Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 04:22:08 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 71
  • Online ever: 75
  • (มีนาคม 28, 2024, 11:51:59 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 51
Total: 51

ประมวลเหตุการณ์ ยิว ยึด ปาเลสไตน์

เริ่มโดย L-umar, สิงหาคม 26, 2011, 05:05:48 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ประมวลเหตุการณ์ยิวยึดปาเลสไตน์

1917 - ปล้นเงียบ


สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง อาณาจักรออตโตมานผู้แพ้สงครามล่มสลาย ปาเลสไตน์ตกเป็นของอังกฤษ ยิวในยุโรปเรียกว่าองค์กรไซออนิสต์ มุ่งก่อตั้งรัฐยิวโดยใช้เงิน,อำนาจและเส้นสายทางการเมือง จัดการให้อังกฤษยกปาเลสไตน์ให้แก่ยิวอย่างถูกกฎหมาย ลอร์ดบัลฟอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เขียนคำประกาศรับรองให้ยิวตั้งรัฐอิสระในดินแดนมุสลิม โดยไม่เคยถามเจ้าของแผ่นดินชาวมุสลิม คำประกาศนี้เรียกว่า คำประกาศบัลฟอร์ หรือ  "The Balfour Declaration"

1929-36 - อาหรับเพิ่งตื่น

อังกฤษจัดการให้ยิวอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์อย่างเงียบๆ แค่สองปีมีคนยิวเข้าปาเลสไตน์ถึง 750,000 คน อังกฤษออกเอกสารสิทธิ์บนที่ดินให้ยิวอพยพ เมื่อใดที่ยิวทะเลาะกับอาหรับ ตำรวจอังกฤษจะเข้าข้างยิว คนอาหรับปาเลสไตน์เริ่มไม่พอใจ นำไปสู่การปะทะกันตำรวจอังกฤษยิงชาวปาเลสไตน์ตายไปถึง 110 คน ความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น ยิวตั้งกองกำลังทหารบ้านโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ความรุนแรงแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดทุกหนทุกแห่งจึงเต็มไปด้วยการโจมตีกัน ชาวปาเลสไตน์เริ่มรู้สึกถึงอันตรายที่กำลังคืบเข้ามาใกล้ตัวในบ้านของพวกเขาเองอย่างช้าๆ
1947 มติสหประชาชาติ-ปล้นแผ่นดินรอบสอง
อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่สหประชาชาติ ในปี 1947 ปัญหาก็คือ "อังกฤษมีสิทธิ์อะไร ที่เอาดินแดนของมุสลิมไปยกให้ยิว" สหประชาชาติตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหา สุดท้ายก็เสนอแบ่งประเทศเป็นสองส่วน 56.47 % เป็นของมุสลิม อีก 43.53 % เป็นของยิว อาหรับปฏิเสธแผนคดโกงปล้นชาตินี้ทันที แต่ยิวรีบตกลง อังกฤษหนีปัญหา ประกาศว่าจะถอนจากปาเลสไตน์ 15 พฤษภาคม อาหรับเตรียมทำสงครามแย่งดินแดนคืน

1948 - วันแห่งความ "หายนะ"

ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐและอังกฤษ วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 (63ปีที่แล้ว)ไซออนิสต์ประกาศตั้งรัฐอิสราเอล ทันทีที่อังกฤษถอนตัวออกไป ยิวอ้างอธิปไตยเหนือปาเลสไตน์ทันที  อาหรับเรียกวันชาติของยิวว่า "อัล-นักบา" แปลว่าวันแห่งความพินาศฉิบหาย ทหารบ้านเถื่อนของยิวกลุ่มอิรกุนและเลฮี ติดอาวุธโดยจากชาติมหาอำนาจตะวันตกและเปลี่ยนเป็นทหารเต็มรูปแบบ ทหารยิวเริ่มสังหารอาหรับทุกคนที่ลุกขึ้นเรียกร้องขัดขวาง และใช้กำลังขับไสชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านของตัวเอง ทหารยิวปล้นและยึดบ้าน-ที่ดิน และทรัพย์สินชาวอาหรับ ขณะที่อียิปต์ฉวยโอกาสผนวกฉนวนกาซ่าเป็นของอียิปต์ ส่วนจอร์แดนผนวกเยรูซาเล็ม และเวสต์แบ็งค์เป็นของจอร์แดน
  •  

L-umar

1964 - กำเนิด PLO.

สหรัฐและตะวันตกรับรองรัฐยิวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายอาหรับรวมตัวกันไม่ติดเพราะต่างก็เพิ่งได้รับเอกราชเป็นประเทศเกิดใหม่เกือบทั้งหมด ชาวปาเลสไตน์ไม่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการและไม่มีใครรับรองให้ปาเลสไตน์เป็นรัฐตามกฎหมาย อาหรับช่วยกันจัดตั้งองค์กรขึ้นต่อสู้ทางการเมืองเรียกว่า The Palestinian Liberation Organization หรือ PLO. และแต่งตั้งให้นายยัสเซอร์ อารอฟัต หัวหน้าขบวนการอัล-ฟาตาห์ เป็นประธานและ เป็นตัวแทนชาวปาเลสไตน์ทั้งมวล แต่สหรัฐและอิสราเอลไม่ยอมรับ กลับถือว่า PLO. เป็นองค์กรผิดกฎหมาย

1967 - สงคราม 6 วัน
สงครามระหว่างชาติพันธมิตรอาหรับ กับอิสราเอลที่หนุนหลังโดยอังกฤษและสหรัฐ ก็ระเบิดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน ปี 1967 และสิ้นสุดลงในวันที่ 11 มิถุนายน เป็นเวลา 6  วัน เรียกสงครามนี้ว่า "สงคราม 6 วัน" เป็น 6 วันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของมุสลิมทั้งโลก เนื่องจากยิวได้ยึดเยรูซาเล็มไว้ได้ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน พ่ายแพ้อย่างยับเยิน จอร์แดนเสียเวสต์แบ็งค์ อียิปต์เสียฉนวนกาซ่าให้แก่ยิว สหประชาชาติเรียกประชุมเพื่อออกมติด่วนยุติสงคราม
พฤศจิกายน 22, 1967  มติ 242 ความอัปยศบนเศษกระดาษ  
คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ มีมติด่วนที่ 242 โดยมีสาระสำคัญได้แก่ คำสั่งให้ยิวถอนตัวออกจากดินแดนที่ยึดครองได้ในระหว่างสงคราม 6 วันทันที ห้ามมิให้อิสราเอลผนวกดินแดนใดๆเพิ่มจากที่เคยมีมติเมื่อ ปี 1947 แต่มติที่ 242 นี้ ได้กลายเป็นเศษกระดาษที่ไร้ค่า อิสราเอลเพิกเฉย และยึดครองเวสต์แบ็งค์ ฉนวนกาซ่า เยรูซาเล็ม รวมทั้งที่ราบสูงโกลานของซีเรีย

1973 - สงครามโยมคิปปูร์
อาหรับเมื่อสูญเสียดินแดนไปในสงคราม 6 วัน และสหประชาติไม่มีอำนาจบังคับให้อิสราเอลคืนดินแดนให้ตามมติที่ 242 บรรดาพันธมิตรอาหรับจึงเตรียมทำสงครามอีกครั้งหนึ่ง ส่วนขบวนการฟาตาห์ของนายยัสเซอร์ อารอฟัตเริ่มใช้การรบแบบจรยุทธ์ลอบโจมตีที่มั่นทางทหารของอิสราเอล แต่เมื่อสงครามระเบิดขึ้น อียิปต์ซึ่งเปิดแนวรบเพื่อช่วงชิงฉนวนกาซ่าคืน กลับต้องสูญเสียคาบสมุมรไซนายทั้งหมดให้แก่อิสราเอล สหประชาติมีมติที่ 338 ให้หยุดยิง และเช่นเคยอิสราเอลผนวกดินแดนที่ยึดได้ไปโดยไม่สนใจต่อสิ่งใด

1974 - อารอฟัตในเวทีโลก
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 PLO. และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านอิสราเอล ทำสงตรามนอกรูปแบบกับอิสราเอลอย่างหนัก และในทุกสนามรบ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์ฤดูร้อน ที่เมืองมิวนิก เยอรมันตะวันตก ในปี 1972 นักรบ PLO. จับตัวนักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกัน ในปี 1974 ยัสเซอร์ อารอฟัต ก็ได้ไปปรากฎตัวบนเวทีสหประชาชาติ เขากล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาติ ประนามแผนการของยิวไซออนิสต์และคำกล่าวของเขาได้กลายเป็นวลีอมตะในเวลาต่อมา เขากล่าวว่า "Today I have come bearing an Olive branch and a Freedom fighter's Gun. Do not let the Olive Branch fall from my hand"  ในปีต่อมา PLO. ได้รับการยอมรับในการร่วมเจรจาปัญหาในฐานะตัวแทนชาวปาเลสไตน์
  •  

L-umar

1977 - ยิวขวาจัด

ยิวไซออนิสต์ตั้งพรรคแนวขวาจัดที่มีจุดยืนแข็งกร้าว และมีนโยบายครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมดเป็นรัฐยิว พรรคการเมืองนี้ก็คือพรรคเฮรุต หรือลิคุต นั่นเอง พรรคลิคุตที่มีจุดยืนแข็งกร้าว ครองอำนาจในอิสราเอลมากที่สุดยาวนานและมีอิทธิพลในการกำหนดชะตากรรมของปาเลสไตน์มากที่สุด ผลผลิตอัปยศของพรรคลิคุตก็คือ นายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดอย่างเช่น นายเบนญามีน เอธันยาฮู นายยิตชัก ชาร์มี และนายเอเรียล ชารอน

1979 - อียิปต์-เหยื่อสันติภาพ
หากคำว่าสันติภาพ หมายถึง "กับดัก" เหยื่อรายแรกที่ติดกับดักนี้ก็คือ อียิปต์ เมื่อประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต กลายเป็นผู้นำอาหรับคนแรกที่จับมือกับนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล โดยการจัดการของอดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์  สิ่งที่อียิปต์ได้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสันติภาพ คือได้คาบสมุทรไซนายคืนมา และเงินช่วยเหลือในรูปของความร่วมมือทางการทหารจากสหรัฐทุกปี จำนวนมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากที่ตุรกี เคยได้รับ ผลก็คือซาดัดผู้ทรยศถูกชาติอาหรับคว่ำบาตร อิสราเอลและสหรัฐใช้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยซื้อ ซาดัด เพื่อตัดกำลังฝ่ายอาหรับขณะเดียวกันก็เป็นการลดอิทธิพลโซเวียตที่ครอบงำอียิปต์มาตั้งแต่ยุคของอดีตประธานาธิบดีกามาล อับดุล นัสเซอร์ แต่รางวัลของผู้ทรยศ คือความตาย ซาดัด ถูกสังหารเสียชีวิต ในปี 1981

1982 - ยิวกระหายเลือด
นายเอเรียล ชารอน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ส่งทหารเข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ทางตอนใต้ของเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน โดยอ้างว่าต้องการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธฟาตาห์ และ PLO. นับเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เมื่อกองทัพอิสราเอลร่วมมือกับพรรคคริสเตียนฟาลังกิสต์ฝ่ายขวาของเลบานอน ปิดล้อมและสังหารชาวปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยอย่างทารุณเหี้ยมโหด อารอฟัตตัดสินใจย้ายศูนย์บัญชาการของ PLO. ไปยังตูนีเซีย

1987 - สู้ด้วยก้อนอิฐครั้งที่ 1
ในปี 1987 ประชาชนชาวปาเลสไตน์  ทั้งเด็ก สตรี คนหนุ่มคนสาว แม้แต่คนชรา  ในฉนวนกาซ่า และเวสแบ็งค์  ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงอิสราเอลพร้อมกันทั่วประเทศ คนทั้งโลกได้เห็นภาพการต่อสู้ของคนมือเปล่าที่มี   เพียงก้อนอิฐก้อนหินขว้างใส่รถถังของศัตรูผู้รุกราน ชาวอาหรับเรียกการลุกฮือพร้อมกันนี้ว่า อินฎิฟาเฎาะฮ์ แปลว่า การดิ้นให้หลุด เหตุการณ์นี้อิสราเอลใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงเฉียบขาดไร้ความปรานี ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารอย่างทารุณมากกว่า 1,000 คน

1988 - PLO เปิดประตูรับโจร
แรงกดดันและความสูญเสียจากเหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 1 ผลักดันให้ PLO. ต้องหาทางกลับสู่การเจรจาอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลพลัดถิ่นปาเลสไตน์เปิดการประชุมในอัลจีเรีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1988 และมีมติให้ยอมรับมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ 181 และ 242 คือ ยอมรับแผนการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ ออกเป็นสองส่วน คือรัฐยิวและรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการเปิดประตูไปสู่การเจรจา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายอาหรับยอมรับมติที่มีมาตั้งแต่ ปี 1947 และ 1967  รวมทั้งมีมติให้เปิดทางเจรจากับอิสราเอล เพื่อปฎิบัติให้เป็นไปตามมติที่ 338 ปี 1967 สหรัฐได้จังหวะรีบเข้ามาเป็นคนกลาง(ที่ค่อนไปทางยิว) ขณะที่ นายยิตชัก ชามีร์ จากพรรค  ลิคุตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล
  •  

L-umar

1991 - ฝันสลายที่แมดริด

รัฐบาลนำโดยนายชามีร์ ปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองอย่างไร้มนุษยธรรม และทารุณ การตรวจตราประชาชนที่ผ่านเข้าออกด่านต่างๆเป็นไปอย่างเข้มงวด ประชาชนถูกตรวจตรา ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มต่อต้านหรือผู้ให้การช่วยเหลือรวมทั้งครอบครัวถูกจับสอบสวนด้วยการทรมานและถูกสังหารโดยไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย โลกไม่เคยให้ความสนใจ ทุกครั้งที่อิสราเอลปฎิบัติการทางทหารที่ป่าเถือน สหรัฐจะใช้สิทธิ์สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาติวีโต้ยับยั้งการประณามการกระทำของอิสราเอลทุกครั้ง  ในปี 1991 อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ต้องการสร้างผลงานด้านสันติภาพ จึงเสนอแนวคิดการเจรจาครั้งใหม่ ที่แมดริด ประเทศสเปน แต่ชามีร์ปฏิเสธที่จะเจรจากับอารอฟัต จึงเป็นการประชุมโดยไม่มีอารอฟัต ที่สุดการประชุมก็ล้มเหลว

1993 - ฝีมือคลินตัน
อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจมากมาย แต่ยังขาดผลงานที่ประธานาธิบดีสหรัฐทุกคนต้องมี ไม่ว่ามันจะเป็นของจริงหรือสิ่งลวงตาลวงโลกก็ตาม นั่นก็คือผลงานการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง คราวนี้บรรยากาศดีกว่าสองปีก่อนในจังหวะที่อิสราเอลเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพรรคกรรมกรนิยมซ้าย นายกรัฐมนตรียิสซาก ราบิน มีจุดยืนและท่าทีที่รอมชอมกว่านายกฯจากพรรคลิคุต ในที่สุดคลินตันก็ทำให้มีภาพอารอฟัตจับมือกับราบิน ที่สนามหญ้าหน้าทำเนียบขาว และเป็นภาพข่าวไปทั่วโลกได้ ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1993 ข้อตกลงนี้เรียกว่า แผนสันติภาพออสโลว์

1994 - ยิวเดือด
แผนสันติภาพออสโลว์ ในปี 1993 มีผลเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 1994 หลักการ ก็คือ ตั้งรัฐปาเลสไตน์ โดยอิสราเอลต้องถอนทหารและนิคมชาวยิวออกจากฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสต์แบ็งค์ ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดและยกดินแดนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้ การบริหารของ PA. องค์กรบริหารรัฐปาเลสไตน์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ชาวปาเลสไตน์ พากันออกมาเดินขบวนเฉลิมฉลองยินดีกับผลงานอารอฟัต ชาวยิวส่วนมากกลับไม่พอใจ และมองว่า แผนสันติภาพออสโลว์ทำให้อิสราเอลเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะชาวยิวในนิคมที่ต้องย้ายออก ต่อต้านอย่างหนัก PLO. แปลงโฉมเป็นองค์กรบริหารกิจการปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian Authority มีฐานะเทียบเท่ารัฐบาลรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเตรียมรับดินแดนคืนมาใต้อธิปไตยของปาเลสไตน์

1995 - สังหารราบิน สันติภาพโบยบิน
PA. รับมอบอำนาจบริหารฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสแบ็งค์ ปีแรกท่ามกลางการต่อต้านในอิสราเอล รัฐบาลราบิน เริ่มสั่นคลอน แต่ราบินไม่หวั่นไหว เดินหน้าสู่สันติภาพต่อไป วันที่ 24 กันยายน PA. กับอิสราเอลบรรลุข้อตกลงเพิ่มเติม เรียกว่า แผนออสโลว์ ฉบับที่ 2 โดยข้อตกลงนี้แบ่งเขตเวสแบ็งค์เป็นสามโซน โซน A ส่วนใหญ่เป็นเมืองของชาวปาเลสไตน์ ประกอบด้วย เฮบรอน และเยรูซาเล็มตะวันออก ยกให้ PA. บริหารทั้งหมด โซน B เป็นพื้นที่บริหารร่วมกัน PA. กับอิสราเอล และโซน C ให้อิสราเอลครอบครองต่อไป ข้อตกลงฉบับนี้เองที่นำความตายมาสู่นายยิซฮากราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนื่องจากชาวยิวขวาจัดถือว่าสัญญาฉบับนี้หมายถึง "ยิว-ยอมแพ้" ราบิน ถูกลอบสังหารโดยฝีมือชาวยิวขวาจัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1995  
  •  

L-umar

1996-99 - วายร้ายเนธันยาฮู

ชิมมอน เปเรช ทำหน้าที่แทนยิซชาก ราบิน ในระยะเวลาสั้นๆที่เหลืออยู่ ท่ามกลางบรรยากาศสิ้นหวังและไฟสงครามที่เริ่มก่อตัวขึ้นเงียบๆอีกครั้งหนึ่ง การปลุกระดมแนวคิดว่านายกฯราบินทำให้ยิวพ่ายแพ้ยังก้องกังวานอยู่ทั่วไป ส่งผลให้พรรคลิคุตกลับสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งเมื่อ 29 พฤษภาคม เบนญามีน เนธันยาฮู จัดตั้งรัฐบาลผสมขวาจัด ลิคุตชนะเลือกตั้งด้วยการรณรงค์ว่าถ้าเลือกลิคุต ลิคุตจะล้มแผนออสโลว์ของราบิน เมื่อเนธันยาฮู เข้าสู่อำนาจ เขาไม่แยแสและเพิกเฉยต่อข้อตกลงออสโลว์ แต่ที่สุดก็ทนแรงกดดันจากสหรัฐไม่ได้ (เพราะการเพิกเฉยทำให้สหรัฐเสียหน้า) ต้องยอมปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเสียไม่ได้  ส่งผลให้รัฐบาลผสมขวาจัดคว่ำลง เนธันยาฮูยุบสภาจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในเดือนมกราคม ปี 1999 พรรคกรรมกรกลับมาชนะได้ โดยมีเอฮุด บารัค (รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน 2007) เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความคาดหวังว่าบารัค จะสานต่อสันติภาพที่ยิซชาก ราบินทำไว้

2000 - สู้ด้วยก้อนหิน ครั้งที่ 2
แผนสันติภาพออสโลว์ที่เจอทางตันในยุคของเนธันยาฮู ไม่อาจเดินหน้าได้ในยุคของเอฮุด บารัค อย่างที่คาดหมาย บารัคนอกจากไม่เดินหน้าแล้ว ยังใส่เกียร์ถอยหลัง เพราะความขี้ขลาดเขาหันไปให้ความสนใจเจรจากับซีเรียมากกว่า ท่ามกลางแรงกดดันและความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิสราเอล เอเรียล ชารอน ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุต แทนนายเนธันยาฮูเพื่อเตรียมทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลปีกซ้ายอันอ่อนแอของนายเอฮุด บารัค ในวันที่ 28 กันยายน ปี 2000 นายชารอนไปที่มัสยิดอัล-อักศอ ทำให้ชาวปาเลสไตน์โกรธและพากันลุกฮือขึ้นเดินขบวนทั่วประเทศพร้อมกัน ถือเป็นการอินฎิฟาเฎาะ ครั้งที่ 2 ทหารอิสราเอลปราบปรามประชาชนปาเลสไตน์อย่างรุนแรง ภาพข่าวที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเผยแพร่ไปทั่วโลกเป็นภาพของพ่อลูก มูฮัมมัด อัล-ดุรฺรอห์  ที่แม้จะร้องขอชีวิตแต่ก็ถูกทหารอิสราเอลล้อมยิงอย่างเหี้ยมโหดจนเสียชีวิต

2001 - เอเรียล ชารอน นายกฯกระหายเลือด
เหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 2 ทำให้รัฐบาลผสมพรรคกรรมกรของบารัคคว่ำไม่เป็นท่า เอฮุด บารัค ลาออก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2000  การเลือกตั้งครั้งใหม่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2001 เอเรียล ชารอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหมมือเปื้อนเลือดจากการสังหารโหดล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยในเลบานอนเมื่อ ปี 1982  หวนกลับมาครองเข้าสู่บัลลังก์เลือดพ้องกับสหรัฐที่ได้ผู้นำคนใหม่ที่ชื่อจอร์จ ดับเบิลยู บุช
  •  

L-umar

2002 - กลับเวสต์แบ็งค์

องค์การบริหารรัฐปาเลสไตน์ หรือ PA. ได้รับมอบอำนาจบริหารเพียง 2 ปี กองกำลังอิสราเอลในยุคเอเรียล ชารอน ก็ยาตราทัพกลับเข้ายึดครองดินแดนที่ส่งมอบในสมัยนายกฯยิซฮาก ราบินการกระทำเช่นนี้ ถือว่าชารอนฉีกข้อตกลงออสโลว์ทิ้งอย่างเป็นทางการ  อิสราเอลปิดล้อมเมืองลามัลลอฮ์ ที่ตั้งสำนักงาน PA. และทำเนียบของนายยัสเซอร์ อารอฟัต สหรัฐรีบฉวยโอกาสยื่นข้อเสนอให้ PA. ปลดยัสเซอร์ อารอฟัตจากผู้นำ PA. เพื่อเตรียมการสู่แผนสันติภาพฉบับใหม่ ที่บุชเรียกว่า Road Map (แผนที่รับรองว่าอิสราเอลจะไม่เสียผลประโยชน์เหมือนฉบับออสโลว์ของคลินตัน) เชื่อกันว่าชารอนมีคำสั่งลับให้ลอบสังหารยัสเซอร์ อารอฟัต

2003 - โรดแมพเปื้อนเลือด
เดือนพฤษภาคม รัฐสภาอิสราเอลให้สัตยาบรรณรับรองแผนสันติภาพ Road Map ของจอร์จ ดับเบิลยู บุช  การประชุมจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2003 ที่เมืองอะกอบา ประเทศจอร์แดน นายกรัฐมนตรีมะห์มูด อับบาส รับหน้าที่เจรจาแทนอารอฟัต อับบาสถูกกดดันให้ยอมรับหลักการว่า "การจับอาวุธขึ้นต่อต้านอิสราเอลจะต้องยุติลง กลุ่มติดอาวุธต้องถูกกำจัด" เพื่อแลกกับการที่ชารอน จะมีแถลงการณ์สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นเคียงคู่กับรัฐอิสราเอลอย่างสันติ ฮามาสประนามว่า PLO. และฟาตาห์ ว่าเป็นผู้ทรยศ เพราะจุดยืนของฮามาส คือ ปาเลสไตน์ต้องเป็นของมุสลิม และต้องต่อสู้จนกว่าจะขับไล่ยิวออกไปจากแผ่นดินมุสลิม  

แผนสันติภาพ Road Map ระบุว่า อิสราเอลจะถอนตัวจากฉนวนกาซ่า และเมืองเบธเลเฮม PA. ของอับบาส ต้องควบคุมมิให้กลุ่มต่อต้านปาเลสไตน์โจมตีอิสราเอลอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่า PA. ต้องกำจัดกลุ่มต่อต้านยิวนอกกฎหมายทุกกลุ่มอย่างสิ้นซาก เท่ากับว่าสหรัฐและอิสราเอล ยืมมือชาวปาเลสไตน์ฆ่าปาเลสไตน์ด้วยกันนั่นเอง หากอับบาสจัดการไม่ได้ อิสราเอลก็ถือเป็นเหตุยกเลิกข้อตกลง นายอับบาสจึงตกที่นั่งลำบาก ที่ต้องคอยควบคุม มิให้เกิดการโจมตีอิสราเอล  ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

เดือนสิงหาคม 2003 การปฎิบัติการโจมตีอิสราเอลก็เริ่มขึ้น อิสราเอลถือโอกาสใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ในที่สุดนายอับบาส ถูกกดดันให้ต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี  อารอฟัตแต่งตั้งให้ นายอะห์เหม็ด ฆูรีย์ มือขวาคนสนิทมาทำหน้าที่แทนอับบาส ขณะที่อิสราเอล ยังคงเดินหน้าสร้างกำแพงปิดล้อมเขตเวสต์แบ็งค์ โดยไม่สนใจการประณามจากนานาชาติ  

เดือนธันวาคม ปี 2003 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลภายใต้การนำของนายเอเรียล ชารอน มีมติคณะรัฐมนตรีเนรเทศนายอารอฟัต ให้ออกจากดินแดนปาเลสไตน์ และส่งเฮลิคอปเตอร์ยิงจรวดถล่มบ้านพักนายอารอฟัตทั้งในกาซ่าซิตี้ และเมืองลามัลลอฮ์ เค้ารางความล้มเหลวของแผนสันติภาพ Road Map เริ่มปรากฎให้เห็น เด่นชัดขึ้นท่ามกลางกองเลือดและความทุกข์ยากของชาวปาเลสไตน์ต่อไป

2004 - ลาแล้วอารอฟัต
ขณะที่อารอฟัต ถูกโดดเดี่ยวจากสหรัฐ และอิสราเอล อิสราเอลใช้กำลังทางอากาศโจมตีที่หมายในกาซ่า อย่างรุนแรงโหดเหี้ยม และหมายเลขหนึ่งที่อิสราเอลมุ่งปลิดชีวิตด้วยวิธีอันเหี้ยมโหดนี้ ก็คือ ผู้นำและผู้ก่อตั้งฮามาส นั่นคือเช็คอะห์หมัด ยาซีน เดือนต่อมา เมษายน 2004 ผู้นำระดับสูงหมายเลข 2 ของฮามาส อับดุลอะซีซ อัล-รอฏีซี ก็ถูกสังหารโดยวิธีการเดียวกัน

เมษายน 2004 นายชารอน อ้างเหตุประกาศยกเลิกแผนการถอนนิคมชาวยิวจำนวน 8,000 แห่ง รวมทั้งยกเลิกการถอนทหารออกจากเขตฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเขตเวสต์แบ็งค์  แผนการ Road Map ของนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช พังทลายไม่เป็นท่า เหตุผลเพราะชารอนกังวล การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่กำลังจะมาถึง

ช่วงเวลาเดียวกันข่าวสำคัญอีกข่าวหนึ่งก็ดึงดูดความสนใจโลกไปทั้งหมด นั่นคือข่าวอาการป่วยของนายยัสเซอร์อารอฟัต ผู้นำตลอดกาลของ PLO. ข่าวอารอฟัตล้มป่วยแพร่สะพัดไปไม่นาน เขาถูกนำส่งฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลทหารแห่งหนึ่งชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายอารอฟัตมีอาการป่วยหนักโดยไม่ระบุรายละเอียด และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2004 นายอารอฟัตก็ถึงแก่อสัญกรรม แพทย์ระบุว่าติดเชื้อในกระแสโลหิต ข่าวการจากไปของนายอารอฟัตสร้างความผิดหวังและเศร้าเสียใจโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์ที่สนับสนุน PLO. นายอารอฟัต จากโลกนี้ไป โดยที่ยังไม่ทันได้ยินเสียงเพลงชาติปาเลสไตน์ และไม่มีโอกาสได้เห็นธงชาติปาเลสไตน์ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา

คนที่มาแทนอารอฟัต ก็คือ นายมะห์มูด อับบาส อดีตนายกรัฐมนตรี PA. เมื่อ ปี 2002 สถานภาพใหม่ของนายอับบาส คราวนี้ ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำสูงสุดของ PLO. และ พรรคฟาตาห์เท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นประธานาบดีของรัฐปาเลสไตน์อีกด้วย แม้ว่าชาวปาเลสไตน์ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในฉนวนกาซ่าจะไม่เคยยอมรับก็ตาม

2005 - ออกจากกาซ่า
มกราคม ปี 2005 มะห์มูด อับบาส ชนะการเลือกตั้ง เข้าดำรงตำแหน่งประธานองค์การบริหารปาเลสไตน์ - PA. หรือ Palestinian Authority มีฐานะเป็นประธานาธิบดีของรัฐปาเลสไตน์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ท่ามกลางความคาดหวังว่านายอับบาส จะนำพาปาเลสไตน์ไปสู่ความฝันในการเป็นรัฐปาเลสไตน์ได้สำเร็จ แต่ภาระกิจผู้นำปาเลสไตน์ กลายเป็นต้นเหตุที่นำความแตกแยกมาสู่ชาวปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดและส่งผลกระทบมาจนกระทั่งวันนี้  นายมะห์มูด อับบาส ได้รับความช่วยเหลือจากอิสราเอล และสหรัฐ ติดอาวุธให้ตำรวจรัฐบาล PA. เพื่อจัดการกับกลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซ่า โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อไล่ล่านักรบฮามาส กลุ่มเครือข่ายอิสลามิก ญิฮาด และอัล-ก็อตซาม และยุติปฏิบัติการโจมตีอิสราเอล การปราบปรามกันเองของปาเลสไตน์ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจปาเลสไตน์ของนายอับบาส กับนักรบฮามาส รุนแรง และสูญเสียมากขึ้น  

อับบาสกลายเป็นเด็กดีของ อิสราเอลและสหรัฐ ทำให้อิสราเอลตกลงร่วมกันกับ PA. ประกาศหยุดยิง ในการประชุมสุดยอด จัดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ ทั้งนี้เพื่อเตรียมการกลับสู่แผนสันติภาพ Road Map อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูกระบวนการถอนที่ตั้งนิคมชาวยิว 8,000 แห่ง และถอนกำลังทหารอิสราเอลออกจากกาซ่า อย่างเป็นรูปธรรม สถานภาพของกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลายเป็น "กลุ่มติดอาวุธผิดกฎหมาย" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ PA. ของนายอับบาสต้องกำจัด  สหรัฐ อิสราเอล และอียิปต์ ร่วมกันฝึกกองกำลัง PA. ของอับบาส เพื่อปฏิบัติการกวาดล้างฮามาสและพันธมิตรนอกจากนั้น PA. และเจ้าหน้าที่ฟาตาห์ของอับบาส ยังมีส่วนร่วมในการจับกุมตัวและการลอบสังหารผู้นำกลุ่มต่างๆ อีกด้วย  
  •  

L-umar

2006 - รัฐบาลฮามาส

ความเป็นปฎิปักษ์ และการกวาดล้างนักรบฮามาส ทั้งจากอิสราเอล และองค์การบริหารปาเลสไตน์ของนายอับบาสดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และกดดันฮามาสอย่างหนัก จนในที่สุดฮามาสต้องยอมเข้าสู่การเมืองโดยผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งถูกจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2006 ผลปรากฎว่ากลุ่มฮามาสได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น อิสราเอลและสหรัฐพยายามอย่างหนักที่จะแทรกแซงผลการเลือกตั้ง โดยกีดกันฮามาสไม่ให้เข้าสู่อำนาจ

สหรัฐและอิสราเอล กดดันประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาสอย่างหนัก แต่ในที่สุด ทั้งอับบาสและสหรัฐก็ไม่อาจยับยั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ของฮามาสได้ อิสมาอีล ฮานียะห์ ผู้นำฮามาสขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปาเลสไตน์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง  

ปมความขัดแย้งระหว่างฮามาส ที่มีอำนาจรัฐและประชาชนหนุนหลัง กับ PA. และฟาตาห์ที่นำโดยประธานาธิบดีอับบาส ที่สหรัฐและอิสราเอลให้การยอมรับ และสนับสนุน กลายเป็นปมปัญหาที่ทวีความร้อนระอุขึ้นอย่างช้าๆและรุนแรงขึ้น ไม่นานหลังการจัดตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์โดยฮามาส PA. ก็เริ่มช่วงชิงและแทรกแซงอำนาจบริหารจัดการในเขตฉนวนกาซ่า ซึ่งฮามาสมีอิทธิพลมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง PA. ของอับบาสทำหน้าที่เป็นฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เกิดการใช้อำนาจทับซ้อนกัน

ในที่สุดก็นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฮามาส กับเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงขององค์การบริหารปาเลสไตน์ ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2006


2007 คว่ำฮามาส
การปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างฮามาสกับกองกำลังของอับบาส เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฮามาสเข้ายึดที่ทำการและวิลล่าส่วนตัวของนายอารอฟัต และนายอับบาส  เปิดเผยให้เห็นความร่ำรวยผิดปกติของบรรดาผู้นำ PLO. ฮามาสปลดคนของอับบาส แต่งตั้งคนของฮามาสเข้าไปทำหน้าที่แทน จนมาถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2006 สหรัฐและอิสราเอลกดดันให้ นายอับบาสใช้อำนาจประธานาธิบดีมีคำสั่งปลดนายอิสมาอีล ฮานียะฮ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ฮานียะฮ์ไม่ยอมรับอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ด้วยเหตุนี้ทำให้ ปาเลสไตน์ถูกแบ่งแยกเป็นสองขั้ว คือขั้วของ PA. ที่มีนายอับบาสเป็นผู้นำในฐานะประธานาธิบดี รับรองโดยสหรัฐ อิสราเอล และชาติตะวันตก มีอำนาจเต็มในเวสต์แบ็งค์ แต่ไม่มีอำนาจบริหารที่แท้จริงในฉนวนกาซ่า  อีกขั้วหนึ่งคือรัฐบาลฮามาส ที่มีชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าสนับสนุน และถือว่ายังเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มทั่วประเทศปาเลสไตน์ แต่อำนาจที่แท้จริงมีเฉพาะในเขตฉนวนกาซ่า ทั้ง PA. และฟาตาห์ของอับบาส และอิสราเอล หันมาร่วมมือกันปราบปรามฮามาสอย่างรุนแรงหมายใจจะกำจัดฮามาสให้สิ้นสภาพ หมดอำนาจไปจากกาซ่าให้ได้  ในที่สุดเอฮุด โอลเมิร์ต จากพรรคคาดีม่า นายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่มารับหน้าที่ต่อจากชารอน เนื่องจากปัญหาสุขภาพ ตกลงทำข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส ครั้งแรกข้อตกลงถูกละเมิด และได้มีการตกลงหยุดยิงกันอีกหนึ่งครั้งซึ่งหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008

2008-2009 - สงครามแห่งความขมขื่น
รัฐบาลผสมคาดีม่าและพรรคกรรมกร ของเอฮุด โอลเมิร์ต กำลังประสบปัญหา ตัวเอฮุด โอลเมิร์ตเองถูกสอบสวนในข้อหาคอรัปชั่น และหลีกเลี่ยงภาษี  พรรคกรรมกรพยายามกดดันให้โอลเมิร์ตลาออก เพื่อนายเอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหมจะขี้นดำรงตำแหน่งแทน  อิสราเอลต้องการแก้ปัญหาภายใน ก่อนที่ข้อตกลงหยุดยิง จะหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008  แต่ฮามาสปฏิเสธ อิสราเอลบีบให้ฮามาสเจรจายืดระยะเวลาหยุดยิงออกไปโดยการปิดล้อมฉนวนกาซ่า จนขาดแคลนอาหารและพลังงานแต่ไม่สำเร็จ เมื่อข้อตกลงหยุดยิงหมดวาระลง ฮามาสระดมยิงจรวดเข้าใส่อิราเอลอย่างหนัก เอฮุด บารัค ฉวยโอกาสเสนอแผนการโจมตีฮามาส และเมืองต่างๆในฉนวนกาซ่า โดยไม่เลือกเป้าหมาย กลายเป็นอาชกรรมที่โหดร้ายที่สุดในรอบ 60 ปี ด้วยความปรารถนาที่จะทำลายล้างเผ่าพันธุ์ปาเลสไตน์อย่างถอนรากถอนโคน นายเอฮุด บารัค เรียกแผนนี้ว่า  The War of Bitter End หรือสงครามเพื่อยุติความเจ็บปวด โดยลงมือปฎิบัติการทางอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2008 มาจนถึงปัจจุบัน
  •  

L-umar

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلًا مِنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَى الْمَسْجِدِ الْأَقْصَى الَّذِي بَارَكْـنَا حَـوْلَهُ لِنُرِيَهُ مِنْ آَيـاتِنَا إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ

มหาบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัลฮะรอมไปยังมัสยิดอัลอักซอ  ซึ่งเราได้ทำให้บริเวณรอบมันมีความจำเริญ  เพื่อเราจะให้เขาเห็นบางอย่างจากสัญญาณต่างๆของเรา  แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินผู้ทรงเห็น

(อัลอิสรอ : 1)


ซูเราะฮ์นี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปาฏิหารย์การเดินทางในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์แห่งการให้เกียรติของพระเจ้าแก่ท่านศาสดาคนสุดท้าย และเป็นสัญลักษณ์อันชัดแจ้งที่บ่งถึงอานุภาพของอัลลอฮ์ ในการให้มีขึ้นซึ่งสิ่งมหัศจรรย์  เพราะในสมัยก่อนระยะเวลาเดินทางโดยกองคาราวานจะใช้เวลาถึง 40 วัน ( มักกะฮ์อยู่ห่างจากอัลกุดส์ราว 1,230 ก.ม.)

มัสยิดอัลอักซอ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆอีกเช่น บัยตุลมักดิสหรือมุก็อดดัส,มัสยิดกิบละฮ์และมัสยิดศ็อคเราะฮ์  มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันเนื้อที่ของประเทศนี้โดยส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพวกยิว


อิมามกล่าวโคมัยนีกล่าวว่า

วันอัลกุดส์ คือวันแห่งอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันซึ่งอิสลามต้องได้รับการฟื้นฟู และเราคือผู้ฟื้นฟูอิสลาม เราคือผู้นำกฎหมายอิสลามมาปฏิบัติในประเทศอิสลาม วันอัลกุดส์ คือวันแห่งการประกาศต่อหน้าบรรดาอภิมหาอำนาจทั้งหลายว่า อิสลามจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจของพวกเขาอีกต่อไป อิสลามจะไม่ให้ความร่วมมือกับผู้อธรรมบนหน้าแผ่นดินอีกต่อไป
  •  

51 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้