Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

เมษายน 19, 2024, 01:57:59 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,594
  • หัวข้อทั้งหมด: 649
  • Online today: 75
  • Online ever: 104
  • (มีนาคม 29, 2024, 02:09:38 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 1
Guests: 58
Total: 59

ความประเสริฐของท่าน อาลี ผู้เป็นอะฮ์ลุลบัยต์นะบี

เริ่มโดย L-umar, กุมภาพันธ์ 19, 2010, 02:56:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ความประเสริฐของอาลีและอะฮ์ลุลบัยต์

1-  

ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าว่า
 
   
ประชาชาติอิสลามจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม ( ฟิรเกาะฮ์ –  فِـرْقَةٌ ) ซึ่งเรื่องนี้มีรายงานไว้ทั้งสองฝ่าย


หะดีษที่อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน

عَنِ الْحُسَيْنِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ سَعِيدٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَحْمَدَ الصَّفْوَانِيِّ عَنْ مَرْوَانَ بْنِ مُحَمَّدٍ السِّنْجَارِيِّ عَنْ أَبِي يَحْيَى التَّمِيمِيِّ عَنْ يَحْيَى الْبَكَّاءِ

عَنْ عَلِيٍّ عليه السلام قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وآله وسلم :

سَتَفْتَرِقُ أُمَّتِي عَلَى ثَلَاثٍ وَ سَبْعِينَ فِرْقَةً فِرْقَةٌ مِنْهَا نَاجِيَةٌ وَ الْبَاقُونَ هَالِكُونَ

وَ النَّاجُونَ الَّذِينَ يَتَمَسَّكُونَ بِوَلَايَتِكُمْ وَ يَقْتَبِسُونَ مِنْ عِلْمِكُمْ وَ لَا يَعْمَلُونَ بِرَأْيِهِمْ

ท่านอิม่ามอาลี บินอบีตอลิบ อะลัยฮิสลามเล่าว่า :  

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮีกล่าวว่า :  

(ในอนาคต)ประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม มีกลุ่มเดียวเท่านั้นที่รอด ส่วนที่เหลือคือผู้ได้รับความหายนะ

กลุ่มที่จะรอดปลอดภัยนั้นคือ   บรรดาผู้ที่ยึดมั่นต่อการเป็นอิม่ามผู้นำของพวกเจ้า(หมายถึงอาลีและอะฮ์ลุลบัยต์) พวกเขาจะรับเอาความรู้จากพวกเจ้าและจะไม่ปฏิบัติสิ่งใด(ในศาสนา)ตามความคิดของพวกเขาเอง


สถานะหะดีษ  : มุตะวาติร  

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยอัลฮุรรุลอามิลี เล่ม 27 : 50  หะดีษ 33180



►อธิบาย

1.   ท่านรอซูล(ศ)ได้แนะนำอุมมัตของท่านว่า  กลุ่มที่จะรอดปลอดภัยคือ บรรดาผู้ที่ยึดมั่นต่อการเป็นอิม่ามผู้นำของท่านอาลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา
2.   คนกลุ่มนี้จะรับเอาวิชาความรู้จากท่านอาลีและอะฮ์ลุลบัยต์ของเขา
3.   คนกลุ่มนี้จะไม่ปฏิบัติสิ่งใดในศาสนาอิสลามตามความคิดของพวกเขาเอง



หะดีษ 73 กลุ่มอะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « تَفَرَّقَتِ الْيَهُودُ عَلَى إِحْدَى وَسَبْعِينَ فِرْقَةً وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِى عَلَى ثَلاَثٍ وَسَبْعِينَ فِرْقَةً ».
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า  :  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า : ชาวยิวจะแตกออกเป็น 71 หรือ 72 กลุ่มและชาวคริสต์จะแตกออกเป็น 71 หรือ 72  กลุ่ม  และประชาชาติของฉันจะแตกออกเป็น 73 กลุ่ม
สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ ดูซอฮีฮุ อิบนิมาญะฮ์  หะดีษที่ 3981  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางส่วนปฏิเสธว่า อิสลามไม่มีนิกาย  แต่ทานนบีฯได้บอกไว้ชัดเจนว่า ประชาชาติอิสลามจะแตกออกเป็น 73  กลุ่ม  และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มุสลิมก็ได้แบ่งเป็นมัซฮับต่างๆจริง

สาเหตุการแตกแยกแบ่งออกได้เป็นสองเรื่องหลักๆคือ


1.   เรื่องอุศูล คือเรื่องหลักศรัทธา(คืออะกีดะฮ์)

2.   เรื่องอิมามะฮ์ คือเรื่องผู้นำสืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด



นักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบันได้บันทึกชื่อมุสลิมกลุ่มต่างๆไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งสามารถค้นคว้าได้จากตำราเกี่ยวกับกลุ่มต่างๆในอิสลามเช่น หนังสืออัลมิลัล วันนิฮัลของชะฮ์ร็อสตานี ตำราภาษาไทยเช่นหนังสือบิสมิลลาฮฺเล่ม1และ2 ของอาจารย์ชาฟีอี นภากรณ์ เป็นต้น

นักวิชาการกับทัศนะการแบ่งจำนวนกลุ่มในอิสลาม  

1.   บางคนตีความคำว่า 73 กลุ่ม(ฟิรเกาะฮ์)ในที่นี้หมายถึง มุสลิมจะแตกแยกกันมากมายหลายมัซฮับ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องแตกออกเป็น 73 กลุ่มพอดีตามตัวบทฮะดีษ    
2.   บางคนกล่าวว่า 73 กลุ่มในที่นี้หมายถึง มุสลิมจะแตกกันมากกว่า 73 กลุ่ม    
3.   บางคนกล่าวว่า 73 กลุ่มในที่นี้คือ มุสลิมจะแตกแยกกันจริง แต่มีจำนวนน้อยกว่า 70 กลุ่ม


กลุ่มแกนนำหลักๆแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 อะฮ์ลุสสุนนะฮ์  
กลุ่มที่ 2 มุอ์ต๊ะอ์ซิละฮ์
กลุ่มที่ 3 ญับบะรียะฮ์
กลุ่มที่ 4 ค่อวาริจญ์
กลุ่มที่ 5 มุรญิอะฮ์
กลุ่มที่ 6 ชีอะฮ์




รายชื่อนิกายในศาสนาอิสลาม

กลุ่มที่ 1 ซุนนี่  หรืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ วัลญะมาอะฮ์ มี 9 กลุ่ม
1.   อะฮ์ลุลหะดีษ
2.   อะชาอิเราะฮ์
3.   ฮานาฟี
4.   มาลิกี
5.   ชาฟิอี
6.   ฮัมบาลี
7.   วาฮาบี
8.   ตอรีกัต
9.   ดะอ์วะฮ์ วัตตับลีฆ
กลุ่มที่ 2 มุอ์ต๊ะซิละฮ์ หรือก็อดรียะฮ์ มี 12 กลุ่ม
8.วาซิลียะฮ์
9.ฮุซัยลียะฮ์
10.นัซซอมียะฮ์
11 คอบิฏียะฮ์และฮะดะษียะฮ์
12 บิชรียะฮ์
13 มุอัมมิรียะฮ์
14 มุรดารียะฮ์
15 ษุมามียะฮ์
16 ฮะชามียะฮ์
17 ญาฮิซียะฮ์
18 ค็อยยาฏียะฮ์และก๊ะอ์บียะฮ์
19 ญิบาอียะฮ์และบะฮ์ชีมียะฮ์
กลุ่มที่ 3 ญับบะรียะฮ์ มี 6 กลุ่ม
20 ญะฮ์มียะฮ์
21นัจญารียะฮ์
22 ฎิรอรียะฮ์
23 อัชอะรียะฮ์ หรืออะชาอิเราะฮ์
24 มุชับบะฮะฮ์
25 กะรอมียะฮ์
กลุ่มที่ 4 ค่อวาริจญ์ มี 18 กลุ่ม
26 มุฮักกิมะตุล อูลา
27 อะซาริเกาะฮ์
28 นัจญะดาตุล อาซิรียะฮ์
29 บัยฮะซียะฮ์
30 อะญาริดะฮ์
31 ษะอาละบะฮ์
32 อั๊คนะซียะฮ์
33 มุอับบิดียะฮ์
34 ร่อชีดียะฮ์
35 ชัยบานียะฮ์
36 มุกร่อมียะฮ์
37 ม๊ะอ์ลูมียะฮ์และมัจฮูลียะฮ์
38 บิดอียะฮ์
39 อับบาฎียะฮ์
40 ฮัฟซียะฮ์
41 ฮาริษียะฮ์
42 ยะซีดียะฮ์
43 ศ็อฟรียะฮ์ อัซ-ซิยาดียะฮ์
กลุ่มที่ 5 มุรญิอะฮ์ มี 6 กลุ่ม
44 ยูนุซียะฮ์
45 อะบีดียะฮ์
46 ฆ็อสซานียะฮ์
47 ษูบานียะฮ์
48 ตูมีนียะฮ์
49 ซอลีฮียะฮ์
กลุ่มที่ 6  กลุ่มชีอะฮ์ มี 24 กลุ่ม
สาขาซัยดียะฮ์
50 ฮะรูดียะฮ์
51 สุลัยมานียะฮ์
52 อับตะรียะฮ์
สาขาที่อ้างว่าเป็นชีอะฮ์ แต่ความจริงไม่ใช่ชีอะฮ์
53 บะยานียะฮ์
54 มุฆีรียะฮ์
55 มันซูรียะฮ์
56 ญะนาฮียะฮ์
57 ค็อฏตอบียะฮ์
58 ฮะรูรียะฮ์
สาขาอิมามี
59 มุฮำมะดียะฮ์
60 บากิรียะฮ์
61 นาวูซียะฮ์
62 ชะมีตียะฮ์
63 อิมารียะฮ์
64 อิสมาอีลียะฮ์
65 มุบาร่อกียะฮ์
66 มูซาวียะฮ์
67 ก็อฏอียะฮ์
68 ฮาชีมียะฮ์
69  ซะรอดียะฮ์
70  ยูนุซียะฮ์
71 ชัยตอนียะฮ์กามิลียะฮ์
72 กามิลียะฮ์
73 ชีอะฮ์ อิษนา อะชะรียะฮ์ ( ชีอะฮ์ 12 อิม่าม )



  •  

L-umar

2-   ชีอะฮ์อาลี  

คือชื่อที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ตั้งให้แก่ผู้ดำเนินตามแนวทางของอาลี



อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

قاَلَ حَدَّثَناَ سَلْمُ الْخَوَّاصُ هُوَ ابْنُ مَيْمُونٍ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ هُوَ الصَّادِقُ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ عَنْ أَبِيهِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَنْ أَبِيهِ

عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قاَلَ :  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ :

السَّابِقُونَ إِلَى ظِلِّ الْعَرْشِ يَوْمَ الْقِياَمَةِ طُوْبَى لَهُمْ   قِيْلَ ياَ رَسُوْلَ اللهِ وَمَنْ هُمْ قاَلَ :

هُمْ شِيْعَتُكَ يَا عَلِيُّ وَمُحِبُّوْكَ
 
الكتاب : الأمالي المطلقة   ج 1  ص 202   المؤلف : أحمد بن حجر العسقلاني
الناشر : المكتب الإسلامي – بيروت الطبعة الأولى ، 1416 - 1995
تحقيق : حمدي عبد المجيد السلفي   عدد الأجزاء 1

ภาพหนังสืออะมาลี http://3lsooot.com/booksmall/vbook7439.html

โลดหนังสืออะมาลี
http://ebooks.roro44.com/1923-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D9%85%D8%A7%D9%84%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%B7%D9%84%D9%82%D8%A9.html


สัลมุ อัลเคาว๊าศ เขาคืออิบนุมัยมูน ได้เล่าให้เราฟัง  จากญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เขาคืออัศ-ศอดิก จากบิดาเขาคือ มุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาคือ อาลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือ ฮูเซน บินอาลี จากบิดาเขา  คือท่านอาลี บินอบีตอลิบ ร่อดิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า  :

ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า  :

กลุ่มแนวหน้าที่จะไปถึงยังร่มเงาแห่งอารัชในวันกิยามะฮ์(ก่อนใครๆ)    ตูบา  สำหรับพวกเขา (วันกิยามะฮ์)  

มีคนถามว่า  :    โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  และพวกเขาเป็นใครครับ ?

ท่านตอบว่า  :    พวกเขาคือ ชีอะฮ์ของท่าน โอ้อาลีและคือบรรดาผู้ที่รักท่าน



สถานะหะดีษ  : ฮาซัน (ดี)  ดูหนังสืออัลอะมาลี อัลมุฏละเกาะฮ์  

โดยอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี เล่ม 1 หน้า 202



►อธิบาย :  

ตูบา (طُوبَى) หมายถึง ความรอด ความปลอดภัย ส่วนอีกความหมายหนึ่ง คือ ต้นไม้ในสวนสวรรค์ เช่นหะดีษที่ท่านนะบี(ศ)กล่าวว่า

طُوبَى لِمَنْ وَجَدَ فِى صَحِيفَتِهِ اسْتِغْفَارًا كَثِيرًا

ตูบาสำหรับผู้ที่พบในสมุดบันทึกของเขา (ในวันกิยามะฮ์) ซึ่งการขออภัยโทษมากมาย

สถานะหะดีษ  : เศาะหิ๊หฺ ดูซอฮีฮุ อิบนิมาญะฮ์   หะดีษที่ 3078 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี    ในหะดีษที่ท่านนะบี(ศ)กล่าวจึงหมายถึง เข้าสวรรค์   


۩  วิเคราะห์ผู้รายงานหะดีษ


1.สัลมุ อัลเคาว๊าศ  อิบนุมัยมูน

นักวิชาการได้บันทึกชีวประวัติรอวีย์ผู้นี้ไว้ในนามดังต่อไปนี้  
สัลมุ บิน มันศูร อัลเคาว๊าซ อัลรอซี  ( سلم بن منصور الخواص الرازي )
สัลมุ บินมัยมูน อัลเคาว๊าซ ชาวเมืองช่าม ( سلم بن ميمون الخواص شامي)
สาลิม บินมัยมูน อัลเคาว๊าซ ( سَالِمُ بْنُ مَيْمُونٍ الْخَوَّاصُ )

อิบนุหะญัรได้กล่าวในตอนท้ายหะดีษบทนี้ว่าตัวเขามีทัศนะว่า  สัลมุนั้นดออีฟ

ท่านศ่อฟะดีกล่าวว่า

سلم بن ميمون الرّازي الزّاهد، وسليمان الخوَّاس زاهد أهل الشام

สัลมุ บินมัยมูน อัลรอซี อัซซาฮิด และสุลัยมานอัลเคาวาส ซาฮิดคือชาวเมืองช่าม
ดูอัลวาฟี บิลวะฟะย๊าต เล่ม 4 : 398

Θ รายชื่อตำราที่บันทึกหะดีษที่สัลมุรายงานมีดังต่อไปนี้

หนึ่ง-ตัฟสีรต็อบรี ของท่านอิบนุญะรีร

حدثني يونس، قال: قال لنا سلم الخواص: كان ابن عباس يقول: هو عزير
تفسير الطبري  ج 5 ص 440 ح 5890

قال يونس: قال لنا سلم الخواص:  كان طعامه وشرابه سل عنب، وسل تين، وزِقَّ عصير
تفسير الطبري ج 5  ص 466

สอง-ตัฟสีร อัลกัชฟุวัลบะยาน ของท่านษะอ์ละบี

وقال سلم الخوّاص : من أراد أن يأكل الدارين فليدخل في مذهبنا عامين؛ ليضع الله سبحانه الدنيا والآخرة بين يديه. قيل : وما مذهبكم؟
 قال : الرضا بالقضا، ومخالفة الهوى.
الكشف والبيان للثعلبى  ج 13  ص 149

สาม- มุอ์ญัมกะบีร  ของท่านต็อบรอนี

حدثنا سلم بن ميمون الخواص عن علي بن عطاء عن عبيد الله العمري عن سالم بن عبد الله عن أبيه : قال قال النبي صلى الله عليه و سلم : ( من قال في سوق من الأسواق لا إله إلا الله وحده لاشريك له له الملك وله الحمد وهو على كل شيء قدير كتب الله له ألف ألف حسنة )
كتاب المعجم الكبير  ج 12  ص 300  ح 13175

สาม- มุอ์ญัมซ่อฆีร   ของท่านต็อบรอนี

حدثنا سلم الخواص ثنا أبو خالد الأحمر عن إسماعيل بن أبي خالد عن قيس بن أبي حازم عن سهل بن أبي حثمة أن النبي صلى الله عليه و سلم قال لرجل إذا أنا مت وأبو بكر وعمر فإن استطعت أن تموت فمت ل
المعجم الأوسط  ج 7  ص 83  ح 6918

حدثنا سلم الخواص ثنا سفيان بن عيينة عن الزهري عن أبي إدريس الخولاني عن أبي ثعلبة الخشني قال نهى رسول الله صلى الله عليه و سلم عن قتل النساء والولدان
كتاب المعجم الأوسط  ج 7  ص 113  ح 7011

สี่- ฮิลยะตุลเอาลิยาอ์    ของท่านอบีนุอัยม์อัลอิศบะฮาบี

حدثنا أبي ثنا أحمد ثنا أبو بكر قال حدثني محمد بن إدريس ثنا عمرو بن سلم عن سلم بن ميمون الخواص حدثني عثمان بن زائدة قال كتب الى سفيان الثوري إن أردت أن يصح جسمك ويقل نومك فاقلل من الأكل
حلية الأولياء لابي نعيم  ج 7  ص 7

عن سلم بن ميمون الخواص قال سمعت عبدالعزيز بن مسلم يقول سمعت سفيان الثوري يقول كل ما شئت ولا تشرب فإنك إذا لم تشرب لم يجئك النوم
حلية الأولياء  ج 7  ص 18

حدثنا سلم الخواص ثنا ابو طيبة الجرجاني قال قلنا لكرز بن وبرة ما الذي يبغضه البر والفاجر قال العبد يكون من أهل الآخرة ثم يرجع الى الدنيا
كتاب حلية الأولياء ج 5  ص 80

ห้า- มุสนัดอัลมุวัตเตาะอ์      

حدثنا سلم الخواص يقال : يقتدى من قول العالم ما لا يقتدى من فعله
كتاب مسند الموطأ  ج 1  ص 10

หก- มุอ์ญัมอิบนุมุกรีอ์  

حدثنا سلم الخواص ، ثنا مسلم بن خالد ، عن إسماعيل بن أمية ، عن نافع ، عن ابن عمر ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : « ألا كلكم راع ، وكلكم مسئول عن رعيته ، فالإمام راع ، وهو مسئول عن رعيته ، ألا والرجل راع على أهله ، وهو مسئول عنهم ، ألا والمرأة راعية في ما وليت من مال زوجها ، وهي مسئولة عنه ، ألا والعبد راع على ما ولي من مال سيده ، وهو مسئول عنه ، ألا وكلكم راع ، وكلكم مسئول »
كتاب معجم ابن المقرئ  ج 1  ص 48 ح 47

เจ็ด – อัลฟะกีฮุ วัลมุตะฟักกิฮ์  ของท่านคอเตบอัลบัฆดาดี

1003 - وأنا أبو محمد عبد الله بن يحيى بن عبد الجبار السكري ، أنا أبو علي إسماعيل بن محمد الصفار ، نا عباس بن عبد الله الترقفي ، نا سلم الخواص ، أخبرني ابن عيينة ، عن مجاهد ، قال : « لا يتعلم العلم جبار ولا مستكبر ولا مستحي »
كتاب الفقيه والمتفقه للخطيب البغدادي  ج 3  ص 121  ح 1003

เมื่อท่านได้อ่านรายงานหะดีษของสัลมุที่นักวิชาการได้บันทึกหะดีษที่เขารายงานไว้ในในตำราตัฟสีรและหะดีษต่างๆจึงแสดงให้เห็นว่า สัลมุมีตัวตนจริงๆ


2.ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด อัศ-ศอดิก


อิบนุค็อลกานกล่าวว่า

جعفر الصادق  : أبو عبد الله جعفر الصادق بن محمد الباقر بن علي زين العابدين بن الحسين بن علي بن أبي طالب، رضي الله عنهم أجمعين؛ أحد الأئمة الاثني عشر على مذهب الإمامية، وكان من سادات أهل البيت ولقب بالصادق لصدقه في مقالته وفضلُه أشهر من أن يذكر

ท่านญะอ์ฟัร อัศศอดิก  : ฉายาคืออบูอับดุลลอฮ์  ชื่อคือญะอ์ฟัร ศอดิก บุตรมุฮัมมัด บาเก็ร บุตรอาลีซัยนุลอาบิดีน บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ  เขาคืออิม่ามผู้นำคนหนึ่งจากสิบสองอิม่ามของมัซฮับอิมามียะฮ์  ท่านคือสัยยิดคนหนึ่งแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นะบี   ที่ท่านได้รับสมญานามว่า  " อัศศอดิก " ก็เนื่องจากท่านมีความสัตย์จริงในคำพูดของท่าน  และความประเสริฐของท่านนั้นเป็นที่เลื่องลือมากที่สุดเกินกว่าที่จะกล่าวถึง
อ้างอิงจาก วะฟะยาตุลอะอ์ยาน โดยอิบนุค็อลกาน  เล่ม 1 : 327 อันดับที่ 131

อิบนุฮิบบานกล่าวว่า  

جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رضي الله عنهم كنيته أبو عبد الله يروى عن أبيه وكان من سادات أهل البيت فقها وعلما وفضلا

ท่านญะอ์ฟัร บุตรมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ
ฉายาของเขาคือ อบูอับดุลลอฮ์ รายงานหะดีษจากบิดาเขา  เขาคือสัยยิดคนหนึ่งจากอะฮ์ลุลบัยต์นะบี
ดูอัษษิกอต โดยอิบนุฮิบบาน อันดับที่ 7039

อัลอิจญ์ลีได้นับว่า ท่านญะอ์ฟัร บุตรมุฮัมมัด คือหนึ่งจากนักรายงานที่เชื่อถือได้ดูอัษษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี อันดับที่ 226

อิบนุหะญัรกล่าวว่า
 
جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الهاشمي أبو عبد الله المعروف بالصادق صدوق فقيه إمام من السادسة مات سنة ثمان وأربعين

ท่านญะอ์ฟัร บุตรมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ อัลฮาชิมี อบูอับดุลลอฮ์   รู้จักกันในนาม " ศอดิก มัศดู๊ก- ผู้สัตย์จริง "   คือฟะกีฮฺ คืออิหม่ามผู้นำคนที่หก  มรณะปีฮ.ศ. 48
ดูตักรีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  อันดับที่ 950

อิบนุอบีหาติมกล่าวว่า

جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أبو عبد الله كرم الله وجهه روى عن أبيه

ท่านญะอ์ฟัร  บุตรมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลีบุตรอบูตอลิบ รายงานหะดีษจากบิดาของเขา...

ابن راهويه يقول قلت للشافعى كيف جعفر بن محمد عندك قال ثقة

อิบนุรอฮะวัยฮฺเล่าว่า ฉันได้ถาม(อิม่าม)ชาฟิอีว่า  ญะอ์ฟัร บุตรมุฮัมมัดนั้นเป็นอย่างไรในทัศนะของท่าน  เขาตอบว่า เชื่อถือได้

يحيى بن معين قال جعفر بن محمد ثقة

ยะห์ยา บินมะอีนกล่าวว่า  ญะอ์ฟัรบุตรมุฮัมมัด เชื่อถือได้ในการรายงาน

عبد الرحمن قال سمعت أبى يقول جعفر بن محمد ثقة لا يسأل عن مثله

อับดุลเราะห์มานเล่าว่า ฉันได้ยินบิดาฉันกล่าวว่า ญะอ์ฟัรบุตรมุฮัมมัด เชื่อถือได้ในการรายงาน ไม่ต้องถามว่า(จะมีใคร)เหมือนกับเขา
ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล เล่ม 2 : 487 อันดับ 1987


3.มุฮัมมัด บินอาลี

อิบนุค็อลกานกล่าวว่า

محمد الباقر : أبو جعفر محمد بن زين العابدين علي بن الحسين بن علي بن أبي طالب رضي الله عنهم أجمعين، الملقب الباقر، أحد الأئمة الاثني عشر في اعتقاد الإمامية، وهو والد جعفر الصادق
كان الباقر عالما سيدا كبيرا، وإنما قيل له الباقر لأنه تبقر في العلم، أي توسع، والتبقر: التوسع، وفيه يقول الشاعر:  يا باقر العلم لأهل التقى

มุฮัมมัด อัลบาเก็ร : ฉายาคืออบูญะอ์ฟัร  ชื่อคือมุฮัมมัด บุตรอาลีซัยนุลอาบิดีน  บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ  มีสมญานามว่า บาเก็ร ท่านคืออิม่ามผู้นำคนหนึ่งจากสิบสองอิม่ามในความเชื่อของมัซฮับชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และท่านคือบิดาของท่านญะอ์ฟัรศอดิก   ท่านอิม่ามบาเก็รคือผู้รู้  และเป็นสัยยิดที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง  แท้จริงที่เรียกขานท่านว่า " อัลบากิร " ก็เพราะว่าท่านมีความแตกฉานในวิชาความรู้(ดั่งตาน้ำที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน)
อ้างอิงจาก วะฟะยาตุลอะอ์ยาน โดยอิบนุค็อลกาน  เล่ม 4 : 174 อันดับที่ 560

อิบนุอบีหาติมกล่าวว่า

مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أبو جعفر روى عن جابر بن عبد الله وأبيه علي بن الحسين روى عنه ابنه جعفر بن محمد

ท่านมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ ฉายาคืออบูญะอ์ฟัร
ท่านรายงานหะดีษจากท่านญาบิรบินอับดุลลอฮ์และจากบิดาของท่านคือท่านอาลีบินฮูเซน
ผู้ที่รายงานหะดีษจากท่านคือท่านญะอ์ฟัร บุตรมุฮัมมัด และคนอื่นๆ
ดูอัลญัรฮุ วัตตะอ์ดีล เล่ม 8 : 26 อันดับ 117

อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า

مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ  تابعي ثقة

ท่านมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลีบุตรอบูตอลิบ เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน    ดูอัษษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 1630

อิบนุหะญัรกล่าวว่า  

مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ أبو جعفر الباقر  ثقة

ท่านมุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ ฉายาคืออบูญะอ์ฟัร อัลบาเก็ร  เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดูตักรีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  อันดับที่ 6151

อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า
 
أبو جعفر مُحَمَّد بْنِ عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ ، العلوي الفاطمي، المدني، ولد زين العابدين،

ท่านอบูญะอ์ฟัร  มุฮัมมัด บุตรอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี  อัลอาลาวี อัลฟาติมี  ชาวนครมะดีนะฮ์  คือบุตรชายของท่านอิม่ามซัยนุลอาบิดีน
 
واتفق الحفاظ على الاحتجاج بأبي جعفر

บรรดาฮุฟฟ๊าซ(นักท่องจำหะดีษ) มีมติว่า ให้ยึด(หะดีษของ)ท่านอบูญะอ์ฟัรเป็นหลักฐานได้
ดูสิยัร อะอ์ลามุนนุบะลาอ์  เล่ม 4 : 401 อันดับ 158


4.อาลี บินฮูเซน

อิบนุค็อลกานกล่าวว่า

زين العابدين :  أبو الحسن :  علي بن الحسين بن علي بن أبي طالب، رضي الله عنهم أجمعين، المعروف بزين العابدين، ويقال له علي الأصغر، وليس للحسين، رضي الله عنه، عقب إلا من ولد زين العابدين هذا؛ وهو أحد الأئمة الاثني عشر ومن سادات التابعين،
قال الزهري: ما رأيت قرشياً أفضل منه. وفضائل زين العابدين ومناقبه أكثر من أن تحصر.

ท่านซัยนุลอาบิดีน : ฉายาคืออบุลฮาซัน  ชื่อคืออาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ  รู้จักกันในนามว่า ซัยนุลอาบิดีน  บ้างเรียกท่านว่า อาลี อัซฆัร  ท่านอิม่ามฮูเซนไม่มีผู้สืบเชื้อสายนอกจากที่มาจากบุตรของท่านซัยนุลอาบิดีนนี้เท่านั้น
และท่านคืออิม่ามผู้นำคนหนึ่งจากสิบสองอิม่าม และยังเป็นสัยยิดแห่งบรรดาตาบิอีนคนหนึ่ง
อัซซุฮ์รีกล่าวว่า  ฉันไมเคยเห็นชาวกุเรชคนใดที่จะประเสริฐมากไปกว่าเขาอีกแล้ว  และความประเสริฐและความดีงามของท่านอิม่ามซัยนุลอาบิดีนนั้นมีมากมายเกินกว่าที่จะนำมากล่าวเอาไว้ได้

อ้างอิงจาก วะฟะยาตุลอะอ์ยาน โดยอิบนุค็อลกาน  เล่ม 3 : 266 อันดับที่ 422

อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า

عَلِيٍّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ مدني تابعي ثقة وكان رجلا صالحا قال العجلي ويروى عن الزهرى قال ما رأيت هاشميا قط أفضل من على بن الحسين

ท่านอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ ชาวนครมะดีนะฮ์ เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน  ท่านเป็นคนซอและห์  และอัซซุฮ์รี่กล่าวว่า ฉันไม่เคยเห็นตระกูลฮาชิมคนใดที่จะประเสริฐมากไปกว่าท่านอาลีบุตรฮูเซน
ดูอัษษิกอต โดยอัลอิจญี  อันดับที่ 1293

อิบนุหะญัรกล่าวว่า

علي بن الحسين بن علي بن أبي طالب الهاشمي زين العابدين ثقة ثبت عابد فقيه فاضل مشهور

ท่านอาลี บุตรฮูเซน บุตรอาลี บุตรอบูตอลิบ อัลฮาชิมี  ฉายาซัยนุลอาบิดีน   เชื่อถือได้ในการรายงาน มีความมั่นคง  เป็นคนอาบิ๊ด  เป็นฟะกีฮฺ  ผู้มีความสูงส่ง  ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง
ดูตักรีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  อันดับที่ 4715

อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า

علي بن الحسين (ع) ابن الامام علي بن أبي طالب بن عبدالمطلب بن هاشم بن عبد مناف، السيد الامام، زين العابدين، الهاشمي العلوي، المدني.

ท่านอาลี บุตรฮูเซน  บุตรท่านอิม่ามอะลี บุตรอะบีตอลิบ บุตรอับดุลมุฏฏ่อลิบ บุตรฮาชิม บุตรอับดุมะน๊าฟ  ท่านคือสัยยิด( ลูกหลานของท่านนะบีมุฮัมมัด) เป็นอิหม่ามผู้นำ  ฉายาคือซัยนุลอาบิดีน อัลฮาชิมี อัลอาลาวี  ชาวนครมะดีนะฮ์  

عن الزهري، قال: ما رأيت أحدا كان أفقه منه، ولكنه كان قليل الحديث

อัซซุฮ์รี่เล่าว่า  ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดจะมีความรู้มากไปกว่าท่านอาลีบินฮูเซน  แต่ว่าท่านได้รายงานหะดีษไว้น้อยมาก
 
عن أبي بكر بن أبي شيبة، قال: أصح الاسانيد كلها: الزهري، عن علي بن الحسين، عن أبيه، عن علي بن أبي طالب

อบูบักร บินอบีชัยบะฮ์กล่าวว่า  สายรายงานหะดีษที่เศาะหิ๊หฺที่สุด ทั้งหมดของมันคือ  (สายรายงานจาก) อัซซุฮ์รี่ จากอาลี บินฮูเซน จากบิดาของเขา(อิม่ามฮูเซน) จากท่านอิม่ามอาลี บินอบีตอลิบ

อัซซะฮะบีได้เล่าว่า    
มีกลอนอันโด่งดังบทหนึ่งที่อัลฟะร็อซดักได้แต่งไว้ ตามที่เราได้ยินคือ  กษัตริย์ฮิช่าม บินอับดุลมะลิกได้ไปประกอบพิธีหัจญ์ในปีที่เขาขึ้นครองราชย์ ปรากฏว่า เมื่อมาลิกฮิช่ามต้องการจะเข้าไปแตะที่หินดำแต่ก็ไม่สามารถเดินเข้าไปถึงหินดำได้เนื่องจากประชาชนแน่นมาก   แต่เมื่อท่านอิม่ามอาลี บินฮูเซนเดินเข้ามาใกล้ที่หินดำ  ประชาชนได้แหวกทางให้ท่าน(เดินเข้าไป) อันเป็นการให้ความเคารพแก่ท่าน มาลิกฮิช่ามจึงโกรธและถามว่า ชายคนนี้เป็นใคร ? ข้าไม่รู้จักเขา   นักกวีชื่อฟะร็อซดักจึงขับกลอน(ยกย่องท่านอิม่ามอาลีบินฮูเซน) ว่า

هذَا الَّذِي تَعْرِفُ الْبَطْحَاءُ وَطْأَتَهُ * والْبَيْتُ يَعْرِفُهُ والْحِلُّ والْحَرَمُ
هذَا ابْنُ خَيْر عِبَادِ اللهِ كُلِّهِمِ * هَذَا التَّقِيُّ النَّقِيُّ الطَّاهِرُ الْعَلَمُ
إِذَا رَأَتْهُ قُرَيْشٌ قَالَ قَائِلُهَا * إِلى مَكَارِمِ هَذَا يَنْتَهِي الْكَرَمُ
يَكَادُ يُمْسِكُهُ عِرْفَانَ رَاحَتِهِ * رُكْنُ الْحَطِيمِ إِذَا مَا جَاءَ يَسْتَلِمُ
يُغْضِي حَيَاءً وَيُغْضَى مِنْ مَهَابَتِهِ * فَمَا يُكَلَّمُ إِلاَّ حِينَ يَبْتَسِمُ
هَذَا ابْنُ فاَطِمَة إِنْ كُنْتَ جاَهِلَهُ * بِجَدِّهِ أَنْبِياَء الله قَدْ ختموا...

ชายคนนี้ อัลบัฏฏ่อฮา (สถานที่อยู่ระหว่างมักะฮ์กับมินา) ที่ท่านเหยียบย่ำมันยังรู้จัก
ทั้งบัยตุลลอฮ์ ทั้งผู้ที่ถอดผ้าอิห์รอมและผู้ครองอิห์รอมฮะรอมก็รู้จักเขาเป็นอย่างดี
ชายผู้นี้คือบุตรของบ่าวของอัลลอฮ์ที่ประเสริฐสุด...
ชายคนนี้คือบุตรของท่านหญิงฟาติมะฮ์ แม้ว่าท่านจะไม่รู้จักเขา  ปู่ทวดของเขาคือศาสดาคนสุดท้ายแห่งบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์...

เป็นกลอนที่ยาวมาก  อัซซะฮะบีเล่าว่า มาลิกฮิช่ามได้สั่งให้นำฟะร็อซดักไปขังที่อุสฟาน  ท่านอิม่ามอาลี บินฮูเซนจึงส่งคนไปหาเขาด้วยเงินจำนวนหนึ่งแสนสองหมื่นดิรฮัม(เพื่อไถ่ตัวเขาออกมา)
ดูสิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ โดยซะฮะบี เล่ม 4 : 386 อันดับ 157


5.ฮูเซน บินอาลี

สถานะของท่านอิม่ามฮูเซนคงเพียงพอแล้วด้วยหะดีษที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า

حُسَـيْنٌ ‏ ‏مِنِّيْ وَأنَا مِنْ ‏ ‏حُسَـيْنٍ ‏ ‏أحَبَّ اللهُ مَنْ أحَبَّ حُسَـيْناً

ฮูเซนมาจากฉันและฉันมาจากฮูเซน  ขออัลลอฮ์โปรดรักบุคคลที่รักฮูเซน
สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์  เล่ม 3 หน้า 301 หะดีษที่ 1227  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
และท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า

‏ ‏الحَسَـنُ ‏ ‏وَالْحُسَـيْنُ ‏ ‏سَـيِّدَا شَـبَابِ أهْلِ الْجَـنَّةِ

ฮาซันและฮูเซนคือหัวหน้าของบรรดาชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์
สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 2 หน้า 295 หะดีษที่ 796  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


6 .อาลี บินอะบีตอลิบ

อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานี กล่าวว่า  

عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ بن عبد المطلب بن هاشم الهاشمي بن عم رسول الله (ص) وزوج ابنته من السابقين الأولين ورجح جمع أنه أول من أسلم

ท่านอิม่ามอาลี บุตรอบูตอลิบ บุตรอับดุลมุฏฏ่อลิบ บุตรฮาชิม อัลฮาชิมี เป็นบุตรชายของลุงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) เป็นสามีบุตรีของท่านรอซูล(ศ)  และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ให้น้ำหนักว่า อิม่ามอาลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม
ดูตักรีบุต-ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 4753

อิบนุหะญัรได้บันทึกรายงานหนึ่งว่า  

وَرَوَىْ أَبُو عَوَانَةُ (هُوَ الْوَضَّاح بْن عَبْد اللَّه الْيَشْكُرِيّ) عَنْ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : كاَنَ عَلِيُّ أَوَّلَ مَنْ آمَنَ بِاللهِ مِنَ الناَّسِ بَعْدَ خَدِيْجَةَ
قاَلَ ابْنُ عَبْدِ الْبَرِّ هَذاَ اِسْناَدٌ ل لَا مَطْعَن فِيْهِ لِاَحَدٍ لِصِحَّتِهِ وَثِقَةٍ

อบูอะวานะฮ์รายงานจากอะบีบัลญินจากอัมรูบินมัยมูนจากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า  : ท่านอาลีคือบุคคลแรกที่มีความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จากในหมู่มนุษย์ถัดต่อจากท่านหญิงคอดียะฮ์
อิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  สายรายงานหะดีษนี้ไม่เคยถูกตำหนิในมันสำหรับคนใดเพราะเนื่องจากมันถูกต้องและเชื่อถือได้
ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ   อันดับที่ 566


อิบนุอบีหาติมกล่าวว่า : ผู้ที่รายงานหะดีษจากท่านอะลี บินอบีตอลิบมีดังต่อไปนี้คือ  ฮาซันและฮูเซนทั้งสองเป็นบุตรชายของเขา  และคนอื่นๆ
ดูอัลญัรฮุ วัต-ตะอ์ดีล เล่ม 6 : 191 อันดับ 1055


Θ ญะลาลุดดีน อัสสุยูตี ได้รายงานหะดีษนี้ด้วยตัวเขาเองว่า

أَخْبَرَنِيْ شَيْخُناَ شَيْخُ الْإِسْلاَمِ الْبُلْقِينِيّ شَفاَهاَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مُحَمَّدِ الْمَقْدِسِىِّ أنا أَبُو عَبْدِ اللَّهِ الزَّرَّادُ إجاَزَةً إنْ لَمْ يَكُنْ سِماَعاً. أنا أَبُو عَلِىٍّ الْحَافِظُ أنا أَبُو رَوْحٍ الْهَرَوِيُّ أنا أَبُو الْقَاسِمِ الْمُسْتَمْلِىُّ أنا أَبُو سَعْدٍ الكنجرودي فِي فَوَائِدِهِ - تَخْرِيْجُ أَبِي سَعِيدٍ السُّكَّرِىِّ - أنا نَصْرُ بْنُ أَحْمَدَ الْعَطَّارُ أنا سُلَيْمَانُ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ يَحْيَى - هو الملطي - أنا رِضْوَانُ بْنُ مُحَمَّدٍ الإحميمي ثَناَ أَبُو الْفَيْضِ ثَوْباَنُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ ذُو الْنُّونِ الْمِصْرِيُّ  ثَناَ سَلْمُ الْخَوَّاصُ هُوَ ابْنُ مَيْمُونٍ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ هُوَ الصَّادِقُ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِيٍّ عَنْ أَبِيهِ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَنْ أَبِيهِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قاَلَ :  قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  السَّابِقُونَ إِلَى ظِلِّ الْعَرْشِ يَوْمَ الْقِياَمَةِ طُوْبَى لَهُمْ قِيْلَ ياَ رَسُوْلَ اللهِ وَمَنْ هُمْ قاَلَ هُمْ شِيْعَتُكَ يَا عَلِيُّ وَمُحِبُّوْكَ
كتاب : تمهيد الفرش في الخصال الموجبة لظل العرش للسيوطي  ج 1  ص 11

ท่านสิยูตีเล่าว่า  เชคของเราคือท่านชัยคุลอิสลามอัลบุลกีนีได้เล่าให้ฉันฟังด้วยปากของท่านเองจากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัดอัลมุก็อดดิซี  ฉันคืออับดุลลอฮ์อัซซัรร็อดได้รับอนุญาติให้รายงานแม้ว่าจะไม่เคยได้ยินมากับหูเอง  ฉันคืออะบูอาลีอัลฮาฟิซ ฉันคือเราฮินอัลฮะร่อวี  ฉันคืออบุลกอซิมอัลมุสตัมลี ฉันคืออะบูสะอ์ดินอัลกันญะรูดีในหนังสือฟะวาอิดของเขา(คือตัครีจของอะลีสะอีดอัสสุกกะรี)  ฉันคือนัศรุ บินอะหมัดอัลอัตต็อร ฉันคือสุลัยมาน บินอะหมัดบินยะห์ยา (คืออัลมัลฏี) ฉันคือริฎวาน บินมุฮัมมัด อัลอิห์มัยมี  ท่านอบุลฟัยฎ์ เษาบาน บินอิบรอฮีม ซุนนูนอัลมิศรี่ได้เล่าให้เราฟังว่า

สัลมุ อัลเคาว๊าศ เขาคืออิบนุมัยมูน ได้เล่าให้เราฟัง  จากญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด เขาคืออัศ-ศอดิก จากบิดาเขาคือ มุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาคือ อาลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือ ฮูเซน บินอาลี จากบิดาเขา  คือท่านอาลี บินอบีตอลิบ ร่อดิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า  :

ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า  :

กลุ่มแนวหน้าที่จะไปถึงยังร่มเงาแห่งอารัชในวันกิยามะฮ์(ก่อนใครๆ)    ฏูบา  สำหรับพวกเขา (วันกิยามะฮ์)  

มีคนถามว่า  :    โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  และพวกเขาเป็นใครครับ ?

ท่านตอบว่า  :    พวกเขาคือ ชีอะฮ์ของท่าน โอ้อาลีและคือบรรดาผู้ที่รักท่าน


อ้างอิงจากหนังสือตัมฮีดุลฟุรุช ฟิลคิศอลิลมูญิบะติ ลิซิลลิลอารัช    โดยสิยูตี เล่ม 1 หน้า 11




۩  อธิบาย

1. จริงอยู่ที่นักรายงานชื่อ " สัลมุ บินมัยมูน " ถูกท่านอิบนุหะญัรวิจารณ์ว่า เขานั้น ดออีฟ แต่สัลม์หรือสาลิมรับหะดีษบทนี้มาจากอะฮ์ลุลบัยต์นะบีชื่ออิม่ามญะอ์ฟัรผู้ที่ได้รับสมญานามจากนักวิชาการสาขาริญาลว่า ศอดิก – ผู้ซื่อสัตย์ในการรายงาน

2. อิม่ามญะอ์ฟัรอัศศอดิกได้รายงานจากบิดาคือ อิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร จากอิม่ามอาลีซัยนุลอาบิดีนจากบิดาคือ อิม่ามฮูเซนจากบิดาคือ  ท่านอาลี บินอบีตอลิบ จะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งห้านี้ได้รับความเชื่อถือทั้งความรู้และการรายงานจากนักปราชญ์สาขาริญาล และไม่เคยมีใครสักคนวิจารณ์บุคคลทั้งห้านี้ว่า  ดออีฟ  
เพราะว่าพวกเขาคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ) และพวกเขายังเป็นอิหม่ามผู้นำสูงสุดทางวิชาการอิสลามในยุคที่พวกเขามีชีวิต  
เพราะฉะนั้นแม้หะดีษบทนี้จะไม่อยู่ในระดับ " เศาะหิ๊หฺ " แต่ก็สามรถกล่าวได้ว่าหะดีษบทนี้อยู่ในระดับ " ฮาซัน คือดี " หากผู้ใดปฏิเสธหะดีษบทนี้  มันคงมีเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้นคือ  เขามีความอคิตและไม่เชื่อถือต่อการรายงานหะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์นะบีถึงห้าคนนั่นเอง

3.ชีอะฮ์อาลี จึงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวที่ท่านนะบี(ศ)ได้ตั้วชื่อเอาไว้ให้อย่างชัดเจน แต่ที่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์มิอาจยอมรับหะดีษลักษณะเช่นนี้ได้เพราะ มันขัดแย้งต่ออะกีดะฮ์ของพวกเขาที่อ้างลอยว่า  อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์คือกลุ่มที่รอด โดยหาหะดีษสักบทหนึ่งมายืนยันไม่ได้ตามที่เขาอ้าง  
  •  

L-umar

3 -  

Θ อาลี  คือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม



رَوَىْ أَبُو عَوَانَةَ عَنْ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ :
كَانَ عَلِيٌّ أَوَّلَ مَنْ آمَنَ بِاللهِ مِنَ الناَّسِ بَعْدَ خَدِيْجَةَ

قَالَ اِبْنُ عَبْدِ الْبَرّ : هَذَا إِسْنَادٌ لَا مَطْعَن فِيهِ لِاَحَدٍ لِصِحَّتِهِ وَثِقَةِ نَقْلَتِهِ
تهذيب التهذيب  ج 7  ص 294  رقم 566

อะบูอะวานะฮ์รายงาน  จากอะบูบัลญินจากอัมรูบินมัยมูน  จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านอาลีคือ บุคคลแรกที่มีความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์จากในหมู่มนุษย์ถัดจากท่านหญิงคอดียะฮ์


►อิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  :

สายรายงานของหะดีษนี้ไม่ถูกตำหนิในมันสำหรับบุคคลใดเลย เนื่องจากมันมีความถูกต้องและนักรายงานหะดีษนี้เชื่อถือได้

สถานะหะดีษ  :  ซอฮิ๊ฮ์  ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  เล่ม 7 : 294  อันดับที่  566


Θ อาลี  ชายคนแรกที่ทำนมาซตามหลังท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)

อิม่ามอะหมัด บินฮัมบัลได้บันทึกว่า


حَدَّثَنَا سُلَيْمَانُ بْنُ دَاوُدَ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ عَنْ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ
أَوَّلُ مَنْ صَلَّى مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعْدَ خَدِيجَةَ عَلِيٌّ
وَقَالَ مَرَّةً أَسْلَمَ

สุลัยมาน บินดาวูดเล่าให้เราฟัง  อะบูอะวานะฮ์เล่าให้เราฟัง  จากอะบูบัลญิน  จากอัมรูบินมัยมูน จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :  

ชายคนแรกที่ทำนมาซกับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ถัดจากท่านหญิงคอดียะฮ์คือ  ท่านอาลี

และท่านอิบนุอับบาสยังกล่าวในอีกที่หนึ่งว่า  ท่านอาลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม

สถานะหะดีษ  :  ซอฮิ๊ฮ์  ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  3361


۩ อธิบาย

ถ้าท่านสังเกตให้ดีจะพบว่า  สายรายงานหะดีษทั้งสองบทนี้เป็นสายรายงานเดียวกันคือ

อะบูอะวานะฮ์ → อะบูบัลญิน → อัมรู บินมัยมูน → ท่านอิบนุอับบาส

ซึ่งท่านอิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  : สายรายงานของหะดีษนี้ไม่ถูกตำหนิในมันสำหรับบุคคลใดเลย เนื่องจากมันมีความถูกต้องและนักรายงานหะดีษนี้เชื่อถือได้


Θ อัลฮากิมได้บันทึกว่า

حدثنا عبد الله بن أحمد بن حنبل حدثني أبي ثنا يحيى بن حماد ثنا أبو عوانة ثنا أبو بلج ثنا عمرو بن ميمون قال... قال ابن عباس : و كان علي أول من آمن من الناس بعد خديجة رضي الله عنها
قال الحاكم : هذا حديث صحيح الإسناد
تعليق الذهبي قي التلخيص : صحيح
المستدرك بتعليق الذهبي  ج 3  ص 143 ح 4652

อับดุลลอฮ์ บุตรอิม่ามอะหมัดเล่าให้เราฟัง บิดาของฉันได้เล่าให้ฉันฟัง ยะห์ยา บินฮัมมาดเล่าให้เราฟัง อะบูอะวานะฮ์เล่าให้เราฟัง จากอะบูบัลญิน   จากอัมรูบินมัยมูน...

จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า  :  
ท่านอาลีคือบุคคลแรกที่มีความศรัทธาจากในหมู่มนุษย์ถัดจากท่านหญิงคอดียะฮ์


อัลฮากิมกล่าวว่า   หะดีษนี้  มีสายรายงานที่ซอฮิ๊ฮ์
อัซซะฮะบีกล่าวในหนังสือตัลคีซว่า  ซอฮี๊ฮ์
สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลมุสตัดร็อก หะดีษที่  4652 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี
 

และ

أخبرنا أحمد بن جعفر القطعي ثنا عبد الله بن أحمد بن حنبل حدثني أبي ثنا محمد بن جعفر ثنا شعبة عن عمرو بن مرة عن أبي حمزة عن زيد بن أرقم رضي الله عنه قال : إن أول من أسلم مع رسول الله صلى الله عليه و سلم علي بن أبي طالب رضي الله عنه
 هذا حديث صحيح الإسناد
تعليق الذهبي قي التلخيص : صحيح

ท่านเซด บินอัรก็อมเล่าว่า :

แท้จริงชายคนแรกที่เข้ารับอิสลามกับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือ ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ


สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลมุสตัดร็อก หะดีษที่  4663 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี

และ  
 
حدثنا أبو العباس محمد بن يعقوب ثنا الحسن بن علي بن عفان العامري ثنا حسين بن عطية ثنا يحيى بن سلمة بن كهيل عن أبيه عن محمد بن علي عن ابن عباس قال : قال : أبو موسى الأشعري :
إن عليا أول من أسلم مع رسول الله صلى الله عليه و سلم
 هذا حديث صحيح الإسناد و لم يخرجاه

ท่านอะบูมูซา อัลอัชอะรีกล่าวว่า  :

แท้จริงท่านอาลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลามกับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)


สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลมุสตัดร็อก หะดีษที่  5963 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี  


อัลบัซซ้าร

حَدَّثَنَا عَبَّادُ بْنُ يَعْقُوبَ الْعَرْزَمِيُّ ، قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ هَاشِمٍ ، قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عُبَيْدِ اللهِ بْنِ أَبِي رَافِعٍ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ جَدِّهِ أَبِي رَافِعٍ ، عَنْ أَبِي ذَرٍّ ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم ، أَنَّهُ قَالَ لِعَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ : أَنْتَ أَوَّلُ مَنْ آمَنَ بِي ، وَأَنْتَ أَوَّلُ مَنْ يُصَافِحُنِي يَوْمَ الْقِيَامَةِ ، وَأَنْتَ الصِّدِّيقُ الأَكْبَرُ ، وَأَنْتَ الْفَارُوقُ تَفْرُقُ بَيْنَ الْحَقِّ وَالْبَاطِلِ ، وَأَنْتَ يَعْسُوبُ الْمُؤْمِنِينَ ،

ท่านอะบูษัรเล่าว่า  :

ท่านนะบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอาลี บินอะลีตอลิบว่า  เจ้าคือบุคคลแรกที่มีศรัทธาต่อฉัน  เจ้าคือบุคคลแรกที่จะได้สวมกอดกับฉันในวันกิยามะฮ์  เจ้าคือซิดดี๊ก อักบัร (ผู้ซื่อสัตย์ที่ยิ่งใหญ่)  เจ้าคืออัลฟารู๊ก(ผู้จำแนก)ระหว่างสัจธรรมกับความเท็จและเจ้าคือหัวหน้ามวลผู้ศรัทธา  


ดูมุสนัดบัซซ้าร  หะดีษที่  3898



Θ อัลบานีบันทึกว่า

عن زيد بن أرقم قال : أول من أسلم مع رسول الله صلى الله عليه و سلم علي بن أبي طالب
الكتاب : صحيح السيرة النبوية  ج 1 ص 118
المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني

ท่านเซด บินอัรก็อมเล่าว่า :

ชายคนแรกที่เข้ารับอิสลามกับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)คือ ท่านอาลี บินอะบีตอลิบ

อ้างอิงจากหนังสือซอฮีฮุซ ซีเราะติน นะบะวียะฮ์  โดยเชคอัลบานี เล่ม 1 : 118



۩  อธิบาย

หะดีษเรื่องท่านอิม่ามอาลีคือชายคนแรกที่เข้ารับอิสลามนั้นถูกต้องชัดเจน  แต่ปัญหาที่ต้องศึกษาคือ

1.   ท่านอาลีเข้ารับอิสลามตอนเด็กอายุแปดขวบจริงหรือ
2.   หรือว่าท่านอาลีเข้ารับอิสลามในวัยที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว

โปรดอ่านหะดีษต่อไป
  •  

L-umar

4 -

ท่านอาลีเข้ารับอิสลามตอนอายุ  15 ปี


Θ อัตต็อบรอนีบันทึกว่า

حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ الدَّبَرِىُّ عَنْ عَبْدِ الرَّزَّاقِ عَنْ مَعْمَرٍ أَخْبَرَنِى قَتَادَةُ عَنِ الْحَسَنِ (البصري) وغيره قال : فكان أول من آمن علي بن أبي طالب وهو ابن خمس عشرة أو ست عشرة

อิสฮาก บินอิบรอฮีม อัดดะบะรีเล่าให้เราฟัง จากอับดุลร็อซซ๊าก จากมะอ์มัรเล่าว่า เกาะตาดะฮ์ได้เล่าให้ฉันฟัง จากท่านฮาซัน (อัลบัศรี่)และคนอื่นๆเล่าว่า

ชายคนแรกที่ศรัทธาคือ อาลี บินอบีตอลิบ ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุ 15 - 16 ปี

มุอ์ญัมกะบีร  หะดีษที่  163


Θ อัลฮัยษะบันทึกว่า

وعن الحسن وغيره قال : فكان أول من آمن علي بن أبي طالب وهو ابن خمس عشرة أو ست عشرة سنة
 رواه الطبراني ورجاله رجال الصحيح

ท่านฮาซัน (อัลบัศรี่)และคนอื่นๆเล่าว่า
ชายคนแรกที่ศรัทธาคือ อาลี บินอบีตอลิบ ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุ 15 - 16 ปี


อัลฮัยษะมีกล่าวว่า  : ท่านต็อบรอนีได้รายงานหะดีษบทนี้ไว้  และนักรายงานหะดีษบทนี้ เป้นนักรายงานที่ซอฮี๊ฮ์
สถานะหะดีษ  สะนัดซอฮิ๊ฮ์ ดูมัจญ์มะอุซ ซะวาอิด  หะดีษที่  14603



Θ อะบูนุอัยม์บันทึกว่า

حدثنا سليمان بن أحمد ، ثنا إسحاق بن إبراهيم ، عن عبد الرزاق ، عن معمر ، قال : أخبرني قتادة ، عن الحسن ، وغيره قال : كان أول من آمن علي بن أبي طالب وهو ابن خمس عشرة أو ست عشرة

สุลัยมาน บินอะหมัดเล่าให้เราฟัง อิสฮาก บินอิบรอฮีม อัดดะบะรีเล่าให้เราฟัง จากอับดุลร็อซซ๊าก จากมะอ์มัรเล่าว่า เกาะตาดะฮ์ได้เล่าให้ฉันฟัง จากท่านฮาซัน (อัลบัศรี่)และคนอื่นๆเล่าว่า
ชายคนแรกที่ศรัทธาคือ อาลี บินอบีตอลิบ ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุ 15 - 16 ปี

ดูมะอ์ริฟะตุซ ซอฮาบะฮ์ โดยอะบีนุอัยม์ เล่ม 1 : 335 หะดีษที่  294


Θ บัยฮะกีบันทึกว่า

حَدَّثَنَا عَبْدُ الرَّزَّاقِ أَخْبَرَنَا مَعْمَرٌ عَنْ قَتَادَةَ عَنِ الْحَسَنِ وَغَيْرِهِ : وَكَانَ أَوَّلَ مَنْ آمَنَ بِهِ عَلِىُّ بْنُ أَبِى طَالِبٍ وَهُوَ ابْنُ خَمْسَ عَشْرَةَ أَوْ سِتَّ عَشْرَةَ

อับดุลร็อซซ๊ากเล่าให้เราฟัง จากมะอ์มัรเล่าให้เราฟังว่า จากเกาะตาดะฮ์ จากท่านฮาซัน (อัลบัศรี่)และคนอื่นๆเล่าว่า
ชายคนแรกที่ศรัทธาคือ อาลี บินอบีตอลิบ ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุ 15 - 16 ปี

ดูสุนันบัยฮะกี  หะดีษที่ 12525


Θ อับดุลรอซซาซ

حَدَّثَنَا عَبَّادُ بْنُ يَعْقُوبَ الْعَرْزَمِيُّ ، قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنُ هَاشِمٍ ، قَالَ : حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عُبَيْدِ اللهِ بْنِ أَبِي رَافِعٍ ، عَنْ أَبِيهِ ، عَنْ جَدِّهِ أَبِي رَافِعٍ ،

عَنْ أَبِي ذَرٍّ ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم ، أَنَّهُ قَالَ لِعَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ : أَنْتَ أَوَّلُ مَنْ آمَنَ بِي...

ท่านอะบูษัรเล่าว่า
ท่านนะบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอาลี บินอะบีตอลิบว่า  เจ้าคือชายคนแรกที่มีศรัทธาต่อฉัน...
 
มุศ็อนนัฟอับดุลรอซซาก  หะดีษที่ 9719


Θ อัลฮากิม

عَنْ قَيْسِ بْنِ أَبِي حَازِمٍ قَالَ: كُنْتُ باِلْمَدِينَة فَبَيْناَ أَناَ أَطُوفُ فِي السُّوق إذْ بَلَغْتُ أَحْجَارَ الزَّيْتِ فرأيتُ قَوماً مُجتمعين على فارس قد ركب دابة و هو يشتم علي بن أبي طالب و الناس و قوف حواليه إذ أقبل سعد بن أبي وقاص فوقف عليهم فقال : ما هذا ؟ فقالوا : رجل يشتم علي بن أبي طالب فتقدم سعد فأفرجوا له حتى وقف عليه فقال : يا هذا على ما تشتم علي بن أبي طالب ألم يكن أول من أسلم ألم يكن أول من صلى مع رسول الله صلى الله عليه و سلم ...
 هذا حديث صحيح الإسناد و لم يخرجاه
تعليق الذهبي قي التلخيص : على شرط البخاري ومسلم


ท่านเกส บินอะบีฮาซิมเล่าว่า  

ฉันอยู่ที่นครมะดีนะฮ์ แล้วฉันกำลังเดินเวียนอยู่ในตลาดขณะนั้นฉันได้มาถึงที่อะห์ญารุซเซต  ฉันเห็นคนกลุ่มหนึ่งรวมกันอยู่ที่ชายคนหนึ่งเขาได้ขี่สัตว์พาหนะและเขากำลังด่าทอว่าร้ายท่านอาลี บินอะลีตอลิบอยู่ ส่วนผู้คนก็ยืนอยู่รอบๆตัวเขา  ทันใดนั้นเองท่านสะอัด บินอะบีวักกอศได้ตรงเข้ามาหยุดอยู่ตรงพวกเขาแล้วกล่าวว่า  นี่มันอะไรกัน ?  พวกเขากล่าวว่า ชายคนนี้กำลังด่าทอว่าร้ายท่านอาลี บินอะลีตอลิบ  ท่านสะอัดจึงเดินเข้าไปข้างหน้าพวกเขาได้แหวกทางให้เขาจนสะอัดเดินมาหยุดตรงหน้าเขาแล้วกล่าวว่า  เจ้าคนนี้ เจ้ามาด่าทอท่านอาลี บินอะบีตอลิบด้วยเรื่องอะไร  

เขา(อาลี)มิใช่ชายคนแรกที่เข้ารับอิสลามดอกหรือ  เขามิใช่ชายคนแรกที่นมาซตามหลังท่านรอซูลุลลอฮ์ดอกหรือ...


อัลฮากิมกล่าวว่า   หะดีษนี้  มีสายรายงานที่ซอฮิ๊ฮ์
อัซซะฮะบีกล่าวในหนังสือตัลคีซว่า  (ซอฮี๊ฮ์) ตามเงื่อนไขของบุคอรีและมุสลิม
สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลมุสตัดร็อก หะดีษที่  6121 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี  





۩ อธิบาย

หะดีษเหล่านี้คือพยานหลักฐานที่พิสูจน์ว่า   ท่านอาลีได้เข้ารับอิสลามในขณะที่ท่านมีอายุประมาณ สิบห้า หรือสิบหกปี ซึ่งถือว่าไม่ใช่เด็กแล้ว

แต่ด้วยความอคติของพวกนาซิบจึงพยายามบอกว่า  ท่านอาลีเข้ารับอิสลามตอนเด็กๆ เพื่อต้องการจะบอกว่า  ท่านอาลีเข้ารับอิสลามแบบไร้เดียงสา ไม่ได้คิดไตร่ตรองในสัจธรรมของอิสลามนั่นเอง.
  •  

L-umar

5 -  

อัลเลาะฮ์ ตะอาลาตรัสว่า  :



إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا

อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์นะบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์  

ซูเราะฮ์อะห์ซาบ  บทที่ 33 โองการที่ 33


เราทราบดีว่า โองการนี้ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับอะฮ์ลุลบัยต์ของนะบีมุฮัมมัด(อ) แต่เราต้องการทำความเข้าใจว่า อะฮ์ลุลบัยต์นะบีในโองการนี้เป็น

อะฮ์ลุลบัยต์ คอศ (พิเศษ)

หรือ

อะฮ์ลุลบัยต์ อาม (ธรรมดา) ???




۞ สาเหตุแห่งการประทานอายะฮ์ ตัฏ - เฏาะฮีร


Θ อัลบุคอรีรายงานว่า

قاَلَ أَبُو عَاصِمٍ عَنْ عِياَد أَبِى يَحْيَى قاَلَ ناَ أَبُو دَاوُدَ عَنْ اَبِى الْحَمْرَاءِ قاَلَ صَحِبْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تِسْعَةَ أَشْهُرٍ فَكاَنَ إِذاَ اَصْبَحَ كُلَّ يَوْمٍ  يَأْتِيْ باَبَ عَلِىٍّ وَفاَطِمَةَ فَيَقُوْلُ السَّلَامُ عَلَيْكُمْ أَهْلَ الْبَيْتِ ( إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا ).
الكتاب : التاريخ الكبير المؤلف : البخاري  ج 9 ص 25 ح 205

อบูอาศิมเล่าจาก อิยาด อะบียะห์ยาเล่าว่า อะบูดาวูดเล่าว่า จากท่านอบุลฮัมรออ์เล่าว่า :

ฉันเคยอยู่ร่วมกับท่านนะบี(ศ)เป็นเวลา 9 เดือนปรากฏว่า  ยามเช้าทุกๆวันท่านจะมาที่ประตูบ้านท่านอาลีและฟาติมะฮ์ แล้วท่านจะกล่าวว่า  อัสสะลามุอะลัยกุม อะฮ์ลุลบัยต์  (อัลลอฮ์ตรัสว่า) อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนะบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์

อ้างอิงจากหนังสือ ตารีคุลกะบีร โดยอัลบุคอรี เล่ม 9 : 25 หะดีษที่ 205  


Θ มุสลิมรายงานว่า

عَنْ عَائِشَة قَالَتْ : \\\" خَرَجَ النَّبِيُّ صلَّى الله عليه وسلم غَدَاةً وَ عَلَيْهِ مِرْطٌ  مُرَحِّلٌ  مِنْ شَعْرٍ أَسْوَد فَجَاءَ الْحَسَنُ بْنُ عَلِيٍّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ جَاءَ الْحُسَيْنُ فَدَخَلَ مَعَهُ ، ثُمَّ جَاءَتْ فَاطِمَةُ فَأَدْخَلَهَا ، ثُمَّ جَاءَ عَلِيٌّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ قَالَ :{ ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }.

ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า :  

ท่านนะบี(ศ)ได้ออกมาในตอนเช้าวันหนึ่ง ที่ท่านมีผ้าห่ม(กีซา)สีดำปักลายรูปการเดินทางของอูฐ เมื่อฮาซันบุตรอาลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่ม หลังจากนั้นฮูเซนมาถึงก็เข้าไปอยู่ด้วย จากนั้นฟาติมะฮ์ได้มาถึง ท่านก็ได้ให้เข้าไปอยู่ด้วย เมื่ออาลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่มกับท่านด้วย
แล้วท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า :
( อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )              

อ้างอิงจาก ซอฮีฮุมุสลิม   หะดีษที่ 4450
http://hadith.al-islam.com/Display/Display.asp?hnum=4450&doc=1


Θ ติรมิซีรายงานว่า
 
ท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนคืออะฮ์ลุลบัยต์ คอศ ดังนี้

عَنْ أُمِّ سَلَمَةَ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- جَلَّلَ عَلَى الْحَسَنِ وَالْحُسَيْنِ وَعَلِىٍّ وَفَاطِمَةَ كِسَاءً ثُمَّ قَالَ « اللَّهُمَّ هَؤُلاَءِ أَهْلُ بَيْتِى وَخَاصَّتِى أَذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَطَهِّرْهُمْ تَطْهِيرًا ».
فَقَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ وَأَنَا مَعَهُمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ « إِنَّكِ إِلَى خَيْرٍ ».
كتاب : صحيح الترمذي  ح : 3038 نوع الحديث : صحيح

ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮาเล่าว่า :
แท้จริงท่านนะบี(ศ)ได้เอาผ้ากีซาคลุมบนตัวฮาซัน ,ฮูเซน,อาลีและฟาติมะฮ์ จากนั้นท่านกล่าวว่า  :  

โอ้อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉันและเป็น(อะฮ์ลุลบัยต์)►พิเศษของฉัน◄

โปรดขจัดความโสมมออกจากพวกเขา และโปรดชำระพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเถิด
ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์กล่าวว่า :
ขอให้ฉันได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิดโอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์    
ท่านตอบว่า :  เธอไปยังความดี

สถานะของหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  ดูซอฮีฮุต-ติรมิซี  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี  หะดีษที่ 3038


Θ อัต- ติรมิซีรายงานว่า  

ซูเราะตุลอะห์ซาบโองการที่ 33  ถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์
   
عَنْ عُمَرَ بْنِ أَبِيْ سَلَمَة رَبِيْبِ النَّبِيّ ( ص ) قَالَ : لمَاَّ نَزَلَتْ هذِهِ الْآيَةُ عَلَى النَّبِيِّ ( ص )   : { ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }  فِيْ بَيْتِ أُمِّ سِـلَمَة ،
فَدَعَا فَاطِمَةَ وَ حَسَناً وَ حُسَيْناً ، وَ عَلِيٌّ خَلْفَ ظَهْرِهِ ، فَجَلَلَّهُمْ بِكِسَاءٍ ،
ثُمَّ قَالَ : \\\" اللّهُمَّ هَؤُلاءِ أهْلُ بَيْتِيْ ، فَأذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهِيْراً \\\" .
قَالَتْ أُمُّ سَلَمَة : وَ أنَا مَعَهُمْ يَا نَبِيَّ اللهِ ؟  قَالَ : \\\" أنْتِ عَلَى مَكَانِكِ وَ أنْتِ عَلَى خَيْرٍ \\\"
صحيح الترمذي  ح : 2562 نوع الحديث : صحيح

ท่านอุมัร บุตรอบีสะละมะฮ์ บุตรบุญธรรมของท่านนะบี(ศ็อลฯ)เล่าว่า :
ตอนที่โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านนะบี(ศ)คือ :
อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนะบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )  

ณ.ที่บ้านของท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์  ท่านนะบี(ศ)จึงได้เรียกท่านหญิงฟาติมะฮ์  ฮาซันและฮูเซนมาและท่านอาลีอยู่ข้างหลังท่าน  แล้วท่านได้คลุมพวกเขาด้วยผ้ากีซาจากนั้นท่านกล่าวว่า :

"  โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพเจ้า "

ขอพระองค์โปรดขจัดความโสมมให้พ้นไปจากพวกเขา และได้โปรดชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์กล่าวว่า :
ขอให้ฉันได้อยู่พร้อมกับพวกเขาด้วยเถิด  โอ้ท่านศาสดาแห่งอัลเลาะฮ์  
ท่านตอบว่า :  เธออยู่บนที่ของเธอและเธออยู่บนความดี

สถานะของหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  ดูซอฮีฮุต-ติรมิซี  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี  หะดีษที่ 2562


Θ อัลฮากิมรายงาน

عن عطاء بن يسار ، عن أم سلمة رضي الله عنها ، أنها قالت : في بيتي نزلت هذه الآية ( إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت قالت : فأرسل رسول الله صلى الله عليه وسلم إلى علي وفاطمة والحسن والحسين رضي الله عنهم ، أجمعين فقال : « اللهم هؤلاء أهل بيتي » قالت أم سلمة : يا رسول الله ، ما أنا من أهل البيت ؟ قال : « إنك أهلي خير وهؤلاء أهل بيتي اللهم أهلي أحق » « هذا حديث صحيح على شرط البخاري ولم يخرجاه »

อะตออ์เล่าว่า  จากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์แท้จริงนางได้เล่าว่า   ที่ในบ้านของฉันโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาคือ อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์   นางเล่าต่อว่า  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)จึงส่งคนไปตามท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา  แล้วท่านกล่าวว่า  โอ้อัลลอฮ์พวกเขาเหล่านี้คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน โอ้อัลลอฮ์พวกเขาคือครอบครัวของฉันแท้จริงที่สุด

ท่านฮากิมกล่าวว่า  หะดีษนี้ซอฮี๊ฮ์ตามเงื่อนไขของท่านบุคอรีและทั้งสองมิได้นำออกรายงาน  

อ้างอิงจาก อัลมุสตัดร็อกฮากิม   หะดีษที่  3517
 
ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

تعليق الذهبي قي التلخيص : على شرط مسلم
المستدرك بتعليق الذهبي ج 2  ص 451 ح 3558

หะดีษนี้ถูกต้องตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม  ดูอัลมุสตัดร็อก หะดีษที่ 3558 ฉบับตรวจทานโดยซะฮะบี



۩ อธิบาย


1. นับได้ว่าเป็นความประเสริฐประการหนึ่งของอะฮ์ลุลบัยต์นะบีที่มีโองการกุรอ่านประทานลงมายังพวกเขา  

2. มีหะดีษซอฮิ๊ฮ์ระบุว่า โองการนี้ประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงอุมมุสะละฮ์ ภรรยาคนหนึ่งของท่านนะบี(ศ)

3. มีหะดีษซอฮิ๊ฮ์ระบุว่า อะฮ์ลุลบัยต์ตามนัยยะของอายะฮ์นี้คือ ท่านอาลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน ตามที่ท่านบุคอรี ,มุสลิม,ติรมิซีบันทึกไว้
 
4. หะดีษที่ท่านติรมิซีรายงาน ท่านนะบี(ศ)กล่าวว่า   โอ้อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉันและเป็น(อะฮ์ลุลบัยต์)►พิเศษของฉัน◄
จึงแสดงให้เห็นว่าท่านอาลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซน คืออะฮ์ลุลบัยต์ คอศ (พิเศษ)

5. คำว่า  อะฮ์ลุลบัยต์โดยทั่วไปย่อมหมายถึง  คนที่อยู่ในบ้านหรือในครอบครัว แต่สิ่งที่น่าแปลกคือเมื่ออายะฮ์ตัตต่อฮีรประทานลงมายังท่านนะบี(ศ) ท่านกลับเดินไปยังบ้านของท่านอาลีแล้วอ่านอายะฮ์นี้ให้กับท่านอาลีและครอบครัวท่านอาลีเช่น

รายงานที่บุคอรีบันทึกว่า ท่านอบุลฮัมรออ์เล่าว่า :  ฉันเคยอยู่ร่วมกับท่านนะบี(ศ) 9 เดือนยามเช้าทุกๆวันท่านจะมาที่ประตูบ้านท่านอาลีและฟาติมะฮ์ แล้วท่านจะกล่าวว่า  อัสสะลามุอะลัยกุม อะฮ์ลุลบัยต์  (อัลลอฮ์ตรัสว่า) อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนะบี...
และรายงานที่อัลฮากิมบันทึกว่า ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์เล่าว่า   ที่บ้านของฉันโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาคือ อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์  แล้วท่านรอซูล(ศ)ได่ส่งคนไปตามท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนมาหา  แล้วท่านกล่าวว่า  โอ้อัลลอฮ์พวกเขาเหล่านี้คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

จึงแสดงให้เห็นว่าท่านอาลี  ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนคือ อะฮ์ลุลกีซา ผู้ที่ท่านนะบี(ศ)ได้เอาผ้าคลุมพวกเขาทั้งสี่


อะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1.   อะฮ์ลุลบัยต์  คอศ (พิเศษ)  – أَهْلُ الْبَيْتِ الْخَاصَّةِ
2.   อะฮ์ลุลบัยต์  อาม (ธรรมดา) – أَهْلُ الْبَيْتِ الْعَامَّةِ


1 – วงศ์วานของอะลี,
2 – วงศ์วานของอะกีล
3 - วงศ์วานของญะอ์ฟัร
4 - วงศ์วานของอับบาส
5 – ภรรยาของท่านนบี ที่มาจากตระกูลกุเรชคือ
1. ท่านหญิงคอดีญะฮ์ บินติ คุวัยลิด,
2. ท่านหญิงอาอิชะฮ์ บินติ อบีบักร,
3. ท่านหญิงฮับเซาะฮ์ บินติ อุมัร,
4. ท่านหญิงอุมมุฮะบีบะฮ์ บินติ อบีสุฟยาน,
5. ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮ์ บินติ อบีอุมัยยะฮ์,
6. ท่านหญิงเซาดะฮ์ บินติ ซัมอะฮ์ และบางคนก็มาจากตระกูลอื่นคือ
7. ท่านหญิงซัยนับ บินติ ญะห์ชิน,
8. ท่านหญิงมัยมูนะฮ์ บินติ อัลฮาริษ,
9. ท่านหญิงซัยนับ บินติ คุซัยมะฮ์,
10. ท่านหญิงญุวัยรียะฮ์ อัลกิบตียะฮ์ นอกจากนี้ภรรยาของท่านนบีบางคนก็มิได้มีเชื้อชาติอาหรับ คือ
11.ท่านหญิงซอฟียะฮ์บินติฮุยัยจากบนีนะดีร
ส่วนอีกสองคนที่ท่านนบีได้เลิกไปและมิได้เป็นหญิงที่มาจากสายตระกูลเดียวกับท่านคือ
อัสมาอ์ บินติ นุอ์มาน อัลกินดียะฮ์, ซึ่งหลังท่านนบีได้นิกะห์กับนางแล้ว จึงพบว่า เธอเป็นโรคเรื้อน ท่านจึงได้ส่งนางกลับไปสู่ครอบครัว อีกคนหนึ่งคือ
อัมเราะฮ์ บินติ ยะซีด อัลกิลาบียะฮ์ ซึ่งเธอปฏิเสธที่จะร่วมหลับนอนกับท่านนบี ท่านจึงได้ส่งนางกลับไปสู่ครอบครัว

ท่านอะลี บุตรอบีตอลิบกับท่านหญิงฟาติมะฮ์ บุตรีนบีมุฮัมมัดมีบุตรด้วยกันดังนี้
1,ฮาซัน 2,ฮุเซน 3,ซัยนับ 4,อุมมุ กุลซูม 5,มุห์ซินเสียชีวิตในครรภ์
หลังจากท่านหญิงฟาติมะฮ์เสียชีวิตไปแล้ว ท่านอะลีได้แต่งงานใหม่อีกหลายครั้ง และมีบุตรกับภรรยาใหม่อีก 13 คนคือ :
ท่านอะลีกับท่านหญิงอุมมุลบะนีน บินติฮิซามมีบุตรด้วยกันสี่คนคือ
1. อับบาส บุตรของท่านอะลี
2. อับดุลลอฮ์ บุตรของอะลี
3. ญะอ์ฟัร บุตรของอะลี
4. อุษมาน บุตรของอะลี

ท่านอะลีกับท่านหญิงลัยลา บินติมัสอูด อัดดาริมียะฮ์มีบุตรด้วยกันสองคนคือ
5. อับดุลลอฮ์ บุตรของอะลี
6. อบูบักร บุตรของอะลี

ท่านอะลีกับท่านหญิงอัสมาอ์ บินติ อุมัยสฺมีบุตรด้วยกันคือ
7. ยะห์ยา บุตรของอะลี
8. มุฮัมมัด อัลอัศฆ็อร บุตรของอะลี
9. อูน บุตรของอะลี

ท่านอะลีกับท่านหญิงอุมมุฮะบีบ บินติ เราะบีอะฮ์มีบุตรด้วยกันคือ
10. รุกอยยะฮ์ บุตรของอะลี
11. อุมัร บุตรของอะลี  (เสียชีวิตขณะอายุได้ 35 ปี)

ท่านอะลีกับท่านหญิงอุมมุ มัสอูด บินติอุรอวะฮ์ บินมัสอูด อัสษะเกาะฟีมีบุตรด้วยกันคือ
12. อุมมุลฮาซัน บุตรของอะลี
13. รอมละฮ์ อัลกุบรอ บุตรของอะลี
บุตรของท่านอะลีทั้ง 13 คนนี้คือพี่น้องร่วมพ่อเดียวกันกับท่านฮาซันและท่านฮุเซนแต่ต่างมารดากัน



  •  

L-umar

6.

อัลเลาะฮ์ ตะอาลาตรัสว่า



فَمَنْ حَاجَّكَ فِيهِ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَلْ لَعْنَةَ اللَّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน    และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า)กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก  

ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน : 61




Θ มุสลิม บินฮัจญ๊าจญ์บันทึกว่า


عَنْ سَعْدِ بْنِ أَبِيْ وَقَّاص قَالَ : لَمَّا نَزَلَتْ هذِهِ الْآيَةُ : { .. فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ .. }
 دَعَا رَسُوْلُ الله ( ص ) عَلِيًّا وَ فَاطِمَةَ وَ حَسَنًا وَ حُسَيْنَا فَقَالَ : \\\" اللّهُمَّ هؤُلاَءِ أَهْلِيْ

ท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า :
เมื่อโองการนี้ได้ประทานลงมาคือ :    ( ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน...  )
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เรียกท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา  แล้วกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลี) ครอบครัวของข้าพเจ้า


ดูซอฮีฮุมุสลิม   หะดีษที่ 4420  


Θ อัต ติรมิซีบันทึกว่า

عَنْ عَامِرِ بْنِ سَعْدِ بْنِ أَبِى وَقَّاصٍ عَنْ أَبِيهِ قَالَ لَمَّا أَنْزَلَ اللَّهُ هَذِهِ الآيَةَ (نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ) دَعَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلِيًّا وَفَاطِمَةَ وَحَسَنًا وَحُسَيْنًا فَقَالَ « اللَّهُمَّ هَؤُلاَءِ أَهْلِى ».

ท่านอามิร บุตรสะอัด บุตรอะบีวักกอศ จากบิดาเขาเล่าว่า : เมื่อโองการนี้ได้ประทานลงมาคือ :    ( ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆของเรา และลูกของพวกท่าน และบรรดาสตรีของเราและบรรดาสตรีของพวกท่าน  ) บท อาลิอิมรอน โองการ  61
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เรียก อะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา  แล้วกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลี) ครอบครัวของข้าพเจ้า
ซอฮีฮุต-ติรมิซี  หะดีษที่ 2932  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


Θ อิม่ามอะหมัดบันทึกว่า

عَنْ عَامِرِ بْنِ سَعْدٍ عَنْ أَبِيهِ قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ لَهُ ...
وَلَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ  { نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ }
دَعَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلِيًّا وَفَاطِمَةَ وَحَسَنًا وَحُسَيْنًا فَقَالَ اللَّهُمَّ هَؤُلَاءِ أَهْلِي

تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده قوي على شرط مسلم

ท่านสะอัด บินอบีวักกอศเล่าว่า :
ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับท่านอาลีว่า ...
เมื่อโองการนี้ได้ประทานลงมาคือ :    ( ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน...  )
ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เรียกท่านอาลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา  แล้วกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลี) ครอบครัวของข้าพเจ้า (แล้วท่านนบีฯได้พาบุคคลทั้งสี่ออกไปทำการสาบานกับชาวคริสต์แห่งเมืองนัจญ์รอน ผลปรากฏว่าฝ่ายคริสต์ไม่กล้าสาบานด้วย)        

สถานะหะดีษ : ซอฮิ๊ฮ์  ดูมุสนัดอะหมัด   หะดีษที่ 1608
http://hadith.al-islam.com/Display/Display.asp?hnum=1522&doc=6


Θ  อธิบาย  


เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนซุลฮิจญะฮ์  ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 9

มุบาฮะละฮ์มีหลักฐานระบุว่าเป็นเรื่องจริง     อันเป็นความภาคภูมิใจของประชาชาติมุสลิม

1-เกร็ดประวัติศาสตร์
เรื่องเริ่มจาก ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯส่งสารไปยังกษัตริย์และผู้ปกครองในดินแดนต่างๆเพื่อเชิญชวนสู่อิสลาม
สารฉบับหนึ่งส่งมาที่เมืองนัจญ์รอน ประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นที่อยู่อาศัยของชาวนะซอรอและยะฮูดี(คริสต์และยิว)
อะบูฮาริษะฮ์ (ดำรงตำแหน่งอุสกุฟ - أسقف -คือพระสังฆนายก)แห่งเมืองนัจญ์รอนได้รับสารจากท่านนบีฯ
อุสกุฟได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด   จากนั้นสั่งประชุมทันที มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำศาสนา,นักการเมืองและผู้สูงศักดิ์ มติในที่ประชุมมีว่า ให้ส่งคณะทูตไปที่เมืองมะดีนะฮ์ เพื่อตรวจสอบความจริงเกี่ยวกับการเป็นศาสดาของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ
ที่ประชุมได้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ 60 คนเพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ โดยมี 3 บุคคลต่อไปนี้เป็นหัวหน้าคณะคือ
1- สังฆราชอุสกุฟ (ชื่ออะบู ฮาริษะฮ์)  
2-อัลอากิ๊บ(อับดุลมะซีห์) กุนซือเจ้าความคิด  และ
3-อัลอัยฮัม ผู้อาวุโสทั้งอายุและสมณศักดิ์

คณะทูตคริสเตียนเดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ์ และได้เข้าพบท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯที่มัสญิดมะดีนะฮ์ (ซึ่งขณะนั้นท่านนบีฯพึ่งทำนมาซอัศริเสร็จ)  ชาวคริสต์ทุกคนสวมชุดนักบุญ ทอจากผ้าไหม(ดีบาจญ์และหะรีร) สวมแหวนทอง  แบกไม้กางเขนไว้ที่บ่า งดงามตระการตา พวกเขาให้สลามท่านนบีฯ ท่านนบีได้ตอบรับสลามและให้การต้อนรับพวกเขาอย่างสมเกียรติ  พร้อมกับรับฮะดียะฮ์(ของขวัญ)ที่พวกเขานำมามอบให้ พอดีเวลาอัศริเป็นเวลาสวดมนต์ของศาสนาคริสต์  ชาวคริสต์จึงขออนุญาตท่านนบีฯสวดมนต์ในมัสญิดมะดีนะฮ์   บรรดาซอฮาบะฮ์ต้องการขัดขวาง    แต่ท่านนบีฯ อนุญาตให้พวกเขาสวดได้  ท่านนบีบอกกับบรรดามุสลิมว่า ปล่อยให้พวกเขาทำเถิด  หลังจากสวดมนต์เสร์จพวกเขาได้หันมาสนทนากับท่านนบีฯ

ท่านนบีฯได้กล่าวกับท่านสังฆราชอุสกุฟและท่านอากิ๊บว่า : أَسْلِمَا- จงเข้ารับอิสลามเถิด
ทั้งสองตอบว่า :  قَدْ أَسْلَمْنَا قَبْلَكَ - เรารับอิสลามก่อนท่านนานแล้ว
ท่านนบีฯกล่าวว่า  : มีบางสิ่งที่ขัดขวางท่านทั้งสองมิให้เข้ารับอิสลาม  พวกท่านอ้างว่าอัลลอฮ์(พระเจ้า)มีบุตร  พวกท่านกราบไหว้ไม้กางเขน  และทานเนื้อสุกร
เขาทั้งสองตอบว่า : หากพระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แล้วใครเป็นบิดาของเขาล่ะ ?

อีกรายงานหนึ่งเล่าว่า ชาวคริสต์ทั้งสองได้ถามท่านนบีฯว่า :
ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับอีซา(พระเยซู) ?  ท่านนบีฯเงียบไม่ตอบสิ่งใด จนอัลกุรอานได้ประทานลงมาว่า :
إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِنْدَ اللَّهِ كَمَثَلِ آدَمَ خَلَقَهُ مِنْ تُرَابٍ ثُمَّ قَالَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ
แท้จริงอุปมาเรื่องอีซาณ.อัลลอฮ์ เปรียบดั่งอาดัม  พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน แล้วทรงตรัสกับเขาว่า  จงเป็นแล้วเขาก็เป็นขึ้นมา อาลิอิมรอน : 59
เมื่ออัลลอฮ์ตะอาลา ทรงสร้างอาดัมมาจากดิน โดยไม่มีบิดามารดา  แล้วทรงสร้างอีซามาจากมารดาฝ่ายเดียวโดยไม่มีบิดา ย่อมถือว่ามหัศจรรย์น้อยกว่าเรื่องของอาดัมอีก  
การสนทนายังดำเนินต่อไปจนคณะทูตแห่งเมืองนัจญ์รอนกล่าวกับท่านนบีฯว่า :  เราไม่เห็นได้อะไรเพิ่มจากท่านเลยในเรื่องของผู้ที่เรานับถือ  นอกจากแค่ความแตกต่างของพระเยซูกับอาดัมด้านมีแม่กับไม่มีพ่อแม่เท่านั้น   เราจึงไม่ขอยอมรับข้อพิสูจน์ที่ท่านยกมา ดังนั้นอัลลอฮ์  ตะอาลาจึงทรงประทานโองการที่ 61 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนมายังท่านนบีฯ

ท่านนบีมุฮัมมัดจึงท้าฝ่ายนะซอรอ(ชาวคริสต์)ให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน ซึ่งฝ่ายนะซอรอขอพลัดไปวันพรุ่งนี้ ตอนเวลาฟาญัรจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น   นี่คือที่มาของ (( อายะตุล มุบาฮะละฮ์ )

มีบางรายงานเล่าว่า :
สังฆราชอุสกุฟถามท่านนบี ศ็อลฯว่า – ท่านจะว่าอย่างเกี่ยวกับพระเยซู นบี(อีซา)  
ท่านนบี – เป็นบ่าวคนหนึ่งของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงคัดเลือกเขามาเป็นนบี(ศาสดา)  
สังหราชอุสกุฟ -  อีซามีบิดาหรือไม่ ?
ท่านนบี -  มารดาเขาไม่เคยสมรสกับใครแล้วจะมีบิดาได้อย่างไร ?
อุสกุฟ -  แล้วท่านมาบอกว่า เขาเป็นบ่าวคนหนึ่งได้อย่างไร ? ท่านเคยเห็นมนุษย์คนไหนที่เกิดมาโดยไม่มีบิดาบ้าง ?
อัลลอฮ์ตะอาลาจึงทรงประทานโองการลงมาว่า
إِنَّ مَثَلَ عِيسَى عِنْدَ اللَّهِ كَمَثَلِ آَدَمَ خَلَقَهُ مِنْ تُرَابٍ ثُمَّ قَالَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ (59) الْحَقُّ مِنْ رَبِّكَ فَلَا تَكُنْ مِنَ الْمُمْتَرِينَ (60) فَمَنْ حَاجَّكَ فِيهِ مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْا نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنْفُسَنَا وَأَنْفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَلْ لَعْنَةَ اللَّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ (61)
แท้จริงอุปมาของอีซานั้น ดังอุปมัยของอาดัม พระองค์ทรงบังเกิดเขาจากดิน และได้ทรงประกาศิตแก่เขาว่า จงเป็นขึ้นเถิด แล้วเขาก็เป็นขึ้น  ความจริงนั้นมาจากพระผุ้อภิบาลของเจ้า ดังนั้นจงอย่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้สงสัยเป้นอันขาด ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน    และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า)กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก  
ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน : 59 - 61
ท่านนบีฯได้อ่านโองการดังกล่าวให้ชาวคริสต์สดับฟัง และได้ท้าพวกเขาให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน
ท่านนบีกล่าวว่า - แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติทรงแจ้งแก่ฉันว่า อะซาบโทษทัณฑ์จะลงมายังผู้อยู่กับความเท็จหลังการทำมุบาฮะละฮ์  เพื่อจะได้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกและฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
ชาวคริสต์ได้ขอเลื่อนเวลาการทำมุบาฮะละฮ์ไปวันพรุ่งนี้  จากนั้นพวกเขาได้กลับไปปรึกษาหารือกัน   สังฆราชอุสกุฟกล่าวกับพวกเขาว่า –
พวกท่านจงสังเกตุดูว่าพรุ่งนี้  หากมุฮัมมัดพาลูกและครอบครัวของเขาออกมาสาบาญ  พวกเจ้าก็จงอย่ามุบาฮะละฮ์กับเขา  
รุ่งเช้าท่านนบี ศ็อลฯจูงมือท่านอะลีมา  มีท่านฮาซันและฮูเซนเดินอยู่ข้างหน้า ส่วนท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรีเดินอยู่ข้างหลัง

สังฆราชอุสกุฟเดินนำหน้าคณะมา พอเห็นท่านนบีฯเดินตรงมาหา   เขาจึงถามว่า   -  ท่านพาใครมามุบาฮะละฮ์ ?
ท่าน ศ็อลฯตอบว่า -  นี่คืออะลี ลูกของลุงฉันและเป็นบุตรเขยของฉัน  เขาเป็นบิดาของหลานชายทั้งสองของฉัน เขาคือคนที่ฉันรักมากที่สุด  เด็กสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวฉันที่เกิดจากอะลี ทั้งสองเป็นที่รักยิ่งของฉัน   ส่วนสตรีนางนี้ชื่อฟาติมะฮ์ นางเป็นสตรีที่มีเกียรติมากที่สุดและเป็นญาติที่สนิทที่สุดของฉัน
สังฆราชอุสกุฟหันมามองอากิบและอับดุลมะซีห์ พลางกล่าวกับพวกเขาว่า :
จงดูเถิด มุฮัมมัดพาบุตรกับครอบครัวของเขาออกมามุบาฮะละฮ์กับพวกเรา เพื่อปกป้องสัจธรรมของเขา  
ชาวคริสต์หวั่นเกรงว่า จะเกิดเพทภัยกับพวกเขา และไม่กล้ามำมุบาฮะละฮ์ด้วย แต่ขอประนีประนอมกับฝ่ายมุสลิมด้วยการยอมจ่ายญิซยะฮ์(เครื่องราชบรรณาการ)แทน  

ท่านนบี ศ็อลฯยอมรับข้อเสนอของฝ่ายคริสต์ คือยอมรับญิซยะฮ์แทน  จากนั้นชาวคริสต์จึงได้ลากลับไป

2-ทำมุบาฮะละฮ์ที่ไหน
ฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายคริสเตียนได้ตกลงกันว่าจะไปมุบาฮะละฮ์กันที่นอกเมืองมะดีนะฮ์กลางทะเลทราย ท่านร่อซูล ศ็อลฯได้คัดเลือกบุคคลที่จะไปมุบาฮะละฮ์เพียงสี่คนเท่านั้น  โดยไม่มีผู้ใดมีส่วนร่วมในการไปมุบาฮะละฮ์ครั้งนี้   ตามที่หนังสือซอฮี๊ฮฺมุสลิมรายงานว่า
عَنْ سَعْدِ بْنِ أَبِيْ وَقَّاص قَالَ : لَمَّا نَزَلَتْ هذِهِ الْآيَةُ : { .. فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ .. }
 دَعَا رَسُوْلُ الله ( ص ) عَلِيًّا وَ فَاطِمَةَ وَ حَسَنًا وَ حُسَيْنَا فَقَالَ : \\\" اللّهُمَّ هؤُلاَءِ أَهْلِيْ
ท่านสะอัด บุตร อบี วักกอศเล่าว่า : เมื่อโองการนี้ได้ประทานลงมาคือ :    ( ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน...  )
ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯได้เรียก อะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา  แล้วกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์  พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลี) ครอบครัวของข้าพเจ้า
ซอฮีฮุมุสลิม กิตาบ ฟะฎออิลุซ-ซอฮาบะฮ์  หะดีษที่ 4420

สรุป เรื่องลงเอยลงด้วยการที่ฝ่ายคริสเตียนย่อมจ่ายญิซยะฮ์แทนการสาบานมุบาฮะละฮ์อันเป็นมติบันทึกของนักตารีค  มุฟัสสิร และมุฮัดดิษ

วิเคราะห์
3- มุสลิมได้อะไรจากเรื่องมุบาฮะละฮ์ :

1-ได้พิสูจน์ว่ามุฮัมมัด ศ็อลฯเป็นนบี(ศาสดา)จริง  เพราะทั้งฝ่ายมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมต่างรายงานว่าชาวคริสต์แห่งนัจญ์รอนไม่ยอมทำมุบาฮะละฮ์ด้วย  แต่ขอจ่ายญิซยะฮ์แทน

2-ท่านฮาซันและฮูเซนเป็นบุตรชายของรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯในทางเชื้อสาย( نَسَبٌ ) แม้ว่าตามจริงบุคคลทั้งสองจะเป็นบุตรของท่านหญิงฟาติมะฮ์ก็ตาม
สาเหตุเพราะมีหะดีษมาสนับสนุนดังนี้
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ عليه وسلم :
اِبْنَايَ هَذَانِ : اَلْحَسَنُ وَ الْحُسَيْنُ : سَيِّدَا شَبَابِ أَهْلِ الْجَنَّةِ وَ أَبُوْهُمَا خَيْرٌ مِنْهُمَا
ลูกชายของฉันสองคนนี้คืออัลฮาซันและอัลฮูเซนคือหัวหน้าบรรดาชายหนุ่มแห่งชาวสวรรค์ และบิดาของเขาทั้งสองนั้นประเสริฐกว่าเขาทั้งสอง
สถานะหะดีษ :  ซอฮี๊ฮฺ ดูหนังสือซอฮีฮุลญามิอิซ-ซอฆีร วะซิยาดะฮ์ หะดีษที่  47  โดยเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี

3-โองการมุบาฮะละฮ์นับเป็นความประเสริฐอีกประการหนึ่งของอะฮ์ลุลบัยต์พิเศษ ที่มุสลิมมิอาจมองข้ามหรือปฏิเสธได้เลย  เพราะท่านรอซูลฯได้พาบุคคลทั้งสี่เท่านั้นออกไปมุบาฮะละฮ์  

การเจาะจงอะฮ์ลุลบัยต์พิเศษที่ท่านนบีฯพาออกไปมุบาฮะละฮ์ในครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่นบีฯจะพาใครไปก็ได้   แต่เป็นการคัดเลือกของอัลลอฮ์อย่างมีพระประสงค์และมีเหตุผลอันลึกซึ้ง

4- กล่าวได้ว่า หลังจากท่านนบี ศ็อลฯสิ้นชีพ ท่านอะลีคือบุคคลประเสริญที่สุด

5- โองการนี้ได้บอกให้รู้ว่า  การเผยแผ่ศาสนา การดูแลเรื่องการเมืองและการปกครอง ยังตกเป็นภารกิจของอะฮ์ลุลบัยต์คอศที่ทำหน้าที่สืบต่อจากท่านนบีฯ ไม่ใช่ในฐานะญาติสนิท แต่ในฐานะที่อัลลอฮ์ทรงเลือกสรรพวกเขาให้มาทำหน้าที่สำคัญอันนี้ ดังที่มีหะดีษอันเลื่องลือบทหนึ่ง
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- لِعَلِىٍّ « أَنْتَ مِنِّى بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلاَّ أَنَّهُ لاَ نَبِىَّ بَعْدِى ».
ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯได้กล่าวกับท่านอะลีว่า : ท่านกับฉันมีฐานะเหมือนฮารูนกับมูซา  ยกเว้นจะไม่มีนบีหลังจากฉันอีกแล้ว
ซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 6370

6- หากเราสร้างความเข้าใจเนื้อหาของคำว่า ตัวของเรา - أَنْفُسَنَا ในโองการมุบาฮะละฮ์ จะตระหนักได้ทันทีว่า โองการนี้ได้พิสูจน์ถึงการเป็นผู้นำของท่านอะลี  เพราะศัพท์คำนี้นับว่าท่านอะลีคือบุคคลที่มีบุคลิกภาพสมบูรณ์แบบเหมือนท่านนบี ศ็อลฯทุกประการ  ยกเว้นตำแหน่งนุบูวะฮ์ (ศาสดา)เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ท่านอะลีได้แสดงความคิด จิตวิญญาณ การกระทำทุกอย่างซึ่งคล้ายคลึงกับท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯทั้งในยามที่ท่านมีชีวิตหรือยามที่ท่านจากโลกนี้ไปแล้วได้ใกล้เคียงที่สุด
หลังจากท่านอุมัรสิ้นชีพ ในวันที่คณะชูรอได้ประชุมหาคอลีฟะฮ์คนที่ 3 ท่านอะลี ได้ถามคณะที่ประชุมว่า : ขอให้พวกท่านสาบานต่ออัลลอฮ์ได้ไหมว่า ในหมู่พวกท่านมีใครสักคนที่อัลลอฮ์ทรงทำให้เขาเปรียบเหมือนตัวตนของท่านนบีฯ นอกจากฉันยังมีอีกไหม ?  พวกเขาตอบว่า โอ้อัลลอฮ์ ไม่มี
أنشدكم بالله، هل فيكم أحد جعله اللهُ نَفْسَ النبيّ، وأبناءَه أبناءه، ونساءه نساءَه.. غيري ؟!
قالوا: اللهمّ لا
7- ถ้าสังเกตคำว่า  สตรีของเรา – نِسَاءَنَا ให้ดี เราจะพบว่าท่านนบี ศ็อลฯ ไม่ได้พาภรรยาคนใดไปกับท่าน หรือแม้กระทั่งซอฮาบียะฮ์นางใดในมะดีนะฮ์ท่านก็ไม่ได้พาไปทั้งสิ้น  ยกเว้นท่านหญิงฟาติมะฮ์เพียงคนเดียวเท่านั้น นับได้ว่านี่คือคุซูซียัต ความพิเศษหนึ่งของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ตามที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮาได้รายงานหะดีษกิซาอ์ไว้สั้นๆว่า
عَنْ عَائِشَة قَالَتْ : \\\" خَرَجَ النَّبِيُّ صلَّى الله عليه وسلم غَدَاةً وَ عَلَيْهِ مِرْطٌ  مُرَحِّلٌ  مِنْ شَعْرٍ أَسْوَد فَجَاءَ الْحَسَنُ بْنُ عَلِيٍّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ جَاءَ الْحُسَيْنُ فَدَخَلَ مَعَهُ ، ثُمَّ جَاءَتْ فَاطِمَةُ فَأَدْخَلَهَا ، ثُمَّ جَاءَ عَلِيٌّ فَأَدْخَلَهُ ، ثُمَّ قَالَ :{ ... إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }.
ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า :  ท่านนบี (ศ)ได้ออกมาในตอนเช้าวันหนึ่ง ที่ท่านมีผ้าห่ม(กีซาอ์)สีดำปักลายรูปการเดินทางของอูฐ เมื่อฮาซันบุตรของอะลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่ม หลังจากนั้นฮูเซนมาถึงก็เข้าไปอยู่ด้วย จากนั้นฟาติมะฮ์ได้มาถึง ท่านก็ได้ให้เข้าไปอยู่ด้วย เมื่ออาลีมาถึงท่านก็ให้เข้าไปอยู่ในผ้าห่มกับท่านด้วย แล้วท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า : ( อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )              
หนังสือซอฮีฮุ มุสลิม   หะดีษที่ 4450

โองการมุบาฮะละฮ์เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่พิสูจน์ว่า  ท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนคืออะฮ์ลุลบัยต์คอศ (พิเศษ)

4- อะฮ์ลุลบัยต์คอศผู้ถูกอธรรม
ถึงแม้ว่าอัลลอฮ์ตะอาลาจะทรงยกย่องอะฮ์ลุลบัยต์คอศไว้ในอัลกุรอาน แต่ว่าพวกเขาก็ยังถูกซอเล็มอธรรมมาโดยตลอด
เมืองมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย นับได้ว่าเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของท่านนบีมุฮัมมัดและอะฮ์ลุลบัยต์คอศ อะลัยฮิมุสสลาม ในเมืองนี้มีปูชนียสถานเป็นประจักษ์พยานทางประประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงสถานภาพอันสูงส่งของอะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของท่านนบีมุฮัมมัด
ปรากฏว่าเมื่อพวกวาฮะบีได้เข้ามายึดครองดินแดนฮิญาซแห่งนี้ พวกเขาได้ทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไปมากมาย จนทำให้ความรู้เหล่านี้สูญหายไป
เมื่อมุสลิมเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์ที่บัยตุลเลาะฮ์ และไปซิยารัตที่มัสญิดมะดีนะฮ์อันเป็นสุสานของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ หากเราเปิดดูแผนที่เมืองมะดีนะฮ์ฉบับเก่าๆ จะพบว่าในแผนที่ฉบับเก่าได้บอกตำแหน่งว่า มัสญิดุลมุบาฮะละฮ์ อยู่ตรงไหน

แต่ปัจจุบันแผนที่ฉบับใหม่ได้เปลี่ยนชื่อมัสญิดุลมุบาฮะละฮ์ใหม่เป็นมัสญิดอิญาบะฮ์ หรือมัสญิดบนี มุอาวียะฮ์   มัสญิดแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของบาเกี๊ยะอ์ ที่ถนนมาลิกฟัยซ็อล  
สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ สถานที่แห่งนี้ถูกห้ามเข้ามิให้เข้าไปข้างใน ยกเว้นเวลานมาซเท่านั้น ทางราชการซาอุฯได้อ้างว่า เหตุที่ห้ามเข้าไปเพราะ มีคนมาทำชีรีกในสถานที่แห่งนี้ต่างๆนานา
พฤติกรรมของพวกวาฮะบีที่ปิดบังสถานที่ๆอัลลอฮ์ทรงให้ท่านนบีกับอะฮ์ลุลบัยต์คอศของท่านสำแดงสัจธรรมอิสลาม และทำให้ชาวคริสต์เป็นฝ่ายบาเต้ล   มันคงไม่มีเหตุผลใดดีไปกว่าความตะอัศศุบ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยฐานะภาพอันสูงส่งของครอบครัวท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้บริสุทธิ์ออกมาให้ชาวโลกได้รับรู้
วันมุบาฮะละฮ์ ตรงกับวันที่ 24  เดือนซุลฮิจญะฮ์  เป็นอีกอีดหนึ่งของมุสลิมที่ควรภูมิใจ  เพราะเป็นวันที่อิสลามได้รับชัยชนะทางจิตวิญญาณ (المعنويّ والرساليّ) เป็นวันที่อิสลามได้แสดงสัจธรรมอันบริสุทธิ์แก่ชาวยะฮูดีและนอซอรอ      
  •  

L-umar

7-

หะดีษุลบาบ

เหตุที่เรียกหะดีษนี้ว่า اَلْبَابُ แปลว่า ประตู เพราะท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯได้เดินมาเคาะประตูบ้านท่านหญิงฟาติมะฮ์ทุกวันเป็นเวลาหกเดือน



มุฟัสสิร  มุหัดดิษและนักประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกหะดีษุลบาบไว้ดังนี้


หะดีษที่ 1

حَدَّثَنَا عَبْدُ بْنُ حُمَيْدٍ حَدَّثَنَا عَفَّانُ بْنُ مُسْلِمٍ حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ أَخْبَرَنَا عَلِىُّ بْنُ زَيْدٍ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- كَانَ يَمُرُّ بِبَابِ فَاطِمَةَ سِتَّةَ أَشْهُرٍ إِذَا خَرَجَ إِلَى صَلاَةِ الْفَجْرِ يَقُولُ « الصَّلاَةَ يَا أَهْلَ الْبَيْتِ (إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا) ». قَالَ هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ إِنَّمَا نَعْرِفُهُ مِنْ حَدِيثِ حَمَّادِ بْنِ سَلَمَةَ. قَالَ وَفِى الْبَابِ عَنْ أَبِى الْحَمْرَاءِ وَمَعْقِلِ بْنِ يَسَارٍ وَأُمِّ سَلَمَةَ.

ท่านอาลีบินเซดเล่าว่า

ท่านอะนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุเล่าว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์(เป็นประจำถึง) 6 เดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ ท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )

สถานะหะดีษ : ฮาซัน   ดูหนังสือสุนัน อัต-ติรมิซี หะดีษที่ 3511


หะดีษที่ 2  

حدثنا أبو بكر محمد بن عبد الله الحفيد ، ثنا الحسين بن الفضل البجلي ، ثنا عفان بن مسلم ، ثنا حماد بن سلمة ، أخبرني حميد ، وعلي بن زيد ،  عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  كَانَ يَمُرُّ بِبَابِ فَاطِمَةَ رَضِىَ اللهُ تَعَالَى عَنْهَا سِتَّةَ أَشْهُرٍ إِذَا خَرَجَ لِصَلاَةِ الْفَجْرِ يَقُوْلُ الصَّلاَةَ يَا أَهْلَ الْبَيْتِ  إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا


ท่านอะนัส บินมาลิกเล่าว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯได้เดินมาที่ประตูบ้านท่านหญิงฟาติมะฮ์เป็นเวลาหกเดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ ท่านจะกล่าวว่า นมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  ดูหนังสืออัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม  หะดีษที่ 4731  
ซอฮี๊ฮฺตามเงื่อนไขของท่านบุคอรีและมุสลิม

หะดีษที่ 3

حَدَّثَنَا عَفَّانُ حَدَّثَنَا حَمَّادٌ أَخْبَرَنَا عَلِيُّ بْنُ زَيْدٍ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَمُرُّ بِبَابِ فَاطِمَةَ سِتَّةَ أَشْهُرٍ إِذَا خَرَجَ إِلَى صَلَاةِ الْفَجْرِ يَقُولُ الصَّلَاةُ يَا أَهْلَ الْبَيْتِ { إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمْ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا }

ท่านอะนัส บินมาลิกเล่าว่า :

 แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯได้เดินมาที่ประตูบ้านท่านหญิงฟาติมะฮ์เป็นเวลาหกเดือน ตอนท่านออกไปนมาซซุบฮ์ ท่านจะกล่าวว่า นมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์

สถานะหะดีษ : ฮาซัน  ดูหนังสือมุสนัดอะหมัด   หะดีษที่ 13529  



วิเคราะห์นักรายงานชื่อ " อะลี บินเซด "  

มีนักวิชาการซุนี่ส่วนหนึ่งกล่าวว่า เขา ดออีฟ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.   เขาความจำไม่ค่อยดี ดังนั้นรายงานของเขาจึงดออีฟ
2.   เขาสลับสัปเปลี่ยน (تقلب)หะดีษ
3.   เขาผสมปะปน(اختلاط)หะดีษ
4.   เขาเป็นชีอะฮ์ (تشيع)
แต่นักวิชาการอีกบางส่วนได้ยกย่องท่านอะลีบินเซดไว้ดังนี้
ท่านซะฮะบีกล่าวว่า อะลี บินเซดบินญุดอาน ชาวบัศเราะฮ์ เป็นอุละมาอ์ยุคตาบิอีคนหนึ่ง
قال الجريرى: أصبح فقهاء البصرة عميانا ثلاثة: قتادة، وعلى بن زيد، وأشعث الْحَدَّانِىُّ.
ท่านอัลญะรีรกล่าวว่า มีชายตาบอดสามคนได้กลายเป็นฟุเกาะฮาอ์แห่งเมืองบัศเราะฮ์คือ เกาะตาดะฮ์, อะลี บินเซดและอัชอัษ อัลหัดดานี  
وقال منصور بن زاذان: لما مات الحسن البصري قلنا لعلى بن زيد: اجلس مجلسه.
ท่านอัลมันศูร (บินซาซาน)กล่าวว่า เมื่อท่านฮาซันอัลบัศรีถึงแก่กรรม พวกเรากล่าวกับท่านอะลี บินเซดว่า โปรดนั่งที่ของเขาเถิด(คือขอให้เซดเข้ารับตำแหน่งมุฟตีแทนท่านฮาซันบัศรี)
وقال أبو حاتم: يكتب حديثه، هو أحب إلى من يزيد بن أبي زياد.
ท่านอบู หาติมกล่าวว่า หะดีษเขาบันทึกได้ ฉันชอบเขามากกว่ายะซีด บินอบี ซิยาด
อ้างอิงจาก หนังสือมีซานุล อิ๊อฺติดาล โดยอัซ-ซะฮะบี เล่ม 3 อันดับที่ 5844
على بن زيد بن جدعان بصرى يكتب حديثه وليس بالقوي وكان يتشيع وقال مرة لا بأس به
ท่านอัลอิจญ์ลีกล่าวว่า อะลีบินเซด บินญุดอาน ชาวบัศเราะฮ์ มีการบันทึกหะดีษของเขา แต่ไม่แข็งแรง เขาตะชัยยุ๊อฺ(คือเป็นชีอะฮ์) บางคนกล่าวว่า การรายงานของเขาไม่เป็นไร (คือใช้ได้)
กิตาบอัษษิกอต โดยอัลอิจญ์ลี อันดับที่ 1298
علي بن زيد بن جدعان، ...أحد أوعية العلم في زمانه. روى عن أنس بن مالك
قال الترمذي: صدوق
كتاب : الوافي بالوفيات لصلاح الدين الصفدي ج 6 ص 399  .
ท่านเศาะฟะดีกล่าวว่า อะลีบินเซด บินญุดอานคือผู้ทรงความรู้คนหนึ่งในยุคของเขา รายงานหะดีษจากท่านอะนัสบินมาลิก ท่านอัตติรมิซีกล่าวว่า เขาเศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  
หนังสืออัลวาฟี บิลวะฟะยาต โดยเศาะลาหุดดีน อัศ-เศาะฟะดี เล่ม 6 : 399
قال ابن عدى: لم أر أحدًا من البصريين وغيرهم امتنعوا من الرواية عنه
روى له البخارى فى الأدب المفرد، ومسلم مقرونًا بثابت البنانى
الكتاب : مغانى الأخيار فى شرح أسامى رجال معانى الآثار  ج 3 ص 404
المؤلف : بدر الدين العينى الحنفي (762 – 855 هـ)
ท่านอิบนุอะดีกล่าวว่า ฉันไม่เคยเห็นชาวบัศเราะฮ์คนใดขัดขวางห้ามปรามหะดีษที่รายงานมาจากเขา(คือจากอะลีบินเซด)
ท่านอัลบุคอรีได้รายงานหะดีษของอะลีบินเซดไว้ในหนังสืออัลอะดะบุลมุฟร็อด และ
ท่านมุสลิมได้บันทึกหะดีษของอะลีบินเซดคู่กับรายงานของษาบิต อัลบุนานี (ไว้ในซอฮี๊ฮฺมุสลิม)
หนังสืออัลมะฆอนี อัลอัคย้าร โดยบัดรุดดีน อัลอัยนี อัลหะนะฟี  เล่ม 3 : 404
หะดีษอะลีบินเซดในซอฮี๊ฮ์มุสลิม หะดีษที่ 4742
عَنْ عَلِىِّ بْنِ زَيْدٍ وَثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم-
คำชี้แจง
1.นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า ท่านอะลีบินเซดความจำไม่ดี ข้อนี้ค้านกับสิ่งที่ท่านอิบนุ หะญัรอัลอัสเกาะลานีเล่าถึงท่านอะลีบินเซดว่า เขาเป็นนักท่องจำอัลกุรอ่าน ดังนี้
ابن جدعان هو علي بن زيد بن جدعان التيمي البصري الضرير الحَافِظ
الكتاب : لسان الميزان المؤلف : ابن حجر العسقلاني الشافعي ج 7 ص 490 رقم : 5728
ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า อิบนุ ญุดอานคืออะลี บินเซด บินญุดอาน อัตตัยมี ชาวบัศเราะฮ์ ตาบอด เป็นนักฮาฟิซกุรอ่าน
หนังสือลิซานุลมีซาน โดยอิบนุหะญัร อัสเกาะลานี ชาฟิอีมัซฮับ เล่ม 7 : 490 อันดับที่ 5728

2.นักวิจารณ์กล่าวว่า อะลีบินเซดมีความอ่อนแอ(ดออีฟ)ในการรายงานหะดีษ หากเป็นเช่นนั้นจริงทำไมเขาถึงได้รับมุฟตีแห่งเมืองบัศเราะฮ์  หลักฐานคือ
قال منصور بن زاذان لما مات الحسن قلنا لابن جدعان اجلس مجلسه مات 131
كتاب : الكاشف في معرفة من له رواية في الكتب الستة للذهبي  ج 2 ص 40 رقم : 3916  
ท่านมันศูร บินซาซาน(ตาบิอีอาวุโส)เล่าว่า : เมื่อท่านฮาซันบัศรีเสียชีวิต พวกเรากล่าวกับท่านอิบนุญุดอาน(คืออะลีบินเซด)ว่า จงมานั่งสถานที่นั่งของเขา (คือเข้ารับตำแหน่งแทนท่านฮาซันบัศรี) อะลีบินเซดเสียชีวิตฮ.ศ.131
หนังสืออัลกาชิฟ ฟีมะอ์ริฟตะ มันละฮู ริวายะฮ์ ฟิลกุตุบิลสิตตะฮ์ โดยซะฮะบี เล่ม 2 : 40 อันดับที่ 3916
การที่ท่านมันศูรบินซาซานและชาวเมืองบัศเราะฮ์ให้ท่านอะลีบินเซดรับตำแหน่งมุฟตี นั่นแสดงว่าท่านมันศูรยอมรับว่า อะลีบินเซดมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในเวลานั้น ทั้งๆที่ตัวท่านมัน  ศูรเองก็เป็นตาบิอีอาวุโสและเป็นผู้มีความรู้ไม่ด้อยไปกว่าใครๆในยุคนั้นเช่นกัน เราลองมาฟังคำวิจารณ์ชีวประวัติของท่านมันศูร ดังนี้
منصور بن زاذان  : قال عبدالله بن أحمد عن أبيه : شيخ ثقة
قال ابن معين وأبو حاتم والنسائي : ثقة
قال العجلي  : رجل صالح متعبد كان ثقة ثبتا وكان سريع القراءة
وذكره ابنُ حبان في الثقات وقال كان يختم القرآن بين الاولى والعصر
تهذيب التهذيب لإبن حجر العسقلاني ج 10 ص 272 رقم : 536
ท่านอับดุลลอฮ์ บินอะหมัดจากบิดาเขากล่าวว่า มันศูร เป็นเชค มีความน่าเชื่อถือในการรายงาน
ท่านยะห์ยา บินมะอีน ,ท่านอบูหาติมและท่านนะซาอีกล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน
ท่านอัลอิจญ์ลีกล่าวว่า เขาเป็นคนศอและห์(ดี) มุตะอับบิด(ทำอิบาดะฮ์มาก) เป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ และมีความมั่นคงในการรายงาน และเขาอ่านหนังสือได้เร็วมาก
ท่านอิบนุหะญัรเล่าว่า ท่านอิบนุหิบบานได้บันทึกว่ามันศูรเป็นนักรายงานที่ษิเกาะฮ์ไว้ในหนังสืออัษษิเกาะฮ์ของเขา
ท่านอิบนุหิบบานเล่าว่า มันศูรเคยอ่านกุรอ่านจบในเวลาช่วงแรกของวันจนถึงเวลาอัศริ
หนังสือตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร เล่ม 10 : 272  อันดับที่ 536
คาดว่า ความรู้และอามั้ลอิบาดะฮ์ของท่านมันศูรตาบิอีคงพอค้ำประกันท่านอะลีบินเซดว่ามีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง จึงได้มอบตำแหน่งมุฟตีแห่งเมืองบัศเราะฮ์ให้กับเขา
3. หะดีษุลบาบเป็นที่ยอมรับของนักรายงานหะดีษอีกมากมายที่รายงานเรื่องนี้ไว้ สิ่งเหล่านี้คือหลักฐานสนับสนุนหะดีษของท่านอะลีบินเซดว่าเชื่อถือได้

สรุปว่า คำยกย่องชมเชย ย่อมต้องมาก่อนคำตำหนิ เราจึงขอกล่าวว่า หะดีษที่ท่านอะลีบินเซดรายงานเป็นหะดีษที่อยู่ในระดับ ฮาซัน(ดี)ตามที่ท่านอัต-ติรมิซีกล่าวไว้

หะดีษุลบาบที่นักรายงานคนอื่นๆนำออกรายงาน
เราพบว่ามีมุหัดดิษในยุคตาบิอีและยุคถัดมาได้ให้การยอมรับหะดีษบทนี้ไว้อีกหลายท่านเช่น
قال ابن جرير: حدثنا ابن وكيع، قال: ثنا محمد بن بكر، عن حماد بن سلمة، عن علي بن زيد، عن أنس أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يمر ببيت فاطمة ستة أشهر، كلما خرج إلى الصلاة فيقول: \\\"الصلاة أهل البيت \\\" {إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيرا}
تفسير الطبري  رقم الحديث : 21729   انظر سورة الاحزاب : 33
ท่านอิบนุญะรีร(เกิด 224 มรณะฮ.ศ.310)รายงาน...ท่านอะนัสบินมาลิกเล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์เป็นประจำถึง 6 เดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซ(ซุบฮ์) ท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
ตัฟสีรอัฏ-ฏ็อบรี โดยมุหัมมัด บินญะรีร อัฏฏ็อบรี  ดูซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ  : 33  หะดีษที่ 21729

(قال الطبراني)حدثنا علي بن عبد العزيز و أبو مسلمة الكشي قالا ثنا حجاج بن المنهال ثنا حماد بن سلمة عن علي بن زيد بن جدعان : عن أنس بن مالك أن رسول الله صلى الله عليه و سلم كان يمر ببيت فاطمة رضي الله عنها ستة أشهر إذا خرج من صلاة الفجر يقول : يا أهل البيت الصلاة { إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيرا }
الكتاب : المعجم الكبير  ج 3 ص 56  ح : 2671
المؤلف : سليمان بن أحمد بن أيوب أبو القاسم الطبراني
الناشر : مكتبة العلوم والحكم – الموصل  الطبعة الثانية ، 1404 - 1983
تحقيق : حمدي بن عبدالمجيد السلفي  عدد الأجزاء : 20
ท่านฏ็อบรอนีรายงาน... ท่านอะนัสบินมาลิก(ร.ฎ.)เล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์เป็นเวลาหกเดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ และท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
อัลมุอ์ญะมุลกะบีร  เล่ม 3 : 56 โดยอัฏฏ็อบรอนี (เกิด260 มรณะฮ.ศ.360 ) หะดีษที่ 2671

حدثنا عفان بن مسلم ، ثنا حماد بن سلمة ، عن علي بن زيد ، عن أنس بن مالك ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يمر بباب فاطمة ستة أشهر إذا خرج إلى صلاة الفجر ، يقول : الصلاة يا أهل البيت ( إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيرا  )
الكتاب : مسند عبد بن حميد  ح : 1228
عبد بن حميد بن نصر الكسي : من حفاظ الحديث (249 هـ)
ท่านอับดุ บินหุมีดรายงาน... ท่านอะนัสบินมาลิก(ร.ฎ.)เล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินผ่านมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์เป็นเวลาหกเดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ ท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
มุสนัดอับดุ บินหุมีด  โดยอับดุ บินหุมีด นักท่องจำหะดีษมรณะฮ.ศ. 249  หะดีษที่ 1228
   
(قال ابنُ العربي)وَرَوَى أَنَسُ بْنُ مَالِكٍ { أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَمُرُّ بِبَابِ فَاطِمَةَ سِتَّةَ أَشْهُرٍ إذَا خَرَجَ إلَى صَلَاةِ الْفَجْرِ يَقُولُ : الصَّلَاةَ يَا أَهْلَ الْبَيْتِ ، إنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمْ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا } .
أحكامُ القرآن لابن العربي (468 - 543هـ،) ج 6 ص 356
إمام من أئمة المالكية. وهو فقيه محدِّث مفسر أصولي أديب متكلِّم
ท่านอิบนุลอะเราะบีรายงาน... ท่านอะนัสบินมาลิก(ร.ฎ.)เล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์เป็นเวลาหกเดือน ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ และท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
อะห์กามุลกุรอาน เล่ม 6 : 356 โดยอิบนุลอะเราะบี (468-453 ฮ.ศ.)  หนึ่งในอิม่ามผู้นำแห่งมาลิกีมัซฮับ เป็นฟะกีฮฺ มุหัดดิษ มุฟัสสิร อุศูลี นักวรรณคดีและนักเทววิทยา

(قال ابن الاثير عن )أنس بن مالك - رضي الله عنه - أن رسولَ الله -صلى الله عليه وسلم- كان يمر بباب فاطمة إذا خرج إلى الصلاة حين نزلت هذه الآية ، قريبا من ستة أشهر ، يقول : الصلاةَ أهلَ البيت: إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيرا.
جامع الأصول من أحاديث الرسول لابن الاثير  ح : 6704
المحدث اللغوي الاصولي. (544 - 606 هـ )
ท่านอิบนุลอะษีรรายงาน... ท่านอะนัสบินมาลิก(ร.ฎ.)เล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินผ่านมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์ ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ แล้วขณะนั้นได้มีโองการนี้ประทานลงมา ประมาณหกเดือน ท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
ญามิอุลอุศูล มินอะฮาดีษิลรอซูล  โดยอิบนุลอะษีร  มุหัดดิษ นักภาษาศาสตร์ นักอุศูลี เกิด 544มรณะฮ.ศ. 606  หะดีษที่ 6704

(قال السيوطي) وأخرج ابن أبي شيبة وأحمد والترمذي وحسنه وابن جرير وابن المنذر والطبراني والحاكم وصححه وابن مردويه عن أنس رضي الله عنه ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يمر بباب فاطمة رضي الله عنها إذا خرج إلى صلاة الفجر ويقول « الصلاة يا أهل البيت الصلاة { إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت ويطهركم تطهيراً } » .
تفسير الدر المنثور جلال الدين السيوطي  ج 8 ص 159  انظر سورة الاحزاب : 33
ท่านซิยูฏี(เกิด 849 มรณะฮ.ศ.911)รายงาน : ท่านอิบนุอบีชัยบะฮ์,ท่านอะหมัด,ท่านติรมิซีนำออกรายงานซึ่งถือว่าเป็นหะดีษฮาซัน และท่านอิบนุญะรีร,ท่านอิบนุลมุนซิร,ท่านฏ็อบรอนี,ท่านฮากิมนำออกรายงานซึ่งถือว่าเป็นหะดีษซอฮี๊ฮฺ และท่านอิบนุมุรดะวัยฮฺ จากท่านอะนัสบินมาลิก(ร.ฎ.)เล่าว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเคยเดินมาที่ประตูบ้านฟาติมะฮ์ ตอนที่ท่านออกไปนมาซซุบฮ์ และท่านจะกล่าว(ตรงหน้าประตูบ้านฟาติมะฮ์)ว่า : จงนมาซเถิด โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
ตัฟสีรอัดดุรรุลมันษูร  เล่ม 8 : 159 ดูซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ อายะฮ์ 33  

658 - وما قد حدثنا ابن مرزوق ، حدثنا أبو عاصم النبيل ، عن عبادة قال أبو جعفر وهو ابن مسلم الفزاري من أهل الكوفة قد روى عنه أبو نعيم قال : حدثني أبو داود قال أبو جعفر : وهو نفيع الهمداني الأعمى من أهل الكوفة أيضا قال : حدثني أبو الحمراء قال : صحبتُ رسولَ الله صلى الله عليه وسلم تِسْعَةَ أَشْهُرٍ كان إذا أصبح أتى باب فاطمة عليها السلام فقال : « السلام عليكم أهل البيت » إنما يريد الله ليذهب عنكم الرجس أهل البيت  
« الآية وفي هذا أيضا دليل على أهل هذه من هم ، وبالله التوفيق
مشكل الآثار للطحاوي  ح : 658
المؤلف: أبو جعفر أحمد بن محمد بن سلامة بن عبد الملك بن سلمة الأزدي الحجري المصري المعروف بالطحاوي (229- 321 هـ)
ท่านอบุลฮัมรออ์เล่าว่า :  ฉันอยู่กับท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯเป็นเวลา 9 เดือน ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาเช้าท่านมาอยู่ที่ประตูบ้านของท่านอะลีและฟาติมะฮ์ และท่านกล่าวว่า ขออัลลอฮ์เมตตาพวกท่าน (อันที่จริง อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสมมออกจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ของนบี  และ(ทรงประสงค์ที่จะ)ชำระพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ )
มุชกิลุลอาษ้าร โดยอัฏ-เฏาะฮาวี เกิด 229 มรณะฮ.ศ. 321 หะดีษที่ 658


วิเคราะห์


1.บรรดาซอฮาบะฮ์รู้ดีอยู่แล้วว่า ท่านอะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซันและฮูเซนคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบี ศ็อลฯ  แต่ทำไมท่านนบีฯต้องเดินไปเคาะประตูบ้านบุตรีเป็นเวลา 6 เดือนเต็มเพื่อประกาศว่า บุคคลทั้งสี่ในบ้านหลังนี้คือ อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  แน่นอนท่านรอซูลฯทำสิ่งใดย่อมมีฮิกมะฮ์เสมอ และนั่นก็คือท่านต้องการบอกว่า บุคคลที่อยู่ในบ้านหลังนั้นคืออะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของท่าน ไม่ใช่อะฮ์ลุลบัยต์ธรรมดา
2. ท่านคิดว่า เวลาครึ่งปีนี้มีเพียงแค่ท่านอะนัส (ร.ฎ.)เท่านั้นหรือที่รู้เห็นการกระทำของท่านนบีฯ หากท่านเชื่อเช่นนั้นย่อมแสดงว่า มีท่านอะนัสคนเดียวที่ตื่นไปนมาซซุบฮ์ถึงหกเดือน นอกนั้นคงนอนตื่นสายเลยไม่รู้ว่า ท่านนบีเดินมาที่บ้านบุตรีถึงหกเดือน
3. จากที่เราพบเห็นการรายงานหะดีษุลบาบจากนักรายงานหะดีษคนอื่นๆ ย่อมแสดงว่า บุคคลดังกล่าวให้การยอมรับว่า หะดีษของท่านอะลีบินเซดอยู่ในระดับที่เชื่อถือได้ เพราะผู้รายงานแต่ละคนเป็นมุหัดดิษระดับมาตรฐานเช่นกัน
  •  

L-umar

8-

อาลี  ผู้ประกาศซูเราะฮ์อัต-เตาบะฮ์แก่ฮุจญาจญ์



อัต ติรมิซีบันทึกว่า


عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ :
بَعَثَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- بِبَرَاءَةَ مَعَ أَبِى بَكْرٍ ثُمَّ دَعَاهُ فَقَالَ « لاَ يَنْبَغِى لأَحَدٍ أَنْ يُبَلِّغَ هَذَا إِلاَّ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِى ». فَدَعَا عَلِيًّا فَأَعْطَاهُ إِيَّاهَا.


ท่านอะนัส บินมาลิกเล่าว่า :

ท่านนะบี(ศ)ได้ส่งซูเราะฮ์บะรออะฮ์(บทที่9) ไปกับท่านอะบูบักร ต่อมาท่านได้เรียกเขากลับมาหา แล้วกล่าวว่า : ไม่ควรที่ใครคนใดจะทำหน้าที่(ประกาศซูเราะฮ์)นี้ นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน แล้วท่านได้เรียกอะลีมาหา  ดังนั้นอบูบักรได้มอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ให้กับอะลี(นำไปประกาศแก่บรรดาฮุจญาจญ์)

สถานะหะดีษ : ฮาซัน ดูซอฮีฮุวะดออีฟุ สุนันติรมิซี หะดีษที่ 3090 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


أخبرنا العباس بن محمد الدوري قال حدثنا أبو نوح واسمه عبد الرحمن بن غزوان قراد عن يونس بن أبي إسحاق عن أبي إسحاق عن زيد بن يثيع عن علي أن رسول الله بعث ببراءة إلى أهل مكة مع أبي بكر ثم أتبعه بعلي فقال له خذ الكتاب فأمض به إلى أهل مكة قال فلحقته فأخذت الكتب منه فأنصرف أبو بكر وهو كئيب فقال يا رسول الله أنزل في شيء قال لا إلا إني أمرت
أن أبلغه أنا أو رجل من أهل بيتي
خصائص علي للنسائي ح : 76

ท่านเซด บินยะซิ๊อ์จากท่านอาลีเล่าว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ส่งมอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ไปยังชาวเมืองมักกะฮ์กับท่านอะบูบักร  ต่อมาท่านได้ให้อาลีออกตามเขาไป โดยท่านได้กล่าวกับท่านอาลีว่า :
จงไปเอาสาส์น(ซูเราะฮ์เตาบะฮ์จากอะบูบักร) แล้วนำมันไป(ประกาศแก่)ชาวเมืองมักกะฮ์
เซดเล่าว่า : ท่านอาลีได้ตามไปเอาสาส์นนั้นคืนจากท่านอะบูบักร  แล้วท่านอะบูบักรได้กลับมา(ที่เมืองมะดีนะฮ์)ในสภาพเสียใจ เขากล่าวกับท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ว่า :
มีสิ่งใดลงมาเกี่ยวกับฉันกระนั้นหรือ ?
ท่านตอบว่า : ไม่มี นอกจากว่า ฉันได้รับบัญชาว่า จะต้องประกาศ(สาส์นนั้น)ด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ให้ชายที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันเท่านั้น

ดูเคาะซออิศ อะลี โดยนะซาอี หะดีษที่ 76


۩ อธิบาย

ท่านนะบี(ศ)ได้มอบซูเราะฮ์บะรออะฮ์ให้ท่านอะบูบักรนำไปประกาศที่เมืองมักกะฮ์ในปีฮ.ศ. 9 แต่ในเวลาต่อมาท่านได้เรียกท่านอบูบักรกลับมาพบแล้วกล่าวว่า ไม่ควรที่ใครคนใดจะทำหน้าที่(ประกาศซูเราะฮ์)นี้ นอกจากชายที่มาจากครอบครัวของฉัน  ซึ่งครอบครัวในที่นี้คืออะฮ์ลุลบัยต์พิเศษของท่านนบีนั่นเอง

► รายชื่อซอฮาบะฮ์ที่รายงานว่า ท่านนบี(ศ)ได้มอบซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์(อัลบะรออะฮ์)ให้ท่านอะลีนำไปประกาศแก่ฮุจญาจญ์ที่มักกะฮ์ในปีฮ.ศ.ที่ 9 มีดังนี้ : อะลี บินอบีตอลิบ,อบูบักร,อิบนุอับบาส,ญาบิร บินอับดุลลอฮ์อัลอันศอรีย์,อะนัสบินมาลิก,อบู สะอีดอัลคุดรีย์,สะอัด บินอบีวักกอศ,อบู ฮุร็อยเราะฮ์,อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร,ฮับชีย์ บินญุนาดะฮ์,อิมรอน บินฮุศ็อยนฺและอบูซัร อัลฆ็อฟฟารีย์ รวมทั้งหมด 12 คน  ฉะนั้นฮะดีษนี้อยู่ในระดับมุตะวาติรเพราะรายงานเกิน 9 คน
  •  

L-umar

9-

อัต ต็อบรอนีบันทึกว่า



حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ مُوسَى ، ثَنَا الْحَسَنُ بْنُ كَثِيرٍ ، ثَنَا سَلْمَى بْنَ عُقْبَةَ الْحَنَفِيُّ الْيَمَامِيُّ ، ثَنَا عِكْرِمَةُ بْنُ عَمَّارٍ عَنْ يَحْيَى بْنِ أَبِي كَثِيرٍ عَنْ أَبِي سَلَمَةَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ طَالِبٍ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَيُّمَا أَحَبُّ إِلَيْكَ أَنَا أَمْ فَاطِمَة قَالَ فَاطِمَة أَحَبُّ إِلَيَّ مِنْكَ وَأَنْتَ أَعَزُّ عَلَيَّ مِنْهَا وَكَأَنِّيْ بِكَ وَأَنْتَ عَلَى حَوْضِيْ تَذُوْدُ عَنْهُ النَّاسَ وَإِنَّ عَلَيْهِ لَأبَارِيْقُ مِثْلُ عَدَدَ نُجُوْمِ السَّمَاءِ وَإِنِّيْ وَأَنْتَ وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَفَاطِمْةُ وَعَقِيْلٌ وَجَعْفَرٌ فِي الْجَنَّةِ إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ أَنْتَ مَعِيْ وَشِيْعَتُكَ فِي الْجَنَّةِ ثُمَّ قَرَأَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه و سلم إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُتَقَابِلِينَ (الحجر : 47) لاَ يَنْظُرُ أَحَدُهُمْ فِيْ قِفَا صَاحِبِهِ

الكِتَابُ : الْمُعْجَمُ الْأَوْسَطُ  ج 7 ص 343  ح : 7675
المُؤَلِّف : أَبُو الْقَاسِم سُلَيْمَانُ بْنُ أَحْمَد الطَّبْرَانِيّ( 260- 360هـ)
الناشر : دَارُ الْحَرَمَيْنِ - القَاهِرَة ، 1415
تحقيق : طارق بن عوض الله بن محمد , عبد المحسن بن إبراهيم الحسيني

อิกริมะฮ์บินอัมมาร จากยะห์ยาบินอบีกะษีร จากอบีสะละมะฮ์  จากอบีฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :

ท่านอาลี บินอบีตอลิบกล่าวว่า :  

โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ใครเป็นที่รักยิ่งของท่านมากที่สุด ฉันหรือฟาติมะฮ์  

ท่านตอบว่า : ฟาติมะฮ์คือที่รักยิ่งของฉัน ส่วนท่านคือผู้มีเกียรติยิ่งของฉันมากกว่านาง  อย่างกับฉันอยู่กับท่าน และท่านนั้นอยู่ที่สระ(เกาษัร)ของฉันกำลังกันผู้คนออกไปจากสระ และแท้จริงที่สระนั้นแน่นอนมีเหยือกน้ำมากมายเหมือนกับจำนวนดวงดาวบนท้องฟ้า และแท้จริงฉัน, ท่าน(คือท่านอาลี), ฮาซัน, ฮูเซน, ฟาติมะฮ์, อะกีล และญะอ์ฟัรจะอยู่ร่วมกันในสวรรค์ เป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน

ท่านกับฉันและชีอะฮ์ของท่านจะได้อยู่ในสวรรค์ จากนั้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้อ่านโองการ ( ต่างเป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน ) ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ : 47   คนหนึ่งของพวกเขาจะไม่มองที่ด้านหลังของสหายของเขา

สถานะsะดีษ : ฮาซัน
ดูมุอ์ญัมเอาซัฏ   โดยอัตต็อบรอนี  เล่ม 7 : 343  หะดีษที่ 7675

 
نُوْرُ الدِّيْنِ عَلِيُّ بْنُ أَبِيْ بَكْرٍ الْهَيْثَمِيّ قَالَ :  رَوَاهُ الطَّبْرَانِيّ فِي الْأَوْسَطِ وَفِيْهِ سَلْمَى بْنُ عُقْبَة وَلَمْ أَعْرِفْهُ وَبَقِيَّة رِجَاله ثِقَاتٌ
الكتاب : مَجْمَعُ الزَّوَائِدِ وَمَنْبَعُ الْفَوَائِد  ج 9 ص 274  ح : 15016
المؤلف : نور الدين علي بن أبي بكر الهيثمي  الناشر : دار الفكر، بيروت - 1412 هـ

นูรุดดีน อัลฮัยษะมีกล่าวว่า  :

หะดีษนี้ ท่านต็อบรอนีรายงานไว้ในหนังสือมุอ์ญะมุลเอาซัฏ ในสะนัดนี้มีซัลมา บินอุกบะฮ์ฉันไม่รู้จัก ส่วนนักรายงานที่เหลือของหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ทั้งหมด

ดูหนังสือมัจญ์มะอุซ-ซะวาอิด  เล่ม 9 : 274 หะดีษที่ 15015
  •  

L-umar

10-

หะดีษ  ษะเกาะลัยน์



ท่านนะบีมุฮัมมัด ( ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮี ) กล่าวว่า :


يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى

โอ้ประชาชนทั้งหลาย ! แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว  พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺและอิตเราะตี(คือ)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

ดูหนังสือ  : อัลกาฟี  โดยเชคกุลัยนี เล่ม 2 : 415  หะดีษที่ 1 และ
ซอฮีฮุต-ติรมิซี   หะดีษที่ 2978  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ซิลซิละตุซ ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี  หะดีษที่ 1761



ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า :

إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ خَلِيفَتَيْنِ كِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَوْ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِي أَهْلُ بَيْتِي وَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ

แท้จริงฉันได้มอบสองคอลีฟะฮ์ไว้ในหมู่พวกท่าน (คอลีฟะฮ์แรกคือ) คัมภีร์ของอัลเลาะฮ์คือเชือกทอดอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน และ(คอลีฟะฮ์ที่สอง) อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่มีวันแยกจากกัน จนกว่าจะกลับมายังฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาซัร)

สถานะฮะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ ดูซอฮีฮุล ญามิอิซ-ซอฆีร ฮะดีษที่ 2457  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


อะฮ์ลุลบัยต์รายงาน

رَوَي أَبُوْ جَعْفَرٍ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ بَابَوَيْهِ الْقُمِّيّ 305-381هـ. هو الشَّيْخُ الصَّدُوْق  :
حَدَّثَنَا ْ أَحْمَدُ بْنُ زِيَادِ بْنِ جَعْفَرٍ الْهَمَذَانِي‏ قَالَ : حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ اِبْرَاهِيْمَ بْنِ هَاشِمٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْر عَنْ غِيَاثِ بْنِ إِبْرَاهِيْمَ عَنِ الصَّادِقِ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَبِيْهِ مُحَمَّدِ بْنِ عَلِىٍ عَنْ أَبِيْهِ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ أَبِيْهِ الْحُسَيْنِ بْنِ عَلِىٍّ عَلَيْهِ السَّلاَمِ قَالَ: سُئِلَ أَمِيْرُ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلَيْهِ السَّلاَمِ عَنْ مَعْنَى قَوْلِ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ إِنِّىْ مُخَلِّفٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ مَنِ الْعِتْرَةُ ؟ فَقَالَ : أَنَا وَالْحَسَنُ وَالْحُسَيْنُ وَالْأَئِمَّةُ التِّسْعَةُ مِنْ وُلْدِ الْحُسَيْنِ تَاسِعُهُمْ مَهْدِيُّهُمْ وَقَائِمُهُمْ لاَ يُفَارِقُوْنَ كِتَابَ اللهِ وَلاَ يُفَارِقُهُمْ حَتَّى يَرِدوا عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ حَوْضَـهُ.
عيون أخبار الرضا (ع) للشيخ الصدوق  ج 2  ص 58 حديث : 25
باب النصوص على الرضا(ع) بالإمامة في جملةالأئمة الإثنى عشر(ع)


เชคศอดูกรายงาน :  
อะหมัด บินซิยาด บินญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีเล่าให้เราฟัง จากอาลี บินอิบรอฮีม บินฮาชิมจากบิดาเขา จากมุฮัมมัด บินอบีอุมัยรฺ จากฆิยาษ บินอิบรอฮีม(เล่าว่า ) :  จากอัศ-ศอดิก ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขาคือมุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาคืออาลี บินฮูเซน จากบิดาเขาคือฮูเซน บินอาลีเล่าว่า :  

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน(อิม่ามอาลี) ถูกถามถึงความหมายวจนะของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ที่กล่าวว่า :  

แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน  สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของฉัน, (ว่า) ใครคืออิตเราะฮ์ ?

ท่านอิม่ามอะลีตอบว่าคือ :

ฉัน,ฮาซัน,ฮูเซนและบรรดาอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากบุตรชายของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีและคือกออิมของพวกเขา  พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮฺจะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระอัลเฮาฎ์ของท่าน.

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ   ดูหนังสืออุยูนุล อัคบาร อัลริฎอ โดยเชคศอดูก เล่ม 1 : 57 หะดีษที่ 25
  •  

L-umar

11-

อาลี ผู้ที่ทำนมาซเหมือนท่านนะบี(ศ)มากที่สุด



บุคอรีและมุสลิมได้บันทึกว่า

عَنْ مُطَرِّفِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ صَلَّيْتُ خَلْفَ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ - رضى الله عنه - أَنَا وَعِمْرَانُ بْنُ حُصَيْنٍ ، فَكَانَ إِذَا سَجَدَ كَبَّرَ ، وَإِذَا رَفَعَ رَأْسَهُ كَبَّرَ ، وَإِذَا نَهَضَ مِنَ الرَّكْعَتَيْنِ كَبَّرَ ، فَلَمَّا قَضَى الصَّلاَةَ أَخَذَ بِيَدِى عِمْرَانُ بْنُ حُصَيْنٍ فَقَالَ قَدْ ذَكَّرَنِى هَذَا صَلاَةَ مُحَمَّدٍ - صلى الله عليه وسلم - .

มุต็อรริฟ บินอับดุลลอฮ์เล่าว่า

ฉันได้ทำนมาซ(ญะมาอะฮ์อยู่)ข้างหลังท่านอาลี บินอะบีตอลิบ มีฉันกับอิมรอน บินหุศ็อยน์(เป็นมะอ์มูม)  ปรากฏว่าเมื่อท่านอาลีจะสุยู๊ดท่านก็ยกมือตักบีร  เมื่อท่านเงยศรีษะ(ขึ้นมานั่ง) ท่านก็ยกมือตักบีร เมื่อท่านจะลุกขึ้นยืนจากสองร่อกะอัตท่านก็ยกมือตักบีร เมื่อท่านอาลีทำนมาซเสร็จ  อิมรอน บินหุศ็อยน์ได้จับมือฉันพลางกล่าวว่า  ชายคนนี้ได้ทำให้ฉันนึกถึงการนมาซของท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)

ดูซอฮิ๊ฮ์บุคอรี  หะดีษที่ 786



Θ อิม่ามอะหมัดบันทึกว่า

عَنْ مُطَرِّفِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الشِّخِّيرِ قَالَ : صَلَّيْتُ أَنَا وَعِمْرَانُ بْنُ حُصَيْنٍ بِالْكُوفَةِ خَلْفَ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَكَبَّرَ بِنَا هَذَا التَّكْبِيرَ حِينَ يَرْكَعُ وَحِينَ يَسْجُدُ فَكَبَّرَهُ كُلَّهُ فَلَمَّا انْصَرَفْنَا قَالَ لِي عِمْرَانُ مَا صَلَّيْتُ مُنْذُ حِينٍ أَوْ قَالَ مُنْذُ كَذَا وَكَذَا أَشْبَهَ بِصَلَاةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ هَذِهِ الصَّلَاةِ يَعْنِي صَلَاةَ عَلِيٍّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ
تعليق شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح على شرط الشيخين

มุต็อรริฟ บินอับดุลลอฮ์เล่าว่า :  

ฉันกับอิมรอน บินหุศ็อยน์ได้ทำนมาซ(ญะมาอะฮ์อยู่)ข้างหลังท่านอาลี บินอะบีตอลิบที่เมืองกูฟะฮ์  แล้วท่านอาลีได้ตักบีรกับพวกเราด้วยตักบีรแบบนี้ในขณะที่ท่านรุกู๊อ์และขณะที่ท่านสุยู๊ด ดังนั้นท่านจะทำการตักบีรมันทั้งหมด
เมื่อพวกเรานมาซเสร็จ  อิมรอน บินหุศ็อยน์ได้กล่าวกับฉันว่า  ฉันไม่เคยทำนมาซแบบนี้มาตั้งนานแล้ว
หรือเขากล่าวเช่นนี้เช่นนั้นว่า มันช่างเหมือนกับการนมาซของท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)จากการนมาซนี้ หมายถึงการนมาซของท่านอาลี

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด  19873 ฉบับตรวจทานโดยเชคอัรนะอูฏี



۩ อธิบาย

ซุนนะฮ์ในการยกมือตักบีรขณะก้มและกราบได้ถูกทอดทิ้งไปจนกระทั่งท่านอิมรอนบินหุศ็อยน์ได้มีโอกาสยืนนมาซตามหลังท่านอิม่ามอาลีที่ได้นมาซเหมือนที่ท่านนะบี(ศ)เคยปฏิบัติเป็นประจำ  ในขณะที่คนส่วนหนึ่งได้ละทิ้งซุนนะฮ์ยกมือตักบีรไปแล้ว

เพราะฉะนั้นท่านอาลีคือผู้ที่ทำนมาซเหมือนท่านนะบี(ศ)มากที่สุดในยุคนั้น
  •  

L-umar

12-

อัลบุคอรีบันทึกว่า


قَالَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - لِعَلِىٍّ « أَنْتَ مِنِّى وَأَنَا مِنْكَ » . وَقَالَ عُمَرُ تُوُفِّىَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وَهْوَ عَنْهُ رَاضٍ
باب مَنَاقِبُ عَلِىِّ بْنِ أَبِى طَالِبٍ الْقُرَشِىِّ الْهَاشِمِىِّ أَبِى الْحَسَنِ رضى الله عنه

ท่านนะบี(ศ)ได้กล่าวกับท่านอาลีว่า

เจ้านั้นมาจากฉันและฉันมาจากเจ้า


ท่านอุมัรเล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)วะฟาตในสภาพที่ท่านมีความพอใจต่อท่านอาลี

ดูซอฮิ๊ฮ์บุคอรี หะดีษที่  9


۩ อธิบาย


คำว่า ท่านอาลีมาจากท่านรอซูล(ศ)หมายถึง  
มีสายสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งทั้งทางเชื้อสายคือมีปู่คนเดียวกัน เพราะบิดาท่านนะบี(ศ)เป็นน้องของบิดาท่านอาลี   ท่านอาลียังได้สมรสกับบุตรีของท่านนะบีจึงมีฐานะเป็นบุตรเขย  ท่านอาลีคือชายคนแรกที่ศรัทธาต่อดีนของท่านนะบีและมีความรักอย่างต่อท่านนะบีอย่างแนบแน่น
 ส่วนคำว่า  ฉันมาจากอาลี  หมายถึงหลังจากท่านนะบีวะฟาตแล้ว ท่านอาลียังรักษาดีนของท่านนะบีเอาไว้และมอบให้นี้ให้กับบุตรหลานของท่านดูแลรักษาต่อไปจนสืบมาถึงปัจจุบัน
  •  

L-umar

13-

เชื้อสายท่านอาลี    ( อะลัยฮิสสลาม )  



عَلِىُّ بْنُ أَبِى طَالِبِ بْنِ عَبْدِ الْمُطَّلِبِ بْنِ هَاشِمِ بْنِ عَبْدِ مَنَافِ بْنِ قُصَىِّ بْنِ كِلاَبِ بْنِ مُرَّةَ بْنِ كَعْبِ بْنِ لُؤَىِّ بْنِ غَالِبِ بْنِ فِهْرِ بْنِ مَالِكِ بْنِ النَّضْرِ بْنِ كِنَانَةَ بْنِ خُزَيْمَةَ بْنِ مُدْرِكَةَ بْنِ إِلْيَاسَ بْنِ مُضَرَ بْنِ نِزَارِ بْنِ مَعَدِ بْنِ عَدْنَانَ


ท่านอาลี  คือบุตรของท่านอะบูตอลิบ

บุตรอับดุลมุตต่อลิบ บุตรฮาชิม บุตรอับดุมะนาฟ บุตรกุศ็อยฟ์ บุตรกิลาบ บุตรมุรเราะฮ์ บุตรกะอ์บิ บุตรลุอัย บุตรฆอลิบ บุตรฟิฮ์ริ บุตรมาลิก บุตรอันนัฎร์ บุตรกินานะฮ์ บุตรคุซัยมะฮ์ บุตรมุดริกะฮ์ บุตรอิลยาส บุตรมุฎ็อร บุตรนิซ้าร บุตรมะอัด บุตรอัดนาน

มารดาชื่อ  ฟาติมะฮ์ บุตรอะซัด บุตรฮาชิม บุตรอับดุมะนาฟ บุตรกุศ็อยฟ์...


เชื้อสายท่านอาลีคือเชื้อสายเดียวกันกับท่านนะบี(ศ)


เชื้อสายท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะอาลิฮี วะซัลลัม)

مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ الْمُطَّلِبِ بْنِ هَاشِمِ بْنِ عَبْدِ مَنَافِ بْنِ قُصَىِّ بْنِ كِلاَبِ بْنِ مُرَّةَ بْنِ كَعْبِ بْنِ لُؤَىِّ بْنِ غَالِبِ بْنِ فِهْرِ بْنِ مَالِكِ بْنِ النَّضْرِ بْنِ كِنَانَةَ بْنِ خُزَيْمَةَ بْنِ مُدْرِكَةَ بْنِ إِلْيَاسَ بْنِ مُضَرَ بْنِ نِزَارِ بْنِ مَعَدِ بْنِ عَدْنَانَ

นะบีมุฮัมมัด  คือบุตรของท่านอับดุลเลาะฮ์(น้องชายอะบูตอลิบ)
 
บุตรอับดุลมุตต่อลิบ บุตรฮาชิม บุตรอับดุมะนาฟ บุตรกุศ็อยฟ์ บุตรกิลาบ บุตรมุรเราะฮ์ บุตรกะอ์บิ บุตรลุอัย บุตรฆอลิบ บุตรฟิฮ์ริ บุตรมาลิก บุตรอันนัฎร์ บุตรกินานะฮ์ บุตรคุซัยมะฮ์ บุตรมุดริกะฮ์ บุตรอิลยาส บุตรมุฎ็อร บุตรนิซ้าร บุตรมะอัด บุตรอัดนาน


Θ ด้วยเหตุนี้จึงมีหะดีษรายงานว่า  ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวกับท่านอาลีว่า

ياَ عَلِيُّ ، الناسُ مِن شَجَر شَـتَّى ، وَأَناَ وَأنْتَ مِن شَجَرَةٍ وَاحِدَةٍ

هذا حديث صحيح الإسناد ، ولم يخرجاه

โอ้อาลีเอ๋ย  มนุษย์ทั่วไปนั้นมาจากสาแหรกตระกูลที่แตกต่างกัน แต่ฉันกับเจ้ามาจากสาแหรกตระกูลเดียวกัน

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลมุสตัดร็อก  หะดีษที่ 2903 และมุอ์ญัมเอาซัฏ  หะดีษที่  4003
  •  

L-umar

14 -

Θ อาลี  ผู้ที่ถือกำเนิดในวิหารกะอ์บะฮ์



► ท่านอะบูตอลิบได้มาสู่ขอนางฟาติมะฮ์กับท่านอะซัด บินฮาชิม  ขณะที่คณะเจ้าบ่าวมาสู่ขอและจัดงานเลี้ยงนั้น ท่านอะบูตอลิบได้กล่าวคุตบะฮ์ว่า

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ، رَبِّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ ، وَالْمَقَامِ الكريم، والمشعر والحطيم، الذي اصطفانا أعلاماً، وسدنة، وعرفاء، وخلصاء، وحجّته بهاليل، أطهار من الخنى والريب، والأذى والعيب، وأقام لنا المشاعر، وفضّلنا على العشائر، نخب آل إبراهيم وصفوته وزرع إسماعيل

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์   พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก   พระเจ้าแห่งอารัชที่ยิ่งใหญ่  และมะกอมที่มีเกียรติ  และมัชอิร(มุซดะลิฟะฮ์) และหะตีม(ที่อยู่ระหว่างมุมหินดำกับมะกอมอิบรอฮีม)  ผู้ทรงคัดเอกเราเป็นสัญลักษณ์และเป็นผู้รับใช้กะอ์บะฮ์  เป็นผู้รู้  ผู้บริสุทธิ์และเป็นหลักฐานของพระองค์  สะอาดปราศจากความโสมมและความสงสัย   เป็นอันตรายและมีตำหนิ  และทรงทำให้เราเป็นมะชาเอ็ร  ทรงเทิดเราเหนือกว่าวงศ์ตระกูลทั้งหลาย ผู้ถูกเลือกสรรแห่งวงศ์วานของนะบีอิบรอฮีมและเมล็ดหว่านของนะบีอิสมาอีล


จากนั้นท่านอะบูตอลิบได้อ่านอักด์นิก๊ะห์ว่า :

تَزَوَّجْتُ فاَطِمَةَ بِنْتَ أَسَد وَسَقْتُ الْمَهْرَ وَنَفَذْتُ الْأَمْرَ، فَاسْأَلُوْهُ وَاشْهَدُوْا

ฉันได้สมรสกับนางฟาติมะฮ์บุตรสาวอะซัด และได้มอบมาฮัรให้แล้วและได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว พวกท่านจงถามเขาและโปรดเป็นพยานด้วย

فَقاَلَ أَبُوْهاَ أَسَدٌ: زَوَّجْناَكَ وَرَضِيْناَ بِكَ، ثُمَّ أَطْعَمَ الناَّسَ

ฝ่ายท่านอะซัด บิดานางฟาติมะฮ์ได้กล่าวว่า  :  เราได้ทำการสมรสให้ท่านแล้ว และเราพอใจท่าน จากนั้นเขาก็เลี้ยงให้ผุ้คน


อ้างอิงจากหนังสือมะนากิบ  อาลิ อะบีตอลิบ  เล่ม  2 : 171


หลังจากนั้นสัยยิดะฮ์ ฟาติมะฮ์ บินติอะซัดได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านของท่านอะบูตอลิบ  ผู้ศรัทธาต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวบนศาสนาฮานีฟะยะฮ์ของศาสดาอิบรอฮีม

ทั้งสองมีบุตรชายและหญิงด้วยกันเรียงลำดับดังนี้

1.   ตอลิบ
2.   อะกีล
3.   ญะอ์ฟัร
4.   อาลี อะลัยฮิสลาม
5.   อุมมุ ฮานี
6.   ญุมานะฮ์


วันศุกร์ที่  13  เราะญับ  ก่อนท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)จะประกาศศาสนาอิสลามประมาณ 12 ปี
 
► อัลฮากิมกล่าวว่า  :


قال الحاكم : فقد تواترت الأخبار أن فاطمة بنت أسد ولدت أمير المؤمنين علي بن أبي طالب كرم الله وجهه في جوف الكعبة

มีรายงานหะดีษเป็นมุตะวาติรว่า  

ท่านหญิงฟาติมะฮ์ บินติอะซัดได้คลอดท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อาลี บินอะบีตอลิบที่ภายในอาคารกะอ์บะฮ์


อ้างอิงจากหนังสือ อัลมุสตัดร็อก  หะดีษที่ 6084




۩ หนังสือซุนนี่ 16 เล่มที่รายงานว่า  ท่านอิม่ามอาลีเกิดในกะอ์บะฮ์

1 ـ مروج الذهب 2 ص 2 تأليف أبي الحسن المسعودي الهذلي .
2 ـ تذكرة خواص الأمة ص 7 \\\" سبط ابن الجوزي الحنفي .
3 ـ الفصول المهمة ص 14 \\\" إبن الصباغ المالكي .
4 ـ السيرة النبوية 1 ص 150 \\\" نور الدين علي الحلبي الشافعي .
5 ـ شرح الشفا ج 1 ص 151 \\\" الشيخ علي القاري الحنفي .
6 ـ مطالب السئول ص 11 \\\" أبي سالم محمد بن طلحة الشافعي .
7 ـ محاضرة الأوائل ص 120 \\\" الشيخ علاء الدين السكتواري .
8 ـ مفتاح النجا في مناقب آل العبا \\\" ميرزا محمد البدخشي .
9 ـ ألمناقب \\\" ألامير محمد صالح الترمذي
10 ـ مدارج النبوة \\\" الشيخ عبد الحق الدهلوي .
11 ـ نزهة المجالس 2 ص 204 \\\" عبد الرحمن الصفوري الشافعي .
12 ـ آيينه تصوف ط ص 1311 \\\" شاه محمد حسن الجشتي .
13 ـ روائح المصطفى ص 10 \\\" صدر الدين أحمد البردواني .
14 ـ كتاب الحسين 1 ص 16 \\\" السيد علي جلال الدين .
15 ـ نور الأبصار ص 76 \\\" السيد محمد مؤمن الشبلنجي .
16 ـ كفاية الطالب ص 37 \\\" الشيخ حبيب الله الشنقيطي .
  •  

L-umar

15-

คืนที่ท่านนะบี(ศ)ฮิจเราะฮ์และอาลีนอนแทนที่นะบี



อัลเลาะฮ์ตะอาลาตรัสว่า

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْرِي نَفْسَهُ ابْتِغَاءَ مَرْضَاةِ اللَّهِ وَاللَّهُ رَءُوفٌ بِالْعِبَادِ

และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ที่ขายตัวของเขาเพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ์  และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงปรานีแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย      

บทที่  2 : 207




เมื่อพวกมุชริกแห่งมักกะฮ์ลงมติว่า  จะต้องลงมือสังหารท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)  อัลเลาะฮ์ตะอาลาจึงทรงรับสั่งให้รอซูลของพระองค์อพยพไปยังนครมะดีนะฮ์    ในคืนที่ท่านนะบี(ศ)อพยพ  ท่านอาลีได้เสีลสละนอนบนที่นอนของท่าน  เพื่อให้พวกมุชริกมักกะฮ์ที่หมายเอาชีวิตท่านนะบีตายใจคิดว่า  ท่านนะบียังนอนอยู่ไม่ได้ไปไหน  แต่ความจริงบุคคลที่นอนอยู่ในคืนนั้นคือท่านอาลี


Θ เชคตูซี่บันทึกว่า

عَنْ إِبْرَاهِيمَ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مَعْبَدِ (بْنِ عَبَّاسٍ عَنْ أَبِيهِ) عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ :  
باَتَ عَلِيٌّ عَلَيْهِ السَّلَام لَيْلَةَ خَرَجَ رَسُولُ الله صلى الله عليه و آله إلى المشركين على فراشه ليعمي على قريش، و فيه نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ ( وَ مِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْرِي نَفْسَهُ ابْتِغاءَ مَرْضاتِ اللَّهِ )

จากอิบรอฮีม บินอับดุลลอฮ์ บินมะอ์บัด( บุตรอับบาส จากบิดาเขาคือ) จากอิบนิอับบาสเล่าว่า

ท่านอาลีได้นอนหลับ(บนที่นอนท่านนะบี) ในคืนที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้หนีออกไปจากพวกมุชริก  เพื่ออำพรางตาต่อพวกกุเรช และได้มีโองการนี้ประทานลงมาเกี่ยวกับเขาคือ  (( และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ที่ขายตัวของเขาเพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮ์ ))

ดูหนังสือ อัลอะมาลี ตูซี่  เล่ม  1 : 287 หะดีษที่  43-451



Θ  อิม่ามอะหมัดบันทึกว่า

حَدَّثَنَا عَبْد اللَّهِ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَوَانَةَ حَدَّثَنَا أَبُو بَلْجٍ حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ مَيْمُونٍ قَالَ : إِنِّي لَجَالِسٌ إِلَى ابْنِ عَبَّاسٍ إِذْ أَتَاهُ تِسْعَةُ رَهْطٍ ...
قَالَ وَشَرَى عَلِيٌّ نَفْسَهُ لَبِسَ ثَوْبَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ نَامَ مَكَانَهُ قَالَ وَكَانَ الْمُشْرِكُونَ يَرْمُونَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

อับดุลลอฮ์(บุตรอิม่ามอะหมัด)→ยะห์ยา บินฮัมมาด→ อะบูอะวานะฮ์ → อะบูบัลญิน → อัมรู บินมัยมูนเล่าว่า   ฉันนั่งอยู่กับท่านอิบนุอับบาส ทันใดนั้นมีบุคคลเก้ากลุ่มเข้ามาพบท่าน...
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  และท่านอาลีได้ขายตัวของเขา(คือเสียสละชีวิต) เขาได้ใส่เสื้อผ้าของท่านนะบี(ศ) จากนั้นเขาได้นอนบนที่ของท่านนะบี และปรากฏว่าพวกมุชริกคิอว่าเป็นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)...

ดูมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  2903



Θ วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ


อัลฮัยษะมีวิจารณ์สะนัดหะดีษนี้ว่า

رواه أحمد والطبراني في الكبير والأوسط باختصار ورجال أحمد رجال الصحيح غير أبي بلج الفزاري وهو ثقة وفيه لين
مجمع الزوائد ومنبع الفوائد  ج 9  ص 157  ح 14696

อิม่ามอะหมัดได้รายงานหะดีษบทนี้ และท่านต็อบรอนีรายงานไว้ในหนังสือมุอ์ญัมกะบีรและมุอ์ญัมเอาซัฏโดยย่อ  และบรรดานักรายงานของอิม่ามอะหมัดคือ นักรายงานที่ซอฮิ๊ฮ์  ยกเว้นอะบีบัลญินอัลฟะรอซี เขาชื่อได้และในตัวเขานั้นอ่อนแอ
ดูมัจญ์มะอุซ ซะวาอิด  เล่ม  9 : 157 หะดีษที่ 14696

และ

رَوَىْ أَبُو عَوَانَةَ عَنْ أَبِي بَلْجٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ مَيْمُونٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ :
كَانَ عَلِيٌّ أَوَّلَ مَنْ آمَنَ بِاللهِ مِنَ الناَّسِ بَعْدَ خَدِيْجَةَ

قَالَ اِبْنُ عَبْدِ الْبَرّ : هَذَا إِسْنَادٌ لَا مَطْعَن فِيهِ لِاَحَدٍ لِصِحَّتِهِ وَثِقَةِ نَقْلَتِهِ
تهذيب التهذيب لابن حجر  ج 7  ص 294  رقم 566

อะบูอะวานะฮ์รายงาน  จากอะบูบัลญินจากอัมรูบินมัยมูน  จากท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า :

ท่านอาลีคือ บุคคลแรกที่มีความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์จากในหมู่มนุษย์ถัดจากท่านหญิงคอดียะฮ์

►อิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  :

สายรายงานของหะดีษนี้ไม่ถูกตำหนิในมันสำหรับบุคคลใดเลย เนื่องจากมันมีความถูกต้องและนักรายงานหะดีษนี้เชื่อถือได้

สถานะหะดีษ  :  ซอฮิ๊ฮ์  ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ โดยอิบนุหะญัร  เล่ม 7 : 294  อันดับที่  566



۩ อธิบาย


ถ้าท่านสังเกตให้ดีจะพบว่า  สายรายงานหะดีษทั้งสองบทนี้เป็นสายรายงานเดียวกันคือ

อะบูอะวานะฮ์ → อะบูบัลญิน → อัมรู บินมัยมูน → ท่านอิบนุอับบาส

ซึ่งท่านอิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า  : สายรายงานของหะดีษนี้ไม่ถูกตำหนิในมันสำหรับบุคคลใดเลย เนื่องจากมันมีความถูกต้องและนักรายงานหะดีษนี้เชื่อถือได้
  •  

58 ผู้มาเยือน, 1 ผู้ใช้