่อนถึง การมาของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ปรากฏว่า  มีคนกลุ่มใหญ่ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาที่อยู่ในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ศรัทธาและยอมรับว่า ตัวของนะบีมุฮัมมัด(ศ)นั้นคือบุคคลที่คัมภีร์ของพระเจ้าก่อนหน้านี้ได้พยากรณ์ถึงการมาของเขาไว้แล้ว  
  •  

L-umar

1.5 –  วิชาการคือพยาน


คัมภีร์กุรอ่านและซุนนะฮ์(หะดีษ)ได้ให้ทัศนะว่า   แท้จริงสำหรับวิชาความรู้นั้นมีความสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับศรัทธาเชื่อความศรัทธาในเรื่องเตาฮีด(พระเจ้าทรงเอกะ)และเรื่องนุบูวะฮฺ(การเป็นศาสดาของนะบีมุฮัมมัด)
และโลกแห่งความจริง มันคือสิ่งสนับสนุนความสัจจริงของศาสดาคนสุดท้าย(ศ)รวมทั้งสาส์น(คัมภีร์และหลักธรรม)ที่เขาได้นำมาอีกด้วย

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَيَرَى الَّذِينَ أُوتُوا الْعِلْمَ الَّذِي أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ هُوَ الْحَقَّ وَيَهْدِي إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

และบรรดาผู้ได้รับความรู้นั้น ตระหนักดีว่า สิ่งที่ได้ถูกประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นเป้นสัจธรรม และจะชี้นำไปสู่แนวทางแห่งพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ

ซูเราะฮ์ อัส-สะบะอฺ :6

ด้วยหลักขั้นพื้นฐานนี้ มีรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)

ศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวว่า

اَلْعِلْمُ حَيَاةُ الْإِسْلاَمِ وَعِمَادُ الْإِيْمَانِ

ความรู้คือชีวิตของศาสนาอิสลาม และเป็นรากฐานแห่งความศรัทธา



ดูกันซุลอุมมาล  หะดีษที่  28661

แต่ว่า ความรู้ในศาสตร์ใดล่ะ ที่จะถูกนับว่าเป็นแก่นแท้สำหรับชีวิตของอิสลามและเป็นรากฐานแห่งความศรัทธา ?  

เราจะกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยโองการกุรอ่านในตอนต่อไป อินชาอัลลอฮฺ
  •  

L-umar

1.6 -  การตัดสินของอัลลอฮฺ ตะอาลา



สำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานสำหรับยืนยันการเป็นศาสดาของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)นั้น

(ในขั้นแรก) คือการอ้างอิงเหตุผลและหลักฐาน

แต่เมื่อฝ่ายตรงข้าม  แสดงความดื้อดึงต่อหลักฐานที่ชัดแจ้ง และไม่ยอมรับต่อสัจธรรมความจริง

ก็จะเชิญไปสู่ขั้นที่สองคือ    การมุบาฮะละฮ์

หมายถึงการที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องวิงวอนให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อพิสูจน์ตามสิ่งที่อ้างไว้

นั่นคือ ทั้งสองฝ่ายจะมารวมอยู่ในสถานที่เดียวกันด้วยเรื่องที่อยู่ในกรณีพิพาทกัน และทั้งสองจะวิงวอนด้วยความอ่อนน้อมต่ออัลลอฮฺ(พระเจ้า) โดยทั้งสองฝ่ายต่างปรารถนาจากพระเจ้าให้ประจานฝ่ายเท็จและลงโทษเขา  

การกระทำนี้กล่าวคือในความเป็นจริง อัลลอฮ์ทรงตั้งกฏเกณฑ์นี้ไว้สำหรับกรณีพิสูจน์ความจริงกับความเท็จของแต่ละฝ่ายตามที่กล่าวอ้างถึงมัน

   อัลลอฮ์ตะอาลาทรงรับสั่งให้ศาสดามุฮัมมัด(ศ)ท้าชาวนะซอรอ(คริสต์)แห่งเมืองนัจญ์รอนไปทำมุบาฮะละฮ์ตามรูปแบบที่กล่าวนี้

เพื่อพิสูจน์ความสัจจริงของเขา  ดั่งที่อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของเขา(อีซาว่าเป็นบุตรของอัลลอฮฺ) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว  (มุฮัมมัด)จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด  เราจะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน แล้วเราจะทำมุบาฮะละฮ์กัน(คือวิงวอนต่ออัลลอฮ์) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้การละอ์นัตของอัลลอฮ์พึงประสบ แก่บรรดาผู้โกหก

ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน : 61


   
   ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การท้าทายให้ทำการสาบานแบบมุบาฮะละฮฺด้วยรูปแบบดังกล่าวตามที่โองการกุรอ่านกล่าวไว้ แสดงให้เห็นว่า

ผู้ประกาศตนเป็นศาสดานั้นต้องมีความสัจจริงตามที่เขาอ้างไว้ เพราะถ้าเขาไม่แน่ใจว่าคำอ้างของเขาถูกต้องจริง เขาย่อมไม่กล้าท้าทายฝ่ายตรงข้ามให้มาวิงวอนจากอัลลอฮฺเพื่อประจานคนโกหกแน่  

แท้จริงพวกเขาจะได้เจอผลลัพท์ในที่ประชุมอยู่ที่เดียวกันนั้นคือการตัดสินของอัลลอฮ์และการลงโทษต่อคนเท็จ

   ย่อมประจักษ์ดีว่า การเข้าสู่สนามต่อสู้นี้โดยปราศจากความมั่นใจต่อผลลัพท์นั้นไม่กินกับปัญญา นั่นเพราะ ผู้ท้าย่อมจะต้องถูกประจานอย่างอับอายแน่ ถ้าหากคำวิงวอนของเขาไม่ถูกตอบรับ

และฝ่ายตรงข้ามจะไม่ถูกลงโทษ ด้วยเหตุนี้หากศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้เสนอการทำมุบาฮะละฮฺแก่ชาวคริสต์ทั้งหลายโดยไม่สนใจผลลัพท์ต่างๆที่จะเกิดกับท่าน ก็ย่อมแสดงให้ประจักษ์อย่างไร้ข้อสงสัยถึงความสัจจริงของท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)และสาส์น(คัมภีร์และหลักธรรม)ของท่าน
   หลังจากที่ฝ่ายท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้เสนอให้มาสาบานแบบมุบาฮะละฮ์กัน  ฝ่ายนะซอรอ(คริสต์)ก็ได้ขอผ่อนผันจากท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ที่จะตอบรับคำท้านี้ เพื่อไปประชุมปรึกษาหารือกับผู้อาวุโสของพวกเขากันก่อน  

แน่นอนผลลัพท์ของการปรึกษาในหมู่พวกเขา จะแสดงออกมาในข้อสังเกตอันสำคัญที่จะบ่งบอกจากด้านที่มีค่าว่า การอ้างตัวเป็นศาสดาจริงหรือเท็จของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)  

ด้วยเหตุนี้ชาวคริสต์จึงได้ตกลงกันว่า พวกเขาจะเดินทางมายังสถานที่นัดทำการสาบานแบบมุบาฮะละฮฺ เพื่อดูว่า

ใครคือบุคคลที่จะออกมากับท่านศาสดามูฮัมมัดเพื่อสาบานมุบาฮะละฮ์ และใครจะเป็นบุคคลที่ท่านศาสดามูฮัมมัดเสนอตัวออกมาสำหรับการถูกลงทัญฑ์จากพระเจ้า
 

ชาวคริสต์ได้กล่าวกันเองว่า :

หากมุฮัมมัดสาบานมุบาฮะละฮฺกับเราด้วยสาวกที่มีศรัทธาต่อเขา เราจะสาบานมุบาฮะละฮ์กับเขา
แต่ถ้าเขาทำมุบาอะละฮ์กับเราด้วยอะฮ์ลุลบัยต์(ครอบครัวพิเศษ)ของเขา  เราก็จะไม่ทำมุบาฮะละฮฺกับเขา
เพราะไม่มีใครจะเสี่ยงพาอะฮ์ลุลบัยต์(ครอบครัว)ของตัวเอง(ออกมาสู่ความหายนะ)  เว้นแต่ว่า เขาผู้นั้นจะต้องเป็นผู้สัจจริง


เมื่อชาวคริสต์ได้ลงความเห็นเช่นนั้นแล้ว  พวกเขาก็มุ่งหน้าไปยังสถานที่ๆตกลงกันไว้กับท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)  

ทันใดนั้นพวกเขาได้แลเห็นท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ได้พาฟาติมะฮ์บุตรีของท่าน, ท่านอาลีบุตรเขยและท่านฮาซันกับฮูเซนหลานชายทั้งสองที่ยังเด็กอยู่ออกมาทำมุบาฮะละฮ์  

และสิ่งที่ชาวคริสต์ได้แลเห็นคือหลักฐานแสดงว่า ศาสดามูฮัมมัด(ศ)มีความสัจจริง  จนความหวาดกลัวคืบคลานเข้าสู่หัวใจของพวกเขา ทำให้พวกเขาต้องยุติการทำมุบาฮะละฮฺเอาไว้ และยอมขอประนีประนอม และให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขของผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม
  •  

L-umar

2

ปรัชญาแห่งการส่งท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ)
  •  

L-umar

2 - ปรัชญาการส่งท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)



เราถือว่า การทำความรู้จักถึงจุดประสงค์และเหตุผลของการส่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ในฐานะนะบีคนสุดท้าย)มายังชาวโลกคือเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งมันมีความเกี่ยวข้องกับการทำความรู้จักบุคลิกภาพของศาสดามุฮัมมัด(ศ)

แท้จริงปรัชญาหรือเหตุผลของการส่งศาสดาคนสุดท้ายมานั้น  บนพื้นฐานแล้วไม่ได้มีความแตกต่างอะไรไปจากปรัชญาของการส่งบรรดาศาสดา(ก่อนหน้านี้มายังชาวโลก)  

แต่มันมีความแตกต่างเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ ศาสดามุฮัมมัด(ศ)จะเป็นผู้ทำให้สาส์นต่างๆของศาสดาทั้งหลายบรรลุสู่ความสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งศาสดาของอัลลอฮ์จึงสิ้นสุดลงที่นะบีมุฮัมมัด(ศ)

พร้อมกันนั้นถ้าจะยึดตามข้อพิจารณานี้  สามารถสรุปปรัชญาการส่งศาสดาสั้นๆจากอัลกุรอานได้สองประการ  และสองหัวข้อนี้คือสิ่งที่จะเล่าถึงความจริง :


2.1 - การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ


การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ คือปรัชญาหลักที่ครอบคลุมทุกเหตุผลสำหรับการส่งนะบี(ศาสดา)ทั้งหลายมาทั้งหมด  และการเชิญชวนนี้ในความเป็นจริงแล้วคือสิ่งเดียวกันกับการเชิญชวนให้ทำการขัดเกลาตนเองสู่หนทางของอัลลอฮ์   และปฏิบัติอามัลบนพื้นฐานของศาสนาอัลอิสลาม

กล่าวคือ  มันเป็นโปรแกรมพัฒนาความสมบูรณ์ของมนุษย์ที่รับประกันความปลอดภัยในชีวิตของเขาทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ  

ด้วยเหตุนี้  สำนวนต่างๆเช่น  (ผมขอเชิญชวนคุณสู่อัลลอฮฺ  หรือจงเชิญชวนสู่หนทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า )) และ (( สูเจ้าจงตอบรับต่ออัลลอฮฺและรอซูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนสูเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้สูเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น...))

และโองการอื่นๆที่เกี่ยวกับปรัชญาการส่งศาสดามายังโลก อันเป็นการบ่งชี้ไปยังสารัตถะหนึ่งเดียวจากแง่มุมที่แตกต่างมากมาย.

   กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  แท้จริงปรัชญาของการส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายรวมทั้งศาสดาคนสุดท้ายท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)มาคือ  

ให้พวกเขา(บรรดานะบี)ทำการชี้นำสั่งสอนมนุษยชาติทั้งหลาย  บนหนทางที่จะบรรลุสู่ความสมบูรณ์อันไร้ขีดจำกัด   เพื่อพวกเขาจะได้ไปถึงขั้นที่เรียกว่า ลิกอ อุลเลาะฮฺ –  คือการได้พบกับอัลลอฮ์   ซึ่งนั่นคือเป้าหมายสุดท้ายสำหรับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ในการพัฒนาตนเองสู่ความสมบูรณ์ในระหว่างที่เขากำลังขัดเกลาตนเองบนหนทางดังกล่าวนี้    และในเวลาเดียวกันนั้นที่พวกเขาจะให้ความปลอดภัยในตัวเขา ในความจำเป็นเดือดร้อนต่างๆของพวกเขาทั้งทางวัตถุและวิญญาณ  

และด้วยเหตุนี้ แท้จริงการดะอ์วะฮ์(เชิญชวน)สู่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล  คือ  ฮิกมัต(วิทยปัญญา)ที่สำคัญที่สุดสำหรับการส่ง(บรรดาศาสดาทั้งหลายมา).



2.2 - การพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์


ปรัชญาเรื่องวิวรณ์(วะฮี)และการเป็นศาสดา(นุบูวะฮฺ) ตามโลกทัศน์แห่งพระเจ้าดำรงอยู่บน สามประการหลักคือ :

หนึ่ง- ปรัชญาการสร้างมนุษย์คือการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์
 
สอง- สิ่งที่บ่งบอกให้พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์นี้ไม่มีอยู่ในตัวมนุษย์

สาม- ผู้สร้างโลก คือผู้ที่สามารถจะนำเสนอโปรแกรม(รายการ)พัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้

พระองค์เป็นเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถให้คำแนะรูปแบบการพัฒนาพื้นฐานของมนุษย์และความต้องการของเขา   พระองค์ทรงรอบรู้อย่างห้อมล้อมต่อทุกรายละเอียดทั้งหมดอันเกี่ยวข้องกับโปรแกรมพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์  

อีกประเด็นหนึ่งคือ   พระองค์ไม่ต้องการพึ่งพามนุษย์   ดังนั้นจะต้องมากักมันไว้ไม่ให้แก่มนุษย์ ซึ่งสิ่งที่จะเป็นคุณประโยชน์สำหรับตัวเขา.

   เพราะเหตุนี้มนุษย์จึงสามารถเข้าใจปรัชญาการสร้างมัคลูกของพระองค์ เพราะฮิกมะฮ์(เหตุผล)ของพระเจ้านั้นลึกซึ้งมาก จนทำให้ต้องมีเหตุผลสำหรับเสนอโปรแกรมพัฒนามนุษย์    นั่นเพราะการพัฒนามนุษย์ จะได้เป็นข้อแก้ตัวที่จะได้รับการอภัย ในสภาพอื่นไปจากนี้ นี่หมายความว่า การสร้างนั้นไร้สาระ

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การปฏิเสธวะฮี(วิวรณ์)และการส่งบรรดานะบีมา   เทียบเท่ากับการปฏิเสธเตาฮีด(ความเป็นหนึ่งของอัลลอฮฺ)

เพราะอัลกุรอานกล่าวว่า

وَمَا قَدَرُواْ اللّهَ حَقَّ قَدْرِهِ إِذْ قَالُواْ مَا أَنزَلَ اللّهُ عَلَى بَشَرٍ مِّن شَيْءٍ

และพวกเขา มิได้ให้ความยิ่งใหญ่แก่อัลลอฮฺตามควรแก่ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ (จงรำลึก) ขณะที่พวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงประทานสิ่งใดแก่ปุถุชนคนใด

ซูเราะฮ์อัลอันอาม :91


   บนพื้นฐานนี้อาจกล่าวอย่างสั้นๆว่า : เป้าหมายหนึ่งจากการส่งบรรดานบีมายังมนุษย์คือ การพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ และตอบสนองความเดือดร้อนต่างๆของมนุษย์ทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ
   ส่วนกรณีอื่นๆที่อัลกุรอานได้บ่งบอกไว้เกี่ยวกับการอธิบายฮิกมะฮ์การส่งบรรดานบีมา จะเป็นเช่น ขจัดความขัดแย้งให้หมดไป   ปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจะพันธนาการทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก   นำพามนุษย์ออกจากความมืดมนของอวิชชา  สอนคัมภีร์และวิทยปัญญา  ทำให้โลกสว่างไสวด้วยรัศมีของความรู้   การเจริญเติบโตทางด้านจรรยามารยาทแก่สังคม และสร้างความมั่นคงด้านความยุติธรรมแก่สังคม ซึ่งในความเป็นจริงมันได้แสดงออกมาในรูปข้อปลีกย่อยของการขานตอบเสียงเชิญชวนไปสู่อัลลอฮ์  และการปฏิบัติตามโปรแกรมพัฒนามนุษย์ของบรรดานบีแห่งพระเจ้า

   ส่วนปรัชญาการส่งศาสดานั้นจะเกี่ยวข้องกับบรรดาบุคคลที่ไม่ตอบสนองต่อการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺและบรรดาศาสดาของพระองค์ ดังนั้นก็จะแสดงออกมาในรูปแบบที่ว่า   หลักฐานนั้นได้สมบูรณ์แล้วสำหรับพระองค์และสำหรับพวกเขา
  •  

L-umar

บทที่ 1

หลักฐานการเป็นศาสดาของนะบีมูฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม

دلائـل النبـوة
  •  

L-umar


บทที่ 1

หลักฐานการเป็นศาสดาของนะบีมูฮัมมัด

دلائـل النبـوة




1.1- อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน



คัมภีร์อัลกุรอาน
 

อัลลอฮ์  ตะอาลาทรงตรัสว่า  :

لَّكِنِ اللّهُ يَشْهَدُ بِمَا أَنزَلَ إِلَيْكَ أَنزَلَهُ بِعِلْمِهِ وَالْمَلآئِكَةُ يَشْهَدُونَ وَكَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا

แต่ทว่า อัลลอฮฺนั้นทรงยืนยันในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่เจ้า  ว่าพระองค์ได้ทรงประทานสิ่งนั้นมาด้วยความรู้ของพระองค์ และมลาอิกะฮฺก็ยืนยันด้วย และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ยืนยัน

ซูเราะฮ์อันนิสาอฺ : 166

هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا

พระองค์คือผู้ทรงส่งรอซูลของพระองค์มาพร้อมด้วยแนวทางที่ถูกต้อง และศาสนาแห่งสัจธรรม เพื่อพระองค์จะทรงให้ศาสนา(ของพระองค์) นั้นประจักษ์แจ้งเหนือศาสนาอื่นทั้งมวล และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮ์ทรงเป็นพยาน

ซูเราะฮ์อัลฟัตฮฺ : 28

قُلْ كَفَى بِاللّهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ إِنَّهُ كَانَ بِعِبَادِهِ خَبِيرًا بَصِيرًا

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน ระหว่างฉันกับพวกท่าน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้  ทรงมองเห็นปวงบ่าวของพระองค์

ซูเราะฮ์อัลอิสรอ : 96

قُلْ كَفَى بِاللَّهِ بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ شَهِيدًا يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَالَّذِينَ آمَنُوا بِالْبَاطِلِ وَكَفَرُوا بِاللَّهِ أُوْلَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) เพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป้นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน  และบรรดาผู้เชื่อในความเท็จและปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ  พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ขาดทุน

ซูเราะฮ์อัลอังกะบูต : 52


أَمْ يَقُولُونَ افْتَرَاهُ قُلْ إِنِ افْتَرَيْتُهُ فَلَا تَمْلِكُونَ لِي مِنَ اللَّهِ شَيْئًا هُوَ أَعْلَمُ بِمَا تُفِيضُونَ فِيهِ كَفَى بِهِ شَهِيدًا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَهُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ

หรือพวกเขากล่าวว่า เขา(มุฮัมมัด) ได้ปั้นแต่งอัลกุรอานนั้น จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ถ้าฉันได้ปั้นแต่งอัลกุรอานขึ้น  พวกท่านก็ไม่มีอำนาจอันใดที่จะช่วยเหลือฉันได้จาก(การลงโทษของ)อัลลอฮฺพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่พวกท่านกำลังง่วนอยู่ในเรื่องนี้  เพียงพอแล้วที่พระองค์ทรงเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน และพระองค์เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตายิ่ง

ซูเราะฮ์อัลอะหฺกอฟ  : 8

قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูฏประทานลงมาแก่ฉันเพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)


ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19




อัลหะดีษ


หนึ่ง –

อิม่ามมุฮัมมัดอัลบาเก็ร(ได้อธิบาย) ในพระดำรัสของอัลลอฮฺตะอาลา(ซูเราะฮ์อัลอันอาม:19) ที่ตรัสว่า :


قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูฏประทานลงมาแก่ฉันเพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)

ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19

   แท้จริงพวกมุชริกแห่งมักกะฮฺได้กล่าวว่า  โอ้มุฮัมมัด อัลลอฮ์ทรง(ค้น)หารอซูล(ศาสนทูตตัวแทนของพระองค์)ไม่เจอแล้วหรือ นอกจากท่าน ? !

เราไม่เห็นมีใครสักคนเชื่อถือ(ศรัทธาต่อ)สิ่งที่ท่านพูดเลย (เหตุการณ์)ตอนนั้นอยู่ในช่วงแรกที่ท่านศาสดามุฮัมมัดเริ่มเชิญชวนพวกเขา(สู่อิสลาม) ซึ่งอยู่ที่เมืองมักกะฮฺ  

พวกมุชริกีนกล่าวว่า : แน่นอน พวกเราได้ถามชาวยะฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับท่าน  พวกเขาอ้างว่า ไม่มีกล่าวถึงท่านเลยใน(คัมภีร์ของ)พวกเขา  ดังนั้นขอให้ท่านนำผู้ที่จะเป็นพยานมา(แสดงที)ว่า  แท้จริงท่านเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ)จริง !

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ตอบ(พวกมุชริก) ว่า

  اللهُ شهيدٌ بَيْنِيْ وَبَيْنَكُمْ

อัลลอฮฺคือ พยาน ระหว่างฉันกับพวกท่าน

ซูเราะฮ์อัลอันอาม : 19


สอง –
หนังสืออัลมะนากิบ ของท่านอิบนิ ชะฮฺรอชูบ รายงานจากอัลกัลบีเล่าว่า :
 
ชาวมักกะฮ์ได้มาหาท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) พวกเขากล่าวว่า :  
อัลลอฮ์ทรง(ค้น)หารอซูล(ตัวแทนของพระองค์)ไม่เจอแล้วหรือ นอกจากท่าน ?

เราไม่เห็นมีใครสักคนจะเชื่อถือสิ่งที่ท่านพูดเลย   เราถามชาวยะฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับท่าน  พวกเขาอ้างว่า ไม่มีกล่าว(สิ่งใด)ถึงท่านเลยใน(คัมภีร์ของ)พวกเขา  ดังนั้นขอให้ท่านให้เราเห็นผู้เป็นพยานซิว่า

แท้จริงท่านคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ)จริงๆตามที่ท่านแอบอ้าง แล้วโองการอัลกุรอ่านนี้ได้ประทานลงมา

قُلْ أَيُّ شَيْءٍ أَكْبَرُ شَهَادةً قُلِ اللّهِ شَهِيدٌ بِيْنِي وَبَيْنَكُمْ وَأُوحِيَ إِلَيَّ هَذَا الْقُرْآنُ لأُنذِرَكُم بِهِ وَمَن بَلَغَ أَئِنَّكُمْ لَتَشْهَدُونَ أَنَّ مَعَ اللّهِ آلِهَةً أُخْرَى قُل لاَّ أَشْهَدُ قُلْ إِنَّمَا هُوَ إِلَهٌ وَاحِدٌ وَإِنَّنِي بَرِيءٌ مِّمَّا تُشْرِكُونَ

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า สิ่งใดใหญ่ยิ่งกว่าในการเป็นพยาน  จงกล่าวเถิดว่าอัลลอฮฺนั้นคือผู้เป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน  และอัลกุรอานนี้ ก็ได้ถูกประทานลงมาแก่ฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ใช้อัลกุรอานนี้ตักเตือนพวกท่านและผู้ที่อัลกุรอานนี้ไปถึง  พวกท่านจะยืนยันโดยแน่นอนกระนั้นหรือว่า มีบรรดาที่เคารพสักการะอื่นร่วมกับอัลลอฮฺ  
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า  ฉันจะไม่ยืนยัน จงกล่าวเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ที่ควรแก่การเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น และแท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคี(แก่อัลลอฮ์)
ซูเราะฮือัลอันอาม : 19

   พวกมุชริกีนกล่าวว่า  น่าแปลกยิ่งนัก แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลาคงทรงหาไม่พบรอซูลที่จะส่งเขามายังมนุษย์แล้ว(สินะ) นอกจากลูกกำพร้าของอะบูตอลิบ(หมายถึงนะบีมุฮัมมัด) ! ดังนั้นจึงมีโองการประทานลงมา

الر تِلْكَ آيَاتُ الْكِتَابِ الْحَكِيمِ {يونس/1} أَكَانَ لِلنَّاسِ عَجَبًا أَنْ أَوْحَيْنَا إِلَى رَجُلٍ مِّنْهُمْ أَنْ أَنذِرِ النَّاسَ وَبَشِّرِ الَّذِينَ آمَنُواْ أَنَّ لَهُمْ قَدَمَ صِدْقٍ عِندَ رَبِّهِمْ قَالَ الْكَافِرُونَ إِنَّ هَذَا لَسَاحِرٌ مُّبِينٌ {يونس/2}

อะลิฟ ลาม มีม รอ  เหล่านี้คือบรรดาโองการแห่งคัมภีร์ที่ชัดแจ้ง
เป็นการประหลาดแก่มนุษย์หรือ ที่เราได้ให้วาฮีแก่ชายคนหนึ่งจากพวกเขา ให้ทำการเตือนสำทับมนุษย์  และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาว่าแท้จริงสำหรับพวกเขานั้น  จะได้รับตำแหน่งอันสูง ณ ที่พระเจ้าของพวกเขา  บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า   แท้จริงนี่คือนักมายากลอย่างแน่นอน

ซูเราะฮ์ยูนุส : 1,2
  •  

59 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้