Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 11:42:19 ก่อนเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 82
  • Online ever: 82
  • (วันนี้ เวลา 05:37:34 ก่อนเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 21
Total: 21

ชนชาติอิหร่านในมุมมองจากกิตาบและซุนนะฮ์

เริ่มโดย L-umar, เมษายน 19, 2010, 10:52:32 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


ชนชาติอิหร่านในมุมมองจากกิตาบและซุนนะฮ์

ก่อนที่จะเข้าไปในรายละเอียดของเรื่อง  อันดับแรกขอเกริ่นให้ท่านได้ทราบเป็นสังเขปถึงความเป็นมาของชนชาติเปอร์เซียซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า  ชาวอิหร่าน  


ประเทศอิหร่าน
(ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย

อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย (ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้) และ อ่าวโอมาน (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
ในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)


การเมือง
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้


ประมุขสูงสุด (Rahbar)

ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและ
อาณาจักร


ประธานาธิบดี (Ra\\\'is-e Jomhoor) เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

อ้างอิงจากเวบ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99
  •  

L-umar

อัลเลาะฮ์ตะอาลา
ได้ตรัสยกย่องถึงท่านซัลมานฟาริซีและชนชาติเปอร์เซียไว้ในคัมภีร์กุรอ่านมากมายเช่น



1. ซูเราะฮ์มุฮัมมัด   โองการที่  38


هَا أَنْتُمْ هَؤُلَاءِ تُدْعَوْنَ لِتُنْفِقُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ
فَمِنْكُمْ مَنْ يَبْخَلُ وَمَنْ يَبْخَلْ فَإِنَّمَا يَبْخَلُ عَنْ نَفْسِهِ وَاللَّهُ الْغَنِيُّ وَأَنْتُمُ الْفُقَرَاءُ
وَإِنْ تَتَوَلَّوْا يَسْتَبْدِلْ قَوْمًا غَيْرَكُمْ ثُمَّ لَا يَكُونُوا أَمْثَالَكُمْ

พึงรู้เถิดว่า พวกเจ้านี้แหล่ะคือ ชนชาติที่ถูกเรียกร้องให้บริจาคในหนทางของอัลลอฮ์

แต่มีบางคนในหมู่พวกเจ้าเป็นผู้ตระหนี่ ดังนั้นผู้ใดตระหนี่เขาก็ตระหนี่แก่ตัวของเขาเอง เพราะอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงมั่งมี แต่พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสน


และถ้าพวกเจ้าผินหลังออก พระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนชนชาติอื่นมาแทนพวกเจ้า แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นเช่นพวกเจ้า



► อัสบาบุลนุซูล ( สาเหตุแห่งการประทานโองการ )


عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَلاَ هَذِهِ الْآيَةَ :
{ وَإِنْ تَتَوَلَّوْا يَسْتَبْدِلْ قَوْمًا غَيْرَكُمْ ثُمَّ لا يَكُونُوا أَمْثَالَكُمْ } ،
فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ،مَنْ هَؤُلاءُ الَّذِينَ إِنَّ تَوَلَّيْنَا اسْتُبْدِلُوا بِنَا ثُمَّ لا يَكُونُوا أَمْثَالَنَا؟
قاَلَ : فَضَرَبَ بِيَدِهِ عَلَى كَتِفِ سَلْماَنَ الْفاَرِسِيِّ ثُمَّ قاَلَ : \\\" هَذَا وَقَوْمُهُ ، وَلَوْ كاَنَ الدِّيْنُ عِنْدَ الثُّرَياَّ لَتَناَوَلَهُ رِجاَلٌ مِنَ الْفُرْسِ
Θ تفسير ابن كثير  ج 7  ص 324  سورة محمد (ص)  الآية 38


ท่านอะบีฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า :

แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้อ่านโองการนี้ ((และถ้าพวกเจ้าผินหลังออก พระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนชนชาติอื่นมาแทนพวกเจ้า แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นเช่นพวกเจ้า ))

พวกเขา(ซอฮาบะฮ์)กล่าวว่า  โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  บรรดาพวกที่หากพวกเราผินหลังออก พระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนชนชาติอื่นมาแทนพวกเรา แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นเช่นพวกเรา พวกเขาเหล่านี้เป็นใครหรือ ?

ท่าน(ศ)ได้ตบด้วยมือของท่านไปบนหัวไหล่ของท่านซัลมานอัลฟาริซี ต่อจากนั้นท่านกล่าวว่า  คือชายคนนี้และชนชาติของเขา  และมาตรแม้นว่า ดีน(ศาสนาอิสลาม) อยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเปอร์เซียก็จะไปคว้าเอามันลงมาให้ได้อย่างแน่นอน

ดูตัฟสีร อิบนุกะษีร  เล่ม 7 หน้า 324 ดูคำอธิบายซูเราะฮ์มุฮัมมัด   โองการที่  38
  •  

L-umar

2. ซูเราะฮ์ญุมอะฮ์  โองการที่  3


อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

وَآَخَرِينَ مِنْهُمْ لَمَّا يَلْحَقُوا بِهِمْ وَهُوَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ

และกลุ่มชนอื่น ๆ ในกลุ่มพวกเขาที่จะติดตามมาภายหลังจากพวกเขา และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ




► อัสบาบุลนุซูล ( สาเหตุแห่งการประทานโองการ )



عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ رضى الله عنه قَالَ كُنَّا جُلُوسًا عِنْدَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - فَأُنْزِلَتْ عَلَيْهِ سُورَةُ الْجُمُعَةِ ( وَآخَرِينَ مِنْهُمْ لَمَّا يَلْحَقُوا بِهِمْ ) قَالَ قُلْتُ مَنْ هُمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ فَلَمْ يُرَاجِعْهُ حَتَّى سَأَلَ ثَلاَثًا ، وَفِينَا سَلْمَانُ الْفَارِسِىُّ ، وَضَعَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - يَدَهُ عَلَى سَلْمَانَ ثُمَّ قَالَ « لَوْ كَانَ الإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ - أَوْ رَجُلٌ - مِنْ هَؤُلاَءِ »


ท่านอะบีฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า :

พวกเรานั่งอยู่กับท่านนะบี(ศ)  แล้วซูเราะฮ์อัลญุมอะฮ์ได้ถูกประทานลงมายังท่านว่า

((และกลุ่มชนอื่น ๆ ในกลุ่มพวกเขาที่จะติดตามมาภายหลังจากพวกเขา ))  

ฉันได้กล่าวว่า  พวกเขาคือใครหรือ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮ์  ?

ท่านมิได้ให้คำตอบถึงมัน จนเขาถามถึงสามครั้ง และในหมู่พวกเรามีซัลมานอัลฟาริซีอยู่ด้วย

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้วางมือของท่านลงบนซัลมาน จากนั้นท่านกล่าวว่า  

หากแม้นว่า อีหม่าน(ความศรัทธา)อยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชาย หรือชายจากคนเหล่านี้จะไปขว้าเอามันมาอย่างแน่นอน



ดู ซอฮีฮุล บุคอรี  หะดีษที่  4897, 4898  

และซอฮี๊ฮมุสลิม  หะดีษที่  6661 , 6662
  •  

L-umar

3.  ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  โองการที่   54

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا مَنْ يَرْتَدَّ مِنْكُمْ عَنْ دِينِهِ فَسَوْفَ يَأْتِي اللَّهُ بِقَوْمٍ يُحِبُّهُمْ وَيُحِبُّونَهُ أَذِلَّةٍ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ أَعِزَّةٍ عَلَى الْكَافِرِينَ يُجَاهِدُونَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ وَلَا يَخَافُونَ لَوْمَةَ لَائِمٍ ذَلِكَ فَضْلُ اللَّهِ يُؤْتِيهِ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ


โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากลับออกจากศาสนา(อิสลาม)ของพวกเขา(ไปสู่ศาสนาเดิม)  

อัลลอฮ์ก็จะทรงนำมาซึ่งชนชาติหนึ่ง(แทนที่พวกเขา)  ที่พระองค์ทรงรักพวกเขาและพวกเขาก็รักพระองค์

(พวกเขา)เป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนต่อบรรดามุอ์มิน  เป็นผู้เข้มแข็งทรนงต่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา

พวกเขาจะเสียสละและต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ และไม่กลัวการตำหนิของผู้ตำหนิคนใด

นั่นคือความโปรดปรานของอัลลอฮ์ซึ่งพระองค์จะทรงประทานมันแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้




► อัสบาบุลนุซูล ( สาเหตุแห่งการประทานโองการ )

ท่านซะมัคชะรี ได้อธิบายถึงอัสบาบุลนุซูลซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  โองการที่   54 ว่า  :

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا مَنْ يَرْتَدَّ مِنْكُمْ عَنْ دِينِهِ فَسَوْفَ يَأْتِي اللَّهُ بِقَوْمٍ يُحِبُّهُمْ وَيُحِبُّونَهُ أَذِلَّةٍ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ أَعِزَّةٍ عَلَى الْكَافِرِينَ يُجَاهِدُونَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ وَلَا يَخَافُونَ لَوْمَةَ لَائِمٍ ذَلِكَ فَضْلُ اللَّهِ يُؤْتِيهِ مَنْ يَشَاءُ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ  
« لو كان الإيمان معلقاً بالثريا لناله رجال من أبناء فارس »
تفسير الكشاف  للزمخشري  ج 2 ص 37  سورة المائدة  الآية  54

ท่านรอซูล(ศ)กล่าวว่า : หากอีหม่าน(ความศรัทธา)ถูกแขวนอยู่ที่ดาวลูกไก่  บรรดาชายจากลูกหลานของชาวเปอร์เซียก็จะคว้ามันมาได้อย่างแน่นอน

ดูตัฟสีรอัลกัชช๊าฟ  เล่ม  2 หน้า 37 ดูซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  โองการที่   54



ท่านษะอ์ละบีอธิบายถึงหนึ่งในอัสบาบุลนุซูลซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  โองการที่   54 ว่า  :

ويروى أنّ رسول اللّه {صلى الله عليه وسلم} سئل عن هذه الآية فضرب يده على عاتق سلمان الفارسي فقال : هذا وذووه، ثم قال : «لو كان الدين معلقاً بالثريا لناله من أبناء فارس».
تفسير الكشف والبيان  للثعلبى  ج 5  ص 112 سورة المائدة  الآية  54

มีรายงานว่า แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ถูกถามถึงความหมายของโองการนี้ ท่านได้ตบมือของท่านบนบ่าของท่านซัลมานอัลฟาริซี แล้วกล่าวว่า

คือชายคนนี้และพวกพ้องของเขา  จากนั้นท่านกล่าวว่า  หากดีน(อิสลาม)ถูกแขวนอยู่ที่ดาวลูกไก่   ก็จะมีลูกหลานของชาวเปอร์เซียไปคว้ามันมาได้อย่างแน่นอน

ดูตัฟสีรอัลกัชวัลบะยาน  เล่ม 5 หน้า 112 ดูซูเราะฮ์มาอิดะฮ์  โองการที่   54
  •  

L-umar

4. ซูเราะฮ์นิซาอ์  โองการที่  133


อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า


إِنْ يَشَأْ يُذْهِبْكُمْ أَيُّهَا النَّاسُ وَيَأْتِ بِآَخَرِينَ وَكَانَ اللَّهُ عَلَى ذَلِكَ قَدِيرًا

หากพระองค์ทรงประสงค์ก็จะทรงให้พวกเจ้าหมดไปโอ้มนุษย์เอ๋ย !

และจงทรงนำชนชาติอื่นมา(แทน)  และอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพเหนือสิ่งนั้น




► อัสบาบุลนุซูล ( สาเหตุแห่งการประทานโองการ )

ท่านอัลมาวัรดีอธิบายถึงอัสบาบุลนุซูลของซูเราะฮ์นิซาอ์  โองการที่  133 ว่า :

قوله تعالى : { إِن يَشَأْ يُذْهِبْكُمْ أَيُّهَا النَّاسُ وَيَأْتِ بأَخَرِينَ } روى سهل بن أبي صالح عن أبي صالح عن أبيه عن أبي هريرة عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه لما نزلت ضرب بيده على ظهر سلمان وقال : « هُمْ قَوْمُ هّذا » يعني عجم الفرس .
تفسير النكت والعيون   ج 1  ص 331
المؤلف : أبوالحسن علي بن محمد بن محمد بن حبيب البصري البغدادي، الشهير بالماوردي

พระดำรัสของอัลลอฮ์ตะอาลาที่ตรัสว่า :
((หากพระองค์ทรงประสงค์ก็จะทรงให้พวกเจ้าหมดไปโอ้มนุษย์เอ๋ย !    และจงทรงนำชนชาติอื่นมา(แทน)  และอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพเหนือสิ่งนั้น ))

สะฮัล บินอะบีซอและห์ได้รายงานจากอะบีซอและห์ จากบิดาเขา  จากท่านอะบีฮุร็อยเราะฮ์  จากท่านนะบี(ศ)

แท้จริงตอนที่โองการนี้ได้ประทานลงมา  ท่านได้ตบมือของท่านลงบนหลังของท่านซัลมาน พลางกล่าวว่า  พวกเขาคือชนชาติของชายผู้นี้  หมายถึงชาวอะญั่ม(ต่างชาติ) เชื้อสายเปอร์เซีย


ดูตัฟสีรอันนุกัต วัลอุยูน  เล่ม 1 หน้า  331  ซูเราะฮ์นิซาอ์  โองการที่  133
  •  

L-umar

5. ซูเราะฮ์อัชชุอะรออ์  โองการที่ 198


อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

وَلَوْ نَزَّلْنَاهُ عَلَى بَعْضِ الْأَعْجَمِينَ

และหากว่าเราประทานมันลงมาแก่บางคนในหมู่ชาวต่างชาติ





► อัสบาบุลนุซูล ( สาเหตุแห่งการประทานโองการ )


ท่านญะลาลุดดีน อัสสิยูตีกล่าวว่า

وأخرج ابن أبي حاتم عن السدي في قوله { ولو نزلناه على بعض الأعجمين } قال : الفرس .
الكتاب : الدر المنثور في التأويل بالمأثور  ج 7 ص 410
المؤلف : عبد الرحمن بن أبي بكر، جلال الدين السيوطي

อิบนุอะบีอาติมนำออกรายงานจากอัสซุดดีในพระดำรัสของอัลลอฮ์ที่ตรัสว่า
(( และหากว่าเราประทานมันลงมาแก่บางคนในหมู่ชาวต่างชาติ ))  
เขากล่าวว่าคือ   พวกเปอร์เซีย

ดูตัฟสีรดุรรุลมันษูร  เล่ม 7 หน้า 410 ซูเราะฮ์อัชชุอะรออ์  โองการที่ 198
  •  

L-umar

หะดีษเรื่อง ความประเสริฐของท่านซัลมานฟาริซีและชนชาติอิหร่านนั้นมีรายงานเอาไว้สามลักษณะคือ


ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า  หลังจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้เอามือของท่านตบไปบนบ่าของท่านซัลมานฟาริซี  จากนั้นท่านได้กล่าวว่า   ชายคนนี้(คือซัลมาน)และชนชาติของเขา(คือชาวอิหร่าน)...

หนึ่ง –
لَوْ كَانَ الْعِلْمُ بِالثُّرَيَّا لَتَنَاوَلَهُ أُنَاسٌ مِنْ أَبْنَاءِ فَارِسَ

หากว่าอิลมู(ความรู้)อยู่ที่ดาวลูกไก่  พวกลูกหลานเปอร์เซียก็จะไปคว้าเอามันลงมาอย่างแน่นอน

สอง -
لَوْ كَانَ الْإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ مِنْ هَؤُلَاءِ

หากว่าอีหม่าน(ความศรัทธา)อยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเหล่านี้(เปอร์เซีย)จะไปคว้าเอามันลงมาอย่างแน่นอน

สาม –

لَوْ كَانَ الدِّينُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَذَهَبَ بِهِ رَجُلٌ مِنْ فَارِسَ - أَوْ قَالَ مِنْ أَبْنَاءِ فَارِسَ - حَتَّى يَتَنَاوَلَهُ

หากว่าดีน(ศาสนาอิสลาม)อยู่ที่ดาวลูกไก่  จะมีชายจากลูกหลานเปอร์เซียไปคว้าจนเอามันลงมาอย่างแน่นอน



คำถาม  ทำไมท่านนะบี(ศ)จึงเปรียบอิลมู,อีหม่านหรือดีนว่าเป็น ดาวลูกไก่ ( ษุร็อยยา )  ?  

ตอบ  เพราะดาวลูกไก่คือแหล่งรวมของกลุ่มดาวในท้องฟ้า   ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเรื่องดาวลูกไก่ได้ที่เวบ  http://isiam.info/cosmos/pleiades.html


ฉะนั้นแม้ว่าดาวลูกไก่จะอยู่ไกลโพ้นนอกโลก อยากที่จะไขว่หามาได้อย่างง่ายๆ แต่ชนชาติที่สืบเชื้อสายจากซัลมานเปอร์เซียก็จะสามารถไปคว้าเอามันลงมาได้สำเร็จ  และปัจจุบันโลกได้ประจักษ์แล้วว่า   อิหร่านได้เปลี่ยนไปสู่ระบบสาธารณรัฐอิสลามได้สำเร็จ  ในขณะที่โลกอาหรับได้เดินถอยหลังกลับไปสู่ระบบตอฆูต



۩  ตำราที่บันทึกหะดีษเรื่อง ความประเสริฐของท่านซัลมานฟาริซีและชนชาติอิหร่าน

1. ซอฮิ๊ฮ์ บุคอรี  หะดีษที่  4897,4898

وَضَعَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) يَدَهُ عَلَى سَلْمَانَ ثُمَّ قَالَ « لَوْ كَانَ الإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ - أَوْ رَجُلٌ - مِنْ هَؤُلاَءِ

ท่านรอซูล(ศ)ได้วางมือของท่านบนซัลมานแล้วกล่าวว่า  หากอีหม่านอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเขาเหล่านี้จะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน

2. ซอฮิ๊ฮ์ มุสลิม  หะดีษที่  6661,6662

فَوَضَعَ النَّبِىُّ (ص) يَدَهُ عَلَى سَلْمَانَ ثُمَّ قَالَ  لَوْ كَانَ الإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ مِنْ هَؤُلاَءِ

ท่านนะบี(ศ)ได้วางมือของท่านบนซัลมานแล้วกล่าวว่า  หากอีหม่านอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเขาเหล่านี้จะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน


3. สุนัน ติรมีซี    หะดีษที่  3570

فَضَرَبَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) فَخِذَ سَلْمَانَ قَالَ « هَذَا وَأَصْحَابُهُ وَالَّذِى نَفْسِى بِيَدِهِ لَوْ كَانَ الإِيمَانُ مَنُوطًا بِالثُّرَيَّا لَتَنَاوَلَهُ رِجَالٌ مِنْ فَارِسَ

ท่านรอซูล(ศ)ได้ตีไปที่หน้าขาของซัลมานแล้วกล่าวว่า  ชายคนนี้และพวกของเขา ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในอำนาจของพระองค์ว่า หากอีหม่านแขวนอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเปอร์เซียจะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน
เชคอัลบานีกล่าวว่า  ซอฮี๊ฮฺ

4. สุนันกุบรอ โดยนะซาอี  หะดีษที่  8278
فَوَضَعَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَدَهُ عَلَى سَلْمَانَ ثُمَّ قَالَ لَوْ كَانَ الْإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ مِنْ هَؤُلَاءِ

ท่านนะบี(ศ)ได้วางมือของท่านบนซัลมานแล้วกล่าวว่า  หากอีหม่านอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเขาเหล่านี้จะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน

5. มุสนัดอะหมัด  หะดีษที่  9396

فَوَضَعَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَدَهُ عَلَى سَلْمَانَ وَقَالَ لَوْ كَانَ الْإِيمَانُ عِنْدَ الثُّرَيَّا لَنَالَهُ رِجَالٌ مِنْ هَؤُلَاءِ

ท่านนะบี(ศ)ได้วางมือของท่านบนซัลมานแล้วกล่าวว่า  หากอีหม่านอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเขาเหล่านี้จะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน

เชคชุเอบ อัรนะอูฏีกล่าวว่า  ซอฮิ๊ฮ์

6. ซอฮิ๊ฮ์ อิบนิฮิบบาน  หะดีษที่ 7123

عن أبي هريرة : أن رسول الله صلى الله عليه و سلم تلا هذه الآية { وإن تتولوا يستبدل قوما غيركم ثم لا يكونوا أمثالكم } [ محمد : 38 ] قالوا : يا رسول الله من هؤلاء الذين إن تولينا استبدلوا بنا ثم لا يكونوا أمثالنا
فضرب على فخذ سلمان الفارسي ثم قال : ( هذا وقومه لو كان الدين عند الثريا لتناوله رجال من فارس )

ท่านรอซูล(ศ)ได้ตีไปที่หน้าขาของซัลมานแล้วกล่าวว่า  ชายคนนี้และชนชาติของเขา   หากศาสนาอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากพวกเปอร์เซียจะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน
เชคชุเอบ อัรนะอูฏีกล่าวว่า  ซอฮิ๊ฮ์

7. มุศ็อนนัฟ อับดุลร็ฮซซ๊าก  หะดีษที่ 19923

عن أبي هريرة قال قال رسول الله صلى الله عليه و سلم لو كان الدين عند الثريا لذهب إليه رجل - أو قال رجال - من أبناء فارس حتى يتناولوه
หากศาสนาอยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายหรือลูกหลานพวกเปอร์เซียจะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน
   
8. มุสนัดอัลฮาริษ  หะดีษที่ 1040 และมุสนัดอะหมัด  หะดีษที่ 7609,9071,9095,9677

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَوْ كَانَ الْعِلْمُ بِالثُّرَيَّا لَتَنَاوَلَهُ رِجاَلٌ مِنْ أَبْنَاءِ فَارِسَ

หากความรู้อยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากลูกหลานพวกเปอร์เซียจะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน
9. อุศูลุล อะห์กาม  โดยอิบนุหัซมิน  

لو أن العلم في الثريا لتناوله رجل أو رجال من أبناء فارس
الراوي: - المحدث: ابن حزم - المصدر: أصول الأحكام - الصفحة أو الرقم: 2/299
خلاصة حكم المحدث: صحيح

หากความรู้อยู่ที่ดาวลูกไก่ บรรดาชายจากลูกหลานพวกเปอร์เซียจะไปเอามันมาได้อย่างแน่นอน
สถานะหะดีษ  ซอฮิ๊ฮ์  ดูหะดีษเลขที่ 15  เวบ http://www.dorar.net/enc/hadith/%D8%A7%D9%84%D8%AB%D9%91%D9%8F%D8%B1%D9%8E%D9%8A%D9%91%D9%8E%D8%A7/yj

ท่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษเหล่านี้ได้ที่เวบดุร็อร
http://www.dorar.net/enc/hadith/الثُّرَيَّا/yj&page=0
http://www.dorar.net/enc/hadith/الثُّرَيَّا/yj&page=1



۩ เราถือว่าหะดีษนี้เพียงพอแล้วที่เป็นหะดีษมุตตะฟัก อะลัยฮิ คือเป็นรายงานที่อัลบุคอรีและมุสลิมมีมติตรงกันว่า ถูกต้อง


Θ หากถามว่า   ทำไมอัลลอฮ์จึงทรงยกย่องท่านซัลมานฟาริซีและชาวอิหร่าน  ?

► ตอบ  เพราะชาวอิหร่านคือ  ชนชาติที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำโลกอิสลาม ตามที่อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า จะทรงนำชนชาติอื่นมาแทนที่การเป็นผู้นำของชนชาติอาหรับในยุคปัจจุบัน

อัลลอฮ์ตะอาลาทรงต้องการที่จะแสดงให้โลกมุสลิมได้ประจักษ์ว่า  ชนชาติอิหร่านคือแบบอย่างในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งอิสลามอย่างแท้จริง   ท่านลองหันกลับไปพิจารณาผู้นำประเทศต่างๆในโลกอาหรับ   ท่านจะพบว่าผู้ปกครองประเทศอาหรับไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดีล้วนไม่ใช่ผู้รู้ที่เชี่ยวชาญทางศาสนา   แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอิหร่านคือ  ผู้รู้ทางศาสนา

และนี่คือที่มาของความเชื่ออิสลามในเรื่องระบบ (( วิลายะตุลฟะกีฮ์  ))

นั่นคือ ผู้รู้ศาสนาอิสลามสูงสุดเท่านั้น  ที่ควรจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศ
  •  

L-umar

วิลายะตุลฟะกีฮ์ ( ولاية الفقيه )

วิลายะตุลฟะกีฮ์ หมายถึงอะไร

อีหม่านจะยังถูกต้องไหม หากปราศจากการศรัทธาในระบบวิลายะฮ์

เราจะพิสูจน์หลักฐานเรื่องระบบวิลายะตุลฟะกีฮ์กันอย่างไร

นิยามคำ วิลายะตุลฟะกีฮ์



วิลายะตุลฟะกีฮ์คือ ระบบการปกครองประเทศของนักปราชญ์อิสลามที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกเงื่อนไขในช่วงเวลาที่อิม่ามมะฮ์ดี(อ)ยังไม่ปรากฏตัว
โดยถือว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง " วะลียุลฟะกีฮ์ " คือตัวแทนของท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ) ในการชี้นำประชาชาติและนำฮุก่มของอัลเลาะฮ์มาใช้ปกครองโลก


หลักฐานพิสูจน์เรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์

เราขอยกหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ท่านได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดตั้งฮุกูมะฮ์อิสลาม(รัฐอิลาม) จากวจนะของอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

หลักฐานที่หนึ่ง

หลังจาก " นาอิบคอศ " หรือตัวแทนพิเศษของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)ทั้งสี่คนได้เสียชีวิตหมดแล้วคือ

1.   อุษมาน บินสะอีด อัลอัมรี  มรณะ 265 ฮ.ศ.
أبو عمرو عثمان بن سعيد العمري الاسدي
2.   มุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรี  มรณะ 305 ฮ.ศ.
أبو جعفر محمد بن عثمان بن سعيد العمري
3.   อัลฮูเซน บินรู๊ห์  มรณะ 326 ฮ.ศ.
أبو القاسم الحسين بن روح النوبختي
4.   อาลี บินมุฮัมมัด อัสสะมะรี   มรณะ 329 ฮ.ศ.
أبو الحسن علي بن محمد السمري



จึงถือเป็นการสิ้นสุดวาระของนาอิบคอศ และเข้าสู่ยุคตัวแทนของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)ที่เรียกกันว่า " นาอิบอาม " ซึ่งพวกเขาคือบรรดาฟุเกาะฮาอ์ (เอกพจน์คือฟะกีฮ์ ) ที่ทรงคุณธรรมและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้  ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีหลักฐานกำกับเอาไว้ด้วยตัวของ

ท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ)เองดังนี้   ท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ)ได้กล่าวว่า

وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ

ส่วนเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น  ขอให้พวกท่านจงย้อนกลับไปในมัน(ปัญหาต่างๆ)ยังนักรายงานหะดีษทั้งหลายของเรา  เพราะเนื่องจากพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกท่าน และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์


ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยฮุรรุลอามิลี  เล่ม 27 : 140 หะดีษที่  33424

จุดประสงค์คำว่า ฮะวาดิษ ( เหตุการณ์ต่างๆ )นั้นหมายถึง  ปัญหาพื้นฐานต่างๆสำหรับประชาคมมุสลิม และเรื่องราวต่างๆทางการเมืองและสังคม  และการยุติในการดำเนินตามพวกตอฆูตที่ขึ้นมามีอำนาจปกครองมวลมุสลิม

ยกเว้นกรณีเรื่องที่รู้และเข้าใจกันดีอยู่แล้วเช่น เรื่องกฏเกณฑ์ของการนมาซ  ถือศีลอดและการบำเพ็ญฮัจญ์ เพราะเรื่องเหล่านี้ได้ถ่ายทอดกันมานานถึงหนึ่งพันสี่ร้อยปีแล้ว ซึ่งไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดในมัน จนต้องตกไปอยู่ภายใต้หัวข้อ " ฮาดิษ "  หมายถึง เหตุการณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น


หลักฐานที่สอง

ท่านอุมัร บินฮันเซาะละฮ์เล่าว่า  ฉันได้ถามท่านอิม่ามศอดิก(อ)ถึงชายสองคนจากพวกพ้องของเรา ระหว่างเขาทั้งสองเกิดทะเลาะกันในเรื่องศาสนาหรือเรื่องการแบ่งมรดก แล้วทั้งชายสองคนนั้นได้นำเรื่องไปให้ผู้ปกครองและผู้พิพากษา(ตัดสินความ)จะอนุญาตให้ทำสิ่งนั้นได้หรือไม่...ท่านอิม่ามศอดิก(อ)ได้ตอบว่า
 
يَنْظُرَانِ إِلَى مَنْ كَانَ مِنْكُمْ مِمَّنْ قَدْ رَوَى حَدِيثَنَا وَ نَظَرَ فِي حَلَالِنَا وَ حَرَامِنَا وَ عَرَفَ أَحْكَامَنَا فَلْيَرْضَوْا بِهِ حَكَماً فَإِنِّي قَدْ جَعَلْتُهُ عَلَيْكُمْ حَاكِماً

ให้ทั้งสองคนพิจารณาไปยังบุคคลที่อยู่ในหมู่พวกท่าน  จากบุคคลที่เขาได้ทำการรายงานหะดีษของเรา และเขาดู(อะห์กาม)ในการฮะล้าลของเราและฮะรอมของเรา  และเขารู้จักเข้าใจอะห์กามต่างๆของเรา  ดังนั้นให้พวกเขาจงพอใจการฮุก่มต่อเขา  เพราะแท้จริงฉันได้แต่งตั้งเขาคนนั้นเป็นฮากิม(ผู้ปกครอง)เหนือพวกท่าน  

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 67 หะดีษที่  10

ฉะนั้นเรื่องระบบวิลายะตุลฟะกีฮ์  จึงถือว่าเป็นอำนาจการปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากบรรดาอิม่ามมะอ์ซูม(อ)  โดยหลักฐานคำพูดที่ท่านอิม่ามศอดิก(อ)กล่าวว่า  " ญะอัลตุฮู  อะลัยกุม ฮากิมัน -  ฉันได้แต่งตั้งเขาเป็นผู้ปกครองเหนือพวกท่าน "


คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งวิลายะตุลฟะกีฮ์

ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)ได้กล่าวว่า

فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ

ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ (ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ) ผู้ที่รักษาตัวเขาเองมิให้มลทิน   ผู้ที่ปกป้องศาสนาของเขา  ผู้ที่ไม่คล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา   ผู้ที่เชื่อฟังคำสั่งของอิม่ามผู้นำของเขา  ดังนั้นสำหรับประชาชนจะต้องตักลีด(ปฏิบัติ)ตามเขา

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  โดยฮุรรุลอามิลี  เล่ม 27 : 131 หะดีษที่  33401
 

วิลายะตุลฟะกีฮ์จะต้องมีคุณสมบัติเหนือกว่าฟะกีฮ์ทั่วไป

ท่านอุมัร บินฮันเซาะละฮ์ได้ถามท่านอิม่ามศอดิก(อ)ถึงคุณสมบัติของฮากิม ท่าน(อ)ได้ตอบว่า
 
قَالَ الْحُكْمُ مَا حَكَمَ بِهِ أَعْدَلُهُمَا وَ أَفْقَهُهُمَا وَ أَصْدَقُهُمَا فِي الْحَدِيثِ وَ أَوْرَعُهُمَا وَ لَا يَلْتَفِتْ إِلَى مَا يَحْكُمُ بِهِ الْآخَر

ฮุก่มการตัดสินความในสิ่งที่เขา(ฮากิม)ได้ทำการตัดสินต่อมันลงไปนั้น  หนึ่งในสองคนนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมมากที่สุด มีความรู้มากที่สุด  มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในเรื่องหะดีษ และเขาจะต้องมีความวะเราะฮ์(ยำเกรงอัลลอฮ์)มากที่สุด และไม่ต้องไปสนใจต่อการตัดสินของ(ฮากิม)อีกคนหนึ่ง(ที่ด้อยกว่าในคุณสมบัติดังกล่าวมา)

สถานะหะดีษ  : ซอฮิ๊ฮ์  ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี  เล่ม 1 : 68 หะดีษที่ 10


มุสลิมที่พยายามดำเนินชีวิตภายใต้อำนาจวะลียุลอัมริ

เนื่องจากวิลายะตุลฟะกีฮ์คือ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองในฐานะตัวแทนของท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ)ในยุคที่ท่านไม่ปรากฏตัว    เพราะฉะนั้นฟะกีฮ์ผู้รู้ที่มีความอาดิล และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขต่างๆที่บรรดาอิม่าม(อ)ได้วางไว้  เขาคือ ผู้ปกครองดูแลกิจการ(วะลียุลอัมริ)ของปวงมุสลิมและเป็นอิม่ามผู้นำของพวกเขา  และเขายังเป็นวายิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา   รวมทั้งบรรดานักปราชญ์ขั้นมุจญ์ตะฮิดและบรรดาอุละมาอ์ทั้งหลายอีกด้วย  ในกรณีเรื่องฟิกฮ์หรืออะห์กามถ้าหากนักปราชญ์ทั่วไปเห็นว่าตัวเขามีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะวิเคราะห์ฮุก่มต่างๆในขอบข่ายเรื่องอิบาดะฮ์ต่างๆเขาก็ย่อมสามารถกระทำได้และนำมาปฏิบัติตามที่ตนเองวินิจฉัย  

แต่นักปราชญ์ขั้นมุจญ์ตะฮิดทั่วไปควรจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามวะลียุลอัมริอย่างเคร่งครัดในกรณีเรื่องการเมืองการปกครอง หรือเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อการชี้นำและกิจการชี้นำโดยทั่วไป
และอำนาจวิลายะฮ์นี้ที่กำลังปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบันนั้นได้อยู่ภายใต้การชี้นำของ

الإمام القائد المرجع السيّد الخامنئي

ท่านอิม่ามผู้นำ มัรญิ๊อ์ สัยยิด อาลี คอเมเนอี
ผู้นำแห่งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ( Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ايران)


ท่านสัยยิดอาลีคอเมเนอีได้รับการถ่ายทอดอำนาจวิลายะตุลฟะกีฮ์นี้มาจากท่านอยาตุลเลาะฮ์โคมัยนี่ผู้นำการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน  และบุคคลทั้งสองคือชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน

สมจริงตามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้กล่าวเอาไว้ว่า   " หากอิลมู,อีหม่านหรือดีนอิสลามแขวนอยู่ที่ดาวลูกไก่  บรรดาชายจากลูกหลานเปอร์เซียก็จะคว้าเอามันลงมาให้ได้อย่างแน่นอน "  

จะมีใครคาดคิดได้ว่า  ชายชราอย่างอิม่ามโคมัยนี่ที่มีเพียงคัมภีร์อัลกุรอ่านเล่มเล็กๆอยู่ในมือจะสามารถโค่นล้มการปกครองของกษัตริย์ชาฮ์ลงได้ แล้วจากนั้นเขาได้จัดตั้งอิหร่านให้เป็นรัฐอิสลามตามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้นำมาให้ชาวอาหรับและชาวโลก
  •  

21 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้