Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 05:26:35 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 71
  • Online ever: 75
  • (มีนาคม 28, 2024, 11:51:59 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 49
Total: 49

1 มุหัรรอม ฮ.ศ.1431 รำลึกโศกนาฎกรรมในวันอาชูรอ

เริ่มโดย L-umar, พฤศจิกายน 19, 2009, 12:11:57 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

  •  

L-umar



มุหัรร็อม ตอน 1 :  

เดือนมุหัรร็อมจากอัลกุรอานและหะดีษ

بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
الحَمْدُ لِلهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ
وَصَلَّي اللهُ عَلَى مُحَمَّدٍ وَآلِ مُحَمَّدٍ وَأَصْحَابِهِ الْمُنْتَجَبِيْنَ  وَالْعَنْ عَدُوَّ مُحَمَّدٍ وَآلَ مُحَمَّدٍ
أَمَّا بَعْدُ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก  ขอพรและสันติพึงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัด วงศ์วานของท่านและซอฮาบะฮ์ของท่าน  ขออัลลอฮฺโปรดละอ์นัดศัตรูของท่านนบีมุฮัมมัด และวงศ์วานของท่าน


شَهْرُ مُحَرَّم مِنَ الْقُرْآنِ وَالْحَدِيْثِ

เดือนมุหัรร็อมจากอัลกุรอานและหะดีษ

อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงตรัสว่า

إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِنْدَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْراً فِي كِتَابِ اللَّهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ذَلِكَ الدِّينُ الْقَيِّمُ فَلا تَظْلِمُوا فِيهِنَّ أَنْفُسَكُمْ
 
แท้จริงจำนวนเดือน(ในปีหนึ่ง) ณ อัลลอฮ์นั้นมี 12 เดือน ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมี 4 เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม ( คือซุลกิ๊อ์ดะฮ์ ซุลฮิจญะฮ์ มุหัรร็อมและรอญับ )  นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น
ซูเราะฮ์อัต-เตาบะฮ์  : 36


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯกล่าวว่า

السَّنَةُ اثْنَا عَشَرَ شَهْراً مِنْهَا أَرْبَعَةُ حُرُمٌ ، ثَلَاثَ مُتَوَالِيَّات : ذُو الْقِعْدَة ، وَذُو الْحِجَّة ، وَالْمُحَرَّمُ ، وَرَجَب
 
หนึ่งปีนั้นมี  12 เดือน มี 4 เดือนที่เป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์  มี 3 เดือนที่อยู่ติดกันคือซุลกิ๊อ์ดะฮ์,ซุลฮิจญะฮ์และมุหัรร็อมและเดือนรอญับ      
 
ซอฮีฮุลบุคอรี  หะดีษที่ 4662  และซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 1679

รายชื่อเดือนในอิสลาม

1,มุหัรร็อม  2,ซอฟัร  3,รอบีอุล เอาวัล  4,รอบีอุล อาเค็ร  5,ญุมาดิล อูลา  6,ญุมาดิษ ษานี
7,รอญับ   8,ชะอ์บาน   9,รอมะฎอน   10,เชาวาล   11,ซุลกิอ์ดะฮ์     12,ซุลฮิจญะฮ์  



นิยามมุหัรร็อม    

سُمِّيَ هذا الشَّهْرَ مُحَرَّمًا لِتَحْرِيْمِ الْقِتِالِ فِيْهِ

เหตุที่ตั้งชื่อเดือนนี้ว่า " มุหัรร็อม " เพราะการทะเลาะวิวาท การต่อสู้ การหลั่งเลือดในเดือนนี้เป็นสิ่งต้องห้าม


ความสำคัญของสิบคืนแรกในเดือนมุหัรร็อม

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَلَيَالٍ  عَشْرٍ

ฃขอสาบานต่อสืบคืน   บทฟัจญ์รุ : 2

قَالَ يَمانُ بْنُ رَبَاب : اَلْعَشْرُ الْأُوْلَى مِنَ الْمُحَرَّمِ الَّتِيْ عَاشِرُهَا يَوْمَ عَاشُوْرَاء

ยะมาน บินรอบาบกล่าวว่า : คือสิบคืนแรกของเดือนมุหัรร็อม วันที่สิบของมันคือ วันอาชูรอ
ตัฟสีรอัษ-ษะอ์ละบี  เล่ม 14  หน้า 86  ซูเราะฮ์อัลฟัจญ์รุ : 2


ความสำคัญของวันอาชูรอ

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯกล่าวว่า

إِنَّ عَاشُورَاءَ يَوْمٌ مِنْ أَيَّامِ اللَّهِ تَعَالَى

แท้จริงวันอาชูรอวันหนึ่งจากอัยยามุลเลาะฮ์ ตะอาลา

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 6292  ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ

จากอัลกุรอานและหะดีษดังกล่าว จึงนับได้ว่าเดือนมุหัรร็อมนั้นเป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง และท่านรอซูลเรียกวันอาชูรอคือวันที่สิบของเดือนมุหัรร็อมว่า

"เยามุลเลาะฮ์ "    แปลว่า  วันแห่งอัลลอฮ์  

แน่นอนการพาดพิงสิ่งหนึ่งไปยังพระนามของอัลลอฮ์ สิ่งนั้นย่อมมีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่งในทัศนะของอัลลอฮ์และรอซูล เหมือนที่ท่านได้เรียก อัลกะอ์บะฮ์ว่า " บัยตุลเลาะฮ์ "   แปลว่า บ้านของอัลลอฮ์  
   
เมื่อเดือนมุหัรร็อมและวันอาชูรอมีทั้งความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ อยากถามว่า เราเคยมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์อิสลามบ้างไหมว่า เกิดเหตุการณ์อะไรบ้างในเดือนมุหัรร็อมที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะในวันอาชูรอ ???
  •  

L-umar



มุหัรร็อม ตอน 2  :


วันที่ 1 เดือนมุหัรร็อมไม่ใช่วันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม

بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกว่าวันที่ 1 เดือนมุหัรร็อม คือวันขึ้นปีใหม่ของมุสลิมที่ต้องเฉลิมฉลอง

ยกเว้นมุสลิมบางกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์และพวกบิดอะฮ์ที่ถือว่า 1 มุหัรร็อมคือวันรื่นเริง


เกิดอะไรขึ้นในวันอาชูรอ

วันศุกร์ที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ปีที่ 61 ฮิจเราะฮ์ศักราช กษัตริย์ยะซีด บุตรมุอาวียะฮ์ ( บุตรอบูสุฟยาน บุตรหัรบ์ บุตรอุมัยยะฮ์ ) ได้ส่งกองทัพไปล้อมท่านอิม่ามฮูเซนหลานชายท่านนบีมุฮัมมัดที่แผ่นดินกัรบาลา ประเทศอิรัก และกองทัพยะซีดได้ลงมือสังหารท่านฮูเซนอย่างโหดเหี้ยมในสภาพกระหายน้ำ


ทำไมจึงต้องลงมือสังหารชีวิตของฮูเซน บุตรท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรีท่านรอซูลุลลอฮ์ ?

ยะซีดและพวกที่มีความคิดเห็นเดียวกันกับยะซีดทั้งในอดีตและปัจจุบันกล่าวว่า ข้อหาเดียวที่ฮูเซนหลานชายท่านนบีฯต้องตายคือ เขาไม่ยอมมอบสัตยาบันให้กับกษัติรย์ยะซีดแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์

ทำไมฮูเซนจึงไม่ยอมมอบสัตยาบันให้กับยะซีด ?

قَالَ الْحُسَيْنُ : أَيُّهَا الْوَلِيْدُ: إِنَّكَ تَعْلَمُ  اِنَّا أهلُ بيتٍ بِنَا فَتَحَ اللهُ وَبِنَا يَخْتَمُ، وَمِثْلِيْ لاَ يُبَايِعُ لِيَزِيْدٍ شَارِبُ الْخُمُوْرِ وَرَاكِبُ الْفُجُوْرِ وَقَاتِلُ النَّفْسِ الْمَحْتَرَمَةِ

ท่านฮูเซนกล่าวว่า :

โอ้วะลีด(ผู้ปกครองมะดีนะฮ์) ท่านรู้ดีว่า เราคืออะฮ์ลุลบัยต์ อัลลอฮ์ทรงเปิดและปิดกิจการเพราะเรา และคนอย่างฉันจะไม่มีวันมอบสัตยาบันให้กับคนเช่นยะซีด (เพราะเขาคือ)คนดื่มสุรา คนทำบาป และสังหารผู้บริสุทธิ์

ดูหนังสือฟาญิอะตุต-ต็อฟ โดยสัยยิดมุฮัมมัด กาซิม อัลก็อซวีนี เล่ม 1 หน้า 2  

หลังจากฮูเซนถูกสังหาร กองทัพยะซีดได้ปฏิบัติเช่นไรกับอะฮ์ลุลบัยต์นบี ?
ครอบครัวของฮูเซนซึ่งเป็นอะฮ์ลุลบัยต์นบีที่รอดชีวิต ถูกทหารยะซีดคุมตัวเป็นเชลยส่งไปยังกษัตริย์ยะซีดที่กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย

หลักฐาน

عَنِ السُّدِيِّ، عَنْ أَبِي الدَّيْلَم قَالَ : لَمَّا جِيْءَ بِعَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَسِيْراً، فَأُقِيْمَ عَلَى دَرَجِ دِمَشْق، قَامَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ الشَّامِ فَقَالَ : اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ قَتَلَكُمْ وَاسْتَأْصَلَكُمْ، وَقَطَعَ قَرْنَ الْفِتْنَةِ، فَقَالَ لَهُ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ : أَقَرَأْتَ الْقُرْآنَ ؟  قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: أَقَرَأْتَ آلَ حم ؟  قَالَ : قَرَأْتُ الْقُرْآنَ وَلَمْ أَقْرَأْ آلَ حم ؟   قَالَ : مَا قَرَأْتَ : { قُل لاَّ أَسْـئَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْراً إِلاَّ ٱلْمَوَدَّةَ فِى ٱلْقُرْبَىٰ }  قَالَ : وَإِنَّكُمْ لَأَنْتُمْ هُمْ ؟   قَالَ : نَعَمْ .

อัซ-ซุดดีรายงานจากท่านอบี อัด-ดัยลัมเล่าว่า :  

ตอนที่ท่านอะลี บุตรชายของท่านฮูเซนถูกคุมตัวเป็นเชลยมายืนอยู่ที่ถนนเมืองดามัสกัส  มีชายชาวเมืองช่าม(ซีเรีย)คนหนึ่งด่าท่านว่า :

ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ทรงสังหารพวกเจ้าและตัดเขาแห่งความวุ่นวาย

ท่านอะลี บุตรฮูเซนได้ถามชายชาวเมืองช่ามคนนั้นว่า   :  ท่านเคยอ่านอัลกุรอ่านบ้างไหม ?  

ชายชาวเมืองช่าม  :  เคยอ่านสิ
   
ท่านอะลีบุตรฮูเซน : แล้วท่านเคยอ่านซูเราะฮ์อัชชูรอ(บทที่43)บ้างไหม

ชายชาวเมืองช่าม   :  ฉันเคยอ่านอัลกุรอ่าน แต่ไม่เคยอ่านซูเราะฮ์อัชชูรอ

ท่านอะลี บุตรฮูเซน  : ท่านคงไม่เคยอ่านโองการที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า  

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัดต่อมุสลิมทั้งหลายว่า) ฉันไม่ขอค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อการประกาศอิสลามนี้ ยกเว้น ให้แสดงความรักต่อญาติสนิท ) นี้ใช่ไหม ?  

ชายชาวเมืองช่ามถามว่า   :  
พวกท่านคืออัลกุรบา(ญาติสนิท)ของท่านนบีมุฮัมมัดกระนั้นหรือ ?

ท่านอะลี บุตรฮูเซน ตอบว่า  :  ใช่แล้ว          

สถานะหะดีษ : สายรายงานเชื่อถือได้
ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร   เล่ม 7 : 200  บทอัช-ชูรอ : 23  


วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า  :
อิสมาอีล บิน อับดุลเราะห์มาน อัซ-ซุดดี ชาวกูฟะฮ์  การรายงานเชื่อถือได้ แต่เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นชีอะฮ์
ตักรีบุต-ตะห์ซีบ โดยอิบนุ หะญัร เล่ม1 : 108 อันดับที่ 463

ท่านอิบนุ หิบบานกล่าวว่า :  
อบี อัด-ดัยลัม อัลยะมานี เป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้
อัษ-ษิกอต เล่ม 7 : 499 อันดับที่ 11158

นี่คือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับเดือนอันศักด์สิทธิ์ณ.อัลลอฮ์ และวันที่ท่านรอซูลเรียกว่า เยามุลเลาะฮ์


ใครคือคนแรกที่จัดพิธีมุหัรร็อมหรือมัจญ์ลิสอาชูรอขึ้นในอิสลาม ?

ต่อมาเมื่อยะซีดส่งตัวอะฮ์ลุลบัยต์ที่รอดชีวิตกลับมายังเมืองมะดีนะฮ์อันเป็นบ้านเกิดของพวกเขา ท่านอิม่ามอะลีซัยนุลอาบิดีน(บุตรชายอิม่ามฮูเซน) และท่านหญิงซัยนับ(น้องสาวของอิม่ามฮูเซน) ได้ทำการบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับท่านอิม่ามฮูเซนให้ชาวเมืองมะดีนะฮ์ได้รับรู้ความจริง
 
عَنْ عَلِيِّ بْنِ الْحُسَيْنِ : أَنَّهُمْ حِيْنَ قَدَمُوْا الْمَدِيْنَةَ مِنْ عِنْدَ يَزِيْدِ بْنِ مُعَاوِيَّة مَقْتَلِ الْحُسَيْنِ ابْنِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عنهما لَقِِيَهُ الْمِسْوَرُ بْنُ مَخْرَمَةَ فَقَالَ لَهُ هَلْ لَكَ إِلَيَّ مِنْ حَاجَةٍ تَأْمُرُنِيْ بِهَا قَالَ فَقُلْتُ لَهُ لاَ

ท่านอิม่ามอะลี(ซัยนุลอาบิดีน) บุตรท่านอิม่ามฮูเซนเล่าว่า  :
เมื่อพวกท่านเข้ามาที่เมืองมะดีนะฮ์ หลังจากที่กษัตริย์ยะซีด(ส่งตัวกลับมาหลังจากที่)ท่านฮูเซนบุตรอะลีถูกสังหาร    
อัลมิสวัร บินมัคร่อมะฮ์(ตาบิอี)ได้เข้ามาพบท่าน(อะลีซัยนุลอาบิดีน)แล้วกล่าวกับท่านว่า : ท่านมีความเดือดร้อนอันใดที่จะให้ข้าพเจ้าช่วยเหลือไหม โปรดสั่งข้าพเจ้าให้ทำสิ่งนั้นเถิด   ท่านอะลี(ซัยนุลอาบิดีน) กล่าวกับเขาว่า : ไม่มี....

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ  
ดูซอฮีฮุอบีดาวูด  หะดีษที่ 1821 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


สรุปว่า
หลังจากที่ท่านอิม่ามฮูเซนถูกสังหารที่กัรบาลา  บุคคลที่จัดเวทีปราศัยบรรยายที่การเสียชีวิตในหนทางแห่งอัลลอฮ์ของท่านอิม่ามฮูเซนคือ

1.   ท่านอะลี ซัยนุลอาบิดีน บุตรชายท่านอิม่ามฮูเซน
2.   ท่านหญิงซัยนับ น้องสาวของท่านอิม่ามฮูเซน
3.   อะฮ์ลุลบัยต์ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่กัรบาลา

นับจากนั้นมา
ผู้ที่มีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบีจึงได้จัดการบรรยายเรื่องราวของอิม่ามฮูเซนในเดือนมุหัรร็อมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่รู้จักกันในนาม


มัจญ์ลิสอาชูรอ

ชะอาเอ็ร ฮูซัยนียะฮ์  

หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า  

"  พิธีมุหัรร็อม  "
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 3  :  


การจัดพิธีมุหัรร็อม เป็นปัญหาฟิกฮ์  คำถามคือเป็น  ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์  ?



بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ซุนนะฮฺ

ในทางภาษาศาสตร์หมายถึง แนวทางหรือวิธีการ ซุนนะฮฺมาจากคำว่า"ซันนะ- سَنَّ"  หมายถึงวิถีหรือแนวทาง

หะดีษที่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

مَنْ سَنَّ فِى الإِسْلاَمِ سُنَّةً حَسَنَةً فَلَهُ أَجْرُهَا وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَىْءٌ وَمَنْ سَنَّ فِى الإِسْلاَمِ سُنَّةً سَيِّئَةً كَانَ عَلَيْهِ وِزْرُهَا وَوِزْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِهِ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَىْءٌ

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯกล่าวว่า :  
ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม แน่นอน เขาจะได้รับผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบแทนของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำแบบอย่างที่เลว ในอิสลาม แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา)โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลยจากบรรดาบาปของพวกเขา

ดูซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 1017          



หะดีษที่อะฮ์ลุบัยต์รายงาน

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وآله :  مَنْ سَنَّ سُنَّةً حَسَنَةً فَلَهُ أَجْرُهَا وَ أَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ مِنْ غَيْرِ أَنْ يُنْقَصَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْ‏ءٌ

ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯกล่าวว่า :  
ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดี ดังนั้นสำหรับเขาจะได้รับผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยมันจนถึงวันกิยามะฮ์ โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลยจากผลการตอบแทนของพวกเขา

อัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 5 : 9-10 หะดีษที่ 1


นักวิชาการได้ให้นิยามซุนนะฮฺว่า
สิ่งใดก็ตามที่รายงานมาจากสิ่งที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ได้พูด กระทำ หรือยอมรับในการกระทำนั้นๆ



ท่านรอซูลุลลอฮ์กับเรื่องราวของท่านอิม่ามฮูเซน


ตัวอย่างจากสิ่งเป็นคำพูด  ได้แก่หะดีษที่ท่านรอซูลกล่าวถึงการถูกสังหารของท่านฮูเซน

ตัวอย่างจากการกระทำของท่านรอซูล ได้แก่การที่ท่านนั่งโศกเศร้าร้องไห้ให้กับการถูกสังหารของท่านฮูเซน
ตัวอย่างจากการยอมรับของท่าน ได้แก่เมื่อท่านนิ่งเฉยเมื่อเห็นเศาะฮาบะฮฺคือท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ร้องไห้เมื่อนางได้ยินท่านเล่าว่า ฮูเซนหลานชายจะถูกสังหาร การนิ่งเฉยในกรณีนี้ถือว่าเป็นการยอมรับ
จะทยอยนำเสนอหะดีษต่อไปอินชาอัลลอฮ์

คำว่าซุนนะฮฺยังถูกนิยามอีกว่าหมายถึงกฏเกณฑ์ทางศาสนาที่วางอยู่บนหลักฐานตามนิตินัยไม่ว่า อัลกุรอาน คำพูดของท่านนบี  รวมทั้งคำพูดและการกระทำของอะฮ์ลุลบัยต์  ด้วย

ตรงข้ามกับซุนนะฮฺคือบิดอะฮฺ(การอุตริกรรม)ในทางศาสนา ท่านนบีกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า

عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِيْ وَ سُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ الْمَهْدِيِّيْنَ بَعْدِيْ

พวกท่านจงยึดแบบอย่างของฉันและแบบอย่างของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมหลังจากฉัน

ซิลซิละตุซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 6 : 234  หะดีษที่ 26 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี


โดยทั่วไปเราสามารถนิยามซุนนะฮ์ว่าเป็นสิ่งที่ท่านรอซูลได้พูด หรือได้กระทำเพื่อเป็นแบบอย่างชีวิตสำหรับพวกเรา



บิดอะฮ์

ในทางศาสนาหมายถึง อุตริกรรมอันเป็นสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์และบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์มิได้กระทำไว้  


ดังที่มีหะดีษรายงานว่า

قَالَ رَسُوْلُ الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  : فَإِنَّ خَيْرَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ الله وَخَيْرَ الْهَدْيِ هَدْيُ مُحَمَّدٍ وَشَرَّ الْأُمُوْرِ مُحْدَثَاتُهَا وَكُلُّ مُحْدَثَةٍ  بِدْعَةٌ وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ
 
ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯกล่าวว่า :
แท้จริงถ้อยคำที่ดีที่สุดคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุดคือ ทางนำของมุหัมมัด และบรรดาการงานที่ชั่วที่สุดคือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่(ไม่มีในบทบัญญัติ) และทุกสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น หลงทาง

ซอฮีฮุลบุคอรี หะดีษที่ 6735 และซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 1435


พิธีมุหัรร็อมมิได้เป็นงานกราบไหว้บูชาอิม่ามฮูเซน แต่เป็นงานยกย่องสัญลักษณ์ของอัลลอฮ์

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَمَن يُعَظِّمْ شَعَائِرَ اللَّهِ فَإِنَّهَا مِن تَقْوَى الْقُلُوبِ
 
ผู้ใดยกย่องให้เกียรติสัญลักษณ์ต่างๆของอัลลอฮ์  แท้จริงสิ่งนั้น(การยกย่องต่อสัญลักษณ์ของอัลลอฮ์ ) จะทำให้หัวใจมีความยำเกรงมากขึ้น  

ซูเราะฮ์อัลฮัจญ์  : 32

สัญลักษณ์ شَعَائِرٌ แห่งการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์มีมากมายเช่น ทำนมาซ ถือศีลอด ทำฮัจญ์ ขอดุอา อ่านกุรอ่าน และสิ่งอื่นๆที่ถูกนับว่าเป็นอิบาดะฮ์(การเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ)

قالَ أميرُ المُؤْمِنِيِْن (ع) : نَحْـنُ الشَّعائِرُ

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลัยฮิสสลามกล่าวว่า  : พวกเราคือสัญลักษณ์ ( หนึ่งของอัลลอฮ์ )

ดูมุสตัดเราะกุสะฟีนะตุลบิฮาร เล่ม 5 : 1 และ
ยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์  โดยเชคก็อนดูซี  อัลฮานาฟี เล่ม 3 : 471


นักวิชาการในแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์
ได้ให้ความสำคัญต่อมัจญ์ลิสอาชูรอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนมุหัรร็อมและซอฟัร

เพราะเป็นเดือนแห่งการฟื้นฟูอิสลามที่แท้จริงและชี้นำมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิม ให้รู้จักแยกความจริงออกจากความเท็จ
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 4  :  


พิธีมุหัรร็อม คือ ซุนนะฮ์ หรือ บิดอะฮ์ ?



بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

มุสลิมบางท่านที่มิเคยเข้าร่วมพิธีมุหัรร็อมหรือมัจญ์ลิสอาชูรออาจสงสัยว่า

ในงานรำลึกดังกล่าวมีกิจกรรมอะไรบ้าง ?


โปรแกรมหลักของพิธีมุหัรร็อมคือ

1 – จัดบรรยายหลักการอิสลามและความสูงส่งของอะฮ์ลุลบัยต์นบี

2 – บรรยายถึงมุซีบัต คือโศกนาฎกรรมของท่านอิม่ามฮูเซนประสบจากกองทัพยะซีด

3 – อ่านซิยารัต(ให้สลาม) และอ่านฟาติหะฮ์อุทิศษะวาบให้กับรู๊ห์ของอิม่ามฮูเซนและบรรดาชุฮะดาอ์ที่ถูกสังหารณ.แผ่นดินกัรบาลา ประเทศอิรัก



หากท่านอยากทราบว่า พิธีมุหัรร็อมเป็นซุนนะฮ์หรือบิดอะฮ์ ?

เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปฏิบัติต่อมุสลิมที่เสียชีวิต(มัยยิตมุสลิมที่ซอและห์)ดังต่อไปนี้เป็นซุนนะฮ์หรือบิดอะฮ์  ?
 
1.   การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัต(ความทุกข์ยาก)ของคนตาย

2. การนั่งเศร้าไว้อาลัยถึงคนตายเนื่องจากนึกถึงความหลังเก่าๆและสำนึกในบุญคุณของคนตาย

3 .  การร้องไห้ให้คนตาย

4 .  การอ่านมะระเซี่ย(บทกลอน)รำพึงรำพันถึงคนตาย

5. การแจกจ่ายเพื่อคนตายในด้านความดี ( เช่นอุทิศส่วนกุศลให้คนตายด้วยการเลี้ยงอาหาร )



เราจะพิสูจน์ให้ท่านทราบว่าเรื่องทั้ง 5 นี้คือ


"ซุนนะฮ์ที่ดีงามในอิสลาม " ด้วยหลักฐานจาก



1.   คัมภีร์อัลกุรอาน

2.   หะดีษที่อะฮ์ลุสซุนนะฮ์รายงาน

3.   ชีวประวัติของนบีมุฮัมมัดและบรรดาซอฮาบะฮ์

4.   หะดีษที่บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์รายงาน
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 5  :


การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัตของมัยยิตซอและห์


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ


เรื่องที่ 1  -

การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัต(ความทุกข์ยาก)ของคนตาย

อิสลามถือว่า
การเล่าถึงเรื่องราวของคนดีที่เสียชีวิตแล้วคือ " บทเรียน " คือเป็นอุทาหรณ์สอนใจ    


อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِّأُوْلِي الأَلْبَابِ

โดยแน่นอนยิ่ง ในเรื่องราวของพวกเขา คือบทเรียนสำหรับบรรดาผู้มีวิจารณญาณ  
 
ซูเราะฮ์ยูซุฟ  : 111


อธิบาย :


เรื่องราวของพวกเขา - قِصَصِهِمْ  คือ
เรื่องของนบียูสุฟและบรรดานบีกับประชาชาติของพวกเขา

บทเรียน ( عِبْرَةٌ) หมายถึง  
ข้อคิด- فِكْرَةٌ  ข้อเตือนสติ- تَذْكِرَةٌ  อุธาหรณ์หรือคำสอน- عِظَةٌ  

อูลิล อัลบาบ -  أُوْلِي الْأَلْبَابِ หมายถึง
ปัญญาชน , ผู้มีวิจารณญาณ  


ถ้าหากเรื่องของบรรดานบีที่ล่วงลับไปแล้วในอดีตคือ " บทเรียนสอนใจ "  

แล้วทำไมเรื่องของท่านฮูเซนหลานตาท่านนบีมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาคนสุดท้ายของโลกจะไม่เป็นบทเรียนสอนใจสำหรับมุสลิมกระนั้นหรือ  ?


คำถามสำคัญคือ มีสักครั้งหนึ่งในชีวิตไหม ที่ท่านเคยศึกษาชีวประวัติของบุคคลที่ชื่อ


ฮูเซน บุตร ฟาติมะฮ์  บุตรีนบีมุฮัมมัด ???
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 6  :  

การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัตของมัยยิตซอและห์


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ซอฮาบะฮ์กับการพูดหรือเล่าถึงเรื่องราวของคนตาย

อิสลามอนุญาติให้บรรยายถึงเรื่องคนตายที่ซอและห์ได้ หลักฐานคือแบบอย่างของซอฮาบะฮ์


ท่านหญิงฟาติมะฮ์ บุตรีนบีมุฮัมมัด หลังฝังบิดาเสร็จนางรำพันว่า :  

فَلَمَّا مَاتَ قَالَتْ :
يَا أَبَتَاهْ ، أَجَابَ رَبًّا دَعَاهُ ،      يَا أَبَتَاهْ ، مَنْ جَنَّةُ الْفِرْدَوْسِ مَأْوَاهُ ،     يَا أَبَتَاهْ ، إِلَى جِبْرِيلَ نَنْعَاهْ  

โอ้พ่อจ๋า !  ท่านได้ตอบรับอัลลอฮ์แล้ว เมื่อทรงเรียกหา  
   
โอ้พ่อจ๋า   ผู้ที่สวรรค์ฟิรเดาส์คือที่พำนักของท่าน

โอ้พ่อจ๋า   เราขอสดุดีเกียรติคุณท่านยังญิบรออีล  


ซอฮีฮุลบุคอรี   หะดีษที่ 4103


ท่านหญิงฟาติมะฮ์ได้พรรณนาถึงบิดาหลังจากเสียชีวิตต่อหน้าซอฮาบะฮ์ทั้งหลาย นางร้องไห้และทำให้ซอฮาบะฮ์ร้องไห้ตาม
หากการกระทำนี้เป็นบิดอะฮ์(อุตริกรรมทางศาสนา) คงต้องมีซอฮาบะฮ์ตักเตือนนางว่า นี่คือบิดอะฮ์ ขอจงอย่าทำเลย  เพราะบิดานางจะถูกลงโทษในหลุมด้วยน้ำตานาง

ดังนั้นการกระทำของท่านหญิงฟาติมะฮ์บ่งบอกว่า อิสลามอนุญาติ
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 7 :  


การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัตของมัยยิตซอและห์


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ซอฮาบะฮ์กับการพูดหรือเล่าถึงเรื่องราวของคนตาย


ท่านหญิงอาอิชะฮ์ บุตรีท่านอบูบักร

นางได้รำพึงรำพันถึงบิดาตอนที่บิดาเสียชีวิตและหลังจากนั้น แม้เวลาจะผ่านมานานแล้ว  

عَنِ الْقَاسِمِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ عَائِشَة أَنَّهَا مَرَّتْ عَلَى قَبْرِ أَبِيْهَا فَقَالَتْ :
فَلَقَدْ كُنْتَ لِلدُّنْيَا مُذِلاًّ بِإِعْرَاضِكَ عَنْهَا
وَلِلْآخِرَةِ مُعِزًّا بِإِقْبَالِكَ عَلَيْهَاَ
وَلَئِنْ كَانَ أَجَلُّ بَعْدَ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم رُزْؤَكَ وَأَعْظَمُهَا فُقْدَكَ

อัลกอซิม บินมุฮัมมัดเล่าว่า :
 
แท้จริงท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้เดินผ่านมาที่หลุมศพของบิดานาง  แล้วนางได้รำพันว่า :  

แน่แท้สำหรับดุนยาต่ำต้อยเมื่อท่านจากไป

และสำหรับอาคิเราะฮ์นั้นเป็นเกียรติต่อการมาของท่าน

มหาวิปโยคหลังจากท่านรอซูลุลลอฮฺจากไป     คือวิปโยคที่สูญเสียท่าน

มุซีบัตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากท่านรอซูลฯ         คือการจากไปของท่าน



อ้างอิงจากหนังสือ
ตารีคดามัสกัส โดยอิบนุอะซากิร  เล่ม 30 หน้า 443
อัลริยาฎุน-นัฎเราะฮ์ ฟีมะนากิบิลอะชะเราะฮ์ โดยมุฮิบบุดดีน อัฏ-ฏ็อบรี เล่ม 1 หน้า 129  



การกระทำของท่านหญิงอาอิชะฮ์บ่งบอกว่า อิสลามอนุญาติ
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 8 :  

การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัตของมัยยิตซอและห์


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ซอฮาบะฮ์กับการพูดหรือเล่าถึงเรื่องราวของคนตาย


ท่านอะลี บินอบีตอลิบ

ท่านเซด บินวะฮับเล่าว่า  : พวกเราเดินมากับท่านอะลี ขณะที่กลับจากสงครามซิฟฟีน จนมาถึงประตูเมืองกูฟะฮ์ (ประเทศอิรัก) ทันใดนั้นเราพบสุสานเจ็ดหลุมอยู่ทางด้านขวาของเรา
ท่านอะลีกล่าวว่า  : นี่เป็นสุสานของใครกัน ?
พวกเขากล่าวว่า :  โอ้ท่านอมีรุลมุอ์มินีน  แท้จริงท่านค็อบบาบ บินอัลอะร็อตติได้เสียชีวิตหลังจากที่ท่านออกไปที่ซิฟฟีน   เขาได้สั่งเสียว่า ให้ฝังเขาไว้ที่ใจกลางผู้คน  


ท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า :


رَحِمَ اللهُ خَبَّاباً،  لَقَدْ أَسْلَمَ رَاغِباً،
وَهَاجَرَ طَائِعاً،    وَعَاشَ مُجَاهِداً،
وَابْتَلَى فِيْ جِسْمِهِ أَحْوَالاً،
وَلَنْ يُضَيِّعَ اللهُ أَجْرَ مَنْ أَحْسَنَ عَمَلاً

ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาคอบบาบด้วยเถิด     แน่นอนเขาเข้ารับอิสลามด้วยความมุ่งหวัง  

เขาอพยพมาด้วยความภักดี         เขาใช้ชีวิตด้วยความต่อสู้เสียสละ  

ร่างเขาถูกทดสอบหลายเหตุการณ์  และอัลลอฮ์จะไม่ทรงบั่นทอนรางวัลของผู้ประกอบการงานที่ดีงาม



อ้างอิงจากหนังสือ
อัลมุอ์ญะมุลกะบีร โดยอัฏ-ฏ็อบรอนี เล่ม 4 หะดีษที่ 3618
อุสดุลฆอบะฮ์ โดยอิบนุลอะษีร  เล่ม 1 หน้า 316
ฮิลยะตุลเอาลิยาอ์  อบูนุอัยมฺ อัลอัศบะฮานี เล่ม 1 : 147



การกระทำของท่านอะลีบ่งบอกว่า อิสลามอนุญาติ
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 9 :  

การบรรยายหรือพูดถึงความดีและมุซีบัตของมัยยิตซอและห์


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ซอฮาบะฮ์กับการพูดหรือเล่าถึงเรื่องราวของคนตาย


ท่านฮาซัน บินอะลี บินอบีตอลิบ

เมื่อท่านอะลี บินอบีตอลิบเสียชีวิต ท่านฮาซันบุตรชายได้ออกมาปราศรัยถึงบิดาที่หน้ามัสญิดกูฟะฮ์ว่า

وَاللهِ لَقَدْ قَتَلْتُمُ الْلَيْلَةَ رَجُلاً فِيْ لَيْلَةٍ نُزِلَ فِيْهَا الْقُرْآنُ
وَفِيْهَا قُتِلَ يُوْشَعُ بْنُ نُوْن فَتَى مُوْسَى
وَفِيْهَا رُفِعَ عِيْسَى بْنُ مَرْيَم مَا سَبَقَهُ أَحَدٌ مِنْ قَبْلِهِ وَلاَ لَحِقَهُ أَحَدٌ كَانَ بَعْدَهُ

ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า แน่นอนพวกเจ้าได้สังหารชายคนหนึ่งในค่ำคืนที่คัมภีร์อัลกุรอานถูกประทานลงมา

เป็นคืนที่ยูชะอ์ บินนูนวะซีของนบีมูซาถูกสังหาร

และ(เป็นคืนที่)นบีอีซา บุตรมัรยัมถูกยกขึ้นฟ้า

ไม่เคยมีใครล้ำหน้าเขามาก่อนเลย  และจะไม่มีใครเทียบเขาได้ หลังจากเขาจากไป  


อ้างอิงจาก
อัลมุอ์ญะมุลเอาซัฏ  โดยอัฏ-ฏ็อบรอนี  เล่ม 8 หะดีษที่ 8469


คำพรรณนาถึงคนตายเช่นนี้มีมากมาย แต่เท่านี้คงเป็นหลักฐานเพียงพอแล้ว

หากท่านแย้งว่า การรื้อฟื้นเรื่องคนตายขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องฮะร่าม (คือศาสนาห้ามกระทำ)  


ตอบ ถ้าเชื่อแบบนี้ก็หมายความว่า  การศึกษาเรียนรู้ชีวประวัติของบรรดาศาสดาและซอฮาบะฮ์ก็ต้องห้ามด้วยเช่นกัน  
และยังส่งผลให้ห้ามศึกษาเรื่องราวจากคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษอีกด้วย  เพราะเนื้อหาบางส่วนในอัลกุรอานและหะดีษกอรปไปด้วยเรื่องความดีงามและโศฏนาฏกรรมต่างๆของบรรดานบีและคนซอและห์ทั้งสิ้น
มีมุสลิมคนใดบ้างที่พอใจกับตัวเองต่อความโง่เขลาที่มีความเชื่อเช่นนี้ หรือจะเลือกเป็นคนตาบอดเช่นนี้ เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้พ้นจากความโง่เขลาของคนเบาปัญญาที่คิดเช่นนี้ด้วยเถิด  


สรุป -

การพูดหรือบรรยายถึงคนตายที่เป็นคนดี ด้วยการเผยแผ่ความดีงามและรำลึกถึงมุซีบัตของเขา เป็นสิ่งที่อะฮ์ลุลบัยต์และซอฮาบะฮ์ได้กระทำไว้เป็นแบบอย่าง
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 10 :  

การนั่งเศร้าไว้อาลัยให้มัยยิต(คนตาย) เนื่องจากนึกถึงความหลังเก่าๆและสำนึกในบุญคุณของคนตาย


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ



เรื่องที่ 2  -

การนั่งเศร้าไว้อาลัยให้มัยยิต(คนตาย) เนื่องจากนึกถึงความหลังเก่าๆและสำนึกในบุญคุณของคนตาย




หลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดเรื่องอนุญาติให้กระทำเช่นนี้ได้คือ หะดีษมุตะวาติรที่รายงานว่า ท่านนบีมุฮัมมัดมีความเศร้าใจมากที่สุดเมื่อต้องสูญเสียลุงอบูตอลิบและภรรยาชื่อคอดีญะฮ์บุคคลอันเป็นสุดที่รักยิ่งไปในภายปีเดียวกันคือปีที่ 10 ฮิจเราะฮ์ศักราช จนท่านนบีฯตั้งชื่อปีนั้นว่า عَامُ الْحُزْنِ – แปลว่า ปีแห่งความเศร้า


หะดีษที่รายงานเรื่องท่านนบีนั่งเศร้านึกถึงคนตาย


عن عَائِشَةَ - رضى الله عنها - تَقُولُ لَمَّا جَاءَ قَتْلُ ابْنِ حَارِثَةَ وَجَعْفَرِ بْنِ أَبِى طَالِبٍ وَعَبْدِ اللَّهِ بْنِ رَوَاحَةَ - رضى الله عنهم - جَلَسَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - يُعْرَفُ فِيهِ الْحُزْنُ


ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า :

เมื่อ(เซด) อิบนุฮาริษะฮ์, ญะอ์ฟัร บินอบีตอลิบและอับดุลลอฮ์ บิน ร่อวาฮะฮ์ถูกสังหาร ( ที่สงครามมุอ์ตะฮ์ เมืองช่าม )  ท่านรอซูลุลลอฮ์นั่ง(อยู่ในมัสญิด ที่ใบหน้าท่าน) เป็นที่รู้ดีว่ามีความเศร้าเสียใจ

ซอฮีฮุลบุคอรี  หะดีษที่ 4263 และซอฮี๊ฮฺมุสลิม หะดีษที่ 2204

عَنْ عَائِشَةَ قَالَتْ لَمَّا قُتِلَ زَيْدُ بْنُ حَارِثَةَ وَجَعْفَرٌ وَعَبْدُ اللَّهِ بْنُ رَوَاحَةَ جَلَسَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى الْمَسْجِدِ يُعْرَفُ فِى وَجْهِهِ الْحُزْنُ وَذَكَرَ الْقِصَّةَ.

ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า :

เมื่อ(เซด)อิบนุ ฮาริษะฮ์, ญะอ์ฟัร บิน อบีตอลิบและอับดุลลอฮ์ บิน ร่อวาฮะฮ์ถูกสังหาร(ที่สงครามมุอ์ตะฮ์ เมืองช่าม )   ท่านรอซูลุลลอฮ์นั่งอยู่ในมัสญิด ที่ใบหน้าท่านเป็นที่รู้ว่ามีความเศร้าโศกเสียใจ

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ  

ดูซอฮีฮุอบีดาวูด หะดีษที่ 2678  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



عَنْ أَنَسٍ - رضى الله عنه - قَالَ قَنَتَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - شَهْرًا حِينَ قُتِلَ الْقُرَّاءُ ، فَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - حَزِنَ حُزْنًا قَطُّ أَشَدَّ مِنْهُ

ท่านอะนัสเล่าว่า  :  

ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)อ่านดุอากุนูตประมาณ 1 เดือน (สาเหตุเนื่องจาก) นักท่องจำอัลกุรฺอานถูกสังหาร ซึ่งฉัน(ผู้เล่า) ไม่เคยเห็นท่านรอซูลุลลอฮ์โศกเศร้าเสียใจครั้งใดที่รุนแรงมากไปกว่าครั้งนั้นเลย      

ซอฮีฮุลบุคอรี  หะดีษที่ 1300


หะดีษเช่นนี้มีมากมาย หากมีผู้แย้งว่า การพรรณาเศร้าโศกถึงคนตายมันก็ดีอยู่ แต่ไม่ควรพร่ำพรื่อบ่อยครั้ง หากผู้ตายนั้นเสียชีวิตไปนานแล้ว  
 
ตอบ –
ไม่ว่าจะพึ่งตายหรือตายนานแล้ว ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะเมื่อใดที่นึกถึงเขา ก็ย่อมเกิดความรู้สึกเศร้าเสียใจได้เสมอ
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 11 :  

การนั่งเศร้าไว้อาลัยให้มัยยิต(คนตาย)
เนื่องจากนึกถึงความหลังเก่าๆและสำนึกในบุญคุณของคนตาย


بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

ประเพณีของชาวเมืองมะดีนะฮ์

ชาวมะดีนะฮ์มีประเพณีหนึ่งคือ  เมื่อมีการตายเกิดขึ้นและมีการร่ำไห้แก่มัยยิต  พวกเขาจะไว้ทุกข์ให้กับท่านฮัมซะฮ์ก่อน จนเป็นประเพณีที่ทำกันเรื่อยมา  แต่เราพบว่าหะดีษที่บันทึกเรื่องนี้มีรายงานไว้หลายลักษณะ ที่ต้องอาศัยคำอธิบายจากนักวิชาการในแต่ละหะดีษดังนี้

عَنِ إبْنِ عَبَّاس قَالَ : لَمَّا رَجَعَ رَسُولُ الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أُحُد بَكَتْ نِسَاءُ الْأَنْصَارِ عَلَي شُهَدَائِهِمْ فَبَلَغَ ذلِكَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : لَكِنْ حَمْزَةُ لاَ بَوَاكِيَ لَهُ  فَرَجَعَتِ الْأَنْصَارُ فَقَالُوْا لِنِسَائِهِمْ لاَ تَبْكِيْنَ أَحَدًا  حَتَّي تَبْدَأْنَ بِحَمْزَة   قَالَ : فَذَاكَ فِيْهِمْ إِلَي الْيَوْمِ لاَ يَبْكِيْنَ مَيِّتًا إِلاَّ بَدَأْنَ بِحَمْزَة

ท่านอิบนุ อับบาสเล่าว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮฺกลับจากสงครามอุฮุด  พวกสตรีชาวอันศ็อรได้ร้องไห้ให้กับบรรดาชะฮีด(ที่เป็นญาติพี่น้อง)ของพวกนาง เมื่อท่านนบีได้ทราบเรื่อง  ท่านกล่าวว่า : แต่ฮัมซะฮ์ล่ะ ไม่มีใครร้องไห้ให้เขาเลย   ชาวอันศ็อรจึงกลับไปบอกกับพวกผู้หญิงของพวกเขาว่า  พวกเธอจงอย่าร้องไห้ให้กับผู้ตายคนใด จนกว่าจะร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์เสียก่อน
ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : สิ่งนั้น(การร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์)ได้กระทำกัน(เป็นประเพณี)ในหมู่พวกเขาจนมาถึงวันนี้  พวกนางจะไม่ร้องไห้ให้มัยยิตใด นอกจากจะเริ่มต้นด้วยการร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์ก่อน

อ้างอิงจากหนังสือ
มัจญ์มะอุซ-ซะวาอิด  เล่ม 6 หะดีษที่ 10110  รายงานโดยอัฏ-ฏ็อบรอนี
สถานะหะดีษ : นักรายงานทั้งหมดเชื่อถือได้ ยกเว้นยะห์ยา บินมุฏี๊อฺ อัชชัยบานีนั้นไม่รู้จักเขา



จะเห็นได้ว่า ท่านนบีมุฮัมมัดได้ตำหนิเหล่าซอฮาบียะฮ์ว่า ทำไมไม่มีใครร้องไห้ให้กับหัวหน้าของชะฮีดทั้งหลายบ้างล่ะ  ดังนั้นบรรดาซอฮาบียะฮ์จึงร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์จนกลายเป็นประเพณีเรื่อยมา
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 12 :  

การนั่งเศร้าไว้อาลัยให้มัยยิต(คนตาย)
เนื่องจากนึกถึงความหลังเก่าๆและสำนึกในบุญคุณของคนตาย



بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

عَنِ ابْنِ عُمَر رضي الله عنهما قَالَ : رَجَعَ رَسُوْلُ الله صلى الله عليه و سلم يَوْمَ أُحُد فَسَمِعَ نِسَاءَ بَنِيْ عَبْدِ الْأَشْهَلِ يَبْكِيْنَ عَلَى هَلْكَاهُنَّ فَقَالَ : لَكِنَّ حَمْزَة لَا بَوَاكِيَ لَهُ

ท่านอิบนุอุมัรเล่าว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์กลับจากสงครามอุฮุด ท่านได้ยินเสียงของสตรีเผ่าอับดุลอัชฮัลกำลังร้องไห้ให้กับ(ญาติพี่น้องที่)ถูกสังหารของพวกนาง ท่านจึงกล่าวว่า " แต่ฮัมซะฮ์ล่ะ ไม่มีใครร้องไห้ให้เขาเลย "

สถานะหะดีษ : ฮาซัน
ดูอัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม เล่ม 3 หะดีษที่ 4891 ฉบับตรวจทานโดยท่านอัซซะฮะบี
และซอฮีฮุอิบนิมาญะฮ์ หะดีษที่ 1293 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



قَوْلُهُ  - صَلَّى اللهُ عليه وسلم - :  « لَكِنَّ حَمْزْةَ لاَ بَوَاكِىَ لَهُ » ، فَدَلَّ عَلَى جَوَازِ الْبُكاَءِ عَلَى الْمَيِّتِ بَعْدَ مَوْتِهِ.    الكتاب : شرح البخاري لابن بطال ج 5 ص 323


ท่านเชค อิบนุบัฏฏ็อลกล่าวว่า :

จากคำที่ท่านนบีฯกล่าวว่า  " แต่ฮัมซะฮ์ล่ะ ไม่มีใครร้องไห้ให้เขาเลย " คือหลักฐานแสดงว่า อนุญาติให้ร้องไห้แก่มัยยิตได้
     
ดูชัรฮุลบุคอรี โดยอิบนุ บัฏฏ็อล เล่ม 5 หน้า 323 หะดีษที่ 48


عَنْ ابْنِ عُمَر \\\" أَنَّ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَرَّ بِنِسَاءِ بَنِي عَبْد الْأَشْهَل يَبْكِينَ هَلْكَاهُنَّ يَوْم أُحُد فَقَالَ : لَكِنَّ حَمْزَة لَا بَوَاكِيَ لَهُ . فَجَاءَ نِسَاء الْأَنْصَار يَبْكِينَ حَمْزَة ،
فَاسْتَيْقَظَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : وَيْحهنَّ ، مَا اِنْقَلَبْنَ بَعْدُ ، مُرُوهُنَّ فَلْيَنْقَلِبْنَ ، وَلَا يَبْكِينَ عَلَى هَالِك بَعْد الْيَوْم \\\"  ( حسن صحيح )      صحيح ابن ماجة - (ج 1 / ص ُ  


ท่านอิบนุ อุมัรเล่าว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(กลับจากสงครามอุฮุด) ท่านเดินผ่านพวกสตรีของ(เผ่า)อับดุลอัชฮัลซึ่งกำลังร้องไห้ให้กับ(ญาติพี่น้องที่)ถูกสังหารของพวกนางในวันอุฮุด ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงกล่าวว่า " แต่ฮัมซะฮ์ล่ะ ไม่มีใครร้องไห้ให้เขาเลย " สตรีชาวอัน  ศ็อรจึงมาร้องไห้ให้กับท่านฮัมซะฮ์
ท่านรอซูลุลลอฮ์ได้ตื่นขึ้นมาแล้วกล่าวว่า โอ้อนิจจาพวกนางเอ๋ย จะเป็นอะไรหากพวกนางต้องเปลี่ยนไปหลังจากนี้  พวกท่านจงสั่งให้พวกนางเปลี่ยน พวกนางจะต้องไม่ร้องไห้แก่คนตายหลังจากวันนี้อีก  

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ
ดูซอฮีฮุอิบนิ มาญะฮ์ เล่ม 1 หะดีษที่ 1293  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี



ท่านอัลบัยฮะกีกล่าวว่า :

คิดว่า ผู้ตายในที่นี้หมายถึง บรรดาผู้ตายชะฮีดในสงครามอุฮุด อย่างกับท่านนบีฯต้องการบอกกับสตรีชาวอันศ็อรเหล่านั้นว่า พวกเธอหยุดร้องไห้ให้กับบรรดาชะฮีดได้แล้ว และมีรายงานว่า อนุญาติให้ร้องไห้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยน้ำตา ด้วยจิตใจทุกข์ระทม ซึ่งเป็นหะดีษของญาบิร บินอะตี๊ก  วัลลอฮุ อะอ์ลัม  

อ้างอิงจากหนังสือสุนัน อัลบัยฮะกี เล่ม 2 หน้า  412


จะไม่เหมาะสมสำหรับมวลมุสลิมหรือ  ที่จะปลอบใจท่านนบีมุฮัมมัดด้วยการแสดงความเสียใจให้กับหลานรักของท่านคืออิม่ามฮูเซน อะลัยฮิสลาม

หากผู้ใดได้ศึกษาถ้อยคำของบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ในเรื่องนี้  เขาจะพบว่าบรรดาอิม่ามได้กล่าว,ได้กระทำและให้การยอมรับสิ่งนี้มาโดยตลอด  เพียงแต่เราต้องการชี้แจงให้หมู่ชนที่ไม่เข้าใจซุนนะฮ์อย่างแท้จริงได้รับฟังเท่านั้นเอง
  •  

L-umar



มุหัรร็อม ตอน 13 :  


การร้องไห้ให้คนตาย

بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

เรื่องที่ 3  - การร้องไห้ให้คนตาย(ที่ซอและห์)



ท่านนบียะอ์กูบ อะลัยฮิสสลามร้องไห้ต่อการสูญเสียยูสุฟบุตรชายจนตาบอด และอัลลอฮ์มิทรงตำหนิความเศร้าของท่าน  

อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า


وَتَوَلَّى عَنْهُمْ وَقَالَ يَا أَسَفَى عَلَى يُوسُفَ وَابْيَضَّتْ عَيْنَاهُ مِنَ الْحُزْنِ فَهُوَ كَظِيمٌ

และยะอ์กูบได้ผินหลังให้พวกลูกๆ (พวกพี่ของยูสุฟ) และเขากล่าวว่า  โอ้อนิจจา ยูสุฟเอ๋ย !  และตาทั้งสองข้างของเขา ขุ่นมัวเนื่องจากความเศร้าโศกและเขาเป็นผู้อดกลั้น  

ซูเราะฮฺ ยูสุฟ : 84


عَنِ الْحَسَنِ - رَضِيَ اللهُ عَنْهُ – قَالَ : كَانَ مُنْذُ خَرَجَ يُوْسُفُ (ع) مِنْ عَنْدَ يَعْقُوْب (ع) إِلَى يَوْمِ رَجَعَ، ثَمَانُوْنَ سَنَةً لَمْ يُفَارِق الْحُزْنُ قَلْبَهُ، وَدُمُوْعَهُ تَجْرِيْ عَلَى خَدَّيْهِ. وَلَمْ يَزِلْ يَبْكِيْ حَتَّى ذَهَبَ بَصَرُهُ  
تفسير الدر المنثور للسيوطي  ج 5  ص 437

ท่านฮาซัน บินอะลีเล่าว่า :
นับตั้งแต่นบียูสุฟจากนบียะอ์กูบไป จนได้กลับมาพบกันอีกเป็นระยะเวลาถึง 80 ปี จิตใจของนบียะอ์กูบไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์ระทมเลย เขามีน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสอง และเขายังคงร่ำไห้จนตาบอด  
 
ดูตัฟสีรอัด-ดุรรุล มันษูร  ซูเราะฮ์ยุสุฟ : 84  โดยสิยูตี เล่ม 5 หน้า  437


{ وَتَرَكْنَا يُوسُفَ عِنْدَ مَتَاعِنَا فَأَكَلَهُ الذِّئْبُ } فَلَمَّا قَالُوْا هَذَا الْقَوْلَ : بَكَى يَعْقُوْبُ ، وَصَاحَ بِأَعْلَى صَوْتَهُ : ثُمَّ قَالَ : أَيْنَ قَمِيْصُهُ ؟ فَأَخَذَ الْقَمِيْصَ وَبَكَى  ...وَرَوَى سِمَاك ، عَنْ عَامِر.

อัลลอฮ์ทรงตรัสเล่าว่า เมื่อพวกพี่ของนบียูสุฟเล่าให้บิดาฟังว่า ( พวกเราปล่อยยูสุฟไว้ที่สิ่งของของเรา แล้วสุนัขป่าได้มากินเขา ) พอพวกเขาพูดคำพูดนี้ออกมา นบียะอ์กู๊บก็ร้องไห้เสียงดังลั่น ท่านถามว่า :  เสื้อยูสุฟอยู่ไหน ? ท่านจับเสื้อนั้นแล้วก็ร้องไห้....

ดูตัฟสีรบะห์รุลอุลูม  อัส-สะมัรก็อนดี เล่ม 2 หน้า 369  ซูเราะฮ์ยูสุฟ โองการ 17


ท่านบัยฎอวีอธิบายโองการ

 " ดวงตาทั้งสองของยะอ์กูบขาวพร่ามัวเนื่องจากเศร้านั้น " เนื่อจากท่านร้องไห้มากเพราะความทุกข์ นี่คือหลักฐานแสดงว่า อนุญาติให้เสียใจและร้องไห้ได้เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บปวด(เช่นสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง)


ท่านยะอ์กูบเป็นศาสดา ท่านย่อมไม่ทำสิ่งฮะร่าม นี่คือหลักฐานจากอัลกุรอานที่แสดงว่า อัลลอฮ์ทรงอนุญาติให้ร้องไห้ได้เมื่อต้องสูญเสียคนที่เรารัก
  •  

L-umar


มุหัรร็อม ตอน 14 :  

การร้องไห้ให้คนตาย

بِسْمِ اللّـــــهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

เรื่องที่ 3  - การร้องไห้ให้คนตาย(ที่ซอและห์)


ท่านนบีมุฮัมมัดกับการร้องไห้ให้มัยยิต โดยเฉพาะผู้ตายที่เรียกว่า ชะฮีด


หะดีษมุตะวาติรรายงานว่า ท่านนบี ฯได้ร้องไห้ให้มัยยิตและชะฮีดหลายครั้งหลายหนด้วยกันดังนี้


1 –  ท่านนบีมุฮัมมัดร้องไห้ให้กับท่านอบู ตอลิบ

أَخْبَرَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عُمَرَ قَالَ : حَدَّثَنِيْ مُعَاوِيَّةُ بْنُ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُبَيْدِ اللهِ بْنِ أَبِيْ رَافِعٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ جَدِّهِ عَنْ عَلِيٍّ قَالَ : أُخْبِرَتْ رَسُوْلُ اللهِ، صَلَّى الله عليه وسلم، بِمَوْتِ أَبِيْ طَالِبٍ فَبَكَى ثُمَّ قَالَ: اِذْهَبْ فَاغْسِلْهُ وَكَفَّنْهُ وَوَارِهِ، غَفَرَ اللهُ لَهُ وَرَحِمَهُ! قَالَ: فَفَعَلْتُ مَا قَالَ...


ท่านอะลีเล่าว่า :


พอท่านนบีรู้ข่าวการตายของลุง ท่านร้องไห้และบอก(กับท่านอะลี)ว่า จงไปอาบน้ำฆุซุ่ลให้เขา  กะฝั่น(ห่อศพ)ให้เขาและจัดการฝังเขาเสีย  

ขออัลลอฮ์ทรงอภัยแก่เขาและทรงเมตตาเขาด้วย ท่านอะลีเล่าว่า แล้วฉันได้จัดการตามที่ท่านกล่าว...  


อ้างอิงจากหนังสือ

ฏ็อบกอตุลกุบรอ  โดยอิบนุ สะอัด เล่ม  1 : 123  
  •  

50 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้