ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - itroh

#1

بسم الله الرحمن الرحيم

อายะฮฺมุบาฮะละห

               คำว่า "มุบาฮะละห์" คือการท้าสาบานให้ประสบกับความวิบัติ
              สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เผชิญหน้ากับบรรดาบาทหลวงของชาวนะศอรอ หลังจากที่สารเชิญชวนสู่อิสลามของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถูกส่งไปที่เมืองนัจญ์รอน ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของชาวนะศอรอ  
ด้วยนามพระเจ้าของอิบรอฮีม,อิสฮากและยะอ์กู๊บ
จากมูฮัมหมัดผู้เป็นนบีและรอซูลของอัลลอฮ์
ถึงสังฆราชแห่งนัจญ์รอนและชาวเมืองนัจญ์รอนทั้งหลาย                
ข้าพเจ้าส่งความสรรญเสริญพระเจ้าของอิบรอฮีม,อิสฮากและยะอ์กู๊บมายังพวกท่าน โดยข้าพเจ้าขอเชิญชวนพวกท่านสู่การสักการะต่อพระเจ้า แทนการสักการะต่อปวงบ่าว และข้าพเจ้าเชิญชวนท่านสู่การปกครองของพระเจ้าแทนการปกครองของปวงบ่าว หากพวกท่านไม่ตอบรับคำเชิญนี้ก็ต้องจ่ายภาษีคุ้มครอง และหากพวกท่านปฏิเสธข้าพเจ้าก็ขอประกาศสงคราม วัสสลาม

               หลังจากที่อบูฮาริษะห์ บินอัลกอมะห์ สังฆราชแห่งเมืองนัจญ์รอนได้รับสารที่ส่งถึงแล้ว ทำให้ต้องเรียกประชุมข้าราชบริพานและประชาราษฎร์ด่วนทันที โดยในที่ประชุมซึ่งที่ประกอบด้วยบรรดานักบวช,สมณศักดิ์ ,ผู้อุวโส,และผู้ทรงเกียรติแห่งนัจญ์รอน ซึ่งต่างก็ออกความคิดเห็นกันหลากหลาย แต่ในที่สุดก็มีมติให้ส่งคณะทูตไปเจรจา
               คณะทูตจำนวน 60 คน โดยมีพระสังฆราช อบูฮาริษะห์ บินอัลกอมะห์ ร่วมเดินทางมาด้วยพร้อมกับพระสังฆนายก "อากิ๊บ" และบาทหลวง "อัยฮัม" ทั้งสามนี้เป็นหัวหน้าคณะเจรจาโดยพวกเขาอยู่ในชุดนักบวชเต็มยศ สวมเครื่องประดับทองเหลืองอร่าม บ้างก็แบกไม้กางเขนไว้บนบ่า

               เมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงนคนมะดีนะห์ก็มุ่งตรงไปที่มัสยิดนบีทันที ขณะนั้นเป็นเวลาอัศร์ ท่านนบีและเหล่าศอฮาบะห์ได้ละหมาดอัศริกันเรียบร้อยแล้ว พวกเขาได้ให้สลามแก่ท่านนบี แต่ท่านก็มิได้ตอบรับสลามแต่อย่างใด  ขณะนั้นเป็นเวลาสวดมนต์ของชาวนะศอรอพอดี พวกเขาจึงขอใช้มัสยิดของท่านนบีเป็นสถานที่สวดมนต์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่เหล่าศอฮาบะห์ แต่ท่านนบีก็อนุญาตให้พวกเขาใช้สถานที่ หลังจากพวกเขาสวดมนต์เสร็จก็ได้เริ่มเจรจาความกับท่านรอซูล ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม  โดยแต่ละคนต่างก็พยายามอธิบายความเชื่อของตนเอง บ้างก็กล่าวว่า อีซาคืออัลลอฮ์,บ้างก็ว่าอีซาคือพระบุตร และบ้างก็อ้างตรีเอกานุภาพ (พระบิด-พระบุตร-พระจิต) ท่านนบีได้ฟังพวกเขาอธิบายอย่างสงบ แต่เมื่อพวกเขาพูดจบ
               ท่านนบีก็กล่าวว่า "ท่านทั้งสองจงรับอิสลามเถิด"  
               พวกเขากล่าวว่า "เรายอมรับแล้ว"
               ท่านนบีกล่าวว่า "ท่านยังไม่ได้ยอมรับหรอก จงรับรับอิสลามเถิด"
               พวกเขากล่าวว่า "เรายอมรับมาก่อนท่านเสียอีก"
               ท่านนบีกล่าวว่า "พวกท่านกล่าวเท็จ ท่านทั้งสองปิดกั้นอิสลามต่างหาก โดยท่านทั้งสองอ้างว่า อัลลอฮ์ทรงมีบุตร พวกท่านบูชาไม้กางเขน และพวกท่านก็กินหมู"
               พวกเขากล่าวว่า "แล้วใครคือพ่อของอีซาละมูฮัมหมัดเอ๋ย"
               ท่านนบีนิ่งไม่ได้ตอบคำถามของพวกเขาด้วยตัวท่านเอง แต่พระองค์อัลลอฮ์ได้ประทานอัลกุรอานมาให้ท่านนบีตอบแก่พวกเขาว่า
   แท้จริงอีซา ณ.ที่อัลลอฮ์นั้นก็เปรียบดังอาดำที่พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน แล้วประกาศิตว่า จงบังเกิดขึ้นและเขาก็บังเกิดขึ้นมา ความจริงในเรื่องของอีซามาจากองค์อภิบาลของเจ้า ฉะนั้นเจ้าอย่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้สงสัย" ซูเราะห์อาลาอิมรอน อายะห์ที่ 60

               การสนทนายังยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยที่พวกเขาไม่ยอมรับอิสลามตามคำเชิญชวนของท่านนบี พระองค์อัลลอฮ์จึงได้ประทานอายะห์ มุบาฮะละห์ มาเพื่อให้นบีประกาศสาบานกับพวกเขาว่า ขอให้ประสบกับความหายนะหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกล่าวเท็จ
อายะห์มุบาฮะละห์

   ดังนั้นผู้ใดที่โต้แย้งกับเจ้าในเรื่องของอีซา หลังจากได้ที่ความรู้ได้มายังเจ้าแล้ว ก็จงประกาศเถิดมูอัมหมัดว่า พวกท่านมาพิสูจน์กันเถิด เราจะเรียกลูกๆของเราและลูกหลานของพวกเท่าน บรรดาสตรีของพวกเราและบรรดาสตรีของท่าน พร้อมทั้งตัวของเราและตัวของพวกท่าน แล้วเราก็วิงวอนขอให้ประสบกับความวิบัติ โดยเราจะขอการสาปแช่งของอัลลอฮ์ให้มีแก่บรรดาผู้โกหก" ซูเราะห์อาลาอิมรอน อายะห์ที่ 61

                 ในบันทึกฮะดีษหลายบทรายงานตรงกันว่า บาทหลวงนะศอรอต่างก็ถกเถียงกันเองว่าจะรับคำมุบาฮะละห์นี้หรือไม่ และในที่สุดพวกเขายอมรับเงื่อนไขที่จะจ่าย "ญิชยะห์" ซึ่งในบันทึกของท่านอิหม่ามบุคคอรี รายงานว่า

   ทั้งสองได้กล่าวว่า พวกเราจะให้ตามที่ท่านเสนอ และได้โปรดส่งคนที่ซื่อสัตย์ไปพร้อมกับพวกเรา แต่อย่าส่งผู้ใดไปกับพวกเรานอกจากผู้ที่ซื่อสัตย์เท่านั้น ท่านนบีกล่าวว่า แน่นอนเราจะส่งผู้ที่ซื่อสัตย์จริงๆไปกับพวกท่าน บรรดาศอฮาบะห์ต่างก็อยากได้รับเกีรตินี้ แต่ท่านนบีกล่าวว่า ลุกขึ้นเถิด อบูอุบัยดะห์ อิบนุลญัรรอฮ์เอ๋ย เมื่อเขาได้ลุกขึ้นยืน ท่านนบีก็กล่าวว่า นี่คือผู้ซื่อสัตย์แห่งประชาชาตินี้" ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 4029    
         
               และจากเหตุการณ์ "มุบาฮะละห์"ในครั้งนี้ กลุ่มชีอะฮ์อิหม่ามสิบสองได้นำไปเป็นหลักฐานแต่งตั้งและแสดงฐานะของอิหม่าม เช่นนักวิชากการของชีอะฮ์ชื่อ อัลฮะซันบินยูซุบ อัลมุเฏาะฮ์ฮัร อัลฮุลลีย์ หรือที่รู้จักกันในนาม อัลลามะฮ์ อัลฮุลลีย์ ได้นำเอาอัลกุรอานอายะห์นี้ระบุไว้ในตำราของเขาที่มีชื่อว่า "นะฮ์ญุ้ลฮัก วะกัชฟุลศิดก์" ภายใต้สรรบันเรื่อง  เผยตำแหน่งอิหม่ามของท่านอาลี จากอัลกุรอาน เมื่อเราตามไปดูในหน้าที่ 177 ก็จะได้เห็นความโกหกปลิ้นปล้อนของนักวิชาการชีอะฮ์ผู้นี้ โดยเขาระบุไว้ในหนังสือของเขาว่า

   บรรดามุฟัซซีรีนได้มีมติว่า (2) คำว่า  ลูกๆ ของพวกเรานั้นหมายถึงท่านฮะซัน และท่านฮุเซน ส่วนคำว่า ตัวของพวกเรา หมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี"  

                เราได้เห็นเล่ห์เพทุบายของอุลามาอ์ชีอะฮ์ด้วยการอ้างว่า "บรรดามุฟัซซีรีนได้มีมติว่า" แล้วเขาใส่วงเล็บขั้นข้อความไว้เพื่อให้ไปดูฟุตโน้ตด้านล่าง

และเมื่อเราตามไปดูก็พบว่า เขาอ้างชื่อตำราหลายเล่มโดยไม่แสดงตัวบท ไม่ว่าจะเป็นศอเฮียะห์มุสลิม,มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด,สุนันอัตติรมีซีย์, มุสตัดร็อกของท่านอัลฮากิ, สุนันอัลบัยฮะกีย์, ตัฟซีรอัตตอบารีย์, ตัฟซีรอัลบัยฏอวีย์,อัลฟุครุดรอซีย์, และอัลกัซซาฟ เป็นต้น

                ตำราเหล่านี้ถูกนำมาอ้างจากการกล่าวของเขาที่ว่า บรรดามุฟัซซีรีนมีมติ  ซึ่งเป็นการบอกว่าเจ้าของตำราทุกเล่มที่กล่าวมามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ในข้อความที่เขากล่าวต่อจากวงเล็บว่า  "ลูกๆ ของพวกเรานั้นหมายถึงท่านฮะซัน และท่านฮุเซน ส่วนคำว่า ตัวของพวกเรา หมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี"

             ถ้าผู้อ่านไม่สะกิดใจและไม่ได้ติดตามไปดูตำราที่เขาอ้าง ก็จะเข้าใจไปตามข้อความที่เขาเขียน แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ตำราที่เขาอ้างชื่อมานั้นระบุไว้คนละประเด็นกับที่เขาอ้างคือ

หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ประทานอายะห์นี้มาว่า "จงประกาศเถิดมูอัมหมัดว่า พวกท่านมาพิสูจน์กันเถิด เราจะเรียกลูกๆของเราและลูกหลานของพวกเท่าน บรรดาสตรีของพวกเราและบรรดาสตรีของท่าน" ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้เรียกท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซนมา แล้วกล่าวว่า โอ้พระองค์อัลลอฮ์ พวกเขาคือครอบครัวของฉัน"

หมายเหตุ แม้เนื้อความในฮะดีษบทนี้จะกล่าวว่า ท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซน เป็นหนึ่งในครอบครัวของท่านนบี แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานที่ขีดกรอบว่าครอบครัวของท่านมีแค่สี่ท่านนี้เท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ค้านกับฮะดีษในบทอื่นๆที่ว่า บรรดาภรรยาของท่าน,วงศ์วานของท่านอาลี,วงศ์วานของอะกี๊ล,วงศ์วานของญะอ์ฟัร และวงศ์วานของอับบาสก็คือหนึ่งในอะฮ์ลุ้ลบัยต์ด้วยตามที่ได้นำเสนอและทำความเข้าใจในตัวบทกันมาแล้ว

               ข้อความที่แสดงนี้จากสุนันอัตติรมีซีย์ ส่วนในศอเฮียะห์มุสลิม,มุสนัดอิหม่ามอะฮ์หมัด และบันทึกอื่นๆ ก็สอดคล้องกัน แต่สิ่งที่เราได้เห็นก็คือในตัวบทฮะดีษระบุว่าท่านบีเรียกท่านอาลี,ท่านหญิงฟาติมะห์,ท่านฮะซัน และท่านฮุเซนมา แต่อุลามาอ์ชีอะฮ์กลับพูดว่า "ลูกๆ ของพวกเรานั้นหมายถึงท่านฮะซัน และท่านฮุเซน ส่วนคำว่า ตัวของพวกเรา หมายถึงท่านอาลี อลัยฮิสสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ได้ทำให้อาลีคือตัวของมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะอาลีฮี" แล้วก็อ้างว่าพวกเขามีมติอย่างนี้  นี่คือการบิดเบือนและการแอบอ้างที่ไร้ยางอายที่สุด
#2

بسم الله الرحمن الرحيم


หะดีษสิบสองอิมามหรือสิบสองคอลีฟะฮฺ


  ชาวชีอะฮฺมักจะอ้างเรื่องหะดีษสิบสองเคาะลีฟะฮฺที่ปรากฏเป็นรายงานอยู่ในหนังสือประมวลหะดีษของอะหลุซซุนนะฮฺ เช่น บุคอรี, มุสลิม, ติรมิซีย์ และอบูดาวูด เป็นหลักฐานสนับสนุนความเชื่อของพวกเขา ในทำนองว่าความเชื่อเรื่องอิมามทั้งสิบสองนั้นยังมีตัวบททางศาสนาสนับสนุนอยู่เลย

ผู้เผยแพร่ชีอะฮฺในประเทศไทยชอบอ้างหนังสือ "หะดีษเศาะเฮียะฮฺ" ของท่านอาจารย์อรุณ บุญชมมาเป็นตำราอ้างอิงอยู่เสมอ และก็บอกว่าเรื่องสิบสองอิมามนี้หนังสือของสุนนีย์ก็มีบันทึกเอาไว้เหมือนกัน ผู้เขียนจึงไปเปิดหนังสือ "หะดีษเศาะเฮียะฮฺ" ของท่านอาจารย์อรุณ บุญชม เกี่ยวกับเรื่องนี้ และคัดลอกเอามาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดดังนี้ :

เล่าจากญาบิร อิบนฺ สะมุเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" หลังจากนั้นท่านได้กล่าวคำหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงถามบิดาของข้าพเจ้าว่า "ท่านนบีได้พูดอะไร" บิดาของข้าพเจ้าตอบว่า "พวกเขาทั้งหมดมาจากเผ่ากุรอยช์" (รายงานโดยบุคอรี มุสลิมและติรมิซีย์) (อรุณ บุญชม, "หะดีษเศาะเฮียะฮฺ", สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม, กรุงเทพ, เล่ม 3, หน้า 389)

ท่านอาจารย์อรุณ บุญชมเองได้ให้หมายเหตุตรงคำว่า "สิบสองเคาะลีฟะฮฺ" เอาไว้ว่าหมายถึง บรรดาเคาะลีฟะฮฺที่นำอิสลามสู่ความยิ่งใหญ่ นับตั้งแต่ท่านอบูบักร อัศ-ศิดดีก จนถึงท่านอุมัร อิบนฺ อับดุลอะซีซ รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ โดยไม่นับมุอาวิยะฮฺ อิบนฺ ยะซีด และมัรวาน อิบนฺ หะกัม เพราะคนทั้งสองเข้าสู่ตำแหน่งอย่างไม่ถูกต้อง และได้ครองตำแหน่งในเวลาสั้นมาก ทั้งหมดมีจำนวน 12 ท่าน ในยุคของท่านเหล่านั้น อิสลามมีความเข้มแข็งและมั่นคง จนสิ้นสมัยของท่านอุมัร อิบนฺ อับดุลอะซีซในปลายศตวรรษที่หนึ่ง ท่านอาจารย์อรุณยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺที่สมบูรณ์จะอยู่ในช่วง 30 ปีแรกของอิสลาม

นอกจากนี้ ท่านอาจารย์อรุณ บุญชมยังบันทึกหะดีษเกี่ยวกับเคาะลีฟะฮฺอีกหะดีษหนึ่ง ซึ่งมีใจความว่า :

เล่าจากสะอีด บิน ญุมฮาน จากสะฟีนะฮฺ รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺจะคงอยู่ในอุมมะฮฺของข้าพเจ้าสามสิบปี และจะเป็นตำแหน่งกษัตริย์ในภายหลังจากนั้น" ต่อมาสะฟีนะฮฺได้กล่าวว่า "จงยึดมั่นกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักร, ท่านอุมัร, ท่านอุสมานและท่านอะลี พวกเราได้พบว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺนั้น(มีอายุ)สามสิบปี" สะอีดได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ถามสะฟีนะฮฺว่า "แท้จริง พวกบนีอุมัยยะฮฺคิดว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺนั้นอยู่กับพวกเขา" สะฟีนะฮฺให้ความเห็นว่า "พวกเขาโกหกพวกลูกหลานของซัรฺกออฺ (ชื่อย่าคนหนึ่งของตระกูลบนีอุมัยยะฮฺ) แต่พวกเขาเป็นกษัตริย์จากบรรดากษัตริย์ที่ชั่วช้า" รายงานโดยเจ้าของสุนัน ด้วยสายรายงานที่หะซัน (อรุณ บุญชม, "หะดีษเศาะเฮียะฮฺ", สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม, กรุงเทพ, เล่ม 3, หน้า 390)

ท่านอาจารย์อรุณเขียนหมายเหตุเกี่ยวกับหะดีษหลังเอาไว้สั้นๆ ว่า สามสิบปีนั้นคือระยะเวลาของตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺตามแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ถ้านับจากท่านอบูบักร จนถึงท่านอะลี รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ จะนับได้สามสิบปี นักปราชญ์สายอะหลุซซุนนะฮฺเรียกยุคนี้ว่า "ยุคของเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรม"

นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากท่านอบูดาวูดระบุว่า :

ท่านญาบิร อิบนฺ สะมุเราะฮฺ รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า "ศาสนานี้ยังคงดำรงอยู่จนกระทั่งเคาะลีฟะฮฺสิบสองท่านได้ทำหน้าที่ปกครองพวกท่าน พวกเขาทุกคนทำให้ประชาชาติเป็นปึกแผ่น" (มูนีร มูหะหมัด, อะฮ์ลุซซุนนะฮฺ์และชีอะฮฺ์, สมาคมนักเรียนเก่าศาสนวิทยา, กรุงเทพฯ, พ.ศ.2542, หน้า 169)

จริงๆ แล้ว หะดีษที่พูดถึงเคาะลีฟะฮฺทั้งหมดไม่มีสักสายรายงานหนึ่ง ใช้คำว่า "สิบสองอิมาม" เลย ถ้าหลักการยึดมั่นเรื่องสิบสองอิมามมะอฺศูม(ผู้ปราศจากบาป)เป็นเรื่องถูกต้องจริง เป็นหลักการที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม สนับสนุนจริงๆ ตรงหะดีษนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม น่าจะใช้คำว่า "สิบสองอิมาม(ที่เป็นลูกหลาน)ของฉัน" มากกว่า จะได้ชัดเจนและไม่สร้างความสับสนให้แก่ชนรุ่นหลังอย่างเราๆ จนต้องอาศัยการตีความสองตลบสามตลบจึงจะนำมาสรุปเป็นหลักยึดมั่นได้

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะบอกกับท่านผู้อ่านนั้นก็คือว่า หะดีษเรื่องสิบสองเคาะลีฟะฮฺนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างที่มุสลิมกลุ่มหนึ่งมุ่งหมาย พวกเขามักจะอ้างลอยๆ ว่าในหะดีษของสุนนีย์ก็ยืนยันถึง "สิบสองอิมาม" ด้วยเหมือนกัน และรีบสรุปว่า เห็นไหมเราต้องศรัทธาในเรื่องนี้ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ยังยืนยันเรื่องนี้ด้วยเลย

ที่ว่าไม่ได้เป็นหะดีษตามที่พวกเขามุ่งหมายนั้น ผู้เขียนอยากจะนำท่านผู้อ่านกลับไปพิจารณาเนื้อหาสาระ หรือใจความของหะดีษให้ละเอียดสักนิด กรุณาตามผู้เขียนมาก็แล้วกัน ผู้เขียนจะไขความให้กระจ่างชัดเจนไปเลยดังเหตุผลต่อไปนี้ :

ประการทีหนึ่ง **หะดีษเกี่ยวกับสิบสองเคาะลีฟะฮฺมีข้อความเหมือนๆ กันว่า "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" นั้นเป็นข้อความที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม พูดถึงอนาคตของศาสนาอิสลามภายหลังท่านจากไปแล้วว่า ในระยะแรกๆ อิสลามจะเกรียงไกร เป็นปึกแผ่นและมั่นคงภายใต้การปกครองดูแลของผู้ปกครอง(ที่ถูกเรียกขานว่าเคาะลีฟะฮฺ)สิบสองท่าน แต่การจะระบุว่าท่านทั้งสิบสองนี้มีใครบ้างนี้ อุลามะฮฺยังมีความเห็นแตกต่างกันออกไปบ้าง เนื่องจากมีการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะของผู้ปกครองที่ดีแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทัศนะที่ถูกต้องนั้นถือว่า ผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺที่สมบูรณ์และที่ทรงคุณธรรมนั้น ประกอบด้วยเคาะลีฟะฮฺ 4 ท่านแรก ได้แก่ท่านอบูบักร, ท่านอุมัร, ท่านอุสมาน และท่านอะลี รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ ซึ่งอยู่ในช่วงสามสิบปีแรกของอิสลามดังความในหะดีษที่ 2 ของหนังสือท่านอาจารย์อรุณ บุญชม

ประการที่สอง **สำหรับอิมามทั้งสิบสองที่กล่าวอ้างนั้น ในจำนวนนี้ อิมามคนที่ 12 เป็นเพียงเรื่องตำนาน ที่ปราศจากความเป็นจริงแต่อย่างใด และที่เหลือใน 11 ท่านนั้น มีเพียงท่านอะลี และท่านหะซัน รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ สองท่านเท่านั้นที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามในฐานะเคาะลีฟะฮฺ แม้ท่านหะซันจะอยู่ในตำแหน่งสั้นๆ เพียง 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งท่านได้สละ "ภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์" (ตามที่เชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺนั้นต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮฺและรอซูลุลลอฮฺเท่านั้น) ให้กับท่านมุอาวิยะฮฺ ในปีอามุลญะมาอะฮฺ หรือที่เรียกว่า "ปีรวมชน" อิมามที่เหลืออีก 9 ท่าน ไม่มีสักคนเดียวได้ทำหน้าที่ปกครองดูแลอาณาจักรอิสลามในฐานะของเคาะลีฟะฮฺ ท่านเหล่านั้นจึงห่างไกลจาก "การทำให้อิสลามยิ่งใหญ่และเกรียงไกร" ตามความในหะดีษที่อ้างถึง

ประการที่สามสำคัญที่สุด **หากเราจะถามกลับไปว่า อิมามทั้งหมดมี 12 ท่านใช่ไหม? คำตอบก็คือใช่ (คงไม่จำเป็นที่จะถามว่า แล้วความเชื่อเรื่อง 7 อิมามมาจากไหน เป็นมาอย่างไรและน่าเชื่อถือแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เรามีความสงสัยในบูรณภาพของหลักยึดมั่นในสายนี้เป็นอย่างยิ่ง) แล้วอาณาจักรอิสลามจะมี "อิมาม" เข้ามาปกครองเพียง 12 ท่านนี้เท่านั้นใช่ไหม อิมามที่สิบสอง(หรืออิมามมะฮฺดี)เป็นอิมามสุดท้ายใช่ไหม แล้วท่านจะมาอีกครั้งก่อนถึงกำหนดวันอาคิเราะฮฺและมาทำหน้าที่ปกครองอาณาจักรอิสลาม และจัดการทุกอย่างให้ถูกต้องชอบธรรมใช่หรือไม่ คำตอบต้องเป็น "ใช่" อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องการมากที่สุด ณ ที่นี้ก็คือ "คำตอบสุดท้าย" ต่อคำถามที่ว่า หลังจากอิมามมะฮฺดีกลับมาปรากฏกายอีกครั้งก่อนวันอวสานของโลกนี้ จะมีผู้ปกครองคนอื่นๆ เกิดขึ้นในโลกนี้อีกหรือไม่? ช่วยตอบหน่อยเถอะครับ

พี่น้อง กรุณาหันไปพิจารณาหะดีษข้างต้นอีกครั้งเถอะครับ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม บอกกับเราว่า "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" นั้นหมายความว่า อิสลามจะยิ่งใหญ่ เกรียงไกรและมั่นคงในยุคสมัยของเคาะลีฟะฮฺสิบสองท่าน ท่านทั้งสิบสอง "อาจจะ" มีส่วนร่วมและมีบทบาททำให้อิสลามเป็นปึกแผ่นโดยตรงก็ได้ หรืออาจจะมีส่วนร่วมโดยอ้อมก็ได้ สภาพทั้งหมดเป็นไปตามการกำหนดของพระองค์อัลลอฮฺ สุบฮานะฮู วะตะอาลา

เมื่อพิจารณาตามถ้อยคำ หะดีษนี้ยังมีความหมายหรือนัยอีกประการหนึ่งว่า "อิสลามจะตกต่ำและไร้ความเกรียงไกรภายหลังยุคเคาะลีฟะฮฺทั้งสิบสอง" ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวถึง ซึ่งแน่นอนหลังจากยุคของสิบสองท่านนี้แล้ว ยังมีผู้ปกครอง มีเคาะลีฟะฮฺ หรือผู้นำตามแต่จะสรรหามาเรียกผลัดกันเข้ามาทำหน้าที่ปกครองอาณาจักรอิสลามสืบต่อไป และอิสลามได้ผ่านภาวะต่างๆ ที่มีทั้งความแตกแยก, ความวุ่นวาย, กลียุค, จลาจล ฯลฯ และปัญหาต่างๆ มากมาย ตลอดจนถึงภาวะการตกอยู่ใต้อาณานิคมของต่างชาติ และการถูกแบ่งแยกดินแดนออกเป็นประเทศต่างๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในยุคหลังสิบสองเคาะลีฟะฮฺตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ระบุไว้ จะพูดให้ชัดก็คือ หะดีษนี้พูดเป็นนัยๆ ว่า นอกจากเคาะลีฟะฮฺสิบสองท่านแล้ว ยังมีเคาะลีฟะฮฺหรือผู้ปกครองอื่นๆ อีก ไม่ได้มีแค่ 12 ท่านเท่านั้น และในสมัยของผู้ปกครองคนอื่นๆ นั้นอิสลามจะตกต่ำ คำว่า "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึง...." เป็นคำที่บ่งบอกว่ายังมี "ภายหลัง" อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม มีผู้อ้างว่าสมัยปัจจุบันยังคงอยู่ในยุคของอิมามท่านที่สิบสอง(อิมามมะฮฺดี) เพราะท่านยังไม่วายชนม์ ท่านเพียงเร้นกายอยู่ และถือว่าท่านยังปฏิบัติ "ภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์" ที่ได้รับการมอบหมายและแต่งตั้งโดยพระองค์อัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา อยู่ แต่ท่านผู้อ่านทั้งหลายครับ อิสลามทุกวันนี้ยังยิ่งใหญ่ เกรียงไกร มั่นคงและเป็นปึกแผ่นอยู่ภายใต้อิมามท่านที่สิบสองผู้นี้หรือ? คำตอบคือไม่เลย ถ้ามีคนบอกกับเราว่า ใจเย็นๆ และอดทนไว้พี่น้อง เมื่ออิมามท่านนั้นมาแล้ว ท่านจะกอบกู้ความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของอิสลามให้กลับคืนมาเอง ตรงนี้ผู้เขียนต้องขอฟันธงเลยว่า สาเหตุที่ต้องอธิบายกันอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าท่านอิมามมะฮฺดีไม่ลงมาปฏิบัติภารกิจให้สมบูรณ์ สภาพของอุมมะฮฺมุสลิมก็จะไม่สอดคล้องและลงรอยกับหะดีษ "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" ใช่ไหมครับ?

ภารกิจก่อนวันอวสานของโลกที่ท่านอิมามมะฮฺดีจะต้องลงมาสนองนั้น จะต้องเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรจริงๆ เป็นภารกิจที่สำคัญมากและเป็นภารกิจสุดท้ายก่อนอวสานของโลก เพราะเหตุนี้จึงคู่ควรให้ท่านมีชีวิตในสภาพเร้นกายยาวนานนับพันปี เพื่อจะมาปิดท้ายและตอบสนองภาวะการเป็นอิมามของท่านให้ลุล่วงสมบูรณ์ หลังจากนั้นอิสลามจะเกรียงไกรขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ อีกครั้งหนึ่งก่อนวันอวสาน จะไม่มีใครมาทำหน้าที่เป็น "เคาะลีฟะฮฺ" หรือผู้ปกครองภายหลังจากนี้อย่างแน่นอน แล้วภาวะนี้ มันสอดคล้องหรือลงรอยกับหะดีษ "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" ที่มีนัยว่าจะมีสมัยแห่งความตกต่ำและมีสมัยของเคาะลีฟะฮฺอื่นๆ หรือไม่?

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การนำหะดีษสิบสองเคาะลีฟะฮฺมาสนับสนุนความเชื่อเรื่องสิบสองอิมามนั้น ความพยายามนั้นต้องพบกับความล้มเหลวเพราะ "เนื้อหา" ของหะดีษไม่ได้สอดคล้องและสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวเลย ขอสรุปเป็นประเด็นง่ายๆ ดังนี้ :

1. ในบรรดาอิมามทั้งสิบสอง มีเพียงท่านอะลี และท่านหะซัน รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ เพียงสองท่านเท่านั้นที่เคยเป็นเคาะลีฟะฮฺทำหน้าที่ปกครองดูแลอาณาจักรอิสลาม สำหรับท่านหะซัน ท่านปฏิบัติภารกิจในฐานะเคาะลีฟะฮฺเพียง 6 เดือนเท่านั้น การที่ท่านจะช่วยเสริมให้อิสลามยิ่งใหญ่และเกรียงไกรจึงยังเป็นปริศนาอยู่

2. หะดีษนี้ใช้คำว่า "เคาะลีฟะฮฺ" ตรงๆ คำว่า "อิมาม" ไม่มีปรากฏในรายงานหะดีษเศาะเฮียะฮฺแม้สักหะดีษเดียว

3. ตามความเชื่อของผู้อ้างหะดีษในทำนองดังกล่าว ถือว่าปัจจุบันยังอยู่ในยุคของอิมามท่านที่สิบสอง อิสลามจึงน่าจะยังอยู่ภาวะ "ยิ่งใหญ่" ตามเนื้อหาในหะดีษไม่ใช่หรือ? แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันกลับสวนทางกับความเชื่อดังกล่าว สภาพอุมมะฮฺมุสลิมไม่ได้ดีเลย เรื่องนี้เป็นสิ่งที่โต้แย้งไม่ได้อย่างแน่นอน

4. ตามนัยของหะดีษที่ว่า "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" แสดงว่าหลังจากพ้นสมัยเคาะลีฟะฮฺสิบสองท่านแล้ว อิสลามจะตกต่ำลงและยังมีเคาะลีฟะฮฺหรือผู้ปกครองท่านอื่นๆ อีกที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองดูแลอุมมะฮฺมุสลิม ซึ่งมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน แต่ตามความเชื่อดังกล่าวถือว่า อิมามหรือเคาะลีฟะฮฺมีเพียง 12 ท่านเท่านั้น หลังจากท่านอิมามมะฮฺดี จะไม่มีอิมามท่านอื่นๆ อีก

5. ถ้าพูดตามนัยของหะดีษนี้จากมุมมองทางความเชื่อของผู้อ้างหะดีษ อิสลามต้องพบกับความอัปยศเพราะตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของอะหฺลุลบัยตฺถูกปล้นเอาไป เป็นเหตุให้อิสลามต้องตกต่ำ อุมมะฮฺมุสลิมแตกแยกและหลงทางมากมาย สภาวะของอิสลามและอุมมะฮฺเลวร้ายลงเรื่อยไป จนกระทั่งถึงยุคแห่งการกลับมาอีกครั้งของท่านอิมามมะฮฺดีก่อนวันอวสานของโลก ท่านจะกอบกู้สภาพของอิสลามให้รุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง และกำจัดบรรดาศัตรูของอิสลามให้สิ้นไป ขอถามว่าคำพูดอย่างนี้สอดคล้องและลงรอยกับหะดีษ "อิสลามจะยังคงยิ่งใหญ่จนถึงสิบสองเคาะลีฟะฮฺ" ที่มีคนพยายามที่จะหยิบยกมาอ้างสนับสนุนความเชื่อ "สิบสองอิมาม" แล้วหรือ?
#3

بسم الله الرحمن الرحيم

อายะฮฺอัต-ตัฏฮีร และหะดีษกิสาอฺ


หะดีษกิสาอฺเป็นหะดีษที่มีการบันทึกไว้ในหนังสือหะดีษ หนังสือประวัติศาสตร์และตัฟซีรฺ(คำอรรถาธิบายอัล-กุรฺอาน)มากมายทั้งฝ่ายสุนนีย์และคนกลุ่มอื่นๆ ผู้บันทึกและรายงานหะดีษนี้มีมากมายหลายคน อาทิ ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิฯ อบู สะอีด อัล-คุฎรี อัมรฺ อิบนฺ อบู ซัลมา(บุตรชายของท่านหญิงสะละมะฮฺ เกิดจากอบู ซัลมา สามีเก่าของท่านหญิง)และวาซิละฮฺ อิบนฺ อัสกออฺ นอกจากนี้ยังปรากฏเป็นบันทึกอยู่ในหนังสือมุสตัดร็อก ศอหิฮีนของฮากีม หนังสือหะดีษศอหิฮฺของมุสลิม หนังสือหะดีษศอหิฮฺของติรฺมิซี หนังสือมุสนัดของอะหฺมัด หนังสือสุนัน อัล-กุบรอของบัยฮากี ตัฟซีรฺของฏ็อบรี, อิบนฺ กะษีรฺและสะยูตี

ตามรายงานของอุมมุล มุอฺมินีน อาอิชะฮฺ รอฎิฯ กล่าวว่า \\\"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ออก(จากบ้าน)ไปในเช้าวันหนึ่ง บนร่างของท่านมีเสื้อคลุมที่มีลายเป็นทางทำมาจากขนสัตว์สีดำ ต่อมาหะซันบุตรอะลีได้มาหาท่าน ท่านได้ให้เขาเข้าไปอยู่ในเสื้อคลุมของท่าน จากนั้นหุเซนได้มาหาท่าน ท่านก็ได้ให้เขาเข้าไปอยู่ในเสื้อคลุมของท่าน ภายหลังฟาฏิมะฮฺได้มาหาท่าน ท่านก็ได้ให้นางเข้าไปอยู่ในเสื้อคลุมของท่าน จากนั้นอะลีได้มาหาท่าน ท่านก็ได้ให้เขาเข้าไปอยู่ในเสื้อคลุมของท่านด้วยเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า \\\"แท้จริงอัลลอฮฺเพียงประสงค์ที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเจ้าโอ้อะหลุลบัยตฺและทรงประสงค์ที่จะชำระพวกเจ้าให้บริสุทธิด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง\\\"

หะดีษข้างต้นคัดจากบันทึกของท่านมุสลิม สำหรับในบันทึกหะดีษของติรฺมิซีมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า : โองการนี้ "อัลลอฮฺเพียงประสงค์ที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะหลุลบัยตฺ และทรงประสงค์ที่จะชำระพวกเจ้าให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง" ได้ประทานลงมาในบ้านของอุมมุ ซะละมะฮฺ ท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้เรียกฟาฏิมะฮฺ หะซันและหุเซนเข้ามา และท่านได้คลุมพวกเขาด้วยเสื้อคลุม โดยมีอะลีอยู่ด้านหลังของท่าน ท่านได้คลุมพวกเขาด้วยเสื้อคลุม หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า \\\"โอ้อัลลอฮฺ พวกเขาเหล่านี้คือสมาชิกในครอบครัวของข้าฯ ดังนั้นได้โปรดขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเขา และได้ทรงชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง\\\" อุมมุสะละมะฮฺได้กล่าวว่า \\\"และดิฉันขออยู่กับพวกเขาด้วย โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ\\\" ท่านนบีกล่าวว่า \\\"เธอก็อยู่ในตำแหน่งของเธอแล้ว และเธอจะไปสู่ความดี\\\"

จากการศึกษาหะดีษเรื่องเดียวกันที่มาจากบันทึกอื่นๆ พบว่าส่วนที่รายงานสอดคล้องกันได้แก่เรื่องที่ว่าอายะฮฺดังกล่าวถูกประทานลงมาที่บ้านของท่านหญิงสะละมะฮฺ รอฎิฯ ภายหลังท่านนบี ศ็อลฯ จึงให้คนไปเรียกท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านหะซันและหุเซน รอฎิฯ มาพบท่าน ท่านได้ใช้เสื้อคลุม(กิสาอฺ)ของท่านโอบคลุมพวกเขาไว้ และสุดท้ายท่านได้ขอดุอาอฺให้พวกเขาดังความข้างต้น

ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างกันได้แก่

1. สถานที่อยู่ของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ในขณะที่เกิดเหตุการณ์นี้ ในรายงานของอบูสะอีดระบุว่า ท่านหญิงนั่งอยู่หลังม่าน ในหนังสือมุสนัดของท่านอะหฺมัดระบุว่าท่านหญิงอยู่นอกห้องที่ท่านนบี ศ็อลฯ นั่งอยู่ ในตัฟซีรฺของสะยูตีและในหนังสือ มุชกิล อัล-อาษัรฺ ระบุว่า ท่านหญิงเองกล่าวว่า เธอยืนอยู่ที่ประตูบ้าน แต่ในตัฟซีรฺของฏ็อบรีซึ่งอ้างรายงานของอบูสะอีดจากท่านหญิงเองว่า เธอกำลังนั่งอยู่ที่ประตูบ้าน

2. ตำแหน่งการปรากฏกายของท่านอะลี ภรรยาและบุตรชายทั้งสอง ตามรายงานของอัมรฺ อิบนฺ ซัลมาระบุว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านหะซันและหุเซน รอฎิฯ เข้ามานั่งด้านหน้าท่านนบี ศ็อลฯ ส่วนท่านอะลี รอฎิฯ เมื่อเข้ามาพบท่านนบีแล้วก็นั่งอยู่ด้านหลังท่าน แต่ในหนังสือมุสตัดร็อกของฮากีมซึ่งอ้างรายงานของวาซิละฮฺ อิบนฺ อัสกออฺกลับระบุว่า ท่านนบี ศ็อลฯ ให้ท่านอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ รอฎิฯ นั่งอยู่เบื้องหน้าท่าน ส่วนท่านหะซันและหุเซน ท่านนบี ศ็อลฯ ให้นั่งอยู่บนตักของท่านหรืออยู่ในอ้อมแขนของท่าน

3. ช่วงเวลาที่อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา รายงานส่วนใหญ่ระบุว่า เมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาแล้ว ท่านนบี ศ็อลฯ จึงให้คนไปเรียกท่านอะลี บุตรสาวและหลานชายทั้งสองของท่านเข้ามาพบท่าน แต่ในบางรายงานกลับพบข้อวามในทางตรงกันข้าม อาทิ ในตัฟซีรของฏ็อบรีอ้างรายงานจากท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ระบุว่าในช่วงเวลาที่อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา ขณะนั้นท่านนบี ศ็อลฯ บุตรสาว บุตรเขยและหลานชายทั้งสองนั่งกันอยู่ในบ้านของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺแล้ว

4. แม้แต่ช่วงเวลาที่นบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ดุอาอฺยังขัดแย้งกัน ในหนังสือตัฟซีรฺของฏ็อบรีซึ่งอ้างรายงานของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ระบุว่า เมื่อบุตรสาว บุตรเขยและหลานชายทั้งสองมานั่งล้อมรอบท่านแล้ว ท่านก็ใช้เสื้อคลุมโอบพวกเขาไว้ แล้วจึงขอดุอาอฺด้วยข้อความที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น จากนั้นอายะฮฺดังกล่าวจึงถูกประทานลงมา ในหนังสือมุสตัดร็อกของฮากีมซึ่งอ้างรายงานของอับดุลลอฮฺ อิบนฺ ญะอฺฟัรฺ(พี่ชายของท่านอะลี)ก็ระบุในลักษณะเดียวกัน อย่างไรก็ตามรายงานส่วนใหญ่ระบุว่า การดุอาอฺของท่านนบี ศ็อลฯ เกิดขึ้นภายหลังการประทานอายะฮฺดังกล่าวแล้ว

หะดีษที่มีความแปลกและน่าวิเคราะห์มากที่สุดอยู่ในหนังสือมุสตัดร็อกของฮากีม ซึ่งอ้างรายงานของอับดุลลอฮฺ อิบนฺ ญะอฺฟัรฺ ความว่า :

เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม สังเกตุเห็นว่าวะหฺยูของอัลลอฮฺกำลังจะลงมาท่านจึงกล่าวว่า \\\"ไปเรียกมาพบข้าฯ ไปเรียกมาพบข้าฯ\\\" ศอฟียะฮฺสอบถามว่า \\\"โอ้นบีของอัลลอฮฺ จะให้ดิฉันไปเรียกใครมาพบท่านหรือ\\\" ท่านก็ตอบว่า \\\"จงไปเรียกสมาชิกในครัวเรือนของข้ามาพบข้าฯ ได้แก่ อะลี ฟาฏิมะฮฺ หะซันและหุเซน\\\" แล้วพวกเขาจึงถูกเรียกให้มาอยู่ใกล้ๆ ท่านนบี และเมื่อทุกคนมากันพร้อมแล้ว ท่านนบี ศ็อลฯ จึงเอาเสื้อคลุมโอบพวกเขาไว้ หลังจากนั้นท่านได้ยกมือขึ้นขอดุอาอฺว่า \\\"โอ้อัลลอฮฺพวกเขาคือสมาชิกในครัวเรือนของข้า ได้ทรงประทานความโปรดปรานของพระองค์ให้แก่ข้าและลูกหลานของข้า\\\" ในเวลาเดียวกัน อัลลอฮฺ ศุบหฯ ได้ทรงลงโองการมีความว่า "อัลลอฮฺเพียงประสงค์ที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะหฺลุลบัยตฺ และทรงประสงค์ที่จะชำระพวกเจ้าให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง\\\"

รายงานข้างต้นดูแปลกและน่าสงสัย ประการแรก ระบุว่าเหตุการณ์นี้เกิดต่อหน้าท่านหญิงศอฟียะฮฺ รอฎิฯ มิใช่ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ เหมือนในรายงานอื่นๆ อีกประการหนึ่ง รายงานนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม รู้ล่วงหน้าว่าอัลลอฮฺ ศุบหฯ กำลังจะมีพระโองการลงมา และเมื่ออ่านดูเนื้อหาของหะดีษแล้ว พอจะสันนิษฐานได้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เองก็รู้ว่าโองการดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุตรสาว บุตรเขยและหลานชายทั้งสองของท่านอย่างแน่นอน ท่านจึงใช้ให้ท่านหญิงศอฟียะฮฺ รอฎิฯ ภรรยาของท่านไปตามบุคคลทั้งสี่มาพบท่าน และก็ประจวบเหมาะอย่างยิ่งเหลือเกิน พอท่านดุอาอฺให้พวกเขาในทันใดโองการดังกล่าวก็ถูกประทานลงมา เป็นการตอบรับดุอาอฺของท่านในทันที แต่คำถามก็มีอยู่ว่า เมื่อท่านทราบเนื้อหาของโองการก่อนล่วงหน้าแล้วว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลทั้งสี่ ทำไมท่านต้องขอดุอาอฺให้พวกเขาอีกด้วยเพราะโองการที่เป็นกฎและสัญญาของอัลลอฮฺ ศุบหฯ ก็กำลังจะลงมาอยู่แล้ว

เราคงจำสาเหตุที่มีการลงโองการว่าด้วยคำว่า อินชา อัลลอฮฺ กันได้ดี เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการที่มีชายคนหนึ่งมาสอบถามปัญหากับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ท่านนบีไม่ทราบและก็คาดการณ์ว่าอัลลอฮฺ ศุบหฯ คงจะมีโองการลงมาในวันนั้นวันนี้ แต่พอถึงวันดังกล่าวจริงๆ กลับไม่มีพระโองการลงมาตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม สัญญาชายผู้นั้นไว้ ภายหลังอัลลอฮฺ ศุบหฯ จึงมีโองการลงมาแนะให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ใช้คำว่า อินชาอัลลอฮฺ(หากอัลลอฮฺทรงประสงค์)ในการคาดการเกี่ยวกับอนาคต ซึ่งเรื่องนี้เป็นหลักฐานได้อย่างชัดเจนว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ทราบถึงกำหนดการลงโองการของอัลลอฮฺ ศุบหฯ แต่อย่างใด และเรื่องนี้มีแต่พระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ทรงทราบ เพราะเหตุนี้เราจึงปฏิเสธความน่าเชื่อถือของรายงานข้างต้น

ในตอนท้ายของหะดีษกิสาอฺจะปรากฏรายงานบทสนทนาสั้นๆ ระหว่างท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ กับท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ในเรื่องตำแหน่งของท่านหญิงเอง รายงานดังกล่าวมีใจความต่อไปนี้คือ :

ตามบันทึกของติรฺมิซีระบุว่า ท่านหญิงเอ่ยปากถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า \\\"และดิฉันขออยู่กับพวกเขาด้วย โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ\\\" ท่านนบีกล่าวว่า \\\"เธอก็อยู่ในตำแหน่งของเธอแล้ว และเธอจะไปสู่ความดี\\\" ซึ่งคำตอบดังกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม นี้มิใช่คำตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า \\\"ไม่ใช่" และก็ไม่ใช่คำตอบในเชิงคำสั่งว่า \\\"เธอจงอยู่ในที่ของเธอ\\\" การที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่าเธอก็อยู่ในตำแหน่งของเธอแล้วนั้นคือการยืนยันว่า ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ อยู่ในตำแหน่งภรรยาของนบี เป็นสมาชิกในครัวเรือนของท่าน(อะหฺลุลบัยตฺ) และได้รับการขจัดความไม่บริสุทธิ์และถูกชำระให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่งตามนัยของอายะฮฺฏอฮิรฺโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว คำทิ้งท้ายของท่านนบี ศ็อลฯ ที่ว่า เธอจะไปสู่ความดี เป็นการรับรองว่าท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ คือคนหนึ่งที่อยู่ในความดีงาม และอนาคตก็จะพบแต่ความดีด้วยเช่นกัน

ในรายงานหนังสือมุสนัดของท่านอะหฺมัดระบุว่า ท่านหญิงยื่นหน้า(ผ่านม่าน)เข้าไปในห้อง แล้วถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า \\\"ดิฉันได้อยู่กับท่านด้วยไหม\\\" ปรากฏคำตอบของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เพียงสั้นๆ ว่า "เธอจะไปสู่ความดี"

ในตัฟซีรของสะยูตี และในหนังสือมุชกิล อัล-อาษัรฺ อ้างรายงานของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ว่า ท่านหญิงสอบถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า \\\"โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ ดิฉันมิได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของครัวเรือนของท่านหรือ\\\" ท่านตอบว่า \\\"เธอจะไปสู่ความดีและเธอก็เป็นหนึ่งในภรรยาของนบีอยู่แล้ว\\\"

จากรายงานดังกล่าวล้วนยืนยันว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ตอบเลยว่า \\\"ไม่\\\" ท่านยืนยันฐานะการเป็นภรรยาของท่านหญิงอย่างชัดเจน ซึ่งแน่นอนเหลือเกินย่อมจะได้รับการขจัดความไม่บริสุทธิ์ และถูกชำระให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่งสมตามที่ท่านนบี ศ็อลฯ รับรองว่าเธอจะไปสู่ความดี

แล้วใครเล่ากล่าวว่า ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ หมดสภาพความเป็นมุสลิมภายหลังการวะฟาตของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เหมือนกับภรรยาท่านนบีและเศาะหาบะฮฺคนอื่นๆ นอกจากท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านหะซัน ท่านหุเซน ท่านมิกดาด บิน อัสวัด ท่านอบู ซัรฺอัล-ฆิฟารีและซัลมาน อัล-ฟาริซี รอฎิฯ และบางคนยังรวมอัมมารฺ บินยาซิรฺเข้าในกลุ่มนี้ด้วย เมื่อคนที่ยังอยู่ในอิสลามมีจำนวนเพียงเท่านี้ท่านหญิงอุมมะฮฺ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ย่อมอยู่ในจำนวนคนที่ตกศาสนาด้วย(ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺที่ต้องกล่าวสมมุติเช่นนั้น) ใช่หรือไม่?
ถ้าคำตอบคือ \\\"ใช่\\\" ก็แสดงว่าขัดแย้งกับคำรับรองของท่านนบี ศ็อลฯ ที่กล่าวว่า \\\"และเธอจะไปสู่ความดี\\\" และจะถือว่าหะดีษกิสาอฺที่ยกมาสนับสนุนใช้ไม่ได้ แต่ถ้าตอบว่า \\\"ไม่ใช่\\\" ก็แสดงว่าข้อกล่าวหาเรื่องมุรฺตัดนั้นเป็นเท็จ

อย่าลืมว่ามีหนังสือจำนวนมากมายหลายเล่มนำหะดีษนี้มาเป็นหลักฐานสนับสนุนเกี่ยวกับสถานภาพของท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺท่านหะซันและหุเซน รอฎิฯ ในการเป็นอะหฺลุลบัยตฺ แม้ว่ารายละเอียดของหะดีษกิสาอฺในแต่ละรายงานจะแตกต่างกันก็ตาม แต่ทุกรายงานระบุอย่างชัดเจนว่า ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ \\\"จะไปสู่ความดี\\\"

เมื่อนำหะดีษเหล่านี้มาเป็นหลักฐานสนับสนุนความคิดความเชื่อของตนเองแล้ว ก็ต้องถือว่าท่านยอมรับในเนื้อหาของหะดีษที่ยกมาทุกประการ เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องยอมรับสถานภาพของท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ รอฎิฯ ตามที่ท่านนบี ศ็อลฯ รับรองด้วยเช่นเดียวกัน การไม่ยอมรับแสดงว่าเป็นคนพูดจาเชื่อถือไม่ได้และไม่มีหลักการจริง

ลำพังหะดีษกิสาอฺอย่างเดียวอาจจะยังไม่ชัดเจนสำหรับพี่น้องบางคน จึงขอคัดลอกหะดีษอีกหะดีษหนึ่งมาเป็นหลักฐานสนับสนุนว่านอกจากบุคคลทั้งสี่ที่เอ่ยมาแล้ว อะหฺลุลบัยตฺยังประกอบไปด้วยบรรดาภรรยาของท่านนบี ศ็อลฯ ด้วยเช่นกัน

มีรายงานจากท่านอนัสว่า : ท่านหญิงซัยนับ อิบนะตุ ญะหฺช์ ได้ถูกนำมาที่บ้านของท่านนบี ศ็อลฯ(เนื่องจากได้แต่งงานกับท่าน) ฉัน(อนัส)ได้ถูกส่งให้ไปเชิญแขกมารับประทานอาหาร(วะลีมะฮฺ) ซึ่งมีขนมปังและเนื้อ คนกลุ่มหนึ่งก็มารับประทานอาหารแล้วได้กลับออกไป แล้วคนกลุ่มหนึ่งก็มารับประทานอาหารและได้กลับออกไป ฉันได้บอกเชิญไปเรื่อยๆ จนไม่พบผู้ใดเหลืออีกที่จะต้องบอกเชิญ ฉัน(อนัส)จึงพูดว่า \\\"โอ้ท่านนบีของอัลลอฮฺ ผมไม่พบผู้ใดอีกที่ต้องเชิญ\\\" ท่านกล่าวว่า \\\"จงยกเอาอาหารของพวกท่านไป\\\" และมีกลุ่มชายอีกสามคนคงอยู่สนทนาในบ้าน(ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) ดังนั้นท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงออกไปที่ห้องของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านก็กล่าวว่า \\\"อัสลามุอฺะลัยกุม อะฮฺลัลบัยติ วะเราะหฺมะตุลลอฮิ\\\" (ขอความสันติและความเมตตาของอัลลอฮฺจงมีแด่ท่าน อะหฺลุลบัยตฺเอ๋ย!) เธอ(อาอิชะฮฺ รอฎิฯ)ได้ตอบว่า \\\"ขอความสันติและความเมตตาของอัลลอฮฺจงมีแด่ท่าน ท่านพบว่าอะหฺลิ(สมาชิกในครัวเรือน - ณ ที่นี้คือซัยนับ ภรรยาคนใหม่ของท่าน) ของท่านเป็นอย่างไรบ้าง ขออัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ท่าน\\\" แล้วท่านก็ไปทั่วทุกห้องของภรรยาของท่านทุกๆ คน พลางกล่าวแก่เธอทั้งหลายอย่างที่ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอฺาอิชะฮฺ บรรดาเธอเหล่านั้นก็ตอบอย่างที่ท่านหญิงอฺาอิชะฮฺได้ตอบ แล้วท่านนบี ศ็อลฯ ก็กลับมายังที่เดิม(บ้านของท่านที่อยู่กับท่านหญิงอฺาอิชะฮฺ รอฎิฯ) (หะดีษบุคอรี บทที่ 65 กิตาบุต ตัฟสีรฺ)

ตามปกติแล้วคำว่า สมาชิกในครัวเรือน หรืออะหฺลุลบัยตฺ เป็นคำสามัญทั่วไปซึ่งน่าจะเข้าใจกันได้โดยง่าย ถ้าเราพูดว่า เรามีครอบครัวหรือมีครัวเรือน(บัยตฺ) แต่งงานแล้วนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านอย่างถูกต้อง แต่กลับไม่นับว่าภรรยาเป็นสมาชิกในครอบครัวด้วย ท่านว่าถูกต้องหรือไม่ แม้ว่าภรรยาผู้นั้นจะเป็นคนที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ก็ตาม และแม้ว่าภรรยาคนนั้นจะมิใช่ผู้ให้กำเนิดบุตรของเราก็ตาม การที่จะบอกว่าเฉพาะภรรยาเป็นสมาชิกในครอบครัวโดยไม่รวมบุตรหลานก็ไม่ถูกต้อง และการนับเฉพาะบุตรหลานโดยไม่รวมภรรยาก็ไม่ถูกต้อง

และอีกอย่างถึงแม้ว่าชาวชีอะฮฺนั้นพยายามที่จะวิพากษ์วิจารณ์บรรดาภริยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่าเป็นคนไม่ดีต่างๆ นานา เพื่อบอกว่าพวกนางไม่ใช่อะหฺลุลบัยตฺ และพวกนางมิใช่ \\\"ผู้ปราศจากบาป\\\" หรือบุคคลที่ถูกปกป้องให้พ้นจากบาป แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้กระทั่งท่านหญิงฟาติมะฮฺเองก็เคยทำผิดพลาดเช่นกัน ดังเช่นหะดีษที่ว่า คราใดก็ตามที่ท่านนบี ศ็อลฯ เดินทางออกไปนอกเมืองมะดีนะฮฺ เมื่อกลับเข้ามาในเมือง สิ่งแรกที่ท่านทำเป็นประจำก็คือ ท่านจะต้องไปเยี่ยมฟาฏิมะฮฺ บุตรสาวของท่านทุกครั้งไป มีอยู่คราหนึ่ง ท่านนบี ศ็อลฯ กลับจากสงครามตะบูก ท่านก็ไปเยี่ยมฟาฏิมะฮฺเหมือนที่เคยปฏิบัติทุกครั้ง ก่อนหน้านั้นสักเล็กน้อยฟาฏิมะฮฺได้ซื้อผ้าคลุมผมผืนใหม่มาผืนหนึ่ง เธอนำไปย้อมเป็นสีเหลืองอมส้ม และยังแขวนม่านบนประตู หรือปูฟูกบนพื้น ท่านนบี ศ็อลฯ พบเห็นสิ่งเหล่านี้ ท่านจึงหันหลังกลับเข้ามัสญิด โดยไม่ยอมเหยียบย่างเข้าไปในบ้านของเธอ

ฟาฏิมะฮฺทราบเรื่องนี้ในเวลาต่อมา เธอจึงใช้ให้บิลาลไปสอบถามบิดาของเธอว่า ทำไมท่านจึงไม่ยอมก้าวเข้าประตูบ้านของเธอ บิลาลได้ไปสอบถามสาเหตุจากท่านนบี ศ็อลฯ ซึ่งท่านได้เล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่ท่านพบเห็นในบ้านของฟาฏิมะฮฺ

บิลาลได้นำความไปเล่าให้ฟาฏิมะฮฺฟัง เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุแล้ว ฟาฏิมะฮฺจึงรีบถอดม่านประตูออกในทันที เธอยังนำเครื่องตกแต่งไปทิ้ง และนำผ้าคลุมผมผืนเก่าที่เธอเคยใส่อยู่เป็นประจำมาสวมใส่ดังเดิม เมื่อท่านนบี ศ็อลฯ ทราบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจากบิลาล ท่านจึงไปหาฟาฏิมะฮฺ และกล่าวเตือนเธอว่า \\\"ลูกสาว เธอจะต้องมีชีวิตเช่นนี้\\\"1. ฮัมมาด บิน อิสหาก บิน อิสมาอีล( ฮ.ศ. 199-267 ), เฏาะรัคตุมัน นะบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม, มะดีนะฮฺ, 1984; เศาะเฮียะฮฺบุคอรี; สุนัน อบู ดาวูด   

มีอีกหะดีษหนึ่งกล่าวว่า ครั้งหนึ่งฟาฏิมะฮฺให้หะซันและหุเซน(ซึ่งในขณะนั้นยังเล็กอยู่)สวมใส่กำไลข้อมือที่ทำจากเงิน เมื่อท่านนบี ศ็อลฯ เห็น ท่านรู้สึกหงุดหงิดและไม่ยอมเข้าบ้านของฟาฏิมะฮฺ เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้บิดาของตนขุ่นเคืองใจ ฟาฏิมะฮฺจึงถอดกำไลออกจากข้อมือของบุตรชายทั้งสอง เป็นผลให้หะซันและหุเซนร้องไห้และวิ่งไปหาท่านนบี ซึ่งท่านรับกำไลข้อมือมา และกล่าวว่า \\\"เษาบาน จงนำสิ่งเหล่านี้ไปให้คน(ยากจน)คนนั้น พวกเขาเป็นอะหฺลุลบัยตฺ(สมาชิกในครัวเรือน)ของฉัน และฉันไม่อยากให้ในชีวิตนี้พวกเขาเสวยสุขกันอย่างนั้น\\\"  (เล่มเดียวกัน, หน้า 58; อบู ดาวูด; มุสนัด อะหฺมัด)

สองหะดีษที่นำมาเล่าให้ฟังพูดถึงทัศนะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีต่อการดำรงชีวิตของท่านและของคนในครอบครัวของท่าน(อะหฺลุลบัยตฺ)ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยและฟุ้งเฟ้อกับความสุขสบายและความเพริดแพร้วของโลกนี้ มันเป็นกฎระเบียบที่ท่านตราไว้สำหรับทุกคนในครอบครัวของท่าน

แต่หะดีษที่กล่าวมาข้างต้นให้รายละเอียดอะไรบ้าง ผู้อ่านไคร่ครวญเอาเองก็แล้วกันนะครับ และขอถามอีกครั้งว่า นอกจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้ว คนอื่นๆ ยังจะสามารถเป็นผู้ปราศจากบาปด้วยหรือไม่ ?
#4

بسم الله الرحمن الرحيم


ฮะดีษเมาลาและเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม


คำอธิบายตามแนวทางของชีอะฮฺมีอยู่ว่า ท่านศาสดาหวั่นเกรงการต่อต้านจากสาวก (ศอฮาบะฮฺ) บางคน ท่านเกรงว่าเมื่อประกาศแต่งตั้งท่านอาลีเป็นเคาะลีฟะฮฺต่อสาธารณะแล้ว พวกเหล่านั้นอาจจะต่อต้านท่านอย่างรุนแรงหรืออาจจะผละจากท่านไป ท่านตรึกตรองเรื่องนี้อยู่หลายครั้งซึ่งยังความหนักใจในแก่ท่านมาก เหตุการณ์ดำเนินมาจนเมื่อท่านเดินทางไปทำฮัจญ์ อำลา (ฮัจญะตุล วิดาอ) หลังจากเสร็จสิ้นการทำฮัจญ์แล้ว ก็เดินทางกลับมายังนครมะดีนะฮฺพร้อมกับสาวกที่ติดตามมาทำฮัจญ์ด้วยจำนวนเกือบแสนคน ตามคำอ้างของพวกชีอะฮฺพยายามเน้นว่าท่านศาสดา ครุ่นคิดถึงเรื่องการแต่งตั้งอาลีตลอดเวลา และคอยหาโอกาสเหมาะที่จะประกาศเรื่องนี้ออกไปโดยไม่ได้รับการต่อต้าน และแล้วญิบรีลก็นำโองการของอัลลอฮฺ สุบหฯ ลงมาว่า "รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์เลย และอัลลอฮฺนั้นจะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์" ซึ่งหมายถึงคำสั่งให้ประกาศเรื่องการเป็น "เคาะลีฟะฮฺ" ของอลี โดยไม่ต้องเกรงกลัวอันตรายจากผู้ใด เพราะอัลลอฮฺจะทรงให้การคุ้มครองท่าน

จากนั้นท่านนบี จึงสั่งให้กองคาราวานหยุด ณ ตำบลที่เรียกว่า เฆาะดีร คุม ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำหรือโอเอซิสแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า "คุม" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนคร มักกะฮฺ ห่างออกไปประมาณ 13 ไมล์ ท่านรอซูลุลลอฮฺสั่งให้กองคาราวานหยุดพัก และเรียกให้บรรดาสาวกของท่านมาชุมนุมเพื่อฟังคำปราศรัยของท่าน เหตุการณ์ครั้งนี้ตรงกับวันที่ 18 เดือน ซุลฮิจญะฮฺ

หลังจากกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และตักเตือนบรรดาสาวกที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงชูมือของท่านอลี ขึ้นพร้อมกับประกาศว่า "ผู้ใดเอาฉันเป็นเมาลาของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และเป็นศัตรูแก่ผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา" เมื่อแต่งตั้งอาลีเป็น "เมาลา" แล้ว บรรดาสาวกทั้งหลายได้พากันมาให้สัตยาบัน (บัยอะฮฺ) และแสดงความยินดีต่อท่านอาลีที่ท่านศาสดา แต่งตั้งให้เป็นเมาลา ซึ่งพวกชีอะฮฺอธิบายว่า คือตำแหน่งอิมามหรือเคาะลีฟะฮฺสืบต่อจากท่านนบีนั่นเอง โดยแปลความหมายของ "เมาลา" ว่า หมายถึง เจ้านาย

จากนั้นจึงมีอายะฮฺอัล-กุรอานลงมาว่า "วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า..." (5 : 3) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความสมบูรณ์ของอิสลามบังเกิดขึ้นภายหลังจากการแต่งตั้งอิมามนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอุลามะฮฺของชีอะฮฺบางคนกล่าวว่า อายะฮฺดังกล่าวยังไม่ใช่อายะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา ยังมีอายะฮฺของซูเราะฮฺที่ 94 อัลอินชิรอฮฺ เป็นการประทานครั้งสุดท้ายซึ่งมีใจความว่า "เรามิได้ให้หัวอกของเจ้าปลอดโปร่งแก่เจ้าดอกหรือ และเราได้ผ่อนคลายภาระหนักของเจ้าให้หมดไปจากเจ้า อันทำให้หนักอึ้งแก่หลังของเจ้า และเราได้ยกย่องเจ้าซึ่งเกียรติคุณของเจ้า แท้จริงมีพร้อมกับความลำบากคือความสบาย แท้จริงมีพร้อมกับความลำบากคือความสบาย ดังนั้น เมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (ภารกิจหนึ่งแล้ว) เจ้าก็จงบากบั่น (ทำภารกิจอื่นต่อไป) และสู่องค์พระผู้อภิบาลของเจ้าเท่านั้น ที่เจ้าจงมุ่งหมาย" โดยที่บรรดานักแปลของฝ่ายชีอะฮฺ แปลข้อความตอนท้ายที่ว่า "ฟะอิซา ฟะร๊อฆตะ ฟันศ็อบ" ว่า เมื่อเจ้าเป็นอิสระแล้ว จงแต่งตั้ง (อลี) เถิด

   กล่าวโดยย่อก็คือ ชีอะฮฺมีความเชื่อว่าการแต่งตั้งผู้นำหรืออิหม่ามนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ไม่ใช่เรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจะมาตัดสินกันเอง การมีผู้นำเป็นประกาศิตของอัลลอฮฺมานับตั้งแต่สมัยของอิบรอฮีม อะลัยฮิสสะลามโดยอ้างอัล-กุรอาน 2 : 124 ซึ่งมีความว่า "และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขาด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษยชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม" การแต่งตั้งผู้นำจึงกลายเป็นประเพณีของบรรดาศาสดาทั้งหลายสืบต่อกันมา และการแต่งตั้งผู้นำนี้เป็นไปโดยพระบัญชาของอัลลอฮ์เพียงทางเดียวเท่านั้น ประชาคมหรือสมาชิกในสังคมไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสำคัญอย่างยิ่งข้อนี้

ดังฮะดีษที่มีอยู่ในหนังสือของชีอะฮฺ  " มินฮัจญ์ อัล-กิรอมะฮฺ" หน้า 94 เขียนโดย Jamaluddin, Abu mansur al-hasan bin Ali bin Mathhar พิมพ์ที่ ไคโร  1962  มีใจความว่า จากฮะดีษมุตะวาติร เมื่ออายะฮฺ "รอซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์เลย และอัลลอฮฺนั้นจะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์"( 5-67) ถูกประทานลงมา ท่านนบีจึงกล่าวกับฝูงชนที่เฆาะดีรคุม ว่า โอ้ประชาชนทั้งหลายฉันมิได้ เป็นที่รักใคร่ของพวกท่านทุกคนดอกหรือ พวกเขาจึงกล่าวว่า ถูกต้องท่านเป็นอย่างนั้นแน่นอน จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า  "ผู้ใดเอาฉันเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง*ตามความหมายของชีอะฮฺ*)ของเขา ก็ขอให้เขาเอาอาลีเป็นเมาลาของเขาด้วย โอ้อัลลอฮ์ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา และเป็นศัตรูแก่ผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา" และช่วยผู้ที่ช่วยเหลือเขาและนำความเสื่อมเสียมาให้กับผู้ที่ทำให้เขาเสื่อมเสีย" จากนั้นอุมัรได้กล่าวกับอาลีว่า ขอแสดงความยินดี ท่านได้เป็นเมาลาของฉัน และยังเป็นเมาลาของบรรดาผู้ศรัทธาชาย และหญิงทั้งมวลอีกด้วย"