Welcome to Q4wahabi.com (Question for Wahabi). Please login or sign up.

มีนาคม 28, 2024, 07:02:29 หลังเที่ยง

Login with username, password and session length
สมาชิก
Stats
  • กระทู้ทั้งหมด: 2,519
  • หัวข้อทั้งหมด: 647
  • Online today: 70
  • Online ever: 70
  • (วันนี้ เวลา 05:38:43 หลังเที่ยง)
ผู้ใช้ออนไลน์
Users: 1
Guests: 44
Total: 45

ชีวประวัติ อิมามมุฮัมมัด อัล บากิร Baqir

เริ่มโดย L-umar, เมษายน 24, 2012, 01:34:39 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

L-umar

 ชื่อ                                          : มุฮัมมัด

ฉายานาม                               : อัล บากิร

สมญานาม                             : อบู ญะอ์ฟัร

ชื่อบิดา                                   : อิมามซัจญาด (อ.)

กำเนิด                                    : 1 เราะญับ ฮ.ศ. 57

สถานที่เกิด                           : มะดีนะฮ์ อัล มุเนาวะเราะฮ์

พลีชีพ                                    : 7 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ.114

สุสาน                                     : อัล บะกีอ์ มะดีนะฮ์ อัล มุเนาวาเราะฮ์





การถือกำเนิด

                อิมามมุฮัมมัดดาบิร (อ.) เกิดเมื่อวันที่ 1 เดือนเราะญับ ฮ.ศ. 57 ที่เมืองมะดีนะฮ์ ท่านคืออิมามคนที่ 5 จากอิมามแห่งอะห์ลุลบัยต์ (อ.)

                บิดาของท่านคืออิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) มารดาของท่านคือ "ฟาฏิมะฮ์" บุตรสาวอิมามฮาซัน อัล มุจตะบา (อ.) ด้วยเหตุนี้อิมามอัล บากิร (อ.) จึงเป็นท่านแรกที่สืบเชื้อสายมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ทั้งโดยทางบิดาและมารดา

                อิมาม อัล บากิร (อ.)ได้อยู่ทันพบกับท่านอิมามฮูเซน (อ.) ผู้เป็นปู่ในขณะที่เขามีอายุได้ 4 ปี ก็ได้เกิดเหตุการณ์สังหารที่กัรบะลาอ์ ท่านได้ใช้ชิวิตอยู่ร่วมกับบิดาเป็นเวลาถึง 35 ปี และมีชีวิตอยู่ต่อมาหลังจากบิดาอีก 18 ปี และนี่คือช่วงเวลาแห่งการเป็นอิมาม ท่านได้ใช้เวลาในช่วงนั้นด้วยการเผยแผ่วิชาความรู้ และวิชาการอิสลาม

                ที่ได้ชื่อว่าอัล บากิร (ผู้ทำให้แผ่นดินเปิด แล้วนำผลิตผลของแผ่นดินออกมา) ก็เพราะท่านสามารถนำคลังแห่งความรู้และวิชาการออกมาได้ดังนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกท่านว่า "อัล บากิร" ท่านยังมีฉายาอื่นอีกที่แสดงถึงคุณสมบัติทางด้านจริยธรรมของท่าน เช่น "อัช ชากิร" (ผู้กตัญญูรู้คุณพระเจ้า) และ "อัล ฮาดีย์" (ผู้นำไปสู่ทางของพระเจ้า) ได้มีสาวกผู้ทรงเกียรติท่านหนึ่งคือญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อัล อันซอรี ได้พบท่านในขณะที่ท่านยังเล็กอยู่ สาวกท่านนั้นได้บอกท่านว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ได้ฝากสลามไว้กับเขา คนทั้งหลายต่างแปลกใจในเรื่องนี้กันมาก ญาบิรจึงได้อธิบายให้พวกเขาทราบว่า เมื่อครั้งที่ฉันได้นั่งอยู่กับท่านศาสดา ในวันนั้นท่านฮูเซน (อ.) กำลังนั่งเล่นอยู่บนตักของท่าน ท่านได้พูดกับฉันว่า

                "โอ้ญาบิร ! ฮูเซนจะมีบุตรคนหนึ่งชื่อว่า "อะลี" เมื่อถึงวันฟื้นคืนชีพจะมีผู้ประกาศชื่อว่า "ซัยยิดุลอาบิดีน" แล้วจะมีคนหนึ่งเกิดมาจากอะลีเขามีชื่อว่า "มุฮัมมัด" เขาจะมีความแตกฉานทางวิชาการอย่างยอดเยี่ยมที่สุด ถ้าหากเจ้าอยู่จนทันได้พบกับเขา โอ้ญาบิร จงนำสลามจากฉันไปบอกแก่เขาด้วยเถิด"

                อิมามบากิร (อ.) มีสวนอยู่สองแห่ง ซึ่งท่านจะทำงานด้วยตัวของท่านเอง และร่วมรับประทานอาหารกับบรรดาชาวสวนด้วยกัน ท่านจะนำรายได้จากสวนนั้นบริจาคแก่คนยากคนยากจน และบรรดาผู้ที่มีความเดือนร้อน ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงเป็นคนใจบุญสุนทานมากที่สุดสำหรับคนในยุคนั้น

                ในหนังประวัติศาสตร์หลายเล่มได้บันทึกเรื่องที่ "มุฮัมมัด บิน มุนกะดิร" ได้พรรณนาไว้ว่า "ฉันไม่เคยเห็นอะลี บิน ฮูเซน จะได้ฝากสิ่งที่ดีเลิศอันใดไว้ข้างหลัง จนกระทั่งฉันได้เห็นลูกชายของเขาคนหนึ่งคือมุฮัมมัด (อ.) ซึ่งฉันต้องการจะเตือนเขา แต่เขากลับเป็นฝ่ายเตือนฉันครั้งหนึ่งฉันได้ออกไปทำธุระที่นอกเมืองมะดีนะฮ์ในช่วงที่อากาศร้อนจัดฉันได้พบกับมุฮัมมัด บุตรของอะลี (อ.)ในขณะที่เขาใช้แขนเหนี่ยวบนคอเด็กรับใช้สองคนของเขา ฉันจึงได้พูดในใจตัวเองว่า "ผู้อาวุโวกุเรชหาความสุขทางโลกในท่าอย่างนี้ ในเวลาเช่นนี้ได้อย่างไร ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันจะต้องให้บทเรียนแก่เขาสักอย่าง" แล้วฉันก็ได้เดินเข้าไปไกลเขา เมื่อฉันให้สลามเขาเขาก็ตอบรับสลาม ปรากฏว่าเหงื่อเขาออกจนเปียกโชกฉันจึงกล่าวว่า "ขอให้อัลลอฮ์ทรงปรับปรุงท่านด้วยเถิด ผู้อาวุโสแห่งตระกูลกุเรช ในช่วงเวลาอย่างนี้ท่านยังหาความสุขทางโลกอยู่ได้ นี่ถ้าหากความตายมาถึงในขณะที่ท่านอยู่ในสภาพเช่นนี้ ท่านจะทำอย่างไร?"

                อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) ปล่อยมือจากเด็กรับใช้ทั้งสอง แล้วพิงกายลง พลางกล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ถ้าหากความตายมาถึงฉันในขณะที่ฉันอยู่อย่างนี้ ก็เท่ากับมันได้มาถึงฉันในขณะที่ฉันกำลังอยู่ในความเคารพเชื่อฟังตามหลักการข้องหนึ่งของอัลลอฮ์ คือฉันสามารถยับยั้งตนเองมิให้เป็นภาระแก่ท่านและคนทั้งหลาย เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ฉันกลัวความตาย คือถ้าหากมันมาถึงฉันในขณะที่อยู่ในการละเมิดหลักการข้อใดข้อหนึ่งของอัลลอฮ์"

                ฉันจึงกล่าวว่า "ให้อัลลอฮ์ประทานความเมตตาแก่ท่านเถิด ฉันต้องการจะตักเตือนท่าน แต่ท่านต้องมาตักเตือนฉัน"

                จุดยืนของอิมามบากิร(อ.) มีความแน่วแน่ทั้งนี้ก็เพื่อทั้งหลายรู้ว่าการแสวงหาสิ่งอำนวยประโยชน์สุขก็คือการเคารพภักดีอย่างหนึ่ง และเป็นการเคารพเชื่อฟังหลักการหนึ่งของอัลลอฮ์ มิใช่ละทิ้งการทำงานและยอมลำบากเพื่อท่านนมาซ แล้วดำรงชีวิตด้วยการเป็นภาระแก่คนอื่น เหมือนอย่างที่พวกนิยมแนวทางตะเซาวุฟได้ถือปฏิบัติกัน อย่างเช่น บิน อัล มุนกะดัร และคนอื่นๆ



ฐานภาพทางวิชาการ

                มีชาวซีเรียคนหนึ่งไปๆมาๆกับที่ประชุมของอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ.)หลายครั้ง ครั้งหนึ่งชายคนนั้นได้พูดกับอิมามบากิร (อ.) ว่า "ในโลกนี้ไม่มีใครอีกแล้วที่ฉันโกรธเกลียดมากกว่าพวกเจ้า และแท้จริงฉันถือว่าการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์และการเชื่อฟังศาสนทูตนั้น อยู่ในการโกรธเกลียดของพวกเจ้านี่แหละ แต่ทว่าฉันเห็นว่าเจ้าเป็นคนพูดจาฉาดฉาน มีมารยาทและมีคำพูดสุภาพดี และการมาของฉันในที่ประชุมของเจ้าก็เพราะมารยาทที่ดีของเจ้านี่แหละ" ปรากฏว่าทุกครั้งอิมามจะพูดกับเขาอย่างดีหรือไม่ก็พูดว่า "ไม่มีอะไรเป็นความลับสำหรับอัลลอฮ์"

                หลายวันผ่านไปชาวซีเรียคนนั้นมิได้มาในที่ประชุมอีกเลย เมื่ออิมามไม่เห็นเขาหลายวัน ก็ได้ถามข่าวคราวของเขา ก็มีบางคนบอกว่า "เขาป่วย จึงไม่สามารถไปไหนได้"

                อิมามบากิร (อ.)ได้ไปเยี่ยมดูอาการของเขา และนั่งลงช้าๆไต่ถามถึงอาการป่วย และอิมามยังได้เตือนเขาว่าให้รับประทานอาหารที่เย็นๆสักหน่อย ต่อจากนั้นอิมามบากิร (อ.) ก็ได้ลากลับไป

                เมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปหลายวัน ชาวซีเรียคนนั้นก็สามารถลุกจากที่นอนได้ ภายหลังจากที่หายป่วย ปรากฏว่าสิ่งแรกที่เขากระทำ คือมุ่งตรงไปยังบ้านอิมามบากิร (อ.) แล้วกล่าวขอโทษต่อมาก็ได้กลายเป็นสหายคนหนึ่งของท่านอิมาม

                ชายคนหนึ่งได้ถามปัญหาข้อหนึ่งจากอับดุลลอฮ์ บิน อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ แต่แล้วเขารู้สึกลังเลในการจะให้คำตอบ จึงได้แนะนำชายคนนั้นว่า "จงไปหาเด็กน้อยคนนั้นเถิด แล้วถามเขา และจงบอกให้ฉันรู้ในคำตอบด้วย" และเขาก็ได้แนะนำให้ไปหามุฮัมมัด บากิร(อ.) แล้วชายคนนั้นก็มาหา เขาได้ถามอิมามบากิร เสร็จแล้วก็ได้นำคำตอบกลับไปบอกแก่ อิบนุ อุมัร อิบนุ อุมัรจึงกล่าวว่า "แท้จริงพวกเขาเป็นอะห์ลุลบัยต์เป็นผู้ที่มีความเข้าใจ"

               

การสนทนากับนักปราชญ์คริสเตียน

                อิมามซอดิก (อ.) ได้รายงานว่า เมื่อสมัยที่ตนยังอยู่กับบิดาที่ซีเรียเมื่อครั้งที่ฮิชามได้เรียกตัว

อิมามบากิร ไปพบ

                วันหนึ่งท่านเห็นว่าในสนามแห่งหนึ่ง มีประชาชนรวมกลุ่มกันเพื่อรอคอยอะไรบางอย่างอยู่ เมื่อท่านได้ไต่ถาม พวกเขาก็ตอบว่า "พวกเขากำลังรอคอยครูของพวกเขา ซึ่งในรอบหนึ่งปีจะไม่ออกมาปรากฏตัวเลย นอกจากเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วประชาชนจะถามปัญหาและขอคำวินิจฉัยจากเขา ดังนั้นอิมามบากิรจึงนั่งร่วมกับคนเหล่านั้นด้วย  จนกระทั่งผู้รู้ชาวคริสต์ออกมา และเมื่อชาวคริสต์ผู้นั้นได้เห็นอิมามบากิร (อ.) เขาก็ถามว่า "ท่านเป็นคนในศาสนาของเราหรือว่าเป็นคนของประชาชาติที่ได้รับความเมตตาเหล่านี้"

                อิมาบากิร (อ.) ตอบว่า "ใช่แล้ว ! ข้าพเจ้าเป็นคนของประชาชาติที่ได้รับความเมตตา"

                ชาวคริสต์ได้ถามต่อไปว่า "เป็นชาวบ้านสามัญหรือเป็นนักปราชญ์"

                อิมามตอบว่า "ข้าพเจ้ามิใช่ชาวบ้านสามัญไ

                ผู้รู้ชาวคริสต์กล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น ฉันมีคำถามข้อหนึ่ง ดังนั้นพวกท่านเอาหลักฐานจากที่ไหนมาอ้างว่า ชาวสวรรค์นั้นพวกเขารับประทานและดื่ม แต่ไม่ขับถ่าย ?"

                อิมามบากิร "หลักฐานของเราก็คือ ทารกในครรภ์มารดาก็รับประทานอาหาร แต่ไม่ขับถ่าย"

                ผู้รู้ชาวคริสต์ "จงบอกข้าพเจ้ามาซิว่า เวลาตรงช่วงไหน ที่มิได้เป็นของเวลาของกลางคืน และมิได้เป็นเวลาของกลางวัน ?"

                อิมามบากิร "ช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างการปรากฏของแสงอรุณรุ่งกับตอนดวงอาทิตย์ขึ้น อันเป็นช่วงเวลาที่ผู้ถูกทดสอบกำลังตื่นตัว และคนขี้เซากำลังนอนหลับใหล"

                ชาวคริสต์รู้สึกตกใจคำตอบของอิมามบากิร (อ.) ดังนั้น เขาต้องการจะป้อนคำถามข้อใหม่ต่อไป โดยกล่าวว่า "จงบอกข้าเจ้ามาซิ เกี่ยวกับเด็กสองคนที่เกิดมาในวันเดียวกัน แล้วตายในวันเดียวกันคนหนึ่งอายุได้ 50 ปี ส่วนอีกคนอายุ 150 ปี"

                อิมามบากิร เขาคือ อุเซรกับพี่ชายฝาแฝด เมื่อตอนที่อุเรซอายุได้ 25 ปี เขาได้เดินทางผ่านเมืองอินฏอกีย์ ซึ่งเป็นเมืองร้างที่ปรักหักพัง เขาได้กล่าวว่า "อัลลอฮ์จะทำให้เมืองนี้ฟื้นสภาพมีชีวิตชีวาได้อย่างไรหลังจากที่มันได้มีสภาพที่ตายไปแล้ว ? แล้วอัลลอฮ์ทรงบันดาลให้เขาตายไป 100 ปี ต่อจากนั้นก็ทรงบันดาลให้เขาฟื้นขึ้นมา เขาได้กลับไปยังบ้านเรือนของเขาในสภาพของคนหนุ่ม มนขณะที่พี่ชายของเขาชราภาพไปตามวัย แล้วเขาได้ใช้ชีวิตอยู่กับพี่ชายไปอีก 25 ปี ต่อจากนั้นก็ตายไปพร้อมกับพี่ชายในวันเดียวกัน"

                ผู้รู้ชาวคริสต์รู้สึกทึ่งในความรู้อันกว้างขวางของอิมามบากิร (อ.) ดังนั้นเขาจึงประกาศตัวเข้ารับนับถืออิสลามต่อหน้าธารกำนัล บรรดามิตรสหายของเขาก็เขานับถือศาสนาอิสลามด้วย


ในที่ประชุมของฮิชาม

                ฮิชาม บิน อับดุลมาลิก ได้ส่งคนติดตามอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) และอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) บุตรชายของท่านไป แล้วนำตัวคนทั้งสองเดินทางจากเมืองมะดีนะฮ์มายังซีเรีย

                เป้าหมายของฮิชามก็คือ ต้องการสำแดงอำนาจการเป็นกษัตริย์ ดังนั้นอิมามจึงได้เข้าไปหาเขา ในขณะที่กำลังนั่งอยู่บนบัลลังค์ของกษัตริย์ รายล้อมด้วยบรรดาองครักษ์ที่ถืออาวุธ และเบื้องหน้าเขาเป็นที่ตั้งสำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่ยิงเป้าด้วยดอกธนู เขากล่าวขึ้นว่า "โอ้ มุฮัมมัด จงยิงเป้าเหล่านี้กับบรรดาผู้อาวุโสในหมู่พวกพ้องของท่านซิ"

                อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า "แท้จริงฉันแก่เกินไปที่จะยิงได้ อภัยให้ฉันเถิด"

                ฮิชามคัดค้านทันควัน เขาพยายามหว่านล้อมต่ออิมาม และส่งสัญญาณให้ผู้อาวุโสคนหนึ่งจากตระกูลอุมัยยะฮ์มอบคันธนูให้กับท่านครั้นอิมามรับคันธนูมา แล้วก็หยิบลูกธนูไปประทับ และได้ยิงออกไปตรงจุดศูนย์กลางของเป้าทันที ต่อมาอิมามก็ได้ยิงธนูครั้งที่สอง ก็เจาะตรงศูนย์กลางเป้าอีก จนกระทั่งถูกตรงเป้าครบทั้ง 9 ดอก

                ฮิชามรู้สึกพิศวงในความแม่นยำ และความคล่องแคล่วอย่างมากของอิมาม จึงตะโกนขึ้นว่า "โอ้ อบูญะอ์ฟัร ฉันได้เห็นแล้วว่า ท่านคือนักแม่นธนูที่สุดในหมู่ชาวอาหรับและผู้ที่ไม่ใช่อาหรับ นี่หรือที่ท่านพูดว่า "ฉันแก่เกินไปที่จะยิงธนูได้"

                หลังจากนั้นเขาได้นำอิมามเข้ามานั่งด้านขวามือของเขา แล้วกล่าวว่า "โอ้มุฮัมมัด ทั้งชาวอาหรับและผู้ไม่ใช่อาหรับ ไม่แคล้วจะต้องให้คนเผ่ากุเรชทำหน้าที่ประมุขต่อไป ตราบใดที่ในหมู่พวกเขายังมีคนเก่งอย่างท่าน ความเก่งของท่านเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ใครหนอที่สอนท่านให้ยิงธนูเช่นนี้ แล้วท่านเรียนเรื่องนี้นานเท่าไร?"

                อิมามบากิร "ฉันเรียนมาตั้งแต่สมัยที่ยังหนุ่มๆ จากนั้นฉันก็ทิ้งมันไป"

                ฮิชาม "ฉันไม่เชื่อว่าในโลกนี้จะมีใครที่สามารถยิงได้เหมือนการยิงเมื่อครู่นี้ ญะอ์ฟัรยิงได้เหมือนการยิงของท่านไหม?"

                อิมามบากิร "พวกเราเป็นอะห์ลุลบัยต์ เราได้รับการสืบทอดอย่างครบถ้วน (กะมาล) และสมบูรณ์ (ตะมาม) ดังที่อัลออฮ์ทรงประทานทั้งสองอย่างให้แก่ศาสดาของพระองค์ ดังโองการที่พระผู้ทรงสูงส่งมีดำรัสว่า "วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของฉันครบถ้วนแก่พวกเจ้า และทำให้ความโปรดปรานของฉันสมบูรณ์แก่พวกเจ้า และฉันพอใจต่อพวกเจ้าที่ได้อิสลามเป็นศาสดา"

                ฮิชามได้กล่าวโต้ด้วยความโกรธจนหน้าแดงว่า "พวกท่านรับการสืบทอดความรู้เหล่านี้มาจากไหนกัน ในเมื่อหลังจากมุฮัมมัดแล้วไม่มีศาสดาคนใดอีก และพวกท่านก็มิใช่บรรดาศาสดา"

                อิมามบากิร ตอบว่า เราได้การสืบทอดวิชาการมาจากปู้ของเราคือ อะลี ซึ่งท่นได้กล่าวว่า "ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ได้สอนฉันหนึ่งพันวิชาการ และในแต่วิชาการท่านได้เผยให้อีกวิชาการละหนึ่งพันแขนง"

                ฮิชามนิ่งเงียบทันที พลางครุ่นคิด ต่อจากนั้นก็ได้สั่งให้นำอิมามบากิร (อ.) พร้อมกับบุตรชายกลับเมืองมะดีนะฮ์อย่างรวดเร็ว เพราะกลัวว่าประชาชนจะหันมาเลื่อมใส



เงินตราสกุลอิสลาม

                ได้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกันบริเวณชายแดนอาณาจักรอิสลามกับอาณาจักโรมันอยู่เป็นประจำ เพราะจักรพรรดิแห่งโรมพยายามข่มขวัญอับดุลมาลิก บิน มัรวาน ด้วยการระงับมิให้เงินเหรียญแก่รัฐบาลอิสลาม ในเมื่อต่างฝ่ายยังไม่ยุติจากปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ อับดุล มาลิก รู้สึกหวั่นใจมาก เพราะไม่รู้ว่าจะแก้ไขประการใด จึงเรียกประชุมแกนนำมุสลิม เพื่อหารือกับพวกเขาแต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปแต่ประการใด แต่มีบางคนเสนอแนะว่า ให้นำเรื่องนี้มาปรึกษาอิมามบากิร (อ.)

                อับดุลมาลิก ได้ส่งคนไปเชิญอิมามบากิร (อ.) มายังเมืองซีเรียและอิมามก็ได้ตอบรับคำเชิญโดยดี เมื่อปัญหาได้ถูกนำเสนอให้รับทราบอิมาม บากิร (อ.) ก็ได้หันไปกล่าวกับอับดุลมาลิกว่า "มันมิได้มีอะไรน่าวิตกดอกจงรีบส่งสารนี้ไปยังกษัตริย์แห่งโรม และบอกว่าจะขอเวลาจากเขาสักหนึ่งปี ในช่วงเวลาระหว่างนี้ท่านก็ส่งสารไปยังบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ และสั่งพวกเขาให้รวบรวมทองคำและเงิน จนได้ตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม ก็สั่งให้ทำเป็นเหรียญสกุลเงินตราของอิสลาม"

                ต่อจากนั้นอิมามบากิร (อ.) ก็ได้กำหนดน้ำหนักและรูปแบบของเหรียญขึ้นโดยได้สั่งว่าจะต้องเขียนลงบนด้านหนึ่งของเหรียญว่า "มุฮัมมัด รอซูลุลลอฮ์" เมื่อเสร็จแล้วก็ห้ามซื้อขายกันด้วยเงินตราของโรมัน เมื่อเป็นเช่นนั้นจักรพรรดิแห่งโรมก็ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายในการต่อสู้กับอาณาจักรอิสลาม

                ครั้นเมื่อทำงานเสร็จสิ้น และเหรียญสกุลเงินตราอิสลามได้แพร่หลายออกไปใช้แล้ว อับดุลมาลิกก็ส่งทหารออกไปดูผลงานเป็นครั้งสุดท้าย ในปัญหาบริเวณชายแดน ซึ่งจักรพรรดิแห่งโรมไม่มีทางใดที่จะใช้อำนาจทางเศรษฐกิจได้อีก ดังนั้นเขาจึงได้ตัดสินในสั่งเลิกกองทัพ แต่ทว่าเขาก็ตกใจกลัวเหมือนกันหลังจากที่ทหารมุสลิมได้ท้าทายทหารของเขา

                ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า อิมามบากิร(อ.)ได้ช่วยแก้ไขสถานการณ์ของอาณาจักรอิสลามให้พ้นจากเงื้อมมือของศัตรู และกลายเป็นว่าพวกเขาได้มีเหรียญที่เป็นเงินตราของตนเองโดยอิสระ ซึ่งมีตราสัญลักษณ์ของอิสลาม


                                มิตรสหายของท่านอิมามบากิร (อ.)

                สำหรับอิมามบากิร (อ.) นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้เผยแผ่วิชาการและความรู้ในด้านต่างๆ ของสำนักวิชาการแห่งอะห์ลุลบัยต์ (อ.) หลังจากที่พวกตระกูลอุมัยยะฮ์เปลี่ยนจากท่าที ที่สร้างวิกฤตการณ์ที่นั่นบ้างที่นี้บ้าง

                ในสมัยของอิมามบากิร (อ.)ปรากฏว่าสานุศิษย์ของท่านบางคนเป็นผู้ที่มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการเผยแผ่วิชาของอะห์ลุลบัยต์ (อ.) และที่เด่นที่สุดในหมู่พวกเขาได้แก่

                1) อุบาน บิน มัฆลิบ เขาเป็นคนที่มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมสมัยกับบรรดาอิมามแห่งอะห์ลุลบัยต์ (อ.) ถึงสามสมัย กล่าวคือ เคยเข้าเป็นศิษย์ในสำนักของอิมามซัจญาด (อ.) และอิมามบากิร (อ.) ขณะเดียวกันก็ได้ติดตามอยู่กับอิมามญะอ์ฟัร (อ.) แต่ทว่าเขาได้ร่ำเรียนจากอิมามบากิร (อ.)มากกว่า เขาเป็นผู้ที่ปราดเปรื่องทางด้านศาสนบัญญัติ (ฟิกฮ์) วิชาฮะดิษ มารยาท ภาษา ตัฟซีรและวิชาหลักไวยากรณ์ (นะฮู) อิมามบากิร เคยพูดกับเขาว่า "จงนั่งในมัสญิดมะดีนะฮ์ และจงให้คำวินิจฉัยแก่ประชาชนเพราะฉันอยากจะให้คนอย่างท่านปรากฏตัวหมู่พรรคพวกของฉัน"

                2) ซะรอเราะฮ์ บิน อะอ์ยุน อิมามซอดิก (อ.) เคยกล่าวถึงเขาว่า "ถ้าหากไม่มีซะรอเซาะฮ์ ฉันเชื่อแน่เลยว่าฮะดิษต่างๆ จากบิดาของฉันต้องมลายหายไปหมดสิ้น" อิมามได้ขอความเมตตาให้แก่เขาโดยกล่าวว่า "ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาแด่ซะรอเราะฮ์ บิน อะอ์ยุน เถิด เพราะถ้าหากไม่มีซะรอเราะฮ์และสหายของเขาแล้ว บรรดาฮะดิษจากบิดาของฉันก็จะมิได้ถูกศึกษาเล่าเรียนกัน"

                3) มุฮัมมัด บิน มุสลิม อัษ ษะกอฟีย์ "อิมามซอดิก (อ.) ได้ให้การยกย่องและรักเขามาก หมายความว่า เขาคือหนึ่งในสี่คนที่อิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงพวกเขาว่า "เป็นสี่คนที่ฉันรักมากที่สุด ทั้งในขณะที่มีชีวิตอยู่และได้ตายไปแล้ว" อิมามซอดิก (อ.) เคยสั่งบรรดามิตรสหายว่า ให้ยึดถือเขาเป็นหลัก โดยกล่าวว่า "เขาได้ฟังฮะดิษจากบิดาของฉันและเป็นที่ยอมรับของท่านมากที่สุดและมุฮัมมัด บิน มุสลิมกล่าวว่า "ฉันได้ถามจากบิดาญะอ์ฟัร อัล บากิร (อิมามบากิร) 30,000 ฮะดิษ"

                อิมามซอดิก (อ.)ได้ให้การยกย่องมิตรสหายของผู้เป็นบิดา เขาเคยกล่าวว่า "ถ้าหากมิตรสหายของฉันรับฟัง และเคารพเชื่อฟัง แน่นอนฉันจะถ่ายทอดให้พวกเขา ตามแบบที่บิดาของฉันเคยให้แก่มิตรสหายของท่าน แท้จริงมิตรสหายของบิดาของฉัน เป็นเครื่องประดับของพวกเรา ทั้งในขณะที่มีชีวิตและตายไปแล้ว"

                อีกคนหนึ่งจากมิตรสหายของท่านอิมามบากิร (อ.) คือ อัล กุมีต อัลอะวะดีย์ เขาเป็นนักกวีผู้เลื่องชื่อ อิมามบากิร (อ.) เคยกล่าวทุกครั้งที่พบเขาว่า "โอ้อัลลอฮ์ ได้โปรดอภัยโทษให้แก่อัล กุมีตเถิด"



                                การพลีชีพของอิมามบากิร (อ.)

                ถึงแม้ว่าอิมามบากิร (อ.) จะหันมาทางด้านวิชาการและเผยแผ่ศาสนา แต่นักปกครองในตระกูลอุมัยยะฮ์ก็ไม่สามารถจะทนรับสภาพการดำรงอยู่ของอิมามบากิร (อ.) ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประชาชนได้ตระหนักถึงเกียรติคุณและวิชาการของท่าน บุคลิกภาพทั้งในด้านจริยธรรมและมนุษยธรรมท่านได้นำให้ประชาชนนิยมยกย่อง ขณะเดียวกับที่ท่านมีเชื้อสายสืบไปถึงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ยิ่งทำให้ฐานภาพของท่านมีความยิ่งใหญ่อยู่ในหัวใจของบรรดามุสลิม

                ฮิชาม ครุ่นคิดถึงการกำจัด อิมาม บากิร (อ.) และในที่สุดโอกาสก็ได้อำนวยให้เขาได้จัดการลอบวางยาพิษ อิมาม บากิร (อ.) ในวันที่ 7 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 114 หลังผ่านชีวิตมา 57 ปี ด้วยการเป็นคนมีความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า แก้ไขปรับปรุงสภาพสังคมและรับใช้อิสลามตลอดทั้งมวลมุสลิม และได้เผยแผ่ความรู้ของบรรดาอะห์ลุลบัยต์ (อ.)



วะทะประทีป

                -หัวใจของคนใดก็ตาม ที่มีความหยิ่งทะนงเข้าไปแล้ว ย่อมจะไม่เป็นอย่างอื่น นอกจากเป็นการบั่นทอนสติปัญญาของเขา

                -ผู้รู้ที่ใช้ความรู้ของตนเองบำเพ็ญคุณประโยชน์ ย่อมประเสริฐกว่าผู้หมั่นในการเคารพภักดี (อย่างเดียว) ถึง 1,000 คน ขอสาบานต่ออัลลอฮ์แน่นอน การตายของผู้รู้จะเป็นที่ชื่นชอบของอิบลิสยิ่งกว่าการตายของผู้หมั่นในการเคารพภักดี (อย่างเดียว) ถึง 70 คน

                -ลูกเอ๋ย จงระวังความเกียจคร้านและความเบื่อหน่าย เพราะทั้งสองสิ่งเป็นกุญแจของความชั่วทั้งหมด แน่นอนถ้าหากเจ้าเกียจคร้าน เจ้าก็จะไม่รักษาสิทธิ และถ้าหากเจ้าเบื่อหน่าย เจ้าก็จะไม่สามารถอดทนกับความจริงได้

                -เพียงพอแล้วสำหรับการที่คนหนึ่งมีข้อตำหนิ โดยที่เขาเห็นข้อตำหนิของคนอื่น แต่เขามองไม่เห็นสิ่งนั้นจากตัวเขาเอง และโดยที่เขาสั่งสอนคนทั้งหลายในสิ่งที่เขาเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจากสิ่งนั้นได้ และโดยที่เขาว่าร้ายกับผู้นั่งร่วมกับเขาในสิ่งที่เขายังไม่ประจักษ์แจ้ง

http://ahlbeyt.com/index.php?option=com_content&view=article&id=61&Itemid=235
  •  

44 ผู้มาเยือน, 1 ผู้ใช้