Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 05:57:50 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,517
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 70
  • Online ever: 70
  • (วันนี้ เวลา 05:38:43 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 54
Total: 54

ฮะดีษฆอดีรซอแฮะฮ์จากตำราซุนนี่และชีอะฮ์

เริ่มโดย L-umar, ธันวาคม 06, 2010, 05:16:28 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

ฮะดีษฆอดีร ซอแฮะฮ์

จากตำรา ซุนนี่  และ ชีอะฮ์
  •  

L-umar



อัส - สลามุ อะลัยกุม  ฯ  ทุกท่าน


หลายครั้งที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ประกาศแต่งตั้งท่านอาลี บินอบีตอลิบเป็นคอลีฟะฮ์  ที่ ฆอดีร คุม หลังจากกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย


แต่สิ่งสำคัญคือ   เราควรทราบถึงหลักฐาน  ที่ถูกต้อง

ฉะนั้น   เราจึง  ขอนำเสนอ  หลักฐานจากตำราของทั้งสองฝ่ายมาแสดงให้ท่านได้ศึกษากัน  ดังนี้
  •  

L-umar


หะดีษเฆาะดีรคุม  จากตำราชีอะฮ์

เชคศอดูก (เกิด ฮ.ศ.306 - มรณะ 381) รายงาน
  •  

L-umar

#3
หะดีษเฆาะดีรคุม  จากตำราชีอะฮ์

เชคศอดูก (เกิด ฮ.ศ.306 - มรณะ 381) รายงาน


رَوَي الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ حَدَّثَناَ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدِ بْنِ الْوَلِيْدِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قاَلَ : حَدَّثَناَ مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفاَّرِ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخِطاَّبِ ، وَيَعْقُوْبَ بْنِ يَزِيْدَ جَمِيْعاً ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِيْ عُمَيْرٍ ، عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ سِناَنَ ، عَنْ مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذَ ، عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ ، عَنْ حُذَيْفَةَ بْنِ أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ قَالَ :  لَمَّا رَجَعَ رَسُولُ اللَّهِ (صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وآلِهِ) مِنْ حَجَّةِ الْوَدَاعِ وَنَحْنُ مَعَهُ أَقْبَلَ حَتَّى انْتَهَى إِلَى الْجُحْفَةِ فَأَمَرَ أَصْحاَبَهُ بِالنُّزُوْلِ فَنَزَلَ الْقَوْمُ مَناَزِلَهُمْ ، ثُمَّ نُودِيَ بِالصَّلَاةِ فَصَلَّى بِأَصْحاَبِهِ رَكَعَتَيْنِ ، ثُمَّ أَقْبَلَ بِوَجْهِهِ إِلَيْهِمْ فَقاَلَ لَهُمْ : إِنَّهُ قَدْ نَبَّأَنِيَ اللَّطِيفُ الْخَبِيرُ أَنِّيْ مَيِّتٌ وَأَنَّكُمْ مَيِّتُوْنَ ، وَكَأَنِّيْ قَدْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَأَنِّيْ مَسْؤُوْلٌ عَماَّ أُرْسِلْتُ بِهِ إِلَيْكُمْ ، وَعَماَّ خَلَّفْتُ فِيْكُمْ مِنْ كِتاَبِ اللهِ وَحُجَّتِهِ وَأَنَّكُمْ مَسْؤُوْلُوْنَ ، فَماَ أَنْتُمْ قاَئِلُوْنَ لِرَبِّكُمْ ؟ قاَلُوْا : نَقُوْلُ : قَدْ بَلَّغْتَ وَنَصَحْتَ وَجاَهَدْتَ ( فَجَزاَكَ اللهُ عَناَّ أَفْضَلَ الْجَزاَءِ ) ثُمَّ قاَلَ لَهُمْ : أَلَسْتُمْ تَشْهَدُوْنَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَ أَنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُمْ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الناَّرَ حَقٌّ ؟ وَأَنَّ الْبَعْثَ بَعْدَ الْمَوْتِ حَقٌّ ؟ فَقاَلُوْا : نَشْهَدُ بِذَلِكَ ، قاَلَ : اللَّهُمَّ اشْهَدْ عَلَى ماَ يَقُولُونَ ، أَلَا وَإِنِّي أُشْهِدُكُمْ إِنِّي أَشْهَدُ إِنَّ اللَّهَ مَوْلَايَ ، وَأَنَا مَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ ، وَأَنَا أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِيْنَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ، فَهَلْ تُقِرُّوْنَ لِيْ بِذَلِكَ ، وَتَشْهَدُوْنَ لِيْ بِهِ ؟ فَقاَلُوْا : نَعَمْ نَشْهَدُ لَكَ بِذَلِكَ ، فَقاَلَ : أَلاَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَإِنَّ عَلِيًّا مَوْلَاهُ وَهُوَ هَذاَ ، ثُمَّ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ عَلَيْهِ السَّلَام فَرَفَعَهَا مَعَ يَدِهِ حَتَّى بَدَتْ آباَطُهُماَ : ثُمَّ : قاَلَ : اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ ، وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ ، أَلَا وَإِنِّي فَرَطُكُمْ وَأَنْتُمْ واَرِدُوْنَ عَلَيَّ الْحَوْضَ ، حَوْضِيْ غَداً وَهُوَ حَوْضُ عَرْضُهُ ماَ بَيْنَ بُصْرَى وَصَنْعَاءَ  فِيْهِ أَقْداَحٌ مِنْ فِضَّةٍ عَدَدَ نُجُومِ السَّمَاءِ ، أَلَا وَإِنِّي ساَئِلُكُمْ غَداً ماَذاَ صَنَعْتُمْ فِيْماَ أَشَهَدْتُ اللهَ بِهِ عَلَيْكُمْ فِيْ يَوْمِكُمْ هَذاَ إِذاَ وَرَدْتُمْ عَلَيَّ حَوْضِيْ ، وَماَذاَ صَنَعْتُمْ بِالثَّقَلَيْنِ مِنْ بَعْدِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تَكُوْنُوْنَ خَلَّفْتُمُوْنِيْ فِيْهِماَ حِيْنَ تَلْقَوْنِيْ ؟ قاَلُواْ : وَماَ هَذاَنِ الثَّقَلاَنِ يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قاَلَ : أَماَّ الثِّقْلُ الْاَكْبَرُ فَكِتاَبُ اللهِ عَزَّوَجَلَّ ، سَبَبٌ مَمْدُوْدٌ مِنَ اللهِ وَمِنِّيْ فِيْ أَيْدِيْكُمْ ، طَرْفُهُ بِيَدِ اللهِ وَالطَّرْفُ الْآخَرُ بِأَيْدِيْكُمْ ، فِيْهِ عِلْمٌ ماَ مَضَى وَماَ بَقَي إِلَى أَنْ تَقُوْمَ الساَّعَةُ ، وَأَماَّ الثِّقْلُ الْاَصْغَرُ فَهُوَ حَلِيْفُ الْقُرْآنِ وَهُوَ عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ وَ عِتْرَتُهُ (عَلَيْهِمْ السَّلَام) ، وَإِنَّهُمَا لَنْ يَفْتَرِقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ .


كِتاَبُ الْخِصاَلُ لِلشَّيْخِ الصَّدُوْق الْمُتَوَفَّى 381 هـ  ص 73  الْحَدِيْثُ : 78
وَ هَذاَ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ رِجاَلُهُ ثِقاَتٌ
  •  


L-umar

#5
มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีดเล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า มุฮัมมัด บินอัลฮาซันอัศศ็อฟฟ้าร จากมุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบและยะอ์กูบ บินยะซีดทั้งสองเล่าให้เราฟัง เขากล่าวว่า  จากมุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน จากอับดุลลอฮ์ บินสินาน จากมะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ จากอะบีตุเฟล อามิร บินวาษิละฮ์  จากฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารีเล่าว่า :


เมื่อท่านรอซูลุลลฮ์(ศ)กลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย และพวกเราก็ได้กลับมาพร้อมกับท่านด้วย จนเดินทางมาถึงตำบลญุฮ์ฟะฮ์

ท่านจึงสั่งบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านให้แวะพัก ดังนั้นกลุ่มชนจึงแวะพักตามสถานที่ของพวกเขา 

ต่อจากนั้นมีเสียงประกาศ(อะซาน)ให้นมาซ แล้วท่านได้นมาซ(ซุฮ์ริย่อ)สองร่อกะอะฮ์พร้อมกับบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน 

(พอนมาซเสร็จ)ท่านได้หันใบหน้าของท่านมายังพวกเขาแล้วกล่าวกับพวกเขาว่า :

แท้จริง(อัลลอฮ์)ผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนทรงแจ้งให้ฉันทราบว่า แท้จริงฉันต้องตายและพวกท่านก็ต้องตาย และดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว)และฉันได้ตอบรับแล้ว

และแท้จริงฉันต้องถูกสอบถามถึงสิ่งที่ฉันถูกส่งมาพร้อมกับมันยังพวกท่าน และถึงสิ่งที่ฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่านเกี่ยวคัมภีร์ของอัลลอฮ์และข้อพิสูจน์หลักฐานของพระองค์ และพวกท่านก็ต้องถูกสอบถาม แล้วพวกท่านจะตอบอะไรต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ?

พวกเขากล่าวว่า : พวกเราก็จะกล่าวว่า แน่นอนท่านได้ประกาศแล้วได้ตักเตือนแล้วและท่านได้ทำการญิฮ๊าดต่อสู้แล้ว  ขออัลลอฮ์โปรดตอบแทนรางวัลที่ดีที่สุดแก่ท่านแทนพวกเราด้วยเถิด

จากนั้นท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า : พวกท่านมิได้ปฏิญาณดอกหรือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์และฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮ์ที่(ถูกส่ง)มายังพวกท่าน  แท้จริงสวรรค์มีจริง นรกมีจริง และการฟื้นคืนชีพนั้นมีจริงใช่ไหม ?

พวกเขากล่าวว่า : เราขอเป็นพยานต่อสิ่งนั้น(ว่ามีจริง)

ท่านจึงกล่าวว่า : โอ้อัลลอฮ์โปรดเป็นสักขีพยานต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวด้วยเถิด

พึงทราบเถิดว่า แท้จริงฉันขอให้พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า

แท้จริงฉันขอปฏิญาณว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน

และฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของมุสลิมทุกคน และฉันมีสิทธิต่อปวงผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง พวกท่านจะรับรองต่อฉันในสิ่งนั้นหรือไม่ ?

พวกเขากล่าวว่า : ใช่ครับ พวกเราให้การรับรองแก่ท่านต่อสิ่งนั้น

แล้วท่านกล่าวว่า : พึงรู้เถิดว่า

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของเขา ดังนั้นแท้จริงอาลีก็เป็นผู้ปกครองของเขาและเขาคือชายคนนี้ 

ต่อจากนั้นท่านได้จับมืออาลีชูขึ้นพร้อมกับมือของท่านเองจนเห็นรักแร้ของเขาทั้งสอง แล้วท่านกล่าวว่า :

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขาและโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา โปรดช่วยเหลือผู้ที่ให้การช่วยเหลือเขาและโปรดทอดทิ้งผู้ที่ทอดทิ้งเขา 

พึงรู้เถิดว่า ฉันจะล่วงหน้าพวกท่านไปก่อน แล้วพวกท่านจะเข้ามาหาฉันที่สระน้ำนั้น สระน้ำของฉันในวันพรุ่งนี้

และมันคือสระน้ำที่ความกว้างของมันอยู่ระหว่างเมืองบุศรอ(อิรัก)กับศ็อนอา(ซีเรีย) ในสระนั้นมีแก้วน้ำจำนวน(มากมาย)เท่ากับดวงดาวในท้องฟ้า

พึงรู้เถิดว่า ฉันจะเป็นผู้ถามพวกท่านในวันพรุ่งนี้ว่า พวกท่านได้ทำอะไรไปในสิ่งที่ฉันได้ขอให้ขออัลลอฮ์ทรงเป็นสักขีพยานกับสิ่งนั้นบนพวกท่านในวันของพวกท่านนี้ 

เมื่อพวกท่านได้เข้ามาพบฉันที่สระน้ำของฉัน และพวกท่านได้ทำอะไรลงไปต่ออัษษะเกาะลัยน์(สิ่งหนักสองสิ่ง)ภายหลังจากฉัน 

ดังนั้นจงดูเถิดว่า พวกท่านจะเป็นอย่างไร (ในการ)ที่ได้รับมอบต่อจากฉันในสองสิ่งนั้นขณะที่พวกท่านจะมาพบกับฉัน ?   

พวกเขากล่าวว่า : สองสิ่งหนักที่ว่านี้คืออะไรหรือ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ ?

ท่านกล่าวว่า :  สิ่งหนักอันใหญ่คือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อัซซะวะญัล เป็นต้นเหตุที่ทอดมาจากอัลลอฮ์และจากฉันซึ่งมันอยู่ในมือของพวกท่าน ด้านหนึ่งของมันอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน ในนั้นมีความรู้ในอดีตและสิ่งที่มีอยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์   

ส่วนสิ่งหนักอันรองนั้นคือผู้ที่อยู่เคียงคู่กับคัมภีร์อัลกุรอ่านและเขาคือ

อาลีบินอะบีตอลิบและอิตเราะฮ์(วงศ์วาน)ของเขา

และแท้จริงทั้งสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกันเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)


อ้างอิงจากหนังสือ 

อัลคิศ็อล โดยเชคศอดูก  หน้า 73 หะดีษที่ 78  สถานะหะดีษซอฮิ๊ฮ์
  •  

L-umar

หะดีษเฆาะดีรคุม  จากตำราซุนนี่

อัลฮากิม อันนัยซาบูรี(เกิด ฮ.ศ. - 321 มรณะ 405 ) รายงาน
  •  

L-umar

#7
หะดีษเฆาะดีรคุม  จากตำราซุนนี่

อัลฮากิม อันนัยซาบูรี(เกิด ฮ.ศ. - 321 มรณะ 405 ) รายงาน


رَوَي أَبُوْعَبْدِ اللهِ الْحاَكِمُ  مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللهِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ حَمْدَوَيْهِ بْنِ نُعَيْمِ بْنِ الْحَكَمِ  النَّيْساَبُوْرِيُّ: حَدَّثَناَ أَبُو الْحُسَيْنِ مُحَمَّدُ بْنُ أَحْمَدَ بْنِ تَمِيمٍ الْحَنْظَلِيِّ ، بِبَغْدَادَ ، ثَناَ أَبُو قِلَابَةَ عَبْدُ الْمَلِكِ بْنُ مُحَمَّدٍ الرَّقَاشِىُّ ، ثَناَ يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، وَحَدَّثَنِيْ أَبُوْ بَكْرٍ مُحَمَّدُ بْنُ بَالُوَيْهِ ، وَأَبُوْ بَكْرٍ أَحْمَدُ بْنُ جَعْفَرٍ الْبَزَّارُ قاَلاَ : ثَناَ عَبْدُ اللَّهِ بْن أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلٍ ، حَدَّثَنِي أَبِي ، ثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، وَثَناَ أَبُو نَصْرٍ أَحْمَدُ بْنُ سَهْلٍ الْفَقِيهُ بِبُخَارَى ، ثَناَ صَالِحُ بْنُ مُحَمَّدِ الْحاَفِظُ الْبَغْداَدِيُّ ، ثَناَ خَلَفُ بْنُ سَالِمٍ الْمُخَرِّمِيُّ ، ثَنَا يَحْيَى بْنُ حَمَّادٍ ، ثَنَا أَبُو عَوَانَةَ ، عَنْ سُلَيْمَانَ الْأَعْمَشِ قاَلَ : ثَناَ حَبِيبُ بْنُ أَبِي ثَابِتٍ ، عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : لَمَّا دَفَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ


كِتاَبُ الْمُسْتَدْرَكُ عَلَى الصَّحِيْحَيْنِ لِلْحاَكِمِ النَّيْساَبُوْرِيِّ  ح 4553 و 4554

قاَلَ الْحاَكِمُ : صَحِيْحٌ عَلَى شَرْطِ الشَّيْخَيْنِ ،

كِتاَبُ : سِلْسِلَةُ الصَّحِيْحَةِ لِلْأَلْباَنِيِّ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750 نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْحٌ
  •  

L-umar

#8
อบุลฮูเซน มุฮัมมัด บินอะหมัด บินตะมีม อัลฮันซ่อลีได้เล่าให้เราฟังที่แบกแดด อบูกิลาบะฮ์ อับดุลมะลิก บินมุฮัมมัด อัลร่อกอชีได้เล่าให้เราฟัง ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง และอบูบักร์ มุฮัมมัด บินบาลุวัยฮ์กับอบูบักร์ อะหมัด บินญะอ์ฟัร อัลบัซซาร ทั้งสองได้เล่าให้ฉันฟัง 

อับดุลลอฮ์ บินอะหมัด บินฮันบัลได้เล่าให้เราฟัง จากบิดาของฉัน(อิม่ามอะหมัด)ได้เล่าให้ฉันฟัง ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง และอบูนัศร์ อะหมัด บินสะฮัล อัลฟะกีฮ์ได้เล่าให้เราฟังที่เมืองบุคอรอ  ซอและห์ บินมุฮัมมัด อัลฮาฟิซ อัลบัฆดาดีได้เล่าให้เราฟัง
ค่อลัฟ บินซาลิม อัลมุค็อรร่อมีได้เล่าให้เราฟัง  ยะห์ยา บินฮัมมาดได้เล่าให้เราฟัง
ได้เล่าให้เราฟัง  อบูอิวานะฮ์เล่าให้เราฟัง  จากสุลัยมาน อัลอะอ์มัชกล่าวว่า : หะบีบ บินอบาบิต 

จากท่านอะบีตุเฟล(อามิรบินวาษิละฮ์)จากท่านเซด บินอัรกอมว่า :

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย(ขากลับ)ท่านได้แวะพักที่เฆาะดีรคุม

ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน   

ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหาฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)   

จากนั้นท่าน(รอซูลฯ)ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นเมาลา(ผู้คุ้มครอง)ของฉัน  และฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของผู้ศรัทธาทุกคน 

จากนั้นท่านนบีได้จับมืออะลี(ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า : 

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของเขา  ดังนั้นอะลีก็เป็นวะลี(ผู้ปกครอง)ของเขา   

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

อ้างอิงจากหนังสือ

อัลมุสตัดร็อก อะลัซซ่อฮีฮัยนิ  หะดีษที่ 4553,4554
อัลฮากิมกล่าวว่า ซอฮิ๊ฮ์ตามเงื่อนไขของท่านเชคทั้งสอง

เชคอัลบานีกล่าวว่า ซอฮี๊ฮฺ 

ดูซิลซิละตุซซอฮีฮะฮ์เล่ม 4 : 330  หะดีษที่ 1750 
  •  

L-umar

#9
อีกสายรายงานหนึ่ง ท่านอะบีตุเฟลเล่าว่า

جَمَعَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ تَعَالَى عَنْهُ النَّاسَ فِي الرَّحَبَةِ ثُمَّ قَالَ لَهُمْ أَنْشُدُ اللَّهَ كُلَّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ سَمِعَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ مَا سَمِعَ لَمَّا قَامَ فَقَامَ ثَلَاثُونَ مِنْ النَّاسِ وَقَالَ أَبُو نُعَيْمٍ فَقَامَ نَاسٌ كَثِيرٌ فَشَهِدُوا حِينَ أَخَذَهُ بِيَدِهِ فَقَالَ لِلنَّاسِ أَتَعْلَمُونَ أَنِّي أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ قَالُوا نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَهَذَا مَوْلَاهُ اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ


ท่านอาลีได้รวบรวมประชาชนในวันที่แสดงความยิน(ที่เข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์)

ต่อจากนั้นท่านอาลีได้กล่าวกับพวกเขาว่า

ฉันขอให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานต่อมุสลิมทุกคนที่เขาได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้กล่าวในวันเฆาะดีรในสิ่งที่เขาได้ยิน เมื่อท่านได้ยืนขึ้นแล้วประชาชนสามสิบคนก็ได้ยืนขึ้น 

ท่านอะบูนุอัยม์เล่าว่า

มีผู้คนมากมายได้ลุกขึ้นยืน พวกเขาได้เป็นพยานยืนยันว่า ขณะที่ท่าน(รอซูลฯ)ได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นแล้วท่านได้กล่าวกับประชาชนว่า

พวกท่านรู้ใช่ไหมว่า แท้จริงฉันมีสิทธิใกล้ชิดที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธามากยิ่งกว่าตัวของพวกเขา   

พวกเขากล่าวว่า ใช่ครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์ 


ท่านจึงกล่าวว่า

บุคคลใดก็ตามที่ฉันคือเมาลาของเขา ดังนั้นชายคนนี้ก็คือเมาลาของเขา  โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา

สถานะหะดีษ : ซอฮิ๊ฮ์ ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 19321

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี 
  •  

L-umar

#10
คำ เมาลา และ วะลี แปลว่า  ผู้ปกครอง 

หลักฐานที่ 1 – อัลบุคอรีบันทึกว่า  ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า

مَا مِنْ مُؤْمِنٍ إِلاَّ وَأَنَا أَوْلَى بِهِ فِى الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ اقْرَءُوا إِنْ شِئْتُمْ ( النَّبِىُّ أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ ) فَأَيُّمَا مُؤْمِنٍ مَاتَ وَتَرَكَ مَالاً فَلْيَرِثْهُ عَصَبَتُهُ مَنْ كَانُوا ، وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيَاعًا فَلْيَأْتِنِى فَأَنَا مَوْلاَهُ »

ไม่มีมุอ์มินคนใด เว้นแต่ฉันมีความใกล้ชิดต่อเขามากที่สุดทั้งในโลกนี้และปรโลก จงอ่านหากท่านต้องการ ( นะบีคือผู้ที่ใกล้ชิดต่อบรรดามุอ์มินมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขา) ฉะนั้นมุอ์มินคนใดก็ตามที่ตายแล้วและเขาได้ทิ้งทรัพย์ไว้ ก็ให้ญาติสนิทของเขาที่ยังอยู่จงรับมรดกของเขาไป และ(ถ้าผู้ตายคนใด)ได้ทิ้งหนี้สินไว้หรือ(ทิ้ง)ความเสียหายเอาไว้ ก็ให้เขา(เจ้าหนี้หรือผู้เสียหาย)จงมาหาฉัน เพราะฉันคือเมาลา(ผู้ปกครอง)ของเขา 

ดูซอฮิ๊ฮ์บุคอรี หะดีษที่ 2399

หลักฐานที่ 2 – อะหมัดบินฮัมบัลบันทึกว่า  ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า

مَنْ تَرَكَ مَالًا فَلِوَرَثَتِهِ وَمَنْ تَرَكَ دَيْنًا أَوْ ضَيْعَةً فَإِلَيَّ وَأَنَا وَلِيُّ مَنْ لَا وَلِيَّ لَهُ

ผู้(ตาย)คนใดก็ตามที่เขาได้ทิ้งทรัพย์ไว้ มันก็เป็นสิทธิของญาติสนิทของเขา
และ(ถ้าผู้ตายคนใด)ได้ทิ้งหนี้สินไว้หรือ(ทิ้ง)ความเสียหายเอาไว้ ดังนั้นก็ให้เขา(เจ้าหนี้หรือผู้เสียหาย)จงมาหาฉัน และฉันคือวะลี(ผู้ปกครอง)ของผู้ที่เขาไม่มีวะลี(มารับผิดชอบ) 

ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 17238 สายรายงานดีเชื่อถือได้ 

ฉบับตรวจทานโดยเชคชุเอบอัรนะอูฏี
  •  

L-umar

อาจมีบางท่านที่เกิดคำถามว่า  


สายรายงานหะดีษจากตำราอัลคิศ็อลของเชคศอดูก

เรื่องที่ท่านนะบี(ศ)แต่งตั้งท่านอาลีนั้น  มีความเชื่อถือได้แค่ไหน


เราขอเชิญท่าน   ใช้วิจารณญาณ  อ่านคำวิเคราะห์  ได้ดังนี้
 
  •  

L-umar

#12
วิจารณ์สถานะนักรายงาน


1,เชคศอดูก 2,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด 3,มุฮัมมัด บินอัลฮาซันอัศศ็อฟฟ้าร 4,มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ 5,ยะอ์กูบ บินยะซีด 6,มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน 7,อับดุลลอฮ์ บินสินาน 8,มะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ 9,อะบีตุเฟล อามิรบินวาษิละฮ์  10,ฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี


1,เชคศอดูก  (เกิด ฮ.ศ. 306  มรณะ 381 )
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىِّ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ مُوْسَى بْنِ باَبَوَيِهِ الْقُمِّيُّ أبُوْ جَعْفَرٍ(الشَّيْخُ الصَّدُوْقُ) : شَيْخُناَ وَفَقِيْهُناَ وَوَجْهُ الطاَّئِفَةِ بِخُراَساَن،  رجال النجاشي رقم 1049

قاَلَ الشَيْخُ الطُّوْسِيُّ : محمد بن علي بن الحسين بن بابويه القمي، جَلِيْلُ الْقَدْرِ حَفِظَة، بَصِيْرٌ بِالْفِقْهِ وَالْأَخْباَرِ وَالرِّجاَلِ،   رجال الشيخ الطوسي  رقم 6275

قاَلَ الْعَلاَّمَة : محمد بن علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي : شَيْخُناَ وَفَقِيْهُناَ وَوَجْهُ الطاَّئِفَةِ بِخُرَاساَن، كاَنَ جَلِيْلاً حاَفِظاً الْاَحاَدِيْث بَصِيْراً بِالرِّجاَلِ ناَقِداً لِلْاَخْباَرِ لَمْ يُرَ فِي الْقُمِّيِّيْنَ مِثْلُهُ فِيْ حِفْظِهِ وَكَثْرَةِ عِلْمِهِ، 
خلاصة الاقوال للعلامة   رقم 44

2,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน บินอะหมัด บินอัลวะลีด  (มรณะฮ.ศ. 343)
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ بْنِ أَحْمَدِ بْنِ الْوَلِيْدِ أبوجعفر : شيخ القميين، وفقيههم، ومتقدمهم، ووجههم. ثِقَةٌ ثِقَةٌ، عَيْنٌ، مَسْكُوْنٌ إلَيْهِ.
رجال النجاشي رقم 1042
قال ابن داود : محمد بن الحسن بن أحمد بن الوليد شيخ القميين وفقيههم ومتقدمهم  ثقة ثقة
رجال ابن داود  رقم 1346
قال العلامة : محمد بن الحسن بن احمد بن الوليد شيخ القميين وفقيههم ومتقدمهم ووجههم.
ثقة ثقة عين مسكون اليه جليل القدر عظيم المنزلة عارف بالرجال موثوق به يروي عن الصفار
خلاصة الاقوال للعلامة   رقم 43

3,มุฮัมมัด บินอัลฮาซัน อัศ-ศ็อฟฟ้าร ( มรณะฮ.ศ.290 ) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدُ بْنُ الْحَسَنِ الصَّفاَّرِ : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار كان وجها في أصحابنا القميين، ثقة عظيم القدر راجحا قليل السقط في الرواية. رجال النجاشي  رقم 948

قاَلَ ابْنُ دَاوُد : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار :كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحاقليل السقط في الرواية،   رجال ابن داود  رقم 1359

قال العلامة : محمد بن الحسن بن فروخ الصفار:كان وجها في أصحابنا القميين ثقة عظيم القدر راجحا قليل السقط في الرواية،  خلاصة الاقوال  رقم 112

4,มุฮัมมัด บินอัลฮูเซน บินอบิลคอตตอบ (มรณะฮ.ศ.262) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ بْنِ أَبِي الْخِطاَّبِ أبو جعفر الزيات الهمداني  : جليل من أصحابنا، عظيم القدر، كثير الرواية، ثقة، عين، حسن التصانيف، مسكون إلى روايته. رجال النجاشي رقم 897
قاَلَ ابْنُ دَاوُد : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب أبو جعفر الزيات، : ثِقَةٌ.
رجال ابن داود  رقم 1345
قال العلامة : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب : جليل من أصحابنا عظيم القدر كثير الرواية ثِقَةٌ عين حسن التصانيف مسكون إلى روايته، خلاصة الاقوال  رقم 19
قال الشيخ الطوسي : محمد بن الحسين بن أبي الخطاب الكوفي ثِقَةٌ من اصحاب أبي جعفر الثانى.  رجال الطوسي  رقم 23

5,ยะอ์กูบ บินยะซีด
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : يَعْقُوْبَ بْنِ يَزِيْدَ بن حماد الأنباري السلمي : روى عن أبي جعفر الثاني عليه السلام، وانتقل إلى بغداد، وكان ثقة صدوقا.  رجال النجاشي  رقم 1215
قال الشيخ الطوسي : يعقوب بن يزيد الكاتب : هو ويزيد ابوه ثقتان.
رجال الطوسي  رقم 12 باب الياء
قال ابن داود : يعقوب بن يزيد بن حماد الانباري السلمي أبو يوسف القمي : ثقة صدوقا. 
رجال ابن داود  رقم 1735
يعقوب يزيد بن حماد الانباري السلمي : كان يعقوب من أصحاب الرضا عليه السلام وروى يعقوب عن أبي جعفر الثاني عليه السلام وانتقل إلى بغداد وكان ثقة صدوقا
خلاصة الاقوال  رقم 1 الباب الخامس يعقوب سبعة رجال
6,มุฮัมมัด บินอะบีอุมัยริน  (มรณะฮ.ศ.217) 
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : مُحَمَّدِ بْنِ أَبِيْ عُمَيْرٍ : زياد بن عيسى أبو أحمد الأزدي : من موالي المهلب بن أبي صفرة بغدادي لقي أبا الحسن موسى عليه السلام وسمع منه أحاديث وروى عن الرضا عليه السلام، جليل القدر عظيم المنزلة فينا وعند المخالفين.  رجال النجاشي رقم 887
قال الشيخ الطوسي : محمد بن أبى عمير : ثقة. رجال الطوسي رقم 26
قال ابن داود : محمد بن أبي عمير : ثقة  من أوثق الناس عند الخاصة والعامة 
رجال ابن داود  رقم 1272
قال العلامة : محمد بن أبي عمير لقي أبا الحسن موسى عليه السلام وسمع منه أحاديث وروى عن الرضا عليه السلام كان جليل القدر عظيم المنزلة عندنا وعند المخالفين
قال الكشي: انه ممن أجمع أصحابنا على تححيح ما يصح عنه وأقروا له بالفقه والعلم.
خلاصة الاقوال رقم 17 باب الميم
7,อับดุลลอฮ์ บินสินาน
قاَلَ النَّجاَشِيُّ : عَبْد اللهِ بْنِ سِناَنَ بن طريف : مولى بني هاشم، كوفي، ثقة، من أصحابنا، جليل، لا يطعن عليه في شي ء، روى عن أبي عبد الله عليه السلام،  رجال النجاشي رقم 558
قال الشيخ الطوسي : عبد الله بن سنان : ثقة، له كتاب،   الفهرست للطوس رقم 423
8,มะอ์รู๊ฟ บินค็อรร่อบูซ
مَعْرُوفِ بْنِ خَرَّبُوذَ : مولى آل عثمان بن عفان. ( ... ـ بعد 141 هـ)
ممدوح أورد الكشي فيه مدحا وقدحا وثقته أصح.   رجال ابن داود رقم 1576
روى عن: أبي الطفيل عامر بن واثلة الصحابي،
روى عنه: عبد اللّه بن سنان وآخرون.
وعُدّ في أصحاب السجاد والباقر (ع) ، وروى عنهما، وفي أصحاب الصادق (ع) .
وذكر الكشي اجماع علماء الشيعة على تصديق جماعة من أصحاب أبي جعفر الباقر وأبي عبد اللّه الصادق (ع) ، وانقيادهم لهم بالفقه، وعدّ منهم معروف بن خرّبوذ.
ذكره ابن حبان في الثقات.
وقال الذهبي في «ميزانه»: صدوق شيعي.
وقال أبو عاصم: كان معروف شيعياً.
وقد وقع معروف بن خرّبوذ في اسناد جملة من الروايات المرويّة عن أئمة أهل البيت (ع) ، تبلغ أحد عشر مورداً. فروى عن: أبي الطفيل، والحكم بن المستورد.
وروى عنه: حنان بن سدير الصيرفي، وعبد اللّه بن سنان، ومالك بن عطيّة، وغيرهم.
وروى له أبو داود ومسلم وابن ماجة والبخاري.
لم تذكر مصادر الترجمة سنة وفاة معروف، إلاّ أنّ الذهبي ذكره في وفيات سنة (141 ـ 160هـ). 
موسوعة أصحاب الفقهاء  رقم 531
อิบนุดาวูดกล่าวว่า  :  ท่านมะอ์รู๊ฟ บินค็อรเราะบูซ  ถูกยกย่องและถูกตำหนิ และเขาเชื่อถือได้ในการรายงานซึ่งถือวาถูกต้องที่สุด
ดูริญาลอิบนิดาวูด  อันดับที่ 1576

อัซซะฮะบีกล่าวว่า  : มะอ์รูฟ บินค็อรเราะบูซ รายงานหะดีษจากท่านอะบีตุเฟล   ซอดู๊ก(เชื่อถือได้) เป็นชีอะฮ์
ดูมีซานุลอิ๊อ์ติดาล  อันดับที่  8655

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  : มะอ์รูฟ บินค็อรเราะบูซ อัลมักกี คนรับใช้ของตระกูลท่านอุษมาน  ซอดู๊ก(เชื่อถือได้)
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  6791
9,อะบีตุเฟล อามิรบินวาษิละฮ์ 
أَبو الطُّفَيْلِ عَامِرِ بْنِ وَاثِلَةَ  (3 ـ 100 هـ ، بعد المائة)
أدرك من حياة رسول اللّه - صلّى اللّه عليه وآله وسلّم - ثماني سنين.
نزل الكوفة، وصحِبَ الاِمام عليّاً - عليه السّلام- وكان متشيعاً فيه ويفضّله. ثمّ أقام بمكة.
وكان فاضلاً عاقلاً، فصيحاً شاعراً، حاضر الجواب. شهد المشاهد مع علي - عليه السّلام- وكان من مخلصي أنصاره.
عُدّ من أصحاب الاِمامين الحسن وعليّ بن الحسين زين العابدين «عليهما السلام» .
حدّث عن: الاِمام عليّ، ومعاذ بن جبل، وأبي بكر، وابن مسعود، وعمر، وغيرهم.
حدّث عنه: حبيب بن أبي ثابت، والزهري، وأبو الزبير المكي، وآخرون.
توفّي سنة مائة. وقيل: بعد المائة. وهو آخر من مات ممن رأى النبي - صلّى اللّه عليه وآله وسلّم - .
موسوعة أصحاب الفقهاء  رقم 142
อิบนุดาวูดกล่าวว่า  :  ท่านอามิร บินวาษิละฮ์  มีฉายาว่าอะบูตุเฟล เขาอยู่ทันท่านนะบี(ศ)ประมาณแปดปี และเขาคือลูกศิษย์พิเศษคนหนึ่งของท่านอาลี(อ)
ดูริญาลอิบนิดาวูด  อันดับที่ 806

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  :  ท่านอามิร บินวิละฮ์ (อะบูตุเฟล) เกิดในปีสงคราอุฮุด และเขาได้พบเห็นท่านนะบี(ศ)  เขามรณะฮ.ศ.110 ซึ่งถือว่าถูกต้องที่สุดและเขายังเป็นซอฮาบะฮ์คนสุดท้ายที่เสียชีวิต
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  3111
10,ฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี
قاَلَ الشَيْخُ الطُّوْسِيُّ : حُذَيْفَة بْن أَسِيدٍ الْغِفَارِيِّ  : أبو سريحة، صاحب النبي صلى الله عليه وآله وسلم،
رجال الشيخ الطوسي  رقم 179

حذيفة بن أسيد أبو سريحة الغفاري سكن الكوفة روى عنه أهلها مات بأرمينية سنة 42
الثقات لابن حبان رقم 258

حذيفة بن أسيد الغفاري يكنى أبو سريحة من أصحاب النبي صلى الله عليه و سلم
الثقات للعجلي رقم 277

حذيفة بن اسيد الغفاري : له صحبة نزل الكوفة أول مشهد شهد مع رسول الله صلى الله عليه و سلم الحديبية روى عنه أبو الطفيل 
الجرح والتعديل رقم 1141

حذيفة بن أسيد  ويقال ابن أمية بن أسيد أبو سريحة الغفاري.
شهد الحديبية وقيل انه بايع تحت الشجرة.
وروى عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن أبي بكر وعلي وأبي ذر.
وعنه أبو الطفيل وغيرهم.  وتوفي أبو سريحة فصلى عليه زيد بن ارقم.
قال ابن حبان مات سنة 42.
تهذيب التهذيب  رقم  403

เชคตูซี่กล่าวว่า   :  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด อัลฆิฟารี (มรณะฮ.ศ.42) คือซอฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านนะบี(ศ)
ดูริญาลเชคตูซี  อันดับที่ 179

อิบนุหะญัรอัลอัสก่อลานีกล่าวว่า  :  ท่านฮุซัยฟะฮ์ บินอะสีด คือซอฮาบะฮ์คนแรกจากบรรดาซอฮาบะฮ์ที่มอบบัยอัตให้ท่านนะบี(ศ)ที่ใต้ต้นไม้  (ที่ฮุดัยบียะฮ์ เขามรณะฮ.ศ.42)
ดูตักรีบุตตะฮ์ซีบ  อันดับที่  1154

وَ هَذاَ سَنَدٌ صَحِيْحٌ رِجاَلُهُ ثِقاَتٌ


สรุป  สายรายงานหะดีษนี้ ถูกต้อง  และนักรายงาน เชื่อถือได้(ทุกคน)
  •  

Q4Wahabi

  •  

54 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้