Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 07:21:47 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 70
  • Online ever: 70
  • (วันนี้ เวลา 05:38:43 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 57
Total: 57

คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์

เริ่มโดย L-umar, ตุลาคม 16, 2009, 12:13:52 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


3. มะฏ็อร บินเฏาะฮ์มาน อัลวัรรอก เป็นตาบิอี มรณะฮ.ศ. 129 →


อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " มะฏ็อร อัลวัรรอก "  ว่า

مَطَرُ الْوَرَّاقُ : صَدُوْق  مَشْهُوْر، ضَعُفَ فِي عَطاَء.

มะฏ็อร อัลวัรรอก นั้น เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  มัชฮูร คือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน  เขา"ดออีฟ "ในรายงานที่มาจากอะฏออ์

مَطَرُ بْنُ طَهْمَانَ الْوَرَّاقُ أَبُو رَجَاءَ الْخُرَسَانِيُّ ، سكن البصرة، قيل توفى سنة 129هـ،

มะฏ็อร บินเฎาะฮ์มาน อบูเราะญาอ์ อัลคูรอซานี  อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์  มรณะฮ.ศ. 129

أ - أقوال الأئمة فيه:
قال بعض الأئمة: \\\"لا بأس به\\\"، وقال بعضهم: \\\"صالح\\\"، وقال بعضهم: \\\"صدوق\\\"، وضعفوه في عطاء خاصة.

หนึ่ง – ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับมะฏ็อร
อะอิมมะฮ์(นักวิชาการ) บางส่วนกล่าวว่า  ไม่เป็นไรในการรายงานของเขา  และนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า  ศอและห์ คือการรายงานของเขาดี  และอีกบางส่วนกล่าวว่า  ศอดู๊ก คือเชื่อถือได้ และพวกเขาได้ถือว่ารายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์ " ดออีฟ " โดยเฉพาะ

ب- الحاصل: الحاصل أنه حسن الحديث، وأنه ضعيف في عطاء.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับมะฏ็อร
แท้จริงเขา(มะฏ็อร)  หุสนุลหะดีษ คือมีสถานะรายงานหะดีษ ดี และเขาดออีฟในรายงานของอะฏออ์

อ้างอิงจากหนังสือ
 
มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 332 อันดับที่ 329
كتاب : من تكلم فيه وهو موثق أو صالح الحديث   ج 1 / ص 332  رقم 329


รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 54

باب قَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ ) . ( 54 ) وَقَالَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - « كُلٌّ مُيَسَّرٌ لِمَا خُلِقَ لَهُ » . يُقَالُ مُيَسَّرٌ مُهَيَّأٌ . وَقَالَ مَطَرٌ الْوَرَّاقُ ( وَلَقَدْ يَسَّرْنَا الْقُرْآنَ لِلذِّكْرِ فَهَلْ مِنْ مُدَّكِرٍ ) قَالَ هَلْ مِنْ طَالِبِ عِلْمٍ فَيُعَانَ عَلَيْهِ

รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺมุสลิม เรียงลำดับเลขที่หะดีษดังนี้  103, 3997, 3998, 4357

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ يَحْيَى بْنِ يَعْمَرَ قَالَ لَمَّا تَكَلَّمَ مَعْبَدٌ بِمَا تَكَلَّمَ بِهِ فِى شَأْنِ الْقَدَرِ أَنْكَرْنَا ذَلِكَ.

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ حَدَّثَنَا زَهْدَمٌ الْجَرْمِىُّ قَالَ دَخَلْتُ عَلَى أَبِى مُوسَى وَهُوَ يَأْكُلُ لَحْمَ دَجَاجٍ وَسَاقَ الْحَدِيثَ بِنَحْوِ حَدِيثِهِمْ وَزَادَ فِيهِ قَالَ « إِنِّى وَاللَّهِ مَا نَسِيتُهَا ».

ข้อสังเกต :
ในขณะที่อัซซะฮะบีกล่าวว่า นักวิชาการถือรายงานของมะฏ็อรที่มาจากอะฏออ์นั้น " ดออีฟ "  แต่ท่ามุสลิมกลับยอมรับว่า " เศาะหิ๊หฺ  " ดังที่ท่านได้เห็นข้างต้น

รายงานมะฏ็อรในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2192

حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه
قال الألباني : حسن

รายงานมะฏ็อรในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1878

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

หะดีษที่ 1958

عَنْ حُسَيْنٍ الْمُعَلِّمِ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ نَافِعٍ عَنِ ابْنِ عُمَرَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ


สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ มะฏ็อร อัลวัรรอก เชื่อถือได้
  •  

L-umar



4. อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ (เกิดฮ.ศ.86-156) →


ถือว่าเพียงพอแล้วที่ มุหัดดิษอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ดังต่อไปนี้ได้บันทึหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในตำราของพวกเขา

1.   บุคอรี
2.   อบูดาวูด
3.   ติรมิซี
4.   นะซาอี
5.   อิบนิมาญะฮฺ
ยกเว้น " มุสลิม " เท่านั้น

และที่สำคัญเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีนอัลบานี ได้ให้การรับรองของหะดีษของ อิบนิเชาซับ ว่าอยุ่ในระดับ ฮาซัน เศาะหิ๊หฺ  ไว้ดังนี้
 
อัลบุคอรี รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด หะดีษที่ 346

عن بن شوذب قال سمعت مالك بن دينار يحدث عن أبى غالب عن أم الدرداء قالت : زارنا سلمان من المدائن إلى الشام ماشيا وعليه كساء واندرورد قال يعنى سراويل مشمرة قال بن شوذب رؤى سلمان وعليه كساء مطموم الرأس ساقط الأذنين يعنى أنه كان أرفش فقيل له شوهت نفسك قال ان الخير خير الآخرة
قال الشيخ الألباني : حسن

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันอบีดาวูด หะดีษที่ 2714

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ قَالَ حَدَّثَنِى عَامِرٌ - يَعْنِى ابْنَ عَبْدِ الْوَاحِدِ - عَنِ ابْنِ بُرَيْدَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ    قال الألباني : حسن

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในสุนันติรมิซี หะดีษที่ 4066

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ غَرِيبٌ مِنْ هَذَا الْوَجْهِ.

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในซอฮีฮุวะดออีฟ สุนันนะซาอี หะดีษที่ 3877

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ - وَهُوَ أَبُو عُمَيْرِ بْنُ النَّحَّاسِ - وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ - هُوَ الْفَاخُورِىُّ - قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ
قال الألباني : صحيح

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 4730

أَخْبَرَنَا عِيسَى بْنُ يُونُسَ قَالَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ رَجُلاً أَتَى بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ
قال الألباني : صحيح الإسناد

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษที่มีสะนัด เศาะหิ๊หฺ

รายงานหะดีษของอิบนิเชาซับ ในเศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ หะดีษที่ 1987

حَدَّثَنَا عَمْرُو بْنُ عُثْمَانَ بْنِ سَعِيدِ بْنِ كَثِيرِ بْنِ دِينَارٍ الْحِمْصِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ عَنْ عَطَاءٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ قَالَ خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « مَنْ كَانَتْ لَهُ أَرْضٌ فَلْيَزْرَعْهَا أَوْ لِيُزْرِعْهَا وَلاَ يُؤَاجِرْهَا ».

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 2179

حَدَّثَنَا أَبُو عُمَيْرٍ عِيسَى بْنُ مُحَمَّدٍ النَّحَّاسُ وَعِيسَى بْنُ يُونُسَ وَالْحُسَيْنُ بْنُ أَبِى السَّرِىِّ الْعَسْقَلاَنِىُّ قَالُوا حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِىِّ عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ أَتَى رَجُلٌ بِقَاتِلِ وَلِيِّهِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ النَّبِىُّ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  เศาะหิ๊หฺ

หะดีษที่ 3460

حَدَّثَنَا عِيسَى بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ النَّحَّاسِ الرَّمْلِىُّ وَأَيُّوبُ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقِّىُّ قَالاَ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ شَوْذَبٍ عَنْ بَهْزِ بْنِ حَكِيمٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ

เชคอัลบานีกล่าวว่า  เป็นหะดีษ  ฮาซัน


อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี บันทึกคำวิจารณ์ถึงอิบนิเชาซับ ไว้ว่า

อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ อัลคูรอซานี  อบูอับดุลเราะหฺมาน อัลบัลคี อาศัยอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์ ต่อจากนั้นไปที่บัยตุลมักดิส

รายงานหะดีษจาก  :
ษาบิต อัลบะนานี, ฮาซันอัลบัศรี่, อิบนิซีรีน, บะฮ์ซุ บินหะกีม, สะอีดบินอบีอะรูบะฮฺ,อามิรบินอับดุลวาฮิด,อับดุลลอฮฺบินอัลกอสิม,มาลิกบินดีนาร,มุฮัมมัด บินญุหาดะฮฺ และมะฏ็อร อัลวัรรอก คนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา  :
เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์, อบูอิสฮ๊ากอัลฟะรอซี, อิบนุมุบารอก,อีซา บินยูนุส,มุฮัมมัดบินกะษีรอัลมะศีศี และคนอื่นๆ


عن أحمد ابن شوذب كان من الثقات

อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้คนหนึ่ง

وقال سفيان كان بن شوذب من ثقات مشائخنا

สุฟยาน กล่าวว่า อิบนิเชาซับ คือนักรายงานที่เชื่อถือได้จากบรรดาอาจารยืคนหนึ่งของเรา
 
قال بن معين وابن عمار والنسائي ثقة

อิบนุมะอีน ,อิบนุอัมมารและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

قال أبو حاتم لا بأس به

อบูหาติม กล่าวว่า (การายงานของ)เขาไม่เป็นไร
 
وذكره بن حبان في الثقات

อิบนิหิบบานกล่าวถึงเขาไว้ในหนังสืออัษษิกอต

ووثقه العجلي أيضا

และอัลอิจญ์ลี ให้ความเชื่อถือต่อเขาเช่นกัน

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 448

تهذيب التهذيب   ج 5 / ص 225 رقم 448


สรุปความว่า  การรายงานหะดีษของ  อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ  เชื่อถือได้
  •  

L-umar


5. ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มรณะฮฺ.ศ. 182 →


อัซ-ซะฮะบีกล่าวว่า

ضمرة بن ربيعة الرملي  مشهور ما فيه مغمز.
وَثَّقَهُ أحمدُ، ويحيى بن معين.
وقال أبو حاتم: صاَلِحُ الحديث.
ميزان الاعتدال ج 2 / ص 330 رقم 3959

ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ อัลรอมลี  นั้นมัชฮูร คือเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอันเป็นที่รู้จักดี  ในตัวเขาไม่มีข้อตำหนิใด

อิหม่ามอะหมัด และยะห์ยา บินมะอีน ถือว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน

อบูหาติมกล่าวว่า   เขา  ศอและห์ในหะดีษ( คือ หะดีษดี)

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล อันดับที่ 3959


อิบนุหะญัรกล่าวว่า(البخاري في الادب المفرد والاربعة) ضمرة بن ربيعة الفلسطيني أبو عبد الله الرملي.

อัลบุคอรีได้รายงานหะดีษของเขา (ฏ็อมเราะฮฺ)ไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด  และทั้งสี่(คืออบูดาวูด, ติรมีซี,นะซาอีและอิบนิมาญาญะฮฺ รายงานหะดีษเขาไว้ในตำราสุนันของพวกเขา)

เขารายงานหะดีษจาก :
อิบรอฮีม อิบนิอบีอับละฮฺ, อัลเอาซาอี, บิล้าล บินกะอับ, อัสสะรี บินยะห์ยา อัชชัยบานี, อัษเษารี,ชุร็อยหุ บินอุบัยดิน, ยะห์ยา บินอบีอัมรู อัชชัยบานี, อับดุลลอฮฺ บินเชาซับ, อุษมาน บินอะฏออ์ อัลคูรอซานี, อิสมาอีล บินอัยย๊าช และคนอื่นๆ

قال عبدالله ابن أحمد عن أبيه رجل صالح صالح الحديث من الثقات المأمونين لم يكن بالشام رجل يشبهه وهو أحب إلينا من بقية

อับดุลลอฮฺ บุตรอิหม่ามอะหมัด เล่าจากบิดาเขา กล่าวว่า  (ฎ็อมเราะฮฺ)เป็นคนดี และหะดีษดี เป็นหนึ่งจากนักรายงานที่เขื่อถือได้ มีความปลอดภัย ไม่เคยมีคนใดในเมืองช่ามเหมือนกับเขาเลย และเขาเป็นที่รักยิ่งของเรามากกว่าคนที่เหลือ

قال ابن معين والنسائي ثقة

อิบนิมะอีนและอันนะซาอี กล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้

قال ابن سعد كان ثقة مأمونا خيرا لم يكن هناك أفضل منه

อิบนุสะอัดกล่าวว่า  เขาเชื่อถือได้ ปลอดภัย เป็นคนดี ไม่มีใครที่นั่นจะดีไปกว่าเขาอีกแล้ว
 
قلت: وذكره ابن حبان في الثقات

ฉัน(อิบนุหะญัร)กล่าวว่า
อิบนิหิบบานได้กล่าวถึงเขา (ว่าเชื่อถือได้ดูอัษ-ษิกอต  เล่ม 8 : 324อันดับที่ 13687)

قال العجلي ثقة

อัลอิจญ์ลี กล่าวว่า เขา(ฎ็อมเราะฮฺ) เชื่อถือได้ ( ดูอัษ-ษิกอต อัลอิจญ์ลี  อันดับที่ 782 )

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ  อันดับที่ 804
تهذيب التهذيب  ج 4 / ص 403 رقم 804


เชคอัลบานี
ให้การรับรองหะดีษของฎ็อมเราะฮ์บางบทว่า ฮาซันและซอฮิ๊ฮฺ ไว้ในหนังสือของเขาดังนี้

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ إِسْمَاعِيلَ حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ وَاقِعٍ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ الْقَاسِمِ عَنْ كَثِيرٍ مَوْلَى عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ سَمُرَةَ قَالَ جَاءَ عُثْمَانُ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- بِأَلْفِ دِينَارٍ
تحقيق الألباني : حسن

ซอฮีฮุวะดออีฟสุนันติรมิซี หะดีษที่ 3701

เศาะหิ๊หฺอิบนิมาญะฮฺ  ดูหะดีษที่ 1987,2179,2601,3460,


สรุป  ฏ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮ์ เชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar


6. อะลี  บินสะอีด อัลร็อมลี →

ชื่อเต็มของเขาคือ  อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี

عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ   : عن ضمرة بن ربيعة.  يثبت في أمره، كأنه صدوق.
ميزان الاعتدال  ج 3 / ص 131 رقم 5851

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ)  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้

ดูมีซานุลอิ๊อฺติดาล  อันดับที่ 5851    

อิบนุหะญัร กล่าวว่า

علي بن سعيد الرملي عن ضمرة بن ربيعة يثبت في أمره كأنه صدوق انتهى
لسان الميزان ج 4 / ص 232 رقم 616

อะลี บินสะอีด อัลรอมลี   รายงานหะดีษจาก ฎ็อมเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ  มีความมั่นคงในเรื่องของเขา เหมือนกับว่าเขา(อยู่ในระดับ) ที่เชื่อถือได้ จบ.

ดูลิซานุลมีซาน อันดับที่ 616

หะดีษที่อะลี บินสะอีดรายงานจากฏ็อมเราะฮฺเช่น

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ :

ดูสุนันบัยฮะกี หะดีษที่ 15691

حَدَّثَنَا عَلِىُّ بْنُ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِىُّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ عَنِ ابْنِ عَطَاءٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ

ดูสุนันดารุกุฏนี หะดีษที่ 3384


ثنا علي بن سعيد بن قتيبة النسائي ، ثنا ضمرة بن ربيعة ، عن العلاء بن هارون ، عن ابن عون ، عن حفصة بنت سيرين ، عن الرباب عن سلمان بن عامر ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : « صدقتك على المسكين صدقة ، وصدقتك على ذي رحمك ثنتان ، صدقة ، وصلة »
معجم ابن المقرئ ج 1 / ص 472

ดูมุอ์ญัม อิบนิมุกริอฺ หะดีษที่ 470


เมื่อไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่ที่เชี่ยวชาญด้านอิลมุลริญาลวัดดิรอยะฮฺคนใดได้วิจารณ์ถึงอะลี บินสะอีดในทางลบ

และผนวกกับท่านซะฮะบีกับท่านอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีได้ให้คำยกย่องถึงเขาไว้

นั่นย่อมแสดงว่าอะลี บินสะอีดอยู่ในสถานะที่ดี เชื่อถือได้ในการรายงาน ถึงแม้ว่าท่านบุคอรี,มุสลิม,อบูดาวูด,ติรมิซี,นะซาอีและอิบนิมาญะฮฺจะไม่ได้รายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดไว้ก็ตาม แต่เขาก็ได้รับคำชมเชยว่า เศาะดู๊ก (เชื่อถือได้) และไม่มีนักวิชาการคนใดได้ตำหนิเขาไว้

เพราะฉะนั้น
เราจะจัดระดับการรายงานหะดีษของอะลีบินสะอีดว่า อยู่ในหมู่บรรดานักรายงานหะดีษดออีฟ ได้อย่างไร ?

นั่นคือเหตุผลที่แสดงว่า  อะลี บินสะอีด อัลรอมลี  เชื่อถือได้ในการรายงานหะดีษ.  
  •  

L-umar


7. อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล (ฮ.ศ.234-331) →


أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า

حبشون ابن موسى بن أيوب الشيخ، أبو نصر البغدادي الخلال
سمع من: الحسن بن عرفة، وعلي بن إشكاب، وعلي بن سعيد
الرملي، وحنبل بن إسحاق وغيرهم.
حدث عنه: أبو بكر بن شاذان، وعمر بن شاهين، وأبو الحسن الدارقطني، وأحمد بن الفرج بن الحجاج، وابن جميع الصيداوي، وآخرون.
وكان أحد الثقات .
توفي في شعبان سنة إحدى وثلاثين وثلاث مئة. وله سبع وتسعون سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي  ج 15 / ص 316  رقم 155

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัช-ชัยคฺ  อบูนัศริน อัลบัฆดาดี อัลค็อลล้าล

เขารายงานหะดีษจาก  :  
อัลฮาซัน บินอะเราะฟะฮฺ, อะลี บินอิชกาบ, อะลี บินสะอีด อัลรอมลี, หันบัล บินอิสฮ๊าก และคนอื่นๆ

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  :  
อบูบักร บินชาซาน, อุมัร บินชาฮัยนฺ , อบุลฮาซัน อัดดาร่อกุฏนี , อะหมัด บินอัลฟะร็อจญ์ บินอัลหัจญ๊าจญ์, อิบนุญะมี๊อฺ อัศ-ศ็อยดาวี และคนอื่นๆ

เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ในการรายงาน
มรณะในเดือนชะอ์บาน  ปีฮ.ศ. 331  รวมอายุได้ 97 ปี

ดู สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ อันดับที่ 155


อัด-ดารุกุฎนีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق كتبنا عنه عن علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة وعبد الله بن أيوب المخرمي وحنبل بن إسحاق وغيرهم .
كتاب : الْمُؤْتَلِف وَالْمُخْتَلِف للدارقطني ج 2 / ص 92

หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าลนั้น  เศาะดู๊ก คือเชื่อถือได้  
เราได้บันทึกรายงานหะดีษของเขาที่มาจากทางอะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี... และคนอื่นๆ

อ้างอิงจาก หนังสืออัลมุอ์ตะลิฟ วัลมุคตะลิฟ  เล่ม 2 : 92


อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

حبشون بن موسى بن أيوب أبو نصر الخلال
 
หับชูน อิบนิมูซา บินอัยยูบ อบูนัศริน อัลค็อลล้าล
 
سمع علي بن سعيد بن قتيبة الرملي والحسن بن عرفة العبدي وعلي بن عمرو الأنصاري وعلي بن الحسين بن أشكاب وعبد الله بن أيوب المخرمي وسليمان بن توبة النهرواني وحنبل بن إسحاق الشيباني

เขารายงานหะดีษจาก : อะลี บินสะอีด บินกุตัยบะฮฺ อัลรอมลี และ...

روى عنه أبو بكر بن شاذان وأبو الحسن الدارقطني وأبو حفص بن شاهين وأحمد بن الفرج بن الحجاج وأبو القاسم بن الثلاج وغيرهم

 ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ :  อบูบักร บินชาซาน , อบุลฮาซัน อัด-ดาร่อกุฏนี...

وكان ثقة يسكن باب البصرة

 เขาเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ (ในการรายงาน) อาศัยอยู่ที่ประตูเมืองบัศเราะฮฺ

أنبأنا الأزهري أنبأنا علي بن عمر الحافظ قال حبشون بن موسى بن أيوب الخلال صدوق

อัลอัซฮะรีเล่าให้เราฟัง อะลี บินอุมัร อัลฮาฟิซเล่าให้เราฟังว่า  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบอัลค็อลล้าล นั้น เศาะดู๊ก เชื่อถือได้

ดูหนังสือ  ตารีคแบกแดด โดยอัลคอเตบ อัลบัฆดาดี  เล่ม 8 : 289 อันดับที่ 4392
تاريخ بغداد  المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي ج 8 / ص 289 رقم 4392


สรุป

นักวิชาการสามท่านดังต่อไปนี้คือ ท่านซะฮะบี ท่านอัด-ดาร่อกุฏนีและท่านคอเตบอัลบัฆดาดี ได้กล่าวว่า
อบูนัศรฺ  หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล  นั้นษิเกาะฮ์  เศาะดู๊ก คือมีความเชื่อถือได้ในการรายงาน
  •  

L-umar


8. อะลี บินอุมัร อัด-ดาร่อกุฏนี สังกัดมัซฮับชาฟิอี ( ฮ.ศ. 306 - 385) →


عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ

เจ้าของหนังสือหะดีษชื่อ " สุนัน ดาเราะกุฏนี - سنن الدارقطنى "

ชื่อเต็มคือ :

أَبُو الْحَسَنِ أَبُو الْحَسَنِ عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بن مسعود بن النعمان بن دينار البغدادي

อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินอัน-นุอ์มาน บินดีน้าร อัลบัฆดาดี

เกิดที่ ดารุลกุฏนิ ย่านหนึ่งของเมืองแบกแดด  ด้วยเหตุนี้จึงมีฉายาว่า " อัด-ดาเราะ กุฏนี "

ชีวประวัติของ อัด- ดาเราะกุฏนี ได้รับการยกย่องชมเชยไว้อย่างสูงส่งจากตำราต่อไปนี้

1.   สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ ของซะฮะบี  เล่ม 16 : 449 อันดับที่ 332
2.   ตัซกิเราะตุลฮุฟฟาซ ของอิบนิหะญัร เล่ม 3 : 186
3.   วะฟะยาตุล อะอ์ยาน ของอิบนิค็อลกาน เล่ม 2 : 459
4.   ตารีคบัฆด๊าด ของอัลคอฏีบบัฆดาดี  เล่ม 12 : 34
5.   อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317


อิบนุกะษีร (เจ้าของตัฟสีรอิบนิกะษีร ) กล่าวว่า
 
علي بن عمر بن أحمد بن مهدي بن مسعود بن دينار بن عبدالله

อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอู๊ด บินดีน้าร บินอับดุลลอฮฺ
 
الحافظ الكبير أستاذ هذه الصناعة وقبله بمدة وبعده إلى زماننا هذا سمع الكثير وجمع وصنف وألف وأجاد وأفاد وأحسن النظر والتعليل والانتقاد والاعتقاد

คือนักท่องจำกุรอ่านผู้ยิ่งใหญ่ คือปรมาจารย์แห่งศาสตร์นี้ในช่วงเวลาทั้งก่อนหน้าเขาและหลังจากเขา จนถึงยุคของพวกเรา
เขาได้ฟัง(หะดีษ)มาจากมุหัดดิษมากมาย  ได้ทำการรวบรวมไว้และเรียบเรียง(เป็นตำรา) และได้ทำไว้ไว้อย่างดี ได้ให้ประโยชน์(แก่ผู้อื่น)  และเขายังมีความเยี่ยมยอดต่อการให้ทัศนะ  ให้คำอธิบาย ให้คำวิพากษ์วิจารณ์และเรื่องอิ๊อฺติกอด  

وكان فريد عصره ونسيج وحده وإمام دهره في أسماء الرجال وصناعة التعليل والجرح والتعديل
وحسن التصنيف والتأليف واتساع الرواية والاطلاع التام في الدراية له كتابه المشهور من أحسن المصنفات في بابه

เขายอดเยี่ยมที่สุดใน ยุคของเขา มีเพียงคนเดียวที่เขียนเป็นเรื่องเป็นราว  เป็นอิหม่ามแห่งยุคนั้นในศาสตร์เกี่ยวกับรายชื่อนักรายงานหะดีษ  การให้คำอธิบายถึงอิลละฮ์ต่างๆเกี่ยวหะดีษ  วิชาญะเราะห์วัตตะอ์ดีล   แต่งและเรียงเรียงตำรับตำราดี  มีความรู้อย่างกว้างขวางเรื่องริวายะฮ์ และรอบรู้อย่างมบูรณ์แบบในวิชาดิรอยะฮ์   ซึ่งหนังสือของเขามีชื่อเสียงที่สุดในประเด็นนี้

لم يسبق إلى مثله و لا يلحق في شكله إلا من استمد من بحره وعمل كعمله وله كتاب العلل بين فيه الصواب من الدخل والمتصل من المرسل والمنقطع والمعضل وكتاب الافراد الذي لا يفهمه فضلا عن أن ينظمه إلا من هو من الحفاظ الأفراد والأئمة النقاد والجهابدة الجياد

ไม่มีใครเหมือนเขามาก่อน และมีใครตามติดมาในแบบเขาด้วย ยกเว้นผู้ที่ได้รับมาจากความรู้ของเขา และได้ทำเช่นการกระทำของเขา   สำหรับเขามีหนังสือ(ดังต่อไปนี้)  กิตาบ อิลัล, กิตาบ อิฟรอด ที่ไม่มีใครค่อยเข้าใจมัน อย่าว่าแต่จะทำการเรียบเรียงมันใหม่เลย  นอกจาก บุคคลที่เป็นหนึ่งจากนักท่องจำ และเป็นผู้นำแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งถือได้ว่าสุดยอดจริงๆ  

وكان من صغره موصوفا بالحفظ الباهر والفهم الثاقب

ตอนเขายังเด็กนั้นมีคุณสมบัติต่อเรื่องความจำเป็นเลิศ  และมีความเข้าใจอันแหลมคม

وقال ابن الجوزي وقد اجتمع له مع معرفة الحديث والعلم بالقراءات والنحو والفقه والشعر مع الإمامة والعدالة وصحة العقيدة
البداية والنهاية ج 11 / ص 317

อิบนุลเญาซีกล่าวว่า  สำหรับตัวเขานั้นได้รวบรวมไว้ด้วยวิชาหะดีษ   วิชาว่าด้วยเรื่องการอ่านกุรอ่านในกิระอะฮ์ต่างๆ  วิชานะฮู  ฟิกฮฺ  บทกวี พร้อมทั้งเป็นอิหม่าม มีอะดาละฮฺ และมีอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง
 
อ้างอิงจากหนังสือ
อันบิดายะฮ์ วันนิฮาบะฮ์ ของอิบนิกะษีร เล่ม 11 : 317

อัซ-ซะฮะบี กล่าวว่า
 
الدَّارَقُطْنِيُّ الإِمَامُ الْحَافِظُ المجود، شيخ الاسلام، علم الجهابذة، أَبُو الْحَسَنِ ، عَلِىُّ بْنُ عُمَرَ بْنِ أَحْمَدَ بْنِ مَهْدِىٍّ بْنُ مَسْعُودٍ بْنُ النُّعْمَانِ بْنُ دِينَارٍ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ البغدادي المقرئ المحدث،

อัด-ดาเราะกุฏนี  (เขาเป็นทั้ง) อิหม่าม  นักท่องจำอัลกุรอ่าน  นักตัจญ์วีด  ชัยคุลอิสลาม  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อคือ อบุลฮาซัน อะลี บินอุมัร บินอะหมัด บินมะฮ์ดี บินมัสอูด บินอัน-นุอฺมาน บินดีนาร บินอับดุลลอฮฺ ชาวเมืองแบกแดด เป็นนักอ่านกุรอ่าน และนักรายงานหะดีษ
 
ومن أئمة الدنيا، انتهى إليه الحفظ ومعرفة علل الحديث ورجاله، مع التقدم في القراءات وطرقها، وقوة المشاركة في الفقه، والاختلاف، والمغازي، وأيام الناس، وغير ذلك.

เป้นหนึ่งในบรรดาอิหม่ามผู้นำ(ศาสนา)ทางโลก  เรื่องความจดจำ  ความเข้าใตสาเหตุต่างๆของหะดีษ และนักรายงานหะดีษ สิ้นสุดที่เขา  พร้อมทั้งล้ำหน้าในวิชาการอ่านกุรอ่านด้วยกิรออะฮ์ต่างๆ และสายรายงานต่างๆของมัน  มีความแข็งแกร่งร่วมอยู่ในวิชาฟิกฮฺ และ(ฟิกฮฺ)ที่แตกต่างกัน  เรื่องมะฆอซี(สงคราม) เรื่องราววันเวลาของมนุษย์ และเรื่องอื่นๆ

เขารายงานหะดีษจากนักรายงานหะดีษจำนวนมากมาย
และผู้ที่รายงานหะดีษจากเขา ก็มีจำนวนมากมาย

เช่น อบูบักร มุฮัมมัด บินอับดุลมะลิก บิน บัชรอน
أبو بكر محمد بن عبدالملك بْن بَشْرَانِ
อ้างอิงจากหนังสือ สิยัร อะอ์ลามุน-นุบะลาอฺ  เล่ม 16 : 449  อันดับที่ 332

 سير أعلام النبلاء  ج 16 / ص 449 رقم 332


สรุป  

จากคำยกย่องของท่านอิบนุกะษีรและท่านซะฮะบีคงพียงพอแล้ว

สำหรับฐานะภาพความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ  

อะลี  บิน อุมัร   อัด-ดาเราะ กุฏนี.
  •  

L-umar


9 .อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน (ฮ.ศ.355 - 429) →


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ

อัลฮาฟิซ อบูบักร อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีกล่าวว่า

عبد الله بن على بن محمد بن عبد الله بن بشران أبو محمد الشاهد سمع أبا بكر بن مالك القطيعي وأبا محمد بن ماسي ومحمد بن الحسن اليقطيني ومخلد بن جعفر ومن بعدهم كتبت عنه وكان سماعه صحيحا وسمعته يقول ولدت في يوم الأربعاء الحادي والعشرين من جمادى الآخر سنة خمس وخمسين وثلاثمائة ومات في ليلة الجمعة الثاني والعشرين من شوال سنة تسع وعشرين وأربعمائة ودفن في صبيحة تلك الليلة بباب حرب

الكتاب : تاريخ بغداد  ج 10 ص 14 رقم 5130
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت

คำแปล :

อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินบัชรอน  ฉายา อบูมุฮัมมัด อัชชาฮิด

ได้ฟัง(หะดีษจาก) อบูบักร บินมาลิก อัลเกาะฏีอี, อบูมุฮัมมัด บินมาซี, มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัลยักฏีนี, มัคลัด บินญะอ์ฟัร และผู้ที่มาหลังจากพวกเขา

(อัลเคาะฏีบ) กล่าวว่า : ฉันบันทึก(รายงานหะดีษ)จากเขา และการรับฟัง(หะดีษ)ของเขานั้น" เศาะหิ๊หฺ " คือถูกต้อง

ฉันได้ยินเขาเล่าว่า  เขาเกิดในวันพุธ ที่ 21 เดือนญุมาดิลอาคิร ปีฮ.ศ. 355
และเสียชีวิตในคืนวันศุกร์ที่ 22  เดือนเชาวาล ปีฮ.ศ.429  
เขาถูกฝังในตอนเช้าของคืนนั้นที่ประตู " บาบุ หัรบ์ "

อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด  เล่ม 10 หน้า 14 อันดับที่ 5130

ดูภาพหน้าปกหนังสือได้ที่เวบ
http://www.neelwafurat.com/itempage.aspx?id=lbb78090-38561&search=books



บทสรุป :

เมื่อนักวิชาการอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ได้ให้คำวิจารณ์ถึงนักรายงานนับตั้งแต่

อับดุลลอฮฺ บินอะลีบินมุฮัมมัดบินบัชรอน จนถึง→ เศาะหาบะฮ์ที่ชื่อ " อบูฮูร็อยเราะฮ์ " ว่า

" มีความเชื่อถือ ได้ในการรายงานหะดีษ "  


ดังนั้นหะดีษบทนี้   จึงอยู่ในสถานะที่  " ที่เชื่อถือได้ "
  •  

L-umar



เราขอทบทวนตัวหะดีษอีกครั้งนะครับ

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า  :
 
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า :   หามิได้  ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัร บินคอตตอบได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉัน

และผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

(الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  )  วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ...
(ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )



อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษที่ 4392



ฝ่ายซุนนี่คงไม่เลิกโต้แย้งกับหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลีง่ายๆหรอกครับ ผมเชื่อ

คาดว่าหลังจากเราได้พิสูจน์ ด้านสายรายงานหะดีษไปเรียบร้อยแล้ว  คำถามต่อมาที่พวกเขาจะถามคือ

ทำไม พวกชีอะฮ์จึงมาอ้างอิงหลักฐานการแต่งตั้งท่านอะลี จากตำราของฝ่ายอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ล่ะ ?

แล้วหะดีษบทนี้ในตำราของฝ่ายชีอะฮ์เอง  มีรายงานไว้บ้างหรือปล่าว  ?



อินชาอัลลอฮ์  เราจะมาดูหะดีษบทนี้ที่บันทึกไว้ในตำราชีอะฮ์กันต่อไปว่า มีหรือไม่ ????.....
  •  

L-umar


ตำราหะดีษฝ่ายชีอะฮ์

ที่รายงานตรงกับหะดีษฝ่ายซุนนี่ ที่รายงานว่าซูเราะฮ์อลัมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 3 ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

หลังจากท่านนบี(ศ)ได้ประกาศให้ท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากท่าน




เชคศอดูก (ฮ.ศ.305 - 381) บันทึกว่า


حَدَّثَنَا الْحَسَنُ بْنُ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ إِسْمَاعِيلَ السَّكُونِيِّ فِي مَنْزِلِهِ باِلْكُوْفَة قاَلَ :

حَدَّثَنِي إِبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيَى النَّيْسَابُورِيّ قاَلَ :

حَدَّثَنَا أَبُو جَعْفَرٍ بْنُ السَّرِيِّ وَ أَبُو نَصْرٍ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوبَ الْخَلاَّل قاَلَ :

حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْن سَعِيْد قاَلَ : حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ شَوْذَبٍ ، عَنْ مَطَرٍ (الوَرَّاقِ)، عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ،

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ  ،

لَماَّ أَخَذَ رَسُوْلُ الله صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَقاَلَ :

يَا أَيُّهَا النَّاسُ ، أَلَسْتُ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ ؟ قاَلُوْا: نَعَمْ ياَ رَسُوْلَ الله،

قاَلَ : مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ ،

فَقَالَ لَهُ عُمَرُ: بَخٍ بَخٍ ياَ بْنَ أَبِي طاَلِبٍ ، أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ ،

فَأَنْزَلَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ  :  ( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ) .

كتاب : الأمالي للشيخ الصدوق  ص 50


คำแปล

อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี ได้เล่าให้เราฟังในบ้านของเขาที่เมืองกูฟะฮ์ เขากล่าวว่า

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี เล่าให้ฉันฟัง  เขากล่าวว่า


อบูญะอ์ฟัร บินอัส-สะรี และอบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า

อะลี บินสะอีด เล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ เล่าให้เราฟัง จาก มะฏ็อร จากชะฮ์รุ บินเฮาชับ


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า  :

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที่18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?

พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า :  หามิได้  ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า :  บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  

ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ

อัลอะมาลี  โดยเชคศอดูก  หน้าที่ 50
  •  

L-umar


เราอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า

ทุกครั้งที่ชีอะฮ์ได้อ้างอิงหะดีษของฝ่ายซุนนี่บทใดออกไป เกี่ยวกับความเชื่อของชีอะฮ์

หะดีษในเรื่องนั้น จะต้องมีบันทึกไว้ในตำราของชีอะฮ์อย่างแน่นอน

แต่ที่ต้องยกหะดีษจากตำราซุนนี่ออกมาแสดงกับชาวอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ก่อน ก็เพื่อให้ฝ่ายซุนนี่ได้ยอมรับในสิ่งที่พวกเขาให้ความไว้วางใจเสียก่อน

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ  ฝ่ายซุนนี่จะไม่สามารถนำเสนอความเชื่อของพวกเขาจากตำราของฝ่ายชีอะฮ์ได้เลย  

เรากกลับมาที่เรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี กันต่อ
  •  

L-umar


อัลคอเตบ อัลบัฆดาดี มุหัดดิษซุนนี่ ได้รับหะดีษบทนี้มาจาก


1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์



และนักวิชาการซุนนี่ได้ให้คำวิจารณ์บรรดารอวี เหล่านี้ว่า เชื่อถือได้ในการรายงาน
ดังนั้นหะดีษบทนี้ จึงมีสถานะ  ซอฮีฮุล อิสนาด คือ ถูกต้อง



เชคศอดูก มุหัดดิษชีอะฮ์ได้รับหะดีษบทนี้มาจาก


1.อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี →

2.อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี →

3.อบูญะอ์ฟัร บินอัส-สะรี  → และ


4.อบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

5.อะลี บินสะอีด (อัลรอมลี) →

6.ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ →

7.มะฏ็อร จากชะฮ์รุ บินเฮาชับ →

8.ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ
  •  

L-umar


วิเคราะห์สะนัดหะดีษ


1- อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอิสมาอีล อัสสะกูนี


ผู้นี้คือเชค (อาจารย์)คนหนึ่งของเชคศอดูก


สัยยิดอัลคูอี กล่าวว่า

الحسن بن محمد بن الحسن السكوني :
الكوفي : يكنى أبا القاسم ، روى عنه التلعكبري وسمع منه في داره في
الكوفة سنة 344 ،  ...وهو من مشايخ الصدوق - قدس سره - حدثه بالكوفة سنة 354

อัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัสสะกูนี เป็นชาวกูฟะฮ์ มีกุนยะฮ์ว่า อบุลกอสิม  

ตัลอักบะรี รายงานหะดีษจากเขา และได้ฟังหะดีษจากเขาในบ้านของเขาที่เมืองกูฟะฮ์ ปีฮ.ศ. 344

และเขา( หมายถึงอัลฮาซัน บินมุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัสสะกูนี) คืออาจารย์คนหนึ่งของเชคศอดูก ได้ถ่ายทอดหะดีษให้เขาที่กูฟะฮ์ในปีฮ.ศ. 354

ดูหนังสือ  มุอ์ญัม ริญาลุลหะดีษ เล่ม 6 : 95 อันดับที่ 3105
  •  

L-umar


2- อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี

إِبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيَى النَّيْسَابُورِيّ


อัซ ซะฮะบีกล่าวว่า

ابن المزكي  الامام القدوة الرباني، أبو حامد، أحمد بن الشيخ المزكي أبي إسحاق إبراهيم بن محمد بن يحيى النيسابوري. ولد سنة بضع وعشرين وثلاث مئة
قال الحاكم : وتوفي في شعبان سنة ست وثمانين وثلاث مئة.
وكان عابدا مجتهدا، صام الدهر نيفا وعشرين سنة.
سير أعلام النبلاء للذهبي   ج 16   ص 497 رقم : 366


อิบนุล มุซักกี  เป็นอิมาม อัลกุดวะฮ์ อัลร็อบบานี   (ชื่อ) อบูฮามิด อะหมัด บินอัชชัยคฺ อัลมุซักกี  อบีอิสฮ๊าก  

อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา อัน-นัยซาบูรี

อัลฮากิมกล่าวว่า  เขา ( เกิดฮ.ศ. 323 ) มรณะฮ.ศ. 386   เป็น อาบิ๊ด มุจญ์ตะฮิด ถือศีลอดตลอดยี่สิบกว่าปี

ดูสิยัร อะอ์ลาบุน-นุบะลาอ์ โดยซะฮะบี เล่ม 16 : 497 อันดับ 366



อัศ ศ่อฟะดี กล่าวว่า

إبراهيم بن محمد بن يحيى بن سَخْتُوَيْهِ النيسابوري الشيخ أبو إسحاق المزكي، قال الحاكم: هو شيخ نيسابور في عصره وكان من العباد المجتهدين المنفقين على الفقهاء والفقراء، سمع ابن خزيمة وغيره وروى عنه الحاكم وغيره،
قال الخطيب: كان ثبتاً ثقة مكثراً، وهو والد علي ويحيى ومحمد وعبد الرحمن وقد رووا الحديث،
كتاب : الوافي بالوفيات  للصلاح الصفدي  ج 2 ص 262


อิบรอฮีม บินมุฮัมมัด บินยะห์ยา สัคตูวัยฮิ อัน นัยซาบูรี  อัช ชัยค์ อบูอิสฮ๊าก อัลมุซักกี  

อัลฮากิมกล่าวว่า  เขาคือ ปรมาจารย์แห่งเมืองนัยซาบูรในสมัยของเขา  และเป็นบุคคลหนึ่งที่คงแก่การทำอิบาดัต เป็นมุจญ์ตะฮิด และเป็นผู้ที่คอยแจกจ่าย(ปัจจัย)แก่บรรดาอุละมาอ์และคนยากจน  
เขาฟัง(รับหะดีษจาก)   อิบนุคุซัยมะฮ์ และคนอื่นๆ
คนที่รายงานหะดีษจากเขาคือ  อัลฮากิมและคนอื่นๆ

อัลคอเตบกล่าวว่า เขามีความมั่น เชื่อถือได้ในการรายงาน รายงานไว้มากมาย


เขาเป็นบิดาของอะลี  , ยะห์ยา ,มุฮัมมัด และอับดุลเราะห์มาน บุตรทั้งหมดรายงานหะ

ดูอัลวาฟี บิลวะฟะย๊าต โดยศ่อฟะดี  เล่ม 2 : 262  
  •  

L-umar



ส่วนคำวิจารณ์สถานะความน่าเชื่อถือในการรายงานหะดีษของ
 
อบูนัศร์ บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล → อะลี บินสะอีด อัลรอมลี→

ฎ็อมเราะฮ์ บินเชาซับ → มะฏ็อร อัลวัรรอก →ชะฮ์รุ บินเฮาชับ→  ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์


ขอให้ท่านโปรดย้อนกลับไปอ่านได้ที่

http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=1082&limit=6&limitstart=24



ท่านก็จะทราบว่า  พวกเขาเป็นนักรายงานหะดีษที่ อยู่ในระดับเชื่อถือได้ ทุกคน



สรุป  

หะดีษเศาะหิ๊หฺทั้งซุนนี่และชีอะฮ์ ที่บอกเล่าให้เราได้ทราบถึงเหตุการณ์ในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ณ.สถานที่ๆมีชื่อว่า  เฆาะดีรคุม  

นั่นก็คือ    เรื่องที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์  


عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :
لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

อบู ตุเฟลเล่าว่า :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า : ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ
1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ
2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  
ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)

จากนั้นท่าน(ศ)ได้กล่าวว่า :
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้คุ้มครองของฉัน  และฉันเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคน  จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :
บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นผู้ปกครองของเขา  

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  


สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี




ท่านอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี เกิดฮ.ศ.392 – 463 บันทึกหะดีษไว้ว่า


عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ :
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

الكتاب : تاريخ بغداد   ج 8 / ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت   عدد الأجزاء : 14


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า  :

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?
พวกเขา(บรรดาซอฮาบะฮฺ)กล่าวว่า : หามิใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉันและผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

 ( اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ  ) วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


สถานะหะดีษ  :  นักรายงานทุกคน เชื่อถือได้

ดูหนังสือตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392



เราได้แสดงหะดีษเศาะหิ๊หฺให้ซุนนี่รับรู้ไปแล้ว ว่า เรื่องการแต่งตั้งท่านอะลี ไม่ใช่เรื่องโคมลอยอย่างที่อุละมาอ์ของพวกเขาใส่ร้ายเรา


ยังเหลืออีกหนึ่งเรื่องคือ  


ความหมายของคำว่า

วะลี -  وَلِيٌّ   และ   เมาลา -  مَوْلَي

เราจะชี้แจงความหมายสองคำนี้กันต่อไป อินชาอัลลอฮ์
  •  

L-umar



สาเหตุหลักแห่งการแตกแยกในสังคมมุสลิม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองเรื่องคือ

หนึ่ง -   อิมามะฮ์    เรื่องผู้นำ สืบต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)


สอง -  อุศูล (อะกีดะฮ์)   เรื่องความเชื่อความศรัทธา




ทั้งสองเรื่องมีความสำคัญ  ไม่แพ้กัน  


เรื่องหนึ่งก็มีความสำคัญ   مهـم  ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง  สำคัญกว่า  أهــم


ฉะนั้นเราขอกล่าวถึงเรื่อง  ที่สำคัญที่สุดก่อน  นั่นคือเรื่อง  ผู้นำ



เพราะนักวิชาการกล่าวกันว่า  เป็นเรื่องที่มุสลิมหลั่งเลือดกันเอง มากที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม
  •  

57 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้