Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 11:15:39 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 70
  • Online ever: 70
  • (วันนี้ เวลา 08:04:24 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 0
Guests: 43
Total: 43

คิลาฟะฮ์ อิมามะฮ์ เป็นปัญหาของอัลเลาะฮ์หรือมนุษย์

เริ่มโดย L-umar, ตุลาคม 16, 2009, 12:13:52 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar


สอง –

อัษ-ษะอ์ละบี มรณะ ฮ.ศ. 427


{يا أيها الرَّسُولُ بَلِّغْ مَآ أُنزِلَ إِلَيْكَ} . إختلفوا في تنزيل هذه الآية وتأويلها...

โอ้รอซูลเอ๋ย จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า  ( อัลมาอิดะฮ์ บทที่  5 : 67 )
(อิหม่ามษะอ์ละบีกล่าวว่า บรรดามุฟัสสิร ) มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการประทานของโองการนี้และการตะอ์วีลของมัน...

وقال أبو جعفر محمد بن علي : معناه : بلّغ ما أنزل إليك في فضل علي بن أبي طالب،
 فلما نزلت الآية أخذ (عليه السلام) بيد علي،
 فقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه».

อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีกล่าวว่า ความหมายของอายะฮ์นี้หมายถึง จงเผยแพร่สิ่ง สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า เกี่ยวกับอะลี บินอบีตอลิบ  ดังนั้นเมื่ออายะฮืนี้ได้ประทานลงมา ท่าน(รอซูล ศ.)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา

( หมายเหตุ อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บินอะลีในที่นี้คือ ท่านอิม่ามมุฮัมมัดบาเก็ร อิม่ามที่ห้าของชีอะฮ์นั่นเอง ผู้แปล.)

   
أبو القاسم يعقوب بن أحمد السري، أبو بكر بن محمد بن عبد اللّه بن محمد، أبو مسلم إبراهيم ابن عبد اللّه الكعبي،
 الحجاج بن منهال، حماد عن عَلِيِّ بْنِ زَيْدٍ عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ عَنِ الْبَرَاءِ (بْنِ عَازِبٍ) قَالَ:
لما نزلنا مع رسول اللّه {صلى الله عليه وسلم} في حجة الوداع كنّا بغدير خم فنادى إن الصلاة جامعة وكسح رسول اللّه عليه الصلاة والسلام تحت شجرتين وأخذ بيد علي،
 فقال : «ألست أولى بالمؤمنين من أنفسهم»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «ألست أولى بكل مؤمن من نفسه»؟
 قالوا : بلى يا رسول اللّه،
 قال : «هذا مولى من أنا مولاه اللهم والِ من والاه وعاد من عاداه».
قال : فلقيه عمر فقال : هنيئاً لك يا ابن أبي طالب أصبحت وأمسيت مولى كل مؤمن ومؤمنة.

อะดี บินษาบิตรายงานจาก ท่านอัลบัรรออ์ เล่าว่า :

เมื่อพวกเรากับท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ได้แวะพัก ในการประกอบพิธีหัจญ์ครั้งสุดท้าย พวกเราอยู่ที่เฆาะดีรคุม แล้วได้มีการประกาศ(อะซาน) แท้จริงการนมาซนั้นคือการรวมกัน และถูกกวาด(ลาน)ให้ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)อยู่ใต้ต้นไม้สองต้น  และท่านได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) พลางกล่าวว่า  : ฉันมีสิทธิต่อบรรดามุอ์มินทั้งหลายมากยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเองใช่ไหม ?  
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ  
ท่าน(ศ)กล่าวว่า : ฉันมีสิทธิต่อบมุอ์มินทุกคนมากยิ่งกว่าตัวของเขาเองใช่ไหม ?
พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้ ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ
ท่าน(ศ)กล่าวว่า :  ชายคนนี้(อะลี) คือผู้ปกครองของผู้ที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา  โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด
อัลบัรรออ์เล่าว่า  ท่านอุมัรได้เข้ามาหาเขา(อะลี) แล้วกล่าวว่า  ขอแสดงความยินดีด้วยนะ โอ้บุตรของอบูตอลิบ ทั้งยามเช้ายามเย็นท่านได้กลายเป็นเมาลา(ผู้ปกครอง)ของมุอ์มินทั้งชายหญิงแล้ว  

   
روى أبو محمد عبداللّه بن محمد القايني نا أبو الحسن محمد بن عثمان النصيبي نا : أبو بكر محمد ابن الحسن السبيعي نا علي بن محمد الدّهان، والحسين بن إبراهيم الجصاص قالانا الحسن بن الحكم نا الحسن بن الحسين بن حيان عن الكلبي
عَنْ أَبِي صَالِحٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ في قوله {الرَّسُولُ بَلِّغْ} قال : نزلت في علي (رضي الله عنه) أمر النبي {صلى الله عليه وسلم} أن يبلغ فيه فأخذ (عليه السلام) بيد علي،
 وقال : «من كنت مولاه فعلي مولاه اللهم والِ من والاه وعادِ من عاداه».
تفسير الكشف والبيان  للثعلبى  ج 5 / ص 131

อบูศอและห์รายงานจาก ท่านอิบนุอับบาส ในพระดำรัสของพระองค์ ( โอ้รอซูล จงเผยแพร่ )  เขากล่าวว่า อายะฮ์นี้ได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอะลี  ท่านนบี(ศ)ถูกสั่งให้ทำการประกาศเรื่องเกี่ยวกับเขา(อะลี) ดังนั้นท่านจึงจับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) และกล่าวว่า  บุคคลใดที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา โอ้อัลลอฮฺโปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นปรปักษ์กับเขาด้วยเถิด

อ้างอิงจาก

ตัฟสีรอัลกัชฟุวัลบะยาน โดยอัษษะอ์ละบี เล่ม 5 : 131


อัซ-ซะฮะบีได้กล่าวยกย่องบุคคลผู้นี้ไว้ว่า

الثعلبي * الامام الحافظ العلامة، شيخ التفسير، أبو إسحاق، أحمد بن محمد
سير أعلام النبلاء  للذهبي ج 17 / ص 435  رقم 291

อัษษะอ์ละบี คือ อิหม่าม, ฮาฟิซกุรอ่าน, อัลลามะฮ์, ชัยคุต-ตัฟสีร  ชื่ออบูอิสฮ๊าก อะหมัด บินมุฮัมมัด
ดูสิยัร อะอ์ลามุน-นุบุลาอ์  อันดับที่ 291
 
مفسّر كبير، فقيه شافعي، لغوي نحوي،

ท่านอิหม่ามษะอ์ละบี ผู้นี้เป็นทั้ง นักตัฟสีรผู้ยิ่งใหญ่, ฟะกีฮฺ  สังกัดมัซฮับชาฟิอี,  เป็นนักภาษาศาสตร์และนักไวยากรณ์อรับ
  •  

L-umar


สาม-

ท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี เกิดฮ.ศ. 224- 310



ต้องขอเกริ่นให้ท่านผู้อ่านเข้าใจก่อนว่า มีอุละมาอ์ชีอะฮ์ที่ใช้ชื่อนี้เหมือนกันเช่น  อัฏ-ฏ็อบรีเจ้าของหนังสืออัลมุสตัรชิด และอัฏ-ฏ็อบรีอัลรัสตัมเจ้าของหนังสือดะลาอิลุลอิมามะฮ์ ทั้งสองเป็นชีอะฮ์

ส่วนเจ้าของตัฟสีรฏ็อบรีและหนังสือตารีคฏ็อบรีที่ชื่อท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีนั้นเป็นอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ซึ่งท่านญะลาลุดดีนอัสสิยูตีกล่าวถึงเขาว่า

مُحَمَّدُ بْنُ جَرِيرٍ بْنُ يَزِيدَ بْنُ كَثِيرٍ بْنُ غَالِبٍ الطَّبَرِيُّ الإِمام أبو جعفر، رأس المفسرين على الإطلاق، أحد الأئمة،جمع من العلوم ما لم يشاركه فيه أحد من أهل عصره، فكان حافظاً لكتاب الله، بصيراً بالمعاني، فقيهاً في أحكام القرآن، عالماً بالسنن وطرقها، صحيحها وسقيمها، ناسخها ومنسوخها،عالماً بأحوال الصحابة والتابعين، بصيراً بأيام الناس وأخبارهم. أصله من آمل طبرستان،
طبقات المفسرين  لليسوطي  ج 1 / ص 16 رقم 93

มุฮัมมัด บินญะรีร บินยะซีด บินกะษีร บินฆอลิบ อัฏ-ฏ็อบรี อัลอิหม่ามอบูญะอ์ฟัร  หัวหน้าแห่งบรรดามุฟัสสิรทั้งหลาย หนึ่งในอิหม่าม  ผู้รวบรวมไว้ซึ่งอิลมูต่างๆซึ่งไม่มีใครจากสมัยของเขามีส่วนร่วมกับเขาเลย  เป็นนักท่องจำคัมภีร์กุรอ่าน มีความแตกฉานต่อความหมาย  เป็นฟะกีฮฺ(ผู้รู้ทางฟิกฮฺ)ในอะหฺกามต่างๆของอัลกุรอ่าน  เป็นผู้รอบรู้ต่อซุนนะฮ์(หะดีษ)ต่างๆและสายรายงานต่างๆของมัน ทั้งที่เศาะหิ๊หฺและดออีฟ   นาซิคและมันซูค  ผู้มีความรู้ต่อสภาพของบรรดาซอฮาบะฮฺ  ตาบิอีนและเป็นผู้หยั่งรู้ถึงวันเวลาของมนุษย์และเรื่องราวของพวกเขา เดิมเป็นคนเมืองอามุล ฏ็อบริสตาน

อ้างอิงจาก
หนังสือฏ็อบกอตุลมุฟัสสิรีน  โดยสิยูตี เล่ม 1 : 16 อันดับที่ 93


ช่วงที่อุละมาอ์ซุนนี่ผู้ยิ่งใหญ่นามอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีคนนี้ อยู่ที่เมืองแบกแดด เขาได้เผชิญหน้ากับพวกฮะนาบะละฮฺที่มีความตะอัซซุบค่อนข้างรุนแรง ชาวมัซฮับฮัมบะลีกลุ่มนี้ได้สืบทอดมรดกความชิงชังของพวกราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่มีต่อท่านอิม่ามอะลีเป็นพิเศษ จนถึงขั้นกล้าปฏิเสธหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับฟะฎออิล(ความประเสริฐของ)ท่านอะลีอย่างเปิดเผย  
เราไม่ทราบว่า ด้วยสาเหตุนี้หรือไม่ ที่เป็นแรงบันดาลใจผลักดันให้ท่านอิบนุ อัฏฏ็อบรี จำต้องเขียนหนังสือชื่อว่า " อัลวิลายะฮฺ "    เพราะมันเป็นหนังสือรวบรวมหะดีษทุกสายรายงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แต่งตั้งท่านอะลีที่เฆาะดีรคุมเอาไว้โดยเฉพาะ เหมือนกับเป็นการท้าทายต่ออุละมาอ์ใหญ่แห่งมัซฮับฮัมบะลีในเวลานั้นชื่อ อบูบักร บินอบีดาวูด อัสสิญิสตานี  มรณะฮ.ศ. 316 ที่กล่าวว่า หะดีษเฆาะดีรคุมนั้นเป็นเรื่องโกหก


ท่านอิบนุญะรีรอัฏฏ็อบรีจึงได้รายงานหะดีษเฆาะดีรด้วยสายรายงานของตัวเองไว้ในหนังสืออัลวิลายะฮฺว่า

أَخْرَجَ اِبْنُ جَرِيرٍ الطَّبَرِيُّ عَنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ قَالَ لَمَّا نَزَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِغَدِيرِ خُمٍّ فِي رُجُوعه مِنْ حَجَّةِ اَلْوَدَاعِ وَكَانَ فِي وَقْتِ الضُّحَى وَ حَرٍّ شَدِيدٍ أمر بالدوحات فقمت و نَادَى الصَّلَاةَ جَامِعَةً فَاجْتَمَعْنَا فَخَطَبَ خُطْبَةً بالغة ثُمَّ قَالَ: إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى اَنْزَلَ إِلَيَّ :
بَلِّغْ مَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ ، وَقَدْ أَمَرَنِي جَبْرَئِيلُ عَنْ رَبِّيْ أَنْ أَقُوْمَ فِي هَذَا الْمَشْهَد وَاعْلَمْ كُلَّ أَبْيَضَ وَأَسْوَدَ : أَنَّ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَخِي وَوَصِيِّي وَخَلِيْفَتِي وَالْاِمَامُ بَعْدِي


จากเซด บิน อัรก็อมเล่าว่า :  


ตอนที่ท่านนบี(ศ)แวะพักที่เฆาะดีรคุม  ในการกลับจากการทำฮัจญะตุลวิดาอ์ ปรากฏว่าตอนนั้นเป็นเวลาสายและอากาศร้อนจัด  ท่าน(ศ)ได้สั่งให้เคลียพื้นที่  และประกาศให้ทำนมาซญะมาอะฮ์  เมื่อพวกเรามารวมตัวกัน ท่านได้กล่าวคุฏบะฮ์ด้วยวาทะอันลึกซึ้ง จากนั้นท่านกล่าวว่า :   แท้จริงอัลลอฮ์ตะอาลาได้ประทาน(โองการลง)มายังฉันว่า  :
(( จงประกาศ สิ่งที่ถูกประทานลงมายังเจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า และหากเจ้าไม่ทำ เจ้าก็ไม่ได้เผยแพร่สาส์นของพระองค์เลย และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ )) และแท้จริงท่านญิบรออีลได้นำคำสั่งจากพระผู้อภิบาลของฉันมายังฉัน โดยให้ฉันปฏิบัติ(ภารกิจนั้น)ในสถานที่แห่งนี้ และคนขาวกับคนดำทุกคนจงรับรู้ไว้ด้วยว่า  แท้จริงอะลี บินอบีตอลิบคือ พี่น้องของฉัน  คือวะซีของฉัน  คือคอลีฟะฮ์(สืบต่อจาก)ฉัน และเป็นอิหม่ามผู้นำภายหลังจากฉัน
 
อ้างอิงจากหนังสือ

อัลวิลายะฮ์  โดยมุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร อัฏ-ฏ็อบรีย์



เพราะหนังสืออัลวิลายะฮ์เล่มนี้จึงเป็นเหตุทำให้ชาวซุนนี่บางกลุ่มเช่นพวกวาฮาบีกล่าวหาอุละมาอ์ท่านนี้ว่าท่านอิบนุญะรีรอัฏ-ฏ็อบรีเป็นตะชัยยุ๊อฺ ( تَشَـيُّعٌ ) คือมีความฝักใฝ่ในมัซฮับชีอะฮ์  เพราะหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่งสำหรับพวกชีอะฮฺที่จะเอามาอ้างงอิงกับพวกวาฮาบีเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์

ดังนั้นอุละมาอ์อะฮ์ลุสสุนนะฮ์โดยส่วนมากจึงไม่นิยมเขียนหนังสือที่รวบรวมหะดีษและสายรายงานหะดีษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เฆาะดีรคุม
เนื่องจากพวกเขาไม่มีอะกีดะฮ์ว่า   : อะลีคือคอลีฟะฮฺที่สืบต่อจากท่านรอซูล(ศ)
แต่พวกเขามีอะกีดะฮ์ว่า   :   ซอฮาบะฮ์มีมติให้ท่านอบูบักรขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์


เพราะฉะนั้นเมื่ออะกีดะฮ์ของซุนนี่เรื่องตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอบูบักรที่ได้มาจากมติของซอฮาบะฮ์ ต้องเผชิญกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของท่านอะลีที่มีรายงานจากตัฟสีรและหะดีษ  
ทางออกของพวกเขาคือ

1.   กล่าวหาว่า  พวกชีอะฮ์โกหก
2.   กล่าวหาว่า  พวกชีอะฮ์ กุหลักฐานขึ้นมาเอง
3.   หรือหลักฐานในตำราซุนนี่ทั้งหมดที่บอกเล่าเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เมาฏู๊อฺ -  กุขึ้น
4.   หรือตัฟสีรและหะดีษซุนนี่ที่รายงานเรื่องดังกล่าวมีจริง และสะนัดถูกต้อง  แต่คำว่า  " เมาลา " ในหะดีษดังกล่าวนั้นแปลว่า  เพื่อน  , คนรัก ,ผู้ช่วยเหลือ หรือ... ไม่ได้แลปว่า " ผู้ปกครอง "



ประเด็นเรื่องความหมายของคำ" เมาลา " ทีทแท้จริงนั้นเราจะอธิบายอย่างละเอียดในตอนต่อไป   แต่เวลานี้เราต้องการพิสูจน์ให้ท่านทราบเสียก่อนว่า  หลักฐานในตำราซุนนี่ที่กล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์นั้นมีจริงแน่นอน เราไม่ได้กุขึ้น และเราไม่ได้ยกมาอย่างลอยๆไร้หลักฐาน
แต่ฝ่ายซุนนี่พยายามปฏิเสธหะดีษเหล่านั้นมาโดยตลอด  เพื่อพิทักษ์อะกีดะฮ์ของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหาคือ เราจะค้นหาความจริง และอยู่กับความจริงเท่านั้น  ดังที่อัลลอฮ์  ตะอาลาตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَكُونُوا مَعَ الصَّادِقِينَ

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงมีความตักวาต่ออัลลอฮ์  และสูเจ้าจงอยู่กับบรรดาผู้สัจจริง

ซูเราะฮ์ อัตเตาบะฮ์  อายะฮ์ 119
 
  •  

L-umar


อย่างไรก็ตาม  ช้างตายทั้งตัวใบบัวย่อมปิดไม่มิด หรือสัจธรรมย่อมเป็นธรรมอยู่เสมอ  

กล่าวคือแม้ว่า อุละมาอ์ซุนนี่ทั้งอดีตและปัจจุบันบางส่วน พยายามปฏิเสธหลักฐานเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีเท่าไหร่ แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งนานวันเข้า อัลลอฮ์ตะอาลาทรงประสงค์จะให้ผู้ปฏิเสธหลักฐานเรื่องการแต่งตั้งอะลี ได้ประกาศให้การรับรองเรื่องดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง  อัลฮัมดูลิลลาฮฺ  

เราพบว่า

ท่านเชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี อุละมาอ์ซุนนี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษ ได้ออกมาให้การรับรองว่า

" หะดีษเฆาะดีรคุม " นั้นมีสายรายงาน  " เศาะหิ๊หฺ – ถูกต้อง "  ดังนี้


عَنْ أَبِي الطُّفَيْلِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ

لَمَّا رَجَعَ النَّبِيُّ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم مِنْ حَجَّةِ الْوِدَاعِ وَنَزَلَ غَدِيْرَ خُمٍّ أَمَرَ بِدَوْحَاتٍ فَقُمِمْنَ ثُمَّ قَالَ : كَأَنِّيْ دُعِيْتُ فَأَجِبْتُ وَإِنِّيْ تَارِكٌ فِيْكُمُ الثَّقَلَيْنِ أَحَدَهُمَا أَكْبَرُ مِنَ الْآخَرِ : كِتَابُ اللهِ
 وَعِتْرَتِيْ أَهْلُ بَيْتِيْ فَانْظُرُوْا كَيْفَ تُخْلِفُوْنِيْ فِيْهِمَا  فَإِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَقَا حَتَّي يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ     ثُمَّ قَالَ : إِنَّ اللهَ مَوْلاَيَ وَأَنَا وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ  ثُمَّ إِنَّهُ أَخَذَ بِيَدِ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ : مَنْ كُنْتُ وَلِيَّهُ فَهَذَا وَلِيَّهُ  اللّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالاَهُ وَعَادِ مَنْ عَادَاهُ

سِلْسِلَةُ الْأَحَادِيْثِ الصَّحِيْحَةِ  ج : 4 ص: 330  ح : 1750  مُحَمَّد نَاصِرُ الدِّيْنِ الأَلْبَانِيّ نَوْعُ الْحَدِيْثِ : صَحِيْح

ท่านอบู ตุเฟลเล่าว่า :  

เมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กลับจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้แวะพักที่ " เฆาะดีรคุม "

ท่านสั่งให้(พักตรง)ต้นไม้ใหญ่ แล้วสั่งให้กวาด(ลานให้สะอาด)  แล้วท่านได้ปราศัยว่า :

ดูเหมือนว่าฉันถูกเรียก(กลับแล้ว) และฉันได้ตอบรับแล้ว

แท้จริงฉันได้มอบไว้แก่พวกท่านสิ่งหนักสองสิ่ง สิ่งแรกใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่งคือ

1.   คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (อัลกุรอาน)และ

2.   อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน  


ดังนั้นพวกท่านจงดูเถิดว่า พวกท่านจะขัดแย้งกับฉันในสองสิ่งนี้อย่างไร เพราะแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะกลับมาหา

ฉันที่อัลเฮาฎ์(สระเกาษัร)


จากนั้นท่าน(รอซูล ศ.) ได้กล่าวว่า :

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็น" ผู้คุ้มครอง " ของฉัน  และฉันเป็น" ผู้ปกครอง " ของผู้ศรัทธาทุกคน  

จากนั้นท่านนบีได้จับมือท่านอะลี ( ชูขึ้นเหนือศรีษะ) แล้วกล่าวว่า :

บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็น" ผู้ปกครอง " ของเขา  ดังนั้น อะลี ก็เป็น"ผู้ปกครอง "ของเขา  

โอ้อัลลอฮ์โปรดรักผู้ที่เป็นมิตรต่อเขา และโปรดชิงชังผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา  



สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ    

ดูซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 330   หะดีษที่ 1750   ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
  •  

L-umar


ท่านทราบไหมว่า

อุละมาอ์ซุนนี่ในอดีตโดยส่วนมาก ทั้งในไทยและต่างประเทศปฏิเสธเสียงแข็งว่า หะดีษเฆาะดีรคุมเป็นเรื่องโกหกพกลม  


ด้วยความที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์มีอคติต่อชีอะฮ์และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีอะฮ์  แม้กระทั่งหะดีษที่ถูกต้องในตำราของตัวเองก็ไม่ตรวจทานไม่ค้นคว้าให้ถ้วนถี่เสียก่อน  ท่านอิบนุตัยมียะฮฺถึงกับฟันธงว่าหะดีษ " มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุนเมาลา  " ที่เฆาะดีรคุมนั้นเป็นหะดีษเก๊ทั้งหมด


ทีนี้เรามาฟังคำวิจารณ์อีกมุมหนึ่งในเรื่องนี้

เชคมุฮัมมัด นาซิรุดดีนอัลบานี ได้ออกมาวิจารณ์ท่านอิบนิตัยมียะฮ์ในเรื่องนี้ว่า

فقد كان الدافع لتحرير الكلام على الحديث و بيان صحته أنني رأيت شيخ الإسلام بن تيمية ، قد ضعف الشطر الأول من الحديث ، و أما الشطر الآخر ، فزعم أنه كذب  ! و هذا من مبالغته الناتجة في تقديري من تسرعه
في تضعيف الأحاديث قبل أن يجمع طرقها و يدقق النظر فيها . و الله المستعان .

แท้จริงสิ่งที่ผลักดันให้ทำการวิจัยคำพูดต่อหะดีษ(เฆาะดีรคุม)และชี้แจงถึงความเศาะหิ๊หฺของมันนั้น

เป็นเพราะว่าผมได้เห็นท่านเชคอิบนิตัยมียะฮฺได้ทำการตัฏอี๊ฟ(ฮุก่มว่า ดออีฟ)ในวรรคแรกของหะดีษ(เฆาะดีร)

ส่วนวรรคอื่นๆท่านก็ได้กล่าวว่ามันโกหก  ผลลัพท์นี้มีผลมาจากความเลยเถิดของท่าน ในตักดีรของผม

เนื่องจากท่าน(อิบนิตัยมียะฮฺ)มีนิสัยรวดเร็วเกินไปในการตัฏอี๊ฟหะดีษต่างๆ ก่อนที่ท่านจะรวบรวมสายรายงานต่างๆของมัน

และพิจารณาในมันให้ถี่ถ้วนเสียก่อน


อ้างอิงจากหนังสือ
 
ซิลซิละตุลอะฮาดีษิซ-ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี เล่ม 4 : 249   หะดีษที่ 1750
  •  

L-umar


เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้ประกาศการแต่งตั้งท่านอะลีเสร็จสิ้น

อัลลอฮ์ตะอาลาก็ได้ประทานอัลกุรอานลงมาปิดท้ายเรื่องการแต่งตั้งท่านอะลีที่เฆาะดีรคุมว่า


الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا


"วันนี้ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และความเมตตาของข้าที่มีต่อพวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า"

ซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 3


ฝ่ายซุนนี่จึงโต้แย้งว่า


1.   บรรดานักวิชาการซุนนี่ต่างยืนยันตรงว่าอายัตที่ 3 นี้ ถูกประทานลงมาในวันศุกร์ที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ ปีที่ 10 ฮิจเราะห์ศักราช  ขณะที่ท่านนบีกำลังวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในการทำฮัจญะห์ครั้งอำลาของท่าน และเป็นอายัตสุดท้ายของอัลกุรอานที่ถูกประทานลง
2.   แต่เหตุการณ์ที่ฆ่อดีรคุมนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 18 เดือนซุลฮิจญะห์ หลังจากทำฮัจญ์เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ความโกหกของชีอะฮ์   ในเมื่ออัลลอฮ์ได้ลงอัลกุรอานอายะห์สุดท้ายมายืนยันว่าอิสลามครบถ้วนสมบูรณ์ไปแล้ว และเช่นไรเล่าที่ชีอะฮ์ได้อ้างว่าคำสั่งแต่งตั้งอายะห์ที่ 67 ถูกประทานลงมาที่ฆ่อดีรคุมหลังจากนั้น หมายถึงหลังจากอิสลามครบถ้วนไปแล้วกระนั้นหรือ  
3.   โองการ " ยาอัยยุฮัลรอซูล "   คือซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่  67  ส่วน  โองการ " อัลเยาม่ะ อักมัลตุ " คือซูเราะห์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่  3   คำถามคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่   อายัตที่ 3  จะถูกประทานลงมา หลังอายัตที่  67  ?


วิจารณ์


พี่น้องซุนนี่ต้องการจะปฏิเสธว่า โองการนี้


วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า  ( ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 )

ไม่มีอุละมาอ์ซุนนี่คนใดได้รายงานหะดีษหรือกล่าวว่า มันถูกประทานลงมาทีเฆาะดีรคุมเกี่ยวกับท่านอะลี
  •  

L-umar


เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
  •  

L-umar


เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
  •  

L-umar


เราหักล้างการปฏิเสธคำพูดของพวกเขาด้วย หะดีษ เศาะหิ๊หฺ  ดังต่อไปนี้  
  •  

L-umar



ท่านอัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี


เกิดฮ.ศ.392 – 463 ได้ บันทึกหะดีษไว้บทหนึ่งว่า


حَبْشُوْنُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوبَ أَبُو نَصْرٍ الخَلاَّلُ سَمِعَ عَلِيَّ بْنَ سَعِيدِ بْنِ قُتَيْبَةَ الرَّمْلِيُّ وَالْحَسَنُ بْنُ عَرَفَةَ الْعَبْدِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ عَمْرٍو الْأَنْصَارِيُّ وَ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ إِشْكَابٍ وَ عَبْدُ اللَّه بْن أَيُّوب الْمُخَرِّمِيُّ وَ سُلَيْمَانُ بْنُ تَوْبَةَ النَّهْرَوَانِيّ وَ حَنْبَلُ بْن إِسْحَاق الشَّيْبَانِيُّ

رَوى عَنْهُ أَبُو بَكْر بْن شَاذَان وَ أَبُو الْحَسَن الدَّارَقُطْنِيُّ وَ أَبُو حَفْصٍ بْن شَاهِين وَ أَحْمَدُ بْنُ الْفَرَجِ بْنُ الْحَجَّاجِ وَ أَبُو الْقَاسِمِ بْنُ الثَّلاَّج وَغَيْرُهُمْ وَكاَنَ ثِقَةً يَسْكُنُ باَبَ الْبَصْرَة

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بن علي بن محمد بْن بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيّ بْن عُمَر الْحَافِظُ حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشوْن بْنُ مُوْسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخلاَلُ حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي

عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ

لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ

قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ

فَأَنْزَلَ اللَّهُ  اَلْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ


الكتاب : تاريخ بغداد   ج 8 / ص 289  رقم الحديث : 4392
المؤلف : أحمد بن علي أبو بكر الخطيب البغدادي
الناشر : دار الكتب العلمية – بيروت  عدد الأجزاء : 14
  •  

L-umar


คำแปล


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า :
 
บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน

และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า :

ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?


พวกเขา(บรรดาซออาบะฮฺ)กล่าวว่า :    หามิ ได้ ใช่แล้วครับ   โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ

ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า :  บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา  ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา


ท่านอุมัร บินคอตตอบ ได้กล่าวว่า :

ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย  โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้)ท่านได้กลายเป็นเมาลาผู้ปกครองของฉัน

และผู้ปกครองของมุสลิมทุกคนแล้ว  


ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมา

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )


อ้างอิงจากหนังสือ

ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392
  •  

L-umar


หลังจากเรายกหะดีษที่รายงานว่า ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์  อายัตที่  3 ถูกประทานลงมาที่เฆาะดีรคุม

หลังจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ทำการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮ์สืบแทนเสร็จแล้ว  

คำถามที่จะตามมาอย่างติดๆจากฝ่ายซุนนี่คือ  แล้วหะดีษนี้ มัน " เศาะหิ๊หฺ "   หรือ " ดออีฟ " ?


ตอนต่อไปเราจะมาศึกษา สะนัด ( สายรายงานหะดีษ ) บทนี้ว่า เศาะหิ๊หฺ  หรือ  ดออีฟ  อินชาอัลลอฮฺ
  •  

L-umar


วิเคราะห์ สายรายงานหะดีษ

เรื่องซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายัตที่ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18  เดือนซุลฮิจญะฮ์

หลังท่านรอซูล(ศ)กลับจากหัจญะตุลวิดาอ์  



อุละมาอ์ซุนนี่ สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล(วิจารณ์ชีวประวัตินักรายงานหะดีษ)ต้องตกอยู่ในภาวะอึดอัดใจกับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ที่รายงานว่า " ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ  โองการที่ 3 ถูกประทานลงมาที่ เฆาะดีรคุม "  

ตอนที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กลับจากการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ ท่านแวะพักลงที่นั่น ได้นมาซญะมาอะฮ์ร่วมกันและได้ปราศรัยจนจบลงด้วยวะซียัตครั้งสุดท้ายของท่านที่มีต่อประชาชาติว่า ให้ยึดมั่นต่อคัมภีร์กุรอ่านและอะฮ์ลุลบัยต์ หลังจากนั้นท่านได้ให้ท่านอะลีขึ้นมาอยู่บนมิมบัรกับท่าน และได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นพร้อมทั้งประกาศว่า  อะลีคือคอลีฟะฮฺสืบต่อจากท่าน


สาเหตุ

ที่ทำให้อุละมาอ์ซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล ต้องงุนงง และรู้สึกยุ่งยากลำบากใจกับหะดีษบทนี้คือ

พวกเขาไม่สามารถหาข้อตำหนิต่อสะนัด(สายรายงาน) หะดีษบทนี้ได้ ทำไม ?


เพราะ  บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ เป็นนักรายงานหะดีษ(รอวี) ที่อยู่ในระดับ " เชื่อถือได้ทั้งหมด "

ชื่อของพวกเขาโดยส่วนมากยังปรากฏอยู่ในตำราซอฮีฮุบุคอรีและซอฮีฮุมุสลิม

ดังนั้นหากนักรายงานหะดีษบทนี้ถูกตำหนิ ก็เท่ากับได้ตำหนิตำราเศาะหิ๊หฺ เช่นท่านบุคอรีและมุสลิมด้วยเช่นกัน

ในอีกด้านหนึ่ง อุละมาอ์ซุนนี่ก็ไม่อาจยอมรับหะดีษบทนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทำไม ?

เพราะว่า  ท่านอุมัรได้ถูกถามถึงที่มาของอายะฮ์นี้ แล้วเจ้าตัวได้ปฏิเสธว่า อายะฮ์นี้ไม่ได้ถูกประทานในวันเฆาะดีรคุม
โดยท่านอุมัรกล่าวว่า อายะฮ์นี้ถูกประทานลงมาก่อนหน้านั้นในช่วงเวลาการประกอบพิธีหัจญะตุลวิดาอฺ

ดังนั้นการยอมรับหะดีษของท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เท่ากับตำหนิว่า ท่านอุมัรพูดโกหก

เพราะเขากล่าวว่า อัสบาบุลนุซูลอายะฮ์นี้ ไม่ได้ประทานลงมาที่ " เฆาะดีรคุม "  

แท้จริงการแต่งตั้งท่านอะลีเป็นคอลีฟะฮฺได้ถูกประทานลงมาจากอัลลอฮฺตะอาลา โดยท่านนบี(ศ)เป็นผู้ประกาศต่อหน้าบรรดามุสลิมทั้งหลาย และท่านอุมัรยังได้ออกมาแสดงความยินดีกับท่านอะลี

เราถือว่า เป็นเรื่องปกติสำหรับพี่น้องซุนนี่ที่ดื้อรั้นต่อหลักฐาน จะต้องหาวิธีการปฏิเสธหะดีษบทนี้ทุกรูปแบบ ทำไม ? เพราะ หะดีษนี้มันไปขัดแย้งต่ออะกีดะฮ์ซุนนี่นั่นเอง  


ทางออกต่อหะดีษบทนี้คือ กล่าวแบบไร้หลักฐานว่า เป็นหะดีษ" มุงกัร "  หรือหะดีษ " เมาฎู๊อฺ - เก๊ "
  •  

L-umar


ประการแรก
เราได้พิสูจน์ให้ท่านเห็นแล้วว่า อายะฮ์นี้

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا

วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ทำให้นิอฺมะฮ์ของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  และข้าพึงพอใจที่ให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า

ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ 3 ถูกประทานลงมาในวันที่ 18 ซุลหิจญะฮ์ ณ.เฆาะดีรคุม

โดยอัสบาบุลนุซูลของอายะฮ์นี้ได้ถูกบันทึกอยู่ไว้ในหนังสืออะฮ์ลุสสุนนะฮ์ สองเล่มคือ

1.   ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี (ฮ.ศ.392 – 463) เล่ม 8 : 289 หะดีษที่ 4392

2.   ตารีคดามัสกัส โดยอิบนิอะซากิร (ฮ.ศ. 499-571) เล่ม 42 : 233



อันดับต่อไป

เราจะพิสูจน์ความถูกต้องของสะนัด (สายรายงานหะดีษ)   ว่า นักรายงานหะดีษบทนี้ เชื่อถือได้ หรือไม่ ?

หากเชื่อถือไม่ได้  แสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  ดออีฟ  เป็นอันว่า อุละมาอ์ซุนนี่พูดจริง


หากเชื่อถือได้  ย่อมแสดงว่า หะดีษบทนี้  มีสถานะ  เศาะหิ๊หฺ  

และแสดงว่า  อุละมาอ์ชีอะฮ์ พูดจริง
  •  

L-umar


สะนัดหะดีษ

อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี

รายงานสะนัดหะดีษไว้ดังนี้คือ

أخرج الخطيب البغدادي :

أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الْحَافِظُ
 
حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ
 
حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ
 
عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :
 
مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


อิบนุอะซากิร

ได้รายงานสะนัดหะดีษนี้ต่อจาก อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดี อีกทีหนึ่งคือ

أخرج إبنُ عساكر عن الخطيب البغدادي :

عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَانِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ،

عَنْ أَبِيْ نَصْرٍ حَبْشُوْنَ الْخَلاَّلِ ، عَنْ عَلِيِّ بْنِ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ،

عن ضَمْرَةِ بْنِ رَبِيعَةَ ، عَنْ عَبْدِاللهِ بْنِ شَوْذَبٍ،

عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ  :

مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ


พิเคราะห์รายชื่อ นักรายงานเป็นรายบุคคล ดังนี้


عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَلِيِّ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ بَشْرَان ِ←  

عَلِيُّ بْنُ عُمَرَ الدَّارُ قُطْنِيّ ←

أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشُونُ بْنُ مُوسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخَلاَّلُ ←  

عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ ←

ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي ←

عَبدُ الله بْنِ شَوْذَبٍ ←

مَطَرٍ الْوَرَّاقِ ←

شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ ←

أَبو هُرَيْرَةَ  ←

1.อับดุลลอฮฺ บินอะลี บินมุฮัมมัด บินบัชรอน →

2.อะลี บินอุมัร อัดดารุกุฏนี →

3.อบูนัศรฺ หับชูน บินมูซา บินอัยยูบ อัลค็อลล้าล →

4.อะลี บินสะอีด อัลร็อมลี →

5.เฎาะมะเราะฮฺ บินเราะบีอะฮฺ อัลกุเราะชี →

6.อับดุลลอฮฺ บิน เชาซับ →

7.มะฏ็อร อัลวัรรอก →

8.ชะฮ์รุ บินเหาชับ →

9.อบูฮุร็อยเราะฮ์
  •  

L-umar


บุคคลแรกที่รายงานหะดีษนี้คือ




1. อบูฮุร็อยเราะฮ์ →   เป็นเศาะหาบะฮฺ


เชิญท่านอ่านชีวประวัติบุคคลท่านนี้ได้ที่เว็บ

http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=9

ตาบิอีนที่ถ่ายทอดหะดีษบทนี้เป็นคนที่สองคือ



2. ชะฮ์รุ บินเหาชับ  มรณะฮ.ศ. 100 →


อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب شامي تابعي ثقة
الثقات للعجلي ج 1 / ص 461 رقم 741

ชะฮ์รุ บินเหาชับ  ชาวเมืองช่าม เป็นตาบิอี  เชื่อถือได้ในการรายงาน   ดูอัษ-ษิกอต อันดับที่ 741

อิบนุหะญัรกล่าวว่า :

อัลบุคอรีรายงานหะดีษของชะฮ์รุไว้ในหนังสืออัลอะดับมุฟาร็อด และมุสลิมรายงานหะดีษของเขาไว้ในเศาะหิ๊หฺของเขา และอัศหาบุสสุนันทั้งสี่รายงานหะดีษของเขา

ชะฮ์รุรายงานหะดีษจาก :
นางอัสมา บินติยะซีด,ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ, อบูฮุร็อยเราะฮฺ,ท่านหญิงอาอิชะฮฺ, อุมมุหะบีบะฮฺ, บิล้าล มุอัซซิน, ตะมีมีอัดดารี,เษาบาน,ซัลมาน,อบูซัร,อบูมาลิก อัลอัชอะรีและอบูสะอีด

ดูตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 635
تهذيب التهذيب - (ج 4 / ص 324 رقم 635

ท่านบัดรุดดีน อัลอัยนี สังกัดมัซฮับฮะนะฟี (ฮ.ศ.762-855)ได้บันทึกคำวิจารณ์ถึงชะฮ์รุไว้ดังนี้

قال موسى بن هارون: ضعيف

มูซาบินฮารูน กล่าวว่า   เขาดออีฟ

قال النسائى: ليس بالقوى

อัน-นะซาอี กล่าวว่า  เขาไม่แข็งในการรายงาน

كان يحيى بن سعيد لا يحدث عن شهر

ยะห์ยา บินก็อฏฏอน ไม่รายงานหะดีษจากชะฮ์รุ

عن أحمد ابن حنبل: ما أحسن حديثه، ووثقه

อิหม่ามอะหมัดบินหัมบัล กล่าวว่า หะดีษของเขาช่างดีจริง และยังได้ให้ความน่าเชื่อถือแก่ชะฮ์รุ

قال الترمذى، عن البخارى: شهر حسن الحديث، وقوى أمره،

อัต-ติรมิซี เล่าจากอัลบุคอรีว่า ชะฮ์รุ หะดีษดี เรื่องของเขาแข็งแกร่ง

وقال: إنما تكلم فيه ابن عون

และติรมิซีกล่าวว่า แท้จริงอิบนุอูนพูดวิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้

عن يحيى بن معين: ثقة. وعنه: ثبت

จากยะห์ยา บินมะอีน กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และเขามั่นคง

قال يعقوب بن شيبة: ثقة، على أن بعضهم قد طعن فيه.

ยะอ์กูบ บินชัยบะฮฺ กล่าวว่า เขาเชื่อถือได้ในการรายงาน มีบางส่วนที่ตำหนิในตัวชะฮ์รุ


ดูหนังสือ

มะฆอนีลอัคยาร ฟีชัรฮิ ริญาลิ มะอานิลอาษ้าร เล่ม 2 : 36 อันดับที่ 1040

الكتاب : مغانى الأخيار فى شرح أسامى رجال معانى الآثار  ج 2 ص 36 رقم 1040
المؤلف : أبو محمد محمود بن أحمد بن وسى بن أحمد بن حسين الغيتابى الحنفى بدر الدين العينى

อัซซะฮะบีกล่าวว่า :

شهر بن حوشب الأشعري الشاميّ. قرأ القرآن على ابن عباس. وكان عالماً كثير الرواية الحديث.
العبر في خبر من غبر  للذهبي  ج 1 / ص 21

ชะฮ์รุ บินเหาชับ อัลอัชอะรี  ชาวเมืองช่าม เรียนคัมภีร์กุรอ่านกับท่านอิบนุอับบาส และเขาเป็นผู้รู้คนหนึ่ง รายงานหะดีษไว้มากมาย

ดูอัลอิบะรุ ฟีเคาะบะริน มินฆุบัร  เล่ม 1 : 21

อัซ-ซะฮะบีได้ให้บทสรุปเกี่ยวกับการรายงานหะดีษของ " ชะฮ์รุ บินเหาชับ "  ว่า

أ - أقوال الأئمة فيه:
أقوالهم فيه كثيرة، ومتعارضة، فقد وثقه كثير، وضعفه كثير، وبعضهم عَدّ حديثه من مرتبة الحسن، كالإمام البخاري، وقَالَ النَّضْرُ بْنُ شُمَيْلٍ الْمَازِنِيُّ: \\\"...وإنما طعنوا فيه لأنه ولي أمر السلطان\\\" انظر لزاماً سنن الترمذي: 5/58 وانظر ترجمته في الميزان: 2/283، والتهذيب: 4/369-372، والجرح والتعديل: 4/382.

หนึ่ง - ทัศนะของบรรดาอะอิมมะฮ์เกี่ยวกับชะฮ์รุ
นักวิชาการได้วิจารณ์เกี่ยวกับเขาไว้มากมาย และต่างฝ่ายต่างค่อนข้างขัดแย้งกัน  แท้จริงส่วนมากถือว่าเขาเชื่อถือได้ในการรายงาน และส่วนมากถือว่าเขาดออีฟในการรายงาน   และอีกบางส่วนนับว่าเขาอยู่ในระดับฮาซัน(ดี)เช่นอิหม่ามบุคอรี เป็นต้น  และอันนัฎรุ บินชุมัยลิน อัลมาซินีกล่าวว่า และอันที่จริงที่พวกเขาตำหนิเกี่ยวกับชะฮ์รุ เหตุเพราะว่าชะฮ์รุนั้นเป็น วะลียุ อัมร์ของซุลตอน นั่นเอง

ب- حاصل الأقوال فيه:
الحاصل أنه مختلف فيه، والعمل على تحسين حديثه عند علماء الحديث، والله أعلم.

สอง - ผลสรุปของคำวิจารณ์ต่างๆ(ของนักวิชาการ)เกี่ยวกับชะฮ์รุ
ผลคือ (นักวิชาการ)มีความขัดแย้งกับเกี่ยวเขา และให้ดำเนินการไปบนการถือว่า หะดีษของเขานั้น ฮาซัน ตามทัศนะบรรดาอุละมาอ์หะดีษ วัลลอฮุ อะอ์ลัม.

อ้างอิงจากหนังสือ

มันตุกุลลิมะ ฟีฮิ วะฮุวะ มุวัษษัก เอาศอลิฮุลหะดีษ โดยอัซซะฮะบี  เล่ม 1 : 177 อันดับที่ 4

كتاب : مَنْ تُكُلِّمَ فِيْهِ وهو موثق أو صالح الحديث  للذهبي  - (ج 1 / ص 177 رقم 4

หะดีษที่อัลบุคอรีบันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสืออะดับมุฟร็อด มีดังนี้

عن شهر بن حوشب عن أم الدرداء عن أبى الدرداء قال : أوصانى رسول الله صلى الله عليه و سلم بتسع لا تشرك بالله شيئا وإن قطعت أو حرقت ولا تتركن الصلاة المكتوبة متعمدا ومن تركها متعمدا برئت منه الذمة ولا تشربن الخمر فإنها مفتاح كل شر وأطع والديك وإن أمراك أن تخرج من دنياك فاخرج لهما ولا تنازعن ولاة الأمر وإن رأيت أنك أنت ولا تفرر من الزحف وإن هلكت وفر أصحابك وأنفق من طولك على أهلك ولا ترفع عصاك على أهلك وأخفهم في الله عز و جل
قال الشيخ الألباني : حسن


عن شهر بن حوشب عن أسماء بنت يزيد قالت قال النبي صلى الله عليه و سلم : ألا أخبركم بخياركم قالوا بلى قال الذين إذا رءوا ذكر الله أفلا أخبركم بشراركم قالوا بلى قال المشاءون بالنميمة المفسدون بين الأحبة الباغون البرآء العنت
قال الشيخ الألباني : حسن

ดูหนังสือ

อะดับมุฟร็อด الأدب المفرد หะดีษที่ 18 , 323

ท่านมุสลิม ได้บันทึกรายงานของชะฮ์รุ บินเหาชับไว้ในหนังสือเศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 5469

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ شَبِيبٍ قَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ فَسَأَلْتُهُ فَقَالَ سَمِعْتُهُ مِنْ عَبْدِ الْمَلِكِ بْنِ عُمَيْرٍ قَالَ فَلَقِيتُ عَبْدَ الْمَلِكِ فَحَدَّثَنِى عَنْ عَمْرِو بْنِ حُرَيْثٍ عَنْ سَعِيدِ بْنِ زَيْدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -

เชคอัลบานีกล่าวว่า หะดีษนี้  เศาะหิ๊หฺ

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ حَدَّثَنَا أَبُو عَبْدِ الصَّمَدِ حَدَّثَنَا مَطَرٌ الْوَرَّاقُ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كُنَّا نَتَحَدَّثُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّه
ِ
ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนิมาญะฮฺ  หะดีษที่ 2783

 
สรุปสั้นๆว่า  การรายงานหะดีษของ ชะฮ์รุ บินเหาชับ เชื่อถือได้
  •  

43 ผู้มาเยือน, 0 ผู้ใช้