ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - L-umar

#16
พวกวาฮาบีเชื่ออย่างผิดๆว่า "อัลเลาะฮ์"ทรงมีลักษณะตามตำราของพวกเขาดังนี้

1.   ทรงมีหู มีตา
2.   ทรงเป็นชายหนุ่ม ยืนอยู่บนพื้นสีเขียว
3.   ทรงสวมรองเท้าทองคำ
4.   มีลูกตาสองข้าง  แต่ดัจญาลตาเข
5.   ทรงมีมือ มีเท้า มีอวัยวะร่างกาย
6.   ทรงมีเอว
7.   ทรงเดิน บางครั้งทรงวิ่ง
8.   มนุษย์สามารถมองอัลลอฮ์ด้วยตาเปล่าในโลกดุนยาได้
9.   ทรงสวมเสื้อคลุม  ใส่โต้ฟ  ทรงขี่อูฐ
10.   ทรงเป็นชายหนุ่ม ผมหยักศก
11.   ทรงมีโกรธเหมือนมนุษย์ ทรงหัวเราะในดุนยาและอาคิเราะฮ์
12.   ทรงปรากฏให้ปวงบ่าวเห็นในสภาพหัวเราะ
13.   คำพูดของพระองค์เหมือนฟ้าร้อง การหัวเราะของพระองค์เหมือนฟ้าแลบ
14.   ทรงนั่งอยู่บนอารัชจนอารัชร้องเพราะความหนักของพระองค์
15.   ทรงมีน้ำหนักมากกว่าเหล็ก
16.   ทุกวันดวงอาทิตย์จะเข้าไปอยู่ใต้อารัช
17.   ผู้แบกอารัชของพพระองค์คือสรรพสัตว์
18.   ญันนะฮ์ คือที่พำนักของอัลลอฮ์ และอารัชของพระองค์ก็อยู่ในนั้น
19.   ทรงเปิดหน้าแข้ง
20.   ทรงนั่งบนสะพาน และวางเท้าทับเท้าอีกข้างหนึ่ง
21.   ทรงวางฝ่าเท้าไปบนปากขุมนรก
22.   ทรงเสด็จลงมายังโลก ทุกคืน
23.   ทรงลงมายังโลกในคืนที่สิบห้าชะอ์บานและวันอะเราะฟะฮ์

คำถามสำหรับวาฮาบี


1.อะไรทำให้คุณยอมรับเรื่องไร้สาระเหล่านี้ และอะไรทำให้คุณต้องใส่ร้ายอัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่ามีลักษณะเช่นนี้
2.ขณะที่คุณกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงลงมายังโลก แล้วพระองค์จะทรงขึ้นไปอีกใช่ไหม
3.ตามตำราคุณกล่าวว่า พระเจ้าจะทรงลงมายังโลกทุกคืนเป็นประจำ มิทราบว่า พระองค์ทรงลงมาในเวลาไหนหรือ
4.มิทราบว่า  ความเชื่อที่คุณมีต่ออัลลอฮ์เช่นนี้ มันคือความเชื่อเดียวกันกับพวกยิวหรือปล่าว
#17
สำหรับเรื่องการเมืองการปกครอง   ผมมีจุดยืนตามหะดีษบทนี้

ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

مَنْ رَاى سُلْطاناً جائراً مُسْتَحِلاًّ لِحَرامِ اللّه ناَكِثاً عَهْدَهُ مُخاَلِفاً لِسُنَّةِ رَسُولِ اللّه يَعْمَلُ فِى عِباَدِ اللّه بِالاِ ثْمِ وَالْعُدْواَنِ فَلَمْ يُغَيِّرْ عَلَيْهِ بِفِعْلٍ
وَلاَ قَوْلٍ كاَنَ حَقّاً عَلَى اللّهِ اَنْ يُدْخِـلَهُ مَدْخَلَهُ اَلاَ
وَانَّ هؤُلاءِ قَدْ لَزَمُوا طاَعَـةَ الشَّيْطانِ


ผู้ใดพบเห็นผู้ปกครองผู้อธรรมกดขี่(ต่อประชาชน) ทำสิ่งที่อัลเลาะฮ์ต้องห้ามเป็นฮะล้าล บิดพลิ้วพันธะสัญญาของเขา ไม่ยอมปฏิบัติตามแนวทางของรอซูลลุลเลาะฮ์ ประพฤติปฏิบัติกับปวงบ่าวของอัลเลาะฮ์ด้วยบาปและความล่วงละเมิดขอบเขต

หาก(ผู้ใดพบเห็นผู้ปกครองเช่นนั้น) แล้วเขาไม่พยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขการกระทำหรือคำพูด(ของผู้ปกครองชั่วเหล่านั้น) ก็เป็นสิ่งถูกต้องแล้วสำหรับอัลเลาะฮ์ที่นำเขาเข้าสู่นรก
พึงรู้เถิดว่า บุคคลเหล่านี้(ใช้ชีวิต)ติดอยู่กับการเชื่อฟังมารร้ายชัยตอน
#18
ใจเย็นๆครับ  โปรดอ่านงานวิจัยเรื่อง  ริญาล ชีอะฮ์ ไปเรื่อยๆแล้วคุณจะเข้าใจเอง


สะฮัล บิน ซิยาด  (มีชีวิตช่วง ฮ.ศ.255)

สะฮัลผู้นี้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ถึงสามคน  ถ้าเราเปิดหนังสืออัลกาฟีของเชคกุลัยนีหรือหนังสือกามิลุตซิยารอตของเชคอิบนุกูละวัยฮ์ จะพบว่า ตำราทั้งสองเล่มได้กล่าวถึงรายงานหะดีษของสะฮัลเกิน 2300 บท อันเป็นหะดีษที่มาจากอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  งานวิจัยเกี่ยวกับสะฮัล นับว่าเป็นการเปิดมิติที่สำคัญและเป็นหัวข้อที่ดียิ่งสำหรับผู้ต้องการเข้าใจถึงทัศนะของนักปราชญ์สาขาอิลมุลริญาล ซึ่งสิ่งที่ต้องกล่าวถึงนั้นมีด้วยกัน 5 เรื่องคือ

1.นักปราชญ์ในยุคก่อนมีทัศนะว่า  สะฮัล มีสถานะ"ดออีฟ"คือไม่แข็งแรงในการรายงาน

2.วิธีปฏิบัติของสำนักคิดแห่งเมืองกุมกับนักรายงานหะดีษ

3.รายงานหะดีษที่อ้างอิงไปถึงสะฮัล บินซิยาด

4.จุดยืนของอิม่ามฮาดีย์กับกระแสคิดที่บิดเบือน

5.ทัศนะของนักปราชญ์ร่วมสมัยเกี่ยวกับสะฮัล บินซิยาด


คำวิจารณ์ของนักปราชญ์สาขาอิลมุลริญาล

อันนะญาชี ( 372 - 450 ฮ.ศ.) วิจารณ์ว่า
كان ضعيفا في الحديث، غير معتمد فيه. وكان أحمد بن محمد بن عيسى يشهد عليه بالغلو والكذب وأخرجه من قم إلى الري

สะฮัล คือนักรายงานที่ดออีฟในหะดีษ ในตัวเขาไม่เป็นที่ยึดถือ และเชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซาเคยยืนยันว่าเขาเป็นพวกฆูลาตและมุสาและยังได้ขับสะฮัลออกจากเมืองกุมไปที่เมืองเรย์
ดูริญาลนะญาชี  อันดับที่  490

เชคตูซี่(385 - 460 ฮ.ศ.)วิจารณ์ว่า
 ضعيف، له كتاب،

(สะฮัล)ดออีฟ สำหรับเขามีตำรา ดูอัลฟะฮ์ร็อส ของเชคตูซี่  อันดับที่  329
แต่เชคตูซี่กลับส่วนวิจารณ์ถึงสะฮัลในหนังสือริญาลของเขาว่า
سهل بن زياد الآدمي يكنى أبا سعيد، ثقة،
สะฮัล บินซิยาด อัลอาดะมี "เชื่อถือได้"  ดูหนังสือริญาลตูซี่ อันดับที่  5699
เป็นที่รู้ดีว่าหนังสือริญาลของตูซี่ได้เรียบเรียงขึ้นหลังจากหนังสืออัลฟะฮ์ร็อส

อัลฟัฎล์ บิน ชาซาน กล่าวว่า
هو الأحمق وكان لا يرتضيه ولا يمدحه

สะฮัล เป็นคนโง่ และอัลฟัฎล์ไม่เคยพอใจเขาและไม่เคยยกย่องเขา
ดูอิคติยารู่ มะอ์ริฟะติลริญาล โดยเชคตูซี่ อันดับที่ 1068

อิบนุเฆาะฎออิรี(มีชีวิตหลัง ฮ.ศ. 411) วิจารณ์ว่า
سَهْلُ بنُ زِياد : كانَ ضَعيفاً جِدّاً، فاسِدَ الرِوايةِ والدِينِ. وكانَ أَحْمَدُ بنُ مُحَمَّد بن عِيْسى الأشعريُّ أخْرَجَهُ من قُم،

สะฮัล บินซิยาด เป็นผู้ที่ดออีฟมาก เป็นผู้ที่เสียหายในการรายงานและศาสนา และเชคอะหมัด บินอีซาเคยขับเขาออกจากเมืองกุม   ดูริญาลอิบนุเฆาะฎออิรี อันดับที่ 11

หมายเหตุ -

สัยยิดอัลคูอี ได้วิจารณ์หนังสือริญาลของอิบนุเฆาะฎออิรีว่า
ผลสรุปจากสิ่งนั้นคือ หนังสือที่อ้างว่าเป็นของอิบนุเฆาะฎออิรีนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่นอน  ยิ่งกว่านั้นคนบางส่วนยังแน่ใจด้วยซ้ำว่า มันเป็นหนังสือที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยฝ่ายต่อต้าน(มัซฮับ)ชีอะฮ์ที่แต่งมันขึ้นมา แล้วอ้างว่ามันคือหนังสือของอิบนุเฆาะฎออิรี  

ดูหนังสือมุอ์ญัม ริญาลุลหะดีษ โดยสัยยิดอัลคูอี  เล่ม 1 หน้า 95-96  
เรื่อง อัลอุศูลุลริญาลียะฮ์



อัลลามะฮ์ ฮิลลี่(648 - 726 ฮ.ศ.) และอิบนิดาวูด(647 - 707 ฮ.ศ.)ได้นับว่าสะฮัลเป็นหนึ่งจากบรรดานักรายงานดออีฟและมัจญ์รูฮีน(ถูกตำหนิ)

สำนักคิดชาวเมืองกุม

สถาบันวิชาการแห่งเมืองกุม(อิหร่าน)นั้นนับว่าเป็นแหล่งความคิด วัฒนธรรมและวิชาการศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังเป็นศูนย์รวมความโปรดปรานของพระเจ้าอีกด้วย เพียงพอแล้วด้วยความภาคภูมิใจของเมืองนี้ที่เป็นสุสานฝังร่างของท่านหญิงฟาติมะฮ์มะอ์ซูมะฮ์ บุตรีของอิม่ามมูซา บินญะอ์ฟัร น้องสาวของอิม่ามอาลีริฎอ(อ)อีกทั้งเป็นป้าของอิม่ามญะวาด(อ)
สำนัดคิดนี้เป็นป้อมปราการอันมั่นคงของบรรดาชีอะฮ์และมีอุละมาอ์ชีอะฮ์อีกมากมายได้ลงหลักปักฐานอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ เชคอาลี บินบาบะวัยฮฺ(บิดาเชคศอดูก)ก็ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ ซึ่งอยู่ในยุคฆ็อยบะฮ์ซุฆรอ(ช่วงเวลาหายตัวระยะสั้นของอิม่ามมะฮ์ดี) ตรงกับสมัยนาอิบคอศ(ตัวแทนพิเศษ)คนที่สี่

มุลลา มุฮัมมัด ตะกีย์ อัลมัจญ์ลีซี่ที่หนึ่ง(1003 - 1070 ฮ.ศ.)เล่าว่า ในสมัยเชคอาลี บินฮูเซน บินมูซา บินบาบะวัยฮ์ (มรณะ ฮ.ศ. 329 บิดาเชคศอดูก) ปรากฏว่าที่เมืองกุมในตอนนั้นมีนักรายงานหะดีษถึงสองล้านคน ดูหนังสืออัลละวาเมี๊ยะอ์(กิตาบชะเราะห์ มันลายะห์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์) หน้า 149

สำนักคิดนี้เป็นที่รู้กันดีว่า มีความเข้มงวดอย่างมากเกี่ยวกับการถ่ายทอดรายงานหะดีษในยุคนั้น ชาวกุมมักจะขับนักรายงานหะดีษออกจากเมืองกุมด้วยสาเหตุต้องสงสัยหรือคาดเดาว่า นักรายงานคนนั้นได้รายงานหะดีษจากบรรดานักรายงานที่มัจญ์ฮู้ล(คือไม่พบประวัติ)หรือนักรายงานที่ดออีฟ(คือไม่แข็งแรง) สิ่งนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับนักรายงานมากมาย พวกเขาต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองกุม ด้วยสาเหตุถูกตั้งข้อหาว่าเป็นพวกฆูล๊าต(คลั่งใคล้ต่ออะฮ์ลุลบัต์แบบสุดโต่ง) พวกมีหลักความเชื่อในทางที่ผิด หรือคาดคะเนว่าเขาเป็นคนมุสา  หรือบรรดานักรายงานที่ถ่ายทอดหะดีษมุรซัล(สายรายงานที่ขาดตอน) อาทิ อิบนิอะบีอุมัยริน เป็นต้น  

ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนั้น ผู้ที่เข้มงวดต่อกฏเกณฑ์ในการถ่ายทอดหะดีษได้ตั้งข้อหากับสะฮัลและขับเขาออกจากเมืองกุม เพราะกลุ่มผู้เข้มงวดหะดีษ(มุตะชัดดิด)ได้กล่าวหาสะฮัลว่า ขาดความรู้และเป็นนักรายงานที่ดออีฟในการถ่ายทอดหะดีษและยึดถือหะดีษของพวกนักรายงานที่มัจญ์ฮู้ล(คือนักรายงานที่ไม่พบประวัติ)  

ณ.เวลานั้นหัวหน้าใหญ่สุดของนักรายงานแห่งเมืองกุมคือ เชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซา(มรณะ ฮ.ศ. 280 )ในช่วงฆ็อยบะฮ์ซุฆรอ ซึ่งนับว่าสะฮัลคือสาวกคนหนึ่งของสามอิม่ามคืออิม่ามริฎอ อิม่ามญะวาดและอิม่ามฮาดี(อ)  เชคอะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซาได้เนรเทศนักรายงานที่ถูกกล่าวหาเป็นพวกฆูลาตหรือพวกที่มีหลักความเชื่อที่ฟาซิด(ผิดเพี้ยน)อย่างมากมาย

รายชื่อพวกที่ถูกขับออกจากเมืองกุม
อะหมัด บินฮิลาล อัลอะบัรตาอี อัลบัฆดาดี(180 – 267 ฮ.ศ.)
อัลฮูเซน บินอุบัยดิลละฮ์ อัลกุมมี ข้อหาฆูลาต
มุฮัมมัด บินอะรูเกาะฮ์
อัลกอซิม อัลยักฏีนี
อัชชะฮ์รีย์
อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บาบา อัลกุมมี
ฟาริส บินฮาติม
อาลี บินหัสกะฮ์ อัลกอซวีนีย์

ตำรับตำราที่อ้างอิงถึงสะฮัล บินซิยาด

เชคอัลบัรกีได้นับว่า สะฮัลเป็นหนึ่งในสาวกของอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ) และอัลกัชชีกับเชคตูซี่ก็มีทัศนะเช่นเดียวกับอัลบัรกี กล่าวคือ สะฮัลได้รายงานหะดีษจากอิม่ามญะวาด อิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)และยังมีตำราบางส่วนอ้างอิงว่าเป็นของเขาอีกด้วยเช่น กิตาบอัตเตาฮีดกับกิตาบอันนะวาดิร ตำราทั้งสองเล่มนี้มีคำอธิบายเรื่องหลากหลายรวมทั้งปัญหาต่างๆที่เขาถามมันจากบรรดาอิมามทั้งสาม แล้วสะฮัลได้บันทึกคำตอบเหล่านั้นไว้ในตำราดังกล่าว แน่นอนมีบรรดาเชคแห่งเมืองกุมรับรู้เรื่องนี้ดี ดังที่เจ้าของหนังสือมันฮะญุลมะกอล หน้า 177 ได้กล่าวเอาไว้  มีใครบ้างไหมที่เคยพบในตำราทั้งสองเล่มดังกล่าวที่ระบุถึงความเชื่อที่ผิดๆหรือเรื่องโกหกหรือความฆูลาตของสะฮัล นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณต่อสถานะของเขา

จุดยืนของอิม่ามฮาดี(อ)ต่อพวกฆูลาต

อิม่ามฮาดีมีจุดยืนต่อต้านพวกฆูลาตชัดเจนและเด็ดขาดในขณะที่ท่านเผชิญหน้ากับคนกลุ่มนี้  เพราะทุกย่างก้าวของอิม่ามคือ การรักษาศาสนาให้พ้นจากพวกที่มีอะกีดะฮ์หลงผิดเหล่านี้ และปกป้องบรรดาผู้ศรัทธาให้พ้นจากความเชื่อที่ผิดๆ เช่นเดียวกันอิม่ามได้ประจานธาตุแท้ของเส้นทางหลงผิดนี้ ยิ่งกว่านั้นอิม่ามยังได้สาปแช่งคนกลุ่มนี้บางส่วนอีกด้วย และนี่คือการเคลื่อนไหวของอิม่ามและเป็นหน้าที่ของอิม่ามทุกคน ที่จะต้องทำหน้าที่ให้การอบรมจรรยามารยาทและการเมืองการปกครอง อีกทั้งเผยแพร่วิชาการและความคิดอิสลามให้กับสังคม ในขอบข่ายของแพทย์ที่เยียวยาความคิดที่ป่วยไข้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในสภาวะใดก็ตามและแม้ว่าเขาจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองเป็นญาติสนิทของอิม่ามก็ตาม

ในสมัยนั้นปรากฏคนส่วนหนึ่งที่มีแนวคิดเบี่ยงเบน ตามที่เราได้กล่าวชื่อไปแล้ว พวกเขาพยายามกระทำแผนล่อลวงอยู่ในสังคมอันบริสุทธิ์ท่ามกลางผู้คน เพื่อเป้าหมายชัดเจนและสำคัญที่สุดคือ เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนออกไปจากการเป็นผู้นำที่แท้จริงนั่นคือบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)  การปล่อยความคิดที่สร้างความสงสัยในตัวอิม่าม

ส่วนหนึ่งจากพวกฆูลาตและมุนฮะริฟคือ อาลีบินหัสกะฮ์ กอสิมอัลยักฏีนี  เมื่ออิม่ามถูกสาวกของเขาถามถึงอะกีดะฮ์ของอาลีบินหัสกะฮ์  อิม่ามตอบว่า ชายคนนี้ไม่มีสิ่งใดในศาสนาของเรา จงแยกตัวตัวออกจากเขาเสีย ดูริญาลกัชชี่ หน้า 995
มุฮัมมัดบินอีซาสาวกคนหนึ่งของอิม่ามฮาดีเล่าว่า อิม่ามอบุลฮาซันอัสการีได้เขียนจม.มาถึงฉัน ซึ่งในจม.เริ่มต้นว่า ขออัลลอฮ์ละนัตอัลกอสิมอัลยักฏีนี และขออัลลอฮ์ละนัตอาลีบินหัสกะฮ์อัลกุมมี แท้จริงชัยฏอนได้ปรากฏตัวต่ออัลกอสิมแล้วหลอกลวงเขาด้วยคำพูด
ดูริญาลกัชชี่ หน้า 518  และ 996


ทัศนะนักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอิลมุลริญาลเกี่ยวกับสะฮัล

เชควาฮีด อัลบะฮ์บะฮานี มรณะ ฮ.ศ.1208 ได้ให้เหตุผลว่า "สะฮัลเชื่อถือได้" ด้วยข้อมูลอ้างอิงดังต่อไปนี้

หนึ่ง- สะฮัลเป็นชัยคุลอิญาซะฮ์ ดังที่กล่าวไว้ในหนังสืออัลวะญีซะฮ์ ฟิลริญาลของอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี

สอง-  สะฮัลได้รายงานหะดีษไว้อย่างมากมาย

สาม-  มีนักรายงานผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนรับรายงานหะดีษจากสะฮัล โดยเชคกุลัยนี ที่บันทึกรายงานของสะฮัลไว้ในหนังสืออุซูลกาฟี

สี่- กิตาบริญาลของเชคตูซีกล่าวว่า สะฮัลเชื่อได้ หนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นหลังหนังสืออัลฟะฮ์ร็อสต์ ที่กล่าวว่าสะฮัล ดออีฟในการรายงาน นั่นหมายความว่า เชคตูซีได้เปลี่ยนทัศนะที่ว่า"สะฮัล ดออีฟ" ไปสู่ทัศนะที่ว่า "เชื่อได้"

ห้า-  คำพูดที่ฟัฎล์ บินชาซานกล่าวว่า สะฮัลโง่เขลา  ไม่ใช่หลักฐานที่จะมาใช้พิสูจน์ว่าสะอัลเชื่อไม่ได้

หก- รายงานของสะฮัลทั้งหมดล้วนรายงานมาจากอิม่ามทั้งสาม จึงเป็นหลักฐานชัดเจนว่า สะฮัลควรได้รับการยกย่อง

เจ็ด-  มีการอ้างหนังสือสองเล่มคือ อัตเตาฮีดและอันนะวาดิรว่าเป็นของสะฮัล รวมทั้งมะซาอิลต่างๆที่สะฮัลได้สอบถามจากอิมามฮาดีและอิมามฮาซันอัสการี(อ) ชาวเมืองกุมกล่าวถึงมัน ซึ่งในหนังสือนั้น ไม่มีสิ่งที่ไม่ดีงามที่บ่งบอกว่า เกิดความอ่อนแอในการรายงานหรือมีความฆูลาตในอะกีดะฮ์  ดูกิตาบมันฮัจญ์ อัลมะกอล หน้า 177

แปด-  คำพูดของเชคนะญาชี ยังถือว่าไม่มีความชัดเจนที่จะนำมาตำหนิสะฮัล แต่เขาได้ตำหนิในหะดีษของสะฮัลและยืนยันว่ายึดถือไม่ได้ ดูริญาลนะญาชี อันดับ 490

เก้า- คำพูดของนักปราชญ์สาขาริญาลที่ระบุว่า "สะฮัล-ดออีฟ" ก็ไม่ได้หมายความว่า ปรากฏความฟาซิกหรือมีอะกีดะฮ์ที่เบี่ยงเบนของสะฮัล
อัลลามะฮ์ อับดุลฮูเซน  อัชชะบัสตะรี ได้ให้ทัศนะว่า สะฮัลเชื่อได้ ดูกิตาบ อันนูรุลฮาดี อิลาอัศฮาบิลอิมามศอดิก(อ)

อัลลามะฮ์อันนูรีได้อธิบายอย่างยืดยาวถึงสะฮัลว่าเชื่อถือได้ และยังลบล้างคำพูดของทุกคนที่วิจารณ์ว่าสะฮัล ดออีฟ  ดูกิตาบมุสตัดรอก อัลวะซาอิล เล่ม 3 หน้า 666 และ 673
หลังจากที่เราได้นำเสนอทัศนะต่างๆของอุละมาอ์ที่เชี่ยวชาญสาขาอิลมุลริญาลไปแล้ว  และเราได้รู้แล้วว่าสะฮัล บินซิยาดได้ถูกวิจารณ์ในเชิงลบว่า เป็นพวกฆูลาต  มีอะกีดะฮ์ฟะซ๊าด และอะห์มัก(โง่เขลา)และเรื่องอื่นๆที่ทำให้เชคแห่งเมืองกุมนามว่า อะหมัด บินมุฮัมมัดบินอีซา อัลอัชอะรี(มรณะณ ฮ.ศ.280)ไม่พอใจสะฮัลและขับเขาออกจากเมืองกุม จากเรื่องราวที่เราติดตามค้นคว้ามาตลอด เราจะแสดงผลสรุปอย่างชัดเจนให้ท่านได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับสะฮัลดังต่อไปนี้

เรื่องที่หนึ่ง  - นับว่าสะฮัลบินซิยาดคือ มุหัดดิษชีอะฮ์คนหนึ่ง  รายงานหะดีษของเขาอยู่ในตำราหะดีษชีอะฮ์อย่างมากมายเกินกว่า 2299 บท ที่รวมอยู่ในสายรายงานหะดีษทั้งในหนังสืออุซูลกาฟีของเชคกุลัยนีหรือในหนังสือกามิลุตซิยารอตของเชคอิบนิกูละวัยฮ์

เรื่องที่สอง -
มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างคำว่า  สะฮัลดออีฟในการรายงาน กับคำว่า สะฮัลมีอะกีดะฮ์ที่ฟาซิด

เรื่องที่สาม  -
สมมุตเรายอมรับว่า สะฮัลคือคนโง่ แล้วความโง่นี้ส่งผลทำให้สะฮัลเชื่อไม่ได้กระนั้นหรือ ฉะนั้นการเรียกสะฮัลว่าคนโง่ก็ไม่ได้หมายความว่าสะฮัลคือผู้ดออีฟในการรายงาน หรือรายงานหะดีษจากบรรดาคนที่ไม่มีตัวตน(มัจญ์ฮูล)หรือจากคนที่มีอะกีดะฮ์ฟาซิด ยิ่งกว่านั้นคงไม่มีสมองของคนใดเข้าใจว่าคนโง่คือคนฟาซิก

เรื่องที่สี่ -
ดังที่เรารู้กันดีว่า  มัดรอซะฮ์ของชาวกุม แค่ตั้งสมมุติฐานว่า ชายคนหนึ่งเป็นพวกฆูลาต  หรือรายงานหะดีษจากพวกมัจญ์ฮูลหรือจากนักรายงานหะดีษชนิดมุรซัล ชาวกุมก็จะขับเขาออกจากสำนักของพวกเขาทันที ชาวกุมได้ทำผิดพลาดในเรื่องนี้หลายครั้งหลายหนโดยที่พวกเขาได้ขับนักรายงานหะดีษที่เชื่อถือได้ออกไป แม้กระทั่งนักรายงานที่เชื่อถือได้อย่าง อิบนิอะบีอุมัยริน และนักรายงานคนอื่นๆ
จึงพอประมาณการณ์ได้ว่า การอ้างว่าสะฮัลมีหลักความเชื่อที่ฟาซิด(ใช้ไม่ได้)นั้นมาจากคำยืนยันของเชคอะหมัด บินอีซาที่ตำหนิว่าสะฮัลเป็นพวกฆูลาต
สำหรับการตอบโต้ในเรื่องนี้เพียงพอแล้วในสิ่งที่บอกเล่าถึงการกระทำของเชคอะหมัดในหนังสืออัต-ตะอ์ลีเกาะฮ์ที่รายงานมาจากปู่ของเขา ได้เล่าว่า

وإن أحمد بن محمد بن عيسى أخرج جماعة من قم لروايتهم عن الضعفاء وإيرادهم المراسيل في كتبهم وكان اجتهادا منه، ولكن كان رئيس (قم) والناس مع المشهورين إلا من عصمه الله
كتاب الفوائد الرجالية   للسيد بحر العلوم   ج 3 ص 21

เห็นได้ชัดว่า มันเป็นความผิดพลาดของเชคอะหมัดเอง

ولكن كان رئيس (قم) والناس مع المشهورين إلا من عصمه الله تعالي
كتاب الفوائد الرجالية   للسيد بحر العلوم   ج 3 ص 21

เราได้กล่าวถึงรายชื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกฆูลาตไปแต่ต้นแล้ว ซึ่งในนั้นไม่มีชื่อสะฮัลบินซิยาดรวมอยู่ด้วย เหมือนที่กล่าวถึงอัลยักฏีนีและคนอื่นๆ

เรื่องที่ห้า  -
หนังสือของสะฮัลสองเล่มที่ชื่อ อัตเตาฮีดและอันนะวาดิร เนื้อหาในหนังสือทั้งสองนั้นมิได้กล่าวถึงสิ่งใดที่ระบุถึงความฆูลาตของเขา และตำราทั้งสองนี้ได้กล่าวถึงคำถามต่างๆที่สะฮัลได้ไตร่ถามมันจากอิม่ามฮาดีและอิม่ามฮาซันอัสการี ซึ่งบรรดาเชคได้กล่าวอ้างอิงถึงมัน โดยเฉพาะเชคแห่งเมืองกุมส่วนหนึ่ง ซึ่งในนั้นไม่มีสิ่งใดเลยที่บ่งบอกว่ามีความอ่อนแอในการรายงานหรือมีความฆูลาตในหลักความเชื่อ ดูหนังสือมันฮัจญ์อัลมะกอล หน้า 177

เรื่องที่หก  -
เชคตูซี่ได้ให้ทัศนะว่า"สะฮัลเชื่อถือ"ไว้ได้ในหนังสือริญาลของเขา ซึ่งหนังสือริญาลเล่มนี้เชคตูซี่ได้เรียบเรียงขึ้นหลังหนังสืออัลฟะฮ์ร็อสต์ของเขา แสดงว่า เชคตูซีได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับสะฮัล ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนทัศนะที่ว่า"ไม่น่าเชื่อถือ" ไปสู่ทัศนะที่ว่า "สะฮัลนั้นเชื่อถือได้"

เรื่องที่เจ็ด  -
อัลลามะฮ์ อัลมามกอนี (1290 – 1351 ฮ.ศ.) กล่าวว่า นักปราชญ์ชีอะฮ์รวมทั้งอาจารย์ของพวกเราส่วนหนึ่งได้รับรายงานหะดีษจากสะฮัล อาทิเช่น เชคศอดูกและเชคอิบนุกูละวัยฮ์ และที่ชัดเจนนั้นสะฮัลยังเป็นอาจารย์คนหนึ่งของเชคกุลัยนี ซึ่งอัลกุลัยนีได้รายงานหะดีษโดยตรงจากเขาไว้มากมายประมาณ 1,300 บท จะพบว่าในอุศูลกาฟี ใน"กิตาบ อัด-ดิยาต" ทั้งหมดเป็นรายงานที่มาจากสะฮัล บินซิยาดทั้งสิ้น เราจะเห็นสายรายงานเหล่านั้นระบุคำนิยามว่า " อิดดะตุม มินอัศฮาบินา อัน สะฮัล บินซิยาด  แปลว่า นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งของพวกเราได้รายงานจากสะฮัล บินซิยาด ซึ่งบรรดานักรายงานที่ได้รับการยกย่องกลุ่มนี้คือ

1, มุฮัมมัด บินญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด บินเอานิน อัลอะซะดี
2, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศศ็อฟฟาร
3, อาลี บินมุฮัมมัด บินอะบาน อัลรอซี อัลกุลัยนี
4, มุฮัมมัด บินอะกีลิน  อัลกุลัยนี
5, สะฮัล บินซิยาด

บทสรุป - จากที่อธิบายผ่านมาเป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า  ลักษณะต่างๆที่กล่าวหาสถานะของสะฮัลนั้นหาได้มีรากฐานที่มาของความถูกต้องและให้ความเป็นธรรมเลยสำหรับเขา
 
#19
بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلًا مِنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الْأَقْصَى الَّذِي بَارَكْـنَا حَـوْلَهُ لِنُرِيَهُ مِنْ آَيـاتِنَا إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

มหาบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัลฮะรอมไปยังมัสยิดอัลอักซอ  ซึ่งเราได้ทำให้บริเวณรอบมันมีความจำเริญ  เพื่อเราจะให้เขาเห็นบางอย่างจากสัญญาณต่างๆของเรา  แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินผู้ทรงเห็น

(อัลอิสรอ : 1)


ซูเราะฮ์นี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปาฏิหารย์การเดินทางในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์แห่งการให้เกียรติของพระเจ้าแก่ท่านศาสดาคนสุดท้าย และเป็นสัญลักษณ์อันชัดแจ้งที่บ่งถึงอานุภาพของอัลลอฮ์ ในการให้มีขึ้นซึ่งสิ่งมหัศจรรย์  เพราะในสมัยก่อนระยะเวลาเดินทางโดยกองคาราวานจะใช้เวลาถึง 40 วัน ( มักกะฮ์อยู่ห่างจากอัลกุดส์ราว 1,230 ก.ม.)

มัสยิดอัลอักซอ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกเช่น บัยตุลมักดิสหรือมุก็อดดัส,มัสยิดกิบละฮ์และมัสยิดศ็อคเราะฮ์  มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันเนื้อที่ของประเทศนี้โดยส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพวกยิว


อิมามกล่าวโคมัยนีกล่าวว่า

วันอัลกุดส์ คือวันแห่งอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันซึ่งอิสลามต้องได้รับการฟื้นฟู และเราคือผู้ฟื้นฟูอิสลาม เราคือผู้นำกฎหมายอิสลามมาปฏิบัติในประเทศอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันแห่งการประกาศต่อหน้าบรรดาอภิมหาอำนาจทั้งหลายว่า อิสลามจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจของพวกเขาอีกต่อไป อิสลามจะไม่ให้ความร่วมมือกับผู้อธรรมบนหน้าแผ่นดินอีกต่อไป
#20
2006 - รัฐบาลฮามาส

ความเป็นปฎิปักษ์ และการกวาดล้างนักรบฮามาส ทั้งจากอิสราเอล และองค์การบริหารปาเลสไตน์ของนายอับบาสดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และกดดันฮามาสอย่างหนัก จนในที่สุดฮามาสต้องยอมเข้าสู่การเมืองโดยผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งถูกจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2006 ผลปรากฎว่ากลุ่มฮามาสได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น อิสราเอลและสหรัฐพยายามอย่างหนักที่จะแทรกแซงผลการเลือกตั้ง โดยกีดกันฮามาสไม่ให้เข้าสู่อำนาจ

สหรัฐและอิสราเอล กดดันประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาสอย่างหนัก แต่ในที่สุด ทั้งอับบาสและสหรัฐก็ไม่อาจยับยั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ของฮามาสได้ อิสมาอีล ฮานียะห์ ผู้นำฮามาสขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปาเลสไตน์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง  

ปมความขัดแย้งระหว่างฮามาส ที่มีอำนาจรัฐและประชาชนหนุนหลัง กับ PA. และฟาตาห์ที่นำโดยประธานาธิบดีอับบาส ที่สหรัฐและอิสราเอลให้การยอมรับ และสนับสนุน กลายเป็นปมปัญหาที่ทวีความร้อนระอุขึ้นอย่างช้าๆและรุนแรงขึ้น ไม่นานหลังการจัดตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์โดยฮามาส PA. ก็เริ่มช่วงชิงและแทรกแซงอำนาจบริหารจัดการในเขตฉนวนกาซ่า ซึ่งฮามาสมีอิทธิพลมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง PA. ของอับบาสทำหน้าที่เป็นฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เกิดการใช้อำนาจทับซ้อนกัน

ในที่สุดก็นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฮามาส กับเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงขององค์การบริหารปาเลสไตน์ ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2006


2007 คว่ำฮามาส
การปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างฮามาสกับกองกำลังของอับบาส เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฮามาสเข้ายึดที่ทำการและวิลล่าส่วนตัวของนายอารอฟัต และนายอับบาส  เปิดเผยให้เห็นความร่ำรวยผิดปกติของบรรดาผู้นำ PLO. ฮามาสปลดคนของอับบาส แต่งตั้งคนของฮามาสเข้าไปทำหน้าที่แทน จนมาถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2006 สหรัฐและอิสราเอลกดดันให้ นายอับบาสใช้อำนาจประธานาธิบดีมีคำสั่งปลดนายอิสมาอีล ฮานียะฮ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ฮานียะฮ์ไม่ยอมรับอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ด้วยเหตุนี้ทำให้ ปาเลสไตน์ถูกแบ่งแยกเป็นสองขั้ว คือขั้วของ PA. ที่มีนายอับบาสเป็นผู้นำในฐานะประธานาธิบดี รับรองโดยสหรัฐ อิสราเอล และชาติตะวันตก มีอำนาจเต็มในเวสต์แบ็งค์ แต่ไม่มีอำนาจบริหารที่แท้จริงในฉนวนกาซ่า  อีกขั้วหนึ่งคือรัฐบาลฮามาส ที่มีชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าสนับสนุน และถือว่ายังเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มทั่วประเทศปาเลสไตน์ แต่อำนาจที่แท้จริงมีเฉพาะในเขตฉนวนกาซ่า ทั้ง PA. และฟาตาห์ของอับบาส และอิสราเอล หันมาร่วมมือกันปราบปรามฮามาสอย่างรุนแรงหมายใจจะกำจัดฮามาสให้สิ้นสภาพ หมดอำนาจไปจากกาซ่าให้ได้  ในที่สุดเอฮุด โอลเมิร์ต จากพรรคคาดีม่า นายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่มารับหน้าที่ต่อจากชารอน เนื่องจากปัญหาสุขภาพ ตกลงทำข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส ครั้งแรกข้อตกลงถูกละเมิด และได้มีการตกลงหยุดยิงกันอีกหนึ่งครั้งซึ่งหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008

2008-2009 - สงครามแห่งความขมขื่น
รัฐบาลผสมคาดีม่าและพรรคกรรมกร ของเอฮุด โอลเมิร์ต กำลังประสบปัญหา ตัวเอฮุด โอลเมิร์ตเองถูกสอบสวนในข้อหาคอรัปชั่น และหลีกเลี่ยงภาษี  พรรคกรรมกรพยายามกดดันให้โอลเมิร์ตลาออก เพื่อนายเอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหมจะขี้นดำรงตำแหน่งแทน  อิสราเอลต้องการแก้ปัญหาภายใน ก่อนที่ข้อตกลงหยุดยิง จะหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008  แต่ฮามาสปฏิเสธ อิสราเอลบีบให้ฮามาสเจรจายืดระยะเวลาหยุดยิงออกไปโดยการปิดล้อมฉนวนกาซ่า จนขาดแคลนอาหารและพลังงานแต่ไม่สำเร็จ เมื่อข้อตกลงหยุดยิงหมดวาระลง ฮามาสระดมยิงจรวดเข้าใส่อิราเอลอย่างหนัก เอฮุด บารัค ฉวยโอกาสเสนอแผนการโจมตีฮามาส และเมืองต่างๆในฉนวนกาซ่า โดยไม่เลือกเป้าหมาย กลายเป็นอาชกรรมที่โหดร้ายที่สุดในรอบ 60 ปี ด้วยความปรารถนาที่จะทำลายล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์อย่างถอนรากถอนโคน นายเอฮุด บารัค เรียกแผนนี้ว่า  The War of Bitter End หรือสงครามเพื่อยุติความเจ็บปวด โดยลงมือปฎิบัติการทางอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2008 มาจนถึงปัจจุบัน
#21
2002 - กลับเวสต์แบ็งค์

องค์การบริหารรัฐปาเลสไตน์ หรือ PA. ได้รับมอบอำนาจบริหารเพียง 2 ปี กองกำลังอิสราเอลในยุคเอเรียล ชารอน ก็ยาตราทัพกลับเข้ายึดครองดินแดนที่ส่งมอบในสมัยนายกฯยิซฮาก ราบินการกระทำเช่นนี้ ถือว่าชารอนฉีกข้อตกลงออสโลว์ทิ้งอย่างเป็นทางการ  อิสราเอลปิดล้อมเมืองลามัลลอฮ์ ที่ตั้งสำนักงาน PA. และทำเนียบของนายยัสเซอร์ อารอฟัต สหรัฐรีบฉวยโอกาสยื่นข้อเสนอให้ PA. ปลดยัสเซอร์ อารอฟัตจากผู้นำ PA. เพื่อเตรียมการสู่แผนสันติภาพฉบับใหม่ ที่บุชเรียกว่า Road Map (แผนที่รับรองว่าอิสราเอลจะไม่เสียผลประโยชน์เหมือนฉบับออสโลว์ของคลินตัน) เชื่อกันว่าชารอนมีคำสั่งลับให้ลอบสังหารยัสเซอร์ อารอฟัต

2003 - โรดแมพเปื้อนเลือด
เดือนพฤษภาคม รัฐสภาอิสราเอลให้สัตยาบรรณรับรองแผนสันติภาพ Road Map ของจอร์จ ดับเบิลยู บุช  การประชุมจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2003 ที่เมืองอะกอบา ประเทศจอร์แดน นายกรัฐมนตรีมะห์มูด อับบาส รับหน้าที่เจรจาแทนอารอฟัต อับบาสถูกกดดันให้ยอมรับหลักการว่า "การจับอาวุธขึ้นต่อต้านอิสราเอลจะต้องยุติลง กลุ่มติดอาวุธต้องถูกกำจัด" เพื่อแลกกับการที่ชารอน จะมีแถลงการณ์สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นเคียงคู่กับรัฐอิสราเอลอย่างสันติ ฮามาสประนามว่า PLO. และฟาตาห์ ว่าเป็นผู้ทรยศ เพราะจุดยืนของฮามาส คือ ปาเลสไตน์ต้องเป็นของมุสลิม และต้องต่อสู้จนกว่าจะขับไล่ยิวออกไปจากแผ่นดินมุสลิม  

แผนสันติภาพ Road Map ระบุว่า อิสราเอลจะถอนตัวจากฉนวนกาซ่า และเมืองเบธเลเฮม PA. ของอับบาส ต้องควบคุมมิให้กลุ่มต่อต้านปาเลสไตน์โจมตีอิสราเอลอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่า PA. ต้องกำจัดกลุ่มต่อต้านยิวนอกกฎหมายทุกกลุ่มอย่างสิ้นซาก เท่ากับว่าสหรัฐและอิสราเอล ยืมมือชาวปาเลสไตน์ฆ่าปาเลสไตน์ด้วยกันนั่นเอง หากอับบาสจัดการไม่ได้ อิสราเอลก็ถือเป็นเหตุยกเลิกข้อตกลง นายอับบาสจึงตกที่นั่งลำบาก ที่ต้องคอยควบคุม มิให้เกิดการโจมตีอิสราเอล  ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

เดือนสิงหาคม 2003 การปฎิบัติการโจมตีอิสราเอลก็เริ่มขึ้น อิสราเอลถือโอกาสใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ในที่สุดนายอับบาส ถูกกดดันให้ต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี  อารอฟัตแต่งตั้งให้ นายอะห์เหม็ด ฆูรีย์ มือขวาคนสนิทมาทำหน้าที่แทนอับบาส ขณะที่อิสราเอล ยังคงเดินหน้าสร้างกำแพงปิดล้อมเขตเวสต์แบ็งค์ โดยไม่สนใจการประณามจากนานาชาติ  

เดือนธันวาคม ปี 2003 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลภายใต้การนำของนายเอเรียล ชารอน มีมติคณะรัฐมนตรีเนรเทศนายอารอฟัต ให้ออกจากดินแดนปาเลสไตน์ และส่งเฮลิคอปเตอร์ยิงจรวดถล่มบ้านพักนายอารอฟัตทั้งในกาซ่าซิตี้ และเมืองลามัลลอฮ์ เค้ารางความล้มเหลวของแผนสันติภาพ Road Map เริ่มปรากฎให้เห็น เด่นชัดขึ้นท่ามกลางกองเลือดและความทุกข์ยากของชาวปาเลสไตน์ต่อไป

2004 - ลาแล้วอารอฟัต
ขณะที่อารอฟัต ถูกโดดเดี่ยวจากสหรัฐ และอิสราเอล อิสราเอลใช้กำลังทางอากาศโจมตีที่หมายในกาซ่า อย่างรุนแรงโหดเหี้ยม และหมายเลขหนึ่งที่อิสราเอลมุ่งปลิดชีวิตด้วยวิธีอันเหี้ยมโหดนี้ ก็คือ ผู้นำและผู้ก่อตั้งฮามาส นั่นคือเช็คอะห์หมัด ยาซีน เดือนต่อมา เมษายน 2004 ผู้นำระดับสูงหมายเลข 2 ของฮามาส อับดุลอะซีซ อัล-รอฏีซี ก็ถูกสังหารโดยวิธีการเดียวกัน

เมษายน 2004 นายชารอน อ้างเหตุประกาศยกเลิกแผนการถอนนิคมชาวยิวจำนวน 8,000 แห่ง รวมทั้งยกเลิกการถอนทหารออกจากเขตฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเขตเวสต์แบ็งค์  แผนการ Road Map ของนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช พังทลายไม่เป็นท่า เหตุผลเพราะชารอนกังวล การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่กำลังจะมาถึง

ช่วงเวลาเดียวกันข่าวสำคัญอีกข่าวหนึ่งก็ดึงดูดความสนใจโลกไปทั้งหมด นั่นคือข่าวอาการป่วยของนายยัสเซอร์อารอฟัต ผู้นำตลอดกาลของ PLO. ข่าวอารอฟัตล้มป่วยแพร่สะพัดไปไม่นาน เขาถูกนำส่งฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลทหารแห่งหนึ่งชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายอารอฟัตมีอาการป่วยหนักโดยไม่ระบุรายละเอียด และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2004 นายอารอฟัตก็ถึงแก่อสัญกรรม แพทย์ระบุว่าติดเชื้อในกระแสโลหิต ข่าวการจากไปของนายอารอฟัตสร้างความผิดหวังและเศร้าเสียใจโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์ที่สนับสนุน PLO. นายอารอฟัต จากโลกนี้ไป โดยที่ยังไม่ทันได้ยินเสียงเพลงชาติปาเลสไตน์ และไม่มีโอกาสได้เห็นธงชาติปาเลสไตน์ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา

คนที่มาแทนอารอฟัต ก็คือ นายมะห์มูด อับบาส อดีตนายกรัฐมนตรี PA. เมื่อ ปี 2002 สถานภาพใหม่ของนายอับบาส คราวนี้ ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำสูงสุดของ PLO. และ พรรคฟาตาห์เท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นประธานาบดีของรัฐปาเลสไตน์อีกด้วย แม้ว่าชาวปาเลสไตน์ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในฉนวนกาซ่าจะไม่เคยยอมรับก็ตาม

2005 - ออกจากกาซ่า
มกราคม ปี 2005 มะห์มูด อับบาส ชนะการเลือกตั้ง เข้าดำรงตำแหน่งประธานองค์การบริหารปาเลสไตน์ - PA. หรือ Palestinian Authority มีฐานะเป็นประธานาธิบดีของรัฐปาเลสไตน์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ท่ามกลางความคาดหวังว่านายอับบาส จะนำพาปาเลสไตน์ไปสู่ความฝันในการเป็นรัฐปาเลสไตน์ได้สำเร็จ แต่ภาระกิจผู้นำปาเลสไตน์ กลายเป็นต้นเหตุที่นำความแตกแยกมาสู่ชาวปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดและส่งผลกระทบมาจนกระทั่งวันนี้  นายมะห์มูด อับบาส ได้รับความช่วยเหลือจากอิสราเอล และสหรัฐ ติดอาวุธให้ตำรวจรัฐบาล PA. เพื่อจัดการกับกลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซ่า โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อไล่ล่านักรบฮามาส กลุ่มเครือข่ายอิสลามิก ญิฮาด และอัล-ก็อตซาม และยุติปฏิบัติการโจมตีอิสราเอล การปราบปรามกันเองของปาเลสไตน์ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจปาเลสไตน์ของนายอับบาส กับนักรบฮามาส รุนแรง และสูญเสียมากขึ้น  

อับบาสกลายเป็นเด็กดีของ อิสราเอลและสหรัฐ ทำให้อิสราเอลตกลงร่วมกันกับ PA. ประกาศหยุดยิง ในการประชุมสุดยอด จัดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ ทั้งนี้เพื่อเตรียมการกลับสู่แผนสันติภาพ Road Map อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูกระบวนการถอนที่ตั้งนิคมชาวยิว 8,000 แห่ง และถอนกำลังทหารอิสราเอลออกจากกาซ่า อย่างเป็นรูปธรรม สถานภาพของกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลายเป็น "กลุ่มติดอาวุธผิดกฎหมาย" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ PA. ของนายอับบาสต้องกำจัด  สหรัฐ อิสราเอล และอียิปต์ ร่วมกันฝึกกองกำลัง PA. ของอับบาส เพื่อปฏิบัติการกวาดล้างฮามาสและพันธมิตรนอกจากนั้น PA. และเจ้าหน้าที่ฟาตาห์ของอับบาส ยังมีส่วนร่วมในการจับกุมตัวและการลอบสังหารผู้นำกลุ่มต่างๆ อีกด้วย  
#22
1996-99 - วายร้ายเนธันยาฮู

ชิมมอน เปเรช ทำหน้าที่แทนยิซชาก ราบิน ในระยะเวลาสั้นๆที่เหลืออยู่ ท่ามกลางบรรยากาศสิ้นหวังและไฟสงครามที่เริ่มก่อตัวขึ้นเงียบๆอีกครั้งหนึ่ง การปลุกระดมแนวคิดว่านายกฯราบินทำให้ยิวพ่ายแพ้ยังก้องกังวานอยู่ทั่วไป ส่งผลให้พรรคลิคุตกลับสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งเมื่อ 29 พฤษภาคม เบนญามีน เนธันยาฮู จัดตั้งรัฐบาลผสมขวาจัด ลิคุตชนะเลือกตั้งด้วยการรณรงค์ว่าถ้าเลือกลิคุต ลิคุตจะล้มแผนออสโลว์ของราบิน เมื่อเนธันยาฮู เข้าสู่อำนาจ เขาไม่แยแสและเพิกเฉยต่อข้อตกลงออสโลว์ แต่ที่สุดก็ทนแรงกดดันจากสหรัฐไม่ได้ (เพราะการเพิกเฉยทำให้สหรัฐเสียหน้า) ต้องยอมปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเสียไม่ได้  ส่งผลให้รัฐบาลผสมขวาจัดคว่ำลง เนธันยาฮูยุบสภาจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในเดือนมกราคม ปี 1999 พรรคกรรมกรกลับมาชนะได้ โดยมีเอฮุด บารัค (รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน 2007) เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความคาดหวังว่าบารัค จะสานต่อสันติภาพที่ยิซชาก ราบินทำไว้

2000 - สู้ด้วยก้อนหิน ครั้งที่ 2
แผนสันติภาพออสโลว์ที่เจอทางตันในยุคของเนธันยาฮู ไม่อาจเดินหน้าได้ในยุคของเอฮุด บารัค อย่างที่คาดหมาย บารัคนอกจากไม่เดินหน้าแล้ว ยังใส่เกียร์ถอยหลัง เพราะความขี้ขลาดเขาหันไปให้ความสนใจเจรจากับซีเรียมากกว่า ท่ามกลางแรงกดดันและความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิสราเอล เอเรียล ชารอน ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุต แทนนายเนธันยาฮูเพื่อเตรียมทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลปีกซ้ายอันอ่อนแอของนายเอฮุด บารัค ในวันที่ 28 กันยายน ปี 2000 นายชารอนไปที่มัสยิดอัล-อักศอ ทำให้ชาวปาเลสไตน์โกรธและพากันลุกฮือขึ้นเดินขบวนทั่วประเทศพร้อมกัน ถือเป็นการอินฎิฟาเฎาะ ครั้งที่ 2 ทหารอิสราเอลปราบปรามประชาชนปาเลสไตน์อย่างรุนแรง ภาพข่าวที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเผยแพร่ไปทั่วโลกเป็นภาพของพ่อลูก มูฮัมมัด อัล-ดุรฺรอห์  ที่แม้จะร้องขอชีวิตแต่ก็ถูกทหารอิสราเอลล้อมยิงอย่างเหี้ยมโหดจนเสียชีวิต

2001 - เอเรียล ชารอน นายกฯกระหายเลือด
เหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 2 ทำให้รัฐบาลผสมพรรคกรรมกรของบารัคคว่ำไม่เป็นท่า เอฮุด บารัค ลาออก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2000  การเลือกตั้งครั้งใหม่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2001 เอเรียล ชารอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหมมือเปื้อนเลือดจากการสังหารโหดล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยในเลบานอนเมื่อ ปี 1982  หวนกลับมาครองเข้าสู่บัลลังก์เลือดพ้องกับสหรัฐที่ได้ผู้นำคนใหม่ที่ชื่อจอร์จ ดับเบิลยู บุช
#23
1991 - ฝันสลายที่แมดริด

รัฐบาลนำโดยนายชามีร์ ปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองอย่างไร้มนุษยธรรม และทารุณ การตรวจตราประชาชนที่ผ่านเข้าออกด่านต่างๆเป็นไปอย่างเข้มงวด ประชาชนถูกตรวจตรา ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มต่อต้านหรือผู้ให้การช่วยเหลือรวมทั้งครอบครัวถูกจับสอบสวนด้วยการทรมานและถูกสังหารโดยไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย โลกไม่เคยให้ความสนใจ ทุกครั้งที่อิสราเอลปฎิบัติการทางทหารที่ป่าเถือน สหรัฐจะใช้สิทธิ์สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาติวีโต้ยับยั้งการประณามการกระทำของอิสราเอลทุกครั้ง  ในปี 1991 อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ต้องการสร้างผลงานด้านสันติภาพ จึงเสนอแนวคิดการเจรจาครั้งใหม่ ที่แมดริด ประเทศสเปน แต่ชามีร์ปฏิเสธที่จะเจรจากับอารอฟัต จึงเป็นการประชุมโดยไม่มีอารอฟัต ที่สุดการประชุมก็ล้มเหลว

1993 - ฝีมือคลินตัน
อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจมากมาย แต่ยังขาดผลงานที่ประธานาธิบดีสหรัฐทุกคนต้องมี ไม่ว่ามันจะเป็นของจริงหรือสิ่งลวงตาลวงโลกก็ตาม นั่นก็คือผลงานการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง คราวนี้บรรยากาศดีกว่าสองปีก่อนในจังหวะที่อิสราเอลเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพรรคกรรมกรนิยมซ้าย นายกรัฐมนตรียิสซาก ราบิน มีจุดยืนและท่าทีที่รอมชอมกว่านายกฯจากพรรคลิคุต ในที่สุดคลินตันก็ทำให้มีภาพอารอฟัตจับมือกับราบิน ที่สนามหญ้าหน้าทำเนียบขาว และเป็นภาพข่าวไปทั่วโลกได้ ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1993 ข้อตกลงนี้เรียกว่า แผนสันติภาพออสโลว์

1994 - ยิวเดือด
แผนสันติภาพออสโลว์ ในปี 1993 มีผลเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 1994 หลักการ ก็คือ ตั้งรัฐปาเลสไตน์ โดยอิสราเอลต้องถอนทหารและนิคมชาวยิวออกจากฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสต์แบ็งค์ ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดและยกดินแดนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้ การบริหารของ PA. องค์กรบริหารรัฐปาเลสไตน์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ชาวปาเลสไตน์ พากันออกมาเดินขบวนเฉลิมฉลองยินดีกับผลงานอารอฟัต ชาวยิวส่วนมากกลับไม่พอใจ และมองว่า แผนสันติภาพออสโลว์ทำให้อิสราเอลเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะชาวยิวในนิคมที่ต้องย้ายออก ต่อต้านอย่างหนัก PLO. แปลงโฉมเป็นองค์กรบริหารกิจการปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian Authority มีฐานะเทียบเท่ารัฐบาลรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเตรียมรับดินแดนคืนมาใต้อธิปไตยของปาเลสไตน์

1995 - สังหารราบิน สันติภาพโบยบิน
PA. รับมอบอำนาจบริหารฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสแบ็งค์ ปีแรกท่ามกลางการต่อต้านในอิสราเอล รัฐบาลราบิน เริ่มสั่นคลอน แต่ราบินไม่หวั่นไหว เดินหน้าสู่สันติภาพต่อไป วันที่ 24 กันยายน PA. กับอิสราเอลบรรลุข้อตกลงเพิ่มเติม เรียกว่า แผนออสโลว์ ฉบับที่ 2 โดยข้อตกลงนี้แบ่งเขตเวสแบ็งค์เป็นสามโซน โซน A ส่วนใหญ่เป็นเมืองของชาวปาเลสไตน์ ประกอบด้วย เฮบรอน และเยรูซาเล็มตะวันออก ยกให้ PA. บริหารทั้งหมด โซน B เป็นพื้นที่บริหารร่วมกัน PA. กับอิสราเอล และโซน C ให้อิสราเอลครอบครองต่อไป ข้อตกลงฉบับนี้เองที่นำความตายมาสู่นายยิซฮากราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนื่องจากชาวยิวขวาจัดถือว่าสัญญาฉบับนี้หมายถึง "ยิว-ยอมแพ้" ราบิน ถูกลอบสังหารโดยฝีมือชาวยิวขวาจัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1995  
#24
1977 - ยิวขวาจัด

ยิวไซออนิสต์ตั้งพรรคแนวขวาจัดที่มีจุดยืนแข็งกร้าว และมีนโยบายครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมดเป็นรัฐยิว พรรคการเมืองนี้ก็คือพรรคเฮรุต หรือลิคุต นั่นเอง พรรคลิคุตที่มีจุดยืนแข็งกร้าว ครองอำนาจในอิสราเอลมากที่สุดยาวนานและมีอิทธิพลในการกำหนดชะตากรรมของปาเลสไตน์มากที่สุด ผลผลิตอัปยศของพรรคลิคุตก็คือ นายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดอย่างเช่น นายเบนญามีน เอธันยาฮู นายยิตชัก ชาร์มี และนายเอเรียล ชารอน

1979 - อียิปต์-เหยื่อสันติภาพ
หากคำว่าสันติภาพ หมายถึง "กับดัก" เหยื่อรายแรกที่ติดกับดักนี้ก็คือ อียิปต์ เมื่อประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต กลายเป็นผู้นำอาหรับคนแรกที่จับมือกับนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล โดยการจัดการของอดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์  สิ่งที่อียิปต์ได้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสันติภาพ คือได้คาบสมุทรไซนายคืนมา และเงินช่วยเหลือในรูปของความร่วมมือทางการทหารจากสหรัฐทุกปี จำนวนมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากที่ตุรกี เคยได้รับ ผลก็คือซาดัดผู้ทรยศถูกชาติอาหรับคว่ำบาตร อิสราเอลและสหรัฐใช้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยซื้อ ซาดัด เพื่อตัดกำลังฝ่ายอาหรับขณะเดียวกันก็เป็นการลดอิทธิพลโซเวียตที่ครอบงำอียิปต์มาตั้งแต่ยุคของอดีตประธานาธิบดีกามาล อับดุล นัสเซอร์ แต่รางวัลของผู้ทรยศ คือความตาย ซาดัด ถูกสังหารเสียชีวิต ในปี 1981

1982 - ยิวกระหายเลือด
นายเอเรียล ชารอน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ส่งทหารเข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ทางตอนใต้ของเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน โดยอ้างว่าต้องการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธฟาตาห์ และ PLO. นับเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เมื่อกองทัพอิสราเอลร่วมมือกับพรรคคริสเตียนฟาลังกิสต์ฝ่ายขวาของเลบานอน ปิดล้อมและสังหารชาวปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยอย่างทารุณเหี้ยมโหด อารอฟัตตัดสินใจย้ายศูนย์บัญชาการของ PLO. ไปยังตูนีเซีย

1987 - สู้ด้วยก้อนอิฐครั้งที่ 1
ในปี 1987 ประชาชนชาวปาเลสไตน์  ทั้งเด็ก สตรี คนหนุ่มคนสาว แม้แต่คนชรา  ในฉนวนกาซ่า และเวสแบ็งค์  ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงอิสราเอลพร้อมกันทั่วประเทศ คนทั้งโลกได้เห็นภาพการต่อสู้ของคนมือเปล่าที่มี   เพียงก้อนอิฐก้อนหินขว้างใส่รถถังของศัตรูผู้รุกราน ชาวอาหรับเรียกการลุกฮือพร้อมกันนี้ว่า อินฎิฟาเฎาะฮ์ แปลว่า การดิ้นให้หลุด เหตุการณ์นี้อิสราเอลใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงเฉียบขาดไร้ความปรานี ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารอย่างทารุณมากกว่า 1,000 คน

1988 - PLO เปิดประตูรับโจร
แรงกดดันและความสูญเสียจากเหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 1 ผลักดันให้ PLO. ต้องหาทางกลับสู่การเจรจาอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลพลัดถิ่นปาเลสไตน์เปิดการประชุมในอัลจีเรีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1988 และมีมติให้ยอมรับมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ 181 และ 242 คือ ยอมรับแผนการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ ออกเป็นสองส่วน คือรัฐยิวและรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการเปิดประตูไปสู่การเจรจา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายอาหรับยอมรับมติที่มีมาตั้งแต่ ปี 1947 และ 1967  รวมทั้งมีมติให้เปิดทางเจรจากับอิสราเอล เพื่อปฎิบัติให้เป็นไปตามมติที่ 338 ปี 1967 สหรัฐได้จังหวะรีบเข้ามาเป็นคนกลาง(ที่ค่อนไปทางยิว) ขณะที่ นายยิตชัก ชามีร์ จากพรรค  ลิคุตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล
#25
1964 - กำเนิด PLO.

สหรัฐและตะวันตกรับรองรัฐยิวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายอาหรับรวมตัวกันไม่ติดเพราะต่างก็เพิ่งได้รับเอกราชเป็นประเทศเกิดใหม่เกือบทั้งหมด ชาวปาเลสไตน์ไม่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการและไม่มีใครรับรองให้ปาเลสไตน์เป็นรัฐตามกฎหมาย อาหรับช่วยกันจัดตั้งองค์กรขึ้นต่อสู้ทางการเมืองเรียกว่า The Palestinian Liberation Organization หรือ PLO. และแต่งตั้งให้นายยัสเซอร์ อารอฟัต หัวหน้าขบวนการอัล-ฟาตาห์ เป็นประธานและ เป็นตัวแทนชาวปาเลสไตน์ทั้งมวล แต่สหรัฐและอิสราเอลไม่ยอมรับ กลับถือว่า PLO. เป็นองค์กรผิดกฎหมาย

1967 - สงคราม 6 วัน
สงครามระหว่างชาติพันธมิตรอาหรับ กับอิสราเอลที่หนุนหลังโดยอังกฤษและสหรัฐ ก็ระเบิดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน ปี 1967 และสิ้นสุดลงในวันที่ 11 มิถุนายน เป็นเวลา 6  วัน เรียกสงครามนี้ว่า "สงคราม 6 วัน" เป็น 6 วันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของมุสลิมทั้งโลก เนื่องจากยิวได้ยึดเยรูซาเล็มไว้ได้ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน พ่ายแพ้อย่างยับเยิน จอร์แดนเสียเวสต์แบ็งค์ อียิปต์เสียฉนวนกาซ่าให้แก่ยิว สหประชาชาติเรียกประชุมเพื่อออกมติด่วนยุติสงคราม
พฤศจิกายน 22, 1967  มติ 242 ความอัปยศบนเศษกระดาษ  
คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ มีมติด่วนที่ 242 โดยมีสาระสำคัญได้แก่ คำสั่งให้ยิวถอนตัวออกจากดินแดนที่ยึดครองได้ในระหว่างสงคราม 6 วันทันที ห้ามมิให้อิสราเอลผนวกดินแดนใดๆเพิ่มจากที่เคยมีมติเมื่อ ปี 1947 แต่มติที่ 242 นี้ ได้กลายเป็นเศษกระดาษที่ไร้ค่า อิสราเอลเพิกเฉย และยึดครองเวสต์แบ็งค์ ฉนวนกาซ่า เยรูซาเล็ม รวมทั้งที่ราบสูงโกลานของซีเรีย

1973 - สงครามโยมคิปปูร์
อาหรับเมื่อสูญเสียดินแดนไปในสงคราม 6 วัน และสหประชาติไม่มีอำนาจบังคับให้อิสราเอลคืนดินแดนให้ตามมติที่ 242 บรรดาพันธมิตรอาหรับจึงเตรียมทำสงครามอีกครั้งหนึ่ง ส่วนขบวนการฟาตาห์ของนายยัสเซอร์ อารอฟัตเริ่มใช้การรบแบบจรยุทธ์ลอบโจมตีที่มั่นทางทหารของอิสราเอล แต่เมื่อสงครามระเบิดขึ้น อียิปต์ซึ่งเปิดแนวรบเพื่อช่วงชิงฉนวนกาซ่าคืน กลับต้องสูญเสียคาบสมุมรไซนายทั้งหมดให้แก่อิสราเอล สหประชาติมีมติที่ 338 ให้หยุดยิง และเช่นเคยอิสราเอลผนวกดินแดนที่ยึดได้ไปโดยไม่สนใจต่อสิ่งใด

1974 - อารอฟัตในเวทีโลก
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 PLO. และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านอิสราเอล ทำสงตรามนอกรูปแบบกับอิสราเอลอย่างหนัก และในทุกสนามรบ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์ฤดูร้อน ที่เมืองมิวนิก เยอรมันตะวันตก ในปี 1972 นักรบ PLO. จับตัวนักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกัน ในปี 1974 ยัสเซอร์ อารอฟัต ก็ได้ไปปรากฎตัวบนเวทีสหประชาชาติ เขากล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาติ ประนามแผนการของยิวไซออนิสต์และคำกล่าวของเขาได้กลายเป็นวลีอมตะในเวลาต่อมา เขากล่าวว่า "Today I have come bearing an Olive branch and a Freedom fighter's Gun. Do not let the Olive Branch fall from my hand"  ในปีต่อมา PLO. ได้รับการยอมรับในการร่วมเจรจาปัญหาในฐานะตัวแทนชาวปาเลสไตน์
#26
ประมวลเหตุการณ์ยิวยึดปาเลสไตน์

1917 - ปล้นเงียบ


สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง อาณาจักรออตโตมานผู้แพ้สงครามล่มสลาย ปาเลสไตน์ตกเป็นของอังกฤษ ยิวในยุโรปเรียกว่าองค์กรไซออนิสต์ มุ่งก่อตั้งรัฐยิวโดยใช้เงิน,อำนาจและเส้นสายทางการเมือง จัดการให้อังกฤษยกปาเลสไตน์ให้แก่ยิวอย่างถูกกฎหมาย ลอร์ดบัลฟอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เขียนคำประกาศรับรองให้ยิวตั้งรัฐอิสระในดินแดนมุสลิม โดยไม่เคยถามเจ้าของแผ่นดินชาวมุสลิม คำประกาศนี้เรียกว่า คำประกาศบัลฟอร์ หรือ  "The Balfour Declaration"

1929-36 - อาหรับเพิ่งตื่น

อังกฤษจัดการให้ยิวอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์อย่างเงียบๆ แค่สองปีมีคนยิวเข้าปาเลสไตน์ถึง 750,000 คน อังกฤษออกเอกสารสิทธิ์บนที่ดินให้ยิวอพยพ เมื่อใดที่ยิวทะเลาะกับอาหรับ ตำรวจอังกฤษจะเข้าข้างยิว คนอาหรับปาเลสไตน์เริ่มไม่พอใจ นำไปสู่การปะทะกันตำรวจอังกฤษยิงชาวปาเลสไตน์ตายไปถึง 110 คน ความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น ยิวตั้งกองกำลังทหารบ้านโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ความรุนแรงแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดทุกหนทุกแห่งจึงเต็มไปด้วยการโจมตีกัน ชาวปาเลสไตน์เริ่มรู้สึกถึงอันตรายที่กำลังคืบเข้ามาใกล้ตัวในบ้านของพวกเขาเองอย่างช้าๆ
1947 มติสหประชาชาติ-ปล้นแผ่นดินรอบสอง
อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่สหประชาชาติ ในปี 1947 ปัญหาก็คือ "อังกฤษมีสิทธิ์อะไร ที่เอาดินแดนของมุสลิมไปยกให้ยิว" สหประชาชาติตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหา สุดท้ายก็เสนอแบ่งประเทศเป็นสองส่วน 56.47 % เป็นของมุสลิม อีก 43.53 % เป็นของยิว อาหรับปฏิเสธแผนคดโกงปล้นชาตินี้ทันที แต่ยิวรีบตกลง อังกฤษหนีปัญหา ประกาศว่าจะถอนจากปาเลสไตน์ 15 พฤษภาคม อาหรับเตรียมทำสงครามแย่งดินแดนคืน

1948 - วันแห่งความ "หายนะ"

ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐและอังกฤษ วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 (63ปีที่แล้ว)ไซออนิสต์ประกาศตั้งรัฐอิสราเอล ทันทีที่อังกฤษถอนตัวออกไป ยิวอ้างอธิปไตยเหนือปาเลสไตน์ทันที  อาหรับเรียกวันชาติของยิวว่า "อัล-นักบา" แปลว่าวันแห่งความพินาศฉิบหาย ทหารบ้านเถื่อนของยิวกลุ่มอิรกุนและเลฮี ติดอาวุธโดยจากชาติมหาอำนาจตะวันตกและเปลี่ยนเป็นทหารเต็มรูปแบบ ทหารยิวเริ่มสังหารอาหรับทุกคนที่ลุกขึ้นเรียกร้องขัดขวาง และใช้กำลังขับไสชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านของตัวเอง ทหารยิวปล้นและยึดบ้าน-ที่ดิน และทรัพย์สินชาวอาหรับ ขณะที่อียิปต์ฉวยโอกาสผนวกฉนวนกาซ่าเป็นของอียิปต์ ส่วนจอร์แดนผนวกเยรูซาเล็ม และเวสต์แบ็งค์เป็นของจอร์แดน
#27
หรือคุณ  กล้า ปฏิเสธคำพูดของ ญะอ์ฟัร ศอดิก  ลูกหลานคนหนึ่งของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)  ???
#28
เพราะฉะนั้น  สิ่งที่อิมามศอดิก บอกกล่าว  จึงมิได้มาจากตัวของเขาเอง  แต่สิ่งนั้นล้วนได้รับการถ่ายทอดจากบิดาเขา จากปู่ของเขา จากปู่ทวดของเขา สืบไปจนถึงท่านนบี(ศ)ซึ่งทุกคนล้วนเป้นอะฮ์ลุบัยต์ของท่านนบี(ศ)ที่สั่งเสียให้เราเชื่อและปฏิบัติตาม


อีกประการหนึ่งคือ  

อิมามศอดิก เกิดที่นครมะดีนะฮ์ ในปี ฮ.ศ.83 และเขาเสีชีวิต ฮ.ศ. 148  

ฉะนั้นถ้าจะว่าไป  เขาคือ คนที่อยู่ในยุค  150 ปีแรกหลังจากท่านนบี(ศ)วะฟาต ซึ่งเป็นยุคของ\\\" ตาบิอีน และ ตาบิ๊อ์ ตาบิอีน \\\"
หากคุณจะกล่าวปฏิเสธคำพูดของเขาในทางศาสนา ทั้งนด้านความเชื่อและการปฏิบัติ  


เราขอถามว่า  ทำไม  ตำราตัฟซีรฝ่ายซุนนะฮ์ มากมายหลายเล่ม  ได้นำคำพูดของบรรดาคนรุ่นตาบิอีน  และตาบิ๊อ์ ตาบิอีน  มาใช้อ้างอิงในการ อธิบายความหมายของคัมภีร์อัลกุรอาน
ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว คำพูดของอิมามศอดิก นั้นยังมีน้ำหนักมากกว่าคำพูดของบุคคลเหล่านั้นเสียอีก

เพราะอิมามศอดิก คือ อะฮ์ลุลบัยต์ นะบี(ศ) คนหนึ่ง ที่ท่านนะบี(ศ)สั่งให้คุณและเราต้องปฏิบัติตามดังหะดีษษะกอลัยน์ที่กล่าวผ่านมาแล้ว    
#29
ตัวของอิมามศอดิก ยังระบุว่า  เขาคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)คนหนึ่งด้วย

เช่นหะดีษบทนี้ได้รายงานว่า


อิม่ามศอดิก(อ)เล่าจากบิดาและปู่ทวดของเขาว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า

إِنِّي قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ الثَّقَلَيْنِ كِتَابَ اللَّهِ وَ أَهْلَ بَيْتِي فَنَحْنُ أَهْلُ بَيْتِهِ

แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่งคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน ดังนั้นพวกเราคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน

ดูบะซออิรุดดะเราะญ๊าต โดยอัศศ็อฟฟ้าร  หน้า 424  สายรายงานหะดีษซอฮิ๊ฮ์
#30
สายรายงานหะดีษของอิมามศอดิก ยังมีมาจากทางซอฮาบะฮ์บางคนเช่นตำราฝ่ายซุนนะฮ์บันทึกไว้ดังนี้


ญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด รายงานจากบิดาเขา จากท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์เล่าว่า  :

ฉันได้เห็นรอซูลุลลอฮ์(ศ)ในการบำเพ็ญฮัจญ์ของเขาในวันอะเราะฟะฮ์ ซึ่งเขาอยู่บนหลังอูฐกำลังปราศรัย แล้วฉันได้ยินท่านกล่าวว่า  โอ้ประชาชนทั้งหลาย
إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى
แท้จริงฉัน ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะตีคืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูซอฮิ๊ฮ์ติรมีซี ( 209- 279  ฮ.ศ.) หะดีษ 2978    
ตรวจทานโดยเชคอัลบานี ( 1333 - 1420 ฮ.ศ.)