Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 03:19:55 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,516
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 23
  • Online ever: 70
  • (มีนาคม 10, 2024, 03:17:35 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 27
Total: 27

วาฮาบี ลัทธิใหม่ในอิสลาม

เริ่มโดย L-umar, มีนาคม 22, 2010, 10:32:13 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

วาฮาบี  ลัทธิใหม่ในอิสลาม
วาฮาบี   ลัทธิใหม่ในอิสลาม

บทนำ

วาฮาบี  ลัทธิใหม่ในอิสลามที่กำลังแพร่หลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และกำลังเป็นภัยคุกคามความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ  โดยมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์(อัลเคดาห์)ของ อุซามะ บินลาเด็น
และอีกหลายๆกลุ่ม ที่เป็นกลุ่มก่อการร้าย เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้เราขอนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับชื่อ  ประวัติความเป็นมา แนวคิดที่สำคัญ รวมทั้งอิทธิพล และการแพร่หลายของ วะฮาบีย์ ดังนี้


ตอนที่ 1   ชื่อ \\\" วาฮาบี \\\"

          วาฮาบี หรือ วะฮาบียะฮ์  คือ  ชื่อของขบวนการที่อ้างว่าฟื้นฟูอิสลาม โดยการนำของเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ  มีชีวิตอยู่ในช่วง  (1115 - 1206  ฮ.ศ.)
ตรงกับ (1703 - 1791 ค.ศ.) ที่เมืองนัจญ์ดฺ  ในประเทศซาอุดิอาระเบีย  ชื่อนี้มาจากพยางค์ที่สองของชื่อบิดา คือ \\\"อัลวาฮาบ\\\"  
วาฮาบีหรือวะฮาบียะฮ์ หมายถึง ผู้มีแนวคิดหรือแนวปฏิบัติตามขบวนการของเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ
เหมือนที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เรียกพวกที่ฝักใฝ่อยู่กับท่านอาลี บินอะบีตอลิบตั้งแต่ในสมัยของท่านว่า   " ชีอะฮ์ "
อย่างไรก็ตามชื่อวาฮาบีนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มวะฮาบี  เนื่องจากเป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดยฝ่ายต่อต้าน  และมักจะนำมาใช้ในเชิงลบเป็นส่วนใหญ่
พวกวะฮาบีเองจะไม่ใช้ชื่อนี้เรียกในกลุ่มของตน  แต่จะเรียกกลุ่มของตนว่า กลุ่ม \\\"สะลาฟียะฮ์\\\" (Salafiah)
หรือ\\\"สะลาฟียูน\\\" (Salafiyoon)  แปลว่า กลุ่มที่ยึดมั่นในแนวคิดดั้งเดิมของอิสลาม
หรือบางทีเรียกกลุ่มของตนว่า \\\"มุวะฮิดูน\\\"(Muwahidoon) แปลว่า กลุ่มผู้ยึดมั่นในเอกภาพของอัลลอฮ์  แต่พวกนี้กลับมีแนวคิดเหมือนกลุ่มมุญัสสะมะฮ์ ( คือเชื่อว่า ซิฟัตของอัลลอฮ์เป็นเรือนร่าง และมีทิศทาง )



ตอนที่ 2    ประวัติความเป็นมาของผู้ก่อตั้งลัทธิวาฮาบี


ในตอนต้นของศตวรรษที่ 12  แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช (คริสตศตวรรษที่ 18 )  
มีทารกหนึ่งถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลอุยัยนะฮ์ ในเมืองนัจด์ (เมืองริยาร์ด) ในปี ค.ศ. 1703  บุคคลผู้นั้นคือ มุฮัมมัด บุตรอับดุลวาฮาบ  เขามาจากตระกูลอุลามาอ์ (นักปราชญ์) ได้ศึกษาวิชาความรู้จากบิดา
และสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มได้เมื่อมีอายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น  และแม้ว่าเขาจะได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้มากด้วยความรู้
แต่เขาก็ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมยังหัวเมืองต่างๆ เช่น มักกะฮ์ มะดีนะฮ์ บัศเราะฮ์ บัฆดาด และเมาศิลในประเทศอิรัก
เมื่อเขาได้กลับสู่มาตุภูมิและได้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่แนวทางตามอะกีดะฮ์ของเขา  เขาได้รับการต่อต้านจากผู้รู้อิสลามและบรรดาผู้ปกครอง หรือแม้แต่ครอบครัวของเขาเอง   เขาถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอน   แต่เขาก็ยังยืนหยัดในอุดมการณ์ของตนเองและคิดที่จะเผยแพร่อะกีดะฮ์ของเขาต่อไป

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบคือ เมื่อเขาเดินทางมาที่เมือง อัดดัรอียะฮ์ ซึ่งเป็นเมืองในการปกครองของ \\\"สะอู๊ด\\\" (ราชวงศ์สะอู๊ดในปัจจุบัน)
เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก อามีร มุฮัมมัด อิบนุสะอู๊ด เจ้าเมืองคนหนึ่ง ซึ่งตกลงใจที่จะร่วมงานกับเขากล่าวคือฝ่ายตระกูลสะอู๊ดต้องการปกครองฮิญาซและคาบสมุทรอาหรับ ส่วนฝ่ายอิบนุวาฮาบต้องการเปลี่ยนคนไปสู่อะกีดะฮ์ของเขา  ทั้งสองจึงร่วมมือกัน
หลังจากนั้นไม่นานภายใต้การปกครองของ อามีร มุฮัมมัด อิบนุสะอู๊ด และการเผยแพร่แนวทางของเชคมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ  ก็ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้
การที่เชคมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ได้รับการอุ้มชูอุปถัมภ์จากราชสำนักของราชวงศ์สะอู๊ด ทำให้เขามีฐานอำนาจในการดำเนินกิจการต่างๆ จนบรรลุผล
บุคคลใดก็ตามที่ต่อต้านแนวทางของวาฮาบี ชีวิตและทรัพย์สินของเขาก็เป็นที่ฮะล้าล
ฐานอำนาจของวาฮาบีดังกล่าว  มีความแข็งกร้าวต่อคนสองกลุ่มที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้นคือ
1. กลุ่มซูฟีย์ (Sufism) คือ กลุ่มรหัสนิยม ความลี้ลับและมีความคลั่งไคล้ในวิชาตะเซาวุฟ(การฝึกจิตภายใน)
มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบได้ลงความเห็นว่า วิชาตะเซาวุฟคือยาเสพติดที่มอมเมาคนในสมัยนั้นให้เฉื่อยชา ไม่เข้มแข็ง  และเป็นวิชาที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดและบิดเบนออกไปจากเดิม ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ สิ่งอุตริทางศาสนาใหม่ๆที่กลุ่มซูฟีย์ได้สร้างขึ้น เช่น การเคารพสักการะนักบุญ หลุมฝังศพ และสัญลักษณ์ต่างๆ
การเคารพบูชาบรรพบุรุษ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ตายไปแล้ว หรือขอให้ผู้ที่ตายช่วยเป็นสื่อหรือนายหน้าติดต่อกับพระเจ้า
 การสร้างมัสยิดหรืออาคาร เหนือหลุมฝังศพ และการประดับตกแต่งหลุมฝังศพ เป็นต้น
2. กลุ่มมุตะกัลลิมีน (Mutakallimin) คือกลุ่มนักเทววิทยาที่เน้นการเอาเหตุผลทางปัญญา และทางตรรกวิทยามาอธิบายหลักความเชื่อในอิสลาม   จนทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเบี่ยงเบนจากความถูกต้อง
มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ก็มีความเห็นเช่นกันว่า วิชาอิลมุลกะลาม(Elmulkalam) เทววิทยา   เป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่งที่มอมเมาคนในสมัยนั้นให้หมกมุ่นอยู่กับการถกเถียง แล้วในที่สุดก็ทำให้พวกเขาหลงทาง

มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ได้ทำการคัดค้านทั้งสองกลุ่มอย่างแข็งกร้าว และเขาได้ใช้ฐานอำนาจทางการปกครองสนับสนุน  และได้กำจัดกับคนสองกลุ่มด้วยความรุนแรง ไม่มีการผ่อนปรน  
ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของเขาจึงตั้งตนเป็นศัตรู และประกาศให้ประชาชนทั่วไปรู้ว่า  อะกีดะฮ์ของอิบนุวาฮาบคือศาสนาใหม่ที่มิใช่อิสลาม และเขาคือผู้สร้างลัทธิใหม่
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ นั้นก็ถูกผู้คนประณามว่าเป็นพวกนอกศาสนา และเรียกพวกเขาว่า พวกวาฮาบี (Wahabism) ในที่สุด



ตอนที่ 3     แนวคิดที่สำคัญของลัทธิวะฮาบี


พอสรุปแนวคิดที่สำคัญของลัทธิวะฮาบีได้ดังนี้
(1)  ยึดตามแนวของอิม่ามอะหมัด บินฮัมบัล (มัซฮับฮัมบะลี) ในเรื่องฟิกฮ์และปลีกย่อยต่างๆ แต่ไม่ยึดแนวทางของอิหม่ามคนใดเป็นเกณฑ์แน่นอนในเรื่องหลักพื้นฐานทั่วไป
(2)  เรียกร้องให้เลิกยึดติดอยู่กับมัซฮับต่างๆในอิสลามโดยเฉพาะ  แต่ให้ผู้คนทำการวิเคราะห์และวินิจฉัยหลักฐานต่างๆ ทางศาสนาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อบัญญัติของปัญหาต่างๆ  
 (3)  จำเป็นต้องยึดถือความหมายคัมภีร์อัลกุรอานฃและซุนนะฮ์ (แบบฉบับของศาสดามุฮัมมัด) ตามความหมายซอเฮ็รห้ามตีความใดๆทั้งสิ้น
(4)  ถือว่าอะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่แท้จริงคือกลุ่มวาฮาบีเท่านั้น ส่วนซุนนี่กลุ่มอื่นๆนั้นไม่ใช่ แต่เอาคำนี้ไปแอบอ้างใช้
(5)  เรียกร้องสู่หลักเตาฮีด (การให้เอกภาพต่อพระผู้เป็นเจ้า) ตามความเข้าใจผิดๆของมุฮัมมัด บินอับดุลวาฮาบ ในขณะที่นักปราชญ์ซุนนี่มัซฮับอื่นๆไม่เห็นด้วย
(6)  เชื่อว่า ซิฟัต(คุณลักษณะ)ของพระผู้เป็นเจ้า มีใบหน้า มีนิ้ว มือ เท้า หน้าแข้ง มีร่างกาย มีหัวเราะ มีการขึ้นลงไปมา ทรงประทับอยู่บนอารัช และใครไม่เชื่อแบบนี้เขาไม่ใช่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์  
(7)  มองรายละเอียดความลึกซึ้งทางศาสนาบางอย่างว่าคือ สิ่งเหลวไหล คืออุตริกรรมทางศาสนา และเป็นความโง่งมงายของผู้คน
(8)  คัดค้านกลุ่มตอรีกัต  กลุ่มซูฟี  กลุ่มมุตะกัลป์ลีมีน และกลุ่มอะชาอิเราะฮ์
(9)  ต่อต้านการตะวัสซุลและการขอชะฟาอะฮ์  มองว่ามันเป็นการทำชิริกต่ออัลลอฮ์
(10)  ต่อต้านการตักลีดตามมัซฮับต่างๆในอิสลาม แต่กลับเรียกร้องให้คนหันมาตักลีดตามแนวคิดของอิบนุตัยมียะฮ์และมุฮัมมัด บินวาฮาบ



ตอนที่ 4 (จบ)    อิทธิพลและการแพร่หลายของลัทธิวะฮาบี



ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์สะอู๊ด ทำให้วาฮาบีแพร่หลายในซาอุดิอาระเบีย   โดยเฉพาะภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรโดยกษัตริย์อับดุลอาซีซ บินอับดุลเราะห์มาน อาลิสะอู๊ด
ในปี ฮ.ศ. 1351 (ค.ศ. 1930) ด้วยกำลังทรัพย์อันมหาศาลที่ราชวงศ์สะอู๊ดทุ่มให้ลัทธินี้  วาฮาบีได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ในโลกมุสลิมผ่านทางคณะต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ และนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในมัสยิดหะรอมทั้งสองแห่ง ที่นครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์
และที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ในซาอุดิอาระเบียและประเทศใกล้เคียง
          ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดิอาระเบียให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนมุสลิมทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สอนเกี่ยวกับอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ในทุกส่วนของโลก เพื่อทำหน้าที่อบรมสั่งสอนอุดมการณ์และแนวทางของลัทธิวาฮาบี
นอกเหนือจากนั้นแล้วรัฐบาลซาอุดิอาระเบียยังได้สนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ การเผยแพร่อิสลามในรูปแบบต่างๆ แก่มุสลิมทั่วโลกอีกด้วย
อาทิเช่น การสร้างมัสยิดและสถาบันการศึกษา การจัดอบรมภาษาอาหรับและวิทยากร  การพิมพ์อัลกุรอานและความหมายอัลกุรอานตามแนวคิดของวาฮาบีเป็นภาษาต่างๆกว่า 150 ภาษา (รวมทั้งภาษาไทย)
          ดังกล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงการแพร่ขยายของลัทธิวาฮาบีภายใต้การสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียในนาม

วาฮาบี หรือ สะละฟี  หรือ ลัทธิตักฟีร นั่นเอง.

 
  •  

L-umar

วาฮาบี   ในสายตากลุ่มอะชาอิเราะฮ์


อันตรายจากมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

จุดเริ่มเรื่องของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

 เรื่อง ของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบได้เริ่มขึ้นในตะวันออกกลางในปี ฮ.ศ.1143 และได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในปี ฮ.ศ.1150 ที่เมืองอันนัจดฺ ซึ่งเขาได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.1206 เขาได้เริ่มเผยแพร่ด้วยกับการเรียกร้องที่มีการผสมผสานความคิดต่าง ๆ ของเขา โดยอ้างว่า ความคิดเหล่านี้มาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านและซุนนะฮฺนบี เขาได้ยึดเอาอุตริกรรมบางส่วนมาจากท่านตากียุดดีน อะฮฺหมัด อิบนุ ตัยมียะฮฺ แล้วได้นำมาฟื้นฟูใหม่อีกครั้ง

 

ส่วนหนึ่งจากอุตริกรรม ที่ท่านอิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบที่เอามาจากอิบนุตัยมียะฮฺ คือ

1. การห้ามตะวัสสูลต่อท่านศาสดามูฮัมหมัด

2. การ ห้ามเดินทางเพื่อไปเยี่ยมสุสานท่านศาสดามูฮัมหมัดและคนอื่น ๆ จากบรรดาศาสนทูตและบรรดาคนซอและฮฺอื่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อไปขอพร ณ ที่นั้น เพื่อหวังการตอบรับการขอพรจากอัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ)

3. ยัดเยียดการ เป็นกาเฟรให้แก่บุคคลที่เรียกผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยคำต่อไปนี้ :- يارَسُولَ اللهِ โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ , يَامُحَمَّدُ โอ้ท่านมูฮัมหมัด , يَاعَلِيَّ โอ้ท่านอาลี ,หรือกล่าวว่า يَاعبد القادِرِ โอ้ท่านอับดุลกอเดร จงช่วยฉันด้วย หรือเช่นถ้อยคำกล่าวเหล่านี้ นอกเสียจากจะต้องกล่าวกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

4. ยกเลิกการหย่าแบบมะฟุลบิฮ ที่มีมาพร้อมกับการผิดสาบาน เช่น สาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺในเรื่องที่เสนอว่าจะจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ

5. มีความเชื่อว่าอัลลอฮฺมีรูปร่างและมีทิศ

 

และเขาก็ได้อุตริเรื่อง ต่าง ๆ ด้วยกับตัวของเขาเอง ซึ่งสิ่งที่เขาได้อุตริขึ้นมาเช่นต่อไปนี้

1. การห้ามกล่าวซอลาวาตต่อท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ทัดจากอาซาน

2. ลูกศิษย์ของเขาได้ห้ามการจัดงานฉลองวันประสูติท่านศาสดา โดยคัดแย้งกับคำสอนของท่านอิบนุตัยมียะฮฺซึ่งเป็นอาจารย์ของพวกเขา

 

ท่านมูฟตีย์อัชชาฟีอียะ ฮฺ (ผู้ชี้ขาดในเรื่องของศาสนาสำนักชาฟีอี) ในนครมักกะฮฺได้ตำหนิมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

ท่าน เชค อะฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลาน มูฟตีย์ประจำนครมักกะฮฺ ซึ่งท่านได้อาศัยอยู่ในท้าย ยุคการปกครองแบบอุสมานีย์ (อ๊อตโตมาน) ได้กล่าวในประวัติศาสตร์ของมูฮัมหมัด อิบนุ วะฮฺฮาบ ภายใต้หัวข้อเรื่อง "ฟิตนะฮฺ (การปลุกปั่นให้ก่อความไม่สงบ) ของกลุ่มวะฮฺฮาบียะฮฺ" ว่า เรื่องของอิบนุอับดุลวะฮฺฮาบเริ่มจากการแสวงหาความรู้ในนครมะดีนะฮฺอัลมูเนา วาเราะฮฺ ซึ่งบิดาของเขาเป็นนักวิชาการที่ซอและหฺ เช่นเดียวกับท่านเชคสุไลมานผู้เป็นพี่ชาย ปรากฏว่าบิดาและพี่ชายของเขาตลอดจนบรรดาคณาจารย์ได้ปลุกฝั่งเขาให้อยู่ในแนว ทางอันเที่ยงตรง ต่อมาอิบนุอับดุลวะฮฮาบก็ได้เบี่ยงเบนและแต่งแต้มสิ่งที่บิดาและบรรดา คณาจารย์ได้เสี่ยมสอน จากคำพูด การกระทำ และการพิพาทของเขาในเรื่องของปัญหาศาสนามากมาย ผู้เป็นบิดาและบรรดาคณาจารย์ของเขาจึงได้เตือนถึงภัยร้ายที่เกิดจากมูฮัม หมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ต่อผู้คนจากการอุตริกรรมที่เกิดจากการเบี่ยงเบนและการหลงผิดของเขา อันเป็นเหตุให้ปุถุชนทั่วไปหลงผิดและสร้างความขัดแย้งต่อบรรดาผู้นำศาสนาคน อื่น ๆ อีกทั้งยังยัดเยียดการเป็นกาเฟรแก่บรรดาผู้ศรัทธา เพราะเขาได้อ้างว่า การไปเยี่ยมสุสานและการตะวัสสูลต่อท่านศาสดามูฮัมหมัด ตลอดจนบรรดาศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ บรรดาเอาลียะอฺ และบรรดาคนซอและหฺโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความสิริมงคลนั้น ถือว่าเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และการเรียกท่านศาสดามูฮัมหมัดในขณะตะวัสสูลก็ถือว่าเป็นการตั้งภาคีต่ออัล ลอฮฺเช่นกัน การที่ผู้หนึ่งผู้ใดพาดพิงสิ่งหนึ่ง หรือการกระทำหนึ่งไปยังสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าจะเป็นแนวทางการด้านมาญาซอักลีย์ (การเรียกชื่อสิ่งหนึ่งโดยใช้สิ่งอื่นแทน) ก็ถือว่าเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ เช่นการกล่าวว่า "ยานี้มีประโยชน์กับฉัน" การยึดเอาหลักฐานที่ไม่เป็นผลต่อ สิ่งใด ๆ อย่างที่เขาต้องการให้แก่ตัวของเขาเอง การนำมาซึ่งสำนวนที่ปลอมแปลงด้วยกับสำนวนที่สละสลวย การปกปิดความถูกต้องต่อปุถุชนทั่วไปเพื่อให้พวกเขาปฏิบัติตาม และการประพันหนังสือต่าง ๆ ให้กับพวกเขา เพื่อให้พวกเขาเชื่อมั่นว่าบรรดานักวิชาการเตาฮีดทั้งหลายเป็นกาเฟร...

 

 ท่านเชคอะ ฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลานยังได้กล่าวต่อไปว่า มีมากมายจากบรรดาคณาจารย์ของมูฮัมหมัด อิบนุ อัลวะฮฺฮาบ ณ นครมะดีนะฮฺได้กล่าวว่า "ต่อไปอีกไม่นาน ชายผู้นี้ (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) จะหลงผิด.." แล้วมันก็เกิดขึ้นเช่นนั้นจริง ๆ มูฮัมหมัด อิบนุ วะฮฺฮาบได้อ้างว่า สำนึกความคิดที่อุตริหลักการเตาฮีด (วิชาการว่าด้วยการมีพระเจ้าองค์เดียว) เป็นหนึ่งจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ แท้จริงมนุษย์อยู่ในการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺมาตั้งแต่ 600 ปีมาแล้ว ดังนั้นเขาจึงต้องการปรับปรุงศาสนาอิสลามให้กับมนุษย์เหล่านั้น โดยที่เขา (อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) ได้ตีความโองการแห่งอัลลอฮฺที่ถูกประทานลงมาในกลุ่มผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ว่าเป็นกลุ่มนักวิชาการเตาฮีด และเขายังได้กล่าวอีกว่า ผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากท่านศาสดามูฮัมหมัดหรือคนอื่น ๆ จากบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ เอาลียะอฺ และบรรดาผู้ซอและหฺ หรือผู้ที่เรียกหรือขอชาฟาอะฮฺต่อท่านศาสดามูฮัมหมัดหรือบุคคลเหล่านี้ เขาเป็นเปรียบเสมือนบรรดาผู้ตั้งภาคี

 

 ท่านเชคอะ ฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลานยังได้กล่าวอีกว่า ท่านบุคอรีย์ได้กล่าวว่า ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร (รอฎิฯ) ได้รายงานจากท่านนบี (ศ็อลฯ) ในลักษณะของพวกคอวารีญ (الخوارج) ว่า "แท้จริงพวกเขาจะพูดถึงโองการต่าง ๆ ที่ประทานลงมาในกลุ่มกาเฟร แล้วได้ตีความโองการใส่ร้ายผู้ศรัทธา" และได้มีบางรายงานจากท่านอิบนุอุมัร อีกว่า ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้กล่าวว่า "สิ่ง ที่น่ากลัวยิ่งที่ฉันกลัวแทนประชาชาติของฉันคือ ชายผู้หนึ่งที่เขาได้ตีความอัลกุรอ่านซึ่งเขาจะวางอัลกุรอ่านในตำแหน่งที่ ไม่ใช่ที่ของมัน" แน่นอนหลักฐานนี้และหลักฐานก่อนหน้า นี้ ได้ยืนยันถึงกลุ่มนี้..

 

 ต่อมาท่าน เชคอะฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลานได้กล่าวว่า และหนึ่งจากผู้ประพันหนังสือตอบโต้อิบนุวะฮฺฮาบก็คือ ท่านมูฮัมหมัด อิบนุ สุไลมาน อัลกุรดีย์ ผู้ประพันหนังสือ ฮะวาชีย์ ชัรฮุอิบนิฮาญ๊าร "حواشي شرح ابن حجر على متن بأفضل" ซึ่งท่านได้กล่าวว่า "โอ้อิบนุอับดุลวะฮฺฮาบ ฉันขอเตือนท่าน ให้ท่านยับยั้งลิ้นของท่านจากการใส่ร้ายมุสลิม"

 

 ท่านเชคอะ ฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลานยังได้กล่าวต่อไปว่า "และพวกเขา (วะฮาบียะฮฺ) ได้ห้ามการซอลาวาตต่อท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) บนประภาคารทัดจากอาซาน จนกระทั้งได้มีชายตาบอดที่ซอและหฺคนหนึ่งอาซาน และทำการซอลาวาตต่อท่านศาสดาทัดจากอาซาน หลังจากที่พวกเขาได้เคยประกาศห้ามกระทำดังกล่าว ดังนั้นพวกวะฮาบียะฮฺจึงนำตัวชายผู้นั้นไปยังมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบทำการตัดสิน แล้วอิบนุอับดุลวะฮฺฮาบจึงตัดสินได้ประหารชีวิตชายผู้นั้น และชายผู้นั้นก็จึงถูกประหาร...

 

 ท่านเชคอะ ฮฺหมัด ซัยนีย์ ดะหฺลานได้กล่าวตัวบทที่เขาได้บันทึกว่า "ปรากฏว่ามูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบผู้สร้างอุตริกรรมด้วยกับอุตริกรรมเช่นนี้ได้ขึ้นคุตบะ ฮฺวันศุกร์ในมัสยิด อัดดัรอียะฮฺ โดยที่จะกล่าวในทุกคุตบะฮฺของเขาว่า "และผู้ใดที่ทำการตะวัสสูลต่อท่านศาสดา แน่แท้เขาได้เป็นกาเฟรแล้ว" ในขณะที่ท่านสุไลมาน อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ผู้เป็นพี่ชายและเป็นนักวิชาการศาสนา ได้ปฏิเสธต่อมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ โดยปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวในทุกการกระทำและทุกสิ่งที่มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ได้สั่งใช้ และไม่ยอมที่จะ ปฏิบัติตามในสิ่งที่เขาได้อุตริขึ้นมาแม้แต่ครั้งเดียว ในวันหนึ่ง ท่านสุไลมาน อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ผู้เป็นพี่ชายไปกล่าวกับน้องชาย (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) ว่า "รูก่นอิสลามมีเท่าไร ? โอ้มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ !" เขากล่าวว่า "มีอยู่ห้า" ท่านสุไลมานจึงได้กล่าวต่อไปว่า "ท่านได้ทำให้รูก่นอิสลามมี 6 รูก่นแล้ว ซึ่งรูก่นที่ 6 ก็คือ ผู้ใดที่ไม่ยอมปฏิบัติตามท่าน เขาผู้นั้นไม่ใช้มุสลิม ซึ่งนี้แหละคือรูก่นอิสลามข้อที่หกที่ท่านได้อุตริขึ้น" และเมื่อการโต้แย้งระหว่างเขากับพี่ชายของเขายึดเยื้อ ผู้เป็นพี่ชายจึงกลัวว่าน้องชายจะสั่งประหารตน จึงได้เดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และได้เขียนหนังสือตอบโต้กับน้องชายของเขาและส่งไปยังเขา แต่นั่นก็ไม่ทำให้มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบผู้เป็นน้องชายโอนอ่อนลงแต่อย่างใด เช่นเดียวกับบรรดานักวิชาการสำนักคิดฮัมบาลีย์และกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้เขียนและประพันหนังสือตอบโต้

 

และอยู่มาวันหนึ่ง ก็ได้มีชายผู้หนึ่งผู้เป็นหัวหน้าเผ่า ๆ หนึ่งได้ถามกับมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ โดยที่เขาไม่สามารถที่จะตอบคำถามที่ถูกต้องของชายผู้นั้นได้ว่า "เมื่อ มีชายที่พูดจริง มีศาสนา มีอะมานะฮฺได้บอกกับท่านโดยที่ท่านก็รู้ว่าเขาเป็นคนพูดจริงว่า "มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีคนจำนวนมากได้มุ้งหน้ามาหาท่าน โดยที่คนกลุ่มนี้อยู่ด้านหลังของภูเขาลูกนั้น ๆ แล้วท่านก็ได้ส่งทหารม้าไป 1000 คนให้สอดส่องดูคนกลุ่มนั้นที่อยู่หลังเขา แต่พวกเขาก็ไม่พบร่องรอยใด ๆ แม้แต่คนเดียว ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีใครสักคนจากคนกลุ่มนั้นที่จะมายังที่นั่น ท่านจะเชื่อคนหนึ่งพันคน หรือคนที่พูดจริงเพียงแค่หนึ่งคน ?" มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ จึงตอบว่า "ฉันเชื่อคนหนึ่งพันคน" ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าผู้นั้นจึงได้ กล่าวว่า "แท้จริงมุสลิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการที่มีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตามที่พวกเขาได้เขียน หนังสือไว้มากมาย พวกเขาต่างก็ยืนยันว่าสิ่งที่มาจากท่านนั้นเป็นเรื่องที่กุและจอมปลอมทั้ง นั้น แน่นอนเราจึงเชื่อพวกเขา (บรรดานักวิชาการเหล่านั้น) และเราจะถือว่าท่านเป็นผู้ที่โกหก ดังนั้นเขาจึงไม่รู้ถึงคำตอบในเรื่องดังกล่าว

 

ต่อมาก็ได้มีชายผู้หนึ่งได้กล่าวกับ มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบว่า "ท่าน ได้นำเอาศาสนานี้มา ดังนั้นท่านคิดว่าศาสนานี้มันเชื่อม(และต่อเนื่องมาจากท่านศาสดามูฮัมหมัด) หรือว่าถูกแยก (โดยไม่มีผู้ใดที่เชื่อมต่อศาสนามาจนกระทั้งถึงตัวท่าน) ? มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบจึงได้ตอบชายผู้นั้นไปว่า "แม้กระทั้งอาจารย์ของฉันและอาจารย์ของอาจารย์ของพวกเขาที่อยู่ใน ยุค 600 ปีที่ผ่านมา พวกเขาทั้งหมดเป็นมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ) แล้วชายผู้นั้นจึงกล่าวว่า "ดังนั้นศาสนาของท่านถูกแยก ไม่มีการเชื่อมศาสนา (ด้วยกับนักวิชาการใด ๆ) ดังนั้นท่านได้ยึดเอา (วิชาการและหลักความเชื่อต่าง ๆ ) มาจากใคร ?" มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบตอบว่า "จากวิวรณ์ด้วยการดลใจ เช่นเดียวกับท่านนบีคิเดร ชายผู้นั้นจึงกล่าวต่อไปว่า "ถ้าเป็นเช่นนั้น เรื่องการวิวรณ์และการดลใจก็ไม่ใช้เรื่องที่จะเกิดเฉพาะกับท่านเพียงผู้ เดียว ทุกคนสามารถที่จะเรียกร้องวิวรณ์ด้วยการดลใจเสมือนอย่างที่ท่านได้เรียกร้อง มัน" หลังจากนั้นชายผู้นั้นจึงได้กล่าวกับเขาต่อ ไปว่า "แท้จริงการตะวัสสูลได้ถูกรับรองด้วยการลงมติ ร่วมกันของกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺ .. ดังนั้นการตะวัสสูลจึงได้ถูกกล่าวไว้สองแนวทาง และไม่เคยมีผู้ใดกล่าวว่า ผู้กระทำการตะวัสสูลจะเป็นกาเฟร"

 

มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบได้กล่าวยัดเยียดผู้ที่อยู่ก่อนเขา 600 ปีเป็นกาเฟร เป็นมุชริกีน ซึ่งในนั้นก็ร่วมถึงอิบนุตัยมุยะฮฺผู้เป็นอาจารย์ของเขาด้วย นี่แหละคือความกล้าหาญแบบแปลก ๆ ที่มาจากชายผู้นี้ (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) ที่สามารถกล่าวหาผู้คนเป็นพัน ๆ ล้าน ๆ คนจากกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺ บรรดาผู้ซึ่งนำอิสลามมายังชนรุ่นหลัง ๆ อีกทั้งยังจำกัดอิสลามไว้เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติตามเขาเท่านั้น ในสมัยของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบมีกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺไม่เกินหนึ่งแสนคน และชาวตำบลมัจดฺของเมืองฮีญาซซึ่งเป็นประชาชนของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้ยึดเอาความเชื่อของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แท้จริงแล้วผู้คนมีความหวาดกลัวมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ เพราะพวกเขารู้มาว่า มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ เป็นผู้ที่กระหายเลือดคนที่ไม่ปฏิบัติตาม โดยที่มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ได้รับฉายาว่า "ผู้กระหายเลือดของผู้ไม่ปฏิบัติตาม" จากอัลอามีร อัซซอนอานีย์ เจ้าของหนังสือ سبل السلام ดังนั้นท่านอัลอามีร อัซซอนอานีย์จึงได้เริ่มกล่าวลักษณะของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบก่อนที่จะเข้าใจสภาพของโคลงกลอนว่า

 

"สลามต่อเมืองนัจดฺและผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมัญดฺ มาดแม่นการให้สลามของฉันต่อที่ที่ห่างไกลมันก็ไม่ถูกพบ"

 

โคลงวักนี้ได้ถูกกล่าวไว้ในสมุด บันทึกของท่านอามีร อัซซอนอานีย์ที่ถูกทำเป็นเล่ม และความสมบูรณ์ของโคลงบทนี้ก็ได้อยู่ในหนังสือ البدر الطالع ของท่านเชากานีย์ และหนังสือ التاج المكلل ของท่านซิดดิ๊ก คอน ดังนั้นกลอนบทนี้จึงได้ล่องลอยไปทุก ๆ ที่ ซึ่งโคลงกลอนบทนี้ประมวนไปด้วยการกล่าวชมมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบด้วยกับการกระหายเลือด การปล้นสะดมทรัพย์สิน ความอาจหาญในการสังหารชีวิตมนุษย์ การลอบสังหารผู้คน การยัดเยียดการเป็นกาเฟรให้แก่ประชาชาติอิสลามในทุกหัวเมือง และจบด้วยการอธิบายสภาพของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบจากความหลงผิด การสุรุยสุร่ายในการฆ่าฟัน การปล้นชิง และตอบโต้ความคิดของเขา

 

และแน่นอนเชคสุไลมาน อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ผู้เป็นพี่ชายได้ประพันหนังสือที่มีชื่อว่า الصواعق الإلهية في الرد على الوهابية และหนังสือ فصل الخطاب في الرد على محمد بن الوهاب ตอบโต้น้องชายของเขามูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

มุฟตีย์อัลฮานาบีละฮฺ (ผู้ชี้ขาดในเรื่องของศาสนาสำนักฮัมบาลีย์) ณ นครมักกะฮฺได้ตำหนิมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

ท่านเชคมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลลอฮฺ อันนัจดฺ อัลฮัมบาลียะฮฺ มุฟตีย์อัลฮานาบีละฮฺ ณ นครมักกะฮฺ (ท่านได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.1295) ได้กล่าวในหนังสือของเขา "السحب الوابلة على ضرائح الحنابلةً" ในประวัติของบิดาของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ อิบนุ สุไลมาน ในตัวบทที่ว่า "เขา (อับดุลวะฮฺฮาบ อิบนุ สุไลมาน) เป็นบิดาของมูฮัมหมัดผู้เป็นเจ้าของการเรียกร้องที่แพร่กระจายไปด้วยความ ชั่วร้ายในทุกสาระทิศ แต่ในระหว่างทั้งสอง (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบกับบิดาของเขา) มีสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดว่า มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบไม่เคยที่จะแสดงตนด้วยการเรียกร้องไปสู่แนวทางอันชั่วร้าย เว้นแต่หลังจากที่บิดาของเขาได้เสียชีวิตไป และผู้ที่ฉันได้พบเห็นเขาจากนักวิชาการที่อยู่ในสมัยของ อับดุลวะฮฺฮาบ อิบนุ สุไลมาน ได้เล่าให้ฉันฟังว่า "ชายผู้นี้ (อับดุลวะฮฺฮาบ อิบนุ สุไลมาน ผู้เป็นบิดา) ได้โกรธกริ้วต่อลูกชายของเขา (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) เพราะว่าเขา (มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ) ไม่ยินดีและเห็นด้วยกับการปฏิบัติตามนิติศาสตร์ที่คนรุ่นหลังได้ลงมติไว้ ผู้เป็นบิดาจะกล่าวกับผู้คนว่า "โอ้สิ่งที่พวกท่านได้เห็นที่มาจากมู ฮัมหมัด (ลูกชายเขา) จากความชั่วร้าย แล้วอัลลอฮฺก็ได้ดลบันดาลให้เขาเป็นเช่นนั้น" และเช่นเดียวกันลูกชายของเขานามว่า สุไลมาน อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ผู้เป็นพี่ชายของมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบก็ได้ปฏิเสธการเรียกร้องของน้องชาย และได้ตอบโต้อย่างหนักด้วยกับโองการต่าง และฮาดี ษต่าง ๆ เพื่อให้เขาได้กลับมา เขาไม่ยอมรับสิ่งอื่นใด และไม่รับฟังคำพูดของผู้รู้คนใด ทั้งรุ่นก่อนและรุ่นหลัง นอกจากเขาจะเชื่อฟังท่านตากียุดดีน อิบนุ ตัยมียะฮฺ และท่านอิบนุกอยยิมเท่านั้น เพราะเขาเห็นว่าคำพูดของท่านทั้งสองนี้เป็นตัวบท ซึ่งจะไม่รับการตีความใด ๆ และจะใช้ตัวบทนี้ทำร้ายผู้อื่นตามแบบของตน

 

ท่านอิบนุอาบีดีนได้ตำหนิมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ

 

 ท่านอิบนุอา บีดีน อัลฮานีฟีย์ได้กล่าวตอบโต้มูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบว่า "ความปรารถนาในกลุ่มผู้ปฏิบัติตามอิบนุอับดุลวะฮฺฮาบ อัลคอวาริญในสมัยของเรานี้ก็คือคำพูดที่ว่า "และพวกเขาจะยัดเยียดการเป็นกาเฟรใน กับบรรดาอัครสาวกของท่านนบีของเรา" ซึ่งท่านก็รู้มาแล้วว่านี้ไม่ใช่ กฎเกณฑ์ในการเรียกคอวาริญ แต่คำว่าคอวาริญก็คือคำที่อธิบายถึงบุคคลที่ออกจากท่านอาลี อิบนุ ค็อตตอบ แต่มันก็เพียงพอที่จะเรียกกลุ่มวะฮฺฮาบียะฮฺว่าเป็น กลุ่มคอวาริญ เพราะหนึ่งจากความเชื่อของพวกเขาที่ว่า ผู้ใดที่ออกจากการปฏิบัติตามแนวทางพวกเขาผู้นั้นก็คือกาเฟร อย่างที่มันได้เกิดขึ้นในสมัยของเราในกลุ่มผู้ปฏิบัติตามมูฮัมหมัด อิบนุ อับดุลวะฮฺฮาบ ซึ่งพวกเขาได้ออกจากนัจดฺ และได้ทำการยึดครองอัลฮารอมัยน์ (มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ) และพวกเขาก็ได้อ้างสำนักฮัมบาลีย์เป็นทัศนะของพวกเขา แต่พวกเขาก็เชื่อว่าพวกเขาคือมุสลิม และผู้ใดที่ขัดแย้งต่อความเชื่อของเขา ถือว่าผู้นั้นเป็นมุชริกีน และถือเป็นที่อนุมัติให้สังหารกลุ่มอะฮฺลิสสุนนะฮฺ ฆ่านักวิชาการอะฮฺลิสสุนนะฮฺได้ ด้วยกับการตัดสินดังกล่าว.."


 

ที่มา..www.sunna.info
  •  

shiah_yl

บทความดีๆ ขออัลลอฮ์(ซ.บ.)ตอบเเทนครับ
  •  

27 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้