Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 29, 2024, 06:11:45 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,522
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 104
  • Online ever: 104
  • (วันนี้ เวลา 02:09:38 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 79
Total: 79

จม.ของผู้นำอิหร่านถึงผู้นำสหรัฐอเมริกา

เริ่มโดย L-umar, กรกฎาคม 20, 2009, 11:27:27 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar



คำถามสำหรับวาฮาบี



เคยมีผู้นำวาฮาบี  เขียนจดหมายแบบนี้ไปตักเตือนผู้นำสหรัฐบ้างไหม




"ฯพณฯ บุช ! เหตุใดการประณามสาปแช่งอเมริกาจึงกลายเป็นเรื่องสากลไปแล้ว"


เนื้อหาโดยสมบูรณ์ของจดหมายจำนวน 17 หน้าที่ดอกเตอร์มะหฺมูด อะหฺมะดีย์ นิญอด ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ส่งถึงนายยอร์ช บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ฯพณฯ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ข้าพเจ้าคิดใคร่ครวญมาเป็นเวลานานแล้วว่า จะมีวิธีการใดบ้างที่จะสามารถขจัดปัดเป่าปัญหาความขัดแย้งที่อุบัติขึ้นและยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในเวทีสากลซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ การถกเถียงในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักการเมืองและนักศึกษาปัญญาชน มีคำถามมากมายที่ยังคงไร้คำตอบ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจหยิบยกปัญหาความขัดแย้งบางประการขึ้นมาถาม ฯพณฯ เผื่อว่าอาจจะสร้างความถูกต้องและหาข้อยุติลงได้บ้าง
เป็นไปได้หรือสำหรับผู้ที่เจริญรอยตามท่านมะซีห์ อีซา (เยซู)
(ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ และถือว่าตนเป็นผู้แบกรับภารกิจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (Human Right), เชิดชูนโยบายเสรีนิยม (Liberalism) ว่าเป็นแบบอย่างแห่งอารยธรรม, ประกาศต่อต้านการเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธที่ใช้เข่นฆ่าสังหารหมู่ประชาชน, เชิดชูคำขวัญ (Slogan) ต่อสู้กับการก่อการร้าย (Terrorism) และสุดท้าย จะจัดการระเบียบโลกใหม่ด้วยการสถาปนาประชาคมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว (Globalization หรือโลกาภิวัตร) ประชาคมในประเทศที่มีหลักความเชื่อศรัทธาต่อท่านศาสดามะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) และเหล่ากัลยาณชนทั้งหลายว่าคือบรรดาผู้ที่ทำหน้าที่ปกครอง ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ กลับถูกรุกรานจากผู้ที่เชิดชูคำขวัญข้างต้น คุณค่าของชีวิต เกียรติยศ และสิ่งอันเป็นที่รักและหวงแหนของสมาชิกในสังคมต้องถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพียงแค่การตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจจะมีอาชญากรไม่กี่คนหลบซ่อนตัวอยู่ในหมู่บ้าน หรือตำบล หรือในกองคาราวาน แต่กลับใช้มาตรการเผาผู้คนทั้งหมู่บ้านหรือตำบลหรือกองคาราวานให้พินาศย่อยยับ หรือแค่เพียงสันนิษฐานว่าในประเทศนั้นอาจจะมีอาวุธที่ใช้ทำลายล้างผู้คน แล้วตัดสินส่งกำลังทหารรุกรานและเข่นฆ่าสังหารผู้คนในประเทศนั้นนับแสนคน พร้อมกับทำลายแหล่งน้ำ ที่ทำกินทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม และทำลายบ้านเรือนและสิ่งอันเป็นที่รักและหวงแหนของชาวเมืองจนได้รับความเสียหายย่อยยับ และอาจจะถึงกับทำให้ประเทศนั้นต้องถอยหลังไป 50 ปีทีเดียว และยังตั้งกองกำลังทหารของตนไว้ในประเทศนั้นอีกเกือบ 180,000 นาย เพื่อเป้าหมายและจุดประสงค์อะไรกัน ?
การทุ่มเทงบประมาณทั้งจากประเทศของตนและจากบางประเทศ นับพัน ๆ ล้านดอลลาร์ พร้อมกับส่งเยาวชนคนหนุ่มหลายหมื่นคนไปในฐานะกองกำลังทหารของผู้รุกราน ปล่อยให้พวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อาณาจักรแห่งความตาย และห่างไกลจากครอบครัว มือของพวกเขาต้องแปดเปื้อนไปด้วยเลือดของผู้เป็นเจ้าของประเทศ และต้องตกอยู่ภายใต้สภาพที่ถูกบีบคั้นทางด้านจิตใจจนต้องตัดสินใจฆ่าตัวตายทุกวัน ผู้คนเหล่านั้นต้องเผชิญกับความเลวร้ายและโรคภัยต่าง ๆ เมื่อเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ ในขณะที่ส่วนหนึ่งถูกฆ่าและถูกส่งศพกลับไปยังครอบครัวของตน
... แต่หลังจากนั้น เป็นที่ประจักษ์ว่าอาวุธร้ายที่ใช้เข่นฆ่าผู้คนหาได้มีจริงดังคำโฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างใดไม่
อย่างไรก็ตาม ศ็อดดัม คือจอมเผด็จการ คืออาชญากร เพียงแต่มิใช่ประเด็นและเป้าหมายในการทำสงครามครั้งนี้แต่อย่างใด คำประกาศก่อนหน้าสงครามก็คือ เพื่อเข้าไปทำลายอาวุธที่ใช้เข่นฆ่าหมู่ผู้คน ซึ่งศ็อดดัมผู้ซึ่งเคยได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกตลอดระยะเวลาที่ได้ก่อสงครามรุกรานอิหร่านก็ได้ถูกกำจัดด้วยกับวิถีทางนี้แล้ว และประชาชนในภูมิภาคนี้ต่างแสดงความยินดีปรีดา

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
บางที ฯพณฯ อาจจะทราบแล้วว่าข้าพเจ้ามีอาชีพเป็นครู นักศึกษามักจะตั้งคำถามว่า จะถือว่าการกระทำต่อไปนี้เป็นความซื่อสัตย์และเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับคุณค่าแห่งสารธรรมคำสอนของท่านมะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) ศาสดาแห่งสันติภาพและความเมตตาหรืออย่างไร ?
ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในคุกกวนตานาโมโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่มีโอกาสได้พบปะและปรึกษาหารือกับทนาย สมาชิกในครอบครัวของพวกเขาไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ พวกเขาต้องถูกคุมขังในคุกที่อยู่นอกประเทศของตนโดยปราศจากหน่วยงานหรือองก์กรสากลใด ๆ เข้าไปตรวจสอบหรือสังเกตการณ์สภาพความเป็นอยู่ของพวกเขา ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าพวกเขาตกอยู่ในสภาพใดกันแน่ระหว่างนักโทษ (ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาล) หรือเป็นเชลยศึกสงคราม หรือผู้ต้องหา หรือนักโทษที่คำพิพากษาได้ถึงที่สุดแล้ว
คณะผู้สังเกตการณ์จากสหภาพยุโรปยังยืนยันว่าในทวีปยุโรปเองก็มีคุกลับต่าง ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน ข้าพเจ้าไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าการคุมขังพวกเขาในคุกลับนั้นสอดคล้องและเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมของประเทศใดในโลกบ้าง และไม่ทราบว่าปฏิบัติการเช่นนี้สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของสำนักคิดใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมคำสอนของท่านศาสดามะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) หรือหลักสิทธิมนุษยชน หรือคำสอนของลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ?
เยาวชนคนหนุ่มสาว นักศึกษาปัญญาชน และประชาชนทั่วไปต่างตั้งคำถามกันอย่างมากมายเกี่ยวกับการอุบัติขึ้นมาของประเทศอิสราเอล ข้าพเจ้าเชื่อว่า ฯพณฯ คงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วอย่างแน่นอนว่าปรากฎการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ เคยมีหลายประเทศที่ถูกยึดครองมาแล้ว แต่ข้าพเจ้าคิดว่าในกรณีของการอุบัติขึ้นมาของประเทศใหม่ประเทศหนึ่งพร้อม ๆ กับพลเมืองใหม่ ๆ ที่มิได้เป็นเจ้าของประเทศดั้งเดิมมาก่อน ถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เพิ่งอุบัติขึ้นมาในยุคสมัยของเราเท่านั้น
นักศึกษาต่างพากันกล่าวว่าเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีประเทศนี้ (อิสราเอล) อยู่ในสารบบของแผนที่โลกแต่อย่างใด หลักฐานอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ฉบับเก่าแก่ดั้งเดิมไม่เคยกล่าวถึงเรื่องนี้มาก่อน พวกเขากล่าวว่า ไม่ว่าจะศึกษาค้นคว้าจากแหล่งวิชาการใดก็ตาม พวกเราก็ไม่พบประเทศที่ชื่ออิสราเอลปรากฏอยู่ในสารบบใด ๆ ของหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากต้องแนะนำให้พวกเขากลับไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง
ครั้งหนึ่ง ได้มีนักศึกษาคนหนึ่งกล่าวว่าตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คนต้องล้มตายไปหลายสิบล้านคน ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสงครามจากศัตรูคู่ปรปักษ์ได้แพร่สะพัดอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตนเป็นผู้ประสบชัยชนะ และคู่สงครามคือฝ่ายที่ประสบกับความพ่ายแพ้ ภายหลังจากสงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว มีการอ้างว่ายะฮูดีย์ (ชาวยิว) ถูกสังหารถึง 6 ล้านคน ผู้คนที่มีจำนวน 6 ล้านคนจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับครอบครัวอย่างน้อย 2 ล้านครอบครัว สมมุติว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องเป็นจริง คำถามในเชิงตรรกะก็คือ จากผลพวงดังกล่าวใช่ไหม จึงต้องสถาปนาประเทศอิสราเอลขึ้นมาในภูมิภาคตะวันออกกลาง ? หรือจำเป็นต้องให้การปกป้องคุ้มครองประเทศนี้ ? จะสาธยาย หรือตีความ หรือวิเคราะห์ ในอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้กันอย่างไร ?
ฯพณฯ ต้องทราบดีอย่างแน่นอนว่าอิสราเอลถูกก่อตั้งขึ้นมาด้วยราคาค่างวดที่แสนแพงเพียงใด
- ด้วยการเข่นฆ่าผู้คนหลายหมื่นคน
- ด้วยการขับไล่ประชาชน (ผู้เป็นเจ้าของประเทศ) นับล้าน ๆ คนให้ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนของตนไปอพยพลี้ภัยและระเหเร่ร่อนในต่างแดน
- ด้วยการทำลายเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นที่ดินทำกินและสวนมะกอกของพวกเขาหลายแสนเฮคเตอร์
- ด้วยการทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและเมืองต่าง ๆ
โศกนาฏกรรม (Tragedy) ดังกล่าวนี้มิได้อุบัติขึ้นมาแค่เพียงในยุคที่มีการก่อตั้งรัฐ (เถื่อน) นี้เท่านั้น แต่เป็นที่น่าเศร้าสลดใจที่มันได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดระยะเวลา 60 ปี
รัฐหนึ่งถูกสถาปนาขึ้นมา (บนหยดเลือดและคราบน้ำตาของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศดั้งเดิม) โดยไร้ความเมตตาปราณีแม้กระทั่งกับลูกเล็กเด็กแดง พวกเขาได้ทำลายบ้านเรือนให้พังทับลงมาบนศีรษะของประชาชน มีการประกาศแผนลอบสังหารบุคคลสำคัญ ๆ ของปาเลสไตน์ไว้ล่วงหน้า และจับกุมคุมขังชาวปาเลสไตน์นับหมื่น ๆ คนไว้ในคุกต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยอุบัติขึ้นมาหรือมีน้อยมากในช่วงหลายศตวรรษหลังนี้
คำถามสำคัญอีกประการหนึ่งที่ประชาชนจำนวนมากมายได้ถามก็คือ ด้วยเหตุผลกลใดที่รัฐ (เถื่อน) ดังกล่าวจึงยังคงได้รับการปกป้องอยู่ ?
การปกป้องและสนับสนุนรัฐ (เถื่อน) เช่นนี้ ถือเป็นสิ่งที่สอดคล้องต้องกันกับหลักธรรมคำสอนของท่านศาสดามะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) หรือท่านศาสดามูซา (โมเสส) (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) หรือสอดคล้องกับคุณค่าและหลักการของลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) หรืออย่างไร ?
และการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริงทั้งหมด ทั้งที่อาศัยอยู่ภายใน และทั้งที่อพยพลี้ภัยอยู่นอกแผ่นดินปาเลสไตน์ ทั้งที่เป็นมุสลิม ชาวยิว ชาวคริสต์ ได้เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาเอง เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน และหลักคำสอนของปวงศาสดาหรืออย่างไร ?
มาตรว่ามิได้ขัดแย้งแล้วไซร้ ด้วยเหตุผลกลใดที่การเลือกตั้งดังกล่าวจึงถูกคัดค้านและต่อต้าน ?
ล่าสุด รัฐบาลปาเลสไตน์ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนชาวปาเลสไตน์ ผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่างได้ยืนยันแล้วว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน แต่รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนกลับไม่ได้รับการยอมรับ (จากตะวันตก) มิหนำซ้ำ ยังต้องตกอยู่ภายใต้ความกดดันต่าง ๆ นานา ถูกบีบคั้นให้ยอมรับรัฐ (เถื่อน) อิสราเอลว่าเป็นรัฐที่ถูกต้องตามกฎหมาย บีบบังคับให้พวกเขายุติการต่อสู้กับอิสราเอล และให้ดำเนินตามนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดก่อน
มาตรว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันได้หาเสียงด้วยการประกาศนโยบาย (ให้เป็นไปตามที่อเมริกาและตะวันตกต้องการ) แล้วไซร้ ประชาชนชาวปาเลสไตน์จะเลือกพวกเขาขึ้นมากระนั้นหรือ ?
มาตรการที่นำมาใช้กับรัฐบาลปาเลสไตน์เช่นนี้เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของสำนักคิดต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นกระนั้นหรือ ?
นอกจากนั้น ประชาชนต่างถามไถ่กันว่า ด้วยเหตุผลกลใดที่ไม่ว่าที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะยื่นญัตติหรือเสนอมาตรการใด ๆ เพื่อลงโทษอิสราเอล ญัตติเหล่านั้นจะต้องถูกวีโต้ (Veto) ทุกครั้งไป ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ฯพณฯ ทราบไหมว่าข้าพเจ้าใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางประชาชนและสัมผัสกับพวกเขาอยู่เสมอ นอกจากนี้ ประชาชนในภูมิภาคตะวันออกกลางจำนวนมากที่ติดต่อสัมพันธ์กับข้าพเจ้า พวกเขาถือว่า "นโยบายหลายมาตรฐาน" เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักตรรกะใด ๆ ทั้งสิ้น ประจักษ์พยานต่างได้ยืนยันแล้วว่าประชาชนทั่วไปในภูมิภาคนี้ยิ่งเพิ่มความเคียดแค้นชิงชังต่อนโยบายของ ฯพณฯ มากขึ้นทุกวัน ข้าพเจ้ามิได้มีเจตนาที่จะตั้งคำถามอย่างพร่ำเพรื่อแต่อย่างใด เพียงแต่ข้าพเจ้าใคร่ที่ชี้ให้ ฯพณฯ ได้ตระหนักในบางประเด็นเท่านั้น
ไม่ว่าคราใดที่การพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีปรากฏในภูมิภาคตะวันออกกลาง ด้วยเหตุผลกลใดหรือที่การพัฒนาเหล่านั้นจึงต้องถูกตีความและโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นการข่มขู่คุกคามต่อรัฐเถื่อนไซออนิสต์ ?
ไม่ถือว่าความเพียรพยายามทางด้านวิชาการและการค้นคว้าวิจัยเป็นสิทธิอันชอบธรรมของทุก ๆ ประชาชาติหรืออย่างไร ?
ฯพณฯ ต้องมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์มาบ้างพอสมควร นอกเหนือจากยุคกลาง (Middle ages) แล้ว ยังมียุคใดในประวัติศาสตร์ และมีที่ใดในโลกนี้ที่ถือว่าความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีเป็นอาชญากรรมและความชั่วร้าย ?
เพียงแค่การตั้งข้อสันนิษฐานว่าการอาศัยประโยชน์จากผลผลิตทางวิชาการบางอย่างไปในทางทหารจะถือเป็นหลักฐานอย่างเพียงพอในการคัดค้านหรือต่อต้านวิชาการและเทคโนโลยีกระนั้นหรือ ?
มาตรว่าบทสรุปดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วไซร้ ถ้าเช่นนั้น วิทยาการทุกด้านก็จะต้องถูกคัดค้านต่อต้านด้วยเช่นกัน แม้กระทั่งฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ วิทยาการทางการแพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น
ได้มีการโกหกพกลมอย่างมากมายในกรณีเกี่ยวกับอิรัก
แล้วผลลัพธ์เป็นเช่นไร ?
สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ไม่เป็นที่กังขาแต่อย่างใดว่าทุกชนชาติไม่พึงพอใจกับการโกหกและการกล่าวหาใส่ร้าย และ ฯพณฯ ก็คงไม่พึงพอใจเช่นกันที่จะให้มีใครมาโกหกใส่ร้าย ฯพณฯ

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ชนชาติต่าง ๆ ในอเมริกาลาตินมีสิทธิที่จะถามไถ่ใช่ไหมว่า ด้วยเหตุผลกลใดที่รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งในประเทศต่าง ๆ ในทวีปของพวกเขาจึงต้องถูกคัดค้านต่อต้าน ในขณะที่กลุ่มกบฏต่าง ๆ กลับได้รับการสนับสนุน (ทั้งจากอเมริกาและตะวันตก) ?
ด้วยเหตุผลกลใดที่การข่มขู่คุกคามจึงต้องประสบกับพวกเขาตลอดกาลเช่นนี้ ?
ประชาชนในทวีปอัฟริกาเป็นประชาชนที่เต็มไปด้วยความขยันขันแข็ง มีสัมมาคารวะ และมีความสามารถ พวกเขามีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจให้แก่ประชาคมของตน ความยากไร้และความขาดแคลนถือเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวได้ พวกเขามีสิทธิที่จะตั้งคำถามใช่ไหมว่า เหตุใดความร่ำรวยอันมหาศาลจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขาจึงถูกปล้นสะดมไป ในขณะที่พวกเขามีสิทธิที่จะใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเหนือกว่าใครทั้งหมด (โดยเฉพาะผู้ที่ปล้นสะดมไปจากพวกเขา)
พฤติกรรมเช่นนี้ (การปล้นสะดม) สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของท่านศาสดามะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) และหลักสิทธิมนุษยชนหรืออย่างไร ?
ประชาชาติผู้มีความองอาจกล้าหาญและเต็มไปด้วยความศรัทธาแห่งอิหร่านก็มีคำถามที่จะถาม ฯพณฯ มากมายเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นการก่อการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อ 28 มุรฺดอด (19 สิงหาคม) ที่เกิดขึ้นเมื่อ 52 ปีที่ผ่านมาเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายแห่งยุคสมัย, ตั้งตนเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์กับการปฏิวัติอิสลาม แปรเปลี่ยน "สถานทูต" เป็น "สถานซ่องสุมและรังจารกรรม" เพื่อให้การสนับสนุนฝ่ายปรปักษ์ให้โค่นล้มสาธารณรัฐอิสลาม ซึ่งมีพยานเอกสารนับจำนวนพัน ๆ หน้าเป็นเครื่องยืนยัน, ให้การสนับสนุนศ็อดดัมในสงครามรุกรานอิหร่าน, ยิงเครื่องบินโดยสารอิหร่านตก (ทำให้ผู้โดยสารผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตทั้งลำ), ยึดและอายัดทรัพย์สินของประชาชาติอิหร่าน,ข่มขู่คุกคาม สำแดงความเคียดแค้นชิงชัง (และเพิ่มความอิจฉาริษยา) เป็นทวีคูณในความก้าวหน้าทางวิชาการและโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติของประชาชาติอิหร่าน ทั้ง ๆ ที่ประชาชาติอิหร่านต่างร่วมแสดงความยินดีปรีดาและเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกในความก้าวหน้าของประเทศของพวกเขา และกรณีอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งข้าพเจ้าจะไม่ขอหยิบยกมากล่าว ณ ที่นี้

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
กรณี 11 September ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญและน่าสะพรึงกลัว การเข่นฆ่าและสังหารผู้บริสุทธิ์ไม่ว่าจะอุบัติขึ้น ณ ส่วนใดของโลก ถือเป็นสิ่งที่น่าเศร้าสลดใจและเจ็บปวดรวดร้าวด้วยกันทั้งสิ้น และนับตั้งแต่วันที่เหตุการณ์ได้อุบัติขึ้น รัฐบาลของเราได้ประกาศไว้อาลัยและร่วมแสดงความเจ็บปวดและเสียใจต่อญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิตในครั้งนั้น
ถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลทุกประเทศที่จะต้องปกป้องและพิทักษ์ชีวิต ทรัพย์สิน เกียรติยศ และศักดิ์ศรีพลเมืองของตน กล่าวกันว่ารัฐบาลของ ฯพณฯ มีระบบป้องกันภัยและหน่วยข่าวกรองที่ทันสมัยและครอบคลุมขอบเขตกว้างไกลที่สุด มีศักยภาพที่จะไล่ล่าศัตรูคู่ปรปักษ์ที่อยู่นอกอาณาเขตประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการ 11 September มิใช่ปฏิบัติการธรรมดาสามัญทั่วไป ดังนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่แผนปฏิบัติการที่ปราศจากการประสานงานระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง หน่วยข่าวกรอง และหน่วยรักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติการโจมตีที่ทรงประสิทธิภาพ จะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายและประสบความสำเร็จได้ ? อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่มาจากสามัญสำนึกทั่วไปเท่านั้น เหตุใด มิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้จึงยังคงเป็นความลับดำมืดตราบถึงทุกวันนี้ ? เหตุใดจึงไม่มีการแถลงออกมาว่ามีใครหรือหน่วยงานใดบ้างที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ? และเหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยและตัดสินพิพากษาตัวการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ครั้งนี้ ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ภารกิจหนึ่งของรัฐบาลทุกประเทศก็คือการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่พลเมืองในประเทศของตน วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทำให้ประชาชนในประเทศของ ฯพณฯ และประเทศเพื่อนบ้านต้องตกอยู่ในความเครียดและวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยมาเป็นเวลาหลายปีดีดักแล้ว
ภายหลังจากเหตุการณ์ 11 September แทนที่จะใช้วิธีการปลอบประโลมใจและแสดงความรู้สึกเจ็บปวดร่วมกับครอบครัวผู้ที่สูญเสียและประชาชนชาวอเมริกันซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะเศร้าโศกเสียใจอย่างรุนแรง แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า สื่อมวลชนบางส่วนพยายามที่จะโหมกระหน่ำเพื่อสร้างกระแสให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัย และตั้งข้อสันนิษฐาน (ชี้นำอย่างเดาสุ่ม) อยู่ตลอดเวลาว่าอาจจะมีอุบัติการณ์ก่อการร้ายคำรบใหม่เกิดขึ้นอีก และยังคงสร้างความน่าสะพรึงกลัวให้เกิดขึ้นกับประชาชนของตนต่อไป พฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการรับใช้อเมริกันชนกระนั้นหรือ ?
การสูญเสียที่เกิดจากการที่ชาวเมืองต้องตกอยู่ภายใต้อาณาจักรแห่งความหวาดผวาและเสียขวัญเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากันกระนั้นหรือ ?
ขอให้ ฯพณฯ ลองใคร่ครวญดูเถิดว่าการที่อเมริกันชนไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยและลังเลว่าไม่รู้เมื่อไรการก่อการร้ายจะอุบัติขึ้นมาอีก ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความปลอดภัยจะมีไปทั่ว ทั้งตามถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในบ้านเรือนของตนเอง มีใครบ้างที่อยากจะให้สภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับตน ?
ด้วยเหตุผลกลใดหรือที่สื่อมวลชนทั้งหลายจึงใช้วิธีการนำเสนอข่าวสารที่เต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัวและไร้ความปลอดภัยแทนที่ความสงบสุขและความปลอดภัย ?
(ผู้สันทัดกรณี) บางส่วนมีความเชื่อว่า (ตะวันตก) มี่เจตนารมณ์ที่จะโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างความชอบธรรม เพื่อจะใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานประเทศอัฟกานิสถานนั่นเอง
ณ ที่นี้ จึงจำเป็นต้องชี้ให้สื่อมวลชนได้ตระหนักในจรรยาบรรณและภาระหน้าที่ที่แท้จริงของตน
สื่อมวลชนซึ่งเป็นฐานันดรสี่ที่มีจรรยาบรรณสอนสั่งให้คำนึงถึงมนุษยธรรมด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเที่ยงธรรมและคำนึงถึงความสงบสุขและความปลอดภัย (ของประชาชน) ซึ่งจรรยาบรรณดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับโดยทั่วไป ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะกล่าวแสดงความรู้สึกเศร้าสลดใจอย่างสุดซึ้งต่อการไม่สำนึกต่อภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนตะวันตกบางส่วน
ข้ออ้างที่ถือเป็นประเด็นหลักในการรุกรานประเทศอิรักก็คือ การเข้าไปกำจัดอาวุธร้ายที่ใช้ทำลายล้างหมู่ผู้คน มีการสร้างกระแสอย่างซ้ำซากในประเด็นดังกล่าวเพื่อที่จะให้เกิดความน่าเชื่อถือในหมู่ประชาชน และเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกรานอิรัก สารัตถะความจริงจะไม่ถูกกลบเกลื่อนด้วยการปั้นน้ำเป็นตัวดอกหรือ ? และหากสารัตถะความจริงจะต้องถูกกำจัดและกลบเกลื่อนแล้วไซร้ การกระทำดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของท่านศาสดามะซีห์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) หรือหลักสิทธิมนุษยชน หรือคำสอนของลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วหรืออย่างไร ? และสารัตถะความจริงจะสามารถปิดบังซ่อนเร้นจากเบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลผู้ทรงอำนาจเบ็ดเสร็จได้กระนั้นหรือ ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ในทุกประเทศ ราษฎรคือผู้จ่ายภาษีอากรเพื่อให้รัฐบาลเข้าไปทำหน้าที่รับใช้พวกเขา คำถามที่ติดตามมาก็คือ อเมริกันชนได้อะไรขึ้นมาบ้างจากการทุ่มเทงบประมาณมหาศาลนับแสน ๆ ล้านดอลลาร์เพื่อให้กองทัพบุกรุกประเทศอิรักและคงฐานทัพในประเทศนั้นเป็นเวลายาวนาน ?
ฯพณฯ ทราบดีว่าอเมริกันชนในประเทศของ ฯพณฯ หลายมลรัฐยังตกอยู่ในความยากจนข้นแค้นและประสบกับความยากไร้ ประชาชนนับแสน ๆ คนที่มีชีวิตโดยปราศจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สภาพการว่างงานซึ่งถือเป็นโรคร้ายที่รุนแรง ปมปัญหาดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในทุกประเทศ มากน้อยแตกต่างกันไป
ฯพณฯ คิดว่าในสภาพการณ์และเงื่อนไขดังกล่าว การส่งกองทัพอันมหึมาพร้อมทั้งงบประมาณอันมหาศาลที่ได้มาจากภาษีอากรของประชาชน เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับปัญหาที่รุมเร้าดังที่ได้กล่าวมากระนั้นหรือ ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
กรณีที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปมปัญหาและความเจ็บปวดของประชาคมโลก และภูมิภาคของเรา (ตะวันออกกลาง) ตลอดจนประชาชนของ ฯพณฯ เท่านั้น
ทว่า ประเด็นหลักที่ข้าพเจ้าใคร่ที่จะหยิบยกมาสนทนา และเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุด ฯพณฯ จะต้องยอมรับบ้างอย่างแน่นอน นั่นก็คือ ยุคสมัยของผู้ปกครองทั้งหลายนั้นมีอย่างจำกัดและไม่จีรังยั่งยืน แต่ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของพวกเขาจะถูกจารึกบนหน้าประวัติศาสตร์ และในอนาคตทั้งใกล้และไกล นามชื่อของพวกเขาจะถูกกล่าวขานโจษจานและถูกพิพากษาจากผู้คนตลอดไป ประชาชนจะพากันกล่าวว่ามีอุบัติการณ์ (แห่งความดีงามและความชั่วร้าย) ใดบ้างที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของเรา ?
เราได้ธำรงไว้ซึ่งสังคมที่เต็มไปด้วยความปลอดภัย สวัสดิการสังคม และความร่มเย็นเป็นสุข หรือได้สร้างสภาพที่ไร้ซึ่งความปลอดภัยและการว่างงานให้บังเกิดขึ้นแก่พวกเขา ?
เราปรารถนาที่จะสถาปนาความยุติธรรม หรือเพียงแค่จะปกป้องอภิสิทธิ์ชนคนบางกลุ่มเท่านั้น ?
เราปรารถนาจะบีบคั้นราษฎรผู้ยากไร้ผู้เป็นชนส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มความมั่งคั่งร่ำรวยและเหรียญตราแก่คนกลุ่มน้อยของประเทศ และสร้างความพึงพอใจแก่พวกเขาแทนที่ความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าและความพอใจของประชาชน (ผู้ยากไร้) กระนั้นหรือ ?
เราได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนผู้ยากไร้และผู้ที่ถูกฉ้อฉล หรือปล่อยปละละเลยไม่แยแสพวกเขา ?
เราได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของชาวโลก หรือเป็นผู้ก่อสงครามทำลายล้าง และเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง ๆ โดยไม่ใส่ใจหรือนำพาซึ่งกฎหมาย และยังจับกุมคุมขังผู้คนส่วนหนึ่งไว้ในคุกที่เต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว ?
เราเป็นผู้สถาปนาสันติภาพและความปลอดภัย หรือเป็นผู้ข่มขู่คุกคาม เบียดเบียน และสร้างความอธรรมแก่ชาวโลกกันแน่ ?
เราได้พูดความจริงต่อประชาชนพลเมืองของเราและต่อประชาคมโลก หรือเป็นผู้ปิดบังอำพรางความจริงและพูดในสิ่งที่ตรงกันข้าม ?
เราเป็นผู้ที่ยืนอยู่เคียงข้างประชาชน หรือเคียงข้างฝ่ายผู้รุกรานและพวกที่ชอบกดขี่บีฑา ?
เราได้ทำหน้าที่ปกครองโดยยึดหลักตรรกะ สติปัญญา จริยธรรม สันติภาพ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา สถาปนาความยุติธรรมให้ขจรขจาย รับใช้ประชาชน พัฒนาและสร้างสรรค์สวัสดิการที่ดี ปกป้องเกียรติยศและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ หรือเป็นผู้ที่ชอบวิธีการใช้กำลังอาวุธ ข่มขู่คุกคาม สร้างความไม่ปลอดภัย ปล่อยปละละเลยและไม่ใส่ใจประชาชน เป็นตัวถ่วงความเจริญก้าวหน้าและความสูงส่งของประชาชาติทั้งหลาย และเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง ?
และในที่สุด ผู้คนจะต่างพากันกล่าวว่า เราเป็นผู้ที่ได้ยืนหยัดตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ในขณะที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งว่าจะเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์และรับใช้ประชาชนซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบหลักของเรา และเป็นผู้ที่ยึดมั่นต่อหลักธรรมคำสอนของปวงศาสดา (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ศาสดาทั้งหลายด้วยเทอญ) หรือไม่ ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
โลกจะสามารถเผชิญกับสภาพการณ์เช่นนี้ไปได้นานเท่าไร ?
ด้วยกับวิกฤติและสภาพการณ์เช่นนี้ โลกจะเดินไปสู่ทิศทางใด ?
ชาวโลกจะต้องชดใช้ความสูญเสียอันเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้ปกครองบางคนไปอีกนานเท่าไร ?
ความไม่มั่นคงปลอดภัยอันเกิดจากการสั่งสมอาวุธที่ใช้ทำลายล้างชาวโลกจะดำเนินไปอีกนานเท่าไร ?
เลือดของเด็ก ๆ สตรี และบุรุษทั้งหลายจะหลั่งชโลมผืนดิน ก้อนหินตามถนนหนทางและตรอกซอกซอยไปอีกนานเท่าไร ? และบ้านเรือนของประชาชนต้องพังทลายทับศีรษะของพวกเขาไปอีกยาวนานเท่าไร ?
ฯพณฯ มีความพึงพอใจในสภาพการณ์ที่กำลังอุบัติขึ้นมาในโลกยุคปัจจุบันนี้หรืออย่างไร ?
ฯพณฯ คิดว่านโยบายของ ฯพณฯ จะสามารถดำเนินต่อไปอีกยาวนานเท่าไร ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
โลกจะสามารถเผชิญกับสภาพการณ์เช่นนี้ไปได้นานเท่าไร ?
ด้วยกับวิกฤติและสภาพการณ์เช่นนี้ โลกจะเดินไปสู่ทิศทางใด ?
ชาวโลกจะต้องชดใช้ความสูญเสียอันเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้ปกครองบางคนไปอีกนานเท่าไร ?
ความไม่มั่นคงปลอดภัยอันเกิดจากการสั่งสมอาวุธที่ใช้ทำลายล้างชาวโลกจะดำเนินไปอีกนานเท่าไร ?
เลือดของเด็ก ๆ สตรี และบุรุษทั้งหลายจะหลั่งชโลมผืนดิน ก้อนหินตามถนนหนทางและตรอกซอกซอยไปอีกนานเท่าไร ?
และบ้านเรือนของประชาชนต้องพังทลายทับศีรษะของพวกเขาไปอีกยาวนานเท่าไร ?
ฯพณฯ มีความพึงพอใจในสภาพการณ์ที่กำลังอุบัติขึ้นในโลกยุคปัจจุบันนี้หรืออย่างไร ?
ฯพณฯ คิดว่านโยบายของ ฯพณฯ จะสามารถดำเนินต่อไปอีกยาวนานเท่าไร ?
ฯพณฯ คิดบ้างไหมว่า มาตรแม้นว่าได้นำงบประมาณนับแสนล้านดอลลาร์ที่ต้องสูญเสียไปทางด้านการทหาร เพื่อการคงฐานทัพ และรักษาความปลอดภัย ไปใช้เพื่อการลงทุนและให้ความช่วยเหลือประเทศที่อ่อนแอ, พัฒนาปรับปรุงทางด้านสุขอนามัยและต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ, ให้การศึกษา ฝึกอบรม และปรับปรุงศักยภาพทั้งทางด้านความคิด สติปัญญา และพลานามัย, ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ, จัดให้มีการจ้างงานและเพิ่มผลผลิต, พัฒนาและขจัดความยากจนและความขาดแคลน, สร้างสันติภาพ (ที่แท้จริง), ขจัดความขัดแย้งและไม่ลงรอยระหว่างประเทศต่าง ๆ, ดับไฟสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ แล้ว โลกในวันนี้จะมีสภาพการณ์เช่นไร ?
และจะไม่ทำให้รัฐบาลและประชาชนพลเมืองของ ฯพณฯ มีความรู้สึกภาคภูมิใจหรอกหรือ ?
จะไม่เป็นการช่วยเสริมสร้างรัฐบาลของ ฯพณฯ ให้มีความมั่นคงทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจยิ่งขึ้นหรอกหรือ ?
ด้วยความรู้สึกสลดใจ ข้าพเจ้าใคร่ที่จะกล่าวว่าประชาคมโลกจะมีความรู้สึกชิงชังรังเกียจและพากันประณามสาปแช่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไหม ?

ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ข้าพเจ้ามิได้มีเจตนาที่จะสร้างความขุ่นเคืองใจกับใครทั้งสิ้น
มาตรว่าในวันนี้ ท่านศาสดาอิบรอฮีม (Abraham) อิสห๊าก (Isaac) ยะอฺกู๊บ (Jacob) อิสมาอีล (Ishmael) ยูสุฟ (Joseph) และท่านศาสดาอีซา (Jesus) (อลัยฮิมุสลาม – ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่านเหล่านี้ด้วยเทอญ) มีชีวิตอยู่ (ท่ามกลางพวกเรา) ท่านผู้ทรงเกียรติเหล่านี้จะตัดสินพฤติกรรมดังกล่าวอย่างไร ?
(โลกในอุดมคติที่ถูก) สัญญาว่าความยุติธรรมจะแผ่ปกคลุมไปทั่วโลก และท่านศาสดาอีซา (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) จะมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งนั้น เมื่อวันนั้นมาถึง ท่าน (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) จะมอบภารกิจสำคัญแก่เรากระนั้นหรือ ? และท่าน (ขออัลลอฮฺทรงประทานความสันติแด่ท่าน) จะพึงพอใจและเห็นด้วยกับพฤติกรรมของเราหรือ ?
คำถามที่ถือเป็นกุญแจสำคัญของข้าพเจ้าก็คือ :-
ไม่มีวิธีการปฏิบัติต่อชนชาติต่าง ๆ และต่อโลกที่เหมาะสมและดีไปกว่านี้หรืออย่างไร ?
ณ วันนี้ คริสต์ศาสนิกชนนับพันล้านคน อิสลามิกชนอีกนับพันล้านคน และยังมีผู้ที่ดำเนินรอยตามท่านศาสดามูซา (อลัยฮิสลาม) อีกหลายสิบล้านคน ทุกศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าล้วนมีประโยคที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน นั่นคือ "ประโยคเตาหีด" ซึ่งหมายถึงความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าว่า :-
"ในโลกนี้ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์"
คัมภีร์อัลกุรฺอานได้ให้การยืนยันและรับรองประโยคดังกล่าว และยังได้เรียกร้องเชิญชวนศาสนิกชนที่ดำเนินรอยตามศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้าด้วยถ้อยคำ :-
"(มุหัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า "โอ้ ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย !
  •  

79 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้